รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 61
ภาพข่าว: เงินกู้ก้อนใหญ่
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Thursday, February 02, 2012
มาร์ค อาร์โนลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และอธิคม เติบศิริกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี ร่วมลงนามสนับสนุนสินเชื่อ 7,320 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและลงทุนในบริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล และบริษัท ไทยเอบีเอส โดยมี ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไออาร์พีซี ร่วมในพิธี--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Thursday, February 02, 2012
มาร์ค อาร์โนลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และอธิคม เติบศิริกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี ร่วมลงนามสนับสนุนสินเชื่อ 7,320 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและลงทุนในบริษัท ไออาร์พีซี โพลีออล และบริษัท ไทยเอบีเอส โดยมี ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไออาร์พีซี ร่วมในพิธี--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 62
RPCส่อแววลำบากPTTล้มขายวัตถุดิบ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, February 03, 2012
โพสต์ทูเดย์ -RPC ชักหนาว PTT หยุดส่งวัตถุดิบให้แล้ว ชี้ยังมีสำรองวัตถุดิบ-น้ำมัน ทำธุรกิจได้ระยะหนึ่งเท่านั้น
นางศิรพร กฤษณกาญจน์ กรรมการผูจัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัท ปตท.โกลบอลเคมิคอล(PTTGC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของปตท. (PTT) ได้หยุดส่งวัตถุดิบ ซึ่งเป็นคอนเดนเสทให้กับบริษัทแล้ว
"ระยองเพียวฯ กับบริษัท ปตท.ได้ทำสัญญาเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2538 เพื่อซื้อวัตถุดิบ ซึ่งผลิตโดยบริษัทปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นปัจจุบันคือ PTTGC โดยสัญญามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนผูกพันระยะยาวแบบไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด โดยช่วงแรกของสัญญามีอายุ 15 ปี จากนั้นจะเข้าสู่สัญญาช่วงถัดไปโดยอัตโนมัติโดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด" นางศิรพร กล่าว
อย่างไรก็ตาม การหยุดส่งวัตถุดิบของ PTT ให้แก่บริษัทถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 15.5 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในขณะที่เรื่องยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจนกว่าจะมีผลการพิจารณาชี้ขาดจากคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และบริษัทยังคงสามารถดำเนินการผลิตอยู่ได้อีกระยะหนึ่ง จนกว่าปริมาณวัตถุดิบคงเหลือจะหมดไปและมีสต๊อกน้ำมันจำหน่ายได้อีกระยะเวลาหนึ่ง
ขณะนี้บริษัทยื่นฟ้องแพ่งต่อPTTGC เรียกค่าเสียหายหมื่นล้านบาท และฟ้องคณะอนุญาโตตุลาการต่อ PTT ส่วนการหาธุรกิจใหม่ก็ดำเนินการอยู่แต่ก็ยาก
--จบ--
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, February 03, 2012
โพสต์ทูเดย์ -RPC ชักหนาว PTT หยุดส่งวัตถุดิบให้แล้ว ชี้ยังมีสำรองวัตถุดิบ-น้ำมัน ทำธุรกิจได้ระยะหนึ่งเท่านั้น
นางศิรพร กฤษณกาญจน์ กรรมการผูจัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัท ปตท.โกลบอลเคมิคอล(PTTGC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของปตท. (PTT) ได้หยุดส่งวัตถุดิบ ซึ่งเป็นคอนเดนเสทให้กับบริษัทแล้ว
"ระยองเพียวฯ กับบริษัท ปตท.ได้ทำสัญญาเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2538 เพื่อซื้อวัตถุดิบ ซึ่งผลิตโดยบริษัทปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นปัจจุบันคือ PTTGC โดยสัญญามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนผูกพันระยะยาวแบบไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด โดยช่วงแรกของสัญญามีอายุ 15 ปี จากนั้นจะเข้าสู่สัญญาช่วงถัดไปโดยอัตโนมัติโดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด" นางศิรพร กล่าว
อย่างไรก็ตาม การหยุดส่งวัตถุดิบของ PTT ให้แก่บริษัทถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 15.5 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในขณะที่เรื่องยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจนกว่าจะมีผลการพิจารณาชี้ขาดจากคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และบริษัทยังคงสามารถดำเนินการผลิตอยู่ได้อีกระยะหนึ่ง จนกว่าปริมาณวัตถุดิบคงเหลือจะหมดไปและมีสต๊อกน้ำมันจำหน่ายได้อีกระยะเวลาหนึ่ง
ขณะนี้บริษัทยื่นฟ้องแพ่งต่อPTTGC เรียกค่าเสียหายหมื่นล้านบาท และฟ้องคณะอนุญาโตตุลาการต่อ PTT ส่วนการหาธุรกิจใหม่ก็ดำเนินการอยู่แต่ก็ยาก
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 63
ไทยออยล์ผนึกปตท.
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, February 03, 2012
5ปีลงทุน3หมื่นล้าน
:รุกธุรกิจด้านพลังงาน“พม่า-อินโดนีเซีย-กัมพูชา”
“ไทยออยล์” เปิดแผนขยายโรงกลั่นน้ำมันย่านอาเซียน เตรียมจับมือบริษัทเครือปตท.ลงทุน “พม่า-อินโดนีเซีย-กัมพูชา” เผย 5 ปีใช้เงินลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาท ขยายท่าเรือ-พาราไซลีนเพิ่ม พร้อมจัดแผนบริหารความเสี่ยงปัญหาเศรษฐกิจโลกและอิหร่าน ประเมินราคาน้ำมันปีนี้เฉลี่ย 105-106 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า ขณะนี้ไทยออยล์ได้ร่วมกับกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ศึกษาแผนลงทุนร่วมกัน โดยเฉพาะประเทศพม่า-อินโดนีเซีย-และกัมพูชา โดยไทยออยล์จะเป็นผู้ลงทุนด้านโรงกลั่นน้ำมัน ทั้งนี้การลงทุนร่วมกันทั้งกลุ่มปตท.จะดูตั้งแต่สายการผลิตปิโตรเลียมขั้นต้น โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี การเข้าไปลงทุนจะเป็นลักษณะเดียวกับจีนที่เข้าไปลงทุนทั่วโลก พร้อมการเข้าไปช่วยเหลือประเทศนั้นๆ ด้านต่างๆ เช่น การช่วยเหลือด้านสังคมและการศึกษา
สำหรับการลงทุนพม่าเห็นว่าเป็นโอกาสการลงทุนที่ดี เนื่องจากขณะนี้พม่าเริ่มมีการเปิดประเทศ ไม่ว่าสหรัฐ-ยุโรปและญี่ปุ่น มีความสนใจจะเข้าไปลงทุนมากขึ้น โดยไทยออยล์สนใจจะเข้าไปขยายการลงทุนด้านการผลิตสารทำละลายเวียดนาม แต่จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับโอกาสและการศึกษาด้านการตลาดด้วย
ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 105-106 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับปีก่อน แม้ปีนี้จะมีปัญหาเศรษฐกิจโลกและอิหร่าน อย่างไรก็ตามไทยออยล์ได้เตรียมบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับความผันผวนของราค้ำมัน เพราะปัจจุบันราคาน้ำมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับดีมานด์-ซัพพลาย แต่มาจากปัจจัยภายนอก
ส่วนแผนการลงทุน 5 ปีของไทยออยล์ จะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านเหรียญหาสหรัฐ (กว่า 30,000 ล้านบาท) หรือประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี(กว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี) โดยจะเป็นการลงทุนขยายท่าเรือ เพื่อรองรับการขนส่งผลิตภัณฑ์จาก 5,000 ตันต่อปี เป็น 5 หมื่นตันต่อปี ซึ่งการขยายท่าเรือจะเป็นการรองรับการส่งออกน้ำมัน และปิโตรเคมี
นอกจากนี้จะมีการขยายกำลังผลิตพาราไซลีนอีก 1 แสนตัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 4 แสนตันต่อปี เป็น 5 แสนตันต่อปี โดยจะเริ่มผลิตภายในไตรมาส 3/55 นอกจากนี้ยังมีการลงทุนโรงไฟฟ้าเอสพีพี จำนวน 2 โรง ขนาด 120 เมกะวัตต์ต่อแห่ง ใช้เงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาท โดยจะขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แห่งละ 90 เมกะวัตต์ ภายในปี 2557-2558
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 100-115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่หากเกิดเหตุการณ์อิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซ จะทำให้ราคาน้ำมันขึ้นไปแตะ 200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่เชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นไปได้ยาก เพราะจะเป็นผลเสียกับอิหร่านที่ไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้
ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำจากวิกฤตหนี้สินยุโรปและสหรัฐ จะมีผลให้ราคาน้ำมันตลาดโลก ปรับลดลงอยู่ที่ประมาณ 75-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจะต้องจับตาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ในช่วงครึ่งปีแรกหรือไม่
ส่วนราคาน้ำมันในประเทศปีนี้ เชื่อว่าจะปรับตัวสูงขึ้น จากการกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในอัตรา 5.30 บาทต่อลิตร โดยการทยอยการจัดเก็บภาษีดังกล่าวควรเป็นช่วงหลังฤดูหนาว ส่วนการเก็บเงินจากเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ 7 บาทต่อลิตร จะต้องดูว่ารัฐบาลจะสามารถปรับโครงสร้างราคาเอ็นจีวีและแอลพีจีภาคขนส่งได้หรือไม่ หากสามารถปรับได้ตามแผนเดิมเชื่อว่าจะช่วยให้การเรียกเก็บเงินจากเบนซินและแก๊สโซฮอล์ในอัตราที่ลดลงได้ เพราะภาระกองทุนน้ำมันฯน้อยลงแล้ว
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, February 03, 2012
5ปีลงทุน3หมื่นล้าน
:รุกธุรกิจด้านพลังงาน“พม่า-อินโดนีเซีย-กัมพูชา”
“ไทยออยล์” เปิดแผนขยายโรงกลั่นน้ำมันย่านอาเซียน เตรียมจับมือบริษัทเครือปตท.ลงทุน “พม่า-อินโดนีเซีย-กัมพูชา” เผย 5 ปีใช้เงินลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาท ขยายท่าเรือ-พาราไซลีนเพิ่ม พร้อมจัดแผนบริหารความเสี่ยงปัญหาเศรษฐกิจโลกและอิหร่าน ประเมินราคาน้ำมันปีนี้เฉลี่ย 105-106 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า ขณะนี้ไทยออยล์ได้ร่วมกับกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ศึกษาแผนลงทุนร่วมกัน โดยเฉพาะประเทศพม่า-อินโดนีเซีย-และกัมพูชา โดยไทยออยล์จะเป็นผู้ลงทุนด้านโรงกลั่นน้ำมัน ทั้งนี้การลงทุนร่วมกันทั้งกลุ่มปตท.จะดูตั้งแต่สายการผลิตปิโตรเลียมขั้นต้น โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี การเข้าไปลงทุนจะเป็นลักษณะเดียวกับจีนที่เข้าไปลงทุนทั่วโลก พร้อมการเข้าไปช่วยเหลือประเทศนั้นๆ ด้านต่างๆ เช่น การช่วยเหลือด้านสังคมและการศึกษา
สำหรับการลงทุนพม่าเห็นว่าเป็นโอกาสการลงทุนที่ดี เนื่องจากขณะนี้พม่าเริ่มมีการเปิดประเทศ ไม่ว่าสหรัฐ-ยุโรปและญี่ปุ่น มีความสนใจจะเข้าไปลงทุนมากขึ้น โดยไทยออยล์สนใจจะเข้าไปขยายการลงทุนด้านการผลิตสารทำละลายเวียดนาม แต่จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับโอกาสและการศึกษาด้านการตลาดด้วย
ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 105-106 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับปีก่อน แม้ปีนี้จะมีปัญหาเศรษฐกิจโลกและอิหร่าน อย่างไรก็ตามไทยออยล์ได้เตรียมบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับความผันผวนของราค้ำมัน เพราะปัจจุบันราคาน้ำมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับดีมานด์-ซัพพลาย แต่มาจากปัจจัยภายนอก
ส่วนแผนการลงทุน 5 ปีของไทยออยล์ จะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านเหรียญหาสหรัฐ (กว่า 30,000 ล้านบาท) หรือประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี(กว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี) โดยจะเป็นการลงทุนขยายท่าเรือ เพื่อรองรับการขนส่งผลิตภัณฑ์จาก 5,000 ตันต่อปี เป็น 5 หมื่นตันต่อปี ซึ่งการขยายท่าเรือจะเป็นการรองรับการส่งออกน้ำมัน และปิโตรเคมี
นอกจากนี้จะมีการขยายกำลังผลิตพาราไซลีนอีก 1 แสนตัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 4 แสนตันต่อปี เป็น 5 แสนตันต่อปี โดยจะเริ่มผลิตภายในไตรมาส 3/55 นอกจากนี้ยังมีการลงทุนโรงไฟฟ้าเอสพีพี จำนวน 2 โรง ขนาด 120 เมกะวัตต์ต่อแห่ง ใช้เงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาท โดยจะขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แห่งละ 90 เมกะวัตต์ ภายในปี 2557-2558
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 100-115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่หากเกิดเหตุการณ์อิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซ จะทำให้ราคาน้ำมันขึ้นไปแตะ 200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่เชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นไปได้ยาก เพราะจะเป็นผลเสียกับอิหร่านที่ไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้
ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำจากวิกฤตหนี้สินยุโรปและสหรัฐ จะมีผลให้ราคาน้ำมันตลาดโลก ปรับลดลงอยู่ที่ประมาณ 75-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจะต้องจับตาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ในช่วงครึ่งปีแรกหรือไม่
ส่วนราคาน้ำมันในประเทศปีนี้ เชื่อว่าจะปรับตัวสูงขึ้น จากการกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในอัตรา 5.30 บาทต่อลิตร โดยการทยอยการจัดเก็บภาษีดังกล่าวควรเป็นช่วงหลังฤดูหนาว ส่วนการเก็บเงินจากเบนซินและแก๊สโซฮอล์ที่ 7 บาทต่อลิตร จะต้องดูว่ารัฐบาลจะสามารถปรับโครงสร้างราคาเอ็นจีวีและแอลพีจีภาคขนส่งได้หรือไม่ หากสามารถปรับได้ตามแผนเดิมเชื่อว่าจะช่วยให้การเรียกเก็บเงินจากเบนซินและแก๊สโซฮอล์ในอัตราที่ลดลงได้ เพราะภาระกองทุนน้ำมันฯน้อยลงแล้ว
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 64
ผุดโรงกลั่นน้ำมันใหม่ที่เพชรบุรี
เอสวัน ปิโตรเคมีคัล ประกาศเดินหน้าสร้างโรงกลั่นแห่งใหม่ที่เพชรบุรี ขนาดกำลังผลิต 50,000 บาร์เรลต่อวัน ในอีก 5 ปี มูลค่าลงทุนกว่า 12,000 ล้านบาท ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก มีฐานลูกค้าอยู่ในจีน และพม่า การันตีไม่แย่งตลาดในประเทศ ยันมีจุดแข็งราคาหน้าโรงกลั่นถูกกว่าทั่วไป 5-10 % จากการใช้นวัตกรรมใหม่จากรัสเซียกลั่นน้ำมัน
นายศรัณย์ นิธิจินดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสวัน ปิโตรเคมีคัล จำกัด เปิดเผยว่า จากที่บริษัทได้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายและขนส่งน้ำมันหรือเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 10 และเมื่อปีที่ผ่านมาได้ยื่นขออนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อให้สามารถเป็นผู้ผลิตน้ำมันจำหน่ายเองได้ โดยมีแผนจะก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้นมา ภายใต้การร่วมทุนระหว่างบริษท เอสวัน ปิโตรเคมีคัลฯ ถือหุ้นในสัดส่วน 40 % และบริษัท อะนาเมตริกส์ โฮลดิ้ง จำกัด ในสัดส่วน 60 % ตั้งเป็นบริษัท วัน อะนาเมทริค อินเตอร์เทรด จำกัด ขึ้นมา
โดยมีแผนการดำเนินงานในช่วง 5 ปี(2555-2559) ว่าบริษัทจะลงทุนก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 50,000 บาร์เรลต่อวัน และคลังน้ำมันขนาด 300,000 ตัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 12,000 ล้านบาท ในพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งการดำเนินการจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยระยะแรกจะดำเนินการก่อสร้างโรงกลั่นขนาดกำลังการผลิต 12,500 บาร์เรลต่อวันก่อน และถังเก็บน้ำมันอีก 6 ใบ ขนาด 50,000 ตัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท
"โรงกลั่นแห่งนี้ จะใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของบริษัท ไอเทอร์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จากรัสเซียที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สามารถลดต้นทุนการกลั่นต่อบาร์เรลได้ประมาณ 5-10 % โดยเครื่องจักรล็อตแรกจะเข้ามาภายในเดือนมีนาคม 2555 นี้ และจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรประมาณ 14 เดือน"
นายศรัณย์ กล่าวอีกว่าส่วนขั้นตอนการดำเนินงานนั้น ขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการดูรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ซึ่งเจ้าของเดิมได้มีการจัดทำไว้แล้ว และจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(เอชอีไอเอ)เพิ่มเติม และหลังจากภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 น่าจะเข้าไปดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ได้ หากไม่ติดขัดอะไรคาดว่าโรงกลั่นจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2556
สำหรับโรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้ จะนำน้ำมันดิบจากรัสเซียประมาณ 90 % และจากอินโดนีเซีย 10 % มากลั่น ซึ่งจะได้น้ำมันดีเซลในสัดส่วน 50 % น้ำมันเบนซิน 10 % และน้ำมันเตา 40 % และน้ำมันดีเซลส่วนใหญ่ที่ได้ประมาณ 80 % จะส่งออกไปยังประเทศจีนตอนใต้และสหภาพพม่าเป็นหลัก ซึ่งเวลานี้ได้มีการเซ็นสัญญารับซื้อน้ำมันล่วงหน้าไว้แล้ว 2 ปี ในประมาณ 2-3 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่การจำหน่ายน้ำมันในประเทศนั้นอยู่ระหว่างการขออนุญาตจากกรมธุรกิจพลังงานอยู่
นายศรัณย์ กล่าวอีกว่า การที่บริษัทตัดสินใจก่อสร้างโรงกลั่นขึ้นมา เนื่องจากบริษัทมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งอยู่ในต่างประเทศ ทำให้มีตลาดรองรับที่แน่นอน ไม่ต้องมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดในประเทศ ที่เวลานี้มีการแข่งขันสูงจากปริมาณการกลั่นน้ำมันที่เกินความต้องการ อีกทั้ง น้ำมันที่กลั่นออกมา ราคาหน้าโรงกลั่นถูกกว่าราคาน้ำมันของโรงกลั่นทั่วไปประมาณ 5-10 % ทำให้สามารถแข่งขันกับโรงกลั่นจากการจำหน่ายผ่านจ็อบเบอร์ได้
นอกจากนี้ จากการที่บริษัท ไอเทอร์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ดฯ ได้มอบสิทธิบัตรในการใช้เทคโนโลยีการกลั่นน้ำมัน ยังให้บริษัทเป็นตัวแทนในการจำหน่ายเทคโนโลยีการกลั่นน้ำมันนี้ในภูมิภาคเอเชียด้วย ซึ่งเวลานี้มีลูกค้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ตอบรับซื้อแล้วมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อเครื่อง
แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า พื้นที่ก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท วัน อะนาเมทริค อินเตอร์เทรด จำกัด เป็นที่ตั้งของคลังน้ำมันและโรงกลั่นเดิมของบริษัท สยามกัลฟ์ปิโตรเคมีคัล จำกัด ในตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ที่เวลานี้ไม่ได้เปิดดำเนินการกลั่นน้ำมัน แต่ยังเปิดให้เช่าคลังน้ำมันอยู่ เนื่องจากมีท่อสามารถรับน้ำมันทางทะเลได้ และได้มีการกว้านซื้อที่ดินไว้กว่า 1,000 ไร่ ซึ่งการก่อสร้างโรงกลั่นครั้งนี้ คาดว่าน่าจะมีการตกลงในธุรกิจร่วมกัน
เอสวัน ปิโตรเคมีคัล ประกาศเดินหน้าสร้างโรงกลั่นแห่งใหม่ที่เพชรบุรี ขนาดกำลังผลิต 50,000 บาร์เรลต่อวัน ในอีก 5 ปี มูลค่าลงทุนกว่า 12,000 ล้านบาท ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก มีฐานลูกค้าอยู่ในจีน และพม่า การันตีไม่แย่งตลาดในประเทศ ยันมีจุดแข็งราคาหน้าโรงกลั่นถูกกว่าทั่วไป 5-10 % จากการใช้นวัตกรรมใหม่จากรัสเซียกลั่นน้ำมัน
นายศรัณย์ นิธิจินดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสวัน ปิโตรเคมีคัล จำกัด เปิดเผยว่า จากที่บริษัทได้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายและขนส่งน้ำมันหรือเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 10 และเมื่อปีที่ผ่านมาได้ยื่นขออนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อให้สามารถเป็นผู้ผลิตน้ำมันจำหน่ายเองได้ โดยมีแผนจะก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้นมา ภายใต้การร่วมทุนระหว่างบริษท เอสวัน ปิโตรเคมีคัลฯ ถือหุ้นในสัดส่วน 40 % และบริษัท อะนาเมตริกส์ โฮลดิ้ง จำกัด ในสัดส่วน 60 % ตั้งเป็นบริษัท วัน อะนาเมทริค อินเตอร์เทรด จำกัด ขึ้นมา
โดยมีแผนการดำเนินงานในช่วง 5 ปี(2555-2559) ว่าบริษัทจะลงทุนก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 50,000 บาร์เรลต่อวัน และคลังน้ำมันขนาด 300,000 ตัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 12,000 ล้านบาท ในพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งการดำเนินการจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยระยะแรกจะดำเนินการก่อสร้างโรงกลั่นขนาดกำลังการผลิต 12,500 บาร์เรลต่อวันก่อน และถังเก็บน้ำมันอีก 6 ใบ ขนาด 50,000 ตัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท
"โรงกลั่นแห่งนี้ จะใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของบริษัท ไอเทอร์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จากรัสเซียที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สามารถลดต้นทุนการกลั่นต่อบาร์เรลได้ประมาณ 5-10 % โดยเครื่องจักรล็อตแรกจะเข้ามาภายในเดือนมีนาคม 2555 นี้ และจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรประมาณ 14 เดือน"
นายศรัณย์ กล่าวอีกว่าส่วนขั้นตอนการดำเนินงานนั้น ขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการดูรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ซึ่งเจ้าของเดิมได้มีการจัดทำไว้แล้ว และจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(เอชอีไอเอ)เพิ่มเติม และหลังจากภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 น่าจะเข้าไปดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ได้ หากไม่ติดขัดอะไรคาดว่าโรงกลั่นจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2556
สำหรับโรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้ จะนำน้ำมันดิบจากรัสเซียประมาณ 90 % และจากอินโดนีเซีย 10 % มากลั่น ซึ่งจะได้น้ำมันดีเซลในสัดส่วน 50 % น้ำมันเบนซิน 10 % และน้ำมันเตา 40 % และน้ำมันดีเซลส่วนใหญ่ที่ได้ประมาณ 80 % จะส่งออกไปยังประเทศจีนตอนใต้และสหภาพพม่าเป็นหลัก ซึ่งเวลานี้ได้มีการเซ็นสัญญารับซื้อน้ำมันล่วงหน้าไว้แล้ว 2 ปี ในประมาณ 2-3 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่การจำหน่ายน้ำมันในประเทศนั้นอยู่ระหว่างการขออนุญาตจากกรมธุรกิจพลังงานอยู่
นายศรัณย์ กล่าวอีกว่า การที่บริษัทตัดสินใจก่อสร้างโรงกลั่นขึ้นมา เนื่องจากบริษัทมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งอยู่ในต่างประเทศ ทำให้มีตลาดรองรับที่แน่นอน ไม่ต้องมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดในประเทศ ที่เวลานี้มีการแข่งขันสูงจากปริมาณการกลั่นน้ำมันที่เกินความต้องการ อีกทั้ง น้ำมันที่กลั่นออกมา ราคาหน้าโรงกลั่นถูกกว่าราคาน้ำมันของโรงกลั่นทั่วไปประมาณ 5-10 % ทำให้สามารถแข่งขันกับโรงกลั่นจากการจำหน่ายผ่านจ็อบเบอร์ได้
นอกจากนี้ จากการที่บริษัท ไอเทอร์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ดฯ ได้มอบสิทธิบัตรในการใช้เทคโนโลยีการกลั่นน้ำมัน ยังให้บริษัทเป็นตัวแทนในการจำหน่ายเทคโนโลยีการกลั่นน้ำมันนี้ในภูมิภาคเอเชียด้วย ซึ่งเวลานี้มีลูกค้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ตอบรับซื้อแล้วมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อเครื่อง
แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า พื้นที่ก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท วัน อะนาเมทริค อินเตอร์เทรด จำกัด เป็นที่ตั้งของคลังน้ำมันและโรงกลั่นเดิมของบริษัท สยามกัลฟ์ปิโตรเคมีคัล จำกัด ในตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ที่เวลานี้ไม่ได้เปิดดำเนินการกลั่นน้ำมัน แต่ยังเปิดให้เช่าคลังน้ำมันอยู่ เนื่องจากมีท่อสามารถรับน้ำมันทางทะเลได้ และได้มีการกว้านซื้อที่ดินไว้กว่า 1,000 ไร่ ซึ่งการก่อสร้างโรงกลั่นครั้งนี้ คาดว่าน่าจะมีการตกลงในธุรกิจร่วมกัน
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 65
Thai Oil scouting for investment
Source - The Nation (Eng), Saturday, February 04, 2012
Thai Oil (TOP), PTT’s flagship refinery business, is ready to expand to Asean countries, chief executive officer Surong Bulakul said.
He said TOP and the PTT group had conducted a joint study on possible investment destinations in Asean, especially Burma, Indonesia, Vietnam and Cambodia. TOP will focus its investment on the refinery business in these countries.
The study focuses on upstream petroleum investment, natural-gas and oil pipelines, gas-separation plants, refineries, and the petrochemical business.
He added that there was potential for investment in Burma, which is opening up its economy. TOP is also interested in investing in refinery-related businesses in Vietnam when there are favourable opportunities.
He forecast that the Dubai crude oil price this year would be in the range of US$105-$106 per barrel, almost the same as last year, despite global economic problems. TOP has devised a risk-management plan to deal with the volatile global oil price.
As part of its five-year investment plan, TOP will spend $1 billion (Bt31 billion), part of which would be poured into the expansion of its seaport capacity to enable transport of 50,000 tonnes per year, up from the present 5,000 tonnes per year. It will also expand its paraxylene production capacity by 100,000 tonnes per year from the present 400,000 tonnes.
The expansion is expected to be completed in the third quarter.
It will also invest in setting up two small power plants, each with capacity of 120 megawatts, and costing Bt10 billion per plant. They will sell 90MW to the Electricity Generating Authority of Thailand, starting in 2014 or 2015.
Energy expert Manoon Siriwan said he expected the average global oil price this year to be $100-$115 per barrel but it could jump to $200 if Iran closes the Strait of Hormuz, a key oil-transport route. But he said Iran was unlikely to do so because it would affect its oil exports, too.
On the other hand, the economic problems in Europe and the United States could bring the oil price down to $75-$80. One should keep a close watch if the Western economies are able to solve their problems within the first half of the year.
He believes that the domestic oil price could rise to Bt5.30 per litre after the government’s planned gradual imposition of the diesel excise.
Source - The Nation (Eng), Saturday, February 04, 2012
Thai Oil (TOP), PTT’s flagship refinery business, is ready to expand to Asean countries, chief executive officer Surong Bulakul said.
He said TOP and the PTT group had conducted a joint study on possible investment destinations in Asean, especially Burma, Indonesia, Vietnam and Cambodia. TOP will focus its investment on the refinery business in these countries.
The study focuses on upstream petroleum investment, natural-gas and oil pipelines, gas-separation plants, refineries, and the petrochemical business.
He added that there was potential for investment in Burma, which is opening up its economy. TOP is also interested in investing in refinery-related businesses in Vietnam when there are favourable opportunities.
He forecast that the Dubai crude oil price this year would be in the range of US$105-$106 per barrel, almost the same as last year, despite global economic problems. TOP has devised a risk-management plan to deal with the volatile global oil price.
As part of its five-year investment plan, TOP will spend $1 billion (Bt31 billion), part of which would be poured into the expansion of its seaport capacity to enable transport of 50,000 tonnes per year, up from the present 5,000 tonnes per year. It will also expand its paraxylene production capacity by 100,000 tonnes per year from the present 400,000 tonnes.
The expansion is expected to be completed in the third quarter.
It will also invest in setting up two small power plants, each with capacity of 120 megawatts, and costing Bt10 billion per plant. They will sell 90MW to the Electricity Generating Authority of Thailand, starting in 2014 or 2015.
Energy expert Manoon Siriwan said he expected the average global oil price this year to be $100-$115 per barrel but it could jump to $200 if Iran closes the Strait of Hormuz, a key oil-transport route. But he said Iran was unlikely to do so because it would affect its oil exports, too.
On the other hand, the economic problems in Europe and the United States could bring the oil price down to $75-$80. One should keep a close watch if the Western economies are able to solve their problems within the first half of the year.
He believes that the domestic oil price could rise to Bt5.30 per litre after the government’s planned gradual imposition of the diesel excise.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 66
จ้องถือหุ้นใหญ่แทปไลน์ ปตท.เร่งสรุปใน1เดือน
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, February 07, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.เร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อหุ้นแทปไลน์คาด 1 เดือนได้ข้อสรุป โดยวางเป้าหมายถือหุ้นเกิน 50% โดยจะดำเนินการปรับโครงสร้างธุรกิจแทปไลน์ใหม่เปิดทางให้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อนอกเหนือผู้ถือหุ้นได้และดันโปรเจกต์วางท่อน้ำมันไปเหนือและอีสานให้แทปไลน์ลุยแทนส่วนแผนการลงทุนในประเทศอาเซียนใช้โมเดลแบบมาบตาพุด ส่วนการลงทุนในพม่าคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมันบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าไปซื้อหุ้นบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด(แทปไลน์) คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน1 เดือนนี้ โดย ปตท.ต้องการถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์เกิน 50% จากปัจจุบันที่ ปตท.ถือหุ้นอยู่ 33.19% และบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 9.19% เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน หลังจาก ปตท.ถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์แล้วจะดำเนินการปรับโครงสร้างการทำธุรกิจใหม่จากเดิมที่บริการขนส่งน้ำมันทางท่อเฉพาะผู้ถือหุ้นเปลี่ยนเป็นเปิดให้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อกับรายอื่นๆ ด้วย
ที่ผ่านมา แทปไลน์ยังให้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อไม่เต็มกำลังการผลิตเนื่องจากการขนส่งน้ำมันทางรถบรรทุกยังสามารถแข่งขันได้อยู่และให้บริการเฉพาะผู้ถือหุ้นเท่านั้น โดยรูปแบบการเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์นั้นอาจซื้อหุ้นผ่านทางปตท.หรือไทยออยล์ก็ได้ โดยแทปไลน์จะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้
สาเหตุที่บริษัทฯสนใจถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทน
ดีแต่การลงทุนใช้เงินลงทุนสูงมาก ที่ผ่านมาแทปไลน์กู้ยืมเงินนับหมื่นล้านบาทเพื่อลงทุนโครงการขนส่งน้ำมันทางท่อ ทำให้ขาดสภาพคล่อง ล่าสุดภาระหนี้สินของแทปไลน์ลดลงมาก คาดว่าจะชำระคืนหนี้ทั้งหมดได้ภายใน2 ปีนี้ หลังจากนั้นแทปไลน์จะเริ่มมีผลการดำเนินงานกำไรดีขึ้นโดยรัฐมนตรีพลังงานคนก่อนมีนโยบายให้ ปตท.เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์หลังเกิดบทเรียนปัญหาอุทกภัยทำให้การขนส่งน้ำมันทางรถบรรทุกและรถไฟทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งมองว่าการขนส่งน้ำมันทางท่อจะเป็นหนทางที่สำคัญในการขนส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือและอีสานได้
ทั้งนี้ ปตท.มีการศึกษาการวางท่อส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งหาก ปตท.ถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์แล้วก็อาจจะให้แทปไลน์เป็นผู้ลงทุนโครงการดังกล่าว เพื่อให้แทปไลน์ลงทุนธุรกิจวางท่อขนส่งน้ำมันเพียงรายเดียวจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการคำนวณค่าบริการขนส่งน้ำมันทางท่อ แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการลงทุนว่าจะเป็น ปตท.หรือแทปไลน์นั้นคงต้องรอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นแทปไลน์อนุมัติให้ ปตท.เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมก่อนโครงสร้างการถือหุ้นแทปไลน์ประกอบด้วยปตท. 33.19% บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) 9.19% เอสโซ่ฯ 20.66% เชลล์14.87% เชฟรอน 9.91% คูเวตปิโตรเลียม4.96% ปิโตรนาส 3.97% และบีพี 3.24 %
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลายบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแผนการลงทุนของกลุ่ม ปตท.ในอาเซียนว่า กลุ่มปตท.สนใจทำโครงการลักษณะใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีโรงแยกก๊าซฯและโรงกลั่นน้ำมันต่อยอดไปทำปิโตรเคมี ซึ่งมีหลายพื้นที่ที่น่าสนใจ เช่นอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของ ปตท. ซึ่งมีการลงทุนมาก่อนหน้านี้แล้ว และอีกส่วนที่น่าสนใจคืออเมริกาเหนือที่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมเข้าไปลงทุนโครงการออยล์ แซนด์เคเคดี ในแคนาดา
สำหรับการเข้าไปซื้อกิจการ (M&A) นั้นนายณัฐชาติกล่าวว่า บริษัทยังคงศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการลงทุนในพม่าคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ ที่ผ่านมา ปตท.เคยลงทุนในพม่ามาก่อนหน้านี้แล้ว และปัจจุบันโอกาสเปิดให้ ปตท.เข้าไปลงทุนในหลายประเทศ
นายสรัญกล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน ปตท.ส่งน้ำมันไปจำหน่ายในประเทศพม่าผ่านชายแดนทั้งระนอง แม่สอดและเชียงราย ซึ่งปัจจุบันพม่านำเข้าน้ำมันจากไทยคิดเป็น 10%ของปริมาณการใช้ทั้งหมด ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่สูงมาก เนื่องจากน้ำมันส่วนใหญ่พม่านำเข้าจากโรงกลั่นสิงคโปร์ และราคาขายปลีกน้ำมันในพม่าค่อนข้างสูงเพราะมีโครงสร้างภาษีมาก
--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, February 07, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.เร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อหุ้นแทปไลน์คาด 1 เดือนได้ข้อสรุป โดยวางเป้าหมายถือหุ้นเกิน 50% โดยจะดำเนินการปรับโครงสร้างธุรกิจแทปไลน์ใหม่เปิดทางให้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อนอกเหนือผู้ถือหุ้นได้และดันโปรเจกต์วางท่อน้ำมันไปเหนือและอีสานให้แทปไลน์ลุยแทนส่วนแผนการลงทุนในประเทศอาเซียนใช้โมเดลแบบมาบตาพุด ส่วนการลงทุนในพม่าคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมันบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าไปซื้อหุ้นบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด(แทปไลน์) คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน1 เดือนนี้ โดย ปตท.ต้องการถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์เกิน 50% จากปัจจุบันที่ ปตท.ถือหุ้นอยู่ 33.19% และบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 9.19% เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน หลังจาก ปตท.ถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์แล้วจะดำเนินการปรับโครงสร้างการทำธุรกิจใหม่จากเดิมที่บริการขนส่งน้ำมันทางท่อเฉพาะผู้ถือหุ้นเปลี่ยนเป็นเปิดให้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อกับรายอื่นๆ ด้วย
ที่ผ่านมา แทปไลน์ยังให้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อไม่เต็มกำลังการผลิตเนื่องจากการขนส่งน้ำมันทางรถบรรทุกยังสามารถแข่งขันได้อยู่และให้บริการเฉพาะผู้ถือหุ้นเท่านั้น โดยรูปแบบการเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์นั้นอาจซื้อหุ้นผ่านทางปตท.หรือไทยออยล์ก็ได้ โดยแทปไลน์จะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้
สาเหตุที่บริษัทฯสนใจถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทน
ดีแต่การลงทุนใช้เงินลงทุนสูงมาก ที่ผ่านมาแทปไลน์กู้ยืมเงินนับหมื่นล้านบาทเพื่อลงทุนโครงการขนส่งน้ำมันทางท่อ ทำให้ขาดสภาพคล่อง ล่าสุดภาระหนี้สินของแทปไลน์ลดลงมาก คาดว่าจะชำระคืนหนี้ทั้งหมดได้ภายใน2 ปีนี้ หลังจากนั้นแทปไลน์จะเริ่มมีผลการดำเนินงานกำไรดีขึ้นโดยรัฐมนตรีพลังงานคนก่อนมีนโยบายให้ ปตท.เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์หลังเกิดบทเรียนปัญหาอุทกภัยทำให้การขนส่งน้ำมันทางรถบรรทุกและรถไฟทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งมองว่าการขนส่งน้ำมันทางท่อจะเป็นหนทางที่สำคัญในการขนส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือและอีสานได้
ทั้งนี้ ปตท.มีการศึกษาการวางท่อส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งหาก ปตท.ถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์แล้วก็อาจจะให้แทปไลน์เป็นผู้ลงทุนโครงการดังกล่าว เพื่อให้แทปไลน์ลงทุนธุรกิจวางท่อขนส่งน้ำมันเพียงรายเดียวจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการคำนวณค่าบริการขนส่งน้ำมันทางท่อ แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการลงทุนว่าจะเป็น ปตท.หรือแทปไลน์นั้นคงต้องรอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นแทปไลน์อนุมัติให้ ปตท.เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมก่อนโครงสร้างการถือหุ้นแทปไลน์ประกอบด้วยปตท. 33.19% บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) 9.19% เอสโซ่ฯ 20.66% เชลล์14.87% เชฟรอน 9.91% คูเวตปิโตรเลียม4.96% ปิโตรนาส 3.97% และบีพี 3.24 %
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลายบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแผนการลงทุนของกลุ่ม ปตท.ในอาเซียนว่า กลุ่มปตท.สนใจทำโครงการลักษณะใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีโรงแยกก๊าซฯและโรงกลั่นน้ำมันต่อยอดไปทำปิโตรเคมี ซึ่งมีหลายพื้นที่ที่น่าสนใจ เช่นอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของ ปตท. ซึ่งมีการลงทุนมาก่อนหน้านี้แล้ว และอีกส่วนที่น่าสนใจคืออเมริกาเหนือที่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมเข้าไปลงทุนโครงการออยล์ แซนด์เคเคดี ในแคนาดา
สำหรับการเข้าไปซื้อกิจการ (M&A) นั้นนายณัฐชาติกล่าวว่า บริษัทยังคงศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการลงทุนในพม่าคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ ที่ผ่านมา ปตท.เคยลงทุนในพม่ามาก่อนหน้านี้แล้ว และปัจจุบันโอกาสเปิดให้ ปตท.เข้าไปลงทุนในหลายประเทศ
นายสรัญกล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน ปตท.ส่งน้ำมันไปจำหน่ายในประเทศพม่าผ่านชายแดนทั้งระนอง แม่สอดและเชียงราย ซึ่งปัจจุบันพม่านำเข้าน้ำมันจากไทยคิดเป็น 10%ของปริมาณการใช้ทั้งหมด ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่สูงมาก เนื่องจากน้ำมันส่วนใหญ่พม่านำเข้าจากโรงกลั่นสิงคโปร์ และราคาขายปลีกน้ำมันในพม่าค่อนข้างสูงเพราะมีโครงสร้างภาษีมาก
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 67
"ซก อาน" รองนายกฯ กัมพูชา เผย มีแผนออกใบอนญาติให้ บ.เชฟรอน เข้าเจาะน้ำมันในบล็อกครอบคลุมพื้นที่ 4,709 ตารางกิโลเมตรในอ่าวไทย คาดว่า จะเริ่มได้ภายในสิ้นปีนี้
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 68
ปตท.สบช่องถกที่ทับซ้อนเขมร ลุยเชื่อมท่อM9พม่า-ไทย บางจากพัฒนาการกลั่น
ปตท.แย้มใช้เวทีประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 เป็นช่องเดินหน้าเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ปตท.สผ.ลุยลงทุนเชื่อมท่อก๊าซฯ จากแหล่ง M9 มาไทยมูลค่า 60,000 ล้าน คาดเสร็จปลายปี 2556 ด้านบางจากทุ่ม 7 พันล้านปรับประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายลงทุนพลังงานทดแทน โวปี 55 กำไร 7 พันล้าน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 หรือ IPTC ว่า การประชุมครั้งนี้มีนายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชาเข้าร่วมด้วย ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดีกับโครงการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เพราะขณะนี้ก็เริ่มมีการขับเคลื่อนในส่วนของการเมืองแล้ว
“ปตท.เองก็มองการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน เพราะเห็นว่ายังมีโอกาสในการหาแหล่งพลังงานใหม่อีกมาก และมีแผนที่จะขยายการลงทุนด้านธุรกิจน้ำมันในประเทศกัมพูชาเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะมีการพัฒนาระบบก๊าซเอ็นจีวีให้กัมพูชาด้วย หากสามารถนำก๊าซฯ จากพื้นที่ร่วมพัฒนาขึ้นมาใช้ได้”นายไพรินทร์กล่าว
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ) กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนในประเทศพม่าว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างต่อท่อก๊าซฯ จากพม่าเพื่อเชื่อมต่อกับท่อก๊าซฯ ของไทยบริเวณบ้านอีต่อง จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 300 กิโลเมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2556 ส่งผลให้มีปริมาณก๊าซฯ เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 240 ล้านลุกบาศก์ฟุตต่อวัน ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 60,000 ล้านบาท โดยเงินลงทุนจะมาจากรายได้ของ ปตท.สผ.เองทั้งหมด
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า ในปี 2555 บางจากมีแผนที่จะใช้เงินลงทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท เพื่อใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมัน ประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท, โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ทั้งนี้เงินลงทุนดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากเงินสดของบริษัท อีกส่วนมาจากการกู้แต่จะด้วยวิธีการอย่างไรอยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่าภายในไตรมาส 2ของปี 2555 นี้จะสรุปได้
สำหรับความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ในพื้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขนาดกำลังการผลิต 38 เมกะวัตต์ ที่ถูกน้ำท่วมนั้น คาดว่าจะเริ่มกลับมาเดินได้ตามปกติในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ที่ อำเภอบางปะหัน กำลังการผลิต 16 เมกะวัตต์นั้น มีแผนทำลงทุนทำคันดินกั้นน้ำสูงถึง 8 เมตรไว้แล้ว
ทั้งนี้ บางจากอยู่ระหว่างการเจรจากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)เพื่อหาพื้นที่ในการลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี กำลังการผลิต 48 เมกะวัตต์ใหม่ หลังจากพื้นที่เดิมได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ส่งผลการก่อสร้างล่าช้าไป 6 เดือน นอกจากนี้ ยังสนใจลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนต่างๆ เช่น โครงการผลิตเอทานอลและการลงทุนปลูกพืชเกษตรทั้ง อ้อย มันสำปะหลังด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าปี 2555กำไรก่อนหักภาษีค่าเสื่อม (อิบิด้า) อยู่ที่ระดับ 7,000 ล้านบาท.
ปตท.แย้มใช้เวทีประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 เป็นช่องเดินหน้าเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ปตท.สผ.ลุยลงทุนเชื่อมท่อก๊าซฯ จากแหล่ง M9 มาไทยมูลค่า 60,000 ล้าน คาดเสร็จปลายปี 2556 ด้านบางจากทุ่ม 7 พันล้านปรับประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายลงทุนพลังงานทดแทน โวปี 55 กำไร 7 พันล้าน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 หรือ IPTC ว่า การประชุมครั้งนี้มีนายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชาเข้าร่วมด้วย ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดีกับโครงการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เพราะขณะนี้ก็เริ่มมีการขับเคลื่อนในส่วนของการเมืองแล้ว
“ปตท.เองก็มองการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน เพราะเห็นว่ายังมีโอกาสในการหาแหล่งพลังงานใหม่อีกมาก และมีแผนที่จะขยายการลงทุนด้านธุรกิจน้ำมันในประเทศกัมพูชาเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะมีการพัฒนาระบบก๊าซเอ็นจีวีให้กัมพูชาด้วย หากสามารถนำก๊าซฯ จากพื้นที่ร่วมพัฒนาขึ้นมาใช้ได้”นายไพรินทร์กล่าว
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ) กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนในประเทศพม่าว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างต่อท่อก๊าซฯ จากพม่าเพื่อเชื่อมต่อกับท่อก๊าซฯ ของไทยบริเวณบ้านอีต่อง จ.กาญจนบุรี ระยะทาง 300 กิโลเมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2556 ส่งผลให้มีปริมาณก๊าซฯ เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 240 ล้านลุกบาศก์ฟุตต่อวัน ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 60,000 ล้านบาท โดยเงินลงทุนจะมาจากรายได้ของ ปตท.สผ.เองทั้งหมด
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า ในปี 2555 บางจากมีแผนที่จะใช้เงินลงทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท เพื่อใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมัน ประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท, โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมและโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ทั้งนี้เงินลงทุนดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากเงินสดของบริษัท อีกส่วนมาจากการกู้แต่จะด้วยวิธีการอย่างไรอยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่าภายในไตรมาส 2ของปี 2555 นี้จะสรุปได้
สำหรับความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าโซล่าเซลล์ในพื้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขนาดกำลังการผลิต 38 เมกะวัตต์ ที่ถูกน้ำท่วมนั้น คาดว่าจะเริ่มกลับมาเดินได้ตามปกติในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ที่ อำเภอบางปะหัน กำลังการผลิต 16 เมกะวัตต์นั้น มีแผนทำลงทุนทำคันดินกั้นน้ำสูงถึง 8 เมตรไว้แล้ว
ทั้งนี้ บางจากอยู่ระหว่างการเจรจากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)เพื่อหาพื้นที่ในการลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี กำลังการผลิต 48 เมกะวัตต์ใหม่ หลังจากพื้นที่เดิมได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ส่งผลการก่อสร้างล่าช้าไป 6 เดือน นอกจากนี้ ยังสนใจลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนต่างๆ เช่น โครงการผลิตเอทานอลและการลงทุนปลูกพืชเกษตรทั้ง อ้อย มันสำปะหลังด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าปี 2555กำไรก่อนหักภาษีค่าเสื่อม (อิบิด้า) อยู่ที่ระดับ 7,000 ล้านบาท.
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 69
PTTEP eyeing Burma, Cambodia
Source - The Nation (Eng), Wednesday, February 08, 2012
PTT Exploration and Production (PTTEP) sees opportunities for growth in Burma and Cambodia, said Anon Sirisaengtaksin, the firm’s president and chief executive officer.
He said this yesterday at the International Petroleum Technology Conference (IPTC), hosted this year by Thailand. The seminar, which began yesterday, is a forum for businesses to exchange knowledge on the development of petroleum exploration and production technology. Given the decline in petroleum sources worldwide, new technology is needed to explore potential new sources.
Burma has high potential for petroleum production, Anon said. PTTEP has long invested in petroleum exploration and production in the country, and will soon be granted concessions to explore two more fields there.
PTTEP is investing US$2 billion (Bt62 billion) from 2011 to 2013 to build an oil rig and to produce petroleum in Burma’s M9 field, and to install a 300-kilometre-long natural-gas pipeline to link the site with its existing pipelines in Kanchana-buri. Starting next year, this will enable it to deliver 240 million cubic feet per day of natural gas to Thailand and another 60 million cubic feet per day to Burma.
The company is also waiting for the government to complete negotiations with Cambodia on the countries’ overlapping maritime claims. Anon said PTTEP would spend Bt600 billion to expand petroleum exploration and production business in Asean, Australia, Africa and North America.
Pailin Chuchottaworn, president and chief executive officer of PTT, said of PTT Group’s overseas investments between 2012 and 2016, 50 per cent would be conducted by PTTEP, with priority given to upstream businesses.
PTT Group has investments in all Asean countries and East Timor.
Cambodian Deputy Prime Minister Sok An is attending the IPTC seminar and will visit PTT’s gas-separation plant in Map Ta Phut, Rayong.
Pailin added that if the two countries could solve their overlapping maritime claims, it would bring tremendous benefits to both countries, and give Thailand access to a new petroleum source.
Source - The Nation (Eng), Wednesday, February 08, 2012
PTT Exploration and Production (PTTEP) sees opportunities for growth in Burma and Cambodia, said Anon Sirisaengtaksin, the firm’s president and chief executive officer.
He said this yesterday at the International Petroleum Technology Conference (IPTC), hosted this year by Thailand. The seminar, which began yesterday, is a forum for businesses to exchange knowledge on the development of petroleum exploration and production technology. Given the decline in petroleum sources worldwide, new technology is needed to explore potential new sources.
Burma has high potential for petroleum production, Anon said. PTTEP has long invested in petroleum exploration and production in the country, and will soon be granted concessions to explore two more fields there.
PTTEP is investing US$2 billion (Bt62 billion) from 2011 to 2013 to build an oil rig and to produce petroleum in Burma’s M9 field, and to install a 300-kilometre-long natural-gas pipeline to link the site with its existing pipelines in Kanchana-buri. Starting next year, this will enable it to deliver 240 million cubic feet per day of natural gas to Thailand and another 60 million cubic feet per day to Burma.
The company is also waiting for the government to complete negotiations with Cambodia on the countries’ overlapping maritime claims. Anon said PTTEP would spend Bt600 billion to expand petroleum exploration and production business in Asean, Australia, Africa and North America.
Pailin Chuchottaworn, president and chief executive officer of PTT, said of PTT Group’s overseas investments between 2012 and 2016, 50 per cent would be conducted by PTTEP, with priority given to upstream businesses.
PTT Group has investments in all Asean countries and East Timor.
Cambodian Deputy Prime Minister Sok An is attending the IPTC seminar and will visit PTT’s gas-separation plant in Map Ta Phut, Rayong.
Pailin added that if the two countries could solve their overlapping maritime claims, it would bring tremendous benefits to both countries, and give Thailand access to a new petroleum source.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 70
บางจากทุ่ม7,000ล้านบาท ลุยลงทุนพลังงานทดแทน
Source - เดลินิวส์ (Th), Wednesday, February 08, 2012
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า ปีนี้บางจากมีแผนที่จะใช้เงินลงทุน 7,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพกำลังการผลิตโรงกลั่นน้ำมัน 3,000-4,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานร้อนร่วม (โคเจนเนอเรชั่น) และโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ โดยเป้าหมายในระยะต่อไปจะให้ความสำคัญด้านการลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนเป็นอันดับต้น ๆ
"แผนลงทุนปีนี้วงเงิน 7,000 ล้านบาท จะมาจากเงินสดของบางจากฯส่วนหนึ่ง ที่เหลืออาจจะใช้วิธีการกู้ หรือการออกหุ้นกู้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะออกหุ้นกู้หรือกู้ในวงเงินเท่าไหร่ คาดว่าช่วงไตรมาส 2 จะได้ข้อสรุป นอกจากนี้ยังสนใจลงทุนโครงการพลังงานทดแทนต่าง ๆ เช่น โครงการผลิตเอทานอล และการลงทุนปลูกพืชเกษตรทั้ง อ้อย มันสำปะหลัง"
สำหรับความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์พื้นที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ขนาดกำลังการผลิต 38 เมกะวัตต์ ที่ถูกน้ำท่วมนั้น คาดว่าจะเริ่มกลับมาเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่ อ.บางปะหัน กำลังการผลิต 16 เมกะวัตต์นั้น มีแผนลงทุนทำคันดินกั้นน้ำสูงถึง 8 เมตรไว้แล้ว
ทั้งนี้กำลังเจรจากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อหาพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ จ.สระบุรี กำลังการผลิต 48 เมกะวัตต์ใหม่ เนื่องจากพื้นที่เดิมที่จองไว้ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ซึ่งจะทำให้แผนก่อสร้างล่าช้าออกไปอีก 6 เดือนจากเดิมที่จะแล้วเสร็จช่วงปลายปี 56
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กล่าวภายหลังการประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 ว่า การประชุมครั้งนี้มีบริษัทเทคโนโลยี ขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมเข้าร่วม 57 ประเทศ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีกับโครงการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สผ. กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวจะช่วยต่อยอดทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีการสำรวจปิโตรเลียมมาประยุกต์ใช้ โดย ปตท.สผ. มีแผนที่จะขยายการลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพ.
--จบ--
Source - เดลินิวส์ (Th), Wednesday, February 08, 2012
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า ปีนี้บางจากมีแผนที่จะใช้เงินลงทุน 7,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพกำลังการผลิตโรงกลั่นน้ำมัน 3,000-4,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานร้อนร่วม (โคเจนเนอเรชั่น) และโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ โดยเป้าหมายในระยะต่อไปจะให้ความสำคัญด้านการลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนเป็นอันดับต้น ๆ
"แผนลงทุนปีนี้วงเงิน 7,000 ล้านบาท จะมาจากเงินสดของบางจากฯส่วนหนึ่ง ที่เหลืออาจจะใช้วิธีการกู้ หรือการออกหุ้นกู้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะออกหุ้นกู้หรือกู้ในวงเงินเท่าไหร่ คาดว่าช่วงไตรมาส 2 จะได้ข้อสรุป นอกจากนี้ยังสนใจลงทุนโครงการพลังงานทดแทนต่าง ๆ เช่น โครงการผลิตเอทานอล และการลงทุนปลูกพืชเกษตรทั้ง อ้อย มันสำปะหลัง"
สำหรับความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์พื้นที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ขนาดกำลังการผลิต 38 เมกะวัตต์ ที่ถูกน้ำท่วมนั้น คาดว่าจะเริ่มกลับมาเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่ อ.บางปะหัน กำลังการผลิต 16 เมกะวัตต์นั้น มีแผนลงทุนทำคันดินกั้นน้ำสูงถึง 8 เมตรไว้แล้ว
ทั้งนี้กำลังเจรจากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อหาพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ จ.สระบุรี กำลังการผลิต 48 เมกะวัตต์ใหม่ เนื่องจากพื้นที่เดิมที่จองไว้ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ซึ่งจะทำให้แผนก่อสร้างล่าช้าออกไปอีก 6 เดือนจากเดิมที่จะแล้วเสร็จช่วงปลายปี 56
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กล่าวภายหลังการประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 ว่า การประชุมครั้งนี้มีบริษัทเทคโนโลยี ขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมเข้าร่วม 57 ประเทศ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีกับโครงการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สผ. กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวจะช่วยต่อยอดทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีการสำรวจปิโตรเลียมมาประยุกต์ใช้ โดย ปตท.สผ. มีแผนที่จะขยายการลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพ.
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 71
พีทีทีโกลบอลตั้งเป้า3ปี ฮุบหุ้นเพอสตอร์พ100%
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, February 09, 2012
พีทีทีโกลบอลฯ ตั้งเป้าซื้อหุ้น บริษัท เพอสตอร์พ ของฝรั่งเศส 100% ภายใน 3 ปี จากปัจจุบันถือ 51% หวังขึ้นเป็นผู้นำเทคโนโลยีทั้งหมด เดินหน้าวางแผนต่อยอดผลิตเคมีภัณฑ์ต้นทางของอุตสาหกรรมยานยนต์-สิ่งก่อสร้างรองรับตลาดในเอเชีย ชี้แนวโน้มขยายตัวสูง ขณะที่ราคาหุ้นพีทีทีโกลบอลพุ่งแรงปิดตลาดวานนี้ 73.25 บาทบวก 5%
แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติซื้อหุ้นบริษัท Perstorp Holding France SAS หรือ เพอสตอร์พ โฮลดิ้ง ฟรานซ์ ของฝรั่งเศส สัดส่วน 51% โดยใช้เงินลงทุน 114.8 ล้าน ยูโร หรือประมาณ 4,830 ล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามเงื่อนไขข้อบังคับตามข้อกฎหมายของฝรั่งเศสก่อน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการต่อต้านการผูกขาด (Anti trust) คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งบริษัทได้ทำข้อตกลงกับ Perstorp Holding France SAS ที่จะเข้าไปซื้อหุ้นให้ครบ 100% ภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยยังไม่สามารถระบุเม็ดเงินลงทุนที่จะซื้อหุ้นเพิ่มเติมได้ในขณะนี้
ทั้งนี้การตัดสินใจเข้าถือหุ้นใน Perstorp Holding France SAS ทั้งหมดจะส่งผลดีให้บริษัทเป็นเจ้าของเทคโนโลยีในทันที ซึ่ง Perstorp Holding France มีเทคโนโลยีในการผลิต Isocyanate ที่เป็นต้นทางในการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของ Toluene diisocyanate (TDI), Hexamethylene diisocyanate (HDI) และ Derivatives ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตพลาสติก Polyurethane (PU) สำหรับการนำไปใช้ในการผลิตสารเคลือบในอุตสาหกรรมยานยนต์และสิ่งก่อสร้าง และโฟม ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตสูงในตลาดเอเชีย โดยเฉพาะการนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อนในอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
ส่วนแผนการตั้งโรงงานผลิต Isocyanate ในประเทศไทยนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจอย่างไรก็ตามอยู่กับบรรยากาศการลงทุนในประเทศด้วยว่าเอื้อต่อการลงทุนหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันพบว่าหลายโครงการปิโตรเคมีขั้นกลางที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า หลังจากบริษัทตัดสินใจซื้อหุ้น Perstorp Holding France ทำให้มีนักลงทุนหลายรายสนใจที่จะเข้ามาร่วมทุนกับบริษัท เพื่อทำตลาดผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความต้องการ Polyurethane มีการเติบโตสูง นอกจากนี้ บริษัทยังมองโอกาสการลงทุนปิโตรเคมีในประเทศแถบอาเซียนด้วย โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งการขยายการลงทุนในภูมิภาคนี้จะจับมือกับกลุ่ม ปตท.ทั้งหมด โดยขณะนี้ ปตท.ได้เข้าไปช่วยศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงกลั่นน้ำมันในประเทศติมอร์เลสเตแล้ว เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ขณะที่ ปตท.มีความเชี่ยวชาญ ส่วนจะมีการตัดสินใจลงทุนโรงกลั่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการศึกษา
ปตท.มองว่าสหภาพพม่าและกัมพูชา เป็นประเทศที่กลุ่ม ปตท.สนใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมีเช่นกัน ขณะที่ส่วนการลงทุนตั้งโรงงานผลิตไบโอพลาสติกประเภท PLA ในไทยภายหลังจากบริษัทเข้าไปหุ้นใน NatureWorks LLC 50% นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต PLA เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิต PLA ที่สหรัฐใช้ข้าวโพด แต่หากต้องการตั้งโรงงานในไทย ก็มีแผนจะใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังหรืออ้อยแทน ทำให้ต้องศึกษาอย่างรอบคอบก่อน
โอกาสที่จะเห็นการขยายความร่วมมือระหว่างบริษัทกับ มิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่นเพื่อผลิตไบโอพลาสติกชนิด PBS จากน้ำตาลในประเทศไทยจะเป็นโครงการที่เกิดขึ้นได้เร็วกว่า เนื่องจากมีความคืบหน้าถึงการตั้งบริษัทร่วมทุนกันแล้ว
สำหรับการลงทุนในประเทศนั้น ขณะนี้คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการลงทุนส่วนขยายโรงงานอะโรเมติกส์ 2 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตพาราไซลีนเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังศึกษาโอกาสการลงทุนต่อยอดธุรกิจ เช่น มิกซ์ซี 4 เพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าเป็นเม็ดพลาสติก LLDPE เป็นต้น ส่วนเบนซีนอยู่ระหว่างเจรจากับกลุ่มอูเบะ เพื่อนำไปผลิตเป็นคาโปรแลกตัม ซึ่งปัจจุบันอูเบะก็มีการผลิตคาโปรแลกตัมอยู่แล้วในไทย
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล เป็นบริษัทหลักในกลุ่ม ปตท. ที่ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ และบริการสาธารณูปการครบวงจร และเป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์อันดับหนึ่งของประเทศไทย มีกำลังการผลิต 8.2 ล้านตันต่อปี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีกำลังการผลิต 228,000 บาร์เรลต่อวัน
ด้านการเคลื่อนไหวราคาหุ้นพีทีทีโกลบอล วานนี้ (8 ก.พ.) ปิดตลาดที่ 73.25 บาท บวก 4 บาท หรือ 5.78%
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, February 09, 2012
พีทีทีโกลบอลฯ ตั้งเป้าซื้อหุ้น บริษัท เพอสตอร์พ ของฝรั่งเศส 100% ภายใน 3 ปี จากปัจจุบันถือ 51% หวังขึ้นเป็นผู้นำเทคโนโลยีทั้งหมด เดินหน้าวางแผนต่อยอดผลิตเคมีภัณฑ์ต้นทางของอุตสาหกรรมยานยนต์-สิ่งก่อสร้างรองรับตลาดในเอเชีย ชี้แนวโน้มขยายตัวสูง ขณะที่ราคาหุ้นพีทีทีโกลบอลพุ่งแรงปิดตลาดวานนี้ 73.25 บาทบวก 5%
แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติซื้อหุ้นบริษัท Perstorp Holding France SAS หรือ เพอสตอร์พ โฮลดิ้ง ฟรานซ์ ของฝรั่งเศส สัดส่วน 51% โดยใช้เงินลงทุน 114.8 ล้าน ยูโร หรือประมาณ 4,830 ล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามเงื่อนไขข้อบังคับตามข้อกฎหมายของฝรั่งเศสก่อน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการต่อต้านการผูกขาด (Anti trust) คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งบริษัทได้ทำข้อตกลงกับ Perstorp Holding France SAS ที่จะเข้าไปซื้อหุ้นให้ครบ 100% ภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยยังไม่สามารถระบุเม็ดเงินลงทุนที่จะซื้อหุ้นเพิ่มเติมได้ในขณะนี้
ทั้งนี้การตัดสินใจเข้าถือหุ้นใน Perstorp Holding France SAS ทั้งหมดจะส่งผลดีให้บริษัทเป็นเจ้าของเทคโนโลยีในทันที ซึ่ง Perstorp Holding France มีเทคโนโลยีในการผลิต Isocyanate ที่เป็นต้นทางในการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของ Toluene diisocyanate (TDI), Hexamethylene diisocyanate (HDI) และ Derivatives ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตพลาสติก Polyurethane (PU) สำหรับการนำไปใช้ในการผลิตสารเคลือบในอุตสาหกรรมยานยนต์และสิ่งก่อสร้าง และโฟม ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตสูงในตลาดเอเชีย โดยเฉพาะการนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อนในอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
ส่วนแผนการตั้งโรงงานผลิต Isocyanate ในประเทศไทยนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจอย่างไรก็ตามอยู่กับบรรยากาศการลงทุนในประเทศด้วยว่าเอื้อต่อการลงทุนหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันพบว่าหลายโครงการปิโตรเคมีขั้นกลางที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า หลังจากบริษัทตัดสินใจซื้อหุ้น Perstorp Holding France ทำให้มีนักลงทุนหลายรายสนใจที่จะเข้ามาร่วมทุนกับบริษัท เพื่อทำตลาดผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความต้องการ Polyurethane มีการเติบโตสูง นอกจากนี้ บริษัทยังมองโอกาสการลงทุนปิโตรเคมีในประเทศแถบอาเซียนด้วย โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งการขยายการลงทุนในภูมิภาคนี้จะจับมือกับกลุ่ม ปตท.ทั้งหมด โดยขณะนี้ ปตท.ได้เข้าไปช่วยศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงกลั่นน้ำมันในประเทศติมอร์เลสเตแล้ว เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ขณะที่ ปตท.มีความเชี่ยวชาญ ส่วนจะมีการตัดสินใจลงทุนโรงกลั่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการศึกษา
ปตท.มองว่าสหภาพพม่าและกัมพูชา เป็นประเทศที่กลุ่ม ปตท.สนใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมีเช่นกัน ขณะที่ส่วนการลงทุนตั้งโรงงานผลิตไบโอพลาสติกประเภท PLA ในไทยภายหลังจากบริษัทเข้าไปหุ้นใน NatureWorks LLC 50% นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้โดยเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต PLA เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิต PLA ที่สหรัฐใช้ข้าวโพด แต่หากต้องการตั้งโรงงานในไทย ก็มีแผนจะใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังหรืออ้อยแทน ทำให้ต้องศึกษาอย่างรอบคอบก่อน
โอกาสที่จะเห็นการขยายความร่วมมือระหว่างบริษัทกับ มิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่นเพื่อผลิตไบโอพลาสติกชนิด PBS จากน้ำตาลในประเทศไทยจะเป็นโครงการที่เกิดขึ้นได้เร็วกว่า เนื่องจากมีความคืบหน้าถึงการตั้งบริษัทร่วมทุนกันแล้ว
สำหรับการลงทุนในประเทศนั้น ขณะนี้คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการลงทุนส่วนขยายโรงงานอะโรเมติกส์ 2 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตพาราไซลีนเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังศึกษาโอกาสการลงทุนต่อยอดธุรกิจ เช่น มิกซ์ซี 4 เพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าเป็นเม็ดพลาสติก LLDPE เป็นต้น ส่วนเบนซีนอยู่ระหว่างเจรจากับกลุ่มอูเบะ เพื่อนำไปผลิตเป็นคาโปรแลกตัม ซึ่งปัจจุบันอูเบะก็มีการผลิตคาโปรแลกตัมอยู่แล้วในไทย
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล เป็นบริษัทหลักในกลุ่ม ปตท. ที่ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ และบริการสาธารณูปการครบวงจร และเป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์อันดับหนึ่งของประเทศไทย มีกำลังการผลิต 8.2 ล้านตันต่อปี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีกำลังการผลิต 228,000 บาร์เรลต่อวัน
ด้านการเคลื่อนไหวราคาหุ้นพีทีทีโกลบอล วานนี้ (8 ก.พ.) ปิดตลาดที่ 73.25 บาท บวก 4 บาท หรือ 5.78%
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 72
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดงานประชุม2011 IPTC จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย
Source - พิมพ์ไทย (Th), Thursday, February 09, 2012
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ"2011 International Petroleum Technology Conference" หรือ 2011 IPTC ซึ่ง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. ในฐานะบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการประชุมซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากทั่วโลกกว่า 3,000 คน เข้าร่วมงาน
2011 IPTC เป็นความร่วมมือระหว่าง ปตท.สผ. และสมาคมด้านปิโตรเลียมสากล 4 สมาคม ประกอบด้วย The American Association of Petroleum Geologists (AAPG), The European Association of Geoscientists and Engineers (EAGE), The Society of Exploration Geophysicists (SEG) และ Society of Petroleum Engineers (SPE) โดยงานประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ภายใต้แนวคิด "Technology and Operational Excellence: Keys to Sustainable Global Energy" มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการประชุมหารือกันเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ด้านธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรในสาขาต่างๆทั่วโลก เพื่อสร้างอนาคตด้านพลังงานของโลกอย่างยั่งยืนร่วมกัน การประชุมในครั้งนี้มีการนำเสนอบทความทางวิชาการมากกว่า 300 บทความ จากกว่า400 องค์กรใน 57 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการของบริษัทในกลุ่ม ปตท. และบริษัทชั้นนำในวงการปิโตรเลียมอีกด้วย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ (Mr. Anon Sirisaengtaksin) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า การที่ ปตท.สผ.ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพหลักของงาน 2011 IPTC ครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงศักยภาพของกลุ่ม ปตท. ในฐานะบริษัทน้ำมันและก๊าซฯ ของไทยแล้ว ยังทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความชัดเจนมากขึ้นรวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างกัน ประสานความร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่สถาบันการศึกษา นักเรียนและนักศึกษาของไทยจะได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาในระดับสากลซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านปิโตรเลียม รวมถึงโอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพด้านต่าง ๆ ในสายงานปิโตรเลียมแก่เยาวชนไทยอีกด้วย
งานประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 IPTC ครั้งนี้ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่7-9 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์เซ็นทรัลเวิลด์
--จบ--
Source - พิมพ์ไทย (Th), Thursday, February 09, 2012
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ"2011 International Petroleum Technology Conference" หรือ 2011 IPTC ซึ่ง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. ในฐานะบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการประชุมซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากทั่วโลกกว่า 3,000 คน เข้าร่วมงาน
2011 IPTC เป็นความร่วมมือระหว่าง ปตท.สผ. และสมาคมด้านปิโตรเลียมสากล 4 สมาคม ประกอบด้วย The American Association of Petroleum Geologists (AAPG), The European Association of Geoscientists and Engineers (EAGE), The Society of Exploration Geophysicists (SEG) และ Society of Petroleum Engineers (SPE) โดยงานประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ภายใต้แนวคิด "Technology and Operational Excellence: Keys to Sustainable Global Energy" มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการประชุมหารือกันเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ด้านธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรในสาขาต่างๆทั่วโลก เพื่อสร้างอนาคตด้านพลังงานของโลกอย่างยั่งยืนร่วมกัน การประชุมในครั้งนี้มีการนำเสนอบทความทางวิชาการมากกว่า 300 บทความ จากกว่า400 องค์กรใน 57 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการของบริษัทในกลุ่ม ปตท. และบริษัทชั้นนำในวงการปิโตรเลียมอีกด้วย
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ (Mr. Anon Sirisaengtaksin) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า การที่ ปตท.สผ.ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพหลักของงาน 2011 IPTC ครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงศักยภาพของกลุ่ม ปตท. ในฐานะบริษัทน้ำมันและก๊าซฯ ของไทยแล้ว ยังทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความชัดเจนมากขึ้นรวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างกัน ประสานความร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม อีกทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่สถาบันการศึกษา นักเรียนและนักศึกษาของไทยจะได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาในระดับสากลซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านปิโตรเลียม รวมถึงโอกาสและความก้าวหน้าในอาชีพด้านต่าง ๆ ในสายงานปิโตรเลียมแก่เยาวชนไทยอีกด้วย
งานประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 IPTC ครั้งนี้ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่7-9 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์เซ็นทรัลเวิลด์
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 73
SCC ร่วมลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในประเทศเวียดนามร่วมกับผู้ร่วมทุนจากประเทศกาตาร์และเวียดนาม [ ทันหุ้น, 09 กุมภาพันธ์ 2012 ]
บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) ขอเรียนให้ทราบว่า SCC ได้ลงนามในข้อตกลงการร่วมทุน (Joint Venture Agreement)กับผู้ร่วมทุนจากประเทศกาตาร์และประเทศเวียดนามในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกของประเทศเวียดนามมูลค่า4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะตัดสินใจลงทุนในปี 2556โดยการลงนามในข้อตกลงร่วมทุนดังกล่าวเป็นผลคืบหน้าจากการลงนามในกรอบความตกลง (Framework Agreement) ซึ่งSCC ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552
และการลงนามในข้อตกลงการลงทุนเมื่อเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมาภายหลังจากการลงนามในข้อตกลงร่วมทุน และสรุปข้อตกลงด้านการเงินของโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4-5 ปีก็จะสามารถเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ได้
การร่วมทุนในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในประเทศเวียดนามในโครงการนี้นับเป็นการบุกเบิกอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มและสนับสนุนอุตสาหกรรมส่งออกของประเทศเวียดนาม ดังนั้น
จึงเป็นโครงการที่ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตในภูมิภาคอาเซียนของประเทศเวียดนาม
SCC ถือหุ้นในโครงการดังกล่าวร้อยละ 28 จากเดิมร้อยละ 53 ในขณะที่บริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 18 และพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญได้แก่ QPI Vietnam (บริษัทย่อยของบริษัท QatarPetroleum International) Vietnam Oil and Gas Group (PetroVietnam) และ Vietnam National Chemical Corporation (Vinachem)
นอกจากการลงนามในข้อตกลงการร่วมทุนดังกล่าวแล้ว Qatar International Petroleum Marketing Comp. Ltd. (TASWEEQ) Q.J.S.C. ซึ่งเป็นบริษัทด้านการตลาดของประเทศกาตาร์ ได้ลงนามในข้อตกลงในการจัดหาวัตถุดิบหลักได้แก่ โพรเพน (Propane) และ แนฟทา (Naphtha) ในระยะยาวให้แก่โครงการ ในขณะที่ PV GASซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PetroVietnam ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding)ในการจัดหาก๊าซอีเทน (Ethane) ให้แก่โครงการด้วยเช่นกันซึ่งการมีวัตถุดิบหลักอย่างเพียงพอในระยะยาวนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของโครงการนี้ นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจรและการได้ประโยชน์จากการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale)
โครงการผลิตปิโตรเคมีครบวงจรดังกล่าวประกอบด้วย โรงงานผลิตโอเลฟินส์ขนาดกำลังการผลิต 1.4 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นที่ออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบหลักได้หลากหลายประเภท(Ethane, Propane และ Naphtha) รวมไปถึงโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลาย ได้แก่ VinylChloride Monomer (VCM), Polyethylene (PE) และ Polypropylene (PP)ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อป้อนตลาดภายในประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับความต้องการของประชากรประมาณ 90ล้านคนนอกจากนี้ยังมีบริการพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็น เช่น คลังวัตถุดิบและสินค้า ท่าเรือ โรงไฟฟ้า
และสาธารณูปโภคอื่นๆ อย่างครบครันอีกด้วย
โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและทันสมัย มีมาตรฐานด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมระดับสากล ผลิตภัณฑ์ของโครงการจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศเวียดนามและอาเซียน
โรงงานปิโตรเคมีแห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ที่เกาะ Long Son ในจังหวัด Ba Ria - Vung Tau
ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนามโดยจะอยู่ติดกับโครงการโรงกลั่นน้ำมันในอนาคตของประเทศเวียดนามซึ่งจะทำให้มีประโยชน์ร่วมกันในการปฏิบัติงาน และอยู่ใกล้กับตลาดเวียดนามทางตอนใต้ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญ (เพียง 100 กิโลเมตรจาก โฮจิมินห์ซิตี้)นอกจากนี้คาดว่าโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญของเวียดนามหลายประเภท เช่น บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค และท่อพีวีซี (PVC Pipe) วัสดุขึ้นโครงทำกรอบในการก่อสร้าง(Profile) ผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิค และอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศเวียดนามเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการดังกล่าวข้างต้น ไม่เข้าข่ายที่จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ และไม่ใช่รายการที่เกี่ยวโยงกัน
บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) ขอเรียนให้ทราบว่า SCC ได้ลงนามในข้อตกลงการร่วมทุน (Joint Venture Agreement)กับผู้ร่วมทุนจากประเทศกาตาร์และประเทศเวียดนามในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกของประเทศเวียดนามมูลค่า4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะตัดสินใจลงทุนในปี 2556โดยการลงนามในข้อตกลงร่วมทุนดังกล่าวเป็นผลคืบหน้าจากการลงนามในกรอบความตกลง (Framework Agreement) ซึ่งSCC ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552
และการลงนามในข้อตกลงการลงทุนเมื่อเดือนมกราคม 2555 ที่ผ่านมาภายหลังจากการลงนามในข้อตกลงร่วมทุน และสรุปข้อตกลงด้านการเงินของโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4-5 ปีก็จะสามารถเริ่มผลิตในเชิงพาณิชย์ได้
การร่วมทุนในธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในประเทศเวียดนามในโครงการนี้นับเป็นการบุกเบิกอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มและสนับสนุนอุตสาหกรรมส่งออกของประเทศเวียดนาม ดังนั้น
จึงเป็นโครงการที่ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตในภูมิภาคอาเซียนของประเทศเวียดนาม
SCC ถือหุ้นในโครงการดังกล่าวร้อยละ 28 จากเดิมร้อยละ 53 ในขณะที่บริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 18 และพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญได้แก่ QPI Vietnam (บริษัทย่อยของบริษัท QatarPetroleum International) Vietnam Oil and Gas Group (PetroVietnam) และ Vietnam National Chemical Corporation (Vinachem)
นอกจากการลงนามในข้อตกลงการร่วมทุนดังกล่าวแล้ว Qatar International Petroleum Marketing Comp. Ltd. (TASWEEQ) Q.J.S.C. ซึ่งเป็นบริษัทด้านการตลาดของประเทศกาตาร์ ได้ลงนามในข้อตกลงในการจัดหาวัตถุดิบหลักได้แก่ โพรเพน (Propane) และ แนฟทา (Naphtha) ในระยะยาวให้แก่โครงการ ในขณะที่ PV GASซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ PetroVietnam ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding)ในการจัดหาก๊าซอีเทน (Ethane) ให้แก่โครงการด้วยเช่นกันซึ่งการมีวัตถุดิบหลักอย่างเพียงพอในระยะยาวนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของโครงการนี้ นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจรและการได้ประโยชน์จากการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale)
โครงการผลิตปิโตรเคมีครบวงจรดังกล่าวประกอบด้วย โรงงานผลิตโอเลฟินส์ขนาดกำลังการผลิต 1.4 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นที่ออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบหลักได้หลากหลายประเภท(Ethane, Propane และ Naphtha) รวมไปถึงโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลาย ได้แก่ VinylChloride Monomer (VCM), Polyethylene (PE) และ Polypropylene (PP)ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อป้อนตลาดภายในประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับความต้องการของประชากรประมาณ 90ล้านคนนอกจากนี้ยังมีบริการพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็น เช่น คลังวัตถุดิบและสินค้า ท่าเรือ โรงไฟฟ้า
และสาธารณูปโภคอื่นๆ อย่างครบครันอีกด้วย
โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและทันสมัย มีมาตรฐานด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมระดับสากล ผลิตภัณฑ์ของโครงการจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศเวียดนามและอาเซียน
โรงงานปิโตรเคมีแห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ที่เกาะ Long Son ในจังหวัด Ba Ria - Vung Tau
ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนามโดยจะอยู่ติดกับโครงการโรงกลั่นน้ำมันในอนาคตของประเทศเวียดนามซึ่งจะทำให้มีประโยชน์ร่วมกันในการปฏิบัติงาน และอยู่ใกล้กับตลาดเวียดนามทางตอนใต้ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญ (เพียง 100 กิโลเมตรจาก โฮจิมินห์ซิตี้)นอกจากนี้คาดว่าโครงการดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญของเวียดนามหลายประเภท เช่น บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค และท่อพีวีซี (PVC Pipe) วัสดุขึ้นโครงทำกรอบในการก่อสร้าง(Profile) ผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิค และอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศเวียดนามเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการดังกล่าวข้างต้น ไม่เข้าข่ายที่จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ และไม่ใช่รายการที่เกี่ยวโยงกัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 74
PTTEP's Bongkot South to Start producing Gas
February 10th, 2012 6:51pm
PTT Exploration and Production (PTTEP) will start producing gas in the Bongkot South block next week, three months earlier than expected, Bangkok Post reported Saturday.
The gas will be transported to Thailand via a national gas pipeline, with the first gas likely to come next week.
The company also plans to develop floating liquefied natural gas (FLNG) in Australia's Cash and Maple field near the Montara block.
FLNG is expected to see commercial production in 2016 with output of 2 million tonnes a year for the Thai market.
February 10th, 2012 6:51pm
PTT Exploration and Production (PTTEP) will start producing gas in the Bongkot South block next week, three months earlier than expected, Bangkok Post reported Saturday.
The gas will be transported to Thailand via a national gas pipeline, with the first gas likely to come next week.
The company also plans to develop floating liquefied natural gas (FLNG) in Australia's Cash and Maple field near the Montara block.
FLNG is expected to see commercial production in 2016 with output of 2 million tonnes a year for the Thai market.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 75
ข่าวฉบับเต็มครับ
PTTEP Bongkot South project moves ahead of schedule
Source - Bangkok Post (Eng), Saturday, February 11, 2012
PTT Exploration and Production Plc (PTTEP) will start production in the Gulf of Thailand’s Bongkot South block next week, three months earlier than expected.
Chief executive Anon Sirisaengtaksin said the gas will be transported to Thailand via a national gas pipeline at the rate of 320 million cubic feet per day, with the first gas likely to come next week.
Bongkot South is one of the three new-capacity petroleum production resources this year.
The other two are the Montara field off Australia and expansion of the KKD oil sands project in Canada.
PTTEP hopes to resume its Montara project off the northwestern coast of Australia in the third quarter, with production capacity of 35,000 barrels per day.
KKD will see its capacity raised to 20,000 bpd this year from 15,000 last year.
As well, the company will develop floating liquefied natural gas (FLNG) in Australia’s Cash and Maple field near the Montara block.
That plan is still in the development stage.
FLNG is expected to see commercial production in 2016 with output of 2 million tonnes a year for the Thai market.
Mr Anon said PTTEP expects to boost the volume of its petroleum production in 14 countries by 7% this year to 284,000 barrels of oil equivalent from 265,000 last year.
That figures will increase by 16.2% to 330,000 next year.
New capacity next year will be contributed mainly from the Zawtika (M9) block in Myanmar’s Martaban Sea at 300 million cfpd.
PTTEP expects output may increase to 400,000 barrels of oil equivalent a day in 2015 or 2016, boosted by gas production from the M3 project in Myanmar.
Production may climb to 500,000 barrels a day in 2016 if acquisition deals are concluded, said Mr Anon without giving details on acquisition targets.
The company has allocated US$20 billion for exploration and production worldwide from 2012-16 excluding excluding mergers and acquisitions.
PTTEP shares closed yesterday on the Stock Exchange of Thailand at 178.5o baht, down 3.50 baht, in heavy trade worth 1.05 billion baht.
PTTEP Bongkot South project moves ahead of schedule
Source - Bangkok Post (Eng), Saturday, February 11, 2012
PTT Exploration and Production Plc (PTTEP) will start production in the Gulf of Thailand’s Bongkot South block next week, three months earlier than expected.
Chief executive Anon Sirisaengtaksin said the gas will be transported to Thailand via a national gas pipeline at the rate of 320 million cubic feet per day, with the first gas likely to come next week.
Bongkot South is one of the three new-capacity petroleum production resources this year.
The other two are the Montara field off Australia and expansion of the KKD oil sands project in Canada.
PTTEP hopes to resume its Montara project off the northwestern coast of Australia in the third quarter, with production capacity of 35,000 barrels per day.
KKD will see its capacity raised to 20,000 bpd this year from 15,000 last year.
As well, the company will develop floating liquefied natural gas (FLNG) in Australia’s Cash and Maple field near the Montara block.
That plan is still in the development stage.
FLNG is expected to see commercial production in 2016 with output of 2 million tonnes a year for the Thai market.
Mr Anon said PTTEP expects to boost the volume of its petroleum production in 14 countries by 7% this year to 284,000 barrels of oil equivalent from 265,000 last year.
That figures will increase by 16.2% to 330,000 next year.
New capacity next year will be contributed mainly from the Zawtika (M9) block in Myanmar’s Martaban Sea at 300 million cfpd.
PTTEP expects output may increase to 400,000 barrels of oil equivalent a day in 2015 or 2016, boosted by gas production from the M3 project in Myanmar.
Production may climb to 500,000 barrels a day in 2016 if acquisition deals are concluded, said Mr Anon without giving details on acquisition targets.
The company has allocated US$20 billion for exploration and production worldwide from 2012-16 excluding excluding mergers and acquisitions.
PTTEP shares closed yesterday on the Stock Exchange of Thailand at 178.5o baht, down 3.50 baht, in heavy trade worth 1.05 billion baht.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 76
'อารักษ์'หนุนพลังงานเทงบซื้อไฮเทครุกเจาะก๊าซธรรมชาติ
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, February 11, 2012
รมต.ใหม่ "อารักษ์" ชูนโยบายพลังงาน หนุน "ปตท.สผ." ทุ่มลงทุนเทคโนโลยีไฮเทคสำรวจขุดเจาะรองรับตลาดก๊าซธรรมชาติ ศตวรรษที่ 21 บูม "อนนต์ สิริแสงทักษิณ"ปลาย ก.พ.นี้ทำสัญญาพม่าแหล่งใหม่ส่วนพี่ใหญ่ ปตท.จัดเต็มเรื่องงบประมาณปูพรมยึดตลาดไกลกว่าอาเซียน ควงซก อัน รองนายกฯกัมพูชา ไปชมแหล่งเอ็นจีวีในพื้นที่ทับซ้อน
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่ามีนโยบายเรื่องความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตซึ่งมีความสำคัญมากกับความคุ้มค่าการลงทุนขุดเจาะหาแหล่งวัตถุดิบขึ้นมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้ในศตวรรษที่ 21 นี้ ก๊าซธรรมชาติจะมีบทบาทสูงมาก (Age of Natural Gas)โดยเฉพาะก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)และที่ผ่านมาก็เป็นกลไกผลักดันเศรษฐกิจไทยทั้งทางด้านการผลิตไฟฟ้าและการขนส่ง ในภาพรวมปีที่ผ่านมาใช้เกินกว่าวันละ 1.90 ล้านบาร์เรลด้วยการสั่งนำเข้าจากต่างประเทศมากถึง 55% แหล่งผลิตในประเทศ44%
รัฐบาลจึงพร้อมสนับสนุนบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมของไทย ปัจจุบันมีทั้งหมดอยู่ 82 บล็อก แบ่งเป็นบนบก 43 บล็อก อ่าวไทย 36 บล็อกและในทะเลอันดามัน 3 บล็อก ขณะที่การใช้น้ำมันทั่วโลกเติบโตปีละ 1.1-1.5%ถือเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมขุดเจาะอย่างมาก
รวมถึงในการจัดงานประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 (IPTC 2011) สถาบันชั้นนำอย่างธนาคารโลก (The World Bank)สะท้อนการใช้พลังงานอีก 20 ปีหน้าตามคาดการณ์ปี 2573 ทั่วโลกต้องการเพิ่มขึ้นถึง 50% ประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกจะบริโภคน้ำมันและก๊าซมากที่สุด
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ปีนี้เล็งพื้นที่ศักยภาพใหม่ที่จะเข้าไปสำรวจในแถบแอฟริกา แต่ต้องศึกษาจากผู้ที่เคยเข้าไปลงทุนก่อนว่าเป็นอย่างไรและอเมริกาเหนือก็เช่นกัน ค่อนข้างซับซ้อนจึงต้องรอสัญญาณของทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานแถบนี้จะร้อนแรงขนาดไหน เพราะนโยบายของไทยขณะนี้มุ่งเน้นเข้าไปพัฒนาพื้นที่แล้วสามารถต่อยอดและเพิ่มมูลค่าได้
ส่วนในพม่า ปตท.สผ.เพิ่งได้แหล่งM9 วางแผนปี 2556 จะนำก๊าซธรรมชาติปริมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตขึ้นมาใช้ได้ตามสัญญาประมาณ 10 ปีล่าสุดได้เพิ่มอีกแปลงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้จะลงนามสัญญา ส่วนในกัมพูชามีแผนเจาะหลุมเพิ่ม แต่บริษัทที่ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันแล้วคือ เครือเชฟรอน จึงต้องรอข้อสรุปของ ปตท.อีกครั้งจะรับซื้อ 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่
"ปตท.สผ.ได้ใช้เวทีการจัดงาน IPCT 2011 ปีนี้ทำต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 มีผู้เข้าร่วมจาก 57 ประเทศ 400 บริษัทกว่า 3,000 คน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านเทคโนโลยีการขุดเจาะสมัยใหม่กันอย่างจริงจังเนื่องจากปัจจุบันแหล่งผลิตมีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น"
ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ได้จัดสรรงบฯลงทุนของ ปตท.แบ่งให้ ปตท.สผ. 50% ซึ่งบ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับธุรกิจการสำรวจและขุดเจาะ โดยวางอนาคตไปไกลกว่าอาเซียนแล้ว ต้องเร่งหาปริมาณน้ำมันตอบสนองความต้องการใช้ การพัฒนาแหล่งผลิตกำลังศึกษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า กัมพูชา รวมทั้งติมอร์ฯ
สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำมันในกัมพูชานั้น จะเป็นแหล่งตลาดก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวีได้เป็นอย่างดี ล่าสุดไทยได้หารือกับนายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งตอบรับเข้าร่วมงานIPCT 2011 ด้วย โดยนำคณะของกัมพูชาเข้าชมศักยภาพการผลิตน้ำมันในไทยและไปเขตมาบตาพุด เพื่อเจรจาการใช้ประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนต่อไป เพราะตอนนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเริ่มดีขึ้นตามลำดับ
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 ก.พ. 2555--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, February 11, 2012
รมต.ใหม่ "อารักษ์" ชูนโยบายพลังงาน หนุน "ปตท.สผ." ทุ่มลงทุนเทคโนโลยีไฮเทคสำรวจขุดเจาะรองรับตลาดก๊าซธรรมชาติ ศตวรรษที่ 21 บูม "อนนต์ สิริแสงทักษิณ"ปลาย ก.พ.นี้ทำสัญญาพม่าแหล่งใหม่ส่วนพี่ใหญ่ ปตท.จัดเต็มเรื่องงบประมาณปูพรมยึดตลาดไกลกว่าอาเซียน ควงซก อัน รองนายกฯกัมพูชา ไปชมแหล่งเอ็นจีวีในพื้นที่ทับซ้อน
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่ามีนโยบายเรื่องความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตซึ่งมีความสำคัญมากกับความคุ้มค่าการลงทุนขุดเจาะหาแหล่งวัตถุดิบขึ้นมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้ในศตวรรษที่ 21 นี้ ก๊าซธรรมชาติจะมีบทบาทสูงมาก (Age of Natural Gas)โดยเฉพาะก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)และที่ผ่านมาก็เป็นกลไกผลักดันเศรษฐกิจไทยทั้งทางด้านการผลิตไฟฟ้าและการขนส่ง ในภาพรวมปีที่ผ่านมาใช้เกินกว่าวันละ 1.90 ล้านบาร์เรลด้วยการสั่งนำเข้าจากต่างประเทศมากถึง 55% แหล่งผลิตในประเทศ44%
รัฐบาลจึงพร้อมสนับสนุนบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ซึ่งเป็นผู้นำธุรกิจสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมของไทย ปัจจุบันมีทั้งหมดอยู่ 82 บล็อก แบ่งเป็นบนบก 43 บล็อก อ่าวไทย 36 บล็อกและในทะเลอันดามัน 3 บล็อก ขณะที่การใช้น้ำมันทั่วโลกเติบโตปีละ 1.1-1.5%ถือเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมขุดเจาะอย่างมาก
รวมถึงในการจัดงานประชุมเทคโนโลยีปิโตรเลียมนานาชาติ 2011 (IPTC 2011) สถาบันชั้นนำอย่างธนาคารโลก (The World Bank)สะท้อนการใช้พลังงานอีก 20 ปีหน้าตามคาดการณ์ปี 2573 ทั่วโลกต้องการเพิ่มขึ้นถึง 50% ประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกจะบริโภคน้ำมันและก๊าซมากที่สุด
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ปีนี้เล็งพื้นที่ศักยภาพใหม่ที่จะเข้าไปสำรวจในแถบแอฟริกา แต่ต้องศึกษาจากผู้ที่เคยเข้าไปลงทุนก่อนว่าเป็นอย่างไรและอเมริกาเหนือก็เช่นกัน ค่อนข้างซับซ้อนจึงต้องรอสัญญาณของทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานแถบนี้จะร้อนแรงขนาดไหน เพราะนโยบายของไทยขณะนี้มุ่งเน้นเข้าไปพัฒนาพื้นที่แล้วสามารถต่อยอดและเพิ่มมูลค่าได้
ส่วนในพม่า ปตท.สผ.เพิ่งได้แหล่งM9 วางแผนปี 2556 จะนำก๊าซธรรมชาติปริมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตขึ้นมาใช้ได้ตามสัญญาประมาณ 10 ปีล่าสุดได้เพิ่มอีกแปลงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้จะลงนามสัญญา ส่วนในกัมพูชามีแผนเจาะหลุมเพิ่ม แต่บริษัทที่ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันแล้วคือ เครือเชฟรอน จึงต้องรอข้อสรุปของ ปตท.อีกครั้งจะรับซื้อ 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่
"ปตท.สผ.ได้ใช้เวทีการจัดงาน IPCT 2011 ปีนี้ทำต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 มีผู้เข้าร่วมจาก 57 ประเทศ 400 บริษัทกว่า 3,000 คน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านเทคโนโลยีการขุดเจาะสมัยใหม่กันอย่างจริงจังเนื่องจากปัจจุบันแหล่งผลิตมีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น"
ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ได้จัดสรรงบฯลงทุนของ ปตท.แบ่งให้ ปตท.สผ. 50% ซึ่งบ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับธุรกิจการสำรวจและขุดเจาะ โดยวางอนาคตไปไกลกว่าอาเซียนแล้ว ต้องเร่งหาปริมาณน้ำมันตอบสนองความต้องการใช้ การพัฒนาแหล่งผลิตกำลังศึกษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า กัมพูชา รวมทั้งติมอร์ฯ
สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำมันในกัมพูชานั้น จะเป็นแหล่งตลาดก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวีได้เป็นอย่างดี ล่าสุดไทยได้หารือกับนายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งตอบรับเข้าร่วมงานIPCT 2011 ด้วย โดยนำคณะของกัมพูชาเข้าชมศักยภาพการผลิตน้ำมันในไทยและไปเขตมาบตาพุด เพื่อเจรจาการใช้ประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนต่อไป เพราะตอนนี้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเริ่มดีขึ้นตามลำดับ
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 - 15 ก.พ. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 77
ปตท.สผ.ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิต3เท่าปี 63
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, February 13, 2012
วางกลยุทธ์"ควบรวม-ซื้อกิจการ-หาพันธมิตร"ดันโตตามเป้า
ปตท.สผ. วางกลยุทธ์ควบรวม-ซื้อกิจการ หวังเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 900,000 บาร์เรลต่อวัน ในปี 2563 โฟกัสภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-อเมริกาเหนือ-ออสเตรเลียพร้อมเร่งเจาะสำรวจแหล่ง M3 ในพม่า คาดรู้ผลปีนี้ ระบุพร้อมเดินหน้าลงทุนโรงแยกก๊าซ-โรงไฟฟ้าในพม่ารองรับหากพบศักยภาพสูง ขณะแหล่งบงกชใต้ผลิตเชิงพาณิชย์เดือนมี.ค. นี้ เร็วกว่ากำหนด 4 เดือน
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่าปตท.สผ.ตั้งเป้าจะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ 900,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2563 จากปัจจุบันประมาณ 304,000ฃ บาร์เรลต่อวัน โดยกลยุทธ์หลักคือการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ ( M& A ) และการหาพันธมิตร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจนี้ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและกระจายความเสี่ยง
หลายคนห่วงเรื่องเป้าหมายนี้ของปตท.สผ. เพราะต้องใช้เงินมหาศาลและเสี่ยง แต่เราก็มีโอกาสทำได้ภายใต้การวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และการดูโอกาสในการ M&A และความเหมาะสม นั่นคือ ต้องสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และขยายงานดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่มุ่งแต่เป้าหมายแล้วทำให้ได้ของแพง หรือผลตอบแทนลดลง
นายอนนต์ กล่าวการหาพันธมิตรนั้น ปตท.สผ.ยังได้รับความสนใจจากพันธมิตร เพราะหลายบริษัทให้ความสำคัญกับศักยภาพของตลาดเอเชีย โดยผ่านปตท.สผ. รวมถึงจุดเด่นของปตท.สผ.ที่เข้าไปพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในสหภาพพม่ามาหลายปี
เขามั่นใจว่าการเพิ่มกำลังการผลิตมาอยู่ในระดับ 400,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงปี 2558-2559 นั้น สามารถทำได้แน่จากโครงการลงทุนที่กำลังเห็นผล ได้แก่ แหล่ง M 9 , M 3 ในสหภาพพม่า โครงการมอนทารา ในออสเตรเลีย และโครงการบงกชใต้ในอ่าวไทย รวมถึงโครงการในแอลจีเรีย
ในเดือนมี.ค. 2555 จะสามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์ในแหล่งบงกชใต้ ซึ่งเร็วกว่าแผนที่จะผลิตในกลางปี 2555 โดยกำลังผลิตที่ประมาณ 320 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน
ขณะที่แหล่ง M 9 นั้นจะผลิตและต่อท่อส่งก๊าซธรรมชาติมาใช้ในฝั่งไทยในปีหน้า กำลังผลิต 240 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และอีก 60 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน จะไปใช้ในสหภาพพม่า ส่วนแหล่งซอติกานั้น งานก่อสร้างความคืบหน้าต่อเนื่อง คาดว่าจะผลิตได้ในปลายปี 2556
ส่วนในแหล่ง M 3 ในปีนี้จะเจาะสำรวจ 2 หลุม คาดว่าจะสามารถทราบศักยภาพได้ภายในปีนี้ และหากพบศักยภาพจะเสนอแพ็คเกจการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ เพื่อป้อนเมืองย่างกุ้ง ซึ่งมีการเติบโตสูง
ขณะที่แปลง M 11 ในบริเวณน้ำลึกนั้นปีนี้จะดำเนินการเจาะสำรวจ 1 หลุม โดยมีความเป็นไปได้ที่จะพบศักยภาพปิโตรเลียมในแหล่งดังกล่าว ส่วน 2 แปลงบนบกที่ ปตท.สผ. ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลพม่าเมื่อเร็วนี้ จะมีการลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนก.พ. นี้ และตามข้อผูกพันนั้นจะต้องเร่งสำรวจให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี
เขากล่าวถึงโครงการในมอนทารา ในออสเตรเลียนั้นว่า จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังมากขึ้น หลังจากรัฐบาลของออสเตรเลียกำกับควบคุมอย่างใกล้ชิดภายหลังเกิดอุบัติเหตุ ทำให้น้ำมันรั่วไหล แต่คาดว่าจะผลิตได้ในไตรมาส 3 ของปีนี้ ส่วนโครงการแคช เมเปิล ในออสเตรเลีย ถือเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ซึ่งจะสามารถประเมินได้ในไตรมาส 3 4 ของปีนี้ นอกจากนี้ปตท.สผ.ยังถือสัมปทานในแหล่งปิโตรเลียมในออสเตรเลียอีก 20 สัญญา ที่มีแผนจะเข้าไปสำรวจอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดการใช้แอลเอ็นจีเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในไทย ที่คาดว่าจะขยายตัว 4-5 % ต่อปี ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า
สำหรับแปลง 16-1 ในเวียดนามนั้น คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในปีนี้ที่ประมาณ 35,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศยังคงพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแปลงบนบกอย่าง แหล่งสิริกิติ์ หรือ S1 นั้นยังคงผลิตได้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเพิ่มจาก 25,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 30,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2556 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างลงทุนขยายคอขวดในหลายจุดเพื่อให้ผลิตได้มากขึ้น
ส่วนโครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ในแคนาดานั้น ได้เริ่มการผลิตในเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อปีที่ผ่านมา โดยมีการผลิตเริ่มต้น 20,000 บาร์เรลต่อวัน คาดว่าจะเพิ่มได้เป็น 80,000 บาร์เรลต่อวัน ในปี 2558 ซึ่งขณะนี้ ปตท.สผ.กำลังเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิต เพื่อสร้างโอกาสการลงทุนในอนาคต
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, February 13, 2012
วางกลยุทธ์"ควบรวม-ซื้อกิจการ-หาพันธมิตร"ดันโตตามเป้า
ปตท.สผ. วางกลยุทธ์ควบรวม-ซื้อกิจการ หวังเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 900,000 บาร์เรลต่อวัน ในปี 2563 โฟกัสภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-อเมริกาเหนือ-ออสเตรเลียพร้อมเร่งเจาะสำรวจแหล่ง M3 ในพม่า คาดรู้ผลปีนี้ ระบุพร้อมเดินหน้าลงทุนโรงแยกก๊าซ-โรงไฟฟ้าในพม่ารองรับหากพบศักยภาพสูง ขณะแหล่งบงกชใต้ผลิตเชิงพาณิชย์เดือนมี.ค. นี้ เร็วกว่ากำหนด 4 เดือน
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่าปตท.สผ.ตั้งเป้าจะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ 900,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2563 จากปัจจุบันประมาณ 304,000ฃ บาร์เรลต่อวัน โดยกลยุทธ์หลักคือการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ ( M& A ) และการหาพันธมิตร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจนี้ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและกระจายความเสี่ยง
หลายคนห่วงเรื่องเป้าหมายนี้ของปตท.สผ. เพราะต้องใช้เงินมหาศาลและเสี่ยง แต่เราก็มีโอกาสทำได้ภายใต้การวางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และการดูโอกาสในการ M&A และความเหมาะสม นั่นคือ ต้องสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และขยายงานดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่มุ่งแต่เป้าหมายแล้วทำให้ได้ของแพง หรือผลตอบแทนลดลง
นายอนนต์ กล่าวการหาพันธมิตรนั้น ปตท.สผ.ยังได้รับความสนใจจากพันธมิตร เพราะหลายบริษัทให้ความสำคัญกับศักยภาพของตลาดเอเชีย โดยผ่านปตท.สผ. รวมถึงจุดเด่นของปตท.สผ.ที่เข้าไปพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในสหภาพพม่ามาหลายปี
เขามั่นใจว่าการเพิ่มกำลังการผลิตมาอยู่ในระดับ 400,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงปี 2558-2559 นั้น สามารถทำได้แน่จากโครงการลงทุนที่กำลังเห็นผล ได้แก่ แหล่ง M 9 , M 3 ในสหภาพพม่า โครงการมอนทารา ในออสเตรเลีย และโครงการบงกชใต้ในอ่าวไทย รวมถึงโครงการในแอลจีเรีย
ในเดือนมี.ค. 2555 จะสามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์ในแหล่งบงกชใต้ ซึ่งเร็วกว่าแผนที่จะผลิตในกลางปี 2555 โดยกำลังผลิตที่ประมาณ 320 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน
ขณะที่แหล่ง M 9 นั้นจะผลิตและต่อท่อส่งก๊าซธรรมชาติมาใช้ในฝั่งไทยในปีหน้า กำลังผลิต 240 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และอีก 60 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน จะไปใช้ในสหภาพพม่า ส่วนแหล่งซอติกานั้น งานก่อสร้างความคืบหน้าต่อเนื่อง คาดว่าจะผลิตได้ในปลายปี 2556
ส่วนในแหล่ง M 3 ในปีนี้จะเจาะสำรวจ 2 หลุม คาดว่าจะสามารถทราบศักยภาพได้ภายในปีนี้ และหากพบศักยภาพจะเสนอแพ็คเกจการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ เพื่อป้อนเมืองย่างกุ้ง ซึ่งมีการเติบโตสูง
ขณะที่แปลง M 11 ในบริเวณน้ำลึกนั้นปีนี้จะดำเนินการเจาะสำรวจ 1 หลุม โดยมีความเป็นไปได้ที่จะพบศักยภาพปิโตรเลียมในแหล่งดังกล่าว ส่วน 2 แปลงบนบกที่ ปตท.สผ. ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลพม่าเมื่อเร็วนี้ จะมีการลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนก.พ. นี้ และตามข้อผูกพันนั้นจะต้องเร่งสำรวจให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี
เขากล่าวถึงโครงการในมอนทารา ในออสเตรเลียนั้นว่า จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังมากขึ้น หลังจากรัฐบาลของออสเตรเลียกำกับควบคุมอย่างใกล้ชิดภายหลังเกิดอุบัติเหตุ ทำให้น้ำมันรั่วไหล แต่คาดว่าจะผลิตได้ในไตรมาส 3 ของปีนี้ ส่วนโครงการแคช เมเปิล ในออสเตรเลีย ถือเป็นแหล่งที่มีศักยภาพในการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ซึ่งจะสามารถประเมินได้ในไตรมาส 3 4 ของปีนี้ นอกจากนี้ปตท.สผ.ยังถือสัมปทานในแหล่งปิโตรเลียมในออสเตรเลียอีก 20 สัญญา ที่มีแผนจะเข้าไปสำรวจอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดการใช้แอลเอ็นจีเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในไทย ที่คาดว่าจะขยายตัว 4-5 % ต่อปี ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า
สำหรับแปลง 16-1 ในเวียดนามนั้น คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในปีนี้ที่ประมาณ 35,000 บาร์เรลต่อวัน ขณะที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศยังคงพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแปลงบนบกอย่าง แหล่งสิริกิติ์ หรือ S1 นั้นยังคงผลิตได้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะเพิ่มจาก 25,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 30,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2556 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างลงทุนขยายคอขวดในหลายจุดเพื่อให้ผลิตได้มากขึ้น
ส่วนโครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ในแคนาดานั้น ได้เริ่มการผลิตในเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อปีที่ผ่านมา โดยมีการผลิตเริ่มต้น 20,000 บาร์เรลต่อวัน คาดว่าจะเพิ่มได้เป็น 80,000 บาร์เรลต่อวัน ในปี 2558 ซึ่งขณะนี้ ปตท.สผ.กำลังเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิต เพื่อสร้างโอกาสการลงทุนในอนาคต
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 78
PTT เล็งลงทุนเวียดนามต่อเนื่อง หาโอกาสขายน้ำมันเครื่อง-ปิโตรเคมี
นสพ.ข่าวหุ้น, วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 15:53:47 น.
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า บริษัทยืนยันว่ายังไม่ถอนการลงทุนจากเวียดนาม แม้ว่าธุรกิจ LPG จะไม่เติบโตเหมือนในอดีตที่ ปตท.เคยเป็นผู้ส่งออก LPG รายใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันความต้องการในประเทศสูง
ทั้งนี้ PTT ยังเห็นว่าบริษัทที่ร่วมทุนกับประเทศเวียดนามยังคงมีโอกาสเติบโตกับการต่อยอดกับผลิตภัณฑ์อื่นๆของ ปตท.เข้าไปในเวียดนาม ทั้งน้ำมันหล่อลื่น ปิโตรเคมี หรือ หากโอกาสเปิดรัฐบาลอาจจะอนุญาตให้ทำธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ปตท.ก็สนใจเข้าไปลงทุน
สำหรับแนวคิดที่บริษัท เวียดนาม แอลพีจี จำกัด (เป็นบริษัทที่ PTT ร่วมทุน) จะเข้าตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ก็เชื่อว่าจะกระจายหุ้นในสัดส่วน 20-25% ของทุนจดทะเบียน จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อ ปตท.
สำหรับราคาน้ำมันในประเทศยังมีโอกาสจะปรับขึ้นอีก เนื่องจากราคาในตลาดโลกมีการปรับขึ้นแต่คงต้องรอดูในช่วงกลางสัปดาห์อีกครั้ง โดยปัจจุบันค่าการตลาดอยู่ในระดับเฉลี่ย 1.10-1.20 บาท/ลิตร และในกลุ่มเบนซินอาจจะมีการปรับขึ้น 2 ครั้ง เพราะวันที่ 16 ก.พ.จะมีการเรียกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันอีก 1 บาท ส่วนการปรับราคา NGV และ LPG ขึ้น 0.50 บาท/กก.ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำ และเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันเบนซิน ยังถือว่าถูกกว่ามาก
นสพ.ข่าวหุ้น, วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 15:53:47 น.
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า บริษัทยืนยันว่ายังไม่ถอนการลงทุนจากเวียดนาม แม้ว่าธุรกิจ LPG จะไม่เติบโตเหมือนในอดีตที่ ปตท.เคยเป็นผู้ส่งออก LPG รายใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันความต้องการในประเทศสูง
ทั้งนี้ PTT ยังเห็นว่าบริษัทที่ร่วมทุนกับประเทศเวียดนามยังคงมีโอกาสเติบโตกับการต่อยอดกับผลิตภัณฑ์อื่นๆของ ปตท.เข้าไปในเวียดนาม ทั้งน้ำมันหล่อลื่น ปิโตรเคมี หรือ หากโอกาสเปิดรัฐบาลอาจจะอนุญาตให้ทำธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ปตท.ก็สนใจเข้าไปลงทุน
สำหรับแนวคิดที่บริษัท เวียดนาม แอลพีจี จำกัด (เป็นบริษัทที่ PTT ร่วมทุน) จะเข้าตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ก็เชื่อว่าจะกระจายหุ้นในสัดส่วน 20-25% ของทุนจดทะเบียน จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อ ปตท.
สำหรับราคาน้ำมันในประเทศยังมีโอกาสจะปรับขึ้นอีก เนื่องจากราคาในตลาดโลกมีการปรับขึ้นแต่คงต้องรอดูในช่วงกลางสัปดาห์อีกครั้ง โดยปัจจุบันค่าการตลาดอยู่ในระดับเฉลี่ย 1.10-1.20 บาท/ลิตร และในกลุ่มเบนซินอาจจะมีการปรับขึ้น 2 ครั้ง เพราะวันที่ 16 ก.พ.จะมีการเรียกเก็บเข้ากองทุนน้ำมันอีก 1 บาท ส่วนการปรับราคา NGV และ LPG ขึ้น 0.50 บาท/กก.ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำ และเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันเบนซิน ยังถือว่าถูกกว่ามาก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 79
ปตท.ถือหุ้นVLPGต่อหวังใช้ฐานต่อยอดธุรกิจ
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, February 14, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.ยันจับมือปิโตรเวียดนามทำธุรกิจก๊าซหุงต้มในเวียดนามต่อไป มองใช้เป็นฐานรุกธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นปิโตรเคมีในเวียดนาม หลังก่อนหน้านี้ลังเลจะขายหุ้นในบริษัทเวียดนามแอลพีจีที่ถืออยู่ 45%ออกไป ชี้สัปดาห์นี้ส่อปรับขึ้นราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน 2 รอบจากการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ 1 บาท/ลิตรและราคาน้ำมันโลกสูงขึ้น
นายสรัญ รังคศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าธุรกิจก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)ในเวียดนามว่า ขณะนี้บริษัทปิโตรเวียดนาม ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมทุนในบริษัท เวียดนามแอลพีจี จำกัด(VLPG) มีความประสงค์ต้องการให้ ปตท.ยังคงถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวอยู่ ไม่ต้องการให้ถอนการลงทุนออกไปทำให้บริษัทฯต้องพิจารณาใหม่ว่ายังคงร่วมทุนในบริษัท เวียดนามแอลพีจีต่อไปเนื่องจาก ปตท.จะใช้เป็นฐานในการรุกธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเครื่องปิโตรเคมีในเวียดนาม รวมไปถึงการรุกเปิดสถานีบริการน้ำมันในเวียดนามด้วย หากรัฐบาลเวียดนามอนุญาตให้ต่างชาติเข้าไปทำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันได้
อย่างไรก็ตาม ทางปิโตรเวียดนามมีแผนจะนำบ ริษัทเวียดนามแอลพีจีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามโดยจะจัดสรรหุ้นขายให้ประชาชนทั่วไปประมาณ 20-25% ซึ่งเม็ดเงินที่ได้จากการขายหุ้นก็นำมาสร้างคลังและเครื่องจักรที่โรงบรรจุก๊าซฯเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มยอดจัดจำหน่ายแอลพีจี สนองความต้องการของประชาชนที่มีความต้องการใช้แอลพีจีเพิ่มสูงขึ้น
ก่อนหน้านี้ ปตท.มีแผนที่จะขอซื้อหุ้นทั้งหมดในบ ริษัทเวียดนามแอลพีจีจากปิโต รเวียดนามที่ถือหุ้นใหญ่อยู่ 55%หากการเจรจาไม่ประสบความสำเร็จก็อาจจะขายหุ้นในมือทั้งหมดออกไป หลังจากนั้นจะรุกธุรกิจแอลพีจีในเวียดนามอย่างเต็มรูปแบบโดยถือหุ้น 100% ภายใต้แบรนด์ ปตท.เอง เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจแอลพีจีที่ร่วมทุนในเวียดนามนั้นไม่ได้มีการเติบโตเหมือนในอดีต ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพาร์ตเนอร์เองก็ดำเนินธุรกิจนี้เหมือนกันอีกบริษัทหนึ่งด้วย
นายสรัล กล่าวต่อไปว่า ในวันที่ 16 ก.พ.นี้ ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) รอบ 2 จะปรับขึ้นกิโลกรัมละ 50 สตางค์และก๊าซแอลพีจีสำหรับรถยนต์จะปรับขึ้นอีก 75 สตางค์/กิโลกรัม นั้นเชื่อว่าจะไม่มีผลทำให้ยอดการใช้ก๊าซ NGV และ LPG ลดลงเนื่องจากราคาก๊าซฯที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้นไม่มาก และราคาถูกมากเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายอยู่ ซึ่งปัจจุบันราคาNGV อยู่ที่ 9 บาทต่อกิโลกรัม และ LPG สำหรับรถยนต์อยู่ที่ 11.50 บาทต่อกิโลกรัมโดยยอมรับว่าขณะนี้ราคาแอลพีจีในตลาดโลกได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 1,000 กว่าเหรียญสหรัฐ ทำให้ภาครัฐต้องชดเชยส่วนต่างราคานำเข้าแอลพีจีในอัตราที่สูง หากไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างราคาพลังงานเชื่อว่าในระยะยาวจะเป็นภาระให้แก่ประเทศ
ปิดซ่อมแหล่งก๊าซสินภูฮ่อม
นายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งก๊าซสินภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานี กำหนดจะปิดซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ระหว่างวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ 2555 นั้น ปตท.มีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการสถานีจ่ายก๊าซหลัก อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นการชั่วคราวในช่วงเวลาดังกล่าว โดย ปตท. ได้เตรียมความพร้อมรองรับฯ ด้วยการเพิ่มกำลังการจ่ายก๊าซธรรมชาติจากสถานีจ่ายก๊าซหลัก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และ จัดสรรก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นมาให้บริการแก่สถานีนอกแนวท่อส่งก๊าซฯ (สถานีลูก) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดแทนปริมาณก๊าซธรรมชาติบางส่วนที่ลดลง เพื่อให้ผู้ใช้รถ NGV ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งสถานีจ่ายก๊าซหลัก อำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่น จะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, February 14, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.ยันจับมือปิโตรเวียดนามทำธุรกิจก๊าซหุงต้มในเวียดนามต่อไป มองใช้เป็นฐานรุกธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นปิโตรเคมีในเวียดนาม หลังก่อนหน้านี้ลังเลจะขายหุ้นในบริษัทเวียดนามแอลพีจีที่ถืออยู่ 45%ออกไป ชี้สัปดาห์นี้ส่อปรับขึ้นราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน 2 รอบจากการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ 1 บาท/ลิตรและราคาน้ำมันโลกสูงขึ้น
นายสรัญ รังคศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าธุรกิจก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)ในเวียดนามว่า ขณะนี้บริษัทปิโตรเวียดนาม ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมทุนในบริษัท เวียดนามแอลพีจี จำกัด(VLPG) มีความประสงค์ต้องการให้ ปตท.ยังคงถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวอยู่ ไม่ต้องการให้ถอนการลงทุนออกไปทำให้บริษัทฯต้องพิจารณาใหม่ว่ายังคงร่วมทุนในบริษัท เวียดนามแอลพีจีต่อไปเนื่องจาก ปตท.จะใช้เป็นฐานในการรุกธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเครื่องปิโตรเคมีในเวียดนาม รวมไปถึงการรุกเปิดสถานีบริการน้ำมันในเวียดนามด้วย หากรัฐบาลเวียดนามอนุญาตให้ต่างชาติเข้าไปทำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันได้
อย่างไรก็ตาม ทางปิโตรเวียดนามมีแผนจะนำบ ริษัทเวียดนามแอลพีจีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามโดยจะจัดสรรหุ้นขายให้ประชาชนทั่วไปประมาณ 20-25% ซึ่งเม็ดเงินที่ได้จากการขายหุ้นก็นำมาสร้างคลังและเครื่องจักรที่โรงบรรจุก๊าซฯเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มยอดจัดจำหน่ายแอลพีจี สนองความต้องการของประชาชนที่มีความต้องการใช้แอลพีจีเพิ่มสูงขึ้น
ก่อนหน้านี้ ปตท.มีแผนที่จะขอซื้อหุ้นทั้งหมดในบ ริษัทเวียดนามแอลพีจีจากปิโต รเวียดนามที่ถือหุ้นใหญ่อยู่ 55%หากการเจรจาไม่ประสบความสำเร็จก็อาจจะขายหุ้นในมือทั้งหมดออกไป หลังจากนั้นจะรุกธุรกิจแอลพีจีในเวียดนามอย่างเต็มรูปแบบโดยถือหุ้น 100% ภายใต้แบรนด์ ปตท.เอง เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจแอลพีจีที่ร่วมทุนในเวียดนามนั้นไม่ได้มีการเติบโตเหมือนในอดีต ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพาร์ตเนอร์เองก็ดำเนินธุรกิจนี้เหมือนกันอีกบริษัทหนึ่งด้วย
นายสรัล กล่าวต่อไปว่า ในวันที่ 16 ก.พ.นี้ ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) รอบ 2 จะปรับขึ้นกิโลกรัมละ 50 สตางค์และก๊าซแอลพีจีสำหรับรถยนต์จะปรับขึ้นอีก 75 สตางค์/กิโลกรัม นั้นเชื่อว่าจะไม่มีผลทำให้ยอดการใช้ก๊าซ NGV และ LPG ลดลงเนื่องจากราคาก๊าซฯที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้นไม่มาก และราคาถูกมากเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายอยู่ ซึ่งปัจจุบันราคาNGV อยู่ที่ 9 บาทต่อกิโลกรัม และ LPG สำหรับรถยนต์อยู่ที่ 11.50 บาทต่อกิโลกรัมโดยยอมรับว่าขณะนี้ราคาแอลพีจีในตลาดโลกได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 1,000 กว่าเหรียญสหรัฐ ทำให้ภาครัฐต้องชดเชยส่วนต่างราคานำเข้าแอลพีจีในอัตราที่สูง หากไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างราคาพลังงานเชื่อว่าในระยะยาวจะเป็นภาระให้แก่ประเทศ
ปิดซ่อมแหล่งก๊าซสินภูฮ่อม
นายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งก๊าซสินภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานี กำหนดจะปิดซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ระหว่างวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ 2555 นั้น ปตท.มีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการสถานีจ่ายก๊าซหลัก อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นการชั่วคราวในช่วงเวลาดังกล่าว โดย ปตท. ได้เตรียมความพร้อมรองรับฯ ด้วยการเพิ่มกำลังการจ่ายก๊าซธรรมชาติจากสถานีจ่ายก๊าซหลัก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และ จัดสรรก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นมาให้บริการแก่สถานีนอกแนวท่อส่งก๊าซฯ (สถานีลูก) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดแทนปริมาณก๊าซธรรมชาติบางส่วนที่ลดลง เพื่อให้ผู้ใช้รถ NGV ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งสถานีจ่ายก๊าซหลัก อำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่น จะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 80
ราชบุรีเท8พันล.ลุยพลังงานทดแทน
Source -ไทยโพสต์ (Th), Wednesday, February 15, 2012
ราชบุรี ทุ่ม 8,000 ล้าน พัฒนาโครงการพลังงานทดแทนและธุรกิจต่อเนื่อง พร้อมเตรียมลุยพม่า ระบุมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้านพนักงานระยองเพียวยื่นหนังสือถึง ปตท.-พลังงาน ขีดเส้น 2 สัปดาห์หากไม่คืบฟ้องศาลปกครอง
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี
โฮลดิ้ง (RATCH) ในปี 2555 จะลงทุนอีก 8 ,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการของบริษัทที่มีอยู่แล้วจำนวน 13 โครงการ ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน และจะลงทุนในโครงการใหม่ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะเน้นการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ส่วนต่างประเทศมีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ และต้องพัฒนาระบบไฟฟ้าที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และครัวเรือน
“ภายในไตรมาสที่ 1/2555 จะมีความชัดเจนถึงแผนการลงทุนในอาเซียน ซึ่งบริษัทมองว่าประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าคือ พม่า ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาประเทศ หลายเมืองต้องการไฟฟ้า เช่น เมืองเนปีดอว์ และย่างกุ้ง โดยพม่ามีประชากรมากถึง 70 ล้านคน ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้ายังเติบโตได้อีกมาก หากมีโครงการไหนที่ บมจ.ปตท.(PTT) สนใจและต้องการพันธมิตร บริษัทก็พร้อมจะร่วมโครงการ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายโครงการที่ถือหุ้นร่วมกัน” นายนพพล กล่าว
สำหรับธุรกิจพลังงานทดแทนบริษัทมีกำลังผลิต 100 เมกะวัตต์ ณ สิ้นปี 2554 และในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 60 เมกะวัตต์ จากโซลาร์ฟาร์ม และบริษัทยังสนใจการประมูลใบอนุญาตตั้งโรงไฟฟ้า IPP ในประเทศ ซึ่งบริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าประมูลรอบใหม่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 นี้ บริษัทมีแผนระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้วงเงินราว 500 ล้านเหรียญสหรัฐ อาจจะเสนอขายเป็นล็อต หรือออกพร้อมกันในคราวเดียว ส่วนหนึ่งเพื่อต้องการลดต้นทุนทางการเงินที่ปัจจุบันอยู่ที่ 5% เชื่อว่าจะทำให้ต้นทุนอัตราดอกเบี้ยลดลง ส่วนช่วงเวลาในการเสนอขายหุ้นกู้คงต้องดูความเหมาะสมอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. นางสาวไอลดา รัตนวันทา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บมจ.ระยองเพียวริฟายเออร์ เป็นตัวแทนพนักงานยื่นหนังสือต่อถึงกระทรวงพลังงาน และผู้บริหาร บมจ.ปตท. กรณีที่ ปตท.หยุดส่งวัตถุดิบคอนเดนเสทเรสซิดิวให้กับระยองเพียวฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2555 ส่งผลให้พนักงานกว่า 300 คน และครอบครัวต้องตกงาน โดยมีผู้อำนวยการสำนักประสานการมีส่วนร่วมภาคประชาชน กระทรวงพลังงาน เป็นตัวแทนรับหนังสือ
นางสาวไอลดากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการตีความที่ต่างกัน เพราะสัญญานี้เป็นการทำในลักษณะสัญญาต่างตอบแทน ผูกพันระยะยาวแบบไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด (Evergreen Basis) ที่บริษัท ระยองเพียวฯ จะรับวัตถุดิบจาก ปตท.100% จึงทำให้โรงกลั่นของระยองเพียวฯ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับวัตถุดิบจากบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (พีทีทีเออาร์-เดิม) เท่านั้น ซึ่งจะรอดูผลใน 2 สัปดาห์หากไม่คืบหน้าจะกำหนดท่าทีอีกครั้งและอาจจะฟ้องศาลปกครอง.
จบ--
Source -ไทยโพสต์ (Th), Wednesday, February 15, 2012
ราชบุรี ทุ่ม 8,000 ล้าน พัฒนาโครงการพลังงานทดแทนและธุรกิจต่อเนื่อง พร้อมเตรียมลุยพม่า ระบุมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้านพนักงานระยองเพียวยื่นหนังสือถึง ปตท.-พลังงาน ขีดเส้น 2 สัปดาห์หากไม่คืบฟ้องศาลปกครอง
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี
โฮลดิ้ง (RATCH) ในปี 2555 จะลงทุนอีก 8 ,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการของบริษัทที่มีอยู่แล้วจำนวน 13 โครงการ ให้แล้วเสร็จตามแผนงาน และจะลงทุนในโครงการใหม่ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะเน้นการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ส่วนต่างประเทศมีแผนที่จะเข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ และต้องพัฒนาระบบไฟฟ้าที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และครัวเรือน
“ภายในไตรมาสที่ 1/2555 จะมีความชัดเจนถึงแผนการลงทุนในอาเซียน ซึ่งบริษัทมองว่าประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าคือ พม่า ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาประเทศ หลายเมืองต้องการไฟฟ้า เช่น เมืองเนปีดอว์ และย่างกุ้ง โดยพม่ามีประชากรมากถึง 70 ล้านคน ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้ายังเติบโตได้อีกมาก หากมีโครงการไหนที่ บมจ.ปตท.(PTT) สนใจและต้องการพันธมิตร บริษัทก็พร้อมจะร่วมโครงการ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายโครงการที่ถือหุ้นร่วมกัน” นายนพพล กล่าว
สำหรับธุรกิจพลังงานทดแทนบริษัทมีกำลังผลิต 100 เมกะวัตต์ ณ สิ้นปี 2554 และในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 60 เมกะวัตต์ จากโซลาร์ฟาร์ม และบริษัทยังสนใจการประมูลใบอนุญาตตั้งโรงไฟฟ้า IPP ในประเทศ ซึ่งบริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าประมูลรอบใหม่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 นี้ บริษัทมีแผนระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้วงเงินราว 500 ล้านเหรียญสหรัฐ อาจจะเสนอขายเป็นล็อต หรือออกพร้อมกันในคราวเดียว ส่วนหนึ่งเพื่อต้องการลดต้นทุนทางการเงินที่ปัจจุบันอยู่ที่ 5% เชื่อว่าจะทำให้ต้นทุนอัตราดอกเบี้ยลดลง ส่วนช่วงเวลาในการเสนอขายหุ้นกู้คงต้องดูความเหมาะสมอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. นางสาวไอลดา รัตนวันทา ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บมจ.ระยองเพียวริฟายเออร์ เป็นตัวแทนพนักงานยื่นหนังสือต่อถึงกระทรวงพลังงาน และผู้บริหาร บมจ.ปตท. กรณีที่ ปตท.หยุดส่งวัตถุดิบคอนเดนเสทเรสซิดิวให้กับระยองเพียวฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2555 ส่งผลให้พนักงานกว่า 300 คน และครอบครัวต้องตกงาน โดยมีผู้อำนวยการสำนักประสานการมีส่วนร่วมภาคประชาชน กระทรวงพลังงาน เป็นตัวแทนรับหนังสือ
นางสาวไอลดากล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการตีความที่ต่างกัน เพราะสัญญานี้เป็นการทำในลักษณะสัญญาต่างตอบแทน ผูกพันระยะยาวแบบไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด (Evergreen Basis) ที่บริษัท ระยองเพียวฯ จะรับวัตถุดิบจาก ปตท.100% จึงทำให้โรงกลั่นของระยองเพียวฯ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับวัตถุดิบจากบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (พีทีทีเออาร์-เดิม) เท่านั้น ซึ่งจะรอดูผลใน 2 สัปดาห์หากไม่คืบหน้าจะกำหนดท่าทีอีกครั้งและอาจจะฟ้องศาลปกครอง.
จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 81
เอ็กโก กรุ๊ป รุกลงทุนด้านพลังลม
นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญในสัดส่วน 90% ในบริษัท เทพพนา วินด์ฟาร์ม จำกัด ซึ่งได้ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายหุ้นแล้ว จำนวน 2,500,000 บาท และยังคงเหลือเงินที่ต้องชำระตามสัญญาอีก 7,500,0000 บาท ซึ่งมีกำหนดชำระเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ได้ครบถ้วน การลงทุนครั้งนี้ เป็นไปตามเป้าหมายของเอ็กโก กรุ๊ป ในการขยายธุรกิจพลังงานทดแทน โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 50 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แกลบ และเศษไม้ยางพารา
นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญในสัดส่วน 90% ในบริษัท เทพพนา วินด์ฟาร์ม จำกัด ซึ่งได้ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายหุ้นแล้ว จำนวน 2,500,000 บาท และยังคงเหลือเงินที่ต้องชำระตามสัญญาอีก 7,500,0000 บาท ซึ่งมีกำหนดชำระเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ได้ครบถ้วน การลงทุนครั้งนี้ เป็นไปตามเป้าหมายของเอ็กโก กรุ๊ป ในการขยายธุรกิจพลังงานทดแทน โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558 จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 50 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แกลบ และเศษไม้ยางพารา
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 82
เอสพีซีจี ทุ่มกว่าพันล้านพัฒนาโซล่าฟาร์มดูดแสงแดดแปรรูปเป็นพลังงานยั่งยืนใหญ่สุดในอีสาน
บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) เผยแผนงานธุรกิจโตแบบก้าวกระโดด จากที่มีทรัพย์สินก่อนควบรวมเพียง 163 ล้านบาท ในปี 2553 กลายเป็นมีมูลค่าสูงถึง 4,452 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่ผ่านมา และมีแผนที่จะเพิ่มทุนเปิดขายหุ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพื่อสร้างโซล่าฟาร์มอีก 25 โครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2556 มีมูลค่าการลงทุนกว่า 24,000 ล้านบาท ก่อนที่ไทยจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
ล่าสุด น.ส.วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายฮิโรฟูมิ ทายาม่า ประธาน บริษัท เอนเนเกต จำกัด และ นายอิซาโอะ อิมาอิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยไอจิเดนกิ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ เพื่อศึกษาการลงทุนร่วมกันในประเทศไทย ในกิจการประกอบระบบควบคุมไฟฟ้าแรงสูง เช่น ตู้สวิทช์ตัดตอนระบบไฟฟ้าแรงดันสูง ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า สำหรับโซล่าฟาร์ม และโครงการอื่นๆ รวมถึงศึกษาและพัฒนาโครงการด้าน Smart Technology โดยโครงการโซล่าฟาร์มเฟสแรก 9 โครงการของบริษัท สามารถจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเรียบร้อยแล้ว 5 โครงการ และภายในปีนี้จะขายไฟเข้าระบบอีก 2 โครงการ ทั้งนี้ธุรกิจของกลุ่มเอสพีซีจีได้รับการยกให้เป็นเบอร์ 1 ของประเทศไทยจาก 3 ปัจจัย คือ
1.ได้รับเงินช่วยส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (adder) สูงสุด 8 บาท/หน่วย
2.ทุกโครงการมีการันตีกรณีได้ทำสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั้งหมด และเป็นรายเดียวที่ได้แอดเดอร์ และใบอนุญาตลงทุนถึง 34 โครงการ ลงทุนแห่งละ 700 ล้านบาท จนกลายเป็น mandated lead arranger ให้ที่เหลืออีก 29 โครงการ
3.เมื่อเดือนเมษายน 2554 ได้ขายหุ้นบริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ให้บริษัทผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรายใหญ่คือ บริษัท สตีลอินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน) 99% กลายสภาพเป็นบริษัทย่อยที่มีบริษัทลูกในเครือ ซึ่งแตกไลน์เป็นผู้ลงทุนและดูแลโซล่าฟาร์มภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 32 บริษัท
บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) เผยแผนงานธุรกิจโตแบบก้าวกระโดด จากที่มีทรัพย์สินก่อนควบรวมเพียง 163 ล้านบาท ในปี 2553 กลายเป็นมีมูลค่าสูงถึง 4,452 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่ผ่านมา และมีแผนที่จะเพิ่มทุนเปิดขายหุ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพื่อสร้างโซล่าฟาร์มอีก 25 โครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2556 มีมูลค่าการลงทุนกว่า 24,000 ล้านบาท ก่อนที่ไทยจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
ล่าสุด น.ส.วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายฮิโรฟูมิ ทายาม่า ประธาน บริษัท เอนเนเกต จำกัด และ นายอิซาโอะ อิมาอิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยไอจิเดนกิ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ เพื่อศึกษาการลงทุนร่วมกันในประเทศไทย ในกิจการประกอบระบบควบคุมไฟฟ้าแรงสูง เช่น ตู้สวิทช์ตัดตอนระบบไฟฟ้าแรงดันสูง ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า สำหรับโซล่าฟาร์ม และโครงการอื่นๆ รวมถึงศึกษาและพัฒนาโครงการด้าน Smart Technology โดยโครงการโซล่าฟาร์มเฟสแรก 9 โครงการของบริษัท สามารถจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเรียบร้อยแล้ว 5 โครงการ และภายในปีนี้จะขายไฟเข้าระบบอีก 2 โครงการ ทั้งนี้ธุรกิจของกลุ่มเอสพีซีจีได้รับการยกให้เป็นเบอร์ 1 ของประเทศไทยจาก 3 ปัจจัย คือ
1.ได้รับเงินช่วยส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (adder) สูงสุด 8 บาท/หน่วย
2.ทุกโครงการมีการันตีกรณีได้ทำสัญญาซื้อขายกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั้งหมด และเป็นรายเดียวที่ได้แอดเดอร์ และใบอนุญาตลงทุนถึง 34 โครงการ ลงทุนแห่งละ 700 ล้านบาท จนกลายเป็น mandated lead arranger ให้ที่เหลืออีก 29 โครงการ
3.เมื่อเดือนเมษายน 2554 ได้ขายหุ้นบริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ให้บริษัทผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรายใหญ่คือ บริษัท สตีลอินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน) 99% กลายสภาพเป็นบริษัทย่อยที่มีบริษัทลูกในเครือ ซึ่งแตกไลน์เป็นผู้ลงทุนและดูแลโซล่าฟาร์มภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 32 บริษัท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 83
Burma's opening a golden opportunity
Source - The Nation (Eng), Thursday, February 16, 2012
Thailand’s major petroleum and construction firms are focusing their strategic investments on Burma to cash in on the country’s increasing opportunities, especially infrastructure projects.
PTT Exploration and Production (PTTEP), a national petroleum exploration and production company, said it saw Burma as a focus for its investments over the next five years.
President and chief executive officer Anon Sirisaengtaksin said the company would allocate about Bt60 billion of its capital investment to its petroleum exploration and production projects in Burma. The money accounts for 10 per cent of PTTEP’s total investment, worth about Bt600 billion, set aside for the next five years.
He said PTTEP was currently investing in five operating projects and two joint ventures in petroleum exploration and production. He added that he expected Burma would deliver a large contribution to PTTEP’s revenues in the next five to 10 years.
Anon spoke at a forum on "The New Burma and Investment Opportunities in Thailand and India" organised yesterday by Maybank Kim Eng Securities (Thailand).
As a top-10 publicly listed company on the Stock Exchange of Thailand, PTTEP operates more than 40 projects in 13 countries around the world.
Anon said Thailand was its main focus, and Burma second.
"PTTEP has been operating in Burma for 20 years with a long-term and sustainable development strategy. Burma is now the company’s strategic country for our future investments," said Anon.
He said Burma was becoming a hot spot for foreign investors after being largely closed for almost 50 years.
"Burma has quite a lot of potential because it is located between two giant economies, which are China and India. The country is a gateway to Indochina," Anon said.
He said Burma contained many diverse and unexplored resources such as hydroelectric power, oil, gas and coal.
"Burma has many of similarities to Thailand, such as its size and culture. Only its GDP and energy consumption are lower," said Anon.
Anon said PTTEP was looking for strategic investments in Burma in partnership with major oil and technological companies.
He said major concerns raised by foreign investors are the country’s new rules and regulations regarding foreign investments as well as the lifting of trade and business sanctions by the United States and the European Union after a general election to be held by midyear. Other concerns are the government adjusting its exchange rate from a multiple to a single rate, and the development of local skilled labour.
He said PTTEP’s key success to doing business in Burma was the company’s relationship with the Burmese government and stakeholders. It has also adopted a "win-win strategy" of negotiations with stakeholders and extensively invested in socio-economic programmes, he said.
Meanwhile, Dr Somchet Thinaphong, managing director of Dawei development for Italian-Thai Development (ITD), said the company had been granted the right to develop and operate the Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project under a framework agreement signed between the Burma Port Authority and ITD in November 2010 for a 75-year land-lease period.
The project was created under the joint effort and cooperation between the Burma and Thailand to develop a deep-seaport and industrial-estate mega-project that would be a gateway to Indochina on the Indian Ocean.
Requiring an initial investment of about US$8.5 billion (Bt260 billion) and occupying about 250 square kilometres, the Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project will be divided into different zones, comprising port and heavy industry, oil and gas industry, an upstream petrochemical complex, medium industry, light industry, and authority and township centres.
Somchet said the development of the Dawei project would be separated into two phases, which would take four and six years respectively.
Thitisesh Seshthabutra, assistant director-general of the Department of Trade Negotiations, said Burma posted $31.6 billion in gross domestic product last year. The country exports natural gas, wood products, beans, fish and rice. About 38.3 per cent of the exports go to Thailand, and another 20.8 per cent to India.
In 2011, Thailand was Burma’s largest trading partner while Burma was Thailand’s 22nd-largest.
Within Asean, Burma is the sixth-largest trading partner of Thailand after Singapore, Malaysia, Indonesia, the Philippines and Vietnam. The bilateral trade volume reached $6.1 billion last year in favour of Burma. Thailand also exported $2.8 billion of goods to Burma last year.
Thitisesh added that Thailand was also the second-largest investor in Burma after China. Thailand’s investment in Burma reached $9.5 billion last year.
He said that as the newest Asean member, Burma was preparing to join the Asean Economic Community fully by 2015. Burma wants to cash in on AEC benefits, which encourage a free flow of goods, services, investments and skilled labour.
"Burma is a country rich in resources and a source of raw materials. However, major concerns between Burma and Thailand are border problems that have not been solved, as well as Burma’s security problems and other cross-border issues. Burma’s multiple exchange rate also creates various economic distortions," Thitisesh said.
Source - The Nation (Eng), Thursday, February 16, 2012
Thailand’s major petroleum and construction firms are focusing their strategic investments on Burma to cash in on the country’s increasing opportunities, especially infrastructure projects.
PTT Exploration and Production (PTTEP), a national petroleum exploration and production company, said it saw Burma as a focus for its investments over the next five years.
President and chief executive officer Anon Sirisaengtaksin said the company would allocate about Bt60 billion of its capital investment to its petroleum exploration and production projects in Burma. The money accounts for 10 per cent of PTTEP’s total investment, worth about Bt600 billion, set aside for the next five years.
He said PTTEP was currently investing in five operating projects and two joint ventures in petroleum exploration and production. He added that he expected Burma would deliver a large contribution to PTTEP’s revenues in the next five to 10 years.
Anon spoke at a forum on "The New Burma and Investment Opportunities in Thailand and India" organised yesterday by Maybank Kim Eng Securities (Thailand).
As a top-10 publicly listed company on the Stock Exchange of Thailand, PTTEP operates more than 40 projects in 13 countries around the world.
Anon said Thailand was its main focus, and Burma second.
"PTTEP has been operating in Burma for 20 years with a long-term and sustainable development strategy. Burma is now the company’s strategic country for our future investments," said Anon.
He said Burma was becoming a hot spot for foreign investors after being largely closed for almost 50 years.
"Burma has quite a lot of potential because it is located between two giant economies, which are China and India. The country is a gateway to Indochina," Anon said.
He said Burma contained many diverse and unexplored resources such as hydroelectric power, oil, gas and coal.
"Burma has many of similarities to Thailand, such as its size and culture. Only its GDP and energy consumption are lower," said Anon.
Anon said PTTEP was looking for strategic investments in Burma in partnership with major oil and technological companies.
He said major concerns raised by foreign investors are the country’s new rules and regulations regarding foreign investments as well as the lifting of trade and business sanctions by the United States and the European Union after a general election to be held by midyear. Other concerns are the government adjusting its exchange rate from a multiple to a single rate, and the development of local skilled labour.
He said PTTEP’s key success to doing business in Burma was the company’s relationship with the Burmese government and stakeholders. It has also adopted a "win-win strategy" of negotiations with stakeholders and extensively invested in socio-economic programmes, he said.
Meanwhile, Dr Somchet Thinaphong, managing director of Dawei development for Italian-Thai Development (ITD), said the company had been granted the right to develop and operate the Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project under a framework agreement signed between the Burma Port Authority and ITD in November 2010 for a 75-year land-lease period.
The project was created under the joint effort and cooperation between the Burma and Thailand to develop a deep-seaport and industrial-estate mega-project that would be a gateway to Indochina on the Indian Ocean.
Requiring an initial investment of about US$8.5 billion (Bt260 billion) and occupying about 250 square kilometres, the Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project will be divided into different zones, comprising port and heavy industry, oil and gas industry, an upstream petrochemical complex, medium industry, light industry, and authority and township centres.
Somchet said the development of the Dawei project would be separated into two phases, which would take four and six years respectively.
Thitisesh Seshthabutra, assistant director-general of the Department of Trade Negotiations, said Burma posted $31.6 billion in gross domestic product last year. The country exports natural gas, wood products, beans, fish and rice. About 38.3 per cent of the exports go to Thailand, and another 20.8 per cent to India.
In 2011, Thailand was Burma’s largest trading partner while Burma was Thailand’s 22nd-largest.
Within Asean, Burma is the sixth-largest trading partner of Thailand after Singapore, Malaysia, Indonesia, the Philippines and Vietnam. The bilateral trade volume reached $6.1 billion last year in favour of Burma. Thailand also exported $2.8 billion of goods to Burma last year.
Thitisesh added that Thailand was also the second-largest investor in Burma after China. Thailand’s investment in Burma reached $9.5 billion last year.
He said that as the newest Asean member, Burma was preparing to join the Asean Economic Community fully by 2015. Burma wants to cash in on AEC benefits, which encourage a free flow of goods, services, investments and skilled labour.
"Burma is a country rich in resources and a source of raw materials. However, major concerns between Burma and Thailand are border problems that have not been solved, as well as Burma’s security problems and other cross-border issues. Burma’s multiple exchange rate also creates various economic distortions," Thitisesh said.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 84
ไทยเร่งยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน
นายวีระวัฒน์ จันทนาคม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการวางแผนพลังงานระดับประเทศและที่ปรึกษาอาวุโสกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังเร่งเตรียมความพร้อมด้านพลังงานก่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีมีผลใช้บังคับในปี 2558
โดยจะจัดทำแผน "ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านพลังงานระหว่างประเทศ" และกำลังเตรียมว่าจ้างสถาบันที่น่าเชื่อถือขึ้นมาช่วยจัดทำแผนดังกล่าว
สำหรับการจัดทำแผนกลยุทธ์ฯ นั้น จะเปิดให้มีการสัมมนาครั้งใหญ่ประมาณเดือนกันยายน โดยจะเชิญผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงานทั้งหมดของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน มาเปิดเผยข้อมูลเพื่อพิจารณาร่วมกันว่าพลังงานกลุ่มใดที่พร้อมเปิดเสรีการค้าในเออีซีและกลุ่มใดไม่พร้อม รวมถึงวิธีการปรับตัวช่วงก่อนและหลังการเปิดเสรีการค้าเออีซี
อย่างไรก็ตามในการหารือครั้งนั้น จะนำมาซึ่งผลการจัดลำดับความพร้อมของกลุ่มพลังงานที่จะเปิดเสรีการค้าได้ก่อนและหลังใน 6 กลุ่มพลังงาน ดังนี้ ถ่านหิน,น้ำมันและก๊าซ,ไฟฟ้าและนิวเคลียร์,พลังงานทดแทน,การอนุรักษ์พลังงาน และด้านนโยบายและแผนพลังงาน
ทั้งนี้จะแบ่งการหารือเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ถ่านหิน, น้ำมันและก๊าซ,ไฟฟ้าและนิวเคลียร์ 2.พลังงานทดแทน, การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน, ด้านนโยบายและแผนพลังงาน สำหรับผลสรุปที่ได้จะเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) จากนั้นจะกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการตาม "ยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมด้านพลังงานระหว่างประเทศหลังจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2528"โดยคาดว่าจะจัดทำแผนดังกล่าวเสร็จสิ้นประมาณเดือนตุลาคม
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,714 16-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
นายวีระวัฒน์ จันทนาคม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการวางแผนพลังงานระดับประเทศและที่ปรึกษาอาวุโสกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังเร่งเตรียมความพร้อมด้านพลังงานก่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีมีผลใช้บังคับในปี 2558
โดยจะจัดทำแผน "ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านพลังงานระหว่างประเทศ" และกำลังเตรียมว่าจ้างสถาบันที่น่าเชื่อถือขึ้นมาช่วยจัดทำแผนดังกล่าว
สำหรับการจัดทำแผนกลยุทธ์ฯ นั้น จะเปิดให้มีการสัมมนาครั้งใหญ่ประมาณเดือนกันยายน โดยจะเชิญผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงานทั้งหมดของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน มาเปิดเผยข้อมูลเพื่อพิจารณาร่วมกันว่าพลังงานกลุ่มใดที่พร้อมเปิดเสรีการค้าในเออีซีและกลุ่มใดไม่พร้อม รวมถึงวิธีการปรับตัวช่วงก่อนและหลังการเปิดเสรีการค้าเออีซี
อย่างไรก็ตามในการหารือครั้งนั้น จะนำมาซึ่งผลการจัดลำดับความพร้อมของกลุ่มพลังงานที่จะเปิดเสรีการค้าได้ก่อนและหลังใน 6 กลุ่มพลังงาน ดังนี้ ถ่านหิน,น้ำมันและก๊าซ,ไฟฟ้าและนิวเคลียร์,พลังงานทดแทน,การอนุรักษ์พลังงาน และด้านนโยบายและแผนพลังงาน
ทั้งนี้จะแบ่งการหารือเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ถ่านหิน, น้ำมันและก๊าซ,ไฟฟ้าและนิวเคลียร์ 2.พลังงานทดแทน, การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน, ด้านนโยบายและแผนพลังงาน สำหรับผลสรุปที่ได้จะเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) จากนั้นจะกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการตาม "ยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมด้านพลังงานระหว่างประเทศหลังจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2528"โดยคาดว่าจะจัดทำแผนดังกล่าวเสร็จสิ้นประมาณเดือนตุลาคม
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,714 16-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 85
TOPเตรียมลงทุน9พันล้านโรงงาน LAB แห่งแรกของไทย [ ข่าวหุ้น, 16 ก.พ. 55 ]
"สุรงค์" เผยเตรียมทุ่ม 9,000 ล้านบาท ผุดโรงงาน LAB แห่งแรกในไทย เร่งเจรจาหาพันธมิตร
ร่วมทุน มั่นใจเสร็จภายในปี'59 ด้านโบรกฯชี้ ถึงเวลาซื้อ TOP แนวโน้มกำไรเด่น
"สุรงค์" เผยเตรียมทุ่ม 9,000 ล้านบาท ผุดโรงงาน LAB แห่งแรกในไทย เร่งเจรจาหาพันธมิตร
ร่วมทุน มั่นใจเสร็จภายในปี'59 ด้านโบรกฯชี้ ถึงเวลาซื้อ TOP แนวโน้มกำไรเด่น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 86
GUNKUL เซ็นสัญญาสร้างโรงไฟฟ้า 8 MW มูลค่า 736 ล. ขยับขึ้นแท่นเป็นผู้นำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าครบวงจร [ ทันหุ้น, 16 กุมภาพันธ์ 2012 ]
บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง เซ็นสัญญาบิ๊กโปรเจ็กรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 8 เมกกะวัตต์ จาก "ซี.เค.แอนด์ ซัน เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด " รวมมูลค่า 736 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2555 นี้ "โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์" ระบุทยอยรับรู้รายได้ทันที พร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำและธุรกิจด้านพลังงานทดแทนแบบครบวงจร
นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญารับเหมาก่อสร้าง โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 8 เมกกะวัตต์ ประกอบด้วย 2 สัญญา ขนาด 5 เมกกะวัตต์ และ 3 เมกกะวัตต์ กับ บริษัท ซี.เค.แอนด์ ซัน เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่จังหวัดบุรีรัมย์ คิดเป็นมูลค่ารวมในการก่อสร้างทั้ง 2โครงการ รวม 736 ล้านบาท
ทั้งนี้ GUNKUL เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่งานด้านฐานราก การจัดหาแผงโซล่าเซลล์ รวมถึงการคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมและการติดตั้งระบบทั้งหมด จนสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ ให้กับ บริษัท ซี.เค.แอนด์ ซัน เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2555
“การลงนามในสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 8 เมกกะวัตต์นี้ ถือเป็นความสำเร็จทางด้านธุรกิจที่สำคัญอีกงานหนึ่งของ GUNKUL ซึ่งจะผลักดันให้บริษัทก้าวเข้ามาเป็นผู้นำด้านการรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ให้แก่ผู้พัฒนาโครงการพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หรือการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลม และที่สำคัญคือบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งถือเป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทนรายแรก ๆ ของประเทศ และถือเป็นจุดแข็งที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ ว่าจ้างได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จึงอยากจะเชิญชวนผู้ประกอบการที่ได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าและยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง เราเชื่อว่าด้วยศักยภาพ ประสบการณ์ และความพร้อมของทีมงาน จะช่วยให้โรงไฟฟ้าของท่านก่อสร้างเสร็จอย่างรวดเร็ว ด้วยราคาที่แข่งขันได้อย่างแน่นอน” นางสาวโศภชา กล่าวในที่สุด
ด้านนายชูศักดิ์ รัตนวนิชย์โรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.เค.แอนด์ ซัน เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับการเซ็นสัญญาร่วมมือทางธุรกิจกับ GUNKUL ในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย และเชื่อว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือทางธุรกิจอื่นๆ ในอนาคต เนื่องจาก GUNKUL เป็นบริษัทที่มีทีมงานที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การทำงานที่ดีเยี่ยม และมีศักยภาพในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมไปถึงการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทน อีกทั้งมีฐานะทางการเงินมั่นคง จึงถือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สามารถไว้วางใจได้อย่างดี และในอนาคตมีโอกาสอย่างมากที่จะเกิดความร่วมมือทางธุรกิจของทั้งสองฝ่ายให้เติบโตไปด้วยกันในระยะยาว
บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง เซ็นสัญญาบิ๊กโปรเจ็กรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 8 เมกกะวัตต์ จาก "ซี.เค.แอนด์ ซัน เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด " รวมมูลค่า 736 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2555 นี้ "โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์" ระบุทยอยรับรู้รายได้ทันที พร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำในด้านการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำและธุรกิจด้านพลังงานทดแทนแบบครบวงจร
นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญารับเหมาก่อสร้าง โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 8 เมกกะวัตต์ ประกอบด้วย 2 สัญญา ขนาด 5 เมกกะวัตต์ และ 3 เมกกะวัตต์ กับ บริษัท ซี.เค.แอนด์ ซัน เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่จังหวัดบุรีรัมย์ คิดเป็นมูลค่ารวมในการก่อสร้างทั้ง 2โครงการ รวม 736 ล้านบาท
ทั้งนี้ GUNKUL เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่งานด้านฐานราก การจัดหาแผงโซล่าเซลล์ รวมถึงการคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมและการติดตั้งระบบทั้งหมด จนสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ ให้กับ บริษัท ซี.เค.แอนด์ ซัน เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2555
“การลงนามในสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 8 เมกกะวัตต์นี้ ถือเป็นความสำเร็จทางด้านธุรกิจที่สำคัญอีกงานหนึ่งของ GUNKUL ซึ่งจะผลักดันให้บริษัทก้าวเข้ามาเป็นผู้นำด้านการรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ให้แก่ผู้พัฒนาโครงการพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หรือการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลม และที่สำคัญคือบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งถือเป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทนรายแรก ๆ ของประเทศ และถือเป็นจุดแข็งที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ ว่าจ้างได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จึงอยากจะเชิญชวนผู้ประกอบการที่ได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าและยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง เราเชื่อว่าด้วยศักยภาพ ประสบการณ์ และความพร้อมของทีมงาน จะช่วยให้โรงไฟฟ้าของท่านก่อสร้างเสร็จอย่างรวดเร็ว ด้วยราคาที่แข่งขันได้อย่างแน่นอน” นางสาวโศภชา กล่าวในที่สุด
ด้านนายชูศักดิ์ รัตนวนิชย์โรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.เค.แอนด์ ซัน เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับการเซ็นสัญญาร่วมมือทางธุรกิจกับ GUNKUL ในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย และเชื่อว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือทางธุรกิจอื่นๆ ในอนาคต เนื่องจาก GUNKUL เป็นบริษัทที่มีทีมงานที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การทำงานที่ดีเยี่ยม และมีศักยภาพในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมไปถึงการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทน อีกทั้งมีฐานะทางการเงินมั่นคง จึงถือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สามารถไว้วางใจได้อย่างดี และในอนาคตมีโอกาสอย่างมากที่จะเกิดความร่วมมือทางธุรกิจของทั้งสองฝ่ายให้เติบโตไปด้วยกันในระยะยาว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 87
ไทยเร่งยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 14:41 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
นายวีระวัฒน์ จันทนาคม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการวางแผนพลังงานระดับประเทศและที่ปรึกษาอาวุโสกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังเร่งเตรียมความพร้อมด้านพลังงานก่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีมีผลใช้บังคับในปี 2558
โดยจะจัดทำแผน "ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านพลังงานระหว่างประเทศ" และกำลังเตรียมว่าจ้างสถาบันที่น่าเชื่อถือขึ้นมาช่วยจัดทำแผนดังกล่าว
สำหรับการจัดทำแผนกลยุทธ์ฯ นั้น จะเปิดให้มีการสัมมนาครั้งใหญ่ประมาณเดือนกันยายน โดยจะเชิญผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงานทั้งหมดของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน มาเปิดเผยข้อมูลเพื่อพิจารณาร่วมกันว่าพลังงานกลุ่มใดที่พร้อมเปิดเสรีการค้าในเออีซีและกลุ่มใดไม่พร้อม รวมถึงวิธีการปรับตัวช่วงก่อนและหลังการเปิดเสรีการค้าเออีซี
อย่างไรก็ตามในการหารือครั้งนั้น จะนำมาซึ่งผลการจัดลำดับความพร้อมของกลุ่มพลังงานที่จะเปิดเสรีการค้าได้ก่อนและหลังใน 6 กลุ่มพลังงาน ดังนี้ ถ่านหิน,น้ำมันและก๊าซ,ไฟฟ้าและนิวเคลียร์,พลังงานทดแทน,การอนุรักษ์พลังงาน และด้านนโยบายและแผนพลังงาน
ทั้งนี้จะแบ่งการหารือเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ถ่านหิน, น้ำมันและก๊าซ,ไฟฟ้าและนิวเคลียร์ 2.พลังงานทดแทน, การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน, ด้านนโยบายและแผนพลังงาน สำหรับผลสรุปที่ได้จะเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) จากนั้นจะกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการตาม "ยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมด้านพลังงานระหว่างประเทศหลังจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2528"โดยคาดว่าจะจัดทำแผนดังกล่าวเสร็จสิ้นประมาณเดือนตุลาคมนี้
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 14:41 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
นายวีระวัฒน์ จันทนาคม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการวางแผนพลังงานระดับประเทศและที่ปรึกษาอาวุโสกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังเร่งเตรียมความพร้อมด้านพลังงานก่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีมีผลใช้บังคับในปี 2558
โดยจะจัดทำแผน "ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านพลังงานระหว่างประเทศ" และกำลังเตรียมว่าจ้างสถาบันที่น่าเชื่อถือขึ้นมาช่วยจัดทำแผนดังกล่าว
สำหรับการจัดทำแผนกลยุทธ์ฯ นั้น จะเปิดให้มีการสัมมนาครั้งใหญ่ประมาณเดือนกันยายน โดยจะเชิญผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงานทั้งหมดของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน มาเปิดเผยข้อมูลเพื่อพิจารณาร่วมกันว่าพลังงานกลุ่มใดที่พร้อมเปิดเสรีการค้าในเออีซีและกลุ่มใดไม่พร้อม รวมถึงวิธีการปรับตัวช่วงก่อนและหลังการเปิดเสรีการค้าเออีซี
อย่างไรก็ตามในการหารือครั้งนั้น จะนำมาซึ่งผลการจัดลำดับความพร้อมของกลุ่มพลังงานที่จะเปิดเสรีการค้าได้ก่อนและหลังใน 6 กลุ่มพลังงาน ดังนี้ ถ่านหิน,น้ำมันและก๊าซ,ไฟฟ้าและนิวเคลียร์,พลังงานทดแทน,การอนุรักษ์พลังงาน และด้านนโยบายและแผนพลังงาน
ทั้งนี้จะแบ่งการหารือเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ถ่านหิน, น้ำมันและก๊าซ,ไฟฟ้าและนิวเคลียร์ 2.พลังงานทดแทน, การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน, ด้านนโยบายและแผนพลังงาน สำหรับผลสรุปที่ได้จะเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) จากนั้นจะกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการตาม "ยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมด้านพลังงานระหว่างประเทศหลังจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2528"โดยคาดว่าจะจัดทำแผนดังกล่าวเสร็จสิ้นประมาณเดือนตุลาคมนี้
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 88
ต่างชาติกดดันไทย เลิกชดเชยราคาพลังงาน
การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทำให้ประเทศสมาชิกเวลานี้ ต่างต้องเร่งปรับตัวรองรับการค้ายุคใหม่ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานของไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้กว่าล้านล้านบาทต่อปี ที่จะต้องเข้าไปรวมอยู่ในกฎการค้าเสรีของเออีซีด้วย
แต่เมื่อมองเข้าไปในกลุ่มธุรกิจพลังงานอย่างละเอียดแล้ว กลับพบว่ายังมีความน่าเป็นห่วงและอาจไม่พร้อมต่อการเปิดการค้าเสรีตามเออีซีในปี 2558 โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานทดแทน อย่างน้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์เกรดต่างๆ และเอ็นจีวี เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลยังใช้เงินอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซลแก๊สโซฮอล์ และเอ็นจีวี อย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยกเลิกการอุดหนุนได้เมื่อใด ดังนั้น เมื่อเปิดการค้าเสรีจะทำให้ต่างชาติเข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้สะดวกและรัฐบาลต้องเสียเงินอุดหนุนราคามากขึ้น
++ปฏิเสธตรวจสอบข้อมูล
ข้อกังวลหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าไทยยังไม่มีความพร้อมด้านพลังงานทดแทน ในการเปิดรับสู่เออีซี เมื่อสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กระทรวงพลังงาน ปฏิเสธที่จะให้เจ้าหน้าที่ขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation:) หรือ APEC ซึ่งไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วยนั้น จะเข้ามาตรวจสอบความก้าวหน้าด้านข้อตกลง "การยกเลิกใช้เงินอุดหนุนสินค้าพลังงานทดแทน" ของไทย ตามเป้าหมายของเอเปกที่กำหนดให้สมาชิกยกเลิกการอุดหนุนราคาภายในปีค.ศ. 2020 ที่จะเดินทางเข้ามาตรวจสอบในวันที่ 21-25 พฤษภาคมนี้
เนื่องจากสนพ.ทราบดีว่า ยังไม่สามารถดำเนินการลดการอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์ได้ อีกทั้ง ไม่ต้องการให้เอเปกนำข้อมูลปัญหาการอุดหนุนราคาพลังงานทดแทนของไทยไปเปิดเผยต่อประเทศสมาชิกเอเปก จึงไม่อนุญาตให้ทำการตรวจสอบ แต่ในส่วนของการพลังงานทดแทนอื่นๆไทยพร้อมเปิดให้ตรวจสอบได้ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงพลังงานเอง ก็กำลังเตรียมความพร้อมอย่างหนักต่อการตรวจสอบด้านพลังงานทดแทนของเอเปก เนื่องจากไทยเป็นประเทศแรกในประเทศสมาชิกที่เอเปกเข้าตรวจสอบในปีนี้
++จี้เลิกอุดหนุนราคาพลังงาน
อย่างไรก็ตาม ถือว่าประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านการผลิตไบโอดีเซลและเอทานอล และมีนโยบายจะเป็นศูนย์กลาง(ฮับ)การค้าขายเอทานอลในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่การเปิดเออีซีด้านพลังงานของไทยทำให้ไม่แน่ใจว่าอนาคตไทยจะยังคงเป็นผู้นำเอทานอลในอาเซียนได้ต่อไปหรือไม่ เนื่องจากประเทศสมาชิกต่างเร่งปรับตัวทั้งด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และจัดกระบวนทัพสำหรับการค้าเอทานอลเสรีเช่นกัน ขณะที่ไทยยังอุดหนุนราคาแก๊สโซฮอล์ต่างๆ อยู่ รวมทั้งยังติดขัดกฎระเบียบการส่งออกเอทานอลได้อย่างคล่องตัว ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในเวลานี้ด้วย
ดังนั้น เห็นว่ารัฐบาลจะต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการค่อยๆลดการอุดหนุนราคาลง ประกอบกับต้องกำหนดกรอบระยะเวลาเปิดการค้าเสรีกลุ่มไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล์ ให้สมาชิกกลุ่มอาเซียนได้ทราบชัดเจนว่าไทยพร้อมจะเปิดเสรีได้ภายในปีใด
++ดันจัดตั้งศูนย์กลางซื้อขายไฟ
นอกจากนี้ การเข้าสู่การค้าเสรีเออีซี ประเทศสมาชิกยังต้องการผลักดันให้มีการเชื่อมต่อพลังงานระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมสายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน เป็นต้น อีกส่วนคือการหารือด้านราคากลาง ซึ่งจะสามารถใช้ร่วมกันได้ในประเทศสมาชิก
สำหรับการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้ากับประเทศสมาชิกนั้น ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วเกิน 50% โดยผู้ว่าการการไฟฟ้าของแต่ละประเทศได้หารือกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าในลักษณะจับคู่ประเทศที่ต้องการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกัน เช่น ไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) และฟิลิปปินส์กับบรูไน เป็นต้น ส่วนการจะเชื่อมสายส่งไฟฟ้าได้ทั่วทั้ง 10 ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องอยู่ที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าของแต่ละประเทศเป็นหลัก
อีกทั้ง จะต้องจัดตั้งศูนย์กลางการซื้อขายไฟฟ้าของประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย เนื่องจากปัจจุบันราคาจำหน่ายไฟฟ้าแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน หากประเทศหนึ่งมีการเจรจาตกลงจะซื้อขายไฟฟ้ากับประเทศที่มีพื้นที่ห่างไกลกัน นอกจากจะเจรจาด้านราคาแล้ว คงต้องเจรจาตกลงจ่ายค่าใช้สายไฟฟ้าของประเทศที่เป็นทางผ่านด้วย ส่วนการเชื่อมท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้น ขณะนี้อาเซียนดำเนินการเสร็จแล้ว 80% และการเชื่อมท่อการขนส่งน้ำมันยังอยู่ระหว่างการหารือและดำเนินการ
++บีบไทยก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อย่างไรก็ตามในส่วนของการเชื่อมโยงไฟฟ้าระหว่างประเทศสมาชิกนั้น การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นับเป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องหารือร่วมกันเป็นพิเศษ เพราะการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศใดก็ตามย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จัดเป็นพลังงานทดแทนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีอาเซียน
ในการประชุม"เครือข่ายความร่วมมือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งอาเซียนภายใต้กรอบ AEC" ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ โดยจะเชิญประเทศจีน เกาหลี และเวียดนาม เข้าร่วมด้วย โดยมีไทยเป็นเจ้าภาพจะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนมีนาคม 2555 นี้ จะเป็นการบังคับทางอ้อมให้ไทยแสดงความชัดเจนว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่และปีใด เพราะขณะนี้ประเทศอาเซียนต้องการทราบแผนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทย
อย่างไรก็ตามในส่วนของกระทรวงพลังงานเอง ได้เร่งเตรียมความพร้อมหารือในประเด็นดังกล่าว และเห็นว่าประเทศเพื่อนบ้านไทยอย่าง เวียดนาม กำลังอยู่ระหว่างการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งไทยมีความกังวลถึงการไร้พรหมแดนทั้งด้านการซื้อขายไฟฟ้าและความปลอดภัยที่อาจกระทบถึงประเทศไทยได้
ดังนั้นกระทรวงพลังงานจึงมีแนวคิดที่จะส่งบริษัทคนไทยเข้าไปร่วมถือหุ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศด้วย ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายด้านความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยการเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นจะทำให้ไทยมีสิทธิ์เสนอให้ใช้เทคโนโลยีที่เน้นความปลอดภัยในการสร้างโรงไฟฟ้าได้ แม้จะทำให้ค่าก่อสร้างและค่าไฟฟ้าสูงขึ้นแต่ท้ายที่สุดไฟฟ้าที่ผลิตได้ต้องขายเข้าระบบของการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งการที่ไทยถือหุ้นอยู่ด้วยจะสร้างผลประโยชน์ให้กับไทยทั้งด้านความปลอดภัยและการค้าด้วยเช่นกัน
แม้วันนี้นานาประเทศกำลังกดดันให้ไทยยกเลิกการชดเชยราคาพลังงาน รวมทั้งเปิดข้อมูลด้านพลังงานทดแทนและการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศ ด้วยการใช้กฎเกณฑ์ทางการค้าและกติการ่วมกันของการเป็นสมาชิกองค์กรนานาชาติ แต่ท้ายที่สุดไทยจะสามารถยกเลิกการอุดหนุนหรือสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้หรือไม่ ปัจจัยสำคัญไม่ได้ขึ้นกับนานาประเทศเพียงอย่างเดียว แต่แรงกดดันทางสังคมและการเมืองในประเทศกลายเป็นตัวกำหนดชี้ที่สำคัญกว่า ว่าไทยจะเดินตามกลไกตลาดโลกได้หรือไม่...???
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,714 16-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทำให้ประเทศสมาชิกเวลานี้ ต่างต้องเร่งปรับตัวรองรับการค้ายุคใหม่ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานของไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้กว่าล้านล้านบาทต่อปี ที่จะต้องเข้าไปรวมอยู่ในกฎการค้าเสรีของเออีซีด้วย
แต่เมื่อมองเข้าไปในกลุ่มธุรกิจพลังงานอย่างละเอียดแล้ว กลับพบว่ายังมีความน่าเป็นห่วงและอาจไม่พร้อมต่อการเปิดการค้าเสรีตามเออีซีในปี 2558 โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานทดแทน อย่างน้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์เกรดต่างๆ และเอ็นจีวี เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลยังใช้เงินอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซลแก๊สโซฮอล์ และเอ็นจีวี อย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยกเลิกการอุดหนุนได้เมื่อใด ดังนั้น เมื่อเปิดการค้าเสรีจะทำให้ต่างชาติเข้ามาซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้สะดวกและรัฐบาลต้องเสียเงินอุดหนุนราคามากขึ้น
++ปฏิเสธตรวจสอบข้อมูล
ข้อกังวลหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าไทยยังไม่มีความพร้อมด้านพลังงานทดแทน ในการเปิดรับสู่เออีซี เมื่อสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กระทรวงพลังงาน ปฏิเสธที่จะให้เจ้าหน้าที่ขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation:) หรือ APEC ซึ่งไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วยนั้น จะเข้ามาตรวจสอบความก้าวหน้าด้านข้อตกลง "การยกเลิกใช้เงินอุดหนุนสินค้าพลังงานทดแทน" ของไทย ตามเป้าหมายของเอเปกที่กำหนดให้สมาชิกยกเลิกการอุดหนุนราคาภายในปีค.ศ. 2020 ที่จะเดินทางเข้ามาตรวจสอบในวันที่ 21-25 พฤษภาคมนี้
เนื่องจากสนพ.ทราบดีว่า ยังไม่สามารถดำเนินการลดการอุดหนุนราคาน้ำมันไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์ได้ อีกทั้ง ไม่ต้องการให้เอเปกนำข้อมูลปัญหาการอุดหนุนราคาพลังงานทดแทนของไทยไปเปิดเผยต่อประเทศสมาชิกเอเปก จึงไม่อนุญาตให้ทำการตรวจสอบ แต่ในส่วนของการพลังงานทดแทนอื่นๆไทยพร้อมเปิดให้ตรวจสอบได้ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงพลังงานเอง ก็กำลังเตรียมความพร้อมอย่างหนักต่อการตรวจสอบด้านพลังงานทดแทนของเอเปก เนื่องจากไทยเป็นประเทศแรกในประเทศสมาชิกที่เอเปกเข้าตรวจสอบในปีนี้
++จี้เลิกอุดหนุนราคาพลังงาน
อย่างไรก็ตาม ถือว่าประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านการผลิตไบโอดีเซลและเอทานอล และมีนโยบายจะเป็นศูนย์กลาง(ฮับ)การค้าขายเอทานอลในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่การเปิดเออีซีด้านพลังงานของไทยทำให้ไม่แน่ใจว่าอนาคตไทยจะยังคงเป็นผู้นำเอทานอลในอาเซียนได้ต่อไปหรือไม่ เนื่องจากประเทศสมาชิกต่างเร่งปรับตัวทั้งด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และจัดกระบวนทัพสำหรับการค้าเอทานอลเสรีเช่นกัน ขณะที่ไทยยังอุดหนุนราคาแก๊สโซฮอล์ต่างๆ อยู่ รวมทั้งยังติดขัดกฎระเบียบการส่งออกเอทานอลได้อย่างคล่องตัว ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในเวลานี้ด้วย
ดังนั้น เห็นว่ารัฐบาลจะต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการค่อยๆลดการอุดหนุนราคาลง ประกอบกับต้องกำหนดกรอบระยะเวลาเปิดการค้าเสรีกลุ่มไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล์ ให้สมาชิกกลุ่มอาเซียนได้ทราบชัดเจนว่าไทยพร้อมจะเปิดเสรีได้ภายในปีใด
++ดันจัดตั้งศูนย์กลางซื้อขายไฟ
นอกจากนี้ การเข้าสู่การค้าเสรีเออีซี ประเทศสมาชิกยังต้องการผลักดันให้มีการเชื่อมต่อพลังงานระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมสายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน เป็นต้น อีกส่วนคือการหารือด้านราคากลาง ซึ่งจะสามารถใช้ร่วมกันได้ในประเทศสมาชิก
สำหรับการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้ากับประเทศสมาชิกนั้น ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วเกิน 50% โดยผู้ว่าการการไฟฟ้าของแต่ละประเทศได้หารือกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าในลักษณะจับคู่ประเทศที่ต้องการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกัน เช่น ไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) และฟิลิปปินส์กับบรูไน เป็นต้น ส่วนการจะเชื่อมสายส่งไฟฟ้าได้ทั่วทั้ง 10 ประเทศสมาชิกนั้นจะต้องอยู่ที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าของแต่ละประเทศเป็นหลัก
อีกทั้ง จะต้องจัดตั้งศูนย์กลางการซื้อขายไฟฟ้าของประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย เนื่องจากปัจจุบันราคาจำหน่ายไฟฟ้าแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน หากประเทศหนึ่งมีการเจรจาตกลงจะซื้อขายไฟฟ้ากับประเทศที่มีพื้นที่ห่างไกลกัน นอกจากจะเจรจาด้านราคาแล้ว คงต้องเจรจาตกลงจ่ายค่าใช้สายไฟฟ้าของประเทศที่เป็นทางผ่านด้วย ส่วนการเชื่อมท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้น ขณะนี้อาเซียนดำเนินการเสร็จแล้ว 80% และการเชื่อมท่อการขนส่งน้ำมันยังอยู่ระหว่างการหารือและดำเนินการ
++บีบไทยก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อย่างไรก็ตามในส่วนของการเชื่อมโยงไฟฟ้าระหว่างประเทศสมาชิกนั้น การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นับเป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องหารือร่วมกันเป็นพิเศษ เพราะการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศใดก็ตามย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จัดเป็นพลังงานทดแทนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีอาเซียน
ในการประชุม"เครือข่ายความร่วมมือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งอาเซียนภายใต้กรอบ AEC" ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ โดยจะเชิญประเทศจีน เกาหลี และเวียดนาม เข้าร่วมด้วย โดยมีไทยเป็นเจ้าภาพจะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนมีนาคม 2555 นี้ จะเป็นการบังคับทางอ้อมให้ไทยแสดงความชัดเจนว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่และปีใด เพราะขณะนี้ประเทศอาเซียนต้องการทราบแผนเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไทย
อย่างไรก็ตามในส่วนของกระทรวงพลังงานเอง ได้เร่งเตรียมความพร้อมหารือในประเด็นดังกล่าว และเห็นว่าประเทศเพื่อนบ้านไทยอย่าง เวียดนาม กำลังอยู่ระหว่างการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งไทยมีความกังวลถึงการไร้พรหมแดนทั้งด้านการซื้อขายไฟฟ้าและความปลอดภัยที่อาจกระทบถึงประเทศไทยได้
ดังนั้นกระทรวงพลังงานจึงมีแนวคิดที่จะส่งบริษัทคนไทยเข้าไปร่วมถือหุ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศด้วย ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายด้านความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยการเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นจะทำให้ไทยมีสิทธิ์เสนอให้ใช้เทคโนโลยีที่เน้นความปลอดภัยในการสร้างโรงไฟฟ้าได้ แม้จะทำให้ค่าก่อสร้างและค่าไฟฟ้าสูงขึ้นแต่ท้ายที่สุดไฟฟ้าที่ผลิตได้ต้องขายเข้าระบบของการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งการที่ไทยถือหุ้นอยู่ด้วยจะสร้างผลประโยชน์ให้กับไทยทั้งด้านความปลอดภัยและการค้าด้วยเช่นกัน
แม้วันนี้นานาประเทศกำลังกดดันให้ไทยยกเลิกการชดเชยราคาพลังงาน รวมทั้งเปิดข้อมูลด้านพลังงานทดแทนและการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศ ด้วยการใช้กฎเกณฑ์ทางการค้าและกติการ่วมกันของการเป็นสมาชิกองค์กรนานาชาติ แต่ท้ายที่สุดไทยจะสามารถยกเลิกการอุดหนุนหรือสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้หรือไม่ ปัจจัยสำคัญไม่ได้ขึ้นกับนานาประเทศเพียงอย่างเดียว แต่แรงกดดันทางสังคมและการเมืองในประเทศกลายเป็นตัวกำหนดชี้ที่สำคัญกว่า ว่าไทยจะเดินตามกลไกตลาดโลกได้หรือไม่...???
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,714 16-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 89
ปตท. เดินหน้าขยายการลงทุนอีกกว่า 700,000 ล้านบาท สร้างความมั่นคงด้านพลังงานและความแข็งแกร่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจประเทศ ในระยะ 5 ปี ข้างหน้า
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ว่า ปตท. มีวิสัยทัศน์ในการมุ่งไปสู่การเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติขนาดใหญ่ (Big) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทพลังงานข้ามชาติได้ โดยมีสายโซ่อุปทานที่ยาว (Long) ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดพลังร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ และมีระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรที่เข้มแข็ง (Strong) เพื่อสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก อันจะส่งผลให้สามารถใช้ศักยภาพดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดแคลนแม้ในยามวิกฤต และภายใต้วิสัยทัศน์ในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานดังกล่าว ปตท. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้าทางวิทยาการด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Technologically Advanced and Green National Oil Company (TAGNOC) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ แทนการพึ่งพาทรัพยากรจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว โดยปัจจุบัน ปตท. ได้เร่งสร้างและคิดค้น Green Product เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกซึ่งสามารถต่อยอดให้เป็นธุรกิจพลังงานที่ยั่งยืนได้ในอนาคต ควบคู่กับการลงทุนในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานหลักที่นับวันจะทยอยหมดลง
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร กล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2554 ของ ปตท. แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยในไตรมาสที่สี่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจาก ปตท. มีแผนการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อรองรับทุกสถานการณ์ ได้แก่ แผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan) แผนการจัดการสภาวะวิกฤต (Crisis Management Plan) แผนการกู้คืนระบบสารสนเทศ (Disaster Recovery Plan) แผนการจัดเตรียมทรัพยากรบุคลากร (Human Resource Plan) แผนการจัดเตรียมสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง (Work Area Recovery Plan) และแผนการกู้คืนอาคารและสถานที่ (Site Recovery Plan) ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและการให้บริการ อีกทั้งสามารถใช้ศักยภาพที่มีเข้าช่วยฟื้นฟูและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี 2554 ปตท. มีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 47,246 ล้านบาท ทั้งนี้ หากรวมผลการดำเนินงานจากบริษัทในกลุ่มตามสัดส่วนการลงทุนอีก 58,050 ล้านบาทแล้ว กลุ่ม ปตท. มีกำไรสุทธิรวม 105,296 ล้านบาท จากรายได้จากการขายและบริการรวม 2,428,165 ล้านบาท มีรายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจ่าย (EBITDA) 210,748 ล้านบาท ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของ ปตท. ในวันนี้ ทำให้ ปตท. สามารถนำเงินส่งรัฐได้สูงสุดถึงประมาณ 63,000 ล้านบาท โดยนำส่งในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 39,000 ล้านบาท และ ในรูปเงินปันผลประมาณ 24,000 ล้านบาท โดยรัฐสามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้มีความผาสุกและเกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากผลกำไรที่ส่วนหนึ่งได้นำส่งเข้ารัฐ และอีกส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาใช้ดำเนินกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนแล้ว ปตท. ยังได้จัดสรรเงินสำหรับลงทุนในปี 2555 กว่า 91,000 ล้านบาท และงบฯลงทุน 5 ปี ประมาณ 720,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนของ ปตท. ประมาณ 360,000 ล้านบาท เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ได้แก่ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยายไปยังนครสวรรค์และนครราชสีมา โครงการขยายขีดความสามารถในการนำเข้าก๊าซหุงต้มและก๊าซแอลเอ็นจี ฯลฯ ส่วนการลงทุนของบริษัท ปตท.สผ. อีกประมาณ 360,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซฯ และน้ำมันทั้งในและต่างประเทศ
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากรายได้และกำไรสุทธิของ ปตท. แล้ว จะเห็นว่าอัตราผลตอบแทนต่อรายได้เพียงร้อยละ 4.4 อยู่ในระดับไม่สูงเมื่อเทียบกับบริษัทพลังงานชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 9.5 เนื่องจาก ปตท. ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลสังคมภายใต้แนวคิด CSR : Care Share Respect ซึ่งรวมถึงการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และการดำเนินโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการลูกโลกสีเขียว โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง ซึ่งมีส่วนช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน รวมถึงการสนับสนุนด้านการศึกษา และด้านกีฬา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เยาวชนเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป
ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ว่า ปตท. มีวิสัยทัศน์ในการมุ่งไปสู่การเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติขนาดใหญ่ (Big) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทพลังงานข้ามชาติได้ โดยมีสายโซ่อุปทานที่ยาว (Long) ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดพลังร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ และมีระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรที่เข้มแข็ง (Strong) เพื่อสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก อันจะส่งผลให้สามารถใช้ศักยภาพดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดแคลนแม้ในยามวิกฤต และภายใต้วิสัยทัศน์ในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานดังกล่าว ปตท. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้าทางวิทยาการด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Technologically Advanced and Green National Oil Company (TAGNOC) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ แทนการพึ่งพาทรัพยากรจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว โดยปัจจุบัน ปตท. ได้เร่งสร้างและคิดค้น Green Product เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกซึ่งสามารถต่อยอดให้เป็นธุรกิจพลังงานที่ยั่งยืนได้ในอนาคต ควบคู่กับการลงทุนในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานหลักที่นับวันจะทยอยหมดลง
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร กล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2554 ของ ปตท. แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยในไตรมาสที่สี่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจาก ปตท. มีแผนการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อรองรับทุกสถานการณ์ ได้แก่ แผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan) แผนการจัดการสภาวะวิกฤต (Crisis Management Plan) แผนการกู้คืนระบบสารสนเทศ (Disaster Recovery Plan) แผนการจัดเตรียมทรัพยากรบุคลากร (Human Resource Plan) แผนการจัดเตรียมสถานที่ปฏิบัติงานสำรอง (Work Area Recovery Plan) และแผนการกู้คืนอาคารและสถานที่ (Site Recovery Plan) ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและการให้บริการ อีกทั้งสามารถใช้ศักยภาพที่มีเข้าช่วยฟื้นฟูและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี 2554 ปตท. มีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 47,246 ล้านบาท ทั้งนี้ หากรวมผลการดำเนินงานจากบริษัทในกลุ่มตามสัดส่วนการลงทุนอีก 58,050 ล้านบาทแล้ว กลุ่ม ปตท. มีกำไรสุทธิรวม 105,296 ล้านบาท จากรายได้จากการขายและบริการรวม 2,428,165 ล้านบาท มีรายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจ่าย (EBITDA) 210,748 ล้านบาท ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของ ปตท. ในวันนี้ ทำให้ ปตท. สามารถนำเงินส่งรัฐได้สูงสุดถึงประมาณ 63,000 ล้านบาท โดยนำส่งในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 39,000 ล้านบาท และ ในรูปเงินปันผลประมาณ 24,000 ล้านบาท โดยรัฐสามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้มีความผาสุกและเกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากผลกำไรที่ส่วนหนึ่งได้นำส่งเข้ารัฐ และอีกส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาใช้ดำเนินกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนแล้ว ปตท. ยังได้จัดสรรเงินสำหรับลงทุนในปี 2555 กว่า 91,000 ล้านบาท และงบฯลงทุน 5 ปี ประมาณ 720,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนของ ปตท. ประมาณ 360,000 ล้านบาท เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ได้แก่ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยายไปยังนครสวรรค์และนครราชสีมา โครงการขยายขีดความสามารถในการนำเข้าก๊าซหุงต้มและก๊าซแอลเอ็นจี ฯลฯ ส่วนการลงทุนของบริษัท ปตท.สผ. อีกประมาณ 360,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซฯ และน้ำมันทั้งในและต่างประเทศ
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากรายได้และกำไรสุทธิของ ปตท. แล้ว จะเห็นว่าอัตราผลตอบแทนต่อรายได้เพียงร้อยละ 4.4 อยู่ในระดับไม่สูงเมื่อเทียบกับบริษัทพลังงานชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ที่มีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 9.5 เนื่องจาก ปตท. ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลสังคมภายใต้แนวคิด CSR : Care Share Respect ซึ่งรวมถึงการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และการดำเนินโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการลูกโลกสีเขียว โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง ซึ่งมีส่วนช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน รวมถึงการสนับสนุนด้านการศึกษา และด้านกีฬา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เยาวชนเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป
ที่มา : ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 1024
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 90
"เพราะเรียบง่าย จึงชนะ"