Margin of safety
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
Margin of safety
โพสต์ที่ 1
ขอเรียนถามท่านผู้มีประสบการณ์ครับ ว่าสูตรการคำนวณ margin of safety ของเบนแกรแฮม ที่ว่า2/3(สินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สิน)นั้น ผมยังไม่ค่อยเข้าใจครับ ไม่เห็นภาพ เรียนท่านที่มีประสบการณ์ช่วยอธิบายเด็กตาดำๆด้วยครับจะเป็นพระคุณอย่างสูง ขอบคุณครับ
- Tsar
- Verified User
- โพสต์: 163
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Margin of safety
โพสต์ที่ 4
สูตรนี้ มีข้อจำกัดหลายอย่าง และใช้ในสถานการณ์ บางสถานการณ์เท่านั้น
ว่าแต่พอเข้าใจเรื่องบัญชีมั่งป่าว ไม่งั้นจะยากไปใหญ่
ก่อนอื่น รู้จัก book value หรือไม่
ถ้าเปลี่ยน สูตรนี้เป็น 2/3 ของ book value จะเห็นภาพชัดมากขึ้นหรือไม่
ว่าแต่พอเข้าใจเรื่องบัญชีมั่งป่าว ไม่งั้นจะยากไปใหญ่
ก่อนอื่น รู้จัก book value หรือไม่
ถ้าเปลี่ยน สูตรนี้เป็น 2/3 ของ book value จะเห็นภาพชัดมากขึ้นหรือไม่
- kabu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Margin of safety
โพสต์ที่ 5
ลองสมมุติตัวเลขดูมั้ยครับ อาจจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นppboy เขียน:ขอเรียนถามท่านผู้มีประสบการณ์ครับ ว่าสูตรการคำนวณ margin of safety ของเบนแกรแฮม ที่ว่า2/3(สินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สิน)นั้น ผมยังไม่ค่อยเข้าใจครับ ไม่เห็นภาพ เรียนท่านที่มีประสบการณ์ช่วยอธิบายเด็กตาดำๆด้วยครับจะเป็นพระคุณอย่างสูง ขอบคุณครับ
สมมุติว่าบริษัทมี
สินทรัพย์หมุนเวียน = 100 ล้านบาท
หนี้สินรวม = 40 ล้านบาท
แสดงว่าถ้าบริษัทนี้จ่ายหนี้หมดก็ยังเหลือสินทรัพยท์หมุนเวียนอีก 60 ล้าน (ตรงนี้ผมคิดว่าเบนเกรแฮมท่านมองว่าจะสามารถแปลงเป็นเงินสดได้หมด)
ถ้าสามารถซื้อบริษัทนี้ได้ 2/3 ของ 60 ล้าน คือ 40 ล้าน แสดงว่าเหมือนได้เงินสดมาฟรีๆ 20 ล้าน แถมยังไม่รวม fixed asset พวกโรงงานหรือที่ดินที่สามารถขายออกไปได้อีก
เกรแฮมเลยมองว่าบริษัทที่ตรงตามกฏนี้น่าจะมี Margin of Safety ที่พอเพียงครับ อย่างไรก็ตามหลักการณ์ของ เกรแฮม ไม่ได้มองถึงอะไรหลายๆอย่างที่มีส่วนสำคัญ โดยเฉพาะสำหรับบริษัทที่กำลังเติบโต
ตรงนี้ Buffet จึงได้ปรับปรุงเป็นหลักการคิดของตัวเองต่อไปครับ
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/