อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 61
นวนครน่าจะซวยกว่านิคม ไฮเทค เพราะมีเวลาอพยพน้อยมาก
นิคมต่อไป บางชัน กับลาดกระบัง ต้องลุ้นกันตัวโก่งซะแล้ว
นิคมต่อไป บางชัน กับลาดกระบัง ต้องลุ้นกันตัวโก่งซะแล้ว
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 62
ข่าวทั่วไป สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2554 15:03:11 น.
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม ยืนยันจะเดินหน้าป้องกันนวนครในส่วนที่ยังไม่ได้รับความเสียหายอย่างเต็มที่ โดยจะเร่งสร้างคันกั้นน้ำในด่านที่ 3 เพื่อป้องกันในส่วนที่เหลือ พร้อมระดมความช่วยเหลือจากทุกหน่วยงานเพื่อกอบกู้สถานการณ์
"เราก็ต้องสู้ จุดแรกที่พังยังมีด่านที่ 2 และจะมีด่านที่ 3 ป้องกัน ต้องต่อสู้ถึงที่สุด"นพ.วรรณรัตน์กล่าว
ทั้งนี้ ได้มีการป้องกันนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ ไว้เต็มที่ เช่นที่ ฉะเชิงเทรา บางพลี บางโพ
ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหานิมคอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมเสียหายไปแล้วนั้น รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ถ้าหากสถานการณ์นิ่งจะเร่งทำเขื่อนรอบนิมคมฯต่างและมีการสูบน้ำออกให้เร็วที่สุด
--อินโฟเควสท์ โดย ฐานิสร์ ทองนอก/นิศารัตน์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม ยืนยันจะเดินหน้าป้องกันนวนครในส่วนที่ยังไม่ได้รับความเสียหายอย่างเต็มที่ โดยจะเร่งสร้างคันกั้นน้ำในด่านที่ 3 เพื่อป้องกันในส่วนที่เหลือ พร้อมระดมความช่วยเหลือจากทุกหน่วยงานเพื่อกอบกู้สถานการณ์
"เราก็ต้องสู้ จุดแรกที่พังยังมีด่านที่ 2 และจะมีด่านที่ 3 ป้องกัน ต้องต่อสู้ถึงที่สุด"นพ.วรรณรัตน์กล่าว
ทั้งนี้ ได้มีการป้องกันนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ ไว้เต็มที่ เช่นที่ ฉะเชิงเทรา บางพลี บางโพ
ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหานิมคอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมเสียหายไปแล้วนั้น รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ถ้าหากสถานการณ์นิ่งจะเร่งทำเขื่อนรอบนิมคมฯต่างและมีการสูบน้ำออกให้เร็วที่สุด
--อินโฟเควสท์ โดย ฐานิสร์ ทองนอก/นิศารัตน์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 63
สุวรรณภูมิเสริมคันดินไป 3.5 M แล้วส่วนระดับน้ำปัจจุบันอยู่ที่ 0.6 M
http://www.thairath.co.th/content/eco/209598
กรณีที่ตัวเมืองน้ำท่วมแล้วกระจกร้านค้าแตกหมายความว่าของในร้านจะโดนขโมยไปจนหมดสิ้น
http://www.budmgt.com/lifeways/lw01/hatyaiflood.html
http://www.thairath.co.th/content/eco/209598
กรณีที่ตัวเมืองน้ำท่วมแล้วกระจกร้านค้าแตกหมายความว่าของในร้านจะโดนขโมยไปจนหมดสิ้น
http://www.budmgt.com/lifeways/lw01/hatyaiflood.html
- py106
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 64
ที่นิคมเกตเวย์ซิตี้ (ฉะเชิงเทรา) และบริเวณข้างเคียงยังไม่พบว่ามีน้ำครับ
ปล. นิคมผมอยู่ที่ดอนแบบสุดๆ อ่ะนะ...
ปล. นิคมผมอยู่ที่ดอนแบบสุดๆ อ่ะนะ...
แวะไปเยี่ยมเยียนกันได้ครับ ^^
http://py106travel.blogspot.com
http://py106travel.blogspot.com
- donrak
- Verified User
- โพสต์: 111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 65
วันนี้ถนนหน้าทางเข้านิคมลาดกระบังท่วมไป3เลนแล้วครับ(ท่วมถนนใหญ่เป็นวันแรกครับ) ส่วนภายในนิคมน่าจะยังไม่ท่วม พนักงานโรงงานในนิคมบอกว่าเจ้าของระดมคนงานวางแนวกระสอบทรายอยู่
ถ้าเรายังเอาชนะ"ใจ"ตัวเองไม่ได้
เราก็"ชนะ"ตลาดหุ้นไม่ได้
เราก็"ชนะ"ตลาดหุ้นไม่ได้
- donrak
- Verified User
- โพสต์: 111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 66
นิคมที่กำลังจะเป็นรายต่อไปคือ บางชัน กับลาดกระบัง
ลาดกระบังเป็นนิคมใหญ่มาก มีโรงงาน 200 กว่าโรงและยังใกล้กับคลองลำปาทิว การป้องกันน้ำท่วม สูง 2.2 จากระดับน้ำทะเล
ใครมีข้อมูลว่า บ. ไหนอยู่นิคมลาดกระบังหรือบางชันบ้างครับ[/quote]
เอาที่พอนึกออกก่อนนะครับโรงงานที่อยู่ในนิคมลาดกระบัง
http://teenet.tei.or.th/DatabaseGIS/ladkabang.html
โรงงานมอไซด์ของHonda,ไอศครีมWall,ขนมปังฟาร์มเฮาส์,ยันม่าร์,ยูนิลิเวอร์(ไม่แน่ใจว่าผลิตอะไร),KKCกุลธรเคอร์บี้คอมเพรสเซอร์,คลังเก็บสินค้าของมหาจักร
โกดังของOfficemateอยู่บริเวณใกล้เคียงนิคมลาดกระบัง
น้ำในคลองลำปลาทิวเออท่วมริมตลิ่ง(แต่ยังไม่มาก)มาหลายวันแล้วครับบ้านที่อยู่ริมคลองท่วมประมาณเข่ามาหลายวันแล้ว ส่วนบ้านของแม่ผมอยู่หน้านิคมก็กำลังลุ้นๆอยู่ทุกวันโดยเฉพาะวันที่ฝนตกหนักๆน้ำก็จะขึ้นสูง
เอาใจช่วยทุกๆคนครับ
ลาดกระบังเป็นนิคมใหญ่มาก มีโรงงาน 200 กว่าโรงและยังใกล้กับคลองลำปาทิว การป้องกันน้ำท่วม สูง 2.2 จากระดับน้ำทะเล
ใครมีข้อมูลว่า บ. ไหนอยู่นิคมลาดกระบังหรือบางชันบ้างครับ[/quote]
เอาที่พอนึกออกก่อนนะครับโรงงานที่อยู่ในนิคมลาดกระบัง
http://teenet.tei.or.th/DatabaseGIS/ladkabang.html
โรงงานมอไซด์ของHonda,ไอศครีมWall,ขนมปังฟาร์มเฮาส์,ยันม่าร์,ยูนิลิเวอร์(ไม่แน่ใจว่าผลิตอะไร),KKCกุลธรเคอร์บี้คอมเพรสเซอร์,คลังเก็บสินค้าของมหาจักร
โกดังของOfficemateอยู่บริเวณใกล้เคียงนิคมลาดกระบัง
น้ำในคลองลำปลาทิวเออท่วมริมตลิ่ง(แต่ยังไม่มาก)มาหลายวันแล้วครับบ้านที่อยู่ริมคลองท่วมประมาณเข่ามาหลายวันแล้ว ส่วนบ้านของแม่ผมอยู่หน้านิคมก็กำลังลุ้นๆอยู่ทุกวันโดยเฉพาะวันที่ฝนตกหนักๆน้ำก็จะขึ้นสูง
เอาใจช่วยทุกๆคนครับ
ถ้าเรายังเอาชนะ"ใจ"ตัวเองไม่ได้
เราก็"ชนะ"ตลาดหุ้นไม่ได้
เราก็"ชนะ"ตลาดหุ้นไม่ได้
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 67
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 10:31:50 น.
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะพบปะหารือร่วมกับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อรับทราบปัญหา และแนวทางการช่วยเหลือ ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันนี้ โดยเริ่มจากหารือกับ Mr.Dave Rauch, Senior Vice President, Worldwide operation และ ดร. สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธานบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด จากนั้นจะหารือกับ Mr.Jame Phillips.Managing Director บริษัท เอคโค่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งการประชุมกับ 2 บริษัทแรก จะจัดขึ้นที่ ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน (OSOS) ชั้น 18 อาคารจตุรัสจามจุรี ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
Would you like to visit the website to find out more?
Yes No
นอกจากนี้ ในช่วงเวลา 16.30 น. รมว.อุตสหากรรม พร้อมคณะผู้บริหาร บีโอไอ จะร่วมเดินทางไปพบหารือกับ Mr.Hiroshi Kobayashi, President & ECO บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และบริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ณ ตึกสารสิน ถนนสุรศักดิ์ สีลม กรุงเทพฯ
ส่วนในวันพรุ่งนี้จะหารือร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อรับทราบผลกระทบต่างๆ ของผู้ประกอบการรวมถึงจะหาแนวทางในการช่วยเหลือ นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และจะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในสัปดาห์หน้า
--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/นิศารัตน์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะพบปะหารือร่วมกับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อรับทราบปัญหา และแนวทางการช่วยเหลือ ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันนี้ โดยเริ่มจากหารือกับ Mr.Dave Rauch, Senior Vice President, Worldwide operation และ ดร. สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธานบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด จากนั้นจะหารือกับ Mr.Jame Phillips.Managing Director บริษัท เอคโค่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งการประชุมกับ 2 บริษัทแรก จะจัดขึ้นที่ ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน (OSOS) ชั้น 18 อาคารจตุรัสจามจุรี ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
Would you like to visit the website to find out more?
Yes No
นอกจากนี้ ในช่วงเวลา 16.30 น. รมว.อุตสหากรรม พร้อมคณะผู้บริหาร บีโอไอ จะร่วมเดินทางไปพบหารือกับ Mr.Hiroshi Kobayashi, President & ECO บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และบริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ณ ตึกสารสิน ถนนสุรศักดิ์ สีลม กรุงเทพฯ
ส่วนในวันพรุ่งนี้จะหารือร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อรับทราบผลกระทบต่างๆ ของผู้ประกอบการรวมถึงจะหาแนวทางในการช่วยเหลือ นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และจะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในสัปดาห์หน้า
--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/นิศารัตน์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 68
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 11:06:10 น.
พล.อ.พลางกูร กล้าหาญ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) ด้านทหาร กล่าวว่า ขณะนี้น้ำได้เข้าท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนครแล้ว 50% ของพื้นที่ทั้งหมด ระดับน้ำสูง 50 ซม.- 1 เมตร
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังคงต่อสู้กับสถานการณ์น้ำที่ทะลักเข้ามา และจะต้องเอาชนะให้ได้ โดยเจ้าหน้าที่ทำงานและเฝ้าระวังตลอด 24 ชม. โดยมีความมั่นใจประมาณ 60-70%
"เหมือนเล่นกีฬา ก็ต้องพยายามเอาชนะให้ได้ แต่ต้องอาศัยทีมเวิร์คที่ดี ซึ่งในภาพรวมข้าราชการทุกหน่วยงานและประชาชนมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี"พล.อ.พลางกูรกล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์
ส่วนเรื่องการกระจายของช่วยเหลือ ขอยืนยันว่ามีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการใช้เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ รถบัส เรือ รวมทั้งมีการประสานคนในพื้นที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการนำของช่วยเหลือ อาหารการกินไปให้ถึงที่ ซึ่งเปอร์เซ็นต์ที่จะไม่ได้รับของหรือมีการนำของไปขายจะไม่มีหรือมีน้อยมาก เพราะเป็นเรื่องของความเห็นอกเห็นใจกัน
--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
พล.อ.พลางกูร กล้าหาญ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) ด้านทหาร กล่าวว่า ขณะนี้น้ำได้เข้าท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนครแล้ว 50% ของพื้นที่ทั้งหมด ระดับน้ำสูง 50 ซม.- 1 เมตร
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังคงต่อสู้กับสถานการณ์น้ำที่ทะลักเข้ามา และจะต้องเอาชนะให้ได้ โดยเจ้าหน้าที่ทำงานและเฝ้าระวังตลอด 24 ชม. โดยมีความมั่นใจประมาณ 60-70%
"เหมือนเล่นกีฬา ก็ต้องพยายามเอาชนะให้ได้ แต่ต้องอาศัยทีมเวิร์คที่ดี ซึ่งในภาพรวมข้าราชการทุกหน่วยงานและประชาชนมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี"พล.อ.พลางกูรกล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์
ส่วนเรื่องการกระจายของช่วยเหลือ ขอยืนยันว่ามีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการใช้เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ รถบัส เรือ รวมทั้งมีการประสานคนในพื้นที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการนำของช่วยเหลือ อาหารการกินไปให้ถึงที่ ซึ่งเปอร์เซ็นต์ที่จะไม่ได้รับของหรือมีการนำของไปขายจะไม่มีหรือมีน้อยมาก เพราะเป็นเรื่องของความเห็นอกเห็นใจกัน
--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 69
ข่าวทั่วไป สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 11:32:58 น.
ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แจ้งถึงรายงานของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในกรุงเทพมหานคร ณ จุดตรวจเมื่อเวลา 06.00 น. ว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่พบกลุ่มฝนระดับน้ำชายแดน ด้านปทุมธานีและคลองเปรมประชากรอยู่ในระดับปกติ
ขณะที่วันนี้ กรุงเทพมหานครเร่งสร้างแนวกระสอบทราย ตอนคลองหกวาสายล่าง เพื่อเป็นแนวกั้นน้ำชั้นที่ 2 โดยคาดว่าจะเสร็จภายในวันพรุ่งนี้ ระดับน้ำในคลองหกวาสายล่างยังเป็นปกติ วันนี้น้ำขึ้นเต็มที่เวลา 11.35 น.ฐานน้ำ 1.03 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเมื่อเวลา 02.15 น. ถนนมีน้ำท่วมขังเล็กน้อยบริเวณพระราม 3 ช่วงตลาดฮ่องกง-ปีนัง
ระดับน้ำในคลองหลัก กรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 06.30 น. ส่วนมากระดับน้ำมีแนวโน้มปกติ มีเพียงไม่กี่แห่งที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ สถานีคลองบางพรม ตลิ่งชัน คลองฉิมพลี, สถานีคลองบางพรม ถนนกาญจนาภิเษก, สถานีคลองบางแวก ถนนพุทธมณฑล สาย 1 (วัดไชยฉิมพลี), สถานีคลองมหาสวัสดิ์ คลองสวนแดน, สถานีคลองบางแวก คลองน้ำแก้ว ตอน ถ.รัชดาภิเษก
--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แจ้งถึงรายงานของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในกรุงเทพมหานคร ณ จุดตรวจเมื่อเวลา 06.00 น. ว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑลไม่พบกลุ่มฝนระดับน้ำชายแดน ด้านปทุมธานีและคลองเปรมประชากรอยู่ในระดับปกติ
ขณะที่วันนี้ กรุงเทพมหานครเร่งสร้างแนวกระสอบทราย ตอนคลองหกวาสายล่าง เพื่อเป็นแนวกั้นน้ำชั้นที่ 2 โดยคาดว่าจะเสร็จภายในวันพรุ่งนี้ ระดับน้ำในคลองหกวาสายล่างยังเป็นปกติ วันนี้น้ำขึ้นเต็มที่เวลา 11.35 น.ฐานน้ำ 1.03 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเมื่อเวลา 02.15 น. ถนนมีน้ำท่วมขังเล็กน้อยบริเวณพระราม 3 ช่วงตลาดฮ่องกง-ปีนัง
ระดับน้ำในคลองหลัก กรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 06.30 น. ส่วนมากระดับน้ำมีแนวโน้มปกติ มีเพียงไม่กี่แห่งที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ สถานีคลองบางพรม ตลิ่งชัน คลองฉิมพลี, สถานีคลองบางพรม ถนนกาญจนาภิเษก, สถานีคลองบางแวก ถนนพุทธมณฑล สาย 1 (วัดไชยฉิมพลี), สถานีคลองมหาสวัสดิ์ คลองสวนแดน, สถานีคลองบางแวก คลองน้ำแก้ว ตอน ถ.รัชดาภิเษก
--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
- Java The Boy
- Verified User
- โพสต์: 497
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 70
เท่าที่ทราบ
บางชันมี Htech ตอนนี้บางชันยังไม่ท่วม นิคมได้เสริมแนวป้องกันน้ำเพิ่มอีก 1 ม. บริษัทเองก็มีการป้องกันตัวเองด้วยอย่างเต็มที่ สรุปยังปลอดภัย แต่ก็ได้ลุ้นครับ
บางชันมี Htech ตอนนี้บางชันยังไม่ท่วม นิคมได้เสริมแนวป้องกันน้ำเพิ่มอีก 1 ม. บริษัทเองก็มีการป้องกันตัวเองด้วยอย่างเต็มที่ สรุปยังปลอดภัย แต่ก็ได้ลุ้นครับ
ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์มีอยู่ 4 ข้อคือ...
ได้อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง
พ้นจากความทะเยอทะยาน
ทำงานสร้างสรรค์
และรักใครสักคน ...
"อัลแบร์ กามูส์"
ได้อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง
พ้นจากความทะเยอทะยาน
ทำงานสร้างสรรค์
และรักใครสักคน ...
"อัลแบร์ กามูส์"
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 71
นครสวรรค์(บาดาล) น้ำเริ่มลดแล้ว
มีข่าวลือว่า 7-11 กำลังจะหูงข้าวแจกที่นครสวรรค์ ประมาณวันที่ 27
มีข่าวลือว่า 7-11 กำลังจะหูงข้าวแจกที่นครสวรรค์ ประมาณวันที่ 27
คุณ ก่อศักดิ์ " หลังน้ำลด เซเว่น ฯ หุงข้าวสวยเลี้ยงชุมชน 7 วัน "
" ถึงวิกฤติเราแบ่งปัน ร่วมใจกันทำความดี " ขณะนี้ ที่จังหวดนครสวรรค์ น้ำเริ่มลดระดับลงแล้ว แต่ความทุกข์ใจ ความลำบากกาย ยังไม่อาจเลือนหายไปจากใจของคนในชุมชนนั้น เราชาว CP ALL นำโดยคุณ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งกำลังใจ ความห่วงใย และความเอื้ออาทร ผ่านทุกเมล็ดข้าวสวย ที่หุงด้วยความตั้งใจของ เราชาว CPALL สู่ชุมชน
เราจะทำทันทีที่น้ำลดถึงระดับที่สาขาร้านซึ่งเคยอยู่ในจุดวิกฤติ มีระบบไฟฟ้าพร้อม
คาดว่าน่าจะเริ่มได้ในวันพฤหัสที่ 27 ตุลาคมในบางสาขา โดยเราจะตั้งโต๊ะที่บริการข้าวสวยคนละ 1 ถุง ที่หน้าร้านสาขา
พร้อมบริการน้ำดื่ม 7 วัน วันละ 2 รอบ
รอบที่ 1 เวลา 10.00 น. ถึง 12.00 น.
รอบที่ื 2 เวลา 16.00 น. ถึง 18.00 น.
วันนี้ วันหน้า และทุกๆวันเราจะอยู่เคียงข้างกัน กับชุมชนนี้ตลอดไป เพราะเรากินข้าวหม้อเดียวกัน
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 72
ข่าวทั่วไป สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554 12:06:55 น.
นายประภาส คล้ายศรี ผู้อำนวยการนิคมอุตสาหกรรมบางชัน กล่าวว่า นิคมฯ อยู่ติดกับคลองแสนแสบ ขณะนี้ระดับน้ำในคลองแสนแสบต่ำกว่าคันกันน้ำราว 1.60 เมตร โดยระดับน้ำในคลองแสบแสนปกติอยู่ที่ +70 ซม.ระดับน้ำทะเลปานกลาง และวันนี้ลดลงจากปกติ ซึ่งอยู่แนวป้องกันเขตกทม.ชั้นใน ดังนั้น ถือว่านิคมฯบางชันมีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย ซึ่งปกติก็ไม่เคยเกิดเหตุน้ำท่วมมาก่อน และสามารถระบายน้ำลงอุโมงค์ยักษ์ได้ภายใต้การดูแลของสำนักงานระบายน้ำ
อย่างไรก็ตาม อาจมีจุดเสี่ยงจากประตูพระยาสุเรนทร์ที่จะทำให้น้ำไหลมาสู่คลองบางชันทางทิศเหนือของนิคมฯ ซึ่งขณะนี้ได้มีการเสริมเขื่อน 2.10 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งในคลองทำเป็นประตูน้ำความกว้าง 15-20 เมตร และขณะนี้ได้กำลังทหารเข้ามาเสริมความแข็งแรงแล้ว
ทั้งนี้ ทางนิคมฯได้แจ้งเตือนให้ผู้ประกอบการระวังและเตรียมพร้อมรับสถานกรณ์ ไม่ได้บังคับให้ปิดดำเนินการ แต่ก็มีประมาณ 10% ที่ปิดไป จากทั้งหมด 91 โรงงาน มีบางโรงงานได้รับผลกระทบจากนิคมฯ อื่นที่ปิดไป แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเป็นอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ซึ่งแต่ละโรงงานก็กันของตัวเองไว้ด้วยเช่นกัน
นายประภาส คล้ายศรี ผู้อำนวยการนิคมอุตสาหกรรมบางชัน กล่าวว่า นิคมฯ อยู่ติดกับคลองแสนแสบ ขณะนี้ระดับน้ำในคลองแสนแสบต่ำกว่าคันกันน้ำราว 1.60 เมตร โดยระดับน้ำในคลองแสบแสนปกติอยู่ที่ +70 ซม.ระดับน้ำทะเลปานกลาง และวันนี้ลดลงจากปกติ ซึ่งอยู่แนวป้องกันเขตกทม.ชั้นใน ดังนั้น ถือว่านิคมฯบางชันมีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย ซึ่งปกติก็ไม่เคยเกิดเหตุน้ำท่วมมาก่อน และสามารถระบายน้ำลงอุโมงค์ยักษ์ได้ภายใต้การดูแลของสำนักงานระบายน้ำ
อย่างไรก็ตาม อาจมีจุดเสี่ยงจากประตูพระยาสุเรนทร์ที่จะทำให้น้ำไหลมาสู่คลองบางชันทางทิศเหนือของนิคมฯ ซึ่งขณะนี้ได้มีการเสริมเขื่อน 2.10 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งในคลองทำเป็นประตูน้ำความกว้าง 15-20 เมตร และขณะนี้ได้กำลังทหารเข้ามาเสริมความแข็งแรงแล้ว
ทั้งนี้ ทางนิคมฯได้แจ้งเตือนให้ผู้ประกอบการระวังและเตรียมพร้อมรับสถานกรณ์ ไม่ได้บังคับให้ปิดดำเนินการ แต่ก็มีประมาณ 10% ที่ปิดไป จากทั้งหมด 91 โรงงาน มีบางโรงงานได้รับผลกระทบจากนิคมฯ อื่นที่ปิดไป แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเป็นอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ซึ่งแต่ละโรงงานก็กันของตัวเองไว้ด้วยเช่นกัน
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 73
ข่าวทั่วไป สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554 18:20:16 น.
รมว.อุตสาหกรรม สั่งการให้นิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกทั้ง 7 แห่ง เตรียมมาตรการอพยพ ขนย้ายเครื่องจักร พร้อมสนับสนุนให้ต่อสู้กับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความเชื่อมั่น ด้านผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งปนะเทศไทย(กนอ.) สั่งให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมบางชันและลาดกระบังหยุดผลิต เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ขณะที่ภาคเอกชนเชื่อหากรัฐดูแลระดับน้ำท่วมให้สูงไม่เกิน 2 เมตรจะไม่เกิดผลกระทบรุนแรง
"ขณะนี้ได้สั่งให้นิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ 7 แห่ง ได้แก่ นิคมฯบางชัน, ลาดกระบัง, อัญธานี, เวลโกรว์, บางพลี, บางปู และนิคมฯทีเอฟดี เตรียมแผนอพยพแรงงาน และเคลื่อนย้ายเครื่องจักรและสินค้า เพื่อลดความเสียหาย" น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าว
ที่ผ่านมามีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายไปแล้ว 6 แห่ง ดังนั้นแผนรับมือแบบเดิมๆ จะไม่สามารถนำมาใช้ได้ โดยปริมาณน้ำจะเข้ามาโจมตีอย่างรุนแรง และหากมีมาตรการป้องกันล่วงหน้าแม้เหตุการณ์ไม่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าน้ำทะลักเข้ามาจริงจะได้ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
"ได้ย้ำว่าอย่าต่อสู้แบบวัดดวง แต่ต้องเตรียมการอพยพให้พร้อม ซึ่งนักลงญี่ปุ่นต่างคาดหวังให้รัฐบาลป้องนิคมฯที่เหลือให้เสียหายน้อยที่สุด ถ้าคราวนี้พลาดอีกก็ไม่สามารถแก้ตัวได้เลย" น.พ.วรรณรัตน์ กล่าว
ด้านนางมณฑา ประนุทนรพาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ได้ยื่นหนังสือขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการในนิคมฯบางชัน และลาดกระบัง หยุดประกอบกิจการ และทำการป้องกันเครื่องจักร ขนย้ายอุปกรณ์ และสินค้า รวมทั้งขนย้านสารเคมีที่มีพิษไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ขณะที่นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทย ฮอนด้า แมนูแฟกเจอร์ริ่ง จำกัด กล่าวว่า แม้ว่านิคมฯอุตสาหกรรมได้เสียหายจากน้ำท่วมไปแล้ว 6 แห่ง ทำให้ฮอนด้าได้รับผลกระทบพอสมควร แต่ก็รู้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ก็ยังคาดหวังให้รัฐบาลสู้ต่อไปถ้ารัฐบาลสู้ภาคเอกชนก็พร้อมที่จะสู้ด้วยกัน
โดยในส่วนของโรงงานฮอนด้าที่นิคมฯลาดกระบังนั้น ขณะนี้สายการผลิตรถมอเตอร์ไซด์ได้หยุดดำเนินการไปแล้ว 4-5 วัน เหลือเพียงการผลิตอุปกรณ์เพื่อส่งออก นอกจากนี้ล็อกตัวอาคารทางเข้า-ออก วางแนวกระสอบทรายรอบโรงงาน และเคลื่อนย้ายมอเตอร์ไซด์ขึ้นไปไว้ชั้น 2 ซึ่งสูงกว่า 5 เมตร ถอดอุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องจักรไว้ที่สูง จึงมีความมั่นใจว่าตัวสินค้ามีความปลอดภัยแน่นอน รวมทั้งยังได้ส่งพนักงานไปประจำคอยดูแลระดับนในคลองตลอดเวลา เพื่อจะได้รับมือได้ทัน
ขณะที่นายสุรพร สิมะกุลธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงงานที่อยู่ในนิคมฯลาดกระบัง กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องป้องกันนิคมฯที่เหลือให้ได้ ถ้าป้องกันไม่ได้รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ คนบริหารประเทศจะต้องทำงานเป็น ถ้าไม่เป็นต้องถอยให้คนที่ทำเป็นเข้ามาจัดการ อย่าทนอยู่จนต้องให้ประชนออกมาไล่
โดยขณะนี้ต้องควบคุมกระจายน้ำออกใปให้ระดับความสูงของน้ำที่ไหลท่วมให้ไม่เกิน 2 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน 2.30 เมตร นิคมฯต่างๆไม่สามารถรับมือได้ รวมทั้งจะต้องเตรียมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ไว้ให้พร้อม เพื่อรองรับหากน้ำเข้าท่วมนิคมก็ต้องยันไว้เร่งสูบออกไม่ให้เกิน 2 เมตร ทั้งนี้หากรัฐบาลรักษาโรงงานที่เหลือไว้ไม่ได้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 5% อาจจะติดลบ 5% ก็ได้ เพราะโรงงานที่ไม่ถูกน้ำท่วมไม่สามารถผลิตสินค้าได้ เพราะขาดชิ้นส่วนการผลิต
รมว.อุตสาหกรรม สั่งการให้นิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกทั้ง 7 แห่ง เตรียมมาตรการอพยพ ขนย้ายเครื่องจักร พร้อมสนับสนุนให้ต่อสู้กับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความเชื่อมั่น ด้านผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งปนะเทศไทย(กนอ.) สั่งให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมบางชันและลาดกระบังหยุดผลิต เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ขณะที่ภาคเอกชนเชื่อหากรัฐดูแลระดับน้ำท่วมให้สูงไม่เกิน 2 เมตรจะไม่เกิดผลกระทบรุนแรง
"ขณะนี้ได้สั่งให้นิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ 7 แห่ง ได้แก่ นิคมฯบางชัน, ลาดกระบัง, อัญธานี, เวลโกรว์, บางพลี, บางปู และนิคมฯทีเอฟดี เตรียมแผนอพยพแรงงาน และเคลื่อนย้ายเครื่องจักรและสินค้า เพื่อลดความเสียหาย" น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าว
ที่ผ่านมามีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายไปแล้ว 6 แห่ง ดังนั้นแผนรับมือแบบเดิมๆ จะไม่สามารถนำมาใช้ได้ โดยปริมาณน้ำจะเข้ามาโจมตีอย่างรุนแรง และหากมีมาตรการป้องกันล่วงหน้าแม้เหตุการณ์ไม่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าน้ำทะลักเข้ามาจริงจะได้ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
"ได้ย้ำว่าอย่าต่อสู้แบบวัดดวง แต่ต้องเตรียมการอพยพให้พร้อม ซึ่งนักลงญี่ปุ่นต่างคาดหวังให้รัฐบาลป้องนิคมฯที่เหลือให้เสียหายน้อยที่สุด ถ้าคราวนี้พลาดอีกก็ไม่สามารถแก้ตัวได้เลย" น.พ.วรรณรัตน์ กล่าว
ด้านนางมณฑา ประนุทนรพาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ได้ยื่นหนังสือขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการในนิคมฯบางชัน และลาดกระบัง หยุดประกอบกิจการ และทำการป้องกันเครื่องจักร ขนย้ายอุปกรณ์ และสินค้า รวมทั้งขนย้านสารเคมีที่มีพิษไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ขณะที่นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทย ฮอนด้า แมนูแฟกเจอร์ริ่ง จำกัด กล่าวว่า แม้ว่านิคมฯอุตสาหกรรมได้เสียหายจากน้ำท่วมไปแล้ว 6 แห่ง ทำให้ฮอนด้าได้รับผลกระทบพอสมควร แต่ก็รู้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ก็ยังคาดหวังให้รัฐบาลสู้ต่อไปถ้ารัฐบาลสู้ภาคเอกชนก็พร้อมที่จะสู้ด้วยกัน
โดยในส่วนของโรงงานฮอนด้าที่นิคมฯลาดกระบังนั้น ขณะนี้สายการผลิตรถมอเตอร์ไซด์ได้หยุดดำเนินการไปแล้ว 4-5 วัน เหลือเพียงการผลิตอุปกรณ์เพื่อส่งออก นอกจากนี้ล็อกตัวอาคารทางเข้า-ออก วางแนวกระสอบทรายรอบโรงงาน และเคลื่อนย้ายมอเตอร์ไซด์ขึ้นไปไว้ชั้น 2 ซึ่งสูงกว่า 5 เมตร ถอดอุปกรณ์ไฟฟ้าในเครื่องจักรไว้ที่สูง จึงมีความมั่นใจว่าตัวสินค้ามีความปลอดภัยแน่นอน รวมทั้งยังได้ส่งพนักงานไปประจำคอยดูแลระดับนในคลองตลอดเวลา เพื่อจะได้รับมือได้ทัน
ขณะที่นายสุรพร สิมะกุลธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงงานที่อยู่ในนิคมฯลาดกระบัง กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องป้องกันนิคมฯที่เหลือให้ได้ ถ้าป้องกันไม่ได้รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้ คนบริหารประเทศจะต้องทำงานเป็น ถ้าไม่เป็นต้องถอยให้คนที่ทำเป็นเข้ามาจัดการ อย่าทนอยู่จนต้องให้ประชนออกมาไล่
โดยขณะนี้ต้องควบคุมกระจายน้ำออกใปให้ระดับความสูงของน้ำที่ไหลท่วมให้ไม่เกิน 2 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน 2.30 เมตร นิคมฯต่างๆไม่สามารถรับมือได้ รวมทั้งจะต้องเตรียมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ไว้ให้พร้อม เพื่อรองรับหากน้ำเข้าท่วมนิคมก็ต้องยันไว้เร่งสูบออกไม่ให้เกิน 2 เมตร ทั้งนี้หากรัฐบาลรักษาโรงงานที่เหลือไว้ไม่ได้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 5% อาจจะติดลบ 5% ก็ได้ เพราะโรงงานที่ไม่ถูกน้ำท่วมไม่สามารถผลิตสินค้าได้ เพราะขาดชิ้นส่วนการผลิต
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 74
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554 20:40:29 น.
มีรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.วันนี้(20 ต.ค.) คันกั้นน้ำบริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี ไม่สามารถต้านทานแรงน้ำได้จนพังเสียหาย 2 จุด โดยน้ำได้ทะลักเข้าภายในพื้นที่ของนิคมฯแล้ว ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเข้าอุดคันกั้นน้ำที่พังเสียหายเป็นการด่วนแล้ว
มีรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.วันนี้(20 ต.ค.) คันกั้นน้ำบริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี ไม่สามารถต้านทานแรงน้ำได้จนพังเสียหาย 2 จุด โดยน้ำได้ทะลักเข้าภายในพื้นที่ของนิคมฯแล้ว ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเข้าอุดคันกั้นน้ำที่พังเสียหายเป็นการด่วนแล้ว
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 75
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2554 13:52:15 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น.ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง นายเซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย กล่าวภายหลังมอบเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการประเมินความเสียหายในส่วนของภาคธุรกิจญี่ปุ่น ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นอยากให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือ และเร่งฟื้นฟูโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงดูแลนักลงทุนต่างชาติด้วย นอกจากนี้ ยังฝากให้รัฐบาลไทยหาแนวทางในการป้องกันปัญหาอุทกภัยให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ญี่ปุ่น ยังคงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ไม่มีวันที่จะถอยหลัง และยังคิดว่าบริษัทหรือนักลงทุนในญี่ปุ่นยังคงมั่นใจตลาดในประเทศและรัฐบาลไทย พร้อมกับจะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ด้วยกัน
"ความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความใกล้ชิดกันมาก ซึ่งเมื่อที่ 15 ปีที่แล้ว บริษัทในญี่ปุ่นได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ก็ไม่ได้มีการถอนการลงทุนออกจากประเทศ พร้อมทั้งยืนยันว่า ไม่เคยได้ยินข่าวเรื่องบริษัท ฮอนด้า ออโต้โมบิล จำกัด จะย้ายฐานการผลิตรถยนต์ออกจากประเทศไทย เพราะไม่เชื่อมั่นเรื่องการแก้ปัญหาอีกด้วย" นายไซจิ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น.ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง นายเซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย กล่าวภายหลังมอบเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการประเมินความเสียหายในส่วนของภาคธุรกิจญี่ปุ่น ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นอยากให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือ และเร่งฟื้นฟูโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงดูแลนักลงทุนต่างชาติด้วย นอกจากนี้ ยังฝากให้รัฐบาลไทยหาแนวทางในการป้องกันปัญหาอุทกภัยให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ญี่ปุ่น ยังคงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ไม่มีวันที่จะถอยหลัง และยังคิดว่าบริษัทหรือนักลงทุนในญี่ปุ่นยังคงมั่นใจตลาดในประเทศและรัฐบาลไทย พร้อมกับจะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ด้วยกัน
"ความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความใกล้ชิดกันมาก ซึ่งเมื่อที่ 15 ปีที่แล้ว บริษัทในญี่ปุ่นได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ก็ไม่ได้มีการถอนการลงทุนออกจากประเทศ พร้อมทั้งยืนยันว่า ไม่เคยได้ยินข่าวเรื่องบริษัท ฮอนด้า ออโต้โมบิล จำกัด จะย้ายฐานการผลิตรถยนต์ออกจากประเทศไทย เพราะไม่เชื่อมั่นเรื่องการแก้ปัญหาอีกด้วย" นายไซจิ กล่าว
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 76
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2554 13:38:05 น.
นายเซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ยังไม่เคยได้ข่าวว่าฮอนด้าจะย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปที่อื่น หลังจากโรงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม และยืนยันว่าหลังจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศจะมีความใกล้ชิดมากขึ้นและจะไม่ถอยหลัง
นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าบริษัทหรือนักลงทุนจากญี่ปุ่นยังมีความมั่นใจในตลาดในประเทศรวมถึงรัฐบาลไทย และทางญี่ปุ่นก็พร้อมจะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกับทางรัฐบาลอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ประเมินความเสียหายในส่วนของภาคธุรกิจที่บริษัทของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบ แต่ก็อยากให้รัฐบาลเร่งฟื้นฟูภาคธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆโดยเร็ว และอยากให้ทางรัฐบาลไทยดูแลและช่วยเหลือนักลงทุนชาวต่างชาติ และควรกำหนดแนวทางป้องกันอุทกภัยให้เกิดความชัดเจนมากกว่านี้
นายเซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ยังไม่เคยได้ข่าวว่าฮอนด้าจะย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปที่อื่น หลังจากโรงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม และยืนยันว่าหลังจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศจะมีความใกล้ชิดมากขึ้นและจะไม่ถอยหลัง
นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าบริษัทหรือนักลงทุนจากญี่ปุ่นยังมีความมั่นใจในตลาดในประเทศรวมถึงรัฐบาลไทย และทางญี่ปุ่นก็พร้อมจะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกับทางรัฐบาลอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ประเมินความเสียหายในส่วนของภาคธุรกิจที่บริษัทของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบ แต่ก็อยากให้รัฐบาลเร่งฟื้นฟูภาคธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆโดยเร็ว และอยากให้ทางรัฐบาลไทยดูแลและช่วยเหลือนักลงทุนชาวต่างชาติ และควรกำหนดแนวทางป้องกันอุทกภัยให้เกิดความชัดเจนมากกว่านี้
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 77
"กทม.-ปริมณฑล"ระทึก! "เสรี"เตือนเสี่ยง"น้ำท่วม" ชี้มาเร็ว-แรง! เผยแนวฟลัดเวย์3เส้นทาง
วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 18:55:22 น.
สถานการณ์ฝนตกน้ำท่วมในหลายจังหวัด ตอนนี้ทำให้ชาวกรุงเทพมหานครและปริมณ ฑลเริ่มหวั่นไหว ใจคอไม่ค่อยดี ลุ้นกันว่าปีนี้น้ำจะมาอีกหรือไม่
ทาง"มติชนออนไลน์"จึงตามไปสอบถามกูรูผู้เชี่ยวชาญมาไขความกระจ่างในเรื่องนี้กับรองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต
ทำให้ได้ทราบข้อมูล และมีเรื่องน่าตกใจ และกังวลใจไม่น้อย ในหลักการบริหารจัดการภัยพิบัติ ไม่มีคำว่า"เอาอยู่" ไม่มี"พิมพ์เขียว"สำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติ
เพราะเป็นการบริหารความเสี่ยง เพราะฉะนั้นพิมพ์เขียวที่ได้วันนี้ พรุ่งนี้อาจใช้ไม่ได้ มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ในหลายพื้นที่ที่ถูกกำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำนอง และแนวทางระบายน้ำ(ฟลัดเวย์ )แต่ชาวบ้านหลายพื้นที่ยังงง !!
Q ปีนี้น้ำจะท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณหรือไม่
โอกาสกรุงเทพมหานคร และปริมาณมณฑลมีความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมไม่เกิน 20% หากถามว่า เมื่อไหร่จะชัดเจนว่า น้ำจะท่วมกทม.และปริมฑลหรือไม่ ต้องรอปลายเดือนกรกฎาคม 2555 ข้อมูลถึงจะชัดเจน เพราะจะมีข้อมูลเรื่องฝนได้แม่นย้ำขึ้น ดูพายุเข้า และความรุนแรงของร่องมรสุม
Qปริมาณน้ำจะมามาก หรือมาน้อย
มาในระดับปี 2549 อาจจะน้อยกว่าปีที่แล้ว แต่ความรุนแรงอาจจะถึงปี 2554 น้ำอาจจะมาเร็วขึ้น และปริมาณน้ำไม่จำเป็นต้องมาเท่าเดิม ปริมาณน้ำอาจน้อยกว่าเดิม แต่ความรุนแรงมากขึ้นก็ได้ เพราะพอเรากั้นน้ำก็สูงขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ความเสี่ยงจะอยู่ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลมาก เพราะเมื่อพื้นที่จังหวัดด้านบนไม่เอาน้ำ นิคอุตสาหกรรม 30,000 ไร่ไม่เอาน้ำ ชุมชนเทศบาลต่าง ๆ ป้องกันหมด ยกคันขึ้นสูง 50 เซนติเมตรเกือบหมด นั่นหมายถึง น้ำต้องลงมาด้านล่าง อยุธยาจะรุนแรงขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ต่ำ
Qโครงการทำแนวป้องกันน้ำถึงวันนี้จะช่วยได้เพียงใด
ปีนี้ได้งบประมาณในการดำเนินโครงการ 120,000 ล้านบาท และได้มีการแจ้งว่า ใช้ไปไม่ถึง 20,000 ล้านบาทหรือประมาณ 18% ขณะที่เหลือเวลาอีก 5 เดือน ทำให้เรากังวล โดยแบ่งได้ 3 ประการ 1) บางแห่งทำสำเร็จแล้ว 2)บางแห่งกำลังทำอยู่ 3)บางแห่งทำไม่ได้ เมื่อไหร่จะทำได้ ก็ไม่รู้ การประเมินยากมากตอนนี้ เช่น
พื้นที่รับน้ำนอง 2 ล้านไร่ไปถามชาวบ้าน หลายพื้นที่ประชาชนยังไม่ทราบว่า ที่ดินของตัวเองอยู่ในพื้นที่รับน้ำนอง ข้อมูลไปไม่ถึงชาวบ้าน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจริงใจมากมีการประกาศชัดเจน แต่พอลงไปข้างล่าง ไม่มีการสานต่อหลายที่ ข้าราชการในพื้นที่ไม่อยากไปเผชิญปัญหา
Qคณะกรรมการแก้ปัญหาน้ำท่วมเอง ก็ไม่ได้เห็นสอดคล้องกันหลายเรื่อง
แน่นอน เพราะเวลาจะตัดสินไม่ได้มีการประเมินแนวทางที่เข้าใจ เข้าถึง และค่อยพัฒนา ยกตัวอย่างการทำคันป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจ 300 กิโลเมตรไม่มีใครเห็นด้วย เพราะไม่ได้ประเมิน แต่เมื่อตัดสินใจไปอย่างนั้น เราก็อยากให้เกิด แต่ทำไม่ได้ ขณะนี้มีความขัดแย้งสูงในพื้นที่ ประเด็นตรงนี้ รัฐบาลควรจะแจ้งประชาชนให้เตรียมตัว ถ้าทำไม่ได้ แล้วไม่บอกประชาชน ปัญหาจะหนักขึ้น เพราะประชาชนไม่ได้เตรียมอะไรเลย คิดว่า โครงการของภาครัฐทำได้ จะเห็นว่า ทำไมนครปฐมถึงไม่เอาฟัดเวย์ เป็นเรื่องที่ท้องถิ่นกับผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานในท้องที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่า รัฐบาลมีนโยบายอย่างนี้แล้ว
Qการเตรียมการเรื่องฟลัดเวย์ไปถึงไหน
ฟลัดเวย์เป็นแผนระยะยาว ที่รัฐบาลออกพระราชกำหนด 350,000 ล้าน เป็นฟลัดเวย์ถาวรทางฝั่งขวา และฝั่งซ้าย 2 เส้นทาง หากถามว่า เส้นทางอยู่ทางไหน เขา
ยังเก็บอยู่เป็นความลับกลัวว่า จะมีปัญหาการเก็งกำไร แต่ไม่ต้องห่วงการเก็งกำไร เพราะนักการเมืองซื้อหมดแล้ว
Qฟลัดเวย์ 350 กิโลเมตรที่ว่าเป็นแผนอย่างไร ตรงจุดไหน
ปีนี้เองก็มีฟลัดเวย์น้ำ ทำเป็นคันชั่วคราวยาวประมาณ 350 กม.พื้นที่จะป้อง คือ พื้นที่ในเมืองตั้งแต่แม่น้ำป่าสัก ลงมาคลองพระยาบันลือ จะผ่าน 3 เส้นทาง จุดแรกจะลงมาแม่น้ำเจ้าพระยา จะทำคันกั้นริมน้ำทั้งหมด ตั้งแต่อยุธยาลงมาถึงปทุมธานี ถ้าใครอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาต้องสังเกตว่า ทางราชการได้ไปเสริมถมถนนหรือยัง จุดที่ 2 จะทำคันดินริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำท่าจีน จะลงทุนป้องพื้นที่อุตสาหกรรม ส่วนปล่อยฝั่งขวาเป็นไปตามธรรมชาติ
และจุดที่ 3 ทางด้านฝั่งตะวันออก จะมีการทำคันจากคลองระพีพัฒน์ลงไปคลอง 13 และลงไปคลองด่าน เพราะฉะนั้นคนฝั่งซ้ายของคลองแปดริ้วน้ำจะท่วมสำหรับปีนี้
วันนั้นผมเดินทางลงพื้นที่ คนนครปฐมไม่ต้องการฟลัดเวย์ ขึ้นป้ายเต็มเลย ไม่ใช่แนวคิดเรา เป็นแนวคิดที่ออกมาแล้ว เราก็รู้ว่า ทำไม่ได้ เพราะผมบอกแต่แรกว่า จะได้รับการต่อต้านจากประชาชนสูงมาก ก็เรื่องจริง เงิน 120,000 ล้านบาท เบิกไปใช้เพียง 20,000 ล้านบาท เพราะไปตรงจุดไหน ไม่มีใครอยากให้ทำคันกั้น
สมมุติเราบ้านอยู่ฝั่งนี้ แล้วไปทำคันดินกั้น เห็นชัดเจนว่า ฝั่งนี้น้ำจะท่วม อีกฝั่งน้ำไม่ท่วม มันเป็นไปได้อย่างไร อันนี้หลักคิด การบริหารจัดการมันผิดหลักคิดแล้ว อันนี้เป็นส่วนหนึ่ง ปัญหาคือ ทำไม่เสร็จทำไม่ได้ เพราะความขัดแย้งสูง โหว่วเป็นจุด ๆ น้ำก็ทะลักอีก ในที่สุดถ้าน้ำมาเหมือนเดิม ผมคิดว่าก็ท่วมเหมือนเดิม แต่อาจจะหนักด้านท้ายน้ำ เพราะคันป้องไม่มีทางเสร็จทัน เหลือเวลาอีกเพียง 3-4 เดือน ถ้าคิดในแง่หลักความจริง เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้จะทำอย่างไร สุดท้ายคงตัวใครตัวมัน
Qสิ่งที่อาจารย์กังวล และพยายามเตือนรัฐบาลมาตลอด แต่รัฐบาลไม่ฟัง
จริง ๆ ฟัง แต่ปัญหาในท้องถิ่นมีอะไรบ้าง ผู้บริหารข้างบนไม่ค่อยรู้ นี่คือปัญหาหลักในการบริหารจัดการ เวลานางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีลงไปดูในพื้นที่ มันคนละเรื่องกับผมลงไปดูในพื้นที่ หลายพื้นที่ยังไม่สามารถทำคันกันน้ำได้ และมีปัญหามาก พอนายกรัฐมนตรีลงไป คนข้าง ๆ กับพูดแต่ว่า "ดีครับนาย ได้ครับผม" บ้านเราก็เป็นอย่างนี้ ทั้งที่ปัญหามันต้องแก้ไข ต้องให้ข้อเท็จจริง
ณ ขณะนี้ "ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ" การตัดสินที่จะสู้กับมัน ด้วยวิธีการอย่างนี้ แต่ไม่ศึกษา "อันตราย" ความจริงผมประชุมกับนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคมและบอกว่า ก่อนที่จะออกมาเป็นแผนแม่บท ขอให้นายกประเมินขั้นต้นก่อน แต่ไม่มีการประเมินมา จนกระทั่งปัจจุบันผ่านมา 6 เดือน บางอันถึงลงไปปฏิบัติไม่ได้
พอปฏิบัติไม่ได้ก็เกิดคำถามขึ้นมา
ผมเพิ่งกลับจากพิษณุโลก สุโขทัย ข้อมูลก็เพี่ยนอีก บางระกำโมเดล ทุกคนบอกป้องกันน้ำท่วมได้ พอมีบางระกำแล้ว สบายใจ แต่ตอนนี้น้ำท่วมบางระกำเต็มไปหมดเลย นี่คือ สิ่งที่เกิดขึ้น บางระกำโมเดล พื้นที่บ่อน้ำมี 30 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำอยู่ในพื้นที่บางระกำ 600 ล้านลูกบาศก์เมตร มันไม่ใช่ ความเข้าใจ มันต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้นรอบ ๆ ด้านนายกรัฐมนตรีอันตรายมาก น่ากลัว เราเลยต้องพึ่งวิทยาศาสตร์ เราจะทำอย่างไรให้เกิดข้อเท็จจริง เกิดข้อมูลส่งให้นายกรัฐมนตรีกลั่นกรอง อย่างนี้ดีที่สุดจึง "ทุบโต๊ะ"
ข้อมูลที่ให้ผู้บริหารตัดสินใจจะต้องได้รับการกลั่นกรองว่า ทิศทางเป็นเช่นนี้แล้ว ต้องทุบโต๊ะ สังเกตปีที่แล้วจะเห็นว่า บางอย่างมันซื้อเวลา ปีที่แล้วจะขอเปิดประตูน้ำแห่งนี่ 1.20 เมตร บอกขอเวลาดู 2 วัน นั่นคือ ซื้อเวลาแล้ว "หายนะไม่สามารถจะขอได้" "ขอหายนะดู 2 วันได้หรือไม่"
นอกจากนี้ "แผนเผชิญเหตุ" เวลาออกมาบอกรัฐบาลได้ทำแผนเผชิญเหตุเสร็จแล้ว เวลาเราประชุมก็ถาม แผนเผชิญเหตุเป็นอย่างไร สมมุติมีชาวบ้านออกมาขัดค้าน 1,000 คน มีตำรวจมา 10 คน ข้ราชการบอก"หนี" นี่คือ แผนเผชิญเหตุหรือเปล่า ผมบอกหนี ผิดคำสั่งผู้บังคับบัญชา คำสั่งคือ ให้ปิดประตูน้ำตัวนี้ แต่พอชาวบ้านที่อยู่เหนือประตูน้ำมาอีก 1,000 คน บอกให้เปิดประตูน้ำ ข้าราชการบอกผิดก็ผิด ดีจะได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เขาบอกอย่างนั้น
Qโครงการป้องกันน้ำท่วม1.2 แสนล้านบาทต้องมาทบทวนความเป็นไปได้
ถูกต้อง ขณะนี้ต้องรีบประเมิน และนายกรัฐมนตรีกำลังจะทำการประเมิน ผมเรียนท่านนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคมแล้วว่าต้องรีบประเมิน ปัญหามันจะเกิด ก็เกิดจริง ๆ ปัญหามันไม่ไปถึงท้องถิ่น ตอนนี้ประเด็นปัญหาเริ่มสะท้อนกลับมาว่า ตกลงปีนี้ น้ำจะมาเหมือนเดิม จะท่วมหรือไม่ท่วม ขณะนี้ยังไม่มีใครตอบได้ ถ้าน้ำ
มาเหมือนเดิม จะท่วมหรือไม่ท่วม เพราะว่า มาตรการที่ลงไป ยังไม่สามารถสร้างเป็นรูปธรรมได้
Qต้องทำประชาพิจารณ์ก่อนลงมือทำโครงการในพื้นที่ด้วยหรือไม่
ขึ้นกับขนาดโครงการ ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ต้องทำประชาพิจารณ์ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ แต่ถ้าเป็นโครงการธรรมดา ก็เพียงแต่ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งว่า แผนเป็นแบบนี้เอาหรือไม่
Qการที่นิคมสร้างเขื่อนป้องกันถือว่าเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ ทางวิทยาศาสตร์
ผมว่า ถูกต้อง นิคมอุตสาหกรรมเป็นพื้นที่ที่สำคัญ ความเสียหายปีที่แล้วในพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งหมด 1 ล้านล้านบาท การทำถูกต้อง เพียงแต่ทำแล้วไม่บอกกับประชาชนว่า น้ำจะไปหาประชาชนหรือเปล่า คือ การประเมิน เพราฉะนั้นก็เกิดความขัดแย้ง และใครก็ไม่กล้าไปเผชิญความขัดแย้ง ท้องที่เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น พื้นที่รอบ ๆ นิคมอุตสาหกรรมมีความขัดแย้งเกิดขึ้น
Qรัฐบาลควรต้องมีเงินชดเชยค่าตอบแทนให้กับประชาชนที่ต้องแบกรับน้ำแทนนิคมอุตสาหกรรม
ถูกต้อง ถ้าประเมินแล้วชาวบ้านไม่มีปัญหาเลย น้ำเพิ่มขึ้นมา 2 เซนติเมตรก็บอกประชาชนไป แต่ปัญหาคือ ไม่มีใครบอก ต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์ ต้องใช้หลักวิชาการบอก ถ้ารัฐบาลทำตั้งแต่เดือนมกราคมอยากที่ผมบอก ตอนนี้ทุกอย่างออกมาจบไปแล้ว
Qตอนนี้ข้าราชการมีปัญหาเรื่องการประสานงานเหมือนปีที่แล้ว
ใช่ครับ หน่วยราชการเองยังประสานงานกันเองไม่ลงตัว ยังไม่ดี ขณะที่การประสานงานกับประชาชนยังไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง หลายเรื่องซึ่งอันตราย ยกตัวอย่างปีที่แล้ว ตรงประตูน้ำพระยาสุเรนทร์ปีที่แล้วมีปัญหา ตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะมาตกลงกัน เรียกว่า การบริหารจัดการ ก่อนเกิดเหตุ จะเปิดเท่าไหร่ หากน้ำมาเท่านี้ อีก
อีกกรณีหนึ่งสุพรรณบุรีกับชัยนาท ปีที่แล้วในสุพรรณบุรีมีข้อตกลงกันว่า หลัง 15 กันยายนให้รีบเก็บเกี่ยว น้ำเข้าทุ่งแน่นอน แต่คนชัยนาทไม่รู้ข้อตกลงตัวนี้ น้ำเข้าท่วมตลาดวัดสิงห์หนัก ขณะที่สุพรรณบุรีน้ำในทุ่งยังไม่มี มีการไปพังประตูน้ำ เพื่อให้น้ำเข้าเร็ว ๆ แต่ในที่สุดจังหวัดสุพรรณบุรีก็ถูกน้ำท่วมหนัก สิ่งที่เกิดขึ้นความขัดแย้งจะบานปลายถ้าเราไม่แก้ปัญหาตัวนี้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภัยพิบัติในทุกภาคส่วนต้องมาคุยกัน
Qพื้นที่รับน้ำนองประชาชนยังไม่ทราบว่า อยู่ตรงไหน
พื้นที่ 2 ล้านไร่ ผมรู้ว่า ตรงนี้เมื่อผมลงไปในพื้นที่ประชาชนยังไม่ทราบ รัฐบาลไม่ประกาศ เพราะมาตรฐานการจ่ายเงินมันต่างกัน ถ้าประกาศความขัดแยังจะเพิ่มขึ้นมาอีก คนนี้ได้ 2,200 บาท พอเป็นพื้นที่รับน้ำนองได้ 7,000 บาท ประชาชนอีกแห่งบอก เขาอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทำไม ไม่ได้บรรจุอยู่ในพื้นที่รับน้ำนอง มันไม่ชัดเจน ไปถึงมีแต่ความขัดแย้ง
Qเรามีการเตรียมตัวรับกับอุทกภัยเหล่านั้นสักกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว
ถ้าวัดในเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ที่ไปทำ ยอมรับว่า วัดได้ยากจริง ๆ เพราะตอนนี้เกิดในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเอาตัวรอด เพราะฉะนั้นเราไม่รู้ว่า ชุมชนนี้จะป้องสูงระดับไหน ประชาชนในพื้นที่จะบอกว่า ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก เขาจะทำเขื่อนขึ้นมาสูงเท่านั้นเท่านี้ จะทำได้หรือไม่ งบประมาณอยู่ที่ไหน เราก็ไม่รู้อีก จะมีกรณีอย่างนี้เต็มไปหมด
และแน่นอนปริมาณน้ำเหล่านี้จะไหลลงข้างล่าง คนกรุงเทพ และปริมณฑลมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้นคนที่ถูกน้ำท่วมปีที่แล้วจะเข็มแข็งขึ้น เพราะจะปกป้อง แต่คนที่ไม่โดนปีที่แล้ว จะไม่ทำอะไร เพราะถือว่า ผ่าเหตุการณ์ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ถูกท่วมปีที่แล้วก็จะท่วมปีนี้ ธรรมชาติเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว
อยากน้อยฟังข้อมูลแล้ว...จะสู้หรือจะหนี คงต้องตัดสินใจเตรียมตัวกันเอง !!
เรื่องโดย : กฤษณา ไพฑูรย์
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... d&subcatid
วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 18:55:22 น.
สถานการณ์ฝนตกน้ำท่วมในหลายจังหวัด ตอนนี้ทำให้ชาวกรุงเทพมหานครและปริมณ ฑลเริ่มหวั่นไหว ใจคอไม่ค่อยดี ลุ้นกันว่าปีนี้น้ำจะมาอีกหรือไม่
ทาง"มติชนออนไลน์"จึงตามไปสอบถามกูรูผู้เชี่ยวชาญมาไขความกระจ่างในเรื่องนี้กับรองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต
ทำให้ได้ทราบข้อมูล และมีเรื่องน่าตกใจ และกังวลใจไม่น้อย ในหลักการบริหารจัดการภัยพิบัติ ไม่มีคำว่า"เอาอยู่" ไม่มี"พิมพ์เขียว"สำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติ
เพราะเป็นการบริหารความเสี่ยง เพราะฉะนั้นพิมพ์เขียวที่ได้วันนี้ พรุ่งนี้อาจใช้ไม่ได้ มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ในหลายพื้นที่ที่ถูกกำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำนอง และแนวทางระบายน้ำ(ฟลัดเวย์ )แต่ชาวบ้านหลายพื้นที่ยังงง !!
Q ปีนี้น้ำจะท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณหรือไม่
โอกาสกรุงเทพมหานคร และปริมาณมณฑลมีความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมไม่เกิน 20% หากถามว่า เมื่อไหร่จะชัดเจนว่า น้ำจะท่วมกทม.และปริมฑลหรือไม่ ต้องรอปลายเดือนกรกฎาคม 2555 ข้อมูลถึงจะชัดเจน เพราะจะมีข้อมูลเรื่องฝนได้แม่นย้ำขึ้น ดูพายุเข้า และความรุนแรงของร่องมรสุม
Qปริมาณน้ำจะมามาก หรือมาน้อย
มาในระดับปี 2549 อาจจะน้อยกว่าปีที่แล้ว แต่ความรุนแรงอาจจะถึงปี 2554 น้ำอาจจะมาเร็วขึ้น และปริมาณน้ำไม่จำเป็นต้องมาเท่าเดิม ปริมาณน้ำอาจน้อยกว่าเดิม แต่ความรุนแรงมากขึ้นก็ได้ เพราะพอเรากั้นน้ำก็สูงขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ความเสี่ยงจะอยู่ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลมาก เพราะเมื่อพื้นที่จังหวัดด้านบนไม่เอาน้ำ นิคอุตสาหกรรม 30,000 ไร่ไม่เอาน้ำ ชุมชนเทศบาลต่าง ๆ ป้องกันหมด ยกคันขึ้นสูง 50 เซนติเมตรเกือบหมด นั่นหมายถึง น้ำต้องลงมาด้านล่าง อยุธยาจะรุนแรงขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ต่ำ
Qโครงการทำแนวป้องกันน้ำถึงวันนี้จะช่วยได้เพียงใด
ปีนี้ได้งบประมาณในการดำเนินโครงการ 120,000 ล้านบาท และได้มีการแจ้งว่า ใช้ไปไม่ถึง 20,000 ล้านบาทหรือประมาณ 18% ขณะที่เหลือเวลาอีก 5 เดือน ทำให้เรากังวล โดยแบ่งได้ 3 ประการ 1) บางแห่งทำสำเร็จแล้ว 2)บางแห่งกำลังทำอยู่ 3)บางแห่งทำไม่ได้ เมื่อไหร่จะทำได้ ก็ไม่รู้ การประเมินยากมากตอนนี้ เช่น
พื้นที่รับน้ำนอง 2 ล้านไร่ไปถามชาวบ้าน หลายพื้นที่ประชาชนยังไม่ทราบว่า ที่ดินของตัวเองอยู่ในพื้นที่รับน้ำนอง ข้อมูลไปไม่ถึงชาวบ้าน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจริงใจมากมีการประกาศชัดเจน แต่พอลงไปข้างล่าง ไม่มีการสานต่อหลายที่ ข้าราชการในพื้นที่ไม่อยากไปเผชิญปัญหา
Qคณะกรรมการแก้ปัญหาน้ำท่วมเอง ก็ไม่ได้เห็นสอดคล้องกันหลายเรื่อง
แน่นอน เพราะเวลาจะตัดสินไม่ได้มีการประเมินแนวทางที่เข้าใจ เข้าถึง และค่อยพัฒนา ยกตัวอย่างการทำคันป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจ 300 กิโลเมตรไม่มีใครเห็นด้วย เพราะไม่ได้ประเมิน แต่เมื่อตัดสินใจไปอย่างนั้น เราก็อยากให้เกิด แต่ทำไม่ได้ ขณะนี้มีความขัดแย้งสูงในพื้นที่ ประเด็นตรงนี้ รัฐบาลควรจะแจ้งประชาชนให้เตรียมตัว ถ้าทำไม่ได้ แล้วไม่บอกประชาชน ปัญหาจะหนักขึ้น เพราะประชาชนไม่ได้เตรียมอะไรเลย คิดว่า โครงการของภาครัฐทำได้ จะเห็นว่า ทำไมนครปฐมถึงไม่เอาฟัดเวย์ เป็นเรื่องที่ท้องถิ่นกับผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานในท้องที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่า รัฐบาลมีนโยบายอย่างนี้แล้ว
Qการเตรียมการเรื่องฟลัดเวย์ไปถึงไหน
ฟลัดเวย์เป็นแผนระยะยาว ที่รัฐบาลออกพระราชกำหนด 350,000 ล้าน เป็นฟลัดเวย์ถาวรทางฝั่งขวา และฝั่งซ้าย 2 เส้นทาง หากถามว่า เส้นทางอยู่ทางไหน เขา
ยังเก็บอยู่เป็นความลับกลัวว่า จะมีปัญหาการเก็งกำไร แต่ไม่ต้องห่วงการเก็งกำไร เพราะนักการเมืองซื้อหมดแล้ว
Qฟลัดเวย์ 350 กิโลเมตรที่ว่าเป็นแผนอย่างไร ตรงจุดไหน
ปีนี้เองก็มีฟลัดเวย์น้ำ ทำเป็นคันชั่วคราวยาวประมาณ 350 กม.พื้นที่จะป้อง คือ พื้นที่ในเมืองตั้งแต่แม่น้ำป่าสัก ลงมาคลองพระยาบันลือ จะผ่าน 3 เส้นทาง จุดแรกจะลงมาแม่น้ำเจ้าพระยา จะทำคันกั้นริมน้ำทั้งหมด ตั้งแต่อยุธยาลงมาถึงปทุมธานี ถ้าใครอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาต้องสังเกตว่า ทางราชการได้ไปเสริมถมถนนหรือยัง จุดที่ 2 จะทำคันดินริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำท่าจีน จะลงทุนป้องพื้นที่อุตสาหกรรม ส่วนปล่อยฝั่งขวาเป็นไปตามธรรมชาติ
และจุดที่ 3 ทางด้านฝั่งตะวันออก จะมีการทำคันจากคลองระพีพัฒน์ลงไปคลอง 13 และลงไปคลองด่าน เพราะฉะนั้นคนฝั่งซ้ายของคลองแปดริ้วน้ำจะท่วมสำหรับปีนี้
วันนั้นผมเดินทางลงพื้นที่ คนนครปฐมไม่ต้องการฟลัดเวย์ ขึ้นป้ายเต็มเลย ไม่ใช่แนวคิดเรา เป็นแนวคิดที่ออกมาแล้ว เราก็รู้ว่า ทำไม่ได้ เพราะผมบอกแต่แรกว่า จะได้รับการต่อต้านจากประชาชนสูงมาก ก็เรื่องจริง เงิน 120,000 ล้านบาท เบิกไปใช้เพียง 20,000 ล้านบาท เพราะไปตรงจุดไหน ไม่มีใครอยากให้ทำคันกั้น
สมมุติเราบ้านอยู่ฝั่งนี้ แล้วไปทำคันดินกั้น เห็นชัดเจนว่า ฝั่งนี้น้ำจะท่วม อีกฝั่งน้ำไม่ท่วม มันเป็นไปได้อย่างไร อันนี้หลักคิด การบริหารจัดการมันผิดหลักคิดแล้ว อันนี้เป็นส่วนหนึ่ง ปัญหาคือ ทำไม่เสร็จทำไม่ได้ เพราะความขัดแย้งสูง โหว่วเป็นจุด ๆ น้ำก็ทะลักอีก ในที่สุดถ้าน้ำมาเหมือนเดิม ผมคิดว่าก็ท่วมเหมือนเดิม แต่อาจจะหนักด้านท้ายน้ำ เพราะคันป้องไม่มีทางเสร็จทัน เหลือเวลาอีกเพียง 3-4 เดือน ถ้าคิดในแง่หลักความจริง เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้จะทำอย่างไร สุดท้ายคงตัวใครตัวมัน
Qสิ่งที่อาจารย์กังวล และพยายามเตือนรัฐบาลมาตลอด แต่รัฐบาลไม่ฟัง
จริง ๆ ฟัง แต่ปัญหาในท้องถิ่นมีอะไรบ้าง ผู้บริหารข้างบนไม่ค่อยรู้ นี่คือปัญหาหลักในการบริหารจัดการ เวลานางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีลงไปดูในพื้นที่ มันคนละเรื่องกับผมลงไปดูในพื้นที่ หลายพื้นที่ยังไม่สามารถทำคันกันน้ำได้ และมีปัญหามาก พอนายกรัฐมนตรีลงไป คนข้าง ๆ กับพูดแต่ว่า "ดีครับนาย ได้ครับผม" บ้านเราก็เป็นอย่างนี้ ทั้งที่ปัญหามันต้องแก้ไข ต้องให้ข้อเท็จจริง
ณ ขณะนี้ "ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ" การตัดสินที่จะสู้กับมัน ด้วยวิธีการอย่างนี้ แต่ไม่ศึกษา "อันตราย" ความจริงผมประชุมกับนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคมและบอกว่า ก่อนที่จะออกมาเป็นแผนแม่บท ขอให้นายกประเมินขั้นต้นก่อน แต่ไม่มีการประเมินมา จนกระทั่งปัจจุบันผ่านมา 6 เดือน บางอันถึงลงไปปฏิบัติไม่ได้
พอปฏิบัติไม่ได้ก็เกิดคำถามขึ้นมา
ผมเพิ่งกลับจากพิษณุโลก สุโขทัย ข้อมูลก็เพี่ยนอีก บางระกำโมเดล ทุกคนบอกป้องกันน้ำท่วมได้ พอมีบางระกำแล้ว สบายใจ แต่ตอนนี้น้ำท่วมบางระกำเต็มไปหมดเลย นี่คือ สิ่งที่เกิดขึ้น บางระกำโมเดล พื้นที่บ่อน้ำมี 30 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำอยู่ในพื้นที่บางระกำ 600 ล้านลูกบาศก์เมตร มันไม่ใช่ ความเข้าใจ มันต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้นรอบ ๆ ด้านนายกรัฐมนตรีอันตรายมาก น่ากลัว เราเลยต้องพึ่งวิทยาศาสตร์ เราจะทำอย่างไรให้เกิดข้อเท็จจริง เกิดข้อมูลส่งให้นายกรัฐมนตรีกลั่นกรอง อย่างนี้ดีที่สุดจึง "ทุบโต๊ะ"
ข้อมูลที่ให้ผู้บริหารตัดสินใจจะต้องได้รับการกลั่นกรองว่า ทิศทางเป็นเช่นนี้แล้ว ต้องทุบโต๊ะ สังเกตปีที่แล้วจะเห็นว่า บางอย่างมันซื้อเวลา ปีที่แล้วจะขอเปิดประตูน้ำแห่งนี่ 1.20 เมตร บอกขอเวลาดู 2 วัน นั่นคือ ซื้อเวลาแล้ว "หายนะไม่สามารถจะขอได้" "ขอหายนะดู 2 วันได้หรือไม่"
นอกจากนี้ "แผนเผชิญเหตุ" เวลาออกมาบอกรัฐบาลได้ทำแผนเผชิญเหตุเสร็จแล้ว เวลาเราประชุมก็ถาม แผนเผชิญเหตุเป็นอย่างไร สมมุติมีชาวบ้านออกมาขัดค้าน 1,000 คน มีตำรวจมา 10 คน ข้ราชการบอก"หนี" นี่คือ แผนเผชิญเหตุหรือเปล่า ผมบอกหนี ผิดคำสั่งผู้บังคับบัญชา คำสั่งคือ ให้ปิดประตูน้ำตัวนี้ แต่พอชาวบ้านที่อยู่เหนือประตูน้ำมาอีก 1,000 คน บอกให้เปิดประตูน้ำ ข้าราชการบอกผิดก็ผิด ดีจะได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เขาบอกอย่างนั้น
Qโครงการป้องกันน้ำท่วม1.2 แสนล้านบาทต้องมาทบทวนความเป็นไปได้
ถูกต้อง ขณะนี้ต้องรีบประเมิน และนายกรัฐมนตรีกำลังจะทำการประเมิน ผมเรียนท่านนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคมแล้วว่าต้องรีบประเมิน ปัญหามันจะเกิด ก็เกิดจริง ๆ ปัญหามันไม่ไปถึงท้องถิ่น ตอนนี้ประเด็นปัญหาเริ่มสะท้อนกลับมาว่า ตกลงปีนี้ น้ำจะมาเหมือนเดิม จะท่วมหรือไม่ท่วม ขณะนี้ยังไม่มีใครตอบได้ ถ้าน้ำ
มาเหมือนเดิม จะท่วมหรือไม่ท่วม เพราะว่า มาตรการที่ลงไป ยังไม่สามารถสร้างเป็นรูปธรรมได้
Qต้องทำประชาพิจารณ์ก่อนลงมือทำโครงการในพื้นที่ด้วยหรือไม่
ขึ้นกับขนาดโครงการ ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ต้องทำประชาพิจารณ์ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ แต่ถ้าเป็นโครงการธรรมดา ก็เพียงแต่ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งว่า แผนเป็นแบบนี้เอาหรือไม่
Qการที่นิคมสร้างเขื่อนป้องกันถือว่าเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ ทางวิทยาศาสตร์
ผมว่า ถูกต้อง นิคมอุตสาหกรรมเป็นพื้นที่ที่สำคัญ ความเสียหายปีที่แล้วในพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งหมด 1 ล้านล้านบาท การทำถูกต้อง เพียงแต่ทำแล้วไม่บอกกับประชาชนว่า น้ำจะไปหาประชาชนหรือเปล่า คือ การประเมิน เพราฉะนั้นก็เกิดความขัดแย้ง และใครก็ไม่กล้าไปเผชิญความขัดแย้ง ท้องที่เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น พื้นที่รอบ ๆ นิคมอุตสาหกรรมมีความขัดแย้งเกิดขึ้น
Qรัฐบาลควรต้องมีเงินชดเชยค่าตอบแทนให้กับประชาชนที่ต้องแบกรับน้ำแทนนิคมอุตสาหกรรม
ถูกต้อง ถ้าประเมินแล้วชาวบ้านไม่มีปัญหาเลย น้ำเพิ่มขึ้นมา 2 เซนติเมตรก็บอกประชาชนไป แต่ปัญหาคือ ไม่มีใครบอก ต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์ ต้องใช้หลักวิชาการบอก ถ้ารัฐบาลทำตั้งแต่เดือนมกราคมอยากที่ผมบอก ตอนนี้ทุกอย่างออกมาจบไปแล้ว
Qตอนนี้ข้าราชการมีปัญหาเรื่องการประสานงานเหมือนปีที่แล้ว
ใช่ครับ หน่วยราชการเองยังประสานงานกันเองไม่ลงตัว ยังไม่ดี ขณะที่การประสานงานกับประชาชนยังไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง หลายเรื่องซึ่งอันตราย ยกตัวอย่างปีที่แล้ว ตรงประตูน้ำพระยาสุเรนทร์ปีที่แล้วมีปัญหา ตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะมาตกลงกัน เรียกว่า การบริหารจัดการ ก่อนเกิดเหตุ จะเปิดเท่าไหร่ หากน้ำมาเท่านี้ อีก
อีกกรณีหนึ่งสุพรรณบุรีกับชัยนาท ปีที่แล้วในสุพรรณบุรีมีข้อตกลงกันว่า หลัง 15 กันยายนให้รีบเก็บเกี่ยว น้ำเข้าทุ่งแน่นอน แต่คนชัยนาทไม่รู้ข้อตกลงตัวนี้ น้ำเข้าท่วมตลาดวัดสิงห์หนัก ขณะที่สุพรรณบุรีน้ำในทุ่งยังไม่มี มีการไปพังประตูน้ำ เพื่อให้น้ำเข้าเร็ว ๆ แต่ในที่สุดจังหวัดสุพรรณบุรีก็ถูกน้ำท่วมหนัก สิ่งที่เกิดขึ้นความขัดแย้งจะบานปลายถ้าเราไม่แก้ปัญหาตัวนี้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภัยพิบัติในทุกภาคส่วนต้องมาคุยกัน
Qพื้นที่รับน้ำนองประชาชนยังไม่ทราบว่า อยู่ตรงไหน
พื้นที่ 2 ล้านไร่ ผมรู้ว่า ตรงนี้เมื่อผมลงไปในพื้นที่ประชาชนยังไม่ทราบ รัฐบาลไม่ประกาศ เพราะมาตรฐานการจ่ายเงินมันต่างกัน ถ้าประกาศความขัดแยังจะเพิ่มขึ้นมาอีก คนนี้ได้ 2,200 บาท พอเป็นพื้นที่รับน้ำนองได้ 7,000 บาท ประชาชนอีกแห่งบอก เขาอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทำไม ไม่ได้บรรจุอยู่ในพื้นที่รับน้ำนอง มันไม่ชัดเจน ไปถึงมีแต่ความขัดแย้ง
Qเรามีการเตรียมตัวรับกับอุทกภัยเหล่านั้นสักกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว
ถ้าวัดในเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ที่ไปทำ ยอมรับว่า วัดได้ยากจริง ๆ เพราะตอนนี้เกิดในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเอาตัวรอด เพราะฉะนั้นเราไม่รู้ว่า ชุมชนนี้จะป้องสูงระดับไหน ประชาชนในพื้นที่จะบอกว่า ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก เขาจะทำเขื่อนขึ้นมาสูงเท่านั้นเท่านี้ จะทำได้หรือไม่ งบประมาณอยู่ที่ไหน เราก็ไม่รู้อีก จะมีกรณีอย่างนี้เต็มไปหมด
และแน่นอนปริมาณน้ำเหล่านี้จะไหลลงข้างล่าง คนกรุงเทพ และปริมณฑลมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้นคนที่ถูกน้ำท่วมปีที่แล้วจะเข็มแข็งขึ้น เพราะจะปกป้อง แต่คนที่ไม่โดนปีที่แล้ว จะไม่ทำอะไร เพราะถือว่า ผ่าเหตุการณ์ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ถูกท่วมปีที่แล้วก็จะท่วมปีนี้ ธรรมชาติเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว
อยากน้อยฟังข้อมูลแล้ว...จะสู้หรือจะหนี คงต้องตัดสินใจเตรียมตัวกันเอง !!
เรื่องโดย : กฤษณา ไพฑูรย์
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... d&subcatid
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อัพเดทข่าว น้ำท่วมบริษัทของพวกเราบ้างหรือไม่
โพสต์ที่ 78
นวนครลุยสร้างเขื่อนใกล้100% [ ข่าวสด, 6 ส.ค. 55 ]
นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการบริษัทนวนคร จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนา
สวนอุตสาหกรรมนวนคร เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ก่อสร้างคันกั้นน้ำถาวรซึ่งมีความยาว
ประมาณ 20 กิโลเมตร เสร็จกว่า 90% แล้ว ซึ่งจะสมบูรณ์ 100% เร็วๆ นี้ และยังมีปัจจัยที่จะ
ต้องระวังและติดตามอย่างใกล้ชิดคือ หากพายุมาและทำให้ปริมาณน้ำฝนตกลงมากอาจขังอยู่ภาย
ในสวนอุตสาหกรรมได้บริษัทจึงเตรียมปั๊มสำรองฉุกเฉินไว้เพิ่มจากปีที่แล้วอีกเท่าตัว จากปีก่อน
สามารถสูบน้ำได้ 6 แสนคิวบิกเมตรต่อวันเป็น 1.2 ล้านคิวบิกเมตรต่อวัน
นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการบริษัทนวนคร จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนา
สวนอุตสาหกรรมนวนคร เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ก่อสร้างคันกั้นน้ำถาวรซึ่งมีความยาว
ประมาณ 20 กิโลเมตร เสร็จกว่า 90% แล้ว ซึ่งจะสมบูรณ์ 100% เร็วๆ นี้ และยังมีปัจจัยที่จะ
ต้องระวังและติดตามอย่างใกล้ชิดคือ หากพายุมาและทำให้ปริมาณน้ำฝนตกลงมากอาจขังอยู่ภาย
ในสวนอุตสาหกรรมได้บริษัทจึงเตรียมปั๊มสำรองฉุกเฉินไว้เพิ่มจากปีที่แล้วอีกเท่าตัว จากปีก่อน
สามารถสูบน้ำได้ 6 แสนคิวบิกเมตรต่อวันเป็น 1.2 ล้านคิวบิกเมตรต่อวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."