ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 1
วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 08:25 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - Big Stories ทุนญี่ปุ่นทบทวนแผนตั้งโรงงานในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ค่ายรถตบเท้าหยุดชั่วคราวอีกเพียบ บริษัทประกันภัยกระอัก ผวาพิษน้ำท่วมดันยอดเคลมพุ่ง สุดอั้นจ่อหั่นทุนประกันคุ้มภัยจากน้ำ ยันแม้จ่ายเคลมสูงแต่ไม่กระทบฐานะทางการเงิน เหตุบริษัทซื้อประกันภัยต่อรองรับไว้แล้ว เจโทร-เจซีซียังเชื่อมั่น ส่วนงบฟื้นฟู 5 หมื่นล.ถูกแขวน คาดดึงพิจารณาในคณะกรรมการชุดฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สถานการณ์น้ำท่วมยังคงวิกฤติต่อเนื่องนิคมอุตสาหกรรม อีกหลายพื้นที่ยังสุ่มเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ในขณะที่ผลกระทบต่อเนื่องก็กำลังขยายวงมาถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ต้องสะเทือนตามกันไป เนื่องจากเส้นทางวัตถุดิบจากโรงงานหนึ่งไปยังอีกโรงงานหนึ่งเกิดการสะดุดขึ้น จนไม่สามารถเดินการผลิตต่อเนื่องได้เพราะไม่มีวัตถุดิบ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นทุนสัญชาติญี่ปุ่นที่กระจายอยู่ตามนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมต่างๆทั่วประเทศ
-80%เป็นทุนญี่ปุ่น
ล่าสุดนายพากร วังศิราบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวยอมรับว่าผลกระทบจากภัยน้ำท่วมส่วนหนึ่งได้ทำให้ภาพลักษณ์การลงทุนไทยขาดความเชื่อมั่นไปแล้วในสายตาของทุนสัญชาติญี่ปุ่น เนื่องจากที่อยุธยาจะมีการลงทุนของกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่ตั้งโรงงานอยู่ในสวนอุตสาหกรรม และในนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมากถึง 80% ของการลงทุนทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ และในช่วงฟื้นฟูเชื่อว่าจะมีนักลงทุนบางส่วน ต้องการจะย้ายฐานการผลิตไปตั้งในพื้นที่อื่นในประเทศไทยที่ไม่ใช่จุดเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ส่วนบางรายก็ยังมั่นใจว่าจะยังคงปักหลักอยู่ที่เดิมเนื่องจากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และที่ผ่านมาได้ลงทุนไปมากแล้วและไม่เชื่อว่าจะเกิดอุทกภัยร้ายแรงแบบนี้ทุกปี เพราะที่ผ่านมาก็มีน้ำท่วมแต่หลายโรงงานก็ควบคุมได้ ขณะเดียวกันจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมีข้อได้เปรียบในแง่ระบบการขนส่ง เพราะอยู่ใกล้กรุงเทพฯ หากไปตั้งโรงงานไกลๆ ออกไปอีกอาจจะต้องแบกภาระค่าขนส่งสูงกว่าเดิม
"ปีนี้ถือว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบมากกว่าปี2538 ที่ระดับน้ำสูงถึง 50 เซนติเมตร ตอนนี้เฉพาะความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับความเสียหาย จากที่ประเมินไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม อยู่ที่ประมาณ 60,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะและนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ส่วนในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค)นั้น ณ วันที่ 11 ตุลาคม น้ำยังไม่ท่วมมาโรงงานอุตสาหกรรมแต่จะต้องดูสถานการณ์กันวันต่อวัน เพราะไม่มั่นใจว่าหลังจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้นอีกหรือไม่"
นายวุฒิชัย อุดมกาญจนนันท์ กรรมการบริษัทเอ็นเอ็มบี มินีแบ ไทย จำกัด หรือ"มินีแบ"ทุนรายใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติญี่ปุ่นกล่าวว่าขณะนี้โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะแล้วและจะต้องรอประเมินความเสียหายอีกครั้งหลังน้ำลด
"หลังน้ำลดเชื่อว่าจะมีกลุ่มทุนญี่ปุ่นบางส่วนเข็ดกับการลงทุนที่อยุธยาเพราะกลัวน้ำท่วมอีก ส่วนมินีแบประเทศญี่ปุ่นก็อาจต้องมาทบทวนว่าถ้าจะลงทุนที่ใหม่จะไปตั้งโรงงานในจังหวัดไหนในประเทศไทย เพื่อกระจายความเสี่ยง และโดยภาพรวมแล้วก็ยังเชื่อมั่นประเทศไทยอยู่ เพราะลงทุนมานานและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้"
ดร.สัมพันธ์ ศิลปะนาฎ ประธานคณะกรรมการบริหารสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์กล่าวว่า ในสมาคมมีสมาชิก 47 บริษัท ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการด้านอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ๆตั้งโรงงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เวลานี้รัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนมั่นใจว่าอีก 12 เดือนนับจากนี้ไปเมื่อมีฝนตกหนักอีกจะรับมืออย่างไร เพราะเวลานี้ทุกคนก็สร้างเขื่อนล้อมโรงงาน และถ้าน้ำมาอีกน้ำจะไหลไปไหน มีใครดูแลว่าสร้างเขื่อนดินที่ล้อมโรงงานแล้วใครเป็นคนควบคุมโดยรวม ดังนั้นถ้ายังตอบโจทย์นี้ไม่ได้ก็อาจจะทำให้ทุนข้ามชาติเกิดความลังเลที่จะลงทุนในไทยต่อไป
-ทัพซามูไรเล็งเขมร
สอดคล้องกับที่ ด้านนายสมศักดิ์ รินเรืองสิน นายกสมาคมธุรกิจไทยในกัมพูชา กล่าวว่า จากค่าจ้างแรงงานในญี่ปุ่นที่สูง และค่าจ้างในไทยที่จะปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับน้ำท่วมในไทยที่เกิดขึ้นในเวลานี้ทำให้โรงงานญี่ปุ่นได้รับความเสียหายหลายแห่ง จากหลายองค์ประกอบรวมกันอาจมีผลให้นักลงทุนพิจารณาย้ายฐาน หรือขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และมีความเสี่ยงน้อยกว่ามากขึ้น ซึ่งประเทศกัมพูชาถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ผ่านมากัมพูชากำลังได้รับอานิสงส์มาจากการลงทุนของญี่ปุ่น โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้าไปลงทุนก็จะพาบริษัทลูกหรืออุตสาหกรรมสนับสนุนมาตั้งอยู่ใกล้ๆ กันด้วย บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่ได้เข้าไปลงทุนในกัมพูชาแล้วในขณะนี้ อาทิ มินีแบ อายิโนะโมะโต๊ะ ที่กำลังจะไป อาทิ ยามาฮ่า และกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร บะหมี่สำเร็จรูป เป็นต้น
นายดุสิต บุญกาวิน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอาวุโส บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ส่วนใหญ่มีลูกค้าเป็นทุนสัญชาติญี่ปุ่นกล่าวว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไปคือบางโรงงานจะหยุดผลิตมากกว่า 1 สัปดาห์หรือเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งจะเป็นกลุ่มโรงงานที่ถูกน้ำท่วม และจะมีบางโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมที่ลดการผลิตลงด้วยเนื่องจากมีวัตถุดิบรองรับไม่เต็มจำนวนหลังจากที่ซัพพลายเออร์กระทบจากน้ำท่วม ที่ขณะนี้ก็มีลูกค้าของเคอรี่โลจิสติคส์ที่ไม่ถูกน้ำท่วมบางรายประกาศหยุดการผลิตลงชั่วคราว 3-5 วัน
-แนะบีโอไอปรับกลยุทธ์ใหม่
อย่างไรก็ตามปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จะต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ในการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมตั้งแต่อยุธยา สระบุรี นนทบุรี ปทุมธานี เพื่อให้ความมั่นใจกับนักลงทุน โดยบีโอไอควรจะมีการพิจารณาปรับกลยุทธ์โดยขยายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่เป็นเขต 2 ควรพิจารณาปรับเป็นพื้นที่การลงทุนเขต 3 ให้สิทธิประโยชน์สูงสุด หรือยกระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์มรดกโลกและวัฒนธรรม ไม่ให้เป็นเขตลงทุนในภาคการผลิตอีก หากทำไม่ได้ภาครัฐก็ต้องลงมาเยียวยาผู้ประกอบการพัฒนานิคมฯรวมถึงการเยียวยาด้วยงบเฉพาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่กระทบครั้งนี้
-ค่ายรถแห่หยุดชั่วคราว
ส่วนความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการยานยนต์ล่าสุดค่าย"โตโยต้า"ย่านสำโรง,บ้านโพธิ์ และเกตเวย์ต้องหยุดผลิตประมาณ 3 วัน เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนเกิดปัญหาและไม่สามารถส่งมอบชิ้นส่วนให้ได้ ส่วนแนวทางป้องกันโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานบ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา ที่อยู่ในพื้นที่กลุ่มเสี่ยงนั้น ต่างก็มีการเฝ้าระวังและเตรียมรับมือกันอย่างเต็มที่
ส่วนนายโชอิชิ ยูกิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในตอนนี้ ทำให้ซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนบางรายไม่สามารถจะส่งมอบและทำให้โรงงานประกอบไม่สามารถที่จะผลิตรถออกมาได้ โดยมาสด้าได้ประกาศหยุดการผลิตรถ 1 วัน และจะมีการศึกษาต่อไปว่าจะมีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้นอีก ซึ่งหากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยืดเยื้อก็จะส่งผลให้ต้องมีการปรับเป้าหมายยอดขายใหม่
เช่นเดียวกันกับค่ายฟอร์ด นายสาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานฝ่ายการตลาด-ขาย บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส(ประเทศไทย)ฯกล่าวว่า ในส่วนของกำลังการผลิต ฟอร์ดได้มีการหยุดการผลิตเพื่อเช็กสต๊อกเป็นเวลา 2 วัน อย่างไรก็ตามหากเกิดผลกระทบด้านชิ้นส่วน โดยเฉพาะในรุ่น เฟียสต้า นั้น ยังสามารถที่จะหามาจากพื้นที่อื่นๆ มาทดแทนได้ เนื่องจากรถในรุ่นนี้ถูกดำเนินงานภายใต้โปรเจ็กต์โกลบัล
ด้านนายสมพงษ์ ผลจิตจรูญ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันทาทาได้ให้ธนบุรีประกอบรถยนต์เป็นผู้ผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย โดยโรงงานตั้งอยู่ที่สมุทรปราการ ซึ่งในเบื้องต้นแม้จะไม่ได้ประสบกับปัญหาน้ำท่วม แต่บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมด้วยการนำรถที่ประกอบเสร็จแล้วไปจอดที่ลานจอดรถของสุวรรณภูมิ ขณะที่แผนการประกอบตอนนี้ลดเหลือ 50% เนื่องจากบริษัทชิ้นส่วนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และแรงงานไม่สามารถมาทำงานได้
นายอันโตนิโอ ซาร่า รองประธานฝ่ายขาย การตลาด บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า เหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนี้ ไม่กระทบต่อการดำเนินงานของเชฟโรเลต และไม่มีผลต่อการลงทุน เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยคือ ศูนย์ฝึกอบรม ที่อยู่จังหวัดนนทบุรี และศูนย์คลังอะไหล่ที่อยู่อยุธยา ซึ่งได้มีการเตรียมความพร้อมอยู่แล้ว และมองว่าเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวไม่มีผลอันใดต่อการวางแผนงาน และบริษัท ยังมีความมั่นใจในการลงทุนในประเทศไทย
-ฮอนด้ายันไม่ย้อมแมวขาย
นางอรนุช พฤกษ์วัฒนานนท์ ผู้จัดการส่วนงานการตลาด บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล ( ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทฮอนด้าฯขอให้ลูกค้าสบายใจ เพราะบริษัทมีวิธีการที่จะทำลายรถและชิ้นส่วนต่างๆโดยลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ เพราะหมายเลขตัวถังของรถแต่ละคันจะไม่เหมือนกัน กล่าวคือรถที่ผลิตออกมาใหม่ก็จะรันนัมเบอร์ใหม่ ส่วนรถที่ถูกน้ำท่วมกว่า 200 คันนั้นก็จะมีนัมเบอร์ติดอยู่ ซึ่งการตรวจสอบอาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อย โดยอาจจะต้องรถให้สถานการณ์ต่างๆฟื้นคืนกลับมาถึงจะตรวจสอบได้
สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ ฮอนด้า ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หยุดผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ขณะนี้ต้องขยายเวลาหยุดอีกตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม เป็นต้นไป
ขณะที่โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ฮอนด้าของบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังก็ได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนประสบปัญหาน้ำท่วมไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนเพื่อการผลิตให้ได้ ซึ่งในส่วนของเครื่องยนต์อเนกประสงค์ได้หยุดผลิตตั้งแต่วันที่ 6 - 8 ตุลาคม และยังคงหยุดผลิตอย่างต่อเนื่อง
-เตรียมหั่นประกันคุ้มภัยรง.
นายวิชัย สันติมหกุลเลิศ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมต่อสถานการณ์น้ำท่วมหลายนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า เบื้องต้นเสียหายแล้วไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท (เฉพาะทรัพย์สิน) ซึ่งความเสียหายดังกล่าว ได้นำไปประชุมภายใน เพื่อกำหนดแผนรับทำประกันภัยในปีหน้า โดยจะนำข้อมูลปีนี้เข้าไปพิจารณารับทำประกันแต่ละราย โดยเฉพาะการปรับลดวงเงินสำหรับการทำประกันความเสียหายสำหรับโรงงานโดยเฉพาะ โดยจะไม่รับทำประกันในวงเงินสูงเหมือนทุกปีที่ผ่านมา
ส่วนความกังวลเรื่องการจ่ายสินไหมจะกระทบต่อฐานะของบริษัทประกันวินาศภัยหรือไม่นั้น ยืนยันจะไม่กระทบต่อฐานะบริษัทประกัน เนื่องจากทุกบริษัทมีการซื้อประกันภัยต่อจากต่างประเทศอยู่แล้ว และขอยืนยันว่าวิกฤติดังกล่าวจะไม่ทำให้บริษัทประกันล้มอย่างแน่นอน เพราะทุกบริษัทผ่านมาตรฐานด้านเงินทุน ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
ในส่วนของบริษัท ส่วนใหญ่ที่บริษัท รับทำประกันภัยเป็นกลุ่มโรงงานที่เข้ามาลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นถึง 70% ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นถือว่าหนักมาก โดยจำนวนรายที่ทำประกันในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีถึง 15 โรงงานที่ซื้อประกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน, นิคมฯโรจนะ ที่ทำประกันความเสียหายไว้แล้ว 20-30 โรงงาน แต่ละรายซื้อทุนประกัน ตั้งแต่ 100 ล้านบาท ไปถึงหลักหมื่นล้านบาท ตามขนาดของธุรกิจ ซึ่งโรงงานที่ซื้อทุนประกันหลักหมื่นล้านบาทส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ เป็นต้น
นอกจากนี้ นายวิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทประกันที่โฟกัสตลาดไปที่พอร์ตเบี้ย หรือเน้นกลุ่มลูกค้าที่ทำประกันเสี่ยงภัยในธุรกิจขนาดใหญ่จะได้รับความเสียหายอย่างมาก เรียกว่าไม่เคยเกิดความเสียหายขนาดนี้มาก่อน หรืออาจพูดได้ว่า ปีนี้บริษัทประกันภัยที่เน้นลูกค้าองค์กรถือว่าเสียหายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะ 20-30 ปีมานี้ไม่เคยมีเหตุการณ์น้ำท่วมเข้านิคมฯ ไหนเลย หากเทียบความเสียหายปี 2554 สูงกว่าปี 2553 ที่ผ่านมามากหรือมองว่าขนาดความเสียหายเทียบกันไม่ได้เลย
"ปีนี้บริษัทที่รับประกันโครงการขนาดใหญ่ มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนมาก ยิ่งบริษัทไหนซื้อประกันภัยต่อน้อย เท่ากับต้องรับภาระจ่ายสินไหมทดแทนสูง และยังกระทบกับเป้าหรือภาพรวมตัวเลขการขยายตัวของอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบ เรียกว่าสิ้นปีกระทบหนักมาก"
นายปราโมทย์ ปวโรฬารวิทยา กรรมการ บริษัท ฟากูส-ท็อป ฟอร์ม (ประเทศไทย)ฯ บริษัทผู้ผลิตรองเท้าส่งออก หนึ่งในบริษัทที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร กล่าวว่า ประเมินความเสียหายเบื้องต้นพบว่าเครื่องจักรน่าจะเสียหายไม่ต่ำกว่า 90% คำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) บริษัทไม่สามารถส่งสินค้าในเฟสนี้ได้เลย เนื่องจากสินค้าอยู่ในขั้นตอนการผลิตทั้งสิ้น ด้านสต๊อกสินค้าคาดว่าน่าจะสามารถนำชิ้นส่วนพลาสติกมารีไซเคิลใหม่ได้ ขณะที่ตัวอาคารนั้นคาดว่าไม่น่าจะเสียหายมากนัก
ทั้งนี้ ความเสียหายจากทรัพย์สินและตัวอาคารดังกล่าว บริษัทได้ทำประกันภัยทรัพย์สินที่ครอบคลุมภัยน้ำท่วมในอัตราทุนประกันภัย 99 ล้านบาท คิดเบี้ยประกันภัย 200,000 บาทต่อปี กับบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ซึ่งขณะนี้ได้รับการติดต่อจากบริษัทประกันภัยแล้ว คาดว่าภายหลังระดับน้ำลดลงน่าจะได้รับการติดต่อเพื่อจ่ายเคลมประกันอีกครั้ง
"ที่เสียหายหนักคือเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ เพราะต้องแช่น้ำนานเป็นสัปดาห์ ซึ่งความเสียหายน่าจะอยู่ที่ประมาณ 80 ล้านบาท และเชื่อว่าทุนประกัน 99 ล้านบาท จะครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดได้ และหวังว่าบริษัทประกันภัยจะเห็นใจ เพราะจะต้องเริ่มใหม่แทบทั้งหมด"
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าในปีหน้าบริษัทยังมีความต้องการทำประกันภัยความเสียหายจากทรัพย์สินต่อ เพราะมองว่าเป็นการประกันภัยเบื้องต้นของบริษัทที่มีความตั้งใจจะเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป โดยตลอดระยะเวลา 15 ปี บริษัทก็มีการทำประกันภัยมาโดยตลอด และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เกิดความเสียหายหนักรุนแรงขนาดนี้ แม้ว่าจะมีกระแสข่าวจากบริษัทประกันภัยว่าอาจมีการปรับลดความคุ้มครองลง และปรับเพิ่มเบี้ยประกันภัยขึ้น
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่าการใช้งบฉุกเฉินในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุน้ำท่วมในอีก 2เดือนคาดว่าจะใช้ประมาณ 5-6 พันล้านบาทจากที่ผ่านมาใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,463 ล้านบาท( 1 ส.ค.ถึง 10 ต.ค.) โดยจังหวัดที่ได้รับงบฉุกเฉินมากที่สุดขณะนี้ คือ อยุธยา 500 ล้านบาท รองลงมา คือ นครสวรรค์ และ สุโขทัย ที่ 300 ล้านบาท
-เจโทร-เจซีซียังเชื่อมั่น
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่า จากการหารือร่วมกันกับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เฝ้าระวังนิคมฯอื่นที่น้ำยังมาไม่ถึง ให้หามาตรการป้องกัน โดยส่งทีมเข้าไปตรวจสอบความแข็งแรง ที่ส่วนใหญ่น้ำทะลักมาจากคันกั้นน้ำไม่แข็งแรง และต้องดูทุกที่ รวมถึงการฟื้นฟูหลังน้ำลด อาจใช้เวลานานหลายเดือน และปัญหาการว่าจ้างงานพนักงานที่จะตามมา ส่วนผลกระทบกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ส่งออกไปต่างประเทศ แผนชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่หลายบริษัทอาจขาดกระแสเงินสดหมุนเวียน เงินส่งประกันสังคม
ส่วนเรื่องความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศนั้นได้หารือเบื้องต้น พบว่า องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (เจโทร) และหอการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (เจซีซี) ยังมีความเชื่อมั่นอยู่ เพราะลงทุนมากส่วนเรื่องอื่นๆ จะหารือหลังน้ำลด จะฟื้นฟูซ่อมแซมอย่างไร จะรวดเร็วแค่ไหน คาดว่าจะฟื้นฟูได้ไม่ด้อยไปกว่าญี่ปุ่น
-แขวนของบฟื้นฟู5หมื่นล.
ด้านนายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำหรับข้อเสนอของภาคเอกชนที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เสนอขอความช่วยเหลือจากกรณีที่ประสบปัญหาน้ำท่วม อาทิ การตั้งกองทุนฟื้นฟูธุรกิจสำหรับภาคอุตสาหกรรมวงเงิน 50,000 ล้านบาท การขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล การลดภาระค่าน้ำค่าไฟฟ้า การขอให้กองทุนประกันสังคมช่วยจ่ายเงินเดือนบางส่วนให้กับแรงงาน ล่าสุดยังไม่ได้มีการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 แต่คาดว่าจะมีการนำข้อเสนอดังกล่าวของภาคเอกชนไปพิจารณาในคณะกรรมการชุดฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธาน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,678 13 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สถานการณ์น้ำท่วมยังคงวิกฤติต่อเนื่องนิคมอุตสาหกรรม อีกหลายพื้นที่ยังสุ่มเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ในขณะที่ผลกระทบต่อเนื่องก็กำลังขยายวงมาถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ต้องสะเทือนตามกันไป เนื่องจากเส้นทางวัตถุดิบจากโรงงานหนึ่งไปยังอีกโรงงานหนึ่งเกิดการสะดุดขึ้น จนไม่สามารถเดินการผลิตต่อเนื่องได้เพราะไม่มีวัตถุดิบ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นทุนสัญชาติญี่ปุ่นที่กระจายอยู่ตามนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมต่างๆทั่วประเทศ
-80%เป็นทุนญี่ปุ่น
ล่าสุดนายพากร วังศิราบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวยอมรับว่าผลกระทบจากภัยน้ำท่วมส่วนหนึ่งได้ทำให้ภาพลักษณ์การลงทุนไทยขาดความเชื่อมั่นไปแล้วในสายตาของทุนสัญชาติญี่ปุ่น เนื่องจากที่อยุธยาจะมีการลงทุนของกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่ตั้งโรงงานอยู่ในสวนอุตสาหกรรม และในนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมากถึง 80% ของการลงทุนทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ และในช่วงฟื้นฟูเชื่อว่าจะมีนักลงทุนบางส่วน ต้องการจะย้ายฐานการผลิตไปตั้งในพื้นที่อื่นในประเทศไทยที่ไม่ใช่จุดเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ส่วนบางรายก็ยังมั่นใจว่าจะยังคงปักหลักอยู่ที่เดิมเนื่องจากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และที่ผ่านมาได้ลงทุนไปมากแล้วและไม่เชื่อว่าจะเกิดอุทกภัยร้ายแรงแบบนี้ทุกปี เพราะที่ผ่านมาก็มีน้ำท่วมแต่หลายโรงงานก็ควบคุมได้ ขณะเดียวกันจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมีข้อได้เปรียบในแง่ระบบการขนส่ง เพราะอยู่ใกล้กรุงเทพฯ หากไปตั้งโรงงานไกลๆ ออกไปอีกอาจจะต้องแบกภาระค่าขนส่งสูงกว่าเดิม
"ปีนี้ถือว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบมากกว่าปี2538 ที่ระดับน้ำสูงถึง 50 เซนติเมตร ตอนนี้เฉพาะความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับความเสียหาย จากที่ประเมินไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม อยู่ที่ประมาณ 60,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะและนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ส่วนในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค)นั้น ณ วันที่ 11 ตุลาคม น้ำยังไม่ท่วมมาโรงงานอุตสาหกรรมแต่จะต้องดูสถานการณ์กันวันต่อวัน เพราะไม่มั่นใจว่าหลังจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้นอีกหรือไม่"
นายวุฒิชัย อุดมกาญจนนันท์ กรรมการบริษัทเอ็นเอ็มบี มินีแบ ไทย จำกัด หรือ"มินีแบ"ทุนรายใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติญี่ปุ่นกล่าวว่าขณะนี้โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะแล้วและจะต้องรอประเมินความเสียหายอีกครั้งหลังน้ำลด
"หลังน้ำลดเชื่อว่าจะมีกลุ่มทุนญี่ปุ่นบางส่วนเข็ดกับการลงทุนที่อยุธยาเพราะกลัวน้ำท่วมอีก ส่วนมินีแบประเทศญี่ปุ่นก็อาจต้องมาทบทวนว่าถ้าจะลงทุนที่ใหม่จะไปตั้งโรงงานในจังหวัดไหนในประเทศไทย เพื่อกระจายความเสี่ยง และโดยภาพรวมแล้วก็ยังเชื่อมั่นประเทศไทยอยู่ เพราะลงทุนมานานและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้"
ดร.สัมพันธ์ ศิลปะนาฎ ประธานคณะกรรมการบริหารสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์กล่าวว่า ในสมาคมมีสมาชิก 47 บริษัท ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการด้านอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ๆตั้งโรงงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เวลานี้รัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนมั่นใจว่าอีก 12 เดือนนับจากนี้ไปเมื่อมีฝนตกหนักอีกจะรับมืออย่างไร เพราะเวลานี้ทุกคนก็สร้างเขื่อนล้อมโรงงาน และถ้าน้ำมาอีกน้ำจะไหลไปไหน มีใครดูแลว่าสร้างเขื่อนดินที่ล้อมโรงงานแล้วใครเป็นคนควบคุมโดยรวม ดังนั้นถ้ายังตอบโจทย์นี้ไม่ได้ก็อาจจะทำให้ทุนข้ามชาติเกิดความลังเลที่จะลงทุนในไทยต่อไป
-ทัพซามูไรเล็งเขมร
สอดคล้องกับที่ ด้านนายสมศักดิ์ รินเรืองสิน นายกสมาคมธุรกิจไทยในกัมพูชา กล่าวว่า จากค่าจ้างแรงงานในญี่ปุ่นที่สูง และค่าจ้างในไทยที่จะปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับน้ำท่วมในไทยที่เกิดขึ้นในเวลานี้ทำให้โรงงานญี่ปุ่นได้รับความเสียหายหลายแห่ง จากหลายองค์ประกอบรวมกันอาจมีผลให้นักลงทุนพิจารณาย้ายฐาน หรือขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และมีความเสี่ยงน้อยกว่ามากขึ้น ซึ่งประเทศกัมพูชาถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ผ่านมากัมพูชากำลังได้รับอานิสงส์มาจากการลงทุนของญี่ปุ่น โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้าไปลงทุนก็จะพาบริษัทลูกหรืออุตสาหกรรมสนับสนุนมาตั้งอยู่ใกล้ๆ กันด้วย บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่ได้เข้าไปลงทุนในกัมพูชาแล้วในขณะนี้ อาทิ มินีแบ อายิโนะโมะโต๊ะ ที่กำลังจะไป อาทิ ยามาฮ่า และกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร บะหมี่สำเร็จรูป เป็นต้น
นายดุสิต บุญกาวิน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอาวุโส บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ส่วนใหญ่มีลูกค้าเป็นทุนสัญชาติญี่ปุ่นกล่าวว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไปคือบางโรงงานจะหยุดผลิตมากกว่า 1 สัปดาห์หรือเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งจะเป็นกลุ่มโรงงานที่ถูกน้ำท่วม และจะมีบางโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมที่ลดการผลิตลงด้วยเนื่องจากมีวัตถุดิบรองรับไม่เต็มจำนวนหลังจากที่ซัพพลายเออร์กระทบจากน้ำท่วม ที่ขณะนี้ก็มีลูกค้าของเคอรี่โลจิสติคส์ที่ไม่ถูกน้ำท่วมบางรายประกาศหยุดการผลิตลงชั่วคราว 3-5 วัน
-แนะบีโอไอปรับกลยุทธ์ใหม่
อย่างไรก็ตามปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จะต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ในการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมตั้งแต่อยุธยา สระบุรี นนทบุรี ปทุมธานี เพื่อให้ความมั่นใจกับนักลงทุน โดยบีโอไอควรจะมีการพิจารณาปรับกลยุทธ์โดยขยายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่เป็นเขต 2 ควรพิจารณาปรับเป็นพื้นที่การลงทุนเขต 3 ให้สิทธิประโยชน์สูงสุด หรือยกระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์มรดกโลกและวัฒนธรรม ไม่ให้เป็นเขตลงทุนในภาคการผลิตอีก หากทำไม่ได้ภาครัฐก็ต้องลงมาเยียวยาผู้ประกอบการพัฒนานิคมฯรวมถึงการเยียวยาด้วยงบเฉพาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่กระทบครั้งนี้
-ค่ายรถแห่หยุดชั่วคราว
ส่วนความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการยานยนต์ล่าสุดค่าย"โตโยต้า"ย่านสำโรง,บ้านโพธิ์ และเกตเวย์ต้องหยุดผลิตประมาณ 3 วัน เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนเกิดปัญหาและไม่สามารถส่งมอบชิ้นส่วนให้ได้ ส่วนแนวทางป้องกันโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานบ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา ที่อยู่ในพื้นที่กลุ่มเสี่ยงนั้น ต่างก็มีการเฝ้าระวังและเตรียมรับมือกันอย่างเต็มที่
ส่วนนายโชอิชิ ยูกิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในตอนนี้ ทำให้ซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนบางรายไม่สามารถจะส่งมอบและทำให้โรงงานประกอบไม่สามารถที่จะผลิตรถออกมาได้ โดยมาสด้าได้ประกาศหยุดการผลิตรถ 1 วัน และจะมีการศึกษาต่อไปว่าจะมีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้นอีก ซึ่งหากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยืดเยื้อก็จะส่งผลให้ต้องมีการปรับเป้าหมายยอดขายใหม่
เช่นเดียวกันกับค่ายฟอร์ด นายสาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานฝ่ายการตลาด-ขาย บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส(ประเทศไทย)ฯกล่าวว่า ในส่วนของกำลังการผลิต ฟอร์ดได้มีการหยุดการผลิตเพื่อเช็กสต๊อกเป็นเวลา 2 วัน อย่างไรก็ตามหากเกิดผลกระทบด้านชิ้นส่วน โดยเฉพาะในรุ่น เฟียสต้า นั้น ยังสามารถที่จะหามาจากพื้นที่อื่นๆ มาทดแทนได้ เนื่องจากรถในรุ่นนี้ถูกดำเนินงานภายใต้โปรเจ็กต์โกลบัล
ด้านนายสมพงษ์ ผลจิตจรูญ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันทาทาได้ให้ธนบุรีประกอบรถยนต์เป็นผู้ผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย โดยโรงงานตั้งอยู่ที่สมุทรปราการ ซึ่งในเบื้องต้นแม้จะไม่ได้ประสบกับปัญหาน้ำท่วม แต่บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมด้วยการนำรถที่ประกอบเสร็จแล้วไปจอดที่ลานจอดรถของสุวรรณภูมิ ขณะที่แผนการประกอบตอนนี้ลดเหลือ 50% เนื่องจากบริษัทชิ้นส่วนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และแรงงานไม่สามารถมาทำงานได้
นายอันโตนิโอ ซาร่า รองประธานฝ่ายขาย การตลาด บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า เหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนี้ ไม่กระทบต่อการดำเนินงานของเชฟโรเลต และไม่มีผลต่อการลงทุน เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยคือ ศูนย์ฝึกอบรม ที่อยู่จังหวัดนนทบุรี และศูนย์คลังอะไหล่ที่อยู่อยุธยา ซึ่งได้มีการเตรียมความพร้อมอยู่แล้ว และมองว่าเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวไม่มีผลอันใดต่อการวางแผนงาน และบริษัท ยังมีความมั่นใจในการลงทุนในประเทศไทย
-ฮอนด้ายันไม่ย้อมแมวขาย
นางอรนุช พฤกษ์วัฒนานนท์ ผู้จัดการส่วนงานการตลาด บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล ( ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทฮอนด้าฯขอให้ลูกค้าสบายใจ เพราะบริษัทมีวิธีการที่จะทำลายรถและชิ้นส่วนต่างๆโดยลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ เพราะหมายเลขตัวถังของรถแต่ละคันจะไม่เหมือนกัน กล่าวคือรถที่ผลิตออกมาใหม่ก็จะรันนัมเบอร์ใหม่ ส่วนรถที่ถูกน้ำท่วมกว่า 200 คันนั้นก็จะมีนัมเบอร์ติดอยู่ ซึ่งการตรวจสอบอาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อย โดยอาจจะต้องรถให้สถานการณ์ต่างๆฟื้นคืนกลับมาถึงจะตรวจสอบได้
สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ ฮอนด้า ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หยุดผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ขณะนี้ต้องขยายเวลาหยุดอีกตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม เป็นต้นไป
ขณะที่โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ฮอนด้าของบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังก็ได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนประสบปัญหาน้ำท่วมไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนเพื่อการผลิตให้ได้ ซึ่งในส่วนของเครื่องยนต์อเนกประสงค์ได้หยุดผลิตตั้งแต่วันที่ 6 - 8 ตุลาคม และยังคงหยุดผลิตอย่างต่อเนื่อง
-เตรียมหั่นประกันคุ้มภัยรง.
นายวิชัย สันติมหกุลเลิศ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมต่อสถานการณ์น้ำท่วมหลายนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า เบื้องต้นเสียหายแล้วไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท (เฉพาะทรัพย์สิน) ซึ่งความเสียหายดังกล่าว ได้นำไปประชุมภายใน เพื่อกำหนดแผนรับทำประกันภัยในปีหน้า โดยจะนำข้อมูลปีนี้เข้าไปพิจารณารับทำประกันแต่ละราย โดยเฉพาะการปรับลดวงเงินสำหรับการทำประกันความเสียหายสำหรับโรงงานโดยเฉพาะ โดยจะไม่รับทำประกันในวงเงินสูงเหมือนทุกปีที่ผ่านมา
ส่วนความกังวลเรื่องการจ่ายสินไหมจะกระทบต่อฐานะของบริษัทประกันวินาศภัยหรือไม่นั้น ยืนยันจะไม่กระทบต่อฐานะบริษัทประกัน เนื่องจากทุกบริษัทมีการซื้อประกันภัยต่อจากต่างประเทศอยู่แล้ว และขอยืนยันว่าวิกฤติดังกล่าวจะไม่ทำให้บริษัทประกันล้มอย่างแน่นอน เพราะทุกบริษัทผ่านมาตรฐานด้านเงินทุน ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
ในส่วนของบริษัท ส่วนใหญ่ที่บริษัท รับทำประกันภัยเป็นกลุ่มโรงงานที่เข้ามาลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นถึง 70% ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นถือว่าหนักมาก โดยจำนวนรายที่ทำประกันในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีถึง 15 โรงงานที่ซื้อประกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน, นิคมฯโรจนะ ที่ทำประกันความเสียหายไว้แล้ว 20-30 โรงงาน แต่ละรายซื้อทุนประกัน ตั้งแต่ 100 ล้านบาท ไปถึงหลักหมื่นล้านบาท ตามขนาดของธุรกิจ ซึ่งโรงงานที่ซื้อทุนประกันหลักหมื่นล้านบาทส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ เป็นต้น
นอกจากนี้ นายวิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทประกันที่โฟกัสตลาดไปที่พอร์ตเบี้ย หรือเน้นกลุ่มลูกค้าที่ทำประกันเสี่ยงภัยในธุรกิจขนาดใหญ่จะได้รับความเสียหายอย่างมาก เรียกว่าไม่เคยเกิดความเสียหายขนาดนี้มาก่อน หรืออาจพูดได้ว่า ปีนี้บริษัทประกันภัยที่เน้นลูกค้าองค์กรถือว่าเสียหายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะ 20-30 ปีมานี้ไม่เคยมีเหตุการณ์น้ำท่วมเข้านิคมฯ ไหนเลย หากเทียบความเสียหายปี 2554 สูงกว่าปี 2553 ที่ผ่านมามากหรือมองว่าขนาดความเสียหายเทียบกันไม่ได้เลย
"ปีนี้บริษัทที่รับประกันโครงการขนาดใหญ่ มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนมาก ยิ่งบริษัทไหนซื้อประกันภัยต่อน้อย เท่ากับต้องรับภาระจ่ายสินไหมทดแทนสูง และยังกระทบกับเป้าหรือภาพรวมตัวเลขการขยายตัวของอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบ เรียกว่าสิ้นปีกระทบหนักมาก"
นายปราโมทย์ ปวโรฬารวิทยา กรรมการ บริษัท ฟากูส-ท็อป ฟอร์ม (ประเทศไทย)ฯ บริษัทผู้ผลิตรองเท้าส่งออก หนึ่งในบริษัทที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร กล่าวว่า ประเมินความเสียหายเบื้องต้นพบว่าเครื่องจักรน่าจะเสียหายไม่ต่ำกว่า 90% คำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) บริษัทไม่สามารถส่งสินค้าในเฟสนี้ได้เลย เนื่องจากสินค้าอยู่ในขั้นตอนการผลิตทั้งสิ้น ด้านสต๊อกสินค้าคาดว่าน่าจะสามารถนำชิ้นส่วนพลาสติกมารีไซเคิลใหม่ได้ ขณะที่ตัวอาคารนั้นคาดว่าไม่น่าจะเสียหายมากนัก
ทั้งนี้ ความเสียหายจากทรัพย์สินและตัวอาคารดังกล่าว บริษัทได้ทำประกันภัยทรัพย์สินที่ครอบคลุมภัยน้ำท่วมในอัตราทุนประกันภัย 99 ล้านบาท คิดเบี้ยประกันภัย 200,000 บาทต่อปี กับบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ซึ่งขณะนี้ได้รับการติดต่อจากบริษัทประกันภัยแล้ว คาดว่าภายหลังระดับน้ำลดลงน่าจะได้รับการติดต่อเพื่อจ่ายเคลมประกันอีกครั้ง
"ที่เสียหายหนักคือเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ เพราะต้องแช่น้ำนานเป็นสัปดาห์ ซึ่งความเสียหายน่าจะอยู่ที่ประมาณ 80 ล้านบาท และเชื่อว่าทุนประกัน 99 ล้านบาท จะครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดได้ และหวังว่าบริษัทประกันภัยจะเห็นใจ เพราะจะต้องเริ่มใหม่แทบทั้งหมด"
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าในปีหน้าบริษัทยังมีความต้องการทำประกันภัยความเสียหายจากทรัพย์สินต่อ เพราะมองว่าเป็นการประกันภัยเบื้องต้นของบริษัทที่มีความตั้งใจจะเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป โดยตลอดระยะเวลา 15 ปี บริษัทก็มีการทำประกันภัยมาโดยตลอด และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เกิดความเสียหายหนักรุนแรงขนาดนี้ แม้ว่าจะมีกระแสข่าวจากบริษัทประกันภัยว่าอาจมีการปรับลดความคุ้มครองลง และปรับเพิ่มเบี้ยประกันภัยขึ้น
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่าการใช้งบฉุกเฉินในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุน้ำท่วมในอีก 2เดือนคาดว่าจะใช้ประมาณ 5-6 พันล้านบาทจากที่ผ่านมาใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,463 ล้านบาท( 1 ส.ค.ถึง 10 ต.ค.) โดยจังหวัดที่ได้รับงบฉุกเฉินมากที่สุดขณะนี้ คือ อยุธยา 500 ล้านบาท รองลงมา คือ นครสวรรค์ และ สุโขทัย ที่ 300 ล้านบาท
-เจโทร-เจซีซียังเชื่อมั่น
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่า จากการหารือร่วมกันกับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เฝ้าระวังนิคมฯอื่นที่น้ำยังมาไม่ถึง ให้หามาตรการป้องกัน โดยส่งทีมเข้าไปตรวจสอบความแข็งแรง ที่ส่วนใหญ่น้ำทะลักมาจากคันกั้นน้ำไม่แข็งแรง และต้องดูทุกที่ รวมถึงการฟื้นฟูหลังน้ำลด อาจใช้เวลานานหลายเดือน และปัญหาการว่าจ้างงานพนักงานที่จะตามมา ส่วนผลกระทบกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ส่งออกไปต่างประเทศ แผนชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่หลายบริษัทอาจขาดกระแสเงินสดหมุนเวียน เงินส่งประกันสังคม
ส่วนเรื่องความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศนั้นได้หารือเบื้องต้น พบว่า องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (เจโทร) และหอการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (เจซีซี) ยังมีความเชื่อมั่นอยู่ เพราะลงทุนมากส่วนเรื่องอื่นๆ จะหารือหลังน้ำลด จะฟื้นฟูซ่อมแซมอย่างไร จะรวดเร็วแค่ไหน คาดว่าจะฟื้นฟูได้ไม่ด้อยไปกว่าญี่ปุ่น
-แขวนของบฟื้นฟู5หมื่นล.
ด้านนายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำหรับข้อเสนอของภาคเอกชนที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เสนอขอความช่วยเหลือจากกรณีที่ประสบปัญหาน้ำท่วม อาทิ การตั้งกองทุนฟื้นฟูธุรกิจสำหรับภาคอุตสาหกรรมวงเงิน 50,000 ล้านบาท การขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล การลดภาระค่าน้ำค่าไฟฟ้า การขอให้กองทุนประกันสังคมช่วยจ่ายเงินเดือนบางส่วนให้กับแรงงาน ล่าสุดยังไม่ได้มีการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 แต่คาดว่าจะมีการนำข้อเสนอดังกล่าวของภาคเอกชนไปพิจารณาในคณะกรรมการชุดฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธาน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,678 13 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 2
เป็นวิธีการพาดหัวข่าวเพื่อให้ขายข่าวออก
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 3
- harlembeats
- Verified User
- โพสต์: 96
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 4
"หลังน้ำลดเชื่อว่าจะมีกลุ่มทุนญี่ปุ่นบางส่วนเข็ดกับการลงทุนที่อยุธยาเพราะกลัวน้ำท่วมอีก ส่วนมินีแบประเทศญี่ปุ่นก็อาจต้องมาทบทวนว่าถ้าจะลงทุนที่ใหม่จะไปตั้งโรงงานในจังหวัดไหนในประเทศไทย เพื่อกระจายความเสี่ยง และโดยภาพรวมแล้วก็ยังเชื่อมั่นประเทศไทยอยู่ เพราะลงทุนมานานและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้"
หัวข้อข่าวเว่อร์ไปมั้ย??
หัวข้อข่าวเว่อร์ไปมั้ย??
- SunShine@Night
- Verified User
- โพสต์: 2196
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 5
เขมรน้ำไม่ท่วมหรือครับ
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 6
+1SunShine@Night เขียน:เขมรน้ำไม่ท่วมหรือครับ
เขมรหนักกว่าพี่ไทยอีกนะครับ จะย้ายไปเขมร ซัพพลายเชน หน่ะมีไหม
ภาคขนส่งก้ยัง ไม่เจริญ ภาคแรงงานก้ไม่มี โนฮาวเลย
อีกอย่าง ญี่ปุ่นจะทิ้งโรงงาน หนีแค่น้ำท่วมที่มาปีเดียวเนี่ย
นอนเซนท์สุดๆๆ คนญี่ปุ่นเข้าใจ เพราะบ้านเค้าก้เคยโดนจากสึนามิ
ผมว่าพวกคนเก่าก้ไม่ย้ายไปมาก แต่พวกมาใหม่ก้ไม่มา แน่นอน มาใหม่คงหนีไป
แถวภาคตะวันออก หรือไม่ก้ไปแถวอีสานเลย
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 7
like +++thaloengsak เขียน:เป็นวิธีการพาดหัวข่าวเพื่อให้ขายข่าวออก
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 8
เรื่องย้าย ฐาน นั้น เรื่องใหญ่มาก ไม่ง่ายครับ
คนต้องพร้อมด้วย เรื่อง ภาษี สิทธิประโยชน์ต่าง แถมยังต้องขาย ได้ทั้งในประเทศและส่งออกครับ
ไม่งันไม่คุ้มในเชิงการ ผลิต ครับ
ในย่าน South East Asia เรื่อง เครื่องกล ยานยนต์ นี่ไทยพร้อมสุดแล้วครับ ถ้าใครไป เวียดนาม หรือ อินโด ยังพอจะทราบได้ว่ายังห่างจากไทย
คนต้องพร้อมด้วย เรื่อง ภาษี สิทธิประโยชน์ต่าง แถมยังต้องขาย ได้ทั้งในประเทศและส่งออกครับ
ไม่งันไม่คุ้มในเชิงการ ผลิต ครับ
ในย่าน South East Asia เรื่อง เครื่องกล ยานยนต์ นี่ไทยพร้อมสุดแล้วครับ ถ้าใครไป เวียดนาม หรือ อินโด ยังพอจะทราบได้ว่ายังห่างจากไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 9
ดูจากวิธีการโพสต์และเชียร์คอนโดมาหลายกระทู้ สงสัยว่าจะให้ไปตั้งโรงงานบนคอนโดประเทศเขมรครับSunShine@Night เขียน:เขมรน้ำไม่ท่วมหรือครับ
555+++
- bank115
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 10
ขอถามเป็นความรู้นะครับ ว่า เพื่อนบ้าน South East Asia นี่ยังห่างกับเราแค่ไหนครับRocker เขียน:เรื่องย้าย ฐาน นั้น เรื่องใหญ่มาก ไม่ง่ายครับ
คนต้องพร้อมด้วย เรื่อง ภาษี สิทธิประโยชน์ต่าง แถมยังต้องขาย ได้ทั้งในประเทศและส่งออกครับ
ไม่งันไม่คุ้มในเชิงการ ผลิต ครับ
ในย่าน South East Asia เรื่อง เครื่องกล ยานยนต์ นี่ไทยพร้อมสุดแล้วครับ ถ้าใครไป เวียดนาม หรือ อินโด ยังพอจะทราบได้ว่ายังห่างจากไทย
อย่างนิคม Amata ก็มีที่ เวียดนาม
brandดัง อย่าง Onitsuka tiger , Nike และอีกหลาย ๆ brand ทำไมถึงเลือก Vietnam, Cambodia หรอครับ
เค้ามีอะไรเด่นกว่าเรามั่งหรอครับ โดนเฉพาะ อย่าง Cambodia ดูแล้วไม่น่าลงทุนเลย
จงตื่นเถิด เปิดตา หาความรู้
- py106
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 11
ค่าแรงตัดเย็บครับ
แวะไปเยี่ยมเยียนกันได้ครับ ^^
http://py106travel.blogspot.com
http://py106travel.blogspot.com
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 12
labor insentive ครับ ค่าแรงถูกกว่าไทยbank115 เขียน:ขอถามเป็นความรู้นะครับ ว่า เพื่อนบ้าน South East Asia นี่ยังห่างกับเราแค่ไหนครับRocker เขียน:เรื่องย้าย ฐาน นั้น เรื่องใหญ่มาก ไม่ง่ายครับ
คนต้องพร้อมด้วย เรื่อง ภาษี สิทธิประโยชน์ต่าง แถมยังต้องขาย ได้ทั้งในประเทศและส่งออกครับ
ไม่งันไม่คุ้มในเชิงการ ผลิต ครับ
ในย่าน South East Asia เรื่อง เครื่องกล ยานยนต์ นี่ไทยพร้อมสุดแล้วครับ ถ้าใครไป เวียดนาม หรือ อินโด ยังพอจะทราบได้ว่ายังห่างจากไทย
อย่างนิคม Amata ก็มีที่ เวียดนาม
brandดัง อย่าง Onitsuka tiger , Nike และอีกหลาย ๆ brand ทำไมถึงเลือก Vietnam, Cambodia หรอครับ
เค้ามีอะไรเด่นกว่าเรามั่งหรอครับ โดนเฉพาะ อย่าง Cambodia ดูแล้วไม่น่าลงทุนเลย
มันก้เหมือน ถ้าคุณลงทุนกรุงเทพจ่าย 300 ก้อาจจะย้ายไป นครราชสีมาที่ ค่าจ้าง 200
ลดต้นทุนเพื่อแข่งขันได้ครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณ ชูเกียรติ ที่ ตอบแทนครับ อีกอย่าง Skill Labour ก็ต่างกันครับ ด้าน วิศวกรรม ทาง เวียดนาม และ อินโด ยังสู้ไทยไม่ค่อยได้ครับ ถ้าด้าน เสื้อผ้า มัน technology ไม่สูงไงครับ สามารถ outsource โรงงานอื่นผลิต บางชิ้นประกอบโรงงานแม่ได้
แต่ พวก ยานยนต์ นั้น ชิ้นส่วนบางชิ้นต้องใช้ เครื่องจักรที่มีความละเอียด และเร็วสูงเพื่อให้ Defective ของเสียออกมาน้อยครับ แม้ค่าแรงไทยอาจจะสูงกว่า แต่ โดยรวมพร้อมเค้าเลยเลือกไทยครับ แต่ละ part มีความสําคัญมาก ต้อง โรงงานที่มี technology พอตัวครับ ลองดู Honda Toyota สิ จ้าง กี่ บมจ ผลิตชิ้นส่วน มีทั้ง Stanly SAT AH etc first tier and secondary tier นะครับ ผมจึงคิดว่าไม่ง่ายที่ ญี่ปุ่นจะย้ายฐานจากไทย ไปประเทศอืน ครับ
แต่ พวก ยานยนต์ นั้น ชิ้นส่วนบางชิ้นต้องใช้ เครื่องจักรที่มีความละเอียด และเร็วสูงเพื่อให้ Defective ของเสียออกมาน้อยครับ แม้ค่าแรงไทยอาจจะสูงกว่า แต่ โดยรวมพร้อมเค้าเลยเลือกไทยครับ แต่ละ part มีความสําคัญมาก ต้อง โรงงานที่มี technology พอตัวครับ ลองดู Honda Toyota สิ จ้าง กี่ บมจ ผลิตชิ้นส่วน มีทั้ง Stanly SAT AH etc first tier and secondary tier นะครับ ผมจึงคิดว่าไม่ง่ายที่ ญี่ปุ่นจะย้ายฐานจากไทย ไปประเทศอืน ครับ
- kmig
- Verified User
- โพสต์: 239
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 14
น้ำลดใช้เวลาอีก1-2เดือนอย่างเร็ว ล้าง ซ่อม เทส รันใหม่ อีก1-2เดือนอย่างเร็ว เร็วสุดๆ 2เดือน -4เดือน เอาเป็นว่ีา 3เดือน สรุปเริ่มการผลิตได้เร็วสุดปลายมกราคม55 รันเครื่องได้ไม่เกิน 6เดือนเจอฝน ย้ายฐานก็ไม่ง่าย ที่แน่ๆ การลงทุนใหม่ๆในพื้นที่ไม่มาแน่ๆ อีกหลายปีครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 991
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 15
ทบทวนมาตรการป้องกันน้ำท่วมร่วมกับการนิคมฯ และ ภาครัฐ น่าจะเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นจะทำมากกว่าครับ
"Look at market fluctuations as your friend rather than your enemy; profit from folly rather than participate in it." – Warren Buffett
-
- Verified User
- โพสต์: 1291
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 16
คงมีบางบริษัทถือโอกาสเปิดโรงงานที่ใหม่ในขณะรอการฟื้นฟู หรืออาจยังคงอยู่หรือย้ายบ้างก็เป็นได้ เเต่ถ้าบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมดย้ายออกคงยากนะครับ เเต่คงต้องมีการบริหารความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
VI Robot The Great
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 17
ผมคิดว่าเขาคงไม่ย้ายไปง่ายๆหรอกครับ เพราะปัญหาน้ำท่วมหนักขนาดนี้มันเป็นปัญหาชั่วคราวเพราะมันท่วมหนักมากในรอบหลายสิบปี และหลังจากนี้นิคมต่างๆก็คงต้องหาทางแก้ไขนิคมของตัวเองเพื่อให้นักลงทุนมั่นใจที่จะมาตั้งโรงงานใหม่ได้ และโดยรวมแล้วสังคมคนไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่มากๆ เรามีความเห็นใจกัน ช่วยเหลือกันในทุกๆสิ่ง สังคมการเมืองอาจจะมีปัญหาอยู่บ้างแต่เขาก็คิดว่าคงชั่วคราว เขาอยู่กับเรามานานแล้วคงไม่จากไปง่ายๆหรอกครับ อาจจะย้ายไปอีกนิคมหนึ่งหรือไม่ไปไหนก็แค่นั้น
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์ที่ 18
ข่าวทั่วไป สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 ตุลาคม 2554 17:01:48 น.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เตรียมเสนอแนวทางให้รัฐบาลช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อไม่ให้ย้ายฐานการลงทุน พร้อมขอให้เพิ่มการเฝ้าระวังนิคมอุตสาหกรรมฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ และหาพื้นที่คลังสินค้าเพื่อจัดเก็บสินค้าและเครื่องจักรป้องกันน้ำท่วม
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท.กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมว่า แนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในระยะสั้น 3 เดือนจะเสนอให้รัฐบาลดูแลในส่วนของภาคแรงงาน โดยขอให้ชดเชยรายได้ให้กับพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราวที่ต้องหยุดงาน และขยายระยะเวลาหรือยกเว้นการนำส่งเงินสมทบประกันสังคม พร้อมกับให้ช่วยหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เร่งรัดบริษัทประกันสำรวจและชดเชยความเสียหาย และยกเว้นการชดเชยค่าเสียหายให้กับบริษัทที่ทำสัญญาประมูลงานกับภาครัฐ อีกทั้งขอให้ผ่อนผันการชำระค่าไฟฟ้าของโรงงานที่น้ำท่วม 3-6 เดือน อำนายความสะดวกเรื่องกฎระเบียบการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรและวัตถุดิบ
และที่สำคัญให้เพิ่มการเฝ้าระวังและป้องกันพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เมืองและนิคมอุตสาหกรรมที่น้ำยังไม่ท่วม โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง, อัญธานี, บางชัน, บางพลี และบางปู โดยเร่งมาตรการผันน้ำและเสริมแนวคันดินป้องกัน รวมถึงจัดหาพื้นที่คลังสินค้าที่ปลอดภัย เพื่อเก็บสินค้าและวัตถุดิบรวมถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมขอให้สื่อสารและรายงานการเตือนภัยที่ถูกต้องและชัดเจนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และให้หามาตรการป้องกันมิจฉาชีพเป็นมาตรการพิเศษ รวมถึงจัดหาสำนักงานชั่วคราวให้กับผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วม
สำหรับมาตรการระยะกลาง 3-6 เดือน เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไม่ให้ย้ายฐานการผลิต รัฐบาลต้องเร่งซ่อมแซมบูรณะสาธารณูปโภคพื้นฐาน และให้จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูให้กับผู้ประกอบการวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท และขอให้นำมูลค่าความเสียหายไปหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่าของความเสียหายจริง รวมถึงผ่อนชำระหรือขยายเวลาการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่สามารถทำการผลิตได้ นอกจากนี้ขอให้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์บีโอไอ ทั้งขยายระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิจากการประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ขยายระยะเวลาการนำผลขาดทุนประจำปีไปหักกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรนำเข้าสำหรับเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหาย และขยายระยะเวลาการแจ้งขอเปิดดำเนินโครงการ
ส่วนมาตรการระยะยาวให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อดำเนินการแก้ไขและป้องกันน้ำท่วมอย่างบูรณาการและยั่งยืน และขอขยายเวลาการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันออกไปอีก 2-3 ปี ทั้งนี้ ส.อ.ท.จะนำข้อสรุปหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้งเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม หลังการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ได้สั่งให้โรงงานกว่า 220 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังหยุดการผลิตชั่วคราว ขณะนี้โรงงานทุกแห่งได้ระงับการผลิตแล้ว และได้ทยอยขนย้ายเครื่องจักร รวมถึงได้ทำแนวป้องกันโรงงานแต่ละแห่งความสูง 1.50 เมตรไว้ป้องกันอีกทางหนึ่ง พร้อมขอให้จังหวัดที่มีความเสี่ยงในปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก ทั้งฉะเชิงเทราและสมุทรปราการ ทำงานกันอย่างบูรณาการและรอบคอบ พร้อมสนับสนุนให้ภาครัฐผันน้ำออกทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก โดยกำหนดปริมาณการผันน้ำระดับความสูงท่วมไม่ 80 เซนติเมตรพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เพื่อให้น้ำกระจายลงสู่คูคลองเพื่อให้ระบายออกสู่ทะเล
--อินโฟเควสท์ โดย อตฦ/ธนวัฏ/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เตรียมเสนอแนวทางให้รัฐบาลช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อไม่ให้ย้ายฐานการลงทุน พร้อมขอให้เพิ่มการเฝ้าระวังนิคมอุตสาหกรรมฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ และหาพื้นที่คลังสินค้าเพื่อจัดเก็บสินค้าและเครื่องจักรป้องกันน้ำท่วม
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท.กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมว่า แนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในระยะสั้น 3 เดือนจะเสนอให้รัฐบาลดูแลในส่วนของภาคแรงงาน โดยขอให้ชดเชยรายได้ให้กับพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราวที่ต้องหยุดงาน และขยายระยะเวลาหรือยกเว้นการนำส่งเงินสมทบประกันสังคม พร้อมกับให้ช่วยหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เร่งรัดบริษัทประกันสำรวจและชดเชยความเสียหาย และยกเว้นการชดเชยค่าเสียหายให้กับบริษัทที่ทำสัญญาประมูลงานกับภาครัฐ อีกทั้งขอให้ผ่อนผันการชำระค่าไฟฟ้าของโรงงานที่น้ำท่วม 3-6 เดือน อำนายความสะดวกเรื่องกฎระเบียบการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรและวัตถุดิบ
และที่สำคัญให้เพิ่มการเฝ้าระวังและป้องกันพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เมืองและนิคมอุตสาหกรรมที่น้ำยังไม่ท่วม โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง, อัญธานี, บางชัน, บางพลี และบางปู โดยเร่งมาตรการผันน้ำและเสริมแนวคันดินป้องกัน รวมถึงจัดหาพื้นที่คลังสินค้าที่ปลอดภัย เพื่อเก็บสินค้าและวัตถุดิบรวมถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมขอให้สื่อสารและรายงานการเตือนภัยที่ถูกต้องและชัดเจนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และให้หามาตรการป้องกันมิจฉาชีพเป็นมาตรการพิเศษ รวมถึงจัดหาสำนักงานชั่วคราวให้กับผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วม
สำหรับมาตรการระยะกลาง 3-6 เดือน เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไม่ให้ย้ายฐานการผลิต รัฐบาลต้องเร่งซ่อมแซมบูรณะสาธารณูปโภคพื้นฐาน และให้จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูให้กับผู้ประกอบการวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท และขอให้นำมูลค่าความเสียหายไปหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่าของความเสียหายจริง รวมถึงผ่อนชำระหรือขยายเวลาการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่สามารถทำการผลิตได้ นอกจากนี้ขอให้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์บีโอไอ ทั้งขยายระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิจากการประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ขยายระยะเวลาการนำผลขาดทุนประจำปีไปหักกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรนำเข้าสำหรับเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหาย และขยายระยะเวลาการแจ้งขอเปิดดำเนินโครงการ
ส่วนมาตรการระยะยาวให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อดำเนินการแก้ไขและป้องกันน้ำท่วมอย่างบูรณาการและยั่งยืน และขอขยายเวลาการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันออกไปอีก 2-3 ปี ทั้งนี้ ส.อ.ท.จะนำข้อสรุปหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้งเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม หลังการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ได้สั่งให้โรงงานกว่า 220 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังหยุดการผลิตชั่วคราว ขณะนี้โรงงานทุกแห่งได้ระงับการผลิตแล้ว และได้ทยอยขนย้ายเครื่องจักร รวมถึงได้ทำแนวป้องกันโรงงานแต่ละแห่งความสูง 1.50 เมตรไว้ป้องกันอีกทางหนึ่ง พร้อมขอให้จังหวัดที่มีความเสี่ยงในปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก ทั้งฉะเชิงเทราและสมุทรปราการ ทำงานกันอย่างบูรณาการและรอบคอบ พร้อมสนับสนุนให้ภาครัฐผันน้ำออกทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก โดยกำหนดปริมาณการผันน้ำระดับความสูงท่วมไม่ 80 เซนติเมตรพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เพื่อให้น้ำกระจายลงสู่คูคลองเพื่อให้ระบายออกสู่ทะเล
--อินโฟเควสท์ โดย อตฦ/ธนวัฏ/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--