Delux เขียน:SIU: อาร์เจนตินาไม่ได้ล่มสลายเพราะ “ประชานิยม” ข้อโต้แย้งที่สื่อไทยควรรับฟัง
Tue, 2011-08-16 01:07
โดย ธีรภัทร เจริญสุข
ที่มา http://www.siamintelligence.com/argentina-populism/
สิ่งที่ “นิติภูมิ นวรัตน์” ทำลงไป และเป็นความผิดพลาดร้ายแรงที่เขาไม่เคยคิดจะออกมาแก้ไข คือการสร้างภาพให้ “อาร์เจนติน่า” เป็นประเทศล่มจมฉิบหายด้วยนโยบายประชานิยม เพื่อฝังหัวคนในประเทศไทยว่า ประชานิยมเลวร้ายจนต้องขายทรัพย์สินของชาติ และล้มละลายใช้หนี้ บรรดาผู้รับสารที่รับสารครั้งเดียวแล้วไม่ติดตามต่อเนื่อง ก็จะเห็นภาพอาร์เจนติน่าเป็นประเทศยากจนที่ดีแต่เตะฟุตบอลเก่ง และรู้จักชาวอาร์เจนติน่าเพียงดารานักฟุตบอลไม่กี่คน คือมาราโดนา และเมสซี่ จนถึงทุกวันนี้
จากซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจหลังการพ่ายแพ้สงครามเกาะฟอล์กแลนด์กับสห ราชอาณาจักรในปี 1982 ค่าใช้จ่ายในกองทัพเพื่อการทำสงครามและค่าปฏิกรรมสงคราม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาวะหนี้สินของอาร์เจนติน่าเลวร้ายสะสมมาต่อเนื่อง ภาวะเศรษฐกิจเลวร้ายมิใช่เป็นเพียงเพราะนโยบายประชานิยม แต่รวมถึงการครอบงำอำนาจของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ทุ่มเงินไปกับการซื้อ อาวุธใหม่ๆ มาประจำการอย่างไม่มีจบสิ้น แม้รัฐบาลทหารจะถูกโค่นล้มหลังปราชัยในสงคราม แต่รัฐบาลประชาธิปไตยที่อ่อนแอไม่สามารถจัดการภาวะหนี้ที่คั่งค้างยาวนาน ไม่สามารถจัดการกับเหลือบไรในหมู่หน่วยงานราชการและวิสาหกิจต่างๆ ที่ฝังรากลึกไม่ต้องการการปฏิรูปปรับปรุง และไม่สามารถจัดการกับการแทรกแซงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงจากสหรัฐอเมริกา ที่ปล่อยให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ได้ จนหนองที่บวมเป่งแตกออกด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1999 จนกระทั่งอดีตประธานาธิบดีโฆเซ่ โรดริเกซ ประกาศล้มละลายไม่จ่ายหนี้(debt moratorium) ในปี 2001
นายพล ฮวน เปรอง ต้นตำรับ "ประชานิยม"และ อีวา 'เอวีต้า' เปรอง
นายพล ฮวน เปรอง ต้นตำรับ "ประชานิยม"และ อีวา 'เอวีต้า' เปรอง
การขายสินทรัพย์ แปรรูปรัฐวิสาหกิจของอาร์เจนติน่า ที่หลายคนมองว่าเป็นการขายชาติขายแผ่นดิน กลับปลุกให้ประเทศที่ป่วยไข้กลับมามีอำนาจต่อรอง และเศรษฐกิจกลับมาเข้ารูปเข้ารอยอีกครั้ง หลังการเข้าครองอำนาจของอดีตประธานาธิบดี เนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ ในปี 2003 และการสืบต่ออำนาจของสตรีหมายเลขหนึ่ง คริสติน่า แฟร์นันเดซ เด เกิร์ชเนอร์ ในปี 2007
ด้วยนโยบายประชานิยมที่แทบไม่ต่างจากรัฐบาลก่อนหน้า แต่รัฐบาลเกิร์ชเนอร์รักษาวินัยการคลัง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเครดิตของอาร์เจนติน่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปลดแอกค่าเงินเปโซออกจากการผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐ การปฏิรูป ยุบและแปรรูปหน่วยงานที่ไร้ประโยชน์ที่ผลาญภาษีประชาชน ส่งผลให้งบประมาณไม่เสียเปล่าไปกับเงินเดือนของพนักงานของรัฐที่นั่งกินนอน กินไปวันๆ GDP เติบโตมากกว่า 8% ติดต่อกันหกปี เข้าไปร่วมกับกลุ่มมหาอำนาจ G-20 หนี้สินสาธารณะลดลงเหลือ 40% ของ GDP อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็น 98% อายุขัยเฉลี่ยของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็น 75 ปี ประชาชนที่อยู่ใต้เส้นความยากจน ลดจาก 60% ของประชากรทั้งหมด เหลือเพียง 30% และมีดัชนีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนสูงที่สุดในเขตละตินอเมริกา
คริสติน่า แฟร์นองเดซ ประธานธิบดีหญิงของอาร์เจนตินา
คริสติน่า แฟร์นันเดซ ประธานธิบดีหญิงของอาร์เจนตินา
อาร์เจนติน่าในปี 2011 มีประชากร 40.6 ล้านคน เป็นมหาอำนาจคู่ขนานกับบราซิล เป็นเขตเศรษฐกิจอันดับสามของอเมริกาใต้ ในการขับเคลื่อนทวีปอเมริกาใต้ให้พ้นจากแอกของสหรัฐ ด้วยพลังจากไบโอดีเซล สินค้าเกษตรแปรรูป การประมง และเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยด้านชีววิทยาอันดับต้นๆ ในโลกละตินอเมริกาที่ใช้ภาษาสเปน (บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกส)
ประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่เคยถูกกล่าวหาว่าเป็น “นอมินี” ผู้หนึ่ง คือประธานาธิบดี “คริสตินา แฟร์นานเดซ เด เกิร์ชเนอร์” ภริยาของเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ ซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีระหว่างปี 2003-2007 เส้นทางการเมืองของคริสตินา เริ่มจากการเป็น ส.ส. และลงสมัคร ส.ว. ในขณะที่สามีดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ ทำให้เกิดข้อครหาการครอบงำอำนาจแบบผัว-เมีย และเมื่อเธอลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี จนกระทั่งได้รับเลือกตั้ง ก็ถูกกล่าวหาอีกว่า เธอเป็นเพียงนอมินีของสามีเท่านั้น แต่นักวิจารณ์หารู้ไม่ว่า ความจริงแล้ว เนสเตอร์ต่างหากที่อาจเป็นนอมินีของคริสตินาในระหว่างที่เขาเป็น ประธานาธิบดี
ความสำเร็จของการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา จากภาวะคนป่วยของละตินอเมริกาที่ต้องขายทรัพย์สินทุกอย่างของประเทศ แม้แต่เงินจะจ่ายให้นักฟุตบอลทีมชาติมาแข่งฟุตบอลโลกยังไม่มีในปี 2002 กลายมาเป็นมหาอำนาจควบคู่กับบราซิล ด้วยฝีมือของสองสามีภรรยาเกิร์ชเนอร์ ทำให้ประชาชนชาวอาร์เจนติน่าไม่สนใจว่าใครจะเป็นนอมินีของใคร ตราบเท่าที่พวกเขากินอิ่ม นอนหลับ ประเทศชาติมีศักดิ์ศรีบนแผนที่โลก คริสตินากล้าหาญถึงขนาดประณาม CIA ในแผนลอบสังหารฮูโก ซาเวช ดักจับเครื่องบินจารกรรมของสหรัฐและจับมือกับประธานาธิบดีหญิง ดิลมา รุสเซฟของบราซิล เพื่อสร้างความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องการให้สหรัฐมาแทรกแซงในอเมริกา ใต้อีกต่อไป
อดีตประธานาธิบดีเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ ถึงแก่อสัญกรรมในปลายปี 2010 ที่ผ่านมา และประธานาธิบดีคริสตินาประกาศว่าตนเองจะลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งใหม่ในปี นี้อย่างแน่นอน
แม้ว่าประธานาธิบดีคริสตินา จะประกาศตัวว่าตนเองได้รับแรงบันดาลใจทางการเมืองจากอีวา เปรอง แต่เส้นทางของเธอนั้นมาจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ และเธอก็ทำให้อาร์เจนตินาไม่ต้องร้องไห้เพื่อเธอ
ทั้งหมดนี้ “นิติภูมิ นวรัตน์” ยังไม่เคยออกมาแถลงชี้แจงต่อสาธารณชนที่เขาเคยสร้างภาพความล่มสลายของอา ร์เจนติน่า เพื่อเนรมิตปีศาจร้ายที่ชื่อ “ประชานิยม” แม้แต่ครั้งเดียว
หามาให้คุณชูเกียรติ อ่านเล่น ครับ
ได้อ่านแล้วครับ เป็นอีกมุมนึงที่ผมอ่านแล้ว ก้ต้องหยุดคิดเหมือนกัน
ขอบคุณที่ลงให้ครับ