IVL13CC
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 2
มันคือ dw ชื่อเล่นว่าเครื่องมือทำลายล้างโลกครับพี่เจ๋ง
และมันยังมีพี่ๆน้องๆอีกมากมาย
และมันยังมีพี่ๆน้องๆอีกมากมาย
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 4
the d-day is 21/09, roughly 4 trading days left.Mp808 เขียน:The exercise price is 40 so it's out of the money.
It's also about to expire and it doesn't look like IVL will go up above 40 anytime soon. So I actually think it makes sense.
We could be in for a little surprise
IVL got like 9 dw's
6 calls and 3 puts
value trap
- Mp808
- Verified User
- โพสต์: 254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 6
Actually I think the last trading day is this Friday 16th.วรันศ์ บัฟเฟต เขียน:the d-day is 21/09, roughly 4 trading days left.Mp808 เขียน:The exercise price is 40 so it's out of the money.
It's also about to expire and it doesn't look like IVL will go up above 40 anytime soon. So I actually think it makes sense.
We could be in for a little surprise
IVL got like 9 dw's
6 calls and 3 puts
21st is the exercise date.
Winter is coming...
- Mp808
- Verified User
- โพสต์: 254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 7
To sum it up, it's not like ordinary shares. It goes up and down with IVL but a lot more volatile. And it's worth zero now.Jeng เขียน:อืม พอจะสรุปสั้นได้หรือเปล่าครับ ว่า มันคืออะไร IVL13CC
I don't think DWs are evil. Some are overpriced and some are underpriced. I think that's all there is to it.
Winter is coming...
- ^^
- Verified User
- โพสต์: 519
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 9
รู้จัก Derivative Warrants
ปัจจุบันธุรกิจการเงินทั่วโลกมีสินค้าทางการเงินมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหุ้น อนุพันธ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิ ฯลฯ ที่มีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย
เพื่อเป็นทางเลือกต่างๆ สำหรับการทำกำไรและบริหารความเสี่ยงของผู้ลงทุน หนึ่งในสินค้าที่เป็นที่นิยมของผู้ลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศนั้นก็คือ Derivative Warrants (DW) หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เนื่องจากคุณสมบัติของ DW นั้น สามารถทำกำไร หรือใช้สำหรับบริหารความเสี่ยงก็ได้ และเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังจะเปิดให้มีการซื้อขาย DW ที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นอ้างอิงเป็นครั้งแรก
Derivative Warrants คือสิทธิในการซื้อหรือขายหุ้นอ้างอิง ในราคา จำนวน และเวลาที่ผู้ออกกำหนด โดยในระยะเริ่มแรก DW ที่กำลังจะออกซื้อขายนั้น เป็นประเภท Call Warrant เป็นสิทธิในการซื้อหุ้นอ้างอิงที่สามารถนำมาซื้อขายในตลาดรองได้ ดังนั้น DW ในประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายกับ Warrant แต่สิ่งที่มีความแตกต่างคือ ผู้ออก DW คือบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นอ้างอิงและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหุ้นอ้างอิงที่ผู้ออก DW จะสามารถออกได้จะจำกัดอยู่ในกลุ่มดัชนี SET 50 เท่านั้น
อายุการใช้สิทธิของ DW กำหนดให้มีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ถึง 2 ปี ซึ่งการใช้สิทธิจะสามารถใช้สิทธิได้ครั้งเดียว ณ วันที่ครบกำหนดการใช้สิทธิ์ เมื่อถึงวันที่ครบกำหนดการใช้สิทธิ หาก DW อยู่ในสถานนะ In the Money หรือมีกำไรจากเงินสดส่วนต่างที่ราคาตลาดของหุ้นอ้างอิงสูงกว่าราคาใช้สิทธิ ผู้ถือ DW จะได้รับการชำระราคาหรือส่งมอบเป็นเงินสดจากผู้ออก DW ซึ่งจะไม่มีการส่งมอบหุ้นอ้างอิงแต่อย่างใด หรือเรียกได้อีกอย่างว่าใช้วิธี Cash Settlement ณ ที่นี้ผู้เขียนจะขออนุญาตยกตัวอย่างประกอบดังนี้
สมมติว่านายสดใส ซื้อ DW ที่มีหุ้นอ้างอิงคือหุ้นปูแดง จากบริษัทหลักทรัพย์ ABC จำนวน 1,000 หน่วย มูลค่า 1,000 บาท โดยราคาใช้สิทธิเท่ากับ 100 บาท ผู้ออก DW กำหนดให้มีอายุ 6 เดือน เมื่อถึงกำหนดเวลาใช้สิทธิปรากฏว่านายสดใสอยู่ในสถานะ In The Money โดยที่ราคาตลาดของหุ้นปูแดงราคา 120 บาท แต่นายสดใสถือ DW ที่เป็นสิทธิในการซื้อหุ้นปูแดงในราคาเพียง 100 บาท นายสดใสจะได้รับการใช้สิทธิอัตโนมัติ ซึ่งจะได้กำไรจากการใช้สิทธิจากบริษัทหลักทรัพย์ ABC ที่เป็นผู้ออก DW เท่ากับ 2 หมื่นบาท [ (120-100) * 1,000 หน่วย ] ทั้งนี้นายสดใสจะได้รับมอบเป็นเงินสด แทนการส่งมอบหุ้นจริง
สิ่งที่ผู้ลงทุนควรจะทราบก็คือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่ดูแลในเรื่องการใช้สิทธิหรือการผิดชำระเงินสดของผู้ออก DW รวมทั้งการประกันว่าผู้ออกจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของ DW หรือไม่ ดังนั้นผู้ลงทุนใน DW จะต้องศึกษาเลือกลงทุนกับ DW ที่ผู้ออกมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี และมีความน่าเชื่อถือทางการเงินในระดับที่สูง
ปัจจุบันธุรกิจการเงินทั่วโลกมีสินค้าทางการเงินมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหุ้น อนุพันธ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิ ฯลฯ ที่มีการซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย
เพื่อเป็นทางเลือกต่างๆ สำหรับการทำกำไรและบริหารความเสี่ยงของผู้ลงทุน หนึ่งในสินค้าที่เป็นที่นิยมของผู้ลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศนั้นก็คือ Derivative Warrants (DW) หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เนื่องจากคุณสมบัติของ DW นั้น สามารถทำกำไร หรือใช้สำหรับบริหารความเสี่ยงก็ได้ และเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังจะเปิดให้มีการซื้อขาย DW ที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นอ้างอิงเป็นครั้งแรก
Derivative Warrants คือสิทธิในการซื้อหรือขายหุ้นอ้างอิง ในราคา จำนวน และเวลาที่ผู้ออกกำหนด โดยในระยะเริ่มแรก DW ที่กำลังจะออกซื้อขายนั้น เป็นประเภท Call Warrant เป็นสิทธิในการซื้อหุ้นอ้างอิงที่สามารถนำมาซื้อขายในตลาดรองได้ ดังนั้น DW ในประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายกับ Warrant แต่สิ่งที่มีความแตกต่างคือ ผู้ออก DW คือบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นอ้างอิงและได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และหุ้นอ้างอิงที่ผู้ออก DW จะสามารถออกได้จะจำกัดอยู่ในกลุ่มดัชนี SET 50 เท่านั้น
อายุการใช้สิทธิของ DW กำหนดให้มีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ถึง 2 ปี ซึ่งการใช้สิทธิจะสามารถใช้สิทธิได้ครั้งเดียว ณ วันที่ครบกำหนดการใช้สิทธิ์ เมื่อถึงวันที่ครบกำหนดการใช้สิทธิ หาก DW อยู่ในสถานนะ In the Money หรือมีกำไรจากเงินสดส่วนต่างที่ราคาตลาดของหุ้นอ้างอิงสูงกว่าราคาใช้สิทธิ ผู้ถือ DW จะได้รับการชำระราคาหรือส่งมอบเป็นเงินสดจากผู้ออก DW ซึ่งจะไม่มีการส่งมอบหุ้นอ้างอิงแต่อย่างใด หรือเรียกได้อีกอย่างว่าใช้วิธี Cash Settlement ณ ที่นี้ผู้เขียนจะขออนุญาตยกตัวอย่างประกอบดังนี้
สมมติว่านายสดใส ซื้อ DW ที่มีหุ้นอ้างอิงคือหุ้นปูแดง จากบริษัทหลักทรัพย์ ABC จำนวน 1,000 หน่วย มูลค่า 1,000 บาท โดยราคาใช้สิทธิเท่ากับ 100 บาท ผู้ออก DW กำหนดให้มีอายุ 6 เดือน เมื่อถึงกำหนดเวลาใช้สิทธิปรากฏว่านายสดใสอยู่ในสถานะ In The Money โดยที่ราคาตลาดของหุ้นปูแดงราคา 120 บาท แต่นายสดใสถือ DW ที่เป็นสิทธิในการซื้อหุ้นปูแดงในราคาเพียง 100 บาท นายสดใสจะได้รับการใช้สิทธิอัตโนมัติ ซึ่งจะได้กำไรจากการใช้สิทธิจากบริษัทหลักทรัพย์ ABC ที่เป็นผู้ออก DW เท่ากับ 2 หมื่นบาท [ (120-100) * 1,000 หน่วย ] ทั้งนี้นายสดใสจะได้รับมอบเป็นเงินสด แทนการส่งมอบหุ้นจริง
สิ่งที่ผู้ลงทุนควรจะทราบก็คือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่ดูแลในเรื่องการใช้สิทธิหรือการผิดชำระเงินสดของผู้ออก DW รวมทั้งการประกันว่าผู้ออกจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของ DW หรือไม่ ดังนั้นผู้ลงทุนใน DW จะต้องศึกษาเลือกลงทุนกับ DW ที่ผู้ออกมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี และมีความน่าเชื่อถือทางการเงินในระดับที่สูง
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
- ^^
- Verified User
- โพสต์: 519
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 10
อืม สำหรับผม มันคือราคาใช้สิทธิซื้อขายอ้างอิงหุ้นนั้นๆในอนาคนที่มีPremiumมาก
เสมือน Warrantราคาใช้สิทธิที่สูงกว่าตัวแม่
เมื่อหุ้นอ้างอิงขึ้น มันก็จะพยายามขยับไปในทิศทางเดียวกันโดยมีความผันผวนสูงกว่า และถือระยะยาวไม่ได้เพราะมีอายุการถือ ใช้สิทธิซื้อตัวแม่ไม่ได้ ได้แต่Net settlement เมื่อวันหมดอายุ ราคาเหลือเท่าไหร่ คุณก็เหลือเงินเท่านั้น
เป็นการผสมผสานระหว่าง
Derivative ที่ใช้การNet settlementและมีความผันผวนสูงและหมดอายุ
Warrant อ้างอิงราคาหุ้นแม่ มีPremiumเหมือนราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นที่สูง
IVL คืออ้างอิงกับ หุ้นIVL
13 ตัวเลขสมาชิกโบรคเกอร์ที่ออกตราสารนี้
C ตัวแรกคือ Callเสมือน Call option หุ้นขึ้น เกินSpot ก็ได้กำไรไป ถ้าPก็Put ต้องให้หุ้นลง)
Cตัวสุดท้ายคือ Series รุ่นที่ออก
-------------------------------------------------------------------------
KKBB19CA
KKBB หมายถึง ชื่อหุ้นอ้างอิง
- กรณีที่หุ้นอ้างอิงมีชื่อสั้นกว่า 4 ตัวอักษร ใช้ชื่อนั้นได้เลย เช่น PTT
- กรณีที่หุ้นอ้างอิงมีชื่อยาวกว่า 4 ตัวอักษร ให้คงไว้เฉพาะอักษร 4 ตัวแรก เช่น หุ้น BANPU จะใช้เพียง BANP
19 หมายถึงผู้ออก DW โดยใช้เลขรหัสสมาชิกของโบรกเกอร์ เช่น บล.เกียรตินาคิน= 19
C หมายถึงประเภทของ DW โดย
C หมายถึง Call DW สิทธิในการซื้อหุ้นอ้างอิง
P หมายถึง Put DW สิทธในการขายหุ้นอ้างอิง
A หมายถึงรุ่นที่ออก (Series) โดยใช้สัญลักษณ์ A-Z
สุดท้ายตลาดนี้มีMarket maker+ราคาที่ตั้งมานั้น มีPremiumที่สูง ไม่เช่นนั้นคนออกDWจะรับการขาดทุน
โดยสรุปคือ ใครเข้าไปเล่นก็เสร็จโจร ไม่มีมูลค่าใดๆ เพราะไม่มีการส่งมอบ
เสมือนซื้อเก็งกำไรในหุ้นPEหุ้นเน่าๆทั้งตลาดรวมกันหรือประเมินค่าไม่ได้ ที่เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ราคาจะลงแรง และเราถือครองไม่ได้เพราะไม่งั้นคือ 0
เสมือน Warrantราคาใช้สิทธิที่สูงกว่าตัวแม่
เมื่อหุ้นอ้างอิงขึ้น มันก็จะพยายามขยับไปในทิศทางเดียวกันโดยมีความผันผวนสูงกว่า และถือระยะยาวไม่ได้เพราะมีอายุการถือ ใช้สิทธิซื้อตัวแม่ไม่ได้ ได้แต่Net settlement เมื่อวันหมดอายุ ราคาเหลือเท่าไหร่ คุณก็เหลือเงินเท่านั้น
เป็นการผสมผสานระหว่าง
Derivative ที่ใช้การNet settlementและมีความผันผวนสูงและหมดอายุ
Warrant อ้างอิงราคาหุ้นแม่ มีPremiumเหมือนราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นที่สูง
IVL คืออ้างอิงกับ หุ้นIVL
13 ตัวเลขสมาชิกโบรคเกอร์ที่ออกตราสารนี้
C ตัวแรกคือ Callเสมือน Call option หุ้นขึ้น เกินSpot ก็ได้กำไรไป ถ้าPก็Put ต้องให้หุ้นลง)
Cตัวสุดท้ายคือ Series รุ่นที่ออก
-------------------------------------------------------------------------
KKBB19CA
KKBB หมายถึง ชื่อหุ้นอ้างอิง
- กรณีที่หุ้นอ้างอิงมีชื่อสั้นกว่า 4 ตัวอักษร ใช้ชื่อนั้นได้เลย เช่น PTT
- กรณีที่หุ้นอ้างอิงมีชื่อยาวกว่า 4 ตัวอักษร ให้คงไว้เฉพาะอักษร 4 ตัวแรก เช่น หุ้น BANPU จะใช้เพียง BANP
19 หมายถึงผู้ออก DW โดยใช้เลขรหัสสมาชิกของโบรกเกอร์ เช่น บล.เกียรตินาคิน= 19
C หมายถึงประเภทของ DW โดย
C หมายถึง Call DW สิทธิในการซื้อหุ้นอ้างอิง
P หมายถึง Put DW สิทธในการขายหุ้นอ้างอิง
A หมายถึงรุ่นที่ออก (Series) โดยใช้สัญลักษณ์ A-Z
สุดท้ายตลาดนี้มีMarket maker+ราคาที่ตั้งมานั้น มีPremiumที่สูง ไม่เช่นนั้นคนออกDWจะรับการขาดทุน
โดยสรุปคือ ใครเข้าไปเล่นก็เสร็จโจร ไม่มีมูลค่าใดๆ เพราะไม่มีการส่งมอบ
เสมือนซื้อเก็งกำไรในหุ้นPEหุ้นเน่าๆทั้งตลาดรวมกันหรือประเมินค่าไม่ได้ ที่เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ราคาจะลงแรง และเราถือครองไม่ได้เพราะไม่งั้นคือ 0
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณมากครับ
แล้วโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เปิดซื้อขายพวก DW มีโอกาสเจ๊งเหมือน cds หรือไม่ครับ
เพราะหาก โบรกเกอร์รับไว้เอง พวกเรานักลงทุนก็มีความเสี่ยง เพราะซื้อขายหุ้น กับโบรกเกอร์นะครับ
แล้วโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เปิดซื้อขายพวก DW มีโอกาสเจ๊งเหมือน cds หรือไม่ครับ
เพราะหาก โบรกเกอร์รับไว้เอง พวกเรานักลงทุนก็มีความเสี่ยง เพราะซื้อขายหุ้น กับโบรกเกอร์นะครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
สิ่งที่ผู้ลงทุนควรจะทราบก็คือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่ดูแลในเรื่องการใช้สิทธิหรือการผิดชำระเงินสดของผู้ออก DW รวมทั้งการประกันว่าผู้ออกจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของ DW หรือไม่ ดังนั้นผู้ลงทุนใน DW จะต้องศึกษาเลือกลงทุนกับ DW ที่ผู้ออกมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี และมีความน่าเชื่อถือทางการเงินในระดับที่สูง
-
- Verified User
- โพสต์: 53
- ผู้ติดตาม: 0
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 14
มีโอกาสครับ ผมขอ quote จากที่พี่ reiter มาแชร์ไว้ในห้อง kgi มาให้อ่านนะครับJeng เขียน:ขอบคุณมากครับ
แล้วโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เปิดซื้อขายพวก DW มีโอกาสเจ๊งเหมือน cds หรือไม่ครับ
เพราะหาก โบรกเกอร์รับไว้เอง พวกเรานักลงทุนก็มีความเสี่ยง เพราะซื้อขายหุ้น กับโบรกเกอร์นะครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
สิ่งที่ผู้ลงทุนควรจะทราบก็คือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่ดูแลในเรื่องการใช้สิทธิหรือการผิดชำระเงินสดของผู้ออก DW รวมทั้งการประกันว่าผู้ออกจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของ DW หรือไม่ ดังนั้นผู้ลงทุนใน DW จะต้องศึกษาเลือกลงทุนกับ DW ที่ผู้ออกมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี และมีความน่าเชื่อถือทางการเงินในระดับที่สูง
reiter เขียน: ขออนุญาติแปลภาษานักการเงินของพี่ picatos มาเป็นภาษาชาวบ้านร้านตลาดนะครับ
ปกติการออก DW ตัวบล. ต้องมีการซื้อหุ้นแม่เพื่อ hedge ไว้ด้วย ยิ่งหุ้นแม่วิ่งเข้าใกล้ราคาราคาเดิมพันเท่าไร บล.ก็ยิ่งต้องซื้อหุ้นแม่ใน % ที่มากขึ้น
ผมสมมติว่า KGI ออก dw ของ PS มา และตั้งราคาเดิมพันไว้ที่ 25 บาท ( dw ชุดแรก บล.สามารถออก ราคาเดิมพันได้แพงๆ กินพรีเมียมได้เยอะๆ เพราะรายย่อยยังรู้ไม่ค่อยทัน )
สมมติต่อว่าวันแรกราคาในกระดานของ PS อยู่ที่ 20 บาท
ณ ราคานี้บล. อาจจะต้องซื้อหุ้นแม่ในสัดส่วนสัก 20% ของจำนวน dw ทั้งหมด เพื่อ hedge ความเสี่ยง
ต่อมาสมมติืว่า PS วิ่งไป 22, 23, 24 บาท บล.ก็อาจต้องซื้อแม่เพิ่มขึ้นเป็น 30%, 50%, 80% จนถึง 100% เมื่อหุ้นแม่วิ่งถึงราคาเดิมพัน ( อันที่จริงราคาไปเท่าไร เค้าจะถือกี่ % มันมีสูตรคำนวณนะครับ อยากทราบรายละเอียดวิธีคำนวณ ต้องถามนักการเงินอย่างพี่ picatos เอาแล้วล่ะครับ อันนี้เกินความรู้ความสามารถของผมแล้ว )
ในทำนองตรงข้าม ถ้าหุ้นแม่วิ่งลงไป 19, 18, 17 บล. ก็จะอาจลดสัดส่วนของการถือหุ้นแม่ลงเป็น 15%, 10% ลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดๆนึง ที่บล.จะไม่ถือหุ้นแม่อีกเลย เพราะถือว่าราคาในกระดานต่ำมากจนไม่ต้องกลัวว่าใครจะเอา dw มาแปลงแล้ว จึงไม่จำเป็นต้อง Hedge อีก
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าหุ้นแม่จะวิ่งขึ้นหรือวิ่งลง โอกาสที่บล.จะขาดทุนก็จะน้อย เพราะถ้าหุ้นแม่วิ่งเกินราคาเดิมพัน บล.ก็จะ hedge หุ้นแม่ เต็ม 100% อยู่แล้ว ( บล.จะกำไรหุ้นแม่แทน เพราะซื้อถัวมาตั้งแต่ต้นทุน 20 บาท แต่ไปจ่ายให้รายย่อยในส่วนต่างตั้งแต่ 25 บาทขึ้นไป ) ส่วนในกรณีที่หุ้นลง บล.จะขาดทุนเล็กน้อยจากหุ้นแม่ ( ที่ซื้อมา hedge ในสัดส่วนน้อยๆ แต่แรก ) แต่จะกำไรเต็มๆจาก dw ที่กลายเป็นกระดาษเปล่า
แต่อย่างไรก้ตามคงพูดไม่ได้เต็มปากว่าโอกาสขาดทุนของบล.เป็น 0 เนื่องจากกรณีที่หุ้นแม่แกว่งมากๆๆๆ บล.ก็อาจจะขาดทุนได้เช่นกัน
ผมขอยกตัวอย่าง PS เช่นเดิม
สมมติว่า KGI ตั้งราคาเดิมพันไว้ที่ 25 และราคาในกระดานของ PS อยู่ที่ 20 บาท
ณ ราคานี้บล. อาจจะต้องซื้อหุ้นแม่ในสัดส่วนสัก 20% ของจำนวน dw ทั้งหมด
ต่อมาสมมติืว่า PS วิ่งไป 24 บาท บล.ก็อาจต้องซื้อแม่เพิ่มขึ้นเป็น 80%
แต่หลังจากนั้น PS วิ่งลงมา 20 บาทใหม่ ทำให้บล. ต้องคัตลอสหุ้นแม่ เพื่อลดสัดส่วนการถือครองลงเหลือ 20% เหมือนเดิม
สมมติอีกว่าตลาดผันผวนมาก หลังจากลงมา 20 หุ้นแม่วิ่งกลับไป 24 บาทใหม่ ทางบล.ก็จำเป็นต้องมาซื้อหุ้นแม่คืน เพื่อเพิ่มอัตราส่วนการถือครองเป็น 80% ใหม่
ถ้าตลาดผันผวนอีก หุ้นแม่ลงมา 20 เป็นรอบที่สาม บล.ก็ต้องคัตลอสเป็นรอบที่สอง
จะเห็นได้กว่ากรณีที่ตลาดผันผวนมากๆ เช่นนี้ บล.จะซื้อแพง ขายถูกตลอด เมื่อรวมรายได้จากการขาย dw แล้ว ก็อาจจะยังขาดทุนก็ได้
แต่อย่างไรก็ดี pattern การขึ้นลงของราคาของหุ้นแม่ที่ kgi ออกมา 7 ตัวแรกนั้น ราคาค่อนข้างมี"เทรนด์" พอสมควร ผมคิดว่าไม่ได้ผันผวนขึ้นๆลงๆหนักๆ จนทำให้บล.ขาดทุนครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 16
ตกลงโบรกเกอร์เป็นเจ้าของบ่อน มีหน้าที่กินเงิน ลูกค้าที่เป็นสมาชิกอยู่หรือจะเห็นได้กว่ากรณีที่ตลาดผันผวนมากๆ เช่นนี้ บล.จะซื้อแพง ขายถูกตลอด เมื่อรวมรายได้จากการขาย dw แล้ว ก็อาจจะยังขาดทุนก็ได้
conflict of interest ชัดๆ
แล้วอย่างนี้ research ต่างๆจะไปเชื่อถือได้อย่างไร
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 17
ผมคิดเอาเองว่า
บล.เอาความโลภมาควักเงินจากกระเป๋านักลงทุนไปซื้อหุ้นในกระดานเข้าพอท์ต บล.
แล้วไปยื่นขอออก ตราสารออกมาขายในกระดาน(พูดแต่ด้านดีด้านเดียว)
ส่งเสริมช่องทางคนมีความโลภ ทำให้คนมีเงินน้อยได้เล่นแทงขึ้น
ทำให้มันซับซ้อนหลอกมือใหม่ กับคนที่คิดไม่ทัน
ก็อยากลงทุนแล้ว ปากก็บอกการลงทุน แต่นี่ส่งเสริมไปเก็งกันซะขนาดเต็มไปหมด
เงินปันผลก็ไม่มี อายุก็สั้น จองเตาเผาอย่างเดียว
บล.เอาความโลภมาควักเงินจากกระเป๋านักลงทุนไปซื้อหุ้นในกระดานเข้าพอท์ต บล.
แล้วไปยื่นขอออก ตราสารออกมาขายในกระดาน(พูดแต่ด้านดีด้านเดียว)
ส่งเสริมช่องทางคนมีความโลภ ทำให้คนมีเงินน้อยได้เล่นแทงขึ้น
ทำให้มันซับซ้อนหลอกมือใหม่ กับคนที่คิดไม่ทัน
ก็อยากลงทุนแล้ว ปากก็บอกการลงทุน แต่นี่ส่งเสริมไปเก็งกันซะขนาดเต็มไปหมด
เงินปันผลก็ไม่มี อายุก็สั้น จองเตาเผาอย่างเดียว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 18
ผมก็อดสงสัยแบบพี่Jengไม่ได้ เลยไม่กล้าเข้ายุ่งด้วย(เพราะไม่ค่อยเข้าใจกลไกและไม่ค่อยเชื่อใจ กรณี DW) แล้วกรณี DW ของ IVL ผมเคยดูเห็นออกมากันไม่รู้ตั้งกี่โบรก เลยอดสงสัยไม่ได้ว่า...จะเป็นการส่งเสริมราคาหุ้นแม่? หรือเพื่อควบคุมราคาหุ้นแม่กันแน่?
เพราะหลายๆโบรกเข้ามาร่วมในการออกDW ยังไม่รวมกลุ่มขาอื่นๆที่มาทำกำไรกับราคาอีก แล้วถ้าควบคุมราคาไม่ได้ก็อาจทำให้ตัวเองขาดทุนได้ จึงอาจจะเป็นการส่งเสริมให้บรรดากลุ่มต่างๆจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างก็ได้ (ซึ่งอาจจะไม่มีผลดีเท่าไรนัก..ต่อนักลงทุนรายย่อย)
เพราะหลายๆโบรกเข้ามาร่วมในการออกDW ยังไม่รวมกลุ่มขาอื่นๆที่มาทำกำไรกับราคาอีก แล้วถ้าควบคุมราคาไม่ได้ก็อาจทำให้ตัวเองขาดทุนได้ จึงอาจจะเป็นการส่งเสริมให้บรรดากลุ่มต่างๆจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างก็ได้ (ซึ่งอาจจะไม่มีผลดีเท่าไรนัก..ต่อนักลงทุนรายย่อย)
-
- Verified User
- โพสต์: 69
- ผู้ติดตาม: 0
Re: IVL13CC
โพสต์ที่ 19
ใครจะไปเชื่อว่า IVL จะลงมาได้ขนาดนี้
ลงมาต่ำกว่าราคาเพิ่มทุน IVL-T1 ที่ 36 บาท
ผมว่า เงินที่เสียให้ IVL13CC น้อยกว่า IVL มากๆ
ลงมาต่ำกว่าราคาเพิ่มทุน IVL-T1 ที่ 36 บาท
ผมว่า เงินที่เสียให้ IVL13CC น้อยกว่า IVL มากๆ