นิทานบริษัทประกัน
- Skyforever
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1221
- ผู้ติดตาม: 0
นิทานบริษัทประกัน
โพสต์ที่ 1
เร็วๆนี้มีกรณีของบริษัทประกันภัยต่อที่มีการเพิ่มทุน คาดว่าคงเป็นผลมาจากกรณีน้ำท่วมและสร้างความเสียหายให้กับบริษัทจนอาจจะไม่มีเงินทุนเพียงพอสำหรับเงินชดเชย ก่อนหน้านี้ในช่วงที่ทุกอย่างคลุมเครือมีคนเข้ามาวิเคราะห์กันจำนวนมาก ต่างคาดการณ์กันต่างๆนานา มีคนใหม่ๆหลายๆคนกระโดดเข้าไปลงทุนเนื่องจากเห็นว่าราคาลดลงเยอะโดยที่ยังไม่เข้าใจความเสี่ยง หลงคิดว่า Excess of Loss Protection จะทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ไม่เข้าใจหลักการของบริษัทประกันเพียงพอส่งผลให้พอร์ตลงทุนเสียหายได้ ผมเองก็ไม่ได้มีความรู้ความเชียวชาญเลย แต่คิดว่าพอจะมองภาพกว้างๆได้และอยากจะเขียนเป็นนิทานสื่อให้คนที่ยังไม่มีความรู้เลยได้เข้าใจดังนิทานต่อไปนี้ครับ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชื่อว่าหมู่บ้าน A มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลัง ในทุกๆสิ้นปีจะมีบ้านสร้างใหม่ 10 หลังและจะมีบ้านที่พังไปเนื่องจากภัยพิบัติ 10 หลังตอนสิ้นปี ดังนั้นไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนจำนวนบ้านในหมู่บ้านนี้ก็ยังคงมี 1000 หลังเท่าเดิม โดยที่บ้านแต่ละหลังนั้นมีมูลค่าเท่ากันหมดคือหลังละ 1 ล้านบาท ดังนั้นหากบ้านใครพังไปจากภัยพิบัตินั่นหมายความว่าเขาจะสูญเสียเงินไป 1 ล้านบาททันที และนั่นเป็นสิ่งที่คนในหมู่บ้านกลัวกันมาก และต้องคอยลุ้นทุกปีไม่ให้บ้านที่พังในแต่ละปีนั้นเป็นบ้านของตัวเอง
มีอยู่วันหนึ่งมีนักธุรกิจหัวใส มองเห็นว่าทุกคนในหมู่บ้านต่างกลัวบ้านจะพังและสูญเสียเงินไป 1 ล้านบาท จึงนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณและพบว่า อัตราจำนวนบ้านที่พังเทียบกับบ้านทั้งหมดในหมู่บ้านนั้นอยู่ที่ 1% ต่อปี เขาจึงป่าวประกาศไปว่าเขายินดีจะจ่ายเงินให้กับเจ้าของบ้านที่พังจำนวนเต็ม 1 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขว่าบ้านที่ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้จะต้องจ่ายเงินให้เขาปีละ 2 หมื่นบาทในต้นปีเพื่อให้ได้รับการรับประกันไปตลอดทั้งปีนั้น เมื่อชาวบ้านได้ยินดังนี้ต่างดีใจว่าเขาจ่ายเงินเพียงปีละ 2 หมื่นบาทก็สามารถประกันความปลอดภัยของบ้านเขาที่มีมูลค่าถึง 1 ล้านบาทจึงแห่กันไปเข้าโครงการนี้ทั้งหมดทุกหลังในหมู่บ้าน
นอกจากชาวบ้านจะได้ประโยชน์ ได้ความสบายใจ และมีความมั่นคงมากขึ้นแล้ว นักธุรกิจคนนี้ก็ได้ประโยชน์มากเช่นกัน คือทุกๆต้นปีเขาจะได้รับเงินจากบ้าน 1000 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท รวมแล้วเป็นเงิน 20 ล้านบาท หลังจากนั้นเขาก็เอาเงินนี้ไปลงทุนได้เงินผลตอบแทน 7% ต่อปี ทำให้เงินงอกเงยเป็น 21.4 ล้านบาทในปลายปีแรก และเมื่อบ้านพังไป 10 หลังในปลายปีเขาก็จะจ่ายเงินไป 10 ล้านบาท รวมแล้วเขาจะมีเงินกำไรถึง 11.4 ล้านบาท ในปีแรก และทำเช่นนี้จนมีเงินมากขึ้นทุกๆปีไป
นักธุรกิจคนเดิมนี้เริ่มต้องการขยายธุรกิจจึงไปสำรวจหมู่บ้าน B ซึ่งอยู่ข้างเคียงกัน หมู่บ้านนี้มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลังเท่ากัน มีบ้านสร้างใหม่และบ้านพังปีละ 10 หลังเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างคือ บ้านแต่ละหลังมีราคาไม่เท่ากัน คือมีบ้านราคาแพงอยู่ 100 หลังที่มีมูลค่าถึงหลังละ 10 ล้านบาท และอีก 900 หลังมีมูลค่าเพียงหลังละ 1 ล้านบาท ซึ่งหากนักธุรกิจคนนี้เก็บเงินหลังละ 2% ของราคาบ้านเหมือนหมู่บ้าน A จะทำให้ได้เงินจากบ้าน 900 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท และอีก 100 หลัง หลังละ 2 แสนบาท เป็นเงินรวม 18+20 = 38 ล้านบาทต่อปี
แต่นักธุรกิจคิดได้ว่าหากเก็บเงินแบบนี้อาจจะไม่ปลอดภัยพอ เพราะหากปีไหนบ้านที่พังทั้ง 10 หลังเป็นบ้านราคาแพงที่มีมูลค่า 10 ล้านบาท จะทำให้เขาต้องจ่ายเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเขาคงไม่มีเงินจ่ายชดเชยบ้านที่พัง ดังนั้นเขาจึงคิดวิธีการที่เรียกว่า Excess of Loss Protection โดยการติดต่อเพื่อนของเขาคนหนึ่งที่รวยกว่าเขามาก ชื่อนายต่อ และขอให้นายต่อช่วยรับประกันบ้านที่ราคาแพงจำนวน 10 หลังในหมู่บ้าน B ให้หน่อย แต่มีเงื่อนไขว่านายต่อจะจ่ายชดเชยให้เฉพาะส่วนที่เกินจาก 1 ล้านบาทเท่านั้น นั่นคือถ้าวันไหนบ้านเหล่านี้พังลง นักธุรกิจคนนี้จ่ายเพียง 1 ล้านบาท แต่นายต่อจ่าย 9 ล้านบาท ทั้งนี้นักธุรกิจคนนี้ยอมแบ่งเงินที่ได้รับมาจากบ้านเหล่านี้ให้นายต่อจากเงินที่รับมาทั้งหมดหลังละ 2 แสนบาท เขาเก็บไว้เอง 2 หมื่นบาท และส่งเงินให้นายต่อ 1.8 แสนบาท นั่นเท่ากับว่านักธุรกิจคนนี้รับความรับผิดชอบไว้เพียงหลังละ 1 ล้านบาทในบ้านทุกหลังเหมือนกันกับหมู่บ้าน A
หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากหมู่บ้าน A และ B นักธุรกิจคนนี้จึงเดินทางไปหมู่บ้าน C หมู่บ้าน C นี้เหมือนกับหมู่บ้าน B ทุกอย่างยกเว้นเสียแต่ว่าหมู่บ้าน C นั้นจำนวนภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแต่ละปีไม่แน่นอน ถึงแม้ว่าเมื่อดูข้อมูลในอดีตตลอด 100 ปีที่ผ่านมาแล้วพบว่าจำนวนบ้านพังเฉลี่ยจะอยู่ที่ 10 หลังต่อปีเท่ากับหมู่บ้าน A และ B แต่ว่าบางปีก็ไม่มีบ้านพังเลย และในปีที่บ้านพังมากที่สุดก็มีบ้านพังถึง 100 หลังซึ่งในปีนั้นมีมหันตภัยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
นักธุรกิจคนนี้จึงคำนวณว่าหากเกิดเหตุการณ์เหมือนในอดีตที่เลวร้ายที่สุดแล้วบ้านพัง 100 หลังจริงเขาจะต้องชดเชยเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเขาเก็บเงินได้แค่ปีละ 20 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเขามองว่าเป็นความเสี่ยงอันเนื่องมาจากมหันตภัย ซึ่งเขาก็รู้ว่ามหันตภัยนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นบ่อย เขาจึงเลือกที่จะขึ้นราคาจากเดิมบ้านหลังละ 1 ล้านบาทจะต้องจ่าย 2 หมื่นบาทเป็น ต้องจ่ายหลังละ 1 แสนบาท ดังนั้นในปีหนึ่งๆเขาจะเก็บเบี้ยได้ปีละ 100 ล้านบาท และในยามปกติเขาก็จะกำไรมากมายมหาศาล แต่ในปีที่เกิดมหันตภัยเขาก็ไม่น่าจะขาดทุน คิดได้ดังนี้เขาจึงป่าวประกาศไปและมีคนมาทำประกันบ้านกับเขาทุกหลังในหมู่บ้าน C
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปีนักธุรกิจคนนี้ร่ำรวยมีเงินมากกว่า 500 ล้านบาท เป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทประกันภัยของเขา แต่ในคืนหนึ่งเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น มีน้ำท่วมทะลักมาจากภูเขาเข้าท่วมทั้งหมู่บ้านของหมู่บ้าน C ทำให้บ้านทุกหลังพังพินาศไม่เหลือ และผู้คนต่างมาขอเงินชดเชยจากนักธุรกิจคนนี้ รวมแล้วเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้บ้านจำนวน 1000 หลังมีมูลค่า 1000 ล้านบท ดังนั้นเงินจึงไม่เพียงพอจ่ายและทำให้นักธุรกิจคนนี้ล้มละลาย
ธุรกิจประกันไม่ว่าจะประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย ล้วนแล้วแต่ใช้ข้อมูลสถิติในอดีตมาคำนวณความน่าจะเป็นเพื่อคาดการณ์แนวโน้มและกำหนดเบี้ยประกันทั้งนั้น เบี้ยประกันนั้นได้บวกเผื่อความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ไม่คาดคิดในระดับหนึ่งไว้แล้วแต่ไม่ทั้งหมด ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงอย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนก็จะทำให้ตัวเลขเงินสำรองทั้งหลายไม่เพียงพอในการจ่ายค่าชดเชยได้ และนี่ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ต้องเข้าใจของคนที่ลงทุนในธุรกิจนี้
คุณมองธุรกิจประกันภัยอย่างไร ในอนาคตมีแนวโน้มที่ทรัพย์สินจะเสียหาย ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นทั่วๆไปและความเสียหายจากภัยพิบัติต่างๆมากขึ้นหรือน้อยลง แนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไร
คุณมองธุรกิจประกันชีวิตกันอย่างไร ในอนาคตข้างหน้ามีแนวโน้มที่คนจะตายกันมากขึ้นหรือน้อยลง ทั้งจากการตายปกติและจากการตายเนื่องด้วยภัยพิบัติต่างๆ แนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไร
ความเสี่ยงของธุรกิจประกันวินาศภัยที่จะล้มลงจะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนทรัพย์สินที่เสียหายมีสัดส่วนที่มากเทียบกับจำนวนทรัพย์สินที่รับประกันทั้งหมด (มูลค่าของทรัพย์สินเป็นเรื่องรองเพราะมีระบบ Excess of Loss Protection) ส่วนความเสี่ยงธุรกิจประกันชีวิตก็คือจำนวนคนเอากรมธรรม์ที่เสียชีวิตมีสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับจำนวนคนทำประกันทั้งหมด โอกาสในการเกิดเหตุไม่คาดคิดในแต่ละความเสี่ยงนั้นมากน้อยอย่างไรก็คงแล้วแต่การประเมินของแต่ละคน ถ้าคิดว่ามีโอกาสมากก็ไม่ควรจะลงทุน แต่ถ้าคิดว่าแทบจะไม่มีโอกาสเกิดได้ก็อาจจะเลือกลงทุน หรือไปลงทุนแต่ในธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงจากมหันตภัยเลย
ซึ่งถ้ามองจริงๆแล้วทุกธุรกิจมีความเสี่ยงทั้งนั้น ถ้าไม่ใช่จากมหันตภัยก็จากอย่างอื่น เช่นจากอัตราแลกเปลี่ยน จากราคาวัตถุดิบ และอื่นๆ เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ถ้าเรามองว่ามากก็ไม่ต้องลงทุน ถ้าเรามองว่าน้อยก็ลงทุนไป
ถ้าคุณลงทุนในบริษัทประกันโดยที่ยังไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงเหล้านี้อยู่แสดงว่าคุณกำลังเข้าสู่สนามรบที่คุณมองไม่เห็นตัวศัตรู
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชื่อว่าหมู่บ้าน A มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลัง ในทุกๆสิ้นปีจะมีบ้านสร้างใหม่ 10 หลังและจะมีบ้านที่พังไปเนื่องจากภัยพิบัติ 10 หลังตอนสิ้นปี ดังนั้นไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนจำนวนบ้านในหมู่บ้านนี้ก็ยังคงมี 1000 หลังเท่าเดิม โดยที่บ้านแต่ละหลังนั้นมีมูลค่าเท่ากันหมดคือหลังละ 1 ล้านบาท ดังนั้นหากบ้านใครพังไปจากภัยพิบัตินั่นหมายความว่าเขาจะสูญเสียเงินไป 1 ล้านบาททันที และนั่นเป็นสิ่งที่คนในหมู่บ้านกลัวกันมาก และต้องคอยลุ้นทุกปีไม่ให้บ้านที่พังในแต่ละปีนั้นเป็นบ้านของตัวเอง
มีอยู่วันหนึ่งมีนักธุรกิจหัวใส มองเห็นว่าทุกคนในหมู่บ้านต่างกลัวบ้านจะพังและสูญเสียเงินไป 1 ล้านบาท จึงนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณและพบว่า อัตราจำนวนบ้านที่พังเทียบกับบ้านทั้งหมดในหมู่บ้านนั้นอยู่ที่ 1% ต่อปี เขาจึงป่าวประกาศไปว่าเขายินดีจะจ่ายเงินให้กับเจ้าของบ้านที่พังจำนวนเต็ม 1 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขว่าบ้านที่ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้จะต้องจ่ายเงินให้เขาปีละ 2 หมื่นบาทในต้นปีเพื่อให้ได้รับการรับประกันไปตลอดทั้งปีนั้น เมื่อชาวบ้านได้ยินดังนี้ต่างดีใจว่าเขาจ่ายเงินเพียงปีละ 2 หมื่นบาทก็สามารถประกันความปลอดภัยของบ้านเขาที่มีมูลค่าถึง 1 ล้านบาทจึงแห่กันไปเข้าโครงการนี้ทั้งหมดทุกหลังในหมู่บ้าน
นอกจากชาวบ้านจะได้ประโยชน์ ได้ความสบายใจ และมีความมั่นคงมากขึ้นแล้ว นักธุรกิจคนนี้ก็ได้ประโยชน์มากเช่นกัน คือทุกๆต้นปีเขาจะได้รับเงินจากบ้าน 1000 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท รวมแล้วเป็นเงิน 20 ล้านบาท หลังจากนั้นเขาก็เอาเงินนี้ไปลงทุนได้เงินผลตอบแทน 7% ต่อปี ทำให้เงินงอกเงยเป็น 21.4 ล้านบาทในปลายปีแรก และเมื่อบ้านพังไป 10 หลังในปลายปีเขาก็จะจ่ายเงินไป 10 ล้านบาท รวมแล้วเขาจะมีเงินกำไรถึง 11.4 ล้านบาท ในปีแรก และทำเช่นนี้จนมีเงินมากขึ้นทุกๆปีไป
นักธุรกิจคนเดิมนี้เริ่มต้องการขยายธุรกิจจึงไปสำรวจหมู่บ้าน B ซึ่งอยู่ข้างเคียงกัน หมู่บ้านนี้มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลังเท่ากัน มีบ้านสร้างใหม่และบ้านพังปีละ 10 หลังเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างคือ บ้านแต่ละหลังมีราคาไม่เท่ากัน คือมีบ้านราคาแพงอยู่ 100 หลังที่มีมูลค่าถึงหลังละ 10 ล้านบาท และอีก 900 หลังมีมูลค่าเพียงหลังละ 1 ล้านบาท ซึ่งหากนักธุรกิจคนนี้เก็บเงินหลังละ 2% ของราคาบ้านเหมือนหมู่บ้าน A จะทำให้ได้เงินจากบ้าน 900 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท และอีก 100 หลัง หลังละ 2 แสนบาท เป็นเงินรวม 18+20 = 38 ล้านบาทต่อปี
แต่นักธุรกิจคิดได้ว่าหากเก็บเงินแบบนี้อาจจะไม่ปลอดภัยพอ เพราะหากปีไหนบ้านที่พังทั้ง 10 หลังเป็นบ้านราคาแพงที่มีมูลค่า 10 ล้านบาท จะทำให้เขาต้องจ่ายเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเขาคงไม่มีเงินจ่ายชดเชยบ้านที่พัง ดังนั้นเขาจึงคิดวิธีการที่เรียกว่า Excess of Loss Protection โดยการติดต่อเพื่อนของเขาคนหนึ่งที่รวยกว่าเขามาก ชื่อนายต่อ และขอให้นายต่อช่วยรับประกันบ้านที่ราคาแพงจำนวน 10 หลังในหมู่บ้าน B ให้หน่อย แต่มีเงื่อนไขว่านายต่อจะจ่ายชดเชยให้เฉพาะส่วนที่เกินจาก 1 ล้านบาทเท่านั้น นั่นคือถ้าวันไหนบ้านเหล่านี้พังลง นักธุรกิจคนนี้จ่ายเพียง 1 ล้านบาท แต่นายต่อจ่าย 9 ล้านบาท ทั้งนี้นักธุรกิจคนนี้ยอมแบ่งเงินที่ได้รับมาจากบ้านเหล่านี้ให้นายต่อจากเงินที่รับมาทั้งหมดหลังละ 2 แสนบาท เขาเก็บไว้เอง 2 หมื่นบาท และส่งเงินให้นายต่อ 1.8 แสนบาท นั่นเท่ากับว่านักธุรกิจคนนี้รับความรับผิดชอบไว้เพียงหลังละ 1 ล้านบาทในบ้านทุกหลังเหมือนกันกับหมู่บ้าน A
หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากหมู่บ้าน A และ B นักธุรกิจคนนี้จึงเดินทางไปหมู่บ้าน C หมู่บ้าน C นี้เหมือนกับหมู่บ้าน B ทุกอย่างยกเว้นเสียแต่ว่าหมู่บ้าน C นั้นจำนวนภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแต่ละปีไม่แน่นอน ถึงแม้ว่าเมื่อดูข้อมูลในอดีตตลอด 100 ปีที่ผ่านมาแล้วพบว่าจำนวนบ้านพังเฉลี่ยจะอยู่ที่ 10 หลังต่อปีเท่ากับหมู่บ้าน A และ B แต่ว่าบางปีก็ไม่มีบ้านพังเลย และในปีที่บ้านพังมากที่สุดก็มีบ้านพังถึง 100 หลังซึ่งในปีนั้นมีมหันตภัยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
นักธุรกิจคนนี้จึงคำนวณว่าหากเกิดเหตุการณ์เหมือนในอดีตที่เลวร้ายที่สุดแล้วบ้านพัง 100 หลังจริงเขาจะต้องชดเชยเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเขาเก็บเงินได้แค่ปีละ 20 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเขามองว่าเป็นความเสี่ยงอันเนื่องมาจากมหันตภัย ซึ่งเขาก็รู้ว่ามหันตภัยนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นบ่อย เขาจึงเลือกที่จะขึ้นราคาจากเดิมบ้านหลังละ 1 ล้านบาทจะต้องจ่าย 2 หมื่นบาทเป็น ต้องจ่ายหลังละ 1 แสนบาท ดังนั้นในปีหนึ่งๆเขาจะเก็บเบี้ยได้ปีละ 100 ล้านบาท และในยามปกติเขาก็จะกำไรมากมายมหาศาล แต่ในปีที่เกิดมหันตภัยเขาก็ไม่น่าจะขาดทุน คิดได้ดังนี้เขาจึงป่าวประกาศไปและมีคนมาทำประกันบ้านกับเขาทุกหลังในหมู่บ้าน C
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปีนักธุรกิจคนนี้ร่ำรวยมีเงินมากกว่า 500 ล้านบาท เป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทประกันภัยของเขา แต่ในคืนหนึ่งเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น มีน้ำท่วมทะลักมาจากภูเขาเข้าท่วมทั้งหมู่บ้านของหมู่บ้าน C ทำให้บ้านทุกหลังพังพินาศไม่เหลือ และผู้คนต่างมาขอเงินชดเชยจากนักธุรกิจคนนี้ รวมแล้วเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้บ้านจำนวน 1000 หลังมีมูลค่า 1000 ล้านบท ดังนั้นเงินจึงไม่เพียงพอจ่ายและทำให้นักธุรกิจคนนี้ล้มละลาย
ธุรกิจประกันไม่ว่าจะประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย ล้วนแล้วแต่ใช้ข้อมูลสถิติในอดีตมาคำนวณความน่าจะเป็นเพื่อคาดการณ์แนวโน้มและกำหนดเบี้ยประกันทั้งนั้น เบี้ยประกันนั้นได้บวกเผื่อความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ไม่คาดคิดในระดับหนึ่งไว้แล้วแต่ไม่ทั้งหมด ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงอย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนก็จะทำให้ตัวเลขเงินสำรองทั้งหลายไม่เพียงพอในการจ่ายค่าชดเชยได้ และนี่ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ต้องเข้าใจของคนที่ลงทุนในธุรกิจนี้
คุณมองธุรกิจประกันภัยอย่างไร ในอนาคตมีแนวโน้มที่ทรัพย์สินจะเสียหาย ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นทั่วๆไปและความเสียหายจากภัยพิบัติต่างๆมากขึ้นหรือน้อยลง แนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไร
คุณมองธุรกิจประกันชีวิตกันอย่างไร ในอนาคตข้างหน้ามีแนวโน้มที่คนจะตายกันมากขึ้นหรือน้อยลง ทั้งจากการตายปกติและจากการตายเนื่องด้วยภัยพิบัติต่างๆ แนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไร
ความเสี่ยงของธุรกิจประกันวินาศภัยที่จะล้มลงจะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนทรัพย์สินที่เสียหายมีสัดส่วนที่มากเทียบกับจำนวนทรัพย์สินที่รับประกันทั้งหมด (มูลค่าของทรัพย์สินเป็นเรื่องรองเพราะมีระบบ Excess of Loss Protection) ส่วนความเสี่ยงธุรกิจประกันชีวิตก็คือจำนวนคนเอากรมธรรม์ที่เสียชีวิตมีสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับจำนวนคนทำประกันทั้งหมด โอกาสในการเกิดเหตุไม่คาดคิดในแต่ละความเสี่ยงนั้นมากน้อยอย่างไรก็คงแล้วแต่การประเมินของแต่ละคน ถ้าคิดว่ามีโอกาสมากก็ไม่ควรจะลงทุน แต่ถ้าคิดว่าแทบจะไม่มีโอกาสเกิดได้ก็อาจจะเลือกลงทุน หรือไปลงทุนแต่ในธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงจากมหันตภัยเลย
ซึ่งถ้ามองจริงๆแล้วทุกธุรกิจมีความเสี่ยงทั้งนั้น ถ้าไม่ใช่จากมหันตภัยก็จากอย่างอื่น เช่นจากอัตราแลกเปลี่ยน จากราคาวัตถุดิบ และอื่นๆ เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ถ้าเรามองว่ามากก็ไม่ต้องลงทุน ถ้าเรามองว่าน้อยก็ลงทุนไป
ถ้าคุณลงทุนในบริษัทประกันโดยที่ยังไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงเหล้านี้อยู่แสดงว่าคุณกำลังเข้าสู่สนามรบที่คุณมองไม่เห็นตัวศัตรู
แก้ไขล่าสุดโดย MO101 เมื่อ ศุกร์ ธ.ค. 30, 2011 3:47 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
เหตุผล: เจ้าของบทความพิมพ์ผิด
เหตุผล: เจ้าของบทความพิมพ์ผิด
ชนะเพราะไม่คิดเอาชนะ กำไรเพราะไม่โลภ ลงทุนอย่างมีความสุขเพราะจิตใจอยู่เหนืออารมณ์ตลาด
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
- Skyforever
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1221
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นิทานบริษัทประกัน
โพสต์ที่ 4
ขออภัยพิมพ์ผิดไปครับ ขอแก้นะครับจาก 100 ล้านบาทเป็น 10 ล้านบาท
ถ้าเจอที่พิมพ์ผิดอีกจะเข้ามาแก้ใหม่นะครับ
ถ้าเจอที่พิมพ์ผิดอีกจะเข้ามาแก้ใหม่นะครับ
นักธุรกิจคนเดิมนี้เริ่มต้องการขยายธุรกิจจึงไปสำรวจหมู่บ้าน B ซึ่งอยู่ข้างเคียงกัน หมู่บ้านนี้มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลังเท่ากัน มีบ้านสร้างใหม่และบ้านพังปีละ 10 หลังเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างคือ บ้านแต่ละหลังมีราคาไม่เท่ากัน คือมีบ้านราคาแพงอยู่ 100 หลังที่มีมูลค่าถึงหลังละ 10 ล้านบาท และอีก 900 หลังมีมูลค่าเพียงหลังละ 1 ล้านบาท ซึ่งหากนักธุรกิจคนนี้เก็บเงินหลังละ 2% ของราคาบ้านเหมือนหมู่บ้าน A จะทำให้ได้เงินจากบ้าน 900 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท และอีก 100 หลัง หลังละ 2 แสนบาท เป็นเงินรวม 18+20 = 38 ล้านบาทต่อปี
ชนะเพราะไม่คิดเอาชนะ กำไรเพราะไม่โลภ ลงทุนอย่างมีความสุขเพราะจิตใจอยู่เหนืออารมณ์ตลาด
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
- marcus147
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 615
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นิทานบริษัทประกัน
โพสต์ที่ 10
อธิบายได้ดีมากๆเลยครับ
ทำให้เข้าใจทั้งธุรกิจประกันภัย และ ประกันภัยต่อ เลยทีเดียว
ทำให้เข้าใจทั้งธุรกิจประกันภัย และ ประกันภัยต่อ เลยทีเดียว
การลงทุนในตลาดหุ้น ไม่มีทางลัด อยากเก่ง ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
My Blog : http://marcus147.wordpress.com/
My Blog : http://marcus147.wordpress.com/
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นิทานบริษัทประกัน
โพสต์ที่ 13
เก่งจริงๆครับ เอาเรื่องยากๆมาเล่าให้เข้าใจง่ายๆ
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
- PrasertsakK
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 292
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นิทานบริษัทประกัน
โพสต์ที่ 15
ทำให้เห็นภาพของบริษัทประกันชัดเจนขึ้นมากครับ
ขอบคุณมากครับ ^ ^
ขอบคุณมากครับ ^ ^
http://prasertsakk.blogspot.com/
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นิทานบริษัทประกัน
โพสต์ที่ 18
น่าเสียดายบทความนี้
กดไลค์ได้แค่ครั้งเดียวเอง
กดไลค์ได้แค่ครั้งเดียวเอง
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
- Simply
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นิทานบริษัทประกัน
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณมากครับที่นำมาให้อ่านอย่างง่ายๆ
ผมไม่แน่ใจจริงๆ กรมประกันภัยมีข้อบังคับที่เกี่ยวกับวงเงินสำรองของบริษัทไหม เพราะปีที่ผ่านมามีตัวแทนบริษัทประกันใหญ่ที่สุดมาเสนอขายให้โดยแจ้งว่า ตามกฎของกรมประกันภัยให้มีการกันเงินไว้จำนวนหนึ่งเผื่อกรณีที่บริษัทต้องจ่ายคืนแบบมากๆแบบนี้ เผื่อมีคนที่เข้าใจมาเล่าให้ฟังต่อครับ ไม่งั้นเหมือนบริษัทประกันรถที่ล้มละลายไปเมื่อห้าปีก่อน
ผมไม่แน่ใจจริงๆ กรมประกันภัยมีข้อบังคับที่เกี่ยวกับวงเงินสำรองของบริษัทไหม เพราะปีที่ผ่านมามีตัวแทนบริษัทประกันใหญ่ที่สุดมาเสนอขายให้โดยแจ้งว่า ตามกฎของกรมประกันภัยให้มีการกันเงินไว้จำนวนหนึ่งเผื่อกรณีที่บริษัทต้องจ่ายคืนแบบมากๆแบบนี้ เผื่อมีคนที่เข้าใจมาเล่าให้ฟังต่อครับ ไม่งั้นเหมือนบริษัทประกันรถที่ล้มละลายไปเมื่อห้าปีก่อน
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 20
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นิทานบริษัทประกัน
โพสต์ที่ 24
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นิทานบริษัทประกัน
โพสต์ที่ 28
รบกวนถามหน่อยคับ
ผมเข้าใจว่า
ถ้ามันใหญ่พอ รัฐบาล น่าจะต้องเข้ามาอุ้มระดับนึงนะคับ
แล้วก็ อีกเรื่องคือ เงินสมทบกองทุน ที่จ่ายให้กับ กรมการประกัน (ลืมละเรื่องอะไร)
น่าจะเป็นส่วน buffer ปัญหาที่เหนือความคาดหมายหรือเปล่าคับ
ผมอ่านใน หนังสือ ปีเตอร์ ลินช์ เจอว่า
ในตปท s&l มีการออก พันธบัตร แบบ callable
ไม่รู้ว่า ในอนาคต บ. ประกัน จะนำเครื่องมือแบบนี้มาใช้บ้างไหม
อย่างน้อยก็ลด ความผันผวน ของต้นทุนและผลประกอบการ ที่เกิดจากดอกเบี้ย
(ปล. ผมไม่ค่อยเข้าใจ เรื่อง callable เท่าไหร่นะ)
ผมเข้าใจว่า
ถ้ามันใหญ่พอ รัฐบาล น่าจะต้องเข้ามาอุ้มระดับนึงนะคับ
แล้วก็ อีกเรื่องคือ เงินสมทบกองทุน ที่จ่ายให้กับ กรมการประกัน (ลืมละเรื่องอะไร)
น่าจะเป็นส่วน buffer ปัญหาที่เหนือความคาดหมายหรือเปล่าคับ
ผมอ่านใน หนังสือ ปีเตอร์ ลินช์ เจอว่า
ในตปท s&l มีการออก พันธบัตร แบบ callable
ไม่รู้ว่า ในอนาคต บ. ประกัน จะนำเครื่องมือแบบนี้มาใช้บ้างไหม
อย่างน้อยก็ลด ความผันผวน ของต้นทุนและผลประกอบการ ที่เกิดจากดอกเบี้ย
(ปล. ผมไม่ค่อยเข้าใจ เรื่อง callable เท่าไหร่นะ)
show me money.