Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
บ่น
โพสต์ที่ 32
ขอบคุณอีกครั้งสำหรับกำลังใจและความสนใจครับ
พูดถึงเรื่องการทำวิจัยกับตลาดบ้านเราแล้วขอระบายความในใจหน่อยนะครับ ผมขอออกตัวก่อนว่าเนี่เป้นประสพการณ์ส่วนตัว ถ้าท่านใดมีความเห็นเป็นอย่างอื่นก็ชี้แจงได้นะครับ
ผมเริ่มทำการศีกษานี้มาซักพักนึงแล้ว ส่วนที่ยากที่สุดคือการหาข้อมูลย้อนหลัง ผมเคยพูดคุยกับเพื่อนที่เป็นนักวิจัย ป.เอกท่านหนึ่ง เค้าก็เจอปัญหาแบบเดียวกัน
ผมมีbroker อยู่สองที่ ไม่มีที่ไหนเลยที่สามารถให้ข้อมูลนี้ได้ ไม่ใช่ให้ไม่ได้เพราะว่าเป็นข้อมูลลับนะครับ แต่เขาเองก็ไม่มีจะให้ ผมเคยมีโอกาศได้ทำงานใกล้ชิดกับBroker ยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ในแผนกวิจัยของเขาเองก็ไม่มีข้อมูลพื้นๆเหล่านี้ ผมไม่เข้าใจว่าพวกเรา(รายย่อย)ซื้อขายกันวันละเป็นหมื่นล้านได้อย่างไรโดยมีข้อมูลที่จำกัดขนาดนี้ (สงสัยจะเป็น insider trade ซักครึ่งนึง) ที่น่าเคร้ากว่านั้นก็คือตลท.เอง มีข้อมูลเหล่านี้อยู่ในมือ แต่ไม่ยอมเผิยแพร่ให้เรา ผมมึนมากๆเลยกับบริการsetsmart เขาขายข้อมูลให้เราครับ คุณว่าการที่ตลท.ขายข้อมูลให้เรา ไม่เหมือนกับการที่เต้นท์รถยนต์ขายข้อมูลรถในเต้นท์ให้ลูกค้าตัวเองเหรอ ยังไม่พอครับ เขาแบ่งระดับข้อมูลออกเป็นสามระดับ ถ้าจะเข้าไปdownloadข้อมูลปัจจุบัน เสีย500บาท แต่ถ้าจะเอาข้อมูลย้อนหลังไปมากๆ เขาคิด20,000บาท ผมถามเขาว่าราคานี้ไม่มีรายย่อยคนไหนซื้อได้หรอก เขาบอกว่า ถูกเผงเลย เราตั้งราคานี้เพื่อให้นักลงทุนสถาบัน! แปลว่าอะไรครับ สร้างความได้เปรียบให้สถาบันเหรอ ถ้าเจตนารมณ์ของตลท. คือการพัฒนาตลาดทุนของเรา ไม่ต้องไปจัดหรอกครับ ไอ้วัน"ลูกหมูออมทรัพย์"นั่นหน่ะ แล้วก็จูงมือBrokers เข้าไปเปิดบูทธ์หาลูกค้า เอาข้อมูลที่เป็นของสาธารณะมาให้นักลงทุนรายย่อยดีกว่า ปากก็บอกว่าอย่าเป็นแมงเม่านะ ให้ศึกษาข้อมูลก่อน แต่มือกับไขว้ไว้ข้างหลัง
ที่น่ายินดีคือ (หรือน่าเศร้าก็ไม่รู้) ผมได้ข้อมุลที่มีค่าเหล่านี้จากที่นี่ครับ ที่กระทู้ของพี่ครรชิต (ขอขอบคุณพี่ กับทีมงาน ThaiVI อีกครั้ง)
สุดท้ายนี้ ผมอยากให้ความเห็นของผมเป็นการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ นะครับ
พูดถึงเรื่องการทำวิจัยกับตลาดบ้านเราแล้วขอระบายความในใจหน่อยนะครับ ผมขอออกตัวก่อนว่าเนี่เป้นประสพการณ์ส่วนตัว ถ้าท่านใดมีความเห็นเป็นอย่างอื่นก็ชี้แจงได้นะครับ
ผมเริ่มทำการศีกษานี้มาซักพักนึงแล้ว ส่วนที่ยากที่สุดคือการหาข้อมูลย้อนหลัง ผมเคยพูดคุยกับเพื่อนที่เป็นนักวิจัย ป.เอกท่านหนึ่ง เค้าก็เจอปัญหาแบบเดียวกัน
ผมมีbroker อยู่สองที่ ไม่มีที่ไหนเลยที่สามารถให้ข้อมูลนี้ได้ ไม่ใช่ให้ไม่ได้เพราะว่าเป็นข้อมูลลับนะครับ แต่เขาเองก็ไม่มีจะให้ ผมเคยมีโอกาศได้ทำงานใกล้ชิดกับBroker ยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ในแผนกวิจัยของเขาเองก็ไม่มีข้อมูลพื้นๆเหล่านี้ ผมไม่เข้าใจว่าพวกเรา(รายย่อย)ซื้อขายกันวันละเป็นหมื่นล้านได้อย่างไรโดยมีข้อมูลที่จำกัดขนาดนี้ (สงสัยจะเป็น insider trade ซักครึ่งนึง) ที่น่าเคร้ากว่านั้นก็คือตลท.เอง มีข้อมูลเหล่านี้อยู่ในมือ แต่ไม่ยอมเผิยแพร่ให้เรา ผมมึนมากๆเลยกับบริการsetsmart เขาขายข้อมูลให้เราครับ คุณว่าการที่ตลท.ขายข้อมูลให้เรา ไม่เหมือนกับการที่เต้นท์รถยนต์ขายข้อมูลรถในเต้นท์ให้ลูกค้าตัวเองเหรอ ยังไม่พอครับ เขาแบ่งระดับข้อมูลออกเป็นสามระดับ ถ้าจะเข้าไปdownloadข้อมูลปัจจุบัน เสีย500บาท แต่ถ้าจะเอาข้อมูลย้อนหลังไปมากๆ เขาคิด20,000บาท ผมถามเขาว่าราคานี้ไม่มีรายย่อยคนไหนซื้อได้หรอก เขาบอกว่า ถูกเผงเลย เราตั้งราคานี้เพื่อให้นักลงทุนสถาบัน! แปลว่าอะไรครับ สร้างความได้เปรียบให้สถาบันเหรอ ถ้าเจตนารมณ์ของตลท. คือการพัฒนาตลาดทุนของเรา ไม่ต้องไปจัดหรอกครับ ไอ้วัน"ลูกหมูออมทรัพย์"นั่นหน่ะ แล้วก็จูงมือBrokers เข้าไปเปิดบูทธ์หาลูกค้า เอาข้อมูลที่เป็นของสาธารณะมาให้นักลงทุนรายย่อยดีกว่า ปากก็บอกว่าอย่าเป็นแมงเม่านะ ให้ศึกษาข้อมูลก่อน แต่มือกับไขว้ไว้ข้างหลัง
ที่น่ายินดีคือ (หรือน่าเศร้าก็ไม่รู้) ผมได้ข้อมุลที่มีค่าเหล่านี้จากที่นี่ครับ ที่กระทู้ของพี่ครรชิต (ขอขอบคุณพี่ กับทีมงาน ThaiVI อีกครั้ง)
สุดท้ายนี้ ผมอยากให้ความเห็นของผมเป็นการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ นะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
ตอบคำถาม
โพสต์ที่ 33
เมื่อกี้ได้บ่นแล้วที่นี้ขอตอบคำถามบ้างนะครับ
ก่อนอีนเลย ต้องขอติดค้างท่านที่อยากได้fileนะครับ ขอผม clean up และจัดการมัน ให้คนอื่นทำความเข้าใจได้ก่อน เสร็จแล้วจะส่งให้แน่นอนครับ
ตอบคุณROGER
ผมว่ากระทู้แรกของผมตอบคำถามนี้แล้วนะครับ กระทู้แรกไม่ได้เกิดจาก simulation แต่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง ในช่วง 11ปีที่ผ่านมา เพราะฉนั้น low p/b portของผมซึ่งเริ่มในปี 1994 ก็ซื้อตอน all time high เหมือนกัน ถ้าลองไปดูตอนปีที่set bottom down ในปี1997 low P/B port ก็ hit bottom เหมือนกัน แต่ไม่หนักเท่าset ผมว่าการเทียบแบบนี้ fairนะครับ
ตอบคุณoffshore-engineer
ถ้าใครหาข้อมูล 30ปีให้ผมได้ ผมจะทำการศึกษานี้ให้ใหม่
ตอบคุณสุมาอี้
P/E ในช่วง crisis (1997-1999) ปิดเบือนมาก ประมาณว่าครึ่งหนึ่งของ บ.จด ทะเบียนมีผมขาดทุน ถ้าจะทำให้ดูก็ได้ครับ แต่ผลจะออกมาบิดเบือน ผมเลยไม่ได้ทำ หน่ะครับ
ตอบคุณHVI
ที่ต้องใช้ equally-weighted เพราะ
1.) นี่เป็นการดูความสามารถในการแยกหุ้นที่perform โดยใช้ค่าP/B ค่าเดียว ถ้าเราใช้ weighted index แสดงว่ามีปัจจัย size เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย ซึ่งเราอยากจะกำจัดมันออกไปหน่ะครับ
2.) เหตุผลทางด้านเปรียบเทียบกับดัชนีsetครับ ผมต้องสร้าง ดัชนีset ใหม่เพื่อกำจัด survivor bias
3.) แล้วอีกอย่างหนึ่ง ถามองว่านี่เป็นเทคนิคการลงทุน equal-weighted portfolio จัดการง่ายดีด้วยครับ
ใช้ percentile เป็นvariable นั้นน่าสนใจครับ จริงๆแล้วผมทำไว้แล้วแต่ติดปัญหาเรื่องการassumeว่าบริษัทที่มีp/b ระดับไหนที่เจ๊ง กล่าวคือ ผมมีข้อมูลรวมว่าแต่ละปีมีบ. ที่เจ๊งกี่เจ้า แต่ไม่มีข้อมูลว่าตอนที่เจ๊งหน่ะ trade อยู่ที่ P/B เท่าไหร่ ผมเลยnarrow down p/b range ไปไม่ได้มาก เท่าที่ลองดูบอกได้แต่เพียงว่า ที่ 25 percentile ผลออกมาได้ abnormal return สูงกว่า ที่ 50 percentile ครับ
ก่อนอีนเลย ต้องขอติดค้างท่านที่อยากได้fileนะครับ ขอผม clean up และจัดการมัน ให้คนอื่นทำความเข้าใจได้ก่อน เสร็จแล้วจะส่งให้แน่นอนครับ
ตอบคุณROGER
ผมว่ากระทู้แรกของผมตอบคำถามนี้แล้วนะครับ กระทู้แรกไม่ได้เกิดจาก simulation แต่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง ในช่วง 11ปีที่ผ่านมา เพราะฉนั้น low p/b portของผมซึ่งเริ่มในปี 1994 ก็ซื้อตอน all time high เหมือนกัน ถ้าลองไปดูตอนปีที่set bottom down ในปี1997 low P/B port ก็ hit bottom เหมือนกัน แต่ไม่หนักเท่าset ผมว่าการเทียบแบบนี้ fairนะครับ
ตอบคุณoffshore-engineer
ถ้าใครหาข้อมูล 30ปีให้ผมได้ ผมจะทำการศึกษานี้ให้ใหม่
ตอบคุณสุมาอี้
P/E ในช่วง crisis (1997-1999) ปิดเบือนมาก ประมาณว่าครึ่งหนึ่งของ บ.จด ทะเบียนมีผมขาดทุน ถ้าจะทำให้ดูก็ได้ครับ แต่ผลจะออกมาบิดเบือน ผมเลยไม่ได้ทำ หน่ะครับ
ตอบคุณHVI
ที่ต้องใช้ equally-weighted เพราะ
1.) นี่เป็นการดูความสามารถในการแยกหุ้นที่perform โดยใช้ค่าP/B ค่าเดียว ถ้าเราใช้ weighted index แสดงว่ามีปัจจัย size เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย ซึ่งเราอยากจะกำจัดมันออกไปหน่ะครับ
2.) เหตุผลทางด้านเปรียบเทียบกับดัชนีsetครับ ผมต้องสร้าง ดัชนีset ใหม่เพื่อกำจัด survivor bias
3.) แล้วอีกอย่างหนึ่ง ถามองว่านี่เป็นเทคนิคการลงทุน equal-weighted portfolio จัดการง่ายดีด้วยครับ
ใช้ percentile เป็นvariable นั้นน่าสนใจครับ จริงๆแล้วผมทำไว้แล้วแต่ติดปัญหาเรื่องการassumeว่าบริษัทที่มีp/b ระดับไหนที่เจ๊ง กล่าวคือ ผมมีข้อมูลรวมว่าแต่ละปีมีบ. ที่เจ๊งกี่เจ้า แต่ไม่มีข้อมูลว่าตอนที่เจ๊งหน่ะ trade อยู่ที่ P/B เท่าไหร่ ผมเลยnarrow down p/b range ไปไม่ได้มาก เท่าที่ลองดูบอกได้แต่เพียงว่า ที่ 25 percentile ผลออกมาได้ abnormal return สูงกว่า ที่ 50 percentile ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 37
เสริมเกี่ยวกับความหมายของ Monte Carlo
Monte Carlo
Definition
An analytical technique in which a large number of simulations are run using random quantities for uncertain variables and looking at the distribution of results to infer which values are most likely. The name comes from the city of Monte Carlo, which is known for its casinos.
Source: http://www.investorwords.com
Monte Carlo
Definition
An analytical technique in which a large number of simulations are run using random quantities for uncertain variables and looking at the distribution of results to infer which values are most likely. The name comes from the city of Monte Carlo, which is known for its casinos.
Source: http://www.investorwords.com
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 38
เสริมเกี่ยวกับความหมายของ survivorship bias
survivorship bias
Definition
The tendency for failed companies to be excluded from performance studies due to the fact that they no longer exist. Survivorship bias causes the results of some studies to skew higher because only companies which were successful enough to survive until the end of the period are included. Similarly, mutual fund performance may be misleading due to survivorship bias if the fund family tends to merge or discontinue underperforming funds.
survivorship bias
Definition
The tendency for failed companies to be excluded from performance studies due to the fact that they no longer exist. Survivorship bias causes the results of some studies to skew higher because only companies which were successful enough to survive until the end of the period are included. Similarly, mutual fund performance may be misleading due to survivorship bias if the fund family tends to merge or discontinue underperforming funds.
"Winners never quit, and quitters never win."
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตอบคำถาม
โพสต์ที่ 39
ไม่เป็นไรครับPalm เขียน: ตอบคุณสุมาอี้
P/E ในช่วง crisis (1997-1999) ปิดเบือนมาก ประมาณว่าครึ่งหนึ่งของ บ.จด ทะเบียนมีผมขาดทุน ถ้าจะทำให้ดูก็ได้ครับ แต่ผลจะออกมาบิดเบือน ผมเลยไม่ได้ทำ หน่ะครับ
ในอเมริกานานมาแล้วมีการค้นพบ trading strategy ชื่อว่า Dogs of the Dow วิธีนี้ซื้อเฉพาะหุ้นที่เป็น component ของ DJIA โดยเลือกตัวที่มี divident yield สูงที่สุด 10 ตัวแรกของปี ไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าสามารถ
beat market ได้อย่างง่ายดายในระยะยาว แถมมี standard deviation ลดลงอีกด้วย
ถ้าใครหาเจอแบบนี้บ้างสำหรับหุ้นไทยก็คงสบายแฮ
(แต่พอ Dogs of the Dow ถูกนำมาตีพิมพ์ใน Newsweek ปรากฎว่าหลังจากปี้นั้น Dogs of the Dow ก็เริ่มไม่เวิร์ค คงเป็นเพราะมีคนนำไปใช้กันมากทำให้เกิดการ arbitrage จนไม่เหลือ excess return)
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตอบคำถาม
โพสต์ที่ 40
หลังจากที่ post ถามแล้ว ผมก็คิดตามตลอดแล้วก็ปิ๊งขึ้นมาว่า
อ้อ... ที่ต้องคำนวณ SET โดยถ่วงน้ำหนักเท่ากัน
เพราะเราต้องการเปรียบเทียบ 50 percentile low P/B Portfolio ที่ลงทุนเท่ากันในหุ้นแต่ละตัว กับ Market Portfolio
เลยต้องคำนวณ Index ของ Market Portfolio ที่ Asssume ว่าหุ้นทุกตัวมี Market Cap ที่เท่ากัน
พอได้อ่านคำตอบของคุณ Palm ก็ชัดเจนยิ่งขึ้น
แต่ผมไม่เข้าใจข้อ 2
ผมอยากจะเรียนถามต่อว่า การสร้าง SET ใหม่นี้สามารถกำจัด survivor bias ได้อย่างไรครับ
อ้อ... ที่ต้องคำนวณ SET โดยถ่วงน้ำหนักเท่ากัน
เพราะเราต้องการเปรียบเทียบ 50 percentile low P/B Portfolio ที่ลงทุนเท่ากันในหุ้นแต่ละตัว กับ Market Portfolio
เลยต้องคำนวณ Index ของ Market Portfolio ที่ Asssume ว่าหุ้นทุกตัวมี Market Cap ที่เท่ากัน
พอได้อ่านคำตอบของคุณ Palm ก็ชัดเจนยิ่งขึ้น
แต่ผมไม่เข้าใจข้อ 2
ผมอยากจะเรียนถามต่อว่า การสร้าง SET ใหม่นี้สามารถกำจัด survivor bias ได้อย่างไรครับ
Palm เขียน: 2.) เหตุผลทางด้านเปรียบเทียบกับดัชนีsetครับ ผมต้องสร้าง ดัชนีset ใหม่เพื่อกำจัด survivor bias
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 41
ระหว่างที่รอคำตอบ ผมนึกออกอีกอย่างนึง
ผมอยากเสนอให้ Study Interval เป็น variable
(คล้ายกับความเห็นคุณ ROGER)
ให้มี Starting Point และ Ending Point
โดยให้ให้ 2 ตัวนี้เป็น input parameters สำหรับ model
ด้วยวิธีนี้เราสามารถนำไปประยุกต์เพื่อหาผลลัพธ์ได้มากขึ้น เช่น
ปีที่เกิด crisis, low P/B strategy ยังสามารถใช้ได้หรือไม่
หรือนักลงทุนระยะกลาง เช่น 1-3 ปี
การใช้ strategy นี้ยังคงใช้ได้สำหรับทุกช่วงเวลาหรือไม่
น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า สามารถทดสอบย้อนหลัง 10 ปีได้อย่างเดียวนะครับ
ผมอยากเสนอให้ Study Interval เป็น variable
(คล้ายกับความเห็นคุณ ROGER)
ให้มี Starting Point และ Ending Point
โดยให้ให้ 2 ตัวนี้เป็น input parameters สำหรับ model
ด้วยวิธีนี้เราสามารถนำไปประยุกต์เพื่อหาผลลัพธ์ได้มากขึ้น เช่น
ปีที่เกิด crisis, low P/B strategy ยังสามารถใช้ได้หรือไม่
หรือนักลงทุนระยะกลาง เช่น 1-3 ปี
การใช้ strategy นี้ยังคงใช้ได้สำหรับทุกช่วงเวลาหรือไม่
น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า สามารถทดสอบย้อนหลัง 10 ปีได้อย่างเดียวนะครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
EFFECT ของปี
โพสต์ที่ 42
ผมนั่งเถียงกับเพื่อนอยู่พักใหญ่ เรื่องการศึกษา "effect ของปีต่อinvestment strategy" (เช่น ถ้าตลาดกำลังจะ Bull ให้ใช้วิธีนี้ ถ้าตลาดจะ bear ให้ใช้อีกวิธี) ตามความเห็นของผม ปีไม่ควรนำมาเป็นfactorเพราะว่าเราไม่สามารถบอกได้ว่าปีหน้าตลาดจะ Bull หรือ Bear
Trading rule ที่ดีคือคุณสามารถทำตามได้โดยไม่ต้องใช้ความสามารถในการคาดการณ์ตลาดเลย การศึกษาของผมที่รวมdataของ10ปี ก็เพื่อที่จะครอบคลุม market behavior ทั้ง Economic Cycle
อย่างไรก็ดี มีคนจำนวนมากพอที่ผมคุยด้วยที่เห็นว่าควรดู effect ของปีด้วย เพราะฉนั้น ผมเลยทำมาให้ดู ท่านที่มีประสพการณ์การลงทุนในช่วงปีเหล่านี้ ช่วยมาshare ด้วยนะครับว่า ในช่วงปีไหน เกิดอะไรขึ้นกับตลาด เพื่อให้การอ่าน chart นี้มี insight มากขึ้น
SET Low P/B (50percentile)
1995 -13% -15%
1996 -23% -15%
1997 -45% -48%
1998 20% 36%
1999 59% 75%
2000 -2% 7%
2001 37% 46%
2002 37% 52%
2003 98% 94%
2004 -8% 3%
2005 -1% 2%
Average 14% 22%
ช่วง11ปีที่ผ่านมา low p/b port แพ้set index ในปี 1995, 1997, และ 2003 ท่านไหนมี insight ดีๆว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงปีเหล่านั้นก็ช่วย share ด้วยนะครับ
ทีนี้เรามา focus ที่ ค่าเฉลี่ยกัน ผมจะแยก effect ของปีให้ดูนะครับ ว่า ค่าเฉลี่ยของตลาดที่พวกเราเห็นว่าเป็น 14% นั้น ปีไหนมีส่วนรับผิดชอบ (contribution) กี่ %
ของตลาด (14%)
ContributionToVariance
2003 23.20%
1998 18.80%
1999 16.40%
2002 10.10%
2000 7.80%
2001 7.50%
1996 3.70%
2005 3.40%
1997 3.30%
2004 3.20%
1995 2.40%
ของ low p/b stocks (22%)
1998 low 23%
2003 low 22%
1999 low 18%
2002 low 9%
2001 low 7%
2000 low 7%
2004 low 6%
2005 low 5%
1996 low 1%
1997 low 1%
1995 low 0%
อย่างที่เห็นครับ ปีที่ส่งผมบวก(influence)ให้ set index มากที่สุด คือ 2003 แต่ ปีที่ส่งผลบวก(influence)ให้ low p/b มากที่สุด กลับเป็นปี 1998
เพราะฉนั้นถ้าจะตอบคำถามแบบขวานผ่าซากเลย ก็จะตอบว่า ไม่ low p/b ไม่สามารถเอาชนะ set ได้ในทุกๆปีครับ ดูเหมือนว่า Set จะได้ประโยชน์มากที่สุดในปี 2003 ในขณะที่ low p/b จะได้ประโยชน์มากที่สุดในช่วงปี 1998
ตอบเรื่อง holding period ของคุณHVI
น่าเสียดายครับที่Dataของผมมีจำกัด ไม่เช่นนั้นการ ใช้holding period เป็น variable นั้นน่าทำมากๆครับ
ตอบเรื่องกำจัด survivor bias
ผมพูดผิดไปหน่ะครับ ควรจะกลับกันมากกว่า เนื่องจากเราสร้าง Equally-Weighted Index ผมเลยต้อง หาทางกำจัด Survivor Bias มากกว่า ขออภัยที่ทำให้เกิดความสับสนครับ (SET indexปรกตินั้นได้หักลบบริษัทที่ถูก delisted ไปแล้ว แต่ equally-weighted SET ของผมมีsurvivor biasอยู่)
Trading rule ที่ดีคือคุณสามารถทำตามได้โดยไม่ต้องใช้ความสามารถในการคาดการณ์ตลาดเลย การศึกษาของผมที่รวมdataของ10ปี ก็เพื่อที่จะครอบคลุม market behavior ทั้ง Economic Cycle
อย่างไรก็ดี มีคนจำนวนมากพอที่ผมคุยด้วยที่เห็นว่าควรดู effect ของปีด้วย เพราะฉนั้น ผมเลยทำมาให้ดู ท่านที่มีประสพการณ์การลงทุนในช่วงปีเหล่านี้ ช่วยมาshare ด้วยนะครับว่า ในช่วงปีไหน เกิดอะไรขึ้นกับตลาด เพื่อให้การอ่าน chart นี้มี insight มากขึ้น
SET Low P/B (50percentile)
1995 -13% -15%
1996 -23% -15%
1997 -45% -48%
1998 20% 36%
1999 59% 75%
2000 -2% 7%
2001 37% 46%
2002 37% 52%
2003 98% 94%
2004 -8% 3%
2005 -1% 2%
Average 14% 22%
ช่วง11ปีที่ผ่านมา low p/b port แพ้set index ในปี 1995, 1997, และ 2003 ท่านไหนมี insight ดีๆว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงปีเหล่านั้นก็ช่วย share ด้วยนะครับ
ทีนี้เรามา focus ที่ ค่าเฉลี่ยกัน ผมจะแยก effect ของปีให้ดูนะครับ ว่า ค่าเฉลี่ยของตลาดที่พวกเราเห็นว่าเป็น 14% นั้น ปีไหนมีส่วนรับผิดชอบ (contribution) กี่ %
ของตลาด (14%)
ContributionToVariance
2003 23.20%
1998 18.80%
1999 16.40%
2002 10.10%
2000 7.80%
2001 7.50%
1996 3.70%
2005 3.40%
1997 3.30%
2004 3.20%
1995 2.40%
ของ low p/b stocks (22%)
1998 low 23%
2003 low 22%
1999 low 18%
2002 low 9%
2001 low 7%
2000 low 7%
2004 low 6%
2005 low 5%
1996 low 1%
1997 low 1%
1995 low 0%
อย่างที่เห็นครับ ปีที่ส่งผมบวก(influence)ให้ set index มากที่สุด คือ 2003 แต่ ปีที่ส่งผลบวก(influence)ให้ low p/b มากที่สุด กลับเป็นปี 1998
เพราะฉนั้นถ้าจะตอบคำถามแบบขวานผ่าซากเลย ก็จะตอบว่า ไม่ low p/b ไม่สามารถเอาชนะ set ได้ในทุกๆปีครับ ดูเหมือนว่า Set จะได้ประโยชน์มากที่สุดในปี 2003 ในขณะที่ low p/b จะได้ประโยชน์มากที่สุดในช่วงปี 1998
ตอบเรื่อง holding period ของคุณHVI
น่าเสียดายครับที่Dataของผมมีจำกัด ไม่เช่นนั้นการ ใช้holding period เป็น variable นั้นน่าทำมากๆครับ
ตอบเรื่องกำจัด survivor bias
ผมพูดผิดไปหน่ะครับ ควรจะกลับกันมากกว่า เนื่องจากเราสร้าง Equally-Weighted Index ผมเลยต้อง หาทางกำจัด Survivor Bias มากกว่า ขออภัยที่ทำให้เกิดความสับสนครับ (SET indexปรกตินั้นได้หักลบบริษัทที่ถูก delisted ไปแล้ว แต่ equally-weighted SET ของผมมีsurvivor biasอยู่)
- ROGER
- Verified User
- โพสต์: 609
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 43
วิธีการของคุณที่อธิบายว่า ใช้ p/b ที่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซนต์ไทล์ ลงไปทำการคำนวน หมายความว่าใช้หุ้นจำนวน ครึ่งหนึ่งของตลาดใช่หรือไม่ครับ
หากถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆๆ ก็ควรระวังครับ เพราะมันไม่ต่างกับการปั่นแปะนะครับ
หากถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆๆ ก็ควรระวังครับ เพราะมันไม่ต่างกับการปั่นแปะนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
Re: EFFECT ของปี
โพสต์ที่ 44
เยี่ยมเลยครับ
และขอบคุณสำหรับคำตอบครับคุณ Palm
[quote="Palm"]
ท่านที่มีประสพการณ์การลงทุนในช่วงปีเหล่านี้ ช่วยมาshare ด้วยนะครับว่า ในช่วงปีไหน เกิดอะไรขึ้นกับตลาด เพื่อให้การอ่าน chart นี้มี insight มากขึ้น
และขอบคุณสำหรับคำตอบครับคุณ Palm
[quote="Palm"]
ท่านที่มีประสพการณ์การลงทุนในช่วงปีเหล่านี้ ช่วยมาshare ด้วยนะครับว่า ในช่วงปีไหน เกิดอะไรขึ้นกับตลาด เพื่อให้การอ่าน chart นี้มี insight มากขึ้น
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 45
ถูกต้องเลยครับ คุณRoger
คือการปั่นแปะโดยการถ่วงเหรียญหน่ะครับ และผมเห็นด้วยว่าต้องระวัง เพราะว่าถึงแม้จะถ่วงด้านหัวก็ตาม โอกาศออกเป็นก้อยก็ยังมี สิ่งที่ผมแสดงให้ดูใน Simulation คือการโยนเหรียญ 1,000 ครั้ง แล้วสรุปว่า เหรียญที่ถ่วงด้วยวิธีของผมนั้น(low p/b) ให้ abnormal return (เหนือตลาด) ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ก็คือการศึกษาความน่าจะเป็น ซึ่งถ้าเปรียบทียบกันแล้ว ก็ไม่ต่างจากขติของ VI เช่น VIมักมองหาหุ้นที่มีกระแสเงินสดเป็นบวก นี่ก็เป็นการพนันบนความน่าจะเป็นเช่นกัน
ถ้าผมเข้าใจเจตนาของคุณRogerไม่ผิด คุณคงกลัวว่าสิ่งที่ผมเอามาบอกนั้นเป็นอันตราย โดยเฉพาะกับน้องๆ ที่ยังไม่มีประสพการณ์การลงทุน แล้วเข้าใจผิด คิดว่านี่เป็นวิธีหาเงินง่ายๆ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ของบอกไว้ตรงนี้เลยว่าให้เชื่อ คุณRoger ที่ว่าต้องระวัง เวลามีใครมา claim วิธีเอาชนะตลาด (แบบผม) ขอให้อย่ารีบเชื่อ โดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน
ทีนี้ผมขอวิจารญ์การศึกษาของผมเลยนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน
1.) ไม่เป็น Academic: นี่ไม่ใช่ thesis ของ นักศึกษาป. เอก เพราะฉนั้น เนื้อหาจึงไม่ได้รับการverify จากexpert
2.) ไม่ scientific: เนื่องจากข้อมูลของผมได้มาจาก source ของที่นี่ (12 year EPS) ข้อมูลเลยไม่ถูก verify
3.) ข้อมูลย้อนหลังไม่มากพอ: ถ้าจะให้ถูกต้อง ผมควรมีข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ SET เปิดตลาด
4.) ผลการศึกษาอาจเป็นอันตราย: สิ่งที่ผม Claimนั้น ค่อนข้างน่ากลัว ลองมาคิดกัน "ผมสามารถเอาชนะตลาดได้ ถึง 5%, ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า และ สามารถให้ผลตอบแทนได้ถึง 20% ต่อปี โดยไม่ต้องรู้จักแม้กระทั่งหุ้นที่ผมซื้อเลยซักตัว" นี่เป็นการ claim ที่อันตรายนะ ในความคิดของผม ถ้าคิดถึง เหล่า Money Manager, นักวิเคราะห์, รวมถึงพวกเราที่นี่ที่ทุ่มเวลา ความรู้ ความสามารถ ในการพยายามทำความเข้าใจกับหุ้นแต่ละตัว ผมว่าวิธีของผมนั้น "ฟังเหมือนโฆษณาชวนเชื่อ" มากกว่า เป็นการยากที่จะทำใจรับได้ว่าว่าวิธีง่ายจะเอาชนะตลาดได้
สุดท้ายนี้อยากจะฝากให้คิดเล่น
แต่ถ้าการศึกษาของผมสามารถverifyได้ขึ้นมาหล่ะ?
คือการปั่นแปะโดยการถ่วงเหรียญหน่ะครับ และผมเห็นด้วยว่าต้องระวัง เพราะว่าถึงแม้จะถ่วงด้านหัวก็ตาม โอกาศออกเป็นก้อยก็ยังมี สิ่งที่ผมแสดงให้ดูใน Simulation คือการโยนเหรียญ 1,000 ครั้ง แล้วสรุปว่า เหรียญที่ถ่วงด้วยวิธีของผมนั้น(low p/b) ให้ abnormal return (เหนือตลาด) ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ก็คือการศึกษาความน่าจะเป็น ซึ่งถ้าเปรียบทียบกันแล้ว ก็ไม่ต่างจากขติของ VI เช่น VIมักมองหาหุ้นที่มีกระแสเงินสดเป็นบวก นี่ก็เป็นการพนันบนความน่าจะเป็นเช่นกัน
ถ้าผมเข้าใจเจตนาของคุณRogerไม่ผิด คุณคงกลัวว่าสิ่งที่ผมเอามาบอกนั้นเป็นอันตราย โดยเฉพาะกับน้องๆ ที่ยังไม่มีประสพการณ์การลงทุน แล้วเข้าใจผิด คิดว่านี่เป็นวิธีหาเงินง่ายๆ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ของบอกไว้ตรงนี้เลยว่าให้เชื่อ คุณRoger ที่ว่าต้องระวัง เวลามีใครมา claim วิธีเอาชนะตลาด (แบบผม) ขอให้อย่ารีบเชื่อ โดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน
ทีนี้ผมขอวิจารญ์การศึกษาของผมเลยนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน
1.) ไม่เป็น Academic: นี่ไม่ใช่ thesis ของ นักศึกษาป. เอก เพราะฉนั้น เนื้อหาจึงไม่ได้รับการverify จากexpert
2.) ไม่ scientific: เนื่องจากข้อมูลของผมได้มาจาก source ของที่นี่ (12 year EPS) ข้อมูลเลยไม่ถูก verify
3.) ข้อมูลย้อนหลังไม่มากพอ: ถ้าจะให้ถูกต้อง ผมควรมีข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ SET เปิดตลาด
4.) ผลการศึกษาอาจเป็นอันตราย: สิ่งที่ผม Claimนั้น ค่อนข้างน่ากลัว ลองมาคิดกัน "ผมสามารถเอาชนะตลาดได้ ถึง 5%, ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า และ สามารถให้ผลตอบแทนได้ถึง 20% ต่อปี โดยไม่ต้องรู้จักแม้กระทั่งหุ้นที่ผมซื้อเลยซักตัว" นี่เป็นการ claim ที่อันตรายนะ ในความคิดของผม ถ้าคิดถึง เหล่า Money Manager, นักวิเคราะห์, รวมถึงพวกเราที่นี่ที่ทุ่มเวลา ความรู้ ความสามารถ ในการพยายามทำความเข้าใจกับหุ้นแต่ละตัว ผมว่าวิธีของผมนั้น "ฟังเหมือนโฆษณาชวนเชื่อ" มากกว่า เป็นการยากที่จะทำใจรับได้ว่าว่าวิธีง่ายจะเอาชนะตลาดได้
สุดท้ายนี้อยากจะฝากให้คิดเล่น
แต่ถ้าการศึกษาของผมสามารถverifyได้ขึ้นมาหล่ะ?
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 47
อย่าเพิ่งสุดท้ายสิครับ อุตส่าห์ลงทุนลงแรงขนาดนี้แล้วสุดท้ายนี้อยากจะฝากให้คิดเล่น
แต่ถ้าการศึกษาของผมสามารถverifyได้ขึ้นมาหล่ะ?
ลองเปลี่ยนจากเปอร์เซนไทล์ที่ 50 มาเป็นที่20 , 10 และ 5 ดู ผมว่าจะได้อะไรที่คุ้มค่าเหนื่อยพอสมควรครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 49
ไม่เป็นไรหรอกครับคุณปาล์ม ผมว่าเป็นการศึกษาที่ดีมากๆและผมก็เห็นด้วยกับผลการศึกษานะครับ4.) ผลการศึกษาอาจเป็นอันตราย: สิ่งที่ผม Claimนั้น ค่อนข้างน่ากลัว ลองมาคิดกัน "ผมสามารถเอาชนะตลาดได้ ถึง 5%, ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า และ สามารถให้ผลตอบแทนได้ถึง 20% ต่อปี โดยไม่ต้องรู้จักแม้กระทั่งหุ้นที่ผมซื้อเลยซักตัว" นี่เป็นการ claim ที่อันตรายนะ ในความคิดของผม ถ้าคิดถึง เหล่า Money Manager, นักวิเคราะห์, รวมถึงพวกเราที่นี่ที่ทุ่มเวลา ความรู้ ความสามารถ ในการพยายามทำความเข้าใจกับหุ้นแต่ละตัว ผมว่าวิธีของผมนั้น "ฟังเหมือนโฆษณาชวนเชื่อ" มากกว่า เป็นการยากที่จะทำใจรับได้ว่าว่าวิธีง่ายจะเอาชนะตลาดได้
ผมก็อยู่ฝั่งคนที่ทุ่มเวลา ความรู้ ความสามารถ ในการพยายามทำความเข้าใจกับหุ้นแต่ละตัวครับ แต่ไม่รู้สึกว่าจะเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจว่าอุตส่าห์ทุ่มเวลาแล้วแต่ก็มีวิธีที่ง่ายๆในการที่จะเอาชนะตลาดหุ้นได้ เพราะผมมีสมมติฐานในใจว่า
1.ถ้าเราไม่ดูรายละเอียดหุ้นเลย คือเลือกซื้อแบบสุ่มโดยไม่สนใจพื้นฐาน ผลการลงทุนก็จะได้พอๆกับ set (ที่ทำ equally-weighted แล้ว) ถ้าใช้เวลาที่ยาวนานและจำนวนหุ้นที่มากพอ
2. สาเหตุที่คนส่วนใหญ่แพ้ตลาดเป็นเพราะว่ามีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่สูงมาก เช่น ค่าคอมมิสชั่นและอื่นๆต่างหาก
3.ผลการศึกษานี้ชนะตลาด 5% ซึ่งผมถือว่าไม่มาก และในปีที่ตลาดติดลบ ของเราเองก็อาจจะขาดทุนไปด้วย ในขณะที่คนในTVI นี้ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำแม้ในปีที่ตลาดติดลบ
4. อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ถือว่าเรามีเครื่องกรองที่ดีเครื่องหนึ่งซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนให้เราได้ดีพอสมควรทั้งๆที่เราแทบไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย แต่ถ้าเราอยากได้มากขึ้นเราก็ต้องลงแรงมากขึ้นเท่านั้นเอง
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 50
สุดยอดกะทู้เลยครับดีใจที่มีคนมีความรู้ดีๆมาอธิบายความรู้ที่ได้ศึกษามาให้เพื่อนๆ ได้ฟังกันคุยกันแต่เรื่องที่มีประโยชน์ หวังว่าจะมีกะทู้ดีๆแบบนี้คลอดออกมาให้ได้อ่านกันมากๆนะครับ
- ROGER
- Verified User
- โพสต์: 609
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 51
คุณ Palm ครับ หากคุณต้องการข้อมูลที่ยาวๆๆ ลองหาน้องๆๆที่เรียนที่ ธรรมศาสตร์ดู ทางมหาลัยจะซื้อข้อมูลจาก Thomson data stream ไว้ให้นักศึกษาปริญญาโททำวิจัย ข้อมูลจะดีมาก แถมปรับปรุงข้อมูลที่มีการแตกพาร์ เพิ่มทุน หรือจ่ายปันผลรวมอยู่ด้วย ทำให้คุณนำข้อมูลไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องปรับแต่งข้อมูล การโหลดหาข้อมูลก็ง่ายและรวดเร็ว
เรื่อง trading rules นี่บอกได้เลยมัน subjunctive มาก เพราะคนที่กำหนดเงื่อนไขสามารถกำหนดเองขึ้นมาได้ ทำให้ลืมบางสิ่งบางอย่างไป อย่างเช่น กรณีของคุณ ที่คุณซีเค ชี้ว่าตอนซื้ออาจจะต้องซื้อแพง ในกรณีกลับกัน ตอนขายอาจจะต้องขายถูก ยิ่งทำให้ผลตอบแทนมันลดลงไปอีก
ยิ่งในตลาดไทยนั้น ผมเคยเอาข้อมูลมาดู หุ้น 200 ตัวแรก พอจะดีวอลุ่มการเทรดที่พอนำไปใช้ในการศึกษาได้ แต่ ตั้งแต่ 201 ลงไป บางตัว เทรดวันหนึ่งเว้นไป 2 อาทิตย์ บางตัว ปีหนึ่งเทรดกัน 10 วัน บางตัวปีนึงเทรด 200 หุ้น ซึ่งมักเป็นพวก P/B ต่ำแทบทั้งสิ้น
เรื่อง trading rules นี่ผลอ่าน paper มาไม่ต่ำกว่า 20 paper ทำให้รู้ว่าฝรั่งมันก็สับกันเละเหมือนกัน มั่วกันก็เยอะ สุดท้ายผมกลับชอบ paper ของฝรั่งค่ายที่เชื่อในเรื่อง means reverting ซึ่งดูจะเหมาะกับการอธิบายปรากฏการณ์การขึ้นๆๆลงๆๆของหลักทรัพย์นั้นๆๆๆ และผลตอบแทนในระยะยาวได้ดี ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นของpaper นาย shiller
เรื่อง trading rules นี่บอกได้เลยมัน subjunctive มาก เพราะคนที่กำหนดเงื่อนไขสามารถกำหนดเองขึ้นมาได้ ทำให้ลืมบางสิ่งบางอย่างไป อย่างเช่น กรณีของคุณ ที่คุณซีเค ชี้ว่าตอนซื้ออาจจะต้องซื้อแพง ในกรณีกลับกัน ตอนขายอาจจะต้องขายถูก ยิ่งทำให้ผลตอบแทนมันลดลงไปอีก
ยิ่งในตลาดไทยนั้น ผมเคยเอาข้อมูลมาดู หุ้น 200 ตัวแรก พอจะดีวอลุ่มการเทรดที่พอนำไปใช้ในการศึกษาได้ แต่ ตั้งแต่ 201 ลงไป บางตัว เทรดวันหนึ่งเว้นไป 2 อาทิตย์ บางตัว ปีหนึ่งเทรดกัน 10 วัน บางตัวปีนึงเทรด 200 หุ้น ซึ่งมักเป็นพวก P/B ต่ำแทบทั้งสิ้น
เรื่อง trading rules นี่ผลอ่าน paper มาไม่ต่ำกว่า 20 paper ทำให้รู้ว่าฝรั่งมันก็สับกันเละเหมือนกัน มั่วกันก็เยอะ สุดท้ายผมกลับชอบ paper ของฝรั่งค่ายที่เชื่อในเรื่อง means reverting ซึ่งดูจะเหมาะกับการอธิบายปรากฏการณ์การขึ้นๆๆลงๆๆของหลักทรัพย์นั้นๆๆๆ และผลตอบแทนในระยะยาวได้ดี ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นของpaper นาย shiller
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 52
ข้อสำคัญอีกข้อครับ
ถึงแม้จะ verified และ statisically accurate
ก็ไม่มีอะไรการันตีว่า ผลการศึกษาในอดีต จะใช้กับอนาคตได้
ยกตัวอย่าง ผมทำ simulation ซื้อขายหุ้นในตลาด
โดยเน้น big cap จริงๆ เช่น SCC ตัวเดียว หรือ banpu ตัวเดียว
ใช้ข้อมูลราคาย้อนหลัง 12 ปี โดยซื้อบนพื้นฐานราคาอย่างเดียว
(เช่น ถ้าราคาสูงกว่า X ให้ซื้อ ต่ำกว่า Y ให้ขาย)
สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลียได้ถึง 23% ต่อปี
โดยไม่ต้องดูอย่างอื่นเลย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจหรือพื้นฐานหุ้น
นี่ไม่นับปันผลนะครับ ถ้านับ คงจะเกิน 25%
แต่ เช่นเดียวกันครับ X และ Y ที่ว่า
ไม่มีอะไรการันตีว่า มันจะใช้การได้ต่อไปในอนาคต
ถึงแม้จะ verified และ statisically accurate
ก็ไม่มีอะไรการันตีว่า ผลการศึกษาในอดีต จะใช้กับอนาคตได้
ยกตัวอย่าง ผมทำ simulation ซื้อขายหุ้นในตลาด
โดยเน้น big cap จริงๆ เช่น SCC ตัวเดียว หรือ banpu ตัวเดียว
ใช้ข้อมูลราคาย้อนหลัง 12 ปี โดยซื้อบนพื้นฐานราคาอย่างเดียว
(เช่น ถ้าราคาสูงกว่า X ให้ซื้อ ต่ำกว่า Y ให้ขาย)
สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลียได้ถึง 23% ต่อปี
โดยไม่ต้องดูอย่างอื่นเลย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจหรือพื้นฐานหุ้น
นี่ไม่นับปันผลนะครับ ถ้านับ คงจะเกิน 25%
แต่ เช่นเดียวกันครับ X และ Y ที่ว่า
ไม่มีอะไรการันตีว่า มันจะใช้การได้ต่อไปในอนาคต
-
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 53
ถ้าเราลดความเสี่ยง จากแก้ความไม่แน่นอน
ด้วยการสร้างจุด stop loss ล่ะครับ พอได้มั้ย
อยากรู้ว่าใส่ stop loss เข้าไป
เคยดูของคุณเฟยหง หุ้นเงา
แกใช้วิธี ขายหุ้นที่ไม่ขึ้น หรือขึ้นน้อย ในพอร์ต
ไปรวมเงินกันซื้อหุ้นที่กำลังขึ้นนะครับ ผมว่าไม่เลวเลย
ด้วยการสร้างจุด stop loss ล่ะครับ พอได้มั้ย
อยากรู้ว่าใส่ stop loss เข้าไป
เคยดูของคุณเฟยหง หุ้นเงา
แกใช้วิธี ขายหุ้นที่ไม่ขึ้น หรือขึ้นน้อย ในพอร์ต
ไปรวมเงินกันซื้อหุ้นที่กำลังขึ้นนะครับ ผมว่าไม่เลวเลย
- simpleBE
- Verified User
- โพสต์: 2335
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 54
เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 34
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 55
ไม่น่าเชื่อครับ หลักการ Value Index จะได้รับการค้นพบและเสนอโดย Joel Greenblatt ด้วยแฮะ (เล่มต่อจาก The Little Book That Beats the Market) แต่สมาชิก thaivi เราเจอก่อนตั้งหลายปีแน่ะ อิอิ
http://www.amazon.com/Big-Secret-Small- ... 878&sr=8-1
http://www.amazon.com/Big-Secret-Small- ... 878&sr=8-1
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
ลองแชร์กันดู
โพสต์ที่ 56
สวัสดีครับ ผมได้ลองเขียนโปรแกรม simulate หุ้นย้อนหลังดูสามปี ข้อมูลจากเวป set.or.th
ซึ่งวิธีดังกล่าวจะคล้ายๆกับกระทู้ " สรุปงานวิจัยเบื่้องต้นการลงทุนแบบวีไอในรายการมันนี่ทอร์ค "
ใครยังไม่เคยอ่านลองเข้าไปอ่านดูนะครับ
จากที่เห็นในรูปเป็นการซื้อขายสิ้นปีนึงชนกับอีกสิ้นปีนึง จากเห็นในรูป จะเห็น เครือ่งหมายถูกที่ติ๊กสองช่อง คือ p/bv , yield
โปรแกรมนี้สามารถจำลองการซื้อขายได้หมดจาก filter ทั้งสี่ตัว จะเลือกแบบไหนก็ได้หรือเลือกหมดเลยก็ได้
แต่ จากการทดสอบของผม p/bv + yield เป็นตัวที่ได้ผลตามแทนมากที่สุด และถ้าจะสังเกตให้ดีจะเห็น
ช่องสี่เหลี่ยม 5 m ตรงนี้สามารถเลือกสภาพคล่องของหุ้นได้ ผมเลือกให้มีการซื้อขายเฉลียราวๆ ห้าล้าน ต่อวัน
ทำให้ลดการเสี่ยงเรือ่งสภาพคล่อง และจะเห็น ตรง special filter ตัว S คือ samples
ตรงนี้ผมจะเลือกห้นที่มีคะแนนดีที่สุด 20 อันดับแรก
ส่วน ตัว D ผมให้ย่อมาจาก Duplicate คือ ให้ กล่มหุ้น อยากหนึ่งเช่น หุ้นอสังหา พลังงาน ผมให้เลือก ได้ไม่เกินสองตัว
การซื้อขายหุ้นจะเป็นการจำลองซื้อที่มูลค่าหุ้น ประมาณหนึ่งหมื่นบาทเท่ากันทุกตัว
ตอนนี้ผมลองเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ ถ้าเสร็จแล้วจะเอามาแจกให้เพือ่นๆใช้กัน ผมนั่งเล่นไปเล่นมาก็สนุกดี ไว้สิ้นปีจะลองซื้อเก็บไว้ดู
เผื่อคนที่ยังไม่ค่อยมีความรู้ อาจจะได้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้ ถ้าใครอยากได้ข้อมูลหรืออะไรเพิ่มเติมก็มาคุยกันนะครับ
มีโปรแกรมอีกอันนึงน่าจะเหมาะกับมือใหม่ชาววีไอ อันนี้เป็นโปรแกรมสรุปพวกผลประกอบการวิเคราห์
ตัวนี้ยังไม่ค่อยมีเวลาทำต่อ แถมผมยังค่อนข้างมือใหม่ไม่ค่อยรู้เท่าไร ก็ลองทำเท่าที่ทำได้ดู
ใครมีไอเดียไรดีๆ มาคุยกันดูจะได้มีอะไรใหม่ๆมีประโยชน์มาให้เพือ่นๆเราได้ใช้กัน
ซึ่งวิธีดังกล่าวจะคล้ายๆกับกระทู้ " สรุปงานวิจัยเบื่้องต้นการลงทุนแบบวีไอในรายการมันนี่ทอร์ค "
ใครยังไม่เคยอ่านลองเข้าไปอ่านดูนะครับ
จากที่เห็นในรูปเป็นการซื้อขายสิ้นปีนึงชนกับอีกสิ้นปีนึง จากเห็นในรูป จะเห็น เครือ่งหมายถูกที่ติ๊กสองช่อง คือ p/bv , yield
โปรแกรมนี้สามารถจำลองการซื้อขายได้หมดจาก filter ทั้งสี่ตัว จะเลือกแบบไหนก็ได้หรือเลือกหมดเลยก็ได้
แต่ จากการทดสอบของผม p/bv + yield เป็นตัวที่ได้ผลตามแทนมากที่สุด และถ้าจะสังเกตให้ดีจะเห็น
ช่องสี่เหลี่ยม 5 m ตรงนี้สามารถเลือกสภาพคล่องของหุ้นได้ ผมเลือกให้มีการซื้อขายเฉลียราวๆ ห้าล้าน ต่อวัน
ทำให้ลดการเสี่ยงเรือ่งสภาพคล่อง และจะเห็น ตรง special filter ตัว S คือ samples
ตรงนี้ผมจะเลือกห้นที่มีคะแนนดีที่สุด 20 อันดับแรก
ส่วน ตัว D ผมให้ย่อมาจาก Duplicate คือ ให้ กล่มหุ้น อยากหนึ่งเช่น หุ้นอสังหา พลังงาน ผมให้เลือก ได้ไม่เกินสองตัว
การซื้อขายหุ้นจะเป็นการจำลองซื้อที่มูลค่าหุ้น ประมาณหนึ่งหมื่นบาทเท่ากันทุกตัว
ตอนนี้ผมลองเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ ถ้าเสร็จแล้วจะเอามาแจกให้เพือ่นๆใช้กัน ผมนั่งเล่นไปเล่นมาก็สนุกดี ไว้สิ้นปีจะลองซื้อเก็บไว้ดู
เผื่อคนที่ยังไม่ค่อยมีความรู้ อาจจะได้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้ ถ้าใครอยากได้ข้อมูลหรืออะไรเพิ่มเติมก็มาคุยกันนะครับ
มีโปรแกรมอีกอันนึงน่าจะเหมาะกับมือใหม่ชาววีไอ อันนี้เป็นโปรแกรมสรุปพวกผลประกอบการวิเคราห์
ตัวนี้ยังไม่ค่อยมีเวลาทำต่อ แถมผมยังค่อนข้างมือใหม่ไม่ค่อยรู้เท่าไร ก็ลองทำเท่าที่ทำได้ดู
ใครมีไอเดียไรดีๆ มาคุยกันดูจะได้มีอะไรใหม่ๆมีประโยชน์มาให้เพือ่นๆเราได้ใช้กัน