สรุปเนื้อหาหนังสือYou can be a stock market genius by P'kabu

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
earthcu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 348
ผู้ติดตาม: 0

สรุปเนื้อหาหนังสือYou can be a stock market genius by P'kabu

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เนื่องจากไปอ่านเจอเนื้อหาที่ P'kabu ได้สรุปเกี่ยวกับหนังสือของ Joel Greenblatt ชื่อว่า ”You can be a stock market genius” จึงขออนุญาตินำมา share ให้กับเพื่อนๆใน Thaivi ท่านอื่นๆครับ เผื่ออาจจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆท่านอื่นครับ


By P'kabu

ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือของ Joel Greenblatt ชื่อว่า ”You can be a stock market genius” เนื้อหาการลงทุนส่วนหนึ่งเขียนเกี่ยวกับเบสิคของการลงทุนเบื้องต้น 7 ข้อ ผมคิดว่าน่าสนใจดีเลยลองเอามาสรุปให้อ่านกันดูครับ

1. ให้ทำการบ้านเอง (Do your own work)

Joel บอกว่าถ้าคุณอยากจะลงทุนในบริษัทที่ถูกคนมองข้าม คุณต้องทำการบ้านเอง หาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับบริษัทเอง เพราะส่วนใหญ่บริษัทประเภทนี้มักจะไม่ค่อยมีบทวิเคราะห์ออกมาให้เห็น ทั้งนี้บริษัทที่ถูกมองข้ามเหล่านี้ มักจะมีบริษัทที่ให้ผลตอบแทนสูงภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และความเสี่ยงนั้นเองยังสามารถลดน้อยลงได้อีกถ้าคุณทำการบ้านมาดีอย่างเหมาะสม

ผมมองว่าการลงทุนในหุ้นที่ถูกคนมองข้าม อาจทำให้คุณได้ผลตอบแทนค่อนข้างมากจริง ถ้าวันนึงสปอร์ตไลท์ได้ส่งมาตรงบริษัทนั้นๆ จนทำให้ตลาดสนใจ อาจจะเนื่องมาจากบริษัทสามารถทำกำไรได้อย่างก้าวกระโดด หรือแม้แต่มีเหตุการณ์ดีดีที่ทำให้ตลาดประหลาดใจ แบบไม่คาดคิดมาก่อน (Market-Surprise Effect) ในทางตรงข้าม การลงทุนในบริษัทดังกล่าวมีความเสี่ยงเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุน เนื่องจากตลาดอาจจะมองข้ามบริษัทนั้นๆไปเรื่อยๆ กลายเป็น Sink Cost เพราะฉะนั้นการลงทุนลักษณะนี้ควรจะเป็นเงินเย็นและเราเราสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำพอสมควรถึงตัวเร่ง (Catalyst) ที่จะทำให้หุ้นที่เราลงทุนสร้างความสนใจให้กับตลาดได้ ภายในระยะเวลาที่เราพอใจ

“You don’t want to be well paid merely for taking big risks; You want to be well paid because you did your homework”, Joel Greenblatt



2. อย่าเชื่อคนอายุเกิน 30 (Don’t trust anyone over thirty)

3. อย่าเชื่อคนอายุ 30 หรือต่ำกว่า (Dont’s trust anyone thirty or under)

สำหรับข้อ 2 และ ข้อ 3 นั้น Joel หมายความถึงอย่าไปเชื่อ broker ให้มากนัก ไม่ว่าเค้าจะอายุมากประสบการณ์แน่น หรือแม้แต่เป็นเด็กวัยรุ่นไฟแรงข่าววงในเพียบ เพราะแท้จริงแล้วเค้าไม่ได้รับเงินเดือนจากเราทำไมเค้าต้องแนะนำสิ่งดีดีให้เรา? สิ่งที่พวกเค้าต้องทำคือการหาค่า commission ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จากการซื้อๆขายๆของลูกค้า นอกจากนั้น Joel ยังพูดถึงนักวิเคราะห์ต่างๆ ที่มักจะมีเอี่ยวกับ broker เพราะมักจะอยู่ในส่วนงานเดียวกัน ซึ่งรายได้ต่างๆ ของคนเหล่านี้จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับค่า commission สังเกตุได้ว่านักวิเคราะห์มักจะแนะนำให้ “ซื้อ” เพราะว่าโดยปกติตามหลักจิตวิทยามนุษย์เรามักจะซื้อง่ายกว่าขาย

ส่วนใหญ่นักวิเคราะห์ จะแบ่งกันดูตามกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ตัวเองถูกมอบหมายให้ทำเช่น คนที่ดูกลุ่มแบงค์ก็ดูแต่แบงค์ กลุ่มที่ดูพลังงานก็ดูแต่พลังงาน ไม่ได้เปรียบเทียบข้ามอุตสาหกรรมกัน เพราะฉะนั้นเวลานักวิเคราะห์ในแต่ละอุตสาหกรรมแนะนำให้ซื้อ เค้ามักจะไม่ได้เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างธุรกิจซึ่งอยู่ต่างอุตสาหกรรมกัน เพราะฉะนั้นบริษัทที่นักวิเคราะห์คิดว่าดีที่สุดในอุตสาหกรรมที่ตัวเองดูอยู่ ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะไม่ได้ดีเท่าไหร่เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ

นักวิเคราะห์มักจะไม่สนใจบริษัทที่มี Market Cap ค่อนข้างเล็กหรือมี Volume Trade น้อยๆ ทั้งๆที่บริษัทเหล่านี้ควรที่จะสนใจ เพราะบริษัทเล็กๆที่สามารถเติบโตอย่างแข็งแรง สามารถสร้างโอกาสให้นักลงทุนทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว

ผมเป็นคนนึงที่ชอบหาบทวิเคราะห์ของแต่ละ broker มาอ่าน ซึ่งอย่างที่ Joel บอก ผมไม่ค่อยเจอบทวิเคราะห์ของบริษัทที่มี Market Cap เล็กๆ (ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท) อย่างไรก็ตามบางครั้งผมก็ได้ข้อมูลบางข้อมูลที่ผมไม่เคยทราบมาก่อนจากบทวิเคราะห์ (จริงหรือเท็จ ไม่ทราบ) ทั้งนี้ ผมคิดว่าถ้าอยากอ่านบทวิเคราะห์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน ให้อ่านหลายๆโบรก อย่างน้อยๆ 3 โบรก เพราะข้อมูลบางอย่างอาจจะบิดเบือนจากความจริงได้ นอกจากนั้นเรายังจะได้มุมมองทั้งแง่บวกและแง่ลบ เนื่องจาก ณ เวลาเดียวกัน เราอาจพบว่าบางโบรกแนะนำให้ซื้อโดยสรรหาข้อดีต่างๆนานามาพูด และบางโบรกอาจแนะนำให้ขายโดยพูดถึงแต่ข้อเสีย ท้ายที่สุดแล้วการย่อยบทวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของเราเอง

“Your broker, trustworthy or not, has no idea how to invest your money. But do not blame him, even if he is over thirty.”, Joel Greenblatt

4. เลือกตำแหน่งของตัวเอง (Pick your spots)

Joel แนะนำว่าให้เราเลือกเล่นในเกมส์ที่ตัวเองถนัด โดยยกตัวอย่าง คนที่สามารถเสิร์ฟลูกปิงปองพลิกเน็ตได้ตามที่ใจต้องการ แม้ว่าจะเป็นคนธรรมดาๆ ก็สามารถมีชื่อเสียงขึ้นมาได้ นอกจากนั้น Joel ได้พูดถึงวลีหนึ่งของ buffet ที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ “ให้เลือกตีลูกที่ดีที่สุดเพียงหนึ่งครั้งจากลูกที่ขว้างมายี่สิบครั้ง ในตลาดหุ้นคุณสามารถรอโอกาสได้เสมอโดยไม่ต้องโดยไล่ออก” การเลือกลงทุนในบริษัทที่คุณเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจและมั่นใจถึงผลกำไรที่บริษัทจะได้ภายในระยะเวลาที่คาดหวัง โดยใช้หลักการการลงทุนแบบโฟกัสนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าที่คุณคิด โดยในระยะสั้นผลตอบแทนต่อปีอาจจะดูมีความผันผวนมาก (บวกมากๆ หรือลบมากๆ เทียบกับตลาด) แต่ท้ายที่สุดแล้วผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีในระยะยาวก็ยังสามารถหวังผลได้มากกว่าการกระจายการลงทุนไปหลายๆบริษัท

“The penalty you pay for having a focused portfolio – a slight increase in potential annual volatility – should be far outweighed by your increased long-term returns.”, Joel Greenblatt



5. อย่าซื้อหุ้นมากตัว ให้เก็บเงินไว้ในธนาคารบ้าง (Don’t buy more stocks; put money in the bank)

Joel บอกว่าจริงๆแล้ว แม้ว่าเราจะไม่ได้ถือหุ้นหลายๆตัวใน Portfolio เราก็มีการกระจายการลงทุนอยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว โดยบางส่วนเราไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซื้อกองทุน หรือแม้แต่ฝากเงินไว้กับธนาคาร นอกจากนั้น Joel ยังบอกว่า ถ้าเราลงทุนโดยใช้เงินที่เราคาดว่าอาจจะจำเป็นต้องใช้ใน 2-3 ปีที่จะมาถึง (ไม่ว่าจะเป็นสำหรับการศึกษาเล่าเรียน การรักษาพยาบาล และอื่นๆ) มันอาจจะบ่งบอกถึงการลงทุนที่ผิดหลักการลงทุนตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะว่าเมื่อเราต้องการเงินฉุกเฉินจนต้องขายหุ้นนั้นทิ้ง เหตุผลในการขายหุ้น มักจะไม่ตรงกับนโยบายที่เราวางแผนไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม

Joel เน้นย้ำว่า ถ้าคุณทำการบ้านมาดีแล้วแต่ต้องการที่จะกระจายความเสี่ยง (diversification) ให้ทำโดยการฝากเงินบางส่วนไว้กับธนาคารดีกว่า แทนที่จะเลือกกระจายการลงทุนในหุ้นหลายๆตัว พูดอีกนัยหนึ่ง การลงทุนในหุ้นน้อยตัวนั้นอาจทำให้ผลตอบแทนระยะสั้นแกว่งมากกว่าการถือหุ้นมากตัว อย่างไรก็ตามถ้าคุณไม่ต้องกลัวการถูก force sell (หมายความถึงลงทุนโดยไม่ได้ใช้ margin) คุณก็ไม่จำเป็นต้องกังเวลกับผลตอบแทนที่แกว่งอย่างรุนแรงในระยะสั้น

As long as you’re willing to do your own homework, a strategy of owning a select handful of your favorite stock situations should yield result far superior to a strategy of owning dozens of different stocks or mutual funds”, Joel Greenblatt

6. ให้มองที่ Downside เป็นหลัก (Look down, not up)

นักวิชาการต่างๆมักจะกล่าวว่า ตามหลักการทางทฤษฏีแล้วระดับผลตอบแทนของการลงทุนมักจะแปลผันตรงกับความเสี่ยงที่เราจะได้รับ หรือตามสำนวนที่ว่า High Risk High Return ซึ่ง Joel บอกว่า ถ้าโลกเราสมบูรณ์แบบหรือมนุษย์เราคิดปฏิบัติอย่างมีเหตุผลตลอดเวลา คำกล่าวดังกล่าวก็น่าจะเป็นความจริง อย่างไรก็ตามในโลกของการลงทุนอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น เราอาจจะพบกับเหตุการณ์ที่นักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ให้ราคาหุ้นผิดจากมูลค่าที่มันควรจะเป็นอย่างสุดกู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งโอกาส

Joel บอกว่า ปัจจุบันความเสี่ยงที่นักวิเคราะห์ใช้ประเมินสำหรับหุ้นแต่ละตัว (risks of individual stocks) อาจจะไม่ถูกต้องนัก ตามหลักการณ์แล้วนักวิเคราะห์มักใช้ค่าเบตาร์ (beta) หรือระดับความผันผวนของราคาหุ้นในอดีตเทียบกับตลาด Joel รู้สีกแปลกที่นักวิเคราะห์มองว่า ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน หุ้นที่ขึ้นเยอะๆเทียบกับตลาด มีความเสี่ยงมากกว่า หุ้นที่ลงเพียงเล็กน้อยเทียบกับตลาด

Joel ยกตัวอย่างเพิ่มเติมว่า เมื่อเราพิจารณาถึงความผันผวนของราคาหุ้นในอดีต หุ้นที่ตกลงมาจาก 30 บาทเหลือ 10 บาท ถูกมองว่ามีความเสี่ยงมากกว่า หุ้นที่ตกลงมาจาก 12 บาทเหลือ 10 บาท เป็นอย่างงั้นจริงเหรอ? คิดอีกแง่นึง หุ้นทั้งสองตัวที่ราคา 10 บาทนี้ Downside risk ของหุ้นตัวแรกอาจจะถูกขจัดออกไปมากแล้วจากการตกลงแรงๆของราคาหุ้น? อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องกันแน่ ทั้งนี้ Joel บอกว่าการสังเกตเพียงความผันผวนของราคาหุ้นในอดีต นอกจากจะไม่ได้ช่วยเราในการประเมินกำไรในอนาคตได้แล้ว ยังไม่สามารถบอกคุณได้ถึงโอกาสที่คุณจะขาดทุนในอนาคตเมื่อลงทุนในหุ้นดังกล่าว การมองแต่กระจกหลังจึงไม่ได้ช่วยอะไรคุณมากนัก

สมมุติว่าคุณเห็นภาพเขียนรูปหนึ่งขายอยู่ที่ 5,000 บาท แต่คุณทราบว่าว่า ภาพเขียนอีกรูปหนึ่งที่เขียนด้วยนักเขียนคนเดียวกัน เพิ่งประมูลกันไปและขายได้ที่ราคา 10,000 บาท คุณเชื่อว่า ซื้อภาพเขียนที่ราคานี้มี Margin of Safety มากมาย เนื่องจากมี Upside ถึง 100% ถ้าทุกอย่างเป็นไปอย่างที่คุณคิดการซื้อภาพเขียนที่ราคานี้อาจจะมี Margin of Safety มากจริงๆ แต่ถ้ามันไม่เป็นอย่างที่คุณคิดล่ะ เช่น ภาพเขียนทั้งสองภาพอาจจะเขียนในเวลาที่ต่างๆกันคุณภาพของงานอาจจะแตกต่างกันโดนสิ้นเชิง หรือไม่ราคาที่ประมูลซื้อกันไปเป็นเพียงการเก็งกำไรหรือการทำราคาของคนบางกลุ่ม หรือที่แย่ที่สุดตลาดของงานศิลปะอาจจะล่มสลาย หมดความนิยมไปหลังจากที่คุณซื้อและกำลังหาคนที่จะมาซื้อต่อ การคิดรอบด้านทำให้คุณมองเห็นว่าจริงๆแล้วหุ้นที่กำลังจะลงทุนมี Margin of Safety จริงหรือไม่

Joel ให้ข้อสรุปว่า คุณสามารถจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือผลตอบแทนได้โดยลงทุนในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนน้อย (limit downside risk) หรือที่เรียกว่ามี margin of safety เยอะๆ ส่วน upside นั้นปกติค่อนข้างยากที่จะประเมินอยู่แล้ว แต่มันสามารถที่จะจัดการตัวเองได้ เมื่อถึงเวลามันก็จะค่อยๆ เป็นไปตามที่มันควรจะเป็น สิ่งที่สำคัญคือลงทุนโดยไม่ให้ขาดทุน

“If you don’t lose money, most of the remaining alternatives are good ones”, Joel Greenblatt

7. มีหลายหนทางในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ (There’s more than one road to investment heaven)

ถ้าดูจากอดีตที่ผ่านมา เชื่อว่ามีการลงทุนหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุน แต่เหมือนเป็นเรื่องบังเอิญที่นักลงทุนหลายๆท่านที่ประสบความสำเร็จ ต่างมีแนวคิดพื้นฐานมาจาก Benjamin Graham ผู้ซึ่งให้นิยามคำว่า Margin of Safety และ Mr. Market โดย Graham เลือกหุ้นที่มี PBV และ P/E ต่ำ โดยไม่ได้เน้นปัจจัยเชิงคุณภาพมากนัก อย่างไรก็ตามจากข้อมูลในอดีต ผลตอบแทนระยะยาวของการเลือกหุ้นแนว Graham ดีกว่าผลตอบแทนเมื่อลงทุนในหุ้นที่เป็นดาวเด่น หรือลงทุนผ่านผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงต่างๆ

Warren Buffett ศิษย์โปรดของ Graham ยึดหลัก Margin of Safety ในการลงทุน แต่เพิ่มการพิจารณาถึงปัจจับเชิงคุณภาพเพิ่มเติม โดย Buffett เน้นที่แนวทางการบริหารงานของบริษัท แบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก และเป็นธุรกิจที่ Buffett เองสามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ นักลงทุนอีกท่านนึงที่เป็นที่รู้จักคือ Peter Lynch ซึ่งเลือกลงทุนในธุรกิจที่ัมักจะพบเจอรอบๆตัว เช่น ในซุปเปอร์มาร์เก็ต สวนสนุก

Joel ทิ้งท้ายว่า มีหลายแนวทางในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ คุณอาจมีแนวทางของตัวเอง แต่อย่างน้อยการยึดเอาหลักการลงทุนพื้นฐานของนักลงทุนที่มีชื่อเสียงมาประยุกต์ใช้ จะทำให้คุณสามารถตัดสินใจลงทุนอย่างมีระบบมากขึ้น และอย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญคือพิจารณา ”เลือกตำแหน่งของตัวเอง (หลักการลงทุนข้อ 4)” เสมอก่อนตัดสินใจลงทุน






สำหรับผู้ที่สนใจในความรู้จาก P'kabu สามารถไปอ่านเนื้อหาบทความอื่นๆของ P'kabu ได้ใน web blog
http://kabuvi.wordpress.com/

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ P'kabu มากๆครับ สำหรับความรู้ที่ได้ share ให้กับเพื่อนๆนักลงทุนคนอื่นๆครับ :bow:
Life is beautiful + Financial freedom within 2015 by investment stock & real estate
harikung
Verified User
โพสต์: 2236
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปเนื้อหาหนังสือYou can be a stock market genius by P'

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เหมือนจะเคยอ่านฉบับengแฮะ ปกเหลืองๆรึป่าวไม่แน่ใจ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
appendix
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 339
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปเนื้อหาหนังสือYou can be a stock market genius by P'

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ
wyn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 170
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปเนื้อหาหนังสือYou can be a stock market genius by P'

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปเนื้อหาหนังสือYou can be a stock market genius by P'

โพสต์ที่ 5

โพสต์

Joel คนนี้ คือคนเดียวกับเจ้าของผลงาน หนังสือเสนอ magic formula เล่มนี้ฮือฮาเหมือนกัน
ใน... the little book that beats market http://www.amazon.com/Little-Still-Mark ... 0470624159

รูปภาพ

เป็นรูปธรรมในตลาดไทย....กระทู้ปักตรงหัวหน้าห้องนี้ลำดับที่ 3 (งานวิจัย อ.ไพบูลย์)
สรุปงานวิจัยเบื่้องต้นการลงทุนแบบวีไอในรายการมันนี่ทอร์ค http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=46129


กระทู้ในห้องคุณค่า...
สูตรมหัศจรรย์!! สไตล์ VI http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=35&t=32021



แต่เล่มที่ว่าคุณ kabu สรุปมา
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
simplelife
Verified User
โพสต์: 756
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุปเนื้อหาหนังสือYou can be a stock market genius by P'

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขออภัยครับ แต่ผมสงสัยว่าแค่ 7 ข้อนี้มัน"สรุป"เนื้อหาหนังสือเล่มนี้ได้ยังไง ผมจำได้เล่มเหลืองๆ เพราะผมซื้อมาหลายปีมากแล้ว เพิ่้งเปิดมาอ่านซ้ำประมาณ 1-2 ปีก่อน (แต่ตอนนี้หนังสือไม่ได้อยู่ที่มือเปิดเช็คไม่ได้ครับ)

ผมคุ้นๆว่าเล่มนี้มันไม่ได้เป็นหนังสือแบบการลงทุน VI ในสถานะปกติครับ มันเน้นเกี่ยวกับ spin-off, merger, bankruptcies พวกนั้นมากกว่า จำไม่ผิดมีบทแรกไม่กี่สิบหน้าที่เกี่ยวกับการลงทุนทั่วๆไป น่าจะเกี่ยวกับเนื้อหาที่บทความข้างบนสรุปมาครับ ส่วนที่เหลืออีก 80-90% ของหนังสือ และผมว่าเป็นส่วนสำคัญกว่าของหนังสือ ไม่ได้เกี่ยวกับการลงทุนในสถานะปกติเลย

ดังนั้นจะมาบอกว่าบทความนี้ "สรุปเนื้อหาหนังสือเล่มนี้" เป็น statement ที่ผิดมากๆครับ หนังสือมันมีเนื้อหามากกว่านั้นครับ ผมต้องขอแย้งหน่อยเผื่อใครอยากจะซื้อเล่มเต็มๆมาอ่าน จะได้ไม่ผิดหวังเปล่าๆครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
โพสต์โพสต์