ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้
โพสต์ที่ 1
ผมโง๋ๆนะครับ
ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจเรื่อง DCF นะครับ พยายามตามอ่านในนี้แล้วหลายๆกระทู้แต่ไม่พบในสิ่งที่ผมสงสัยเลยอยากจะรบกวนถามทุกๆคนดังนี้ครับ
1) จากหนังสือ "วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวเอง" ของคุณสุมาอี้
หลังจากที่เราได้ Discounted PV ของบริษัทแล้วคุณสุมาอี้ นำเลขนั้นมาหักหนี้ก่อน
จึงนำไปหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด ถึงจะได้มูลค่าออกมา
2) ผมพยายามอ่านดูจากเวปฝรั่งๆต่างที่เค้าพยายามสอน DCF ตามเวปต่างๆ
หลังจากที่ได้ Discounted PV แล้ว เค้านำมาหารหุ้นทั้งหมดเลย
ทำไมมันต่างกันล่ะครับ FCF ที่นำมาคิดใน Model เป็นคนละค่ารึเปล่าครับ ช่วยให้ความรู้ด้วยครับ
สัมมา
ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจเรื่อง DCF นะครับ พยายามตามอ่านในนี้แล้วหลายๆกระทู้แต่ไม่พบในสิ่งที่ผมสงสัยเลยอยากจะรบกวนถามทุกๆคนดังนี้ครับ
1) จากหนังสือ "วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวเอง" ของคุณสุมาอี้
หลังจากที่เราได้ Discounted PV ของบริษัทแล้วคุณสุมาอี้ นำเลขนั้นมาหักหนี้ก่อน
จึงนำไปหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด ถึงจะได้มูลค่าออกมา
2) ผมพยายามอ่านดูจากเวปฝรั่งๆต่างที่เค้าพยายามสอน DCF ตามเวปต่างๆ
หลังจากที่ได้ Discounted PV แล้ว เค้านำมาหารหุ้นทั้งหมดเลย
ทำไมมันต่างกันล่ะครับ FCF ที่นำมาคิดใน Model เป็นคนละค่ารึเปล่าครับ ช่วยให้ความรู้ด้วยครับ
สัมมา
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1644
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้
โพสต์ที่ 2
มูลค่าของกิจการมาจาก ทุนบวกหนี้สิน
การประเมินราคาหุ้นคือการประเมินส่วนของทุน
จึงหักหนี้สินออกก่อนครับ
เอ่อ จำไม่ค่อยได้ถ้าผิดรอท่านอื่นมายืนยันละกันครับ
การประเมินราคาหุ้นคือการประเมินส่วนของทุน
จึงหักหนี้สินออกก่อนครับ
เอ่อ จำไม่ค่อยได้ถ้าผิดรอท่านอื่นมายืนยันละกันครับ
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้
โพสต์ที่ 3
เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเห็นว่าเวลาคุณสุมาอี้เขาวิเคราะห์หา FCF นั้นเขาทำการปรับงบดุลเสียใหม่ ออกเป็น ทรัพย์สินดำเนินงาน (ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ) กับ ทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน ส่วนหนี้สินก็จะเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยและหนี้สินดำเนินงาน (เจ้าหนี้การค้า) สำหรับหนี้ที่มีดอกเบี้ย แยกออกมาต่างหาก และในฝั่งซ้ายของ B/S ก็แยกเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดออกมาก่อน หลังจากคำนวณหา DCF เสร็จแล้วมันก็หมายถึงกระแสเงินสดที่กิจการจะสามารถทำได้ทั้งหมดไปตลอดอย่างต่อเนื่อง ค่าที่ได้ต้องเอามาบวกเงินสดและลบหนี้ที่มีดอกเบี้ยออกไปแล้วค่อยนำมาหารจำนวนหุ้นทั้งหมดก็จะเป็นมูลค่าต่อหุ้น หรือถ้าจะไม่นำมาหารก็ดูเทียบค่านี้กับ Market cap ของหุ้นเลยก็ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณมากๆครับพี่ viim (ถือว่าเป็นพี่ทางความรู้นะครับ),viim เขียน:เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเห็นว่าเวลาคุณสุมาอี้เขาวิเคราะห์หา FCF นั้นเขาทำการปรับงบดุลเสียใหม่ ออกเป็น ทรัพย์สินดำเนินงาน (ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ) กับ ทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน ส่วนหนี้สินก็จะเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยและหนี้สินดำเนินงาน (เจ้าหนี้การค้า) สำหรับหนี้ที่มีดอกเบี้ย แยกออกมาต่างหาก และในฝั่งซ้ายของ B/S ก็แยกเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดออกมาก่อน หลังจากคำนวณหา DCF เสร็จแล้วมันก็หมายถึงกระแสเงินสดที่กิจการจะสามารถทำได้ทั้งหมดไปตลอดอย่างต่อเนื่อง ค่าที่ได้ต้องเอามาบวกเงินสดและลบหนี้ที่มีดอกเบี้ยออกไปแล้วค่อยนำมาหารจำนวนหุ้นทั้งหมดก็จะเป็นมูลค่าต่อหุ้น หรือถ้าจะไม่นำมาหารก็ดูเทียบค่านี้กับ Market cap ของหุ้นเลยก็ได้
1. ผมพูดจากใจจริงว่าผมยังงงมากๆครับ ถ้าเกิดเราทำไปธรรมดาแบบที่พี่บอกคือ "เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน"
เราจะไม่ต้องไปบวกเงินสดและลบหนี้เหรอครับ
2. อย่างงี้แสดงว่าคำว่า FCF เนี่ยมันแล้วแต่ว่าเราจะใช้ตัวอะไรเหรอครับเป็นเกณฑ์ไม่ได้มีกฏตายตัวว่าเราเริ่มตัว FCF ก่อน prorate ไปข้างหน้ายังไง เพราะเหมือนกับว่า เราเริ่มด้วยตัวใดก็ได้ แต่ด้วยพื้นฐานที่เข้าใจเราต้องบวกกับหรือไม่ก็หักออกตามสมมติฐานขึ้นต้น
ขอบคุณมากๆครับที่ให้ความกระจ่าง
-
- Verified User
- โพสต์: 91
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้
โพสต์ที่ 5
Model ของคุณสุมาอี้ จะใช้ FCF to Firm
ส่วนที่คุณไปเปิดดูตามเว็บผมเข้าใจว่าเขาใช้ FCF to equity
สองตัวนี้ำไม่เหมือนกัน แต่มูลค่าหุ้นสุดท้ายถ้าทำอย่างถูกต้องจะออกมาเท่ากัน
ผมอธิบายไม่เก่งก็เลยให้ Key word สั้นๆ ไปดูความหมายเองก่อนนะครับ
ส่วนที่คุณไปเปิดดูตามเว็บผมเข้าใจว่าเขาใช้ FCF to equity
สองตัวนี้ำไม่เหมือนกัน แต่มูลค่าหุ้นสุดท้ายถ้าทำอย่างถูกต้องจะออกมาเท่ากัน
ผมอธิบายไม่เก่งก็เลยให้ Key word สั้นๆ ไปดูความหมายเองก่อนนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่า FCF ใน DCF Model ของคุณสุมาอี้
โพสต์ที่ 6
sammas เขียน:ขอบคุณมากๆครับพี่ viim (ถือว่าเป็นพี่ทางความรู้นะครับ),viim เขียน:เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเห็นว่าเวลาคุณสุมาอี้เขาวิเคราะห์หา FCF นั้นเขาทำการปรับงบดุลเสียใหม่ ออกเป็น ทรัพย์สินดำเนินงาน (ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ) กับ ทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน ส่วนหนี้สินก็จะเป็นหนี้ที่มีดอกเบี้ยและหนี้สินดำเนินงาน (เจ้าหนี้การค้า) สำหรับหนี้ที่มีดอกเบี้ย แยกออกมาต่างหาก และในฝั่งซ้ายของ B/S ก็แยกเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดออกมาก่อน หลังจากคำนวณหา DCF เสร็จแล้วมันก็หมายถึงกระแสเงินสดที่กิจการจะสามารถทำได้ทั้งหมดไปตลอดอย่างต่อเนื่อง ค่าที่ได้ต้องเอามาบวกเงินสดและลบหนี้ที่มีดอกเบี้ยออกไปแล้วค่อยนำมาหารจำนวนหุ้นทั้งหมดก็จะเป็นมูลค่าต่อหุ้น หรือถ้าจะไม่นำมาหารก็ดูเทียบค่านี้กับ Market cap ของหุ้นเลยก็ได้
1. ผมพูดจากใจจริงว่าผมยังงงมากๆครับ ถ้าเกิดเราทำไปธรรมดาแบบที่พี่บอกคือ "เพราะว่าการหา FCF เป็นการหาเงินสดส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินงาน ซึ่งจะมาจากกำไรหลังภาษีบวกกลับด้วยค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่ายและหักออกด้วยเงินลงทุนและการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน"
เราจะไม่ต้องไปบวกเงินสดและลบหนี้เหรอครับ
ถ้าดูจากสูตรและทำความเข้าใจสูตรจะเข้าใจขึ้นครับ
FCF = Normalized EBIT (1-T) + DA - CAPEX - deltaWC
เมื่อ Normalized EBIT = กำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษี ที่เกิดจากการดำเนินงานปกติของบริษัท กำไรพิเศษถ้ามีตัดออกก่อน
T = tax rate เช่น 30% ก็ป้อน 0.3
DA = ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย อยู่ในงบกระแสเงินสด
CAPEX = เงินลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ไม่เกี่ยวกับลงทุนอย่างอื่น เช่น ลงทุนซื้อหุ้นบริษัทอื่น
deltaWC = เงินทุนหมุนเวียนปีปัจจุบัน - เงินทุนหมุนเวียนปีก่อนหน้า
เงินสดที่มีในงบดุล ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงาน แต่เป็นสินทรัพย์ที่บริษัทมี ดังนั้นในการคำนวณเพื่อหาเงินที่เหลือจริงๆ (FCF) จาการดำเนินงานในแต่ละปีก็จะไม่เกี่ยวกับ cash ในงบดุล จึงต้องแยกออกไปก่อน แต่มันเป็น wealth ของบริษัท ณ เวลานั้น สำหรับ หนี้สินนั้นส่วนที่มีดอกเบี้ยมันไม่ใช่หนี้สินดำเนินงาน หนี้สินดำเนินงานหมายถึงเจ้าหนี้การค้่า ตั๋วเงินค้างจ่าย เป็นต้น แต่หนี้ที่มีดอกเบี้ยคือภาระผูกผันที่บริษัทมีจะต้องหักออกก่อนจึงจะได้มูลค่าสุทธิของกิจการ อย่างไรก็ตามข้อด้อยของ DCF ก็มีมากมาย เราไม่สามารถคำนวณค่าได้อย่างถูกต้อง เพราะมี input มากมายที่เราต้องเดา (ถึงแม้จะมีหลักการก็เถอะ) เช่น อัตราการเติบโต จำนวนปีที่เติบโต เงินลงทุนจริงๆ การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนในอนาคต เป็นต้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่คำนวณได้จะเป็นการประมาณคร่าวๆเท่านั้น
2. อย่างงี้แสดงว่าคำว่า FCF เนี่ยมันแล้วแต่ว่าเราจะใช้ตัวอะไรเหรอครับเป็นเกณฑ์ไม่ได้มีกฏตายตัวว่าเราเริ่มตัว FCF ก่อน prorate ไปข้างหน้ายังไง เพราะเหมือนกับว่า เราเริ่มด้วยตัวใดก็ได้ แต่ด้วยพื้นฐานที่เข้าใจเราต้องบวกกับหรือไม่ก็หักออกตามสมมติฐานขึ้นต้น
ขอบคุณมากๆครับที่ให้ความกระจ่าง