'หมอนักเล่นหุ้น' พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี เจ้าของพอร์ต2พันลบ.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'หมอนักเล่นหุ้น' พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี เจ้าของพอร์ต2พัน
โพสต์ที่ 31
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B5.html
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 24 พฤษภาคม 2554 08:00
ทฤษฎีเล่นหุ้น'นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี
ภาพประกอบข่าว
นายแพทย์หนุ่มไม่ได้เกิดมาพร้อมมรดกพันล้านแต่วันนี้เขาเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้น(เงินสด)2,000 ล้านบาท ความสำเร็จแลกมาด้วยความพยายาม'ขั้นกว่า'
ลังเรียนจบคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ รุ่น 34 สาขาหู คอ จมูก เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาที่เรียนมาได้เพียง 2 ปี นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี หักเหชีวิตครั้งสำคัญไปเทคคอร์สสั้นๆ เกี่ยวกับความงามในต่างประเทศ เขาใช้เวลาร่ำเรียนอย่างหนักเป็นเวลา 2 ปี ก่อนจะกลับมาเปิดคลินิกของตัวเองใช้ชื่อ พงศ์ศักดิ์คลินิก สาขาแรกที่จังหวัดระยอง
ปัจจุบันนายแพทย์หนุ่มใหญ่วัย 47 ปีรายนี้เป็นนักธุรกิจเจ้าของคลินิกความงามที่มีสาขาทั่วประเทศมากถึง 50 สาขา อีกบทบาทหนึ่งเขาเป็น Value Investor (วีไอ) ชั้นแนวหน้า
หลังได้อ่านหนังสือ "ตีแตก" ของ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" เมื่อหลายปีก่อน ชีวิตของหมอหนุ่มเกิดแรงบันดาลใจก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นจนถอนตัวไม่ขึ้น เริ่มลงทุนครั้งแรกประมาณปี 2547 ด้วยเงินทุนประเดิม 2-3 ล้านบาท ประสบความสำเร็จมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีพอร์ตเงินสดประมาณ 2,000 ล้านบาท และเป็นนักลงทุน "รายบุคคล" รายใหญ่ระดับแนวหน้าของประเทศ
คุณหมอนักลงทุนเปิดฉากเล่าหลักการลงทุนของตัวเองให้ฟังว่า จะผสมผสานรูปแบบทั้งของส่วนตัวและหลักคิดของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เข้าด้วยกัน ข้อที่ 1. ผมจะไม่ทำตัวเป็นเพียงนักลงทุนธรรมดาคนหนึ่ง แต่จะทำตัวเหมือนเป็น "เจ้าของบริษัท" คนหนึ่ง (ซื้อธุรกิจไม่ใช่แค่ซื้อหุ้น) ผมต้องการรู้ทุกซอกทุกมุมของบริษัทที่ผมเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่มาของรายได้ แหล่งที่มาของกำไร ต้นทุนของบริษัท รวมถึงกระบวนการบริหารงานทั้งหมด
ข้อ 2. ผมจะเลือกซื้อธุรกิจที่ "กำลังเติบโต" (Growth-Expansion) ถ้าหาเจอแล้วจะรอจังหวะซื้อในช่วงที่มีเหตุการณ์แย่ๆ เราต้อง "กล้าโลภ" (ซื้อ) ในเวลาที่มีเหตุการณ์แย่ๆ และควร "กลัว" หากทุกอย่างดูดีมากๆ
"ก่อนที่ผมจะทำทั้ง 2 ข้อนี้ ผมจะวิเคราะห์งบการเงินดูฐานะการเงินแต่ละปีของบริษัท (ศึกษาอดีต-เข้าใจปัจจุบัน และทำนายอนาคต) แล้วพยายามอ่านเกมล่วงหน้าไปอีก 5 ปี เพราะจะทำให้เรารู้ว่าควรลงทุนหุ้นตัวนี้ในระดับเท่าใด ควรถือหรือควรขาย"
นิยามของหุ้นที่ธุรกิจ "กำลังเติบโต" ของคุณหมอ หมายถึง บริษัทนั้นต้องมีอัตราการเติบโตปีละ 15-25% นอกจากธุรกิจอยู่ในช่วง Growth Story แล้ว บริษัทนั้นจะต้องมีทุกอย่าง "เหนือกว่าคู่แข่งขัน" ในธุรกิจเดียวกัน
สำหรับหุ้นที่คุณหมอจะไม่เข้าไปแตะต้องคือ หุ้นที่ไม่เข้าใจที่มาของโครงสร้างรายได้ และโครงสร้างการบริหารจัดการซับซ้อนซ่อนเงื่อน หุ้นประเภทนี้จะไม่ลงทุนเลยเพราะไม่อยากมานั่ง Cut Loss และเสียเวลาลงทุนเปล่าๆ
"ที่ผ่านมาก็ไม่เคย Cut Loss (ตัดขาดทุน) นะ จะทำก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เกิดขึ้นจนทำให้พื้นฐานของประเทศเปลี่ยนแปลง แต่ลึกๆ แล้วต่อให้มีเรื่องร้ายแรงมากๆ ผมก็คงไม่ขายง่ายๆ เพราะหุ้นทุกตัวที่ลงทุนจะวิเคราะห์มาดีแล้ว ขนาดเกิดปัญหาแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส (ปี 2551) คนอื่นขายหมด แต่ผมนั่งเก็บหุ้น (ราคาถูก) เข้าพอร์ต..เหมือนเก่งนะ! แต่เปล่าเลย แค่ทำตามความเชื่อ และข้อมูลที่มีอยู่ในมือเท่านั้น"
นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวว่า การที่จะลงทุนสวนทางกับคนส่วนใหญ่ได้นั้นเราต้องมั่นใจ และมีข้อมูลที่แน่นพอ ต่อให้พลาดก็คงน้อย ส่วนใหญ่ถ้ารู้ว่า "ลงทุนผิด" ประมาณว่าข้อมูลที่ได้มาทีหลังผิดไปจากเดิม "ผมจะขายหุ้นออกทันที" โดยไม่ดูด้วยซ้ำว่าตอนนั้น “ขาดทุน” หรือ “กำไร” แต่บางครั้งขาดทุน 10-20% แล้ว แต่ถ้ามั่นใจว่าข้อมูลที่มีอยู่ชัวร์! แน่ๆ ก็จะ "ซื้อเพิ่ม"
ผู้ใช้รหัสลับ Imagination ในเว็บไซต์ Thaivi.org บอกต่อว่า หุ้นตัวไหนมีธุรกิจซับซ้อนแต่ถ้าศึกษาจนแน่ใจ 80% แล้ว ก็จะปักธง "ซื้อ" แต่จะใช้วิธี "ทยอยเก็บ" ให้ครบตามจำนวนที่ต้องการ
เช่น ถ้าตั้งใจจะซื้อ 100% ก็จะเก็บก่อนเลย 50% จากนั้นก็ "ทยอยซื้อ" ไปเรื่อยๆ จนครบ แต่ถ้าเป็นหุ้นที่ไม่มีอะไรซับซ้อนเข้าใจง่ายจะ "ซื้อตูม" ทีเดียวเลย
"วันนี้ในพอร์ต 2,000 ล้านบาทของผมมีหุ้นเกียรติธนาขนส่ง (KIAT) ไอที ซิตี้ (IT) บัตรกรุงไทย (KTC) อิโนเวรับเบอร์ (IRC) จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) และเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ส่วนใหญ่ในพอร์ตจะมีหุ้นไม่เกิน 8-9 ตัว มากกว่านี้ดูแลไม่ไหว หุ้นทุกตัวผมจะศึกษาหาข้อมูลเองทั้งหมดและใช้เวลาค่อนข้างนาน ไม่ค่อยฟังมาร์เก็ตติ้งแนะนำเท่าไร"
ช่วงแรกๆ มาร์เก็ตติ้งเคยโทรศัพท์มาบอกให้ซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้..ดีนะ!! แต่ก็ไม่เคยซื้อตาม เขาเลยเลิกบอกไปเลย (หัวเราะ) คุณหมอ บอกว่า ถ้าอยากซื้อหุ้นตัวไหนจะสั่งซื้อ (ที่ราคาตลาด) เลย ไม่ต้องบอกให้มาร์เก็ตติ้งตั้งรอแบบนั้นเสียเวลาเปล่าๆ ก่อนหน้านี้มีหุ้น MAKRO และ MBK แต่ขายไปแล้ว ไม่ใช่สองตัวนี้ไม่ดีนะ แต่พอดีมีตัวอื่นที่ดีกว่า เลยตัดสินใจโยกเงินลงทุน
ถามว่าภายในปีนี้มีโอกาสหาตัวอื่นมาทดแทนช่องว่างที่หายไปหรือไม่..."ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ 5-6 ธุรกิจ ภายใน 1-2 เดือนนี้ คงได้เห็นความเคลื่อนไหว (ใหญ่) ของผม"
นพ.พงศ์ศักดิ์ ให้สังเกตดูดีๆ จะเห็นว่าหุ้นตัวหลักที่ถือ (KIAT, JAS, CPN, HMPRO, IT, KTC, IRC) จะเห็นชื่ออยู่ในโครงสร้างผู้ถือหุ้นอันดับต้นๆ ที่เป็นเช่นนั้นไม่ได้มีเจตนาจะเข้ามาเทคโอเวอร์กิจการ และไม่ต้องการเข้าไปบริหารงานแทนเจ้าของเดิม "ไม่ต้องกลัว" การถือหุ้นเยอะผมแค่อยากรู้สึกว่าได้เป็น “เจ้าของบริษัท” โดยที่ไม่ต้องลงแรงเท่านั้นเอง ทุกวันนี้มีคลินิกความงาม 50 สาขาก็ดูแลกิจการไม่ไหวแล้ว คงไม่ไปเทคโอเวอร์ใครแน่ให้คนเก่ง (เจ้าของบริษัท) เขาดูแลไปดีกว่า
เจ้าของเครือข่ายพงศ์ศักดิ์คลินิกวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวให้ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เริ่มเข้าซื้อหุ้น เกียรติธนา ขนส่ง (KIAT) เมื่อปี 2553 สาเหตุที่ซื้อหุ้นตัวนี้หลังนำราคาหุ้นช่วงนั้นที่ซื้อขายราวๆ 4 บาท มาเทียบกับมูลค่างานที่มีอยู่ในมือ ถือว่าราคาหุ้นตอนนั้น "ถูกมาก" ช่วงนั้นวิเคราะห์ว่าราคาเหมาะสมในปี 2553 ของหุ้น KIAT ควรจะอยู่ที่ 12 บาท ส่วนปี 2554 ก็เชื่อว่าราคาเป้าหมายจะสูงกว่านั้นเพราะฉะนั้นราคาหุ้นคงไปต่อได้
"ผมคำนวณราคาเป้าหมายหุ้น KIAT ในใจไว้แล้ว แต่ขอไม่บอกเดี๋ยวมีคนหาว่า..ผมปั่นหุ้น"
นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวเสริมว่า ยิ่งมาวิเคราะห์กำไรสุทธิที่อาจเกิดขึ้นในปี 2554 ก็จะเห็นทันทีว่า บริษัทอาจมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้บริหาร (เกียรติชัย มนต์เสรีนุสรณ์) เขาเก่ง บริหารค่าใช้จ่ายได้ยอดเยี่ยมแถมยังมีแผนจะขยายงานในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หากทุกอย่างยังโอเคแบบนี้ ผมก็คงถือหุ้นตัวนี้ไปเรื่อยๆ
แต่ตอนนี้คงไม่ซื้อเพิ่มแล้วเท่าที่มีหุ้นอยู่ในมือ (สัดส่วน 14.95%) ก็เยอะมากแล้ว ส่วนหุ้น ไอที ซิตี้ (IT) เริ่มซื้อลงทุนเมื่อ 5 ปีก่อน ชอบเพราะมองว่าอนาคตเทคโนโลยีจะอยู่คู่กับทุกคน ตอนนี้คนไทยยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้น้อยมาก มองว่าความต้องการคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ IT เป็นบริษัทที่มีความสามารถในการทำธุรกิจสูงมาก ไม่มีหนี้สิน เงินสดเยอะมาก
"ผมชอบหุ้นลักษณะนี้มากคุ้มค่าต่อการลงทุน คิดดูขนาดเกิดวิกฤตซับไพร์ม ผมยังซื้อหุ้น IT เก็บไว้เลย ตอนนี้ประเมินราคาเหมาะสมในใจแล้ว ก็คงถือ (สัดส่วน 6.15%) ต่อไปเรื่อยๆ แต่อาจไม่ซื้อเพิ่มแล้ว"
สำหรับหุ้น บัตรกรุงไทย (KTC) นพ.พงศ์ศักดิ์ ถืออันดับ 5 จำนวน 5 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.94% หุ้น KTC เจ้าตัวบอกว่า เพิ่งซื้อมาปีนี้ (2554) เห็นว่าราคายังต่ำเมื่อเทียบกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
"ผมมองหุ้น KTC กำลังจะเป็นหุ้น "เทิร์นอะราวด์” จะกลับมากำไรมากๆ หลังภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น และบริษัทนี้ตั้งสำรองลดลงจากปีที่ผ่านๆ มา ถามว่าจะซื้อเพิ่มอีกหรือไม่ ก็คงไม่แล้ว"
หุ้น จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล JAS ถืออันดับ 7 จำนวน 127 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.72% คุณหมอบอกว่า หุ้น JAS ซื้อมาเมื่อปี 2553 ที่ซื้อเพราะชอบ "เนื้อธุรกิจบรอดแบรนด์" วันที่ซื้อมองว่า ภายใน 2-3 ปีข้างหน้าธุรกิจจะเติบโตสูงกว่านี้ ประเมินจากความต้องการใช้บรอดแบนด์ยังมีอยู่ค่อนข้างสูง ตอนที่ซื้อ (ปี 2553) ราคา "ยังไม่แพง" เมื่อเทียบกับอนาคต ตัวนี้จะเก็บเพิ่มหรือไม่ ยังไม่รู้..บอกไม่ได้
เจ้าของพอร์ตหุ้นพันล้านพูดถึงหุ้น โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) ถืออันดับ 14 จำนวน 37.33 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.86% ว่า ตัวนี้ลงทุนมานาน 4-5 ปีแล้ว ซื้อตอนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เหมือนกัน ช่วงนั้นราคาตกลงมาเยอะ
"ผมรักหุ้นตัวนี้ ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์มักจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ HMPRO ถือเป็นศูนย์รวมอุปกรณ์ตกแต่งบ้านรายใหญ่ของเมืองไทย บริษัทนี้ผู้บริหาร (คุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล) เขาทำงานเก่ง พยายามสร้างตราสินค้าของตัวเอง (เฮ้าส์แบรนด์) ตอนที่ซื้อหุ้น HMPRO สาขายังมีไม่มาก ตอนนี้ไปตรงไหนก็เจอแต่สาขาโฮมโปร จะซื้อหุ้นเพิ่มอีกหรือไม่ ยังไม่รู้เหมือนกัน"
ส่วนหุ้น เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ถือหุ้นอันดับ 36 จำนวน 13 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.60% ตัวนี้ซื้อเมื่อปี 2553 ช่วงนั้นกลุ่มคนเสื้อแดงเผา Central World พอดี ถามว่าไม่กลัวหรือ! ผมมองมันเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น เดี๋ยวเขาก็สร้างมันขึ้นมาใหม่แล้วราคาหุ้นก็จะกลับมาเอง
นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวว่า เซ็นทรัลพัฒนาถือเป็นบริษัทที่มีอนาคต บริษัทนี้ยังมีแรงเติบโตอีกมาก ลองคิดดูทุกห้างในเครือเซ็นทรัลมีผู้เช่าแล้วกว่า 95% และ 20 จังหวัดใหญ่ๆ ในเมืองไทยยังต้องการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซึ่ง CPN มีโอกาสไปตั้ง สำหรับหุ้น อิโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) หรือ IRC ถือหุ้นอันดับ 8 จำนวน 3.6 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.80% นพ.พงศ์ศักดิ์ ไม่ได้พูดถึงเหตุผลในการซื้อ
“พอร์ตผมใหญ่ก็จริง แต่ไม่เคยมีห้องเทรดหุ้น VIP ที่ต้องมีคอมพิวเตอร์ 7-8 ตัว มีแต่สายตรงต่อถึงตัวมาร์เก็ตติ้ง ผมไม่เคยไปห้องค้าเลยเชื่อมั้ย!! เพราะไม่รู้จะไปทำไม การเทรดหุ้นมันไม่ใช่แนวทางของผม ขอเล่นหุ้นตามแบบฉบับเรียบง่ายของผมดีกว่า”
ปัจจุบัน นพ.พงศ์ศักดิ์ สนใจลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดหุ้นแถบเอเชีย เจ้าตัวมองว่าราคาหุ้นยังต่ำ เสี่ยงน้อย ถือว่าโอเคมาก แต่ตอนนี้ยังไม่เข้าใจในเนื้อธุรกิจและกฎระเบียบเท่าไร ลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องดูเรื่องภาษี และการโอนเงินด้วยว่าเป็นอย่างไร
"หากเลือกตัวหุ้นที่จะลงทุนได้แล้ว ผมคงหาเวลาไปเยี่ยมชมกิจการของเขา คงเข้าไปชิมลางก่อนสัก 5% ของพอร์ตลงทุน ถ้าประสบผลสำเร็จก็คงทยอยเพิ่มสัดส่วนไปเรื่อยๆ แต่คงใช้บริการซื้อขายหุ้นผ่านโบรกเกอร์เมืองไทยน่าจะปลอดภัยที่สุด"
ที่มีพอร์ตใหญ่ระดับ 2,000 ล้านบาท นพ.พงศ์ศักดิ์ พูดถ่อมตัวว่าไม่ได้เก่งกว่าคนอื่น มันเป็นโอกาสและจังหวะมากกว่า และไม่ได้หวังมากอบโกยผลประโยชน์จากใคร (รายย่อย) จริงๆ ไม่อยากออกสื่อเพราะทุกวันนี้คนมองภาพนักลงทุน “ติดลบ” คิดว่าจะเข้ามาเก็งกำไร
"ผมอยากบอกว่านักลงทุนสมัยนี้ฉลาดกันทุกคน เห็นได้จากกลุ่ม Value Investor ก่อนลงทุน พี่ๆ น้องๆ ทุกคนจะทำการบ้านกันอย่างหนัก ไม่ได้เข้ามาหาเงิน (ปั่นหุ้น) แล้วก็ไปเหมือนสมัยก่อน ผมว่า..ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว" นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวปิดท้าย
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 24 พฤษภาคม 2554 08:00
ทฤษฎีเล่นหุ้น'นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี
ภาพประกอบข่าว
นายแพทย์หนุ่มไม่ได้เกิดมาพร้อมมรดกพันล้านแต่วันนี้เขาเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้น(เงินสด)2,000 ล้านบาท ความสำเร็จแลกมาด้วยความพยายาม'ขั้นกว่า'
ลังเรียนจบคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ รุ่น 34 สาขาหู คอ จมูก เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาที่เรียนมาได้เพียง 2 ปี นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี หักเหชีวิตครั้งสำคัญไปเทคคอร์สสั้นๆ เกี่ยวกับความงามในต่างประเทศ เขาใช้เวลาร่ำเรียนอย่างหนักเป็นเวลา 2 ปี ก่อนจะกลับมาเปิดคลินิกของตัวเองใช้ชื่อ พงศ์ศักดิ์คลินิก สาขาแรกที่จังหวัดระยอง
ปัจจุบันนายแพทย์หนุ่มใหญ่วัย 47 ปีรายนี้เป็นนักธุรกิจเจ้าของคลินิกความงามที่มีสาขาทั่วประเทศมากถึง 50 สาขา อีกบทบาทหนึ่งเขาเป็น Value Investor (วีไอ) ชั้นแนวหน้า
หลังได้อ่านหนังสือ "ตีแตก" ของ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" เมื่อหลายปีก่อน ชีวิตของหมอหนุ่มเกิดแรงบันดาลใจก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นจนถอนตัวไม่ขึ้น เริ่มลงทุนครั้งแรกประมาณปี 2547 ด้วยเงินทุนประเดิม 2-3 ล้านบาท ประสบความสำเร็จมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีพอร์ตเงินสดประมาณ 2,000 ล้านบาท และเป็นนักลงทุน "รายบุคคล" รายใหญ่ระดับแนวหน้าของประเทศ
คุณหมอนักลงทุนเปิดฉากเล่าหลักการลงทุนของตัวเองให้ฟังว่า จะผสมผสานรูปแบบทั้งของส่วนตัวและหลักคิดของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เข้าด้วยกัน ข้อที่ 1. ผมจะไม่ทำตัวเป็นเพียงนักลงทุนธรรมดาคนหนึ่ง แต่จะทำตัวเหมือนเป็น "เจ้าของบริษัท" คนหนึ่ง (ซื้อธุรกิจไม่ใช่แค่ซื้อหุ้น) ผมต้องการรู้ทุกซอกทุกมุมของบริษัทที่ผมเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่มาของรายได้ แหล่งที่มาของกำไร ต้นทุนของบริษัท รวมถึงกระบวนการบริหารงานทั้งหมด
ข้อ 2. ผมจะเลือกซื้อธุรกิจที่ "กำลังเติบโต" (Growth-Expansion) ถ้าหาเจอแล้วจะรอจังหวะซื้อในช่วงที่มีเหตุการณ์แย่ๆ เราต้อง "กล้าโลภ" (ซื้อ) ในเวลาที่มีเหตุการณ์แย่ๆ และควร "กลัว" หากทุกอย่างดูดีมากๆ
"ก่อนที่ผมจะทำทั้ง 2 ข้อนี้ ผมจะวิเคราะห์งบการเงินดูฐานะการเงินแต่ละปีของบริษัท (ศึกษาอดีต-เข้าใจปัจจุบัน และทำนายอนาคต) แล้วพยายามอ่านเกมล่วงหน้าไปอีก 5 ปี เพราะจะทำให้เรารู้ว่าควรลงทุนหุ้นตัวนี้ในระดับเท่าใด ควรถือหรือควรขาย"
นิยามของหุ้นที่ธุรกิจ "กำลังเติบโต" ของคุณหมอ หมายถึง บริษัทนั้นต้องมีอัตราการเติบโตปีละ 15-25% นอกจากธุรกิจอยู่ในช่วง Growth Story แล้ว บริษัทนั้นจะต้องมีทุกอย่าง "เหนือกว่าคู่แข่งขัน" ในธุรกิจเดียวกัน
สำหรับหุ้นที่คุณหมอจะไม่เข้าไปแตะต้องคือ หุ้นที่ไม่เข้าใจที่มาของโครงสร้างรายได้ และโครงสร้างการบริหารจัดการซับซ้อนซ่อนเงื่อน หุ้นประเภทนี้จะไม่ลงทุนเลยเพราะไม่อยากมานั่ง Cut Loss และเสียเวลาลงทุนเปล่าๆ
"ที่ผ่านมาก็ไม่เคย Cut Loss (ตัดขาดทุน) นะ จะทำก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เกิดขึ้นจนทำให้พื้นฐานของประเทศเปลี่ยนแปลง แต่ลึกๆ แล้วต่อให้มีเรื่องร้ายแรงมากๆ ผมก็คงไม่ขายง่ายๆ เพราะหุ้นทุกตัวที่ลงทุนจะวิเคราะห์มาดีแล้ว ขนาดเกิดปัญหาแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส (ปี 2551) คนอื่นขายหมด แต่ผมนั่งเก็บหุ้น (ราคาถูก) เข้าพอร์ต..เหมือนเก่งนะ! แต่เปล่าเลย แค่ทำตามความเชื่อ และข้อมูลที่มีอยู่ในมือเท่านั้น"
นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวว่า การที่จะลงทุนสวนทางกับคนส่วนใหญ่ได้นั้นเราต้องมั่นใจ และมีข้อมูลที่แน่นพอ ต่อให้พลาดก็คงน้อย ส่วนใหญ่ถ้ารู้ว่า "ลงทุนผิด" ประมาณว่าข้อมูลที่ได้มาทีหลังผิดไปจากเดิม "ผมจะขายหุ้นออกทันที" โดยไม่ดูด้วยซ้ำว่าตอนนั้น “ขาดทุน” หรือ “กำไร” แต่บางครั้งขาดทุน 10-20% แล้ว แต่ถ้ามั่นใจว่าข้อมูลที่มีอยู่ชัวร์! แน่ๆ ก็จะ "ซื้อเพิ่ม"
ผู้ใช้รหัสลับ Imagination ในเว็บไซต์ Thaivi.org บอกต่อว่า หุ้นตัวไหนมีธุรกิจซับซ้อนแต่ถ้าศึกษาจนแน่ใจ 80% แล้ว ก็จะปักธง "ซื้อ" แต่จะใช้วิธี "ทยอยเก็บ" ให้ครบตามจำนวนที่ต้องการ
เช่น ถ้าตั้งใจจะซื้อ 100% ก็จะเก็บก่อนเลย 50% จากนั้นก็ "ทยอยซื้อ" ไปเรื่อยๆ จนครบ แต่ถ้าเป็นหุ้นที่ไม่มีอะไรซับซ้อนเข้าใจง่ายจะ "ซื้อตูม" ทีเดียวเลย
"วันนี้ในพอร์ต 2,000 ล้านบาทของผมมีหุ้นเกียรติธนาขนส่ง (KIAT) ไอที ซิตี้ (IT) บัตรกรุงไทย (KTC) อิโนเวรับเบอร์ (IRC) จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) และเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ส่วนใหญ่ในพอร์ตจะมีหุ้นไม่เกิน 8-9 ตัว มากกว่านี้ดูแลไม่ไหว หุ้นทุกตัวผมจะศึกษาหาข้อมูลเองทั้งหมดและใช้เวลาค่อนข้างนาน ไม่ค่อยฟังมาร์เก็ตติ้งแนะนำเท่าไร"
ช่วงแรกๆ มาร์เก็ตติ้งเคยโทรศัพท์มาบอกให้ซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้..ดีนะ!! แต่ก็ไม่เคยซื้อตาม เขาเลยเลิกบอกไปเลย (หัวเราะ) คุณหมอ บอกว่า ถ้าอยากซื้อหุ้นตัวไหนจะสั่งซื้อ (ที่ราคาตลาด) เลย ไม่ต้องบอกให้มาร์เก็ตติ้งตั้งรอแบบนั้นเสียเวลาเปล่าๆ ก่อนหน้านี้มีหุ้น MAKRO และ MBK แต่ขายไปแล้ว ไม่ใช่สองตัวนี้ไม่ดีนะ แต่พอดีมีตัวอื่นที่ดีกว่า เลยตัดสินใจโยกเงินลงทุน
ถามว่าภายในปีนี้มีโอกาสหาตัวอื่นมาทดแทนช่องว่างที่หายไปหรือไม่..."ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ 5-6 ธุรกิจ ภายใน 1-2 เดือนนี้ คงได้เห็นความเคลื่อนไหว (ใหญ่) ของผม"
นพ.พงศ์ศักดิ์ ให้สังเกตดูดีๆ จะเห็นว่าหุ้นตัวหลักที่ถือ (KIAT, JAS, CPN, HMPRO, IT, KTC, IRC) จะเห็นชื่ออยู่ในโครงสร้างผู้ถือหุ้นอันดับต้นๆ ที่เป็นเช่นนั้นไม่ได้มีเจตนาจะเข้ามาเทคโอเวอร์กิจการ และไม่ต้องการเข้าไปบริหารงานแทนเจ้าของเดิม "ไม่ต้องกลัว" การถือหุ้นเยอะผมแค่อยากรู้สึกว่าได้เป็น “เจ้าของบริษัท” โดยที่ไม่ต้องลงแรงเท่านั้นเอง ทุกวันนี้มีคลินิกความงาม 50 สาขาก็ดูแลกิจการไม่ไหวแล้ว คงไม่ไปเทคโอเวอร์ใครแน่ให้คนเก่ง (เจ้าของบริษัท) เขาดูแลไปดีกว่า
เจ้าของเครือข่ายพงศ์ศักดิ์คลินิกวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวให้ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เริ่มเข้าซื้อหุ้น เกียรติธนา ขนส่ง (KIAT) เมื่อปี 2553 สาเหตุที่ซื้อหุ้นตัวนี้หลังนำราคาหุ้นช่วงนั้นที่ซื้อขายราวๆ 4 บาท มาเทียบกับมูลค่างานที่มีอยู่ในมือ ถือว่าราคาหุ้นตอนนั้น "ถูกมาก" ช่วงนั้นวิเคราะห์ว่าราคาเหมาะสมในปี 2553 ของหุ้น KIAT ควรจะอยู่ที่ 12 บาท ส่วนปี 2554 ก็เชื่อว่าราคาเป้าหมายจะสูงกว่านั้นเพราะฉะนั้นราคาหุ้นคงไปต่อได้
"ผมคำนวณราคาเป้าหมายหุ้น KIAT ในใจไว้แล้ว แต่ขอไม่บอกเดี๋ยวมีคนหาว่า..ผมปั่นหุ้น"
นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวเสริมว่า ยิ่งมาวิเคราะห์กำไรสุทธิที่อาจเกิดขึ้นในปี 2554 ก็จะเห็นทันทีว่า บริษัทอาจมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้บริหาร (เกียรติชัย มนต์เสรีนุสรณ์) เขาเก่ง บริหารค่าใช้จ่ายได้ยอดเยี่ยมแถมยังมีแผนจะขยายงานในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หากทุกอย่างยังโอเคแบบนี้ ผมก็คงถือหุ้นตัวนี้ไปเรื่อยๆ
แต่ตอนนี้คงไม่ซื้อเพิ่มแล้วเท่าที่มีหุ้นอยู่ในมือ (สัดส่วน 14.95%) ก็เยอะมากแล้ว ส่วนหุ้น ไอที ซิตี้ (IT) เริ่มซื้อลงทุนเมื่อ 5 ปีก่อน ชอบเพราะมองว่าอนาคตเทคโนโลยีจะอยู่คู่กับทุกคน ตอนนี้คนไทยยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้น้อยมาก มองว่าความต้องการคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ IT เป็นบริษัทที่มีความสามารถในการทำธุรกิจสูงมาก ไม่มีหนี้สิน เงินสดเยอะมาก
"ผมชอบหุ้นลักษณะนี้มากคุ้มค่าต่อการลงทุน คิดดูขนาดเกิดวิกฤตซับไพร์ม ผมยังซื้อหุ้น IT เก็บไว้เลย ตอนนี้ประเมินราคาเหมาะสมในใจแล้ว ก็คงถือ (สัดส่วน 6.15%) ต่อไปเรื่อยๆ แต่อาจไม่ซื้อเพิ่มแล้ว"
สำหรับหุ้น บัตรกรุงไทย (KTC) นพ.พงศ์ศักดิ์ ถืออันดับ 5 จำนวน 5 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.94% หุ้น KTC เจ้าตัวบอกว่า เพิ่งซื้อมาปีนี้ (2554) เห็นว่าราคายังต่ำเมื่อเทียบกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
"ผมมองหุ้น KTC กำลังจะเป็นหุ้น "เทิร์นอะราวด์” จะกลับมากำไรมากๆ หลังภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น และบริษัทนี้ตั้งสำรองลดลงจากปีที่ผ่านๆ มา ถามว่าจะซื้อเพิ่มอีกหรือไม่ ก็คงไม่แล้ว"
หุ้น จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล JAS ถืออันดับ 7 จำนวน 127 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.72% คุณหมอบอกว่า หุ้น JAS ซื้อมาเมื่อปี 2553 ที่ซื้อเพราะชอบ "เนื้อธุรกิจบรอดแบรนด์" วันที่ซื้อมองว่า ภายใน 2-3 ปีข้างหน้าธุรกิจจะเติบโตสูงกว่านี้ ประเมินจากความต้องการใช้บรอดแบนด์ยังมีอยู่ค่อนข้างสูง ตอนที่ซื้อ (ปี 2553) ราคา "ยังไม่แพง" เมื่อเทียบกับอนาคต ตัวนี้จะเก็บเพิ่มหรือไม่ ยังไม่รู้..บอกไม่ได้
เจ้าของพอร์ตหุ้นพันล้านพูดถึงหุ้น โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) ถืออันดับ 14 จำนวน 37.33 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.86% ว่า ตัวนี้ลงทุนมานาน 4-5 ปีแล้ว ซื้อตอนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เหมือนกัน ช่วงนั้นราคาตกลงมาเยอะ
"ผมรักหุ้นตัวนี้ ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์มักจะขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ HMPRO ถือเป็นศูนย์รวมอุปกรณ์ตกแต่งบ้านรายใหญ่ของเมืองไทย บริษัทนี้ผู้บริหาร (คุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล) เขาทำงานเก่ง พยายามสร้างตราสินค้าของตัวเอง (เฮ้าส์แบรนด์) ตอนที่ซื้อหุ้น HMPRO สาขายังมีไม่มาก ตอนนี้ไปตรงไหนก็เจอแต่สาขาโฮมโปร จะซื้อหุ้นเพิ่มอีกหรือไม่ ยังไม่รู้เหมือนกัน"
ส่วนหุ้น เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ถือหุ้นอันดับ 36 จำนวน 13 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.60% ตัวนี้ซื้อเมื่อปี 2553 ช่วงนั้นกลุ่มคนเสื้อแดงเผา Central World พอดี ถามว่าไม่กลัวหรือ! ผมมองมันเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น เดี๋ยวเขาก็สร้างมันขึ้นมาใหม่แล้วราคาหุ้นก็จะกลับมาเอง
นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวว่า เซ็นทรัลพัฒนาถือเป็นบริษัทที่มีอนาคต บริษัทนี้ยังมีแรงเติบโตอีกมาก ลองคิดดูทุกห้างในเครือเซ็นทรัลมีผู้เช่าแล้วกว่า 95% และ 20 จังหวัดใหญ่ๆ ในเมืองไทยยังต้องการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซึ่ง CPN มีโอกาสไปตั้ง สำหรับหุ้น อิโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) หรือ IRC ถือหุ้นอันดับ 8 จำนวน 3.6 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.80% นพ.พงศ์ศักดิ์ ไม่ได้พูดถึงเหตุผลในการซื้อ
“พอร์ตผมใหญ่ก็จริง แต่ไม่เคยมีห้องเทรดหุ้น VIP ที่ต้องมีคอมพิวเตอร์ 7-8 ตัว มีแต่สายตรงต่อถึงตัวมาร์เก็ตติ้ง ผมไม่เคยไปห้องค้าเลยเชื่อมั้ย!! เพราะไม่รู้จะไปทำไม การเทรดหุ้นมันไม่ใช่แนวทางของผม ขอเล่นหุ้นตามแบบฉบับเรียบง่ายของผมดีกว่า”
ปัจจุบัน นพ.พงศ์ศักดิ์ สนใจลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดหุ้นแถบเอเชีย เจ้าตัวมองว่าราคาหุ้นยังต่ำ เสี่ยงน้อย ถือว่าโอเคมาก แต่ตอนนี้ยังไม่เข้าใจในเนื้อธุรกิจและกฎระเบียบเท่าไร ลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องดูเรื่องภาษี และการโอนเงินด้วยว่าเป็นอย่างไร
"หากเลือกตัวหุ้นที่จะลงทุนได้แล้ว ผมคงหาเวลาไปเยี่ยมชมกิจการของเขา คงเข้าไปชิมลางก่อนสัก 5% ของพอร์ตลงทุน ถ้าประสบผลสำเร็จก็คงทยอยเพิ่มสัดส่วนไปเรื่อยๆ แต่คงใช้บริการซื้อขายหุ้นผ่านโบรกเกอร์เมืองไทยน่าจะปลอดภัยที่สุด"
ที่มีพอร์ตใหญ่ระดับ 2,000 ล้านบาท นพ.พงศ์ศักดิ์ พูดถ่อมตัวว่าไม่ได้เก่งกว่าคนอื่น มันเป็นโอกาสและจังหวะมากกว่า และไม่ได้หวังมากอบโกยผลประโยชน์จากใคร (รายย่อย) จริงๆ ไม่อยากออกสื่อเพราะทุกวันนี้คนมองภาพนักลงทุน “ติดลบ” คิดว่าจะเข้ามาเก็งกำไร
"ผมอยากบอกว่านักลงทุนสมัยนี้ฉลาดกันทุกคน เห็นได้จากกลุ่ม Value Investor ก่อนลงทุน พี่ๆ น้องๆ ทุกคนจะทำการบ้านกันอย่างหนัก ไม่ได้เข้ามาหาเงิน (ปั่นหุ้น) แล้วก็ไปเหมือนสมัยก่อน ผมว่า..ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว" นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวปิดท้าย
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'หมอนักเล่นหุ้น' พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี เจ้าของพอร์ต2พัน
โพสต์ที่ 32
ขอบคุณครับ
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'หมอนักเล่นหุ้น' พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี เจ้าของพอร์ต2พัน
โพสต์ที่ 35
พี่หมอเป็น hero. ที่ผมจะเดินตามครับ
คนรวยมีเยอะ แต่คนดีและรวย อย่างพี่หมอ มีน้อยมากครับ
ขอแสดงความนับถือครับ
คนรวยมีเยอะ แต่คนดีและรวย อย่างพี่หมอ มีน้อยมากครับ
ขอแสดงความนับถือครับ
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
- simpleBE
- Verified User
- โพสต์: 2335
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 'หมอนักเล่นหุ้น' พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี เจ้าของพอร์ต2พัน
โพสต์ที่ 37
ขอบคุณมากๆ ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 6427
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 'หมอนักเล่นหุ้น' พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี เจ้าของพอร์ต2พัน
โพสต์ที่ 38
คุณเคน หายไปนานนะครับkensorat เขียน:พี่หมอเป็น hero. ที่ผมจะเดินตามครับ
คนรวยมีเยอะ แต่คนดีและรวย อย่างพี่หมอ มีน้อยมากครับ
ขอแสดงความนับถือครับ
แวะไปทักทายที่ห้องสาลี่ บ้าง
จะดีมากๆเลยครับ
คนที่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้ ย่อมมีโอกาสเรียนรู้
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 'หมอนักเล่นหุ้น' พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี เจ้าของพอร์ต2พัน
โพสต์ที่ 40
'2 กูรู' มอง 'ตลาดหุ้น' 'เอกยุทธ อัญชันบุตร-นพ.พงษ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี" [ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 20 มิถุนายน 2554 ]
“กูรูหุ้น” เตือนสติ “อย่าตื่นตระหนก” หุ้นไทยพ้นพันจุด หลังฝรั่งเทกระจาด “พงษ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี & เอกยุทธ์ อัญชันบุตร” ย้ำ “กรุณาใจเย็นๆหาโอกาสสะสมของถูก”
สารพัดปัจจัยลบส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาแล้ว 7 สัปดาห์ จากจุดสูงสุด 1,113.63 จุด และลงมาต่ำสุด 998.39 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลงประมาณ 10% สอดคล้องกับดัชนีราคาหุ้นทั่วโลกเริ่มมีทิศทางเป็นขาลง ไม่ว่าจะเป็นมุมมองการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเติบโตช้าลง อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนของมาตราการช่วยเหลือกรีซของประเทศในกลุ่มยุโรป รวมถึงเหตุการณ์ในไทยปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองทำให้นักลงทุนหยุดรอดูสถานการณ์ และกระทบบรรยากาศในการลงทุนเป็นระยะ
เอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ "ไทยอินไซเดอร์" และนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหุ้น มีมุมมองต่อตลาดหุ้นไทยในช่วง "ก่อน" และ "หลัง" การเลือกตั้ง โดยแสดงความเห็นผ่านกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า ในช่วงที่เหลือของเดือนมิถุนายนนี้ หากมองในมุมที่แย่สุดๆ SET Index มีโอกาสปรับตัวลดลงมาที่ 950-960 จุด เพราะนักลงทุนต่างชาติยังเดินหน้าลดพอร์ตการลงทุน
ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาเอกยุทธเคยเตือนนักลงทุนผ่านเว็บไซต์ของตัวเองว่า มีกองทุนต่างชาติเริ่มมีการขายออกมาในช่วงที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,060-1,080 จุด ซึ่งมีการทยอยขายออกมามาก ก่อนหน้านี้เขาประเมินจุดที่น่าจะมีการทยอยเข้ามาเก็บหุ้นได้คือ 1,020-1,040 จุด ซึ่งวันนี้ก็ลงมาแล้ว จุดต่อไปเชื่อว่าแรงขายจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง สาเหตุหลักเพราะมีโบรกเกอร์ใหญ่ในต่างประเทศออกรายงานให้ขายในขณะที่หุ้น(กำลัง)ตก ซึ่งเป็นการ "ทุบหุ้น" เพื่อให้หุ้นตก 8-10% และตัวเองจะได้เข้ามาเก็บหุ้นได้ โดยนำเงินไปพักที่ตลาดพันธบัตรและเงินยังไม่ได้ไหลออก
ตลาดหุ้นในช่วงนี้ยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามามีแต่ปัจจัยลบรอบด้าน ปัญหาความวุ่นวายในประเทศกรีซทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว ขณะเดียวกันยังหวั่นเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรป มองว่าการฟื้นตัวอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย แถมยังกลัวการเมืองไทยที่อาจเปลี่ยนขั้วอำนาจพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนแปลงจริงๆนั่นหมายความว่า นโยบายด้านต่างๆจะมีหน้าตาไม่เหมือนเดิม..เอกยุทธ มอง
"แต่ถ้าโชคดี "ปลายไตรมาส 2" นักลงทุนต่างชาติทำ Window Dressing คือทำให้ตัวเลขทางบัญชีให้ดูดีเหมือนปกติ หุ้นไทยก็อาจปรับตัวลดลงไม่มากนัก...เมื่อหลายสัปาดห์ก่อนผมเคยเตือนเรื่องนักลงทุนต่างชาติอาจเทขายหุ้นแล้ว สัญญาณมันเริ่มมาหนักๆ ตอนดัชนียืน 1,060-1,080 จุด ถ้าใครเชื่อก็คงรอดตัวไป”
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นหลังการเลือกตั้ง เอกยุทธ ประเมินว่า ตลาดหุ้นไทยอาจเกิดอาการ Sideway Down ประมาณ 5-8% คาดว่าดัชนีคงยืนแถวๆ 960 จุด ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ชนะขาดลอย หุ้นไทยจะตีกลับมายืนระดับ 1,300-1,500 จุด แต่หากพรรคเพื่อไทยชนะได้จัดตั้งรัฐบาล "รับรองหุ้นไทยตกกระจาย" เพราะเขา (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ต้องเข้ามาเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายด้านต่างๆใหม่หมด เมื่อเป็นเช่นนั้นเชื่อได้เลยว่า "การเมืองไม่สงบชัวร์!" ตลาดหุ้นมีโอกาสลงไปเคลื่อนไหวในกรอบ 850-1,000 จุด
เว้นเสียแต่ว่าพรรคเพื่อไทยสามารถพิสูจน์ได้ว่า นโยบายด้านต่างๆมีผลดีเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และไม่มีคนออกมาเดินขบวน ในระยะ "กลาง-ยาว" ดัชนีอาจขึ้นไป 1,200 จุดได้ เพราะพื้นฐานตลาดหุ้นไทย "ยังดีอยู่" แต่ความคิดเห็นส่วนตัว "ผมไม่เชื่อว่ามันจะสงบ"
ถามต่อว่านักลงทุนควรปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร เอกยุทธ กล่าวว่า สำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว หากดัชนีลงมาระดับ 950-960 จุด ให้ซื้อหุ้นเข้าพอร์ต 30-40% แต่ถ้าดัชนีหุ้นยืนได้ระดับ 1,005-1,010 จุด (ไม่หลุด 1,000 จุด) ให้ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตเพียง 20-30% สำหรับนักลงทุนระยะสั้นบอกเลย "ไม่เชียร์ให้ซื้อหุ้นในตอนนี้ มีโอกาสขึ้นไปชมวิว (ติดดอย) แน่ๆ..ช่วงนี้เล่นยาก"
ถามว่าแล้วหุ้นกลุ่มไหนน่าลงทุนที่สุด เอกยุทธ กล่าวว่า แนะนำให้เน้นหุ้น "กลุ่มพลังงาน" โดยเฉพาะ "ครอบครัวปตท." ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือร้าย หุ้นกลุ่มปตท. "ไม่เคยตาย" ส่วนหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน และกลุ่มอาหาร "หลีกเลี่ยงไปเลยดีที่สุด" เพราะมีสิทธิได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง หากการเมืองเปลี่ยนขั้ว ก็ต้อง "มีลุ้น" ว่าบริษัทไหนจะอยู่ข้างใคร
นอกจากนี้หุ้น "ไอพีโอ" เป็นอีกกลุ่มที่นักลงทุนควร "หลีกหนีให้ไกล" ซื้อไปก็ไม่คุ้ม กรุณาอย่าไปซื้อวันแรกๆ เพราะราคามัน "โอเวอร์" มาก ถ้าอยากได้จริงๆเพราะพื้นฐานดีก็ให้รอสักพักให้ราคาหุ้นมันสะเด็ดน้ำเสียก่อน พูดง่ายๆให้นักลงทุนขาใหญ่ “เลิกปั่นหุ้นก่อน..ค่อยเข้าไปซื้อ” หุ้นไอพีโอที่ดันราคาขึ้นสูงช่วงวันแรกๆใครไปซื้อแล้วออกไม่ทัน รับรอง "ติดดอยไม่ได้ลงยาว" ส่วนพวกหุ้น "บิ๊กแคป" (หุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่) ที่มีต่างชาติลงทุนเยอะๆ ช่วงนี้เลี่ยงได้ก็ดี
“ถ้าต้องการลงทุนหุ้นที่มีพื้นฐานดี ซึ่งก็มีอยู่มากในตลาดก็ขอให้ทำการบ้านสักนิด ซื้อช่วงที่หุ้นตกหนักๆแล้วไปรอขายตอนสิ้นปี เชื่อว่าผลตอบแทนจากการลงทุน 20% คุณได้แน่! แต่ถ้าดื้อลงทุนหนักโดยไม่ศึกษาให้ดี แทนที่จะได้กำไรจะกลายเป็นขาดทุนได้ง่ายๆ" เอกยุทธ กล่าวเตือน
ทางด้านแวลูอินเวสเตอร์รายใหญ่ นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี เจ้าของพอร์ตลงทุน 2,000 ล้านบาท มองการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น และการเทขายของนักลงทุนต่างชาติถือเป็น "โอกาสการลงทุน"
"นักลงทุนทุกท่านโปรด “อย่าหยุดซื้อหุ้น” เพราะของดีราคาถูกยังมีอยู่เกลื่อนตลาด ถ้าเป็นผมจะควักเงินซื้อหุ้นประมาณ 50-60% หากค้นพบหุ้นที่มีคุณสมบัติยอดเยี่ยม"
คุณหมอพงศ์ศักดิ์ แนะนำว่า นักลงทุนที่วันนี้เล่นหุ้น "เต็มพอร์ต" (100%) ขอให้ "ขายหุ้นที่ขึ้นมาแรงๆ" หรือหุ้นตัวที่คิดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเมืองในอนาคต แล้วให้ "ถือเงินสด" ไว้ก่อน รอดูสถานการณ์หลังเลือกตั้งอีกครั้ง สำหรับนักลงทุนที่เล่นหุ้น "ไม่เต็มพอร์ต" จังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลงให้เลือกเก็บหุ้น "พื้นฐานดี" เข้าพอร์ตประมาณ 40-50% ที่เหลือเก็บเป็น "เงินสด" รอดูสถานการณ์หลังเลือกตั้ง สำหรับนักลงทุนที่ถือเงินสดเพียง 10% ควรเลือกจิ้มตัวที่พื้นฐานดีๆ ราคาถูก
ถามว่าหุ้นกลุ่มไหนน่าเก็บเข้าพอร์ต คุณหมอ แสดงความเห็นว่า น่าจะเป็นกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค และกลุ่มค้าปลีกบางตัว เช่น BIGC, MAKRO และ CPALL ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่ควรหลีกน่าจะเป็นกลุ่มธนาคาร ท่องเที่ยว และส่งออก
"หากพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งมากๆ ตลาดหุ้นไทยจะดีมากแถมการเมืองจะสงบด้วย เพราะนั่นแปลว่าคนชั้นสูงเขาสนับสนุน แต่ถ้าได้คะแนนน้อยจนต้องไปจับมือกับพรรคเล็กพรรคน้อย เพื่อจัดตั้งรัฐบาล SET Index คงไม่สวยแน่ แต่ก็ไม่ถึงขั้นขี้เหร่"
นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยชนะเกิน 250 เสียง นักลงทุนก็ต้องหวั่นใจอีกว่าจะบริหารประเทศได้หรือไม่ หุ้นก็คงไม่งามเท่าไร แต่ถ้าได้คะแนนไม่ถึง 250 เสียง จนต้องจับมือกับพรรคเล็กจัดตั้งรัฐบาล รับรองนอกจากหุ้นจะไม่ดีแล้ว การเมืองยังไม่สงบด้วย เพราะทหารคงไม่ไว้ใจอย่าลืมว่าวันนี้ทหารถือเป็นตัวแปรสำคัญทางการเมืองของไทย
“จริงๆ แล้วหุ้นไทยไม่แพงแต่ก็ไม่ถูก เมื่อก่อน P/E 8-12 เท่า แต่วันนี้ (Forward P/E) ประมาณ 11 เท่า ฉะนั้นการที่ดัชนีหลุด 1,000 จุด ผมมองว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะทุกครั้งที่เมืองไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงก็จะโดนเทขายแบบนี้ อีกอย่างตลาดหุ้นขึ้นมาต่อเนื่อง 2 ปี ดังนั้นการที่ต่างชาติขายทำกำไรก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ดังนั้นอย่าตกใจ” นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวปิดท้าย
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B5.html
“กูรูหุ้น” เตือนสติ “อย่าตื่นตระหนก” หุ้นไทยพ้นพันจุด หลังฝรั่งเทกระจาด “พงษ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี & เอกยุทธ์ อัญชันบุตร” ย้ำ “กรุณาใจเย็นๆหาโอกาสสะสมของถูก”
สารพัดปัจจัยลบส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาแล้ว 7 สัปดาห์ จากจุดสูงสุด 1,113.63 จุด และลงมาต่ำสุด 998.39 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลงประมาณ 10% สอดคล้องกับดัชนีราคาหุ้นทั่วโลกเริ่มมีทิศทางเป็นขาลง ไม่ว่าจะเป็นมุมมองการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเติบโตช้าลง อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนของมาตราการช่วยเหลือกรีซของประเทศในกลุ่มยุโรป รวมถึงเหตุการณ์ในไทยปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองทำให้นักลงทุนหยุดรอดูสถานการณ์ และกระทบบรรยากาศในการลงทุนเป็นระยะ
เอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ "ไทยอินไซเดอร์" และนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหุ้น มีมุมมองต่อตลาดหุ้นไทยในช่วง "ก่อน" และ "หลัง" การเลือกตั้ง โดยแสดงความเห็นผ่านกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า ในช่วงที่เหลือของเดือนมิถุนายนนี้ หากมองในมุมที่แย่สุดๆ SET Index มีโอกาสปรับตัวลดลงมาที่ 950-960 จุด เพราะนักลงทุนต่างชาติยังเดินหน้าลดพอร์ตการลงทุน
ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาเอกยุทธเคยเตือนนักลงทุนผ่านเว็บไซต์ของตัวเองว่า มีกองทุนต่างชาติเริ่มมีการขายออกมาในช่วงที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,060-1,080 จุด ซึ่งมีการทยอยขายออกมามาก ก่อนหน้านี้เขาประเมินจุดที่น่าจะมีการทยอยเข้ามาเก็บหุ้นได้คือ 1,020-1,040 จุด ซึ่งวันนี้ก็ลงมาแล้ว จุดต่อไปเชื่อว่าแรงขายจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง สาเหตุหลักเพราะมีโบรกเกอร์ใหญ่ในต่างประเทศออกรายงานให้ขายในขณะที่หุ้น(กำลัง)ตก ซึ่งเป็นการ "ทุบหุ้น" เพื่อให้หุ้นตก 8-10% และตัวเองจะได้เข้ามาเก็บหุ้นได้ โดยนำเงินไปพักที่ตลาดพันธบัตรและเงินยังไม่ได้ไหลออก
ตลาดหุ้นในช่วงนี้ยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามามีแต่ปัจจัยลบรอบด้าน ปัญหาความวุ่นวายในประเทศกรีซทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว ขณะเดียวกันยังหวั่นเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรป มองว่าการฟื้นตัวอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย แถมยังกลัวการเมืองไทยที่อาจเปลี่ยนขั้วอำนาจพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนแปลงจริงๆนั่นหมายความว่า นโยบายด้านต่างๆจะมีหน้าตาไม่เหมือนเดิม..เอกยุทธ มอง
"แต่ถ้าโชคดี "ปลายไตรมาส 2" นักลงทุนต่างชาติทำ Window Dressing คือทำให้ตัวเลขทางบัญชีให้ดูดีเหมือนปกติ หุ้นไทยก็อาจปรับตัวลดลงไม่มากนัก...เมื่อหลายสัปาดห์ก่อนผมเคยเตือนเรื่องนักลงทุนต่างชาติอาจเทขายหุ้นแล้ว สัญญาณมันเริ่มมาหนักๆ ตอนดัชนียืน 1,060-1,080 จุด ถ้าใครเชื่อก็คงรอดตัวไป”
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นหลังการเลือกตั้ง เอกยุทธ ประเมินว่า ตลาดหุ้นไทยอาจเกิดอาการ Sideway Down ประมาณ 5-8% คาดว่าดัชนีคงยืนแถวๆ 960 จุด ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ชนะขาดลอย หุ้นไทยจะตีกลับมายืนระดับ 1,300-1,500 จุด แต่หากพรรคเพื่อไทยชนะได้จัดตั้งรัฐบาล "รับรองหุ้นไทยตกกระจาย" เพราะเขา (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ต้องเข้ามาเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายด้านต่างๆใหม่หมด เมื่อเป็นเช่นนั้นเชื่อได้เลยว่า "การเมืองไม่สงบชัวร์!" ตลาดหุ้นมีโอกาสลงไปเคลื่อนไหวในกรอบ 850-1,000 จุด
เว้นเสียแต่ว่าพรรคเพื่อไทยสามารถพิสูจน์ได้ว่า นโยบายด้านต่างๆมีผลดีเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และไม่มีคนออกมาเดินขบวน ในระยะ "กลาง-ยาว" ดัชนีอาจขึ้นไป 1,200 จุดได้ เพราะพื้นฐานตลาดหุ้นไทย "ยังดีอยู่" แต่ความคิดเห็นส่วนตัว "ผมไม่เชื่อว่ามันจะสงบ"
ถามต่อว่านักลงทุนควรปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร เอกยุทธ กล่าวว่า สำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว หากดัชนีลงมาระดับ 950-960 จุด ให้ซื้อหุ้นเข้าพอร์ต 30-40% แต่ถ้าดัชนีหุ้นยืนได้ระดับ 1,005-1,010 จุด (ไม่หลุด 1,000 จุด) ให้ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตเพียง 20-30% สำหรับนักลงทุนระยะสั้นบอกเลย "ไม่เชียร์ให้ซื้อหุ้นในตอนนี้ มีโอกาสขึ้นไปชมวิว (ติดดอย) แน่ๆ..ช่วงนี้เล่นยาก"
ถามว่าแล้วหุ้นกลุ่มไหนน่าลงทุนที่สุด เอกยุทธ กล่าวว่า แนะนำให้เน้นหุ้น "กลุ่มพลังงาน" โดยเฉพาะ "ครอบครัวปตท." ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือร้าย หุ้นกลุ่มปตท. "ไม่เคยตาย" ส่วนหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน และกลุ่มอาหาร "หลีกเลี่ยงไปเลยดีที่สุด" เพราะมีสิทธิได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง หากการเมืองเปลี่ยนขั้ว ก็ต้อง "มีลุ้น" ว่าบริษัทไหนจะอยู่ข้างใคร
นอกจากนี้หุ้น "ไอพีโอ" เป็นอีกกลุ่มที่นักลงทุนควร "หลีกหนีให้ไกล" ซื้อไปก็ไม่คุ้ม กรุณาอย่าไปซื้อวันแรกๆ เพราะราคามัน "โอเวอร์" มาก ถ้าอยากได้จริงๆเพราะพื้นฐานดีก็ให้รอสักพักให้ราคาหุ้นมันสะเด็ดน้ำเสียก่อน พูดง่ายๆให้นักลงทุนขาใหญ่ “เลิกปั่นหุ้นก่อน..ค่อยเข้าไปซื้อ” หุ้นไอพีโอที่ดันราคาขึ้นสูงช่วงวันแรกๆใครไปซื้อแล้วออกไม่ทัน รับรอง "ติดดอยไม่ได้ลงยาว" ส่วนพวกหุ้น "บิ๊กแคป" (หุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่) ที่มีต่างชาติลงทุนเยอะๆ ช่วงนี้เลี่ยงได้ก็ดี
“ถ้าต้องการลงทุนหุ้นที่มีพื้นฐานดี ซึ่งก็มีอยู่มากในตลาดก็ขอให้ทำการบ้านสักนิด ซื้อช่วงที่หุ้นตกหนักๆแล้วไปรอขายตอนสิ้นปี เชื่อว่าผลตอบแทนจากการลงทุน 20% คุณได้แน่! แต่ถ้าดื้อลงทุนหนักโดยไม่ศึกษาให้ดี แทนที่จะได้กำไรจะกลายเป็นขาดทุนได้ง่ายๆ" เอกยุทธ กล่าวเตือน
ทางด้านแวลูอินเวสเตอร์รายใหญ่ นพ.พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี เจ้าของพอร์ตลงทุน 2,000 ล้านบาท มองการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น และการเทขายของนักลงทุนต่างชาติถือเป็น "โอกาสการลงทุน"
"นักลงทุนทุกท่านโปรด “อย่าหยุดซื้อหุ้น” เพราะของดีราคาถูกยังมีอยู่เกลื่อนตลาด ถ้าเป็นผมจะควักเงินซื้อหุ้นประมาณ 50-60% หากค้นพบหุ้นที่มีคุณสมบัติยอดเยี่ยม"
คุณหมอพงศ์ศักดิ์ แนะนำว่า นักลงทุนที่วันนี้เล่นหุ้น "เต็มพอร์ต" (100%) ขอให้ "ขายหุ้นที่ขึ้นมาแรงๆ" หรือหุ้นตัวที่คิดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเมืองในอนาคต แล้วให้ "ถือเงินสด" ไว้ก่อน รอดูสถานการณ์หลังเลือกตั้งอีกครั้ง สำหรับนักลงทุนที่เล่นหุ้น "ไม่เต็มพอร์ต" จังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลงให้เลือกเก็บหุ้น "พื้นฐานดี" เข้าพอร์ตประมาณ 40-50% ที่เหลือเก็บเป็น "เงินสด" รอดูสถานการณ์หลังเลือกตั้ง สำหรับนักลงทุนที่ถือเงินสดเพียง 10% ควรเลือกจิ้มตัวที่พื้นฐานดีๆ ราคาถูก
ถามว่าหุ้นกลุ่มไหนน่าเก็บเข้าพอร์ต คุณหมอ แสดงความเห็นว่า น่าจะเป็นกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค และกลุ่มค้าปลีกบางตัว เช่น BIGC, MAKRO และ CPALL ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่ควรหลีกน่าจะเป็นกลุ่มธนาคาร ท่องเที่ยว และส่งออก
"หากพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งมากๆ ตลาดหุ้นไทยจะดีมากแถมการเมืองจะสงบด้วย เพราะนั่นแปลว่าคนชั้นสูงเขาสนับสนุน แต่ถ้าได้คะแนนน้อยจนต้องไปจับมือกับพรรคเล็กพรรคน้อย เพื่อจัดตั้งรัฐบาล SET Index คงไม่สวยแน่ แต่ก็ไม่ถึงขั้นขี้เหร่"
นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยชนะเกิน 250 เสียง นักลงทุนก็ต้องหวั่นใจอีกว่าจะบริหารประเทศได้หรือไม่ หุ้นก็คงไม่งามเท่าไร แต่ถ้าได้คะแนนไม่ถึง 250 เสียง จนต้องจับมือกับพรรคเล็กจัดตั้งรัฐบาล รับรองนอกจากหุ้นจะไม่ดีแล้ว การเมืองยังไม่สงบด้วย เพราะทหารคงไม่ไว้ใจอย่าลืมว่าวันนี้ทหารถือเป็นตัวแปรสำคัญทางการเมืองของไทย
“จริงๆ แล้วหุ้นไทยไม่แพงแต่ก็ไม่ถูก เมื่อก่อน P/E 8-12 เท่า แต่วันนี้ (Forward P/E) ประมาณ 11 เท่า ฉะนั้นการที่ดัชนีหลุด 1,000 จุด ผมมองว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะทุกครั้งที่เมืองไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงก็จะโดนเทขายแบบนี้ อีกอย่างตลาดหุ้นขึ้นมาต่อเนื่อง 2 ปี ดังนั้นการที่ต่างชาติขายทำกำไรก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ดังนั้นอย่าตกใจ” นพ.พงศ์ศักดิ์ กล่าวปิดท้าย
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B5.html
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."