SHORT!
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
SHORT!
โพสต์ที่ 1
สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆทุกท่านครับ
ตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษา กำลังศึกษาการลงทุนอยู่
ผมได้อ่านหนังสือของท่าน ดร.นิเวศน์ เล่ม ตีแตก ครับ มีบทนึงกล่าวถึง
นายจอร์จ โซรอส เข้ามา short sell ค่าเงินบาทไทย เมื่อคราววิกฤตื ต้มยำกุ้งครับ
แต่ยังไม่สู้เข้าใจดีเท่าไรครับ
อยากทราบว่า short ความหมายของคืออะไร และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
ขอบคุณครับผม
ตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษา กำลังศึกษาการลงทุนอยู่
ผมได้อ่านหนังสือของท่าน ดร.นิเวศน์ เล่ม ตีแตก ครับ มีบทนึงกล่าวถึง
นายจอร์จ โซรอส เข้ามา short sell ค่าเงินบาทไทย เมื่อคราววิกฤตื ต้มยำกุ้งครับ
แต่ยังไม่สู้เข้าใจดีเท่าไรครับ
อยากทราบว่า short ความหมายของคืออะไร และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
ขอบคุณครับผม
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: SHORT!
โพสต์ที่ 2
มันคือ option หรือเปล่าครับ น่าจะเป็นอนุพันธ์อย่างหนึ่ง
เลือกแทงขาลง ถ้าแทงถูกก็ได้สตางค์ สุดท้ายเขาทำได้
โซรอสเขาเป็นนักเก็งกำไรนะครับ แต่เขาเก่งมากๆ ผมว่าเราเลือกสาย VI ดีกว่า
เลือกแทงขาลง ถ้าแทงถูกก็ได้สตางค์ สุดท้ายเขาทำได้
โซรอสเขาเป็นนักเก็งกำไรนะครับ แต่เขาเก่งมากๆ ผมว่าเราเลือกสาย VI ดีกว่า
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1211
- ผู้ติดตาม: 0
Re: SHORT!
โพสต์ที่ 3
สมัยนั้นประเทศไทยใช้นโยบายว่าทุกๆ 1 บาทไทยจะต้องมีเงินตราต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐหนุนหลัง เพื่อให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ
ในสมัยนั้น ธุรกิจไทยนิยมที่จะกู้เงินจากต่างประเทศเป็นในรูป เงินเยน หรือ ดอลล่าร์ แต่เมื่อกู้มาแล้วก็ต้องมาแลกเป็นเงินบาท เพราะเวลาลงทุนในไทยย่อมต้องใช้เงินบาทเป็นสำคัญ เงินบาทจึงเป็นที่ต้องการมาก
เมื่อเงินบาทเป็นที่ต้องการมากขึ้น ราคาค่างวดของมันย่อมต้องสูงขึ้น ค่าเงินบาทก็มีแนวโน้มที่จะแข็งขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อเสถียรภาพของเงินบาท (ไม่แข็ง ไม่อ่อน) ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องพิมพ์เงินบาทออกมาขายมากขึ้น แล้วก็ซื้อเงินตราต่างประเทศมาหนุนหลังเป็นหลักประกันไว้
เศรษฐกิจที่รุ่งเรืองในยุคนั้นดำเนินไปด้วยดีในช่วงหนึ่ง ธุรกิจเติบโต ค่าจ้างสูงขึ้น ผู้คนมีอำนาจการบริโภคเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เริ่มมีการนำเข้ามากขึ้นเพื่อตอบสนองอำนาจการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าจ้างที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น การส่งออกของไทยจึงค่อยๆชะลอตัวลง ต่างประเทศจึงเริ่มปล่อยกู้ยากขึ้น เงินทุนจากต่างประเทศจึงเริ่มขาดมือ
ถึงตรงนี้กาลเริ่มกลับตาลปัตร ต่างประเทศเริ่มไม่ค่อยต้องการเงินบาทไทยแล้วในตอนนี้ แต่ประเทศไทยยังคงต้องการเงินตราต่างประเทศเพื่อเอาไปชำระค่าสินค้าที่นำเข้าเข้ามา เงินบาทความจริงจึงควรอ่อนตัวลง แต่เพื่อเสถียรภาพของเงินบาท ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องเอาเงินตราต่างประเทศที่สำรองไว้อยู่ไปแลกเป็นเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนไปกว่านี้
ประเทศไทยพิมพ์เงินบาทได้ แต่พิมพ์เงินตราต่างประเทศไม่ได้ นั่นหมายความว่า ไม่ช้าก็เร็ว เงินทุนสำรองของไทยก็จะหมดไปเพราะต้องพยายามเอามาแลกเป็นเงินบาทหมดเพื่อพยุงค่าเงินบาทไว้
นักเก็งกำไรที่เริ่มคาดการณ์สถานการณ์ตรงนี้ออกจึงใช้วิธี "กู้เงินบาทมาแลกเป็นเงินดอลล่าร์" ซึ่งก็คือการขาย (Short) เงินบาทไปซื้อเงินสกุลอื่นๆ ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อยากให้เงินบาทขาดเสถียรภาพก็ต้องซื้อเงินบาทที่พวกนักเก็งกำไรเอาออกมาเร่ขายให้ได้ตลอดเวลา ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ก็ยิ่งหมดลงเร็วกว่าเดิม
ในที่สุดเมื่อประเทศไทยสายป่านขาด สุดท้ายจึงยอมแพ้ ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท นักเก็งกำไรก็เอาเงินตราต่างประเทศทั้งหลายแหล่ที่ตัวเองกู้เงินบาทไปแลกไว้มาแลกคืนในราคาที่สูงกว่าเดิมเกือบเท่าตัว
โซรอสกู้เงินไทยประมาณ 25 บาท ไปขาย (Short) แลกเป็น 1 ดอลล่าร์เพราะไม่เชื่อน้ำยารัฐบาลไทยว่าจะมีสายป่านยาวพอที่จะพยุงค่าเงินบาทได้ตลอดรอดฝั่ง สุดท้ายเมื่อไทยยกธงขาวยอมแพ้จริงๆ โซรอสก็เอาเงิน 1 ดอลล่าร์กลับมาแลกเป็นเงินบาทได้ 40-50 บาท จากนั้นกันเงิน 25 บาทบวกดอกเบี้ยไปจ่ายหนี้ที่กู้มา ส่วนที่เหลือก็คือผลประโยชน์ที่เขาได้กลับไป
เรื่องก็เป็นประการฉะนี้เอง
ในสมัยนั้น ธุรกิจไทยนิยมที่จะกู้เงินจากต่างประเทศเป็นในรูป เงินเยน หรือ ดอลล่าร์ แต่เมื่อกู้มาแล้วก็ต้องมาแลกเป็นเงินบาท เพราะเวลาลงทุนในไทยย่อมต้องใช้เงินบาทเป็นสำคัญ เงินบาทจึงเป็นที่ต้องการมาก
เมื่อเงินบาทเป็นที่ต้องการมากขึ้น ราคาค่างวดของมันย่อมต้องสูงขึ้น ค่าเงินบาทก็มีแนวโน้มที่จะแข็งขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อเสถียรภาพของเงินบาท (ไม่แข็ง ไม่อ่อน) ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องพิมพ์เงินบาทออกมาขายมากขึ้น แล้วก็ซื้อเงินตราต่างประเทศมาหนุนหลังเป็นหลักประกันไว้
เศรษฐกิจที่รุ่งเรืองในยุคนั้นดำเนินไปด้วยดีในช่วงหนึ่ง ธุรกิจเติบโต ค่าจ้างสูงขึ้น ผู้คนมีอำนาจการบริโภคเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เริ่มมีการนำเข้ามากขึ้นเพื่อตอบสนองอำนาจการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าจ้างที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น การส่งออกของไทยจึงค่อยๆชะลอตัวลง ต่างประเทศจึงเริ่มปล่อยกู้ยากขึ้น เงินทุนจากต่างประเทศจึงเริ่มขาดมือ
ถึงตรงนี้กาลเริ่มกลับตาลปัตร ต่างประเทศเริ่มไม่ค่อยต้องการเงินบาทไทยแล้วในตอนนี้ แต่ประเทศไทยยังคงต้องการเงินตราต่างประเทศเพื่อเอาไปชำระค่าสินค้าที่นำเข้าเข้ามา เงินบาทความจริงจึงควรอ่อนตัวลง แต่เพื่อเสถียรภาพของเงินบาท ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องเอาเงินตราต่างประเทศที่สำรองไว้อยู่ไปแลกเป็นเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนไปกว่านี้
ประเทศไทยพิมพ์เงินบาทได้ แต่พิมพ์เงินตราต่างประเทศไม่ได้ นั่นหมายความว่า ไม่ช้าก็เร็ว เงินทุนสำรองของไทยก็จะหมดไปเพราะต้องพยายามเอามาแลกเป็นเงินบาทหมดเพื่อพยุงค่าเงินบาทไว้
นักเก็งกำไรที่เริ่มคาดการณ์สถานการณ์ตรงนี้ออกจึงใช้วิธี "กู้เงินบาทมาแลกเป็นเงินดอลล่าร์" ซึ่งก็คือการขาย (Short) เงินบาทไปซื้อเงินสกุลอื่นๆ ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อยากให้เงินบาทขาดเสถียรภาพก็ต้องซื้อเงินบาทที่พวกนักเก็งกำไรเอาออกมาเร่ขายให้ได้ตลอดเวลา ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ก็ยิ่งหมดลงเร็วกว่าเดิม
ในที่สุดเมื่อประเทศไทยสายป่านขาด สุดท้ายจึงยอมแพ้ ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท นักเก็งกำไรก็เอาเงินตราต่างประเทศทั้งหลายแหล่ที่ตัวเองกู้เงินบาทไปแลกไว้มาแลกคืนในราคาที่สูงกว่าเดิมเกือบเท่าตัว
โซรอสกู้เงินไทยประมาณ 25 บาท ไปขาย (Short) แลกเป็น 1 ดอลล่าร์เพราะไม่เชื่อน้ำยารัฐบาลไทยว่าจะมีสายป่านยาวพอที่จะพยุงค่าเงินบาทได้ตลอดรอดฝั่ง สุดท้ายเมื่อไทยยกธงขาวยอมแพ้จริงๆ โซรอสก็เอาเงิน 1 ดอลล่าร์กลับมาแลกเป็นเงินบาทได้ 40-50 บาท จากนั้นกันเงิน 25 บาทบวกดอกเบี้ยไปจ่ายหนี้ที่กู้มา ส่วนที่เหลือก็คือผลประโยชน์ที่เขาได้กลับไป
เรื่องก็เป็นประการฉะนี้เอง
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
Re: SHORT!
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณพี่พี่ทั้งสองคนมากครับ
แล้วถ้าการชอร์ตเซลส์ในกรณีของการซื้อขายหลักทรัพย์
ผมเข้าใจว่ามักจะทำในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง
โดยการยืมหุ้นจากบริษัทหลักทรัพย์
มาขายเพื่อทำให้ราคาลงไปอีก
ผู้ที่กระทำจะได้ประโยชน์อย่างไรครับ?
ผมเข้าใจว่า
ผลสุดท้ายคือราคาที่ต่ำใช่หรือเปล่าครับ
แล้วไปช้อนซื้อ เพื่อรอราคากลับขึ้นมาอีกครั้งแล้วนำไปขาย
หรือว่าเป็นการหวังผลในตลาดฟิวเจอร์ส
ขอบคุณครับ
แล้วถ้าการชอร์ตเซลส์ในกรณีของการซื้อขายหลักทรัพย์
ผมเข้าใจว่ามักจะทำในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง
โดยการยืมหุ้นจากบริษัทหลักทรัพย์
มาขายเพื่อทำให้ราคาลงไปอีก
ผู้ที่กระทำจะได้ประโยชน์อย่างไรครับ?
ผมเข้าใจว่า
ผลสุดท้ายคือราคาที่ต่ำใช่หรือเปล่าครับ
แล้วไปช้อนซื้อ เพื่อรอราคากลับขึ้นมาอีกครั้งแล้วนำไปขาย
หรือว่าเป็นการหวังผลในตลาดฟิวเจอร์ส
ขอบคุณครับ
- Muffin
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 0
Re: SHORT!
โพสต์ที่ 5
เพื่อให้น้องขยันๆจะได้เก่ง พี่ส่งเสริมให้อ่านครับ
http://www.investopedia.com/university/ ... z1RysNK8W1
การเข้าถือ long position ก็ซื้อเพือหวังการทำกำไรจากการขายในราคาที่สูงกว่าครับ
การเข้าถือ short position ก็คือ การขายก่อน เพื่อหวังทำกำไรจากราคาที่ตำลงครับ
ทั้งนี้ทุก position ถ้า match ก็แปลว่า มีคนเห็นต่างกันสองคน คนนึงมองขึ้น คนนึงมองลงครับ คนนึงรวย คนนึงเจ๊งครับ
หวังว่าช่วยได้บ้าง อ่านเยอะๆนะครบั จะได้เก่งๆ
http://www.investopedia.com/university/ ... z1RysNK8W1
การเข้าถือ long position ก็ซื้อเพือหวังการทำกำไรจากการขายในราคาที่สูงกว่าครับ
การเข้าถือ short position ก็คือ การขายก่อน เพื่อหวังทำกำไรจากราคาที่ตำลงครับ
ทั้งนี้ทุก position ถ้า match ก็แปลว่า มีคนเห็นต่างกันสองคน คนนึงมองขึ้น คนนึงมองลงครับ คนนึงรวย คนนึงเจ๊งครับ
หวังว่าช่วยได้บ้าง อ่านเยอะๆนะครบั จะได้เก่งๆ
"Hope is not a strategy"
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
Re: SHORT!
โพสต์ที่ 6
กระจ่างขึ้นเยอะเลยครับผมMuffin เขียน:เพื่อให้น้องขยันๆจะได้เก่ง พี่ส่งเสริมให้อ่านครับ
http://www.investopedia.com/university/ ... z1RysNK8W1
การเข้าถือ long position ก็ซื้อเพือหวังการทำกำไรจากการขายในราคาที่สูงกว่าครับ
การเข้าถือ short position ก็คือ การขายก่อน เพื่อหวังทำกำไรจากราคาที่ตำลงครับ
ทั้งนี้ทุก position ถ้า match ก็แปลว่า มีคนเห็นต่างกันสองคน คนนึงมองขึ้น คนนึงมองลงครับ คนนึงรวย คนนึงเจ๊งครับ
หวังว่าช่วยได้บ้าง อ่านเยอะๆนะครบั จะได้เก่งๆ
แต่สะดุดตรงคำว่า uptick rules ครับ ในหัวข้อ Short Selling: Why Short?
อันนี้ยังไม่เข้าใจครับ
แล้วถามอีกนิดนึงครับ
คือกำไรมาจากส่วนต่างของราคาขายกับซื้อใช่มั้ยครับ
ผมสงสัยว่า ในเมื่อหลักทรัพย์ในมือผู้ที่ให้ยืม ราคาสูงอยู่แล้ว
แต่ราคาที่คืนให้เนี่ยเป็นราคาที่ต่ำในจำนวนหุ้นเท่าเดิม ถูกมั้ยครับ?
แปลว่ามูลค่าของหลักทรัพย์ ณ ขณะนั้นที่คืนจะน้อยกว่าเมื่อตอนที่ยืม
ทำไมผู้ให้ยืมถึงยอมให้ยืมครับ?
ขอบคุณมากครับ