รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 91
ปตท.อู้ฟู่กำไรแสนล.ตั้งงบ5ปีลงทุน9แสนล.
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Saturday, February 18, 2012
ASTV ผู้จัดการรายวัน - กลุ่ม ปตท. กำไร 1 แสนล้านในปี 54 จากรายได้ 2.4 ล้านล้านบาท ตั้งเป้า 5 ปี ใช้เงินลงทุนทั้งกลุ่มแตะ 9 แสนล้านบาท พร้อมผลักดันบริษัทขึ้นสู่เป้าหมายบริษัทพลังงานข้ามชาติ 1 ใน 3 ของเอเชีย
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)หรือ PTT เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจ ว่า ปตท.มีวิสัยทัศน์ในการมุ่งไปสู่การเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติขนาดใหญ่ (Big) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทพลังงานข้ามชาติได้ โดยมีสายโซ่อุปทานที่ยาว (Long) ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดพลังร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ และมีระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรที่เข้มแข็ง (Strong) เพื่อสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก อันจะส่งผลให้สามารถใช้ศักยภาพดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดแคลนแม้ในยามวิกฤต
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2554 ของ ปตท. แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจาก ปตท.มีแผนการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อรองรับทุกสถานการณ์ ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและการให้บริการ ทำให้มีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 47,246 ล้านบาท ทั้งนี้ หากรวมผลการดำเนินงานจากบริษัทในกลุ่มตามสัดส่วนการลงทุนอีก 58,050 ล้านบาทแล้ว กลุ่ม ปตท. จะมีกำไรสุทธิรวม 105,296 ล้านบาทจากรายได้จากการขายและบริการรวม 2,428,165 ล้านบาท มีรายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจ่าย (EBITDA) 210,748 ล้านบาท ซึ่งผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของ ปตท. ในวันนี้ ทำให้ ปตท. สามารถนำเงินส่งรัฐได้สูงสุดถึงประมาณ 63,000 ล้านบาท โดยนำส่งในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 39,000 ล้านบาทและในรูปเงินปันผลประมาณ 24,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ปตท. ยังได้จัดสรรเงินสำหรับลงทุนในปี 2555 กว่า 91,000 ล้านบาท และงบฯลงทุน 5 ปี ประมาณ720,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนของ ปตท. ประมาณ 360,000 ล้านบาท เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ได้แก่ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยายไปยังนครสวรรค์และนครราชสีมา โครงการขยายขีดความสามารถในการนำเข้าก๊าซหุงต้มและก๊าซแอลเอ็นจี ฯลฯ ส่วนการลงทุนของบริษัท ปตท.สผ. อีกประมาณ360,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซฯ และน้ำมันทั้งในและต่างประเทศ และถ้ารวมกับบริษัทอื่นๆ ในกลุ่ม จะทำให้งบการลงทุนรวมสูงถึง 900,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้บริษัทต้องหาเงินลงทุนเพิ่มอีกเพียง 45,000 ล้านบาทเท่านั้น
"ในเงินลงทุนที่ต้องหามาเพิ่ม 4.5 หมื่นล้าน 2 หมื่นล้านเราได้มาแล้วจากการออกหุ้นกู้เมื่อปีก่อน และจะมีการออกหุ้นกู้อีก 1.5 หุ้นล้านบาทช่วง พ.ค.นี้ ทดแทนหุ้นกู้ชุดเดิมที่จะครบกำหนด ส่วนอีก 1 หมื่นล้านบาทเรากำลังพิจารณาจะใช้วิธีใด"
ทั้งนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท. กล่าวถึงคาดการณ์รายได้ของบริษัทในปี2555 ว่า รายได้จะปรับตัวสูงขึ้นกว่า ปี 2554 ซึ่งสูงขึ้นจากปีก่อน 27.9% มาอยู่ที่ 2,428,165 ล้านบาทแน่ โดยคาดว่าจะมาจากการเติบโตจากยอดขายก๊าซธรรมชาติ 4-5% ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมี คาดว่าจะทรงตัวจากปีที่ผ่านมา
โดยบริษัทตั้งเป้าจะผลิตและจำหน่ายน้ำมัน 900,000 บาร์เรล/วัน ในปี 2565 จะผลิตและจำหน่ายถ่านหิน70 ล้านตันในปี 2563 พร้อมทั้งมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของตนเอง 3 ล้านไร่ใน 2556 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการเป็นบริษัทพลังงานข้ามชาติอันดับ 1 ใน 3 ของเอเชีย อีกทั้งจะมีการขยายธุรกิจไปสู่ภูมิภาคอินโดจีนมากขึ้น พร้อมทั้งตั้งเป้าเป็นผู้จัดหาพลังงานให้แก่ประเทศไทยในสัดส่วน 52% ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่อยู่ในระดัล 18%
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Saturday, February 18, 2012
ASTV ผู้จัดการรายวัน - กลุ่ม ปตท. กำไร 1 แสนล้านในปี 54 จากรายได้ 2.4 ล้านล้านบาท ตั้งเป้า 5 ปี ใช้เงินลงทุนทั้งกลุ่มแตะ 9 แสนล้านบาท พร้อมผลักดันบริษัทขึ้นสู่เป้าหมายบริษัทพลังงานข้ามชาติ 1 ใน 3 ของเอเชีย
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)หรือ PTT เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจ ว่า ปตท.มีวิสัยทัศน์ในการมุ่งไปสู่การเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติขนาดใหญ่ (Big) เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทพลังงานข้ามชาติได้ โดยมีสายโซ่อุปทานที่ยาว (Long) ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดพลังร่วมในการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ และมีระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรที่เข้มแข็ง (Strong) เพื่อสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก อันจะส่งผลให้สามารถใช้ศักยภาพดังกล่าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดแคลนแม้ในยามวิกฤต
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2554 ของ ปตท. แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจาก ปตท.มีแผนการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อรองรับทุกสถานการณ์ ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและการให้บริการ ทำให้มีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 47,246 ล้านบาท ทั้งนี้ หากรวมผลการดำเนินงานจากบริษัทในกลุ่มตามสัดส่วนการลงทุนอีก 58,050 ล้านบาทแล้ว กลุ่ม ปตท. จะมีกำไรสุทธิรวม 105,296 ล้านบาทจากรายได้จากการขายและบริการรวม 2,428,165 ล้านบาท มีรายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจ่าย (EBITDA) 210,748 ล้านบาท ซึ่งผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของ ปตท. ในวันนี้ ทำให้ ปตท. สามารถนำเงินส่งรัฐได้สูงสุดถึงประมาณ 63,000 ล้านบาท โดยนำส่งในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 39,000 ล้านบาทและในรูปเงินปันผลประมาณ 24,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ปตท. ยังได้จัดสรรเงินสำหรับลงทุนในปี 2555 กว่า 91,000 ล้านบาท และงบฯลงทุน 5 ปี ประมาณ720,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนของ ปตท. ประมาณ 360,000 ล้านบาท เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ได้แก่ โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยายไปยังนครสวรรค์และนครราชสีมา โครงการขยายขีดความสามารถในการนำเข้าก๊าซหุงต้มและก๊าซแอลเอ็นจี ฯลฯ ส่วนการลงทุนของบริษัท ปตท.สผ. อีกประมาณ360,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซฯ และน้ำมันทั้งในและต่างประเทศ และถ้ารวมกับบริษัทอื่นๆ ในกลุ่ม จะทำให้งบการลงทุนรวมสูงถึง 900,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้บริษัทต้องหาเงินลงทุนเพิ่มอีกเพียง 45,000 ล้านบาทเท่านั้น
"ในเงินลงทุนที่ต้องหามาเพิ่ม 4.5 หมื่นล้าน 2 หมื่นล้านเราได้มาแล้วจากการออกหุ้นกู้เมื่อปีก่อน และจะมีการออกหุ้นกู้อีก 1.5 หุ้นล้านบาทช่วง พ.ค.นี้ ทดแทนหุ้นกู้ชุดเดิมที่จะครบกำหนด ส่วนอีก 1 หมื่นล้านบาทเรากำลังพิจารณาจะใช้วิธีใด"
ทั้งนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท. กล่าวถึงคาดการณ์รายได้ของบริษัทในปี2555 ว่า รายได้จะปรับตัวสูงขึ้นกว่า ปี 2554 ซึ่งสูงขึ้นจากปีก่อน 27.9% มาอยู่ที่ 2,428,165 ล้านบาทแน่ โดยคาดว่าจะมาจากการเติบโตจากยอดขายก๊าซธรรมชาติ 4-5% ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมี คาดว่าจะทรงตัวจากปีที่ผ่านมา
โดยบริษัทตั้งเป้าจะผลิตและจำหน่ายน้ำมัน 900,000 บาร์เรล/วัน ในปี 2565 จะผลิตและจำหน่ายถ่านหิน70 ล้านตันในปี 2563 พร้อมทั้งมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของตนเอง 3 ล้านไร่ใน 2556 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการเป็นบริษัทพลังงานข้ามชาติอันดับ 1 ใน 3 ของเอเชีย อีกทั้งจะมีการขยายธุรกิจไปสู่ภูมิภาคอินโดจีนมากขึ้น พร้อมทั้งตั้งเป้าเป็นผู้จัดหาพลังงานให้แก่ประเทศไทยในสัดส่วน 52% ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่อยู่ในระดัล 18%
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 92
ทัพธุรกิจแห่ปักธงลงทุนพม่า "ปตท.-สหพัฒน์-ซีพี-เบทาโกร-ศรีไทยฯ" รุกหนัก-ส.อ.ท.นำทีมสำรวจลู่ทางปลายมี.ค.นี้
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, February 20, 2012
เตือน "การเมือง-กฎระเบียบ" ปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน
“กรุงเทพธุรกิจ”สำรวจธุรกิจไทยเข้าไป ลงทุนในพม่า พบมีความเคลื่อนไหวคึกคักจากหลากหลายธุรกิจ ทั้ง“พลังงาน-ค้าปลีก-สื่อสาร-อาหาร-มีเดีย-ขายตรง” หลังพม่าประกาศนโยบายเปิดประเทศ รับนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ปตท.-กลุ่มซีพี-สหพัฒน์ สบช่อง เร่งขยายการลงทุน ขณะที่รายใหม่เริ่มเข้าไปศึกษาหาลู่ทาง มั่นใจพม่ามีศักยภาพจากฐานทรัพยากร-ประชากร แม้ยังติดปัญหากฎระเบียบ
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ในฐานะเลขาธิการสภาธุรกิจไทย-พม่า เปิดเผยว่าขณะนี้นักธุรกิจไทยสนใจที่จะเข้าไปทำธุรกิจในพม่ามาก เห็นได้จากสภาธุรกิจไทย-พม่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนก.พ.2553 ช่วงนั้นมีนักธุรกิจไทยสนใจ ไปทำธุรกิจในพม่าไม่มาก
ปัจจุบันมีสมาชิกสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและสนใจร่วมเดินทางไปหาลู่ทางทำธุรกิจในพม่าเพิ่มขึ้นมากโดยวันที่ 30 มี.ค.- 4 เม.ย.นี้ สภาธุรกิจไทย-พม่า จะนำนักธุรกิจไทย เดินทางไปพม่าประมาณ 30 ราย โดย
นักธุรกิจที่จะพาไปเป็นผู้สนใจเข้าไปลงทุนในพม่าจริง
ก่อนหน้านั้น ธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในพม่าเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เช่นบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ที่เข้าไปลงทุนในเรื่องเกษตรแปรรูป หรือในกลุ่มพลังงาน คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) จำกัด (มหาชน) ที่เข้าไปลงทุนด้านพลังงาน แต่การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของธุรกิจไทยมีความหลากหลายในหลายธุรกิจ
นายธนิต กล่าวว่า การลงทุนในพม่าถือเป็นโอกาสที่ดีเพราะการเข้าไปลงทุนก่อนจะได้เปรียบ และเมื่อนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนจนคุ้นเคยแล้ว หลังจากนั้น เมื่อกฎระเบียบในพม่าดีขึ้นจะทำให้ได้เปรียบนักธุรกิจที่เข้าไปใหม่ ซึ่งอาจเข้าไปลงทุนในเมืองหลักของพม่าที่มีความพร้อมมากกว่า เช่น ย่างกุ้ง เนย์ปิดอว์
เขาเตือนว่า การลงทุนในพม่ายังมีความเสี่ยงเพราะรัฐบาลพม่ามีอำนาจเด็ดขาด โดยนักธุรกิจไทยที่จะไปลงทุนในพม่าไม่ควรทุ่มลงไปทั้งหมด เนื่องจากถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นมาอาจได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศของพม่าปี 2541 กำหนดให้การลงทุนภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์ ภาคบริการอย่าง น้อย 300,000 ดอลลาร์ และเมื่อได้รับอนุมัติจากทาง การพม่าแล้วต้องนำเข้ามาฝากกับธนาคารในพม่าอย่าง น้อย 50% ภายใน 20 วัน และต้องฝากให้ครบทั้งหมดภายใน 180 วัน ซึ่งเป็นข้อจำกัดให้ผู้ที่จะลงทุนต้องเร่งนำเงินเข้าพม่าแต่พม่ามีปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน โดยการแลกเปลี่ยนในธนาคาร 1 ดอลลาร์ ได้ 150 จ๊าด แต่นอกระบบ 1 ดอลลาร์ได้ 780 จ๊าด
นายธนิต แนะว่าการเข้าไปลงทุนในพม่าจะต้องพิจารณาข้อมูลสำคัญ 5 เรื่อง คือ 1.กฎหมายการลงทุนที่มีรายละเอียดต่างจากประเทศอื่นและกำลังปรับปรุงกฎหมายการลงทุนใหม่คาดว่าจะบังคับใช้ได้ในปีหน้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนยังขาดความชัดเจน 2.อัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันระหว่างในระบบและนอกระบบ 3.ไฟฟ้าไม่เพียงพอกับความต้องการทำให้มีการสลับเวลาการใช้ไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ 4.สหรัฐและสหภาพยุโรปยังคว่ำบาตรพม่าจึงมีผลต่อสินค้าที่ส่งออกจากพม่า ซึ่งคาดว่าปีนี้ยังคงถูกคว่ำบาตรอยู่แต่ปีหน้าอาจมีการพิจารณาใหม่ 5.โครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการลงทุนยังไม่พร้อม เช่น ท่าเรือทำให้ค่าระวางเรือจากพม่ามีราคาแพง
กลุ่มปตท.ขยายลงทุนต่อเนื่อง
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปลงทุนในพม่ามาก่อนหน้านี้ โดยในนามของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้พัฒนาการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการร่วมลงทุนกับรัฐบาลพม่า
ทั้งนี้ ปตท.สผ.คาดว่าแหล่ง M 9 จะผลิตและต่อท่อส่งก๊าซธรรมชาติมาใช้ในฝั่งไทยในปี 2556 มีกำลังผลิต 240 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน และอีก 60 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน จะไปใช้ในสหภาพพม่า ส่วนแหล่งซอติก้านั้น อยู่ระหว่างงานก่อสร้าง คาดว่าจะผลิตได้ในปลายปี 2556 ส่วนแหล่ง M 3 ในปีนี้จะเจาะสำรวจ 2 หลุม คาดว่าจะสามารถทราบศักยภาพได้ภายในปีนี้ และหากพบศักยภาพจะเสนอแพ็คเกจการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ เพื่อป้อนเมืองย่างกุ้ง ซึ่งมีการเติบโตสูง
นอกจากนี้ แปลงสำรวจ M 11 ในบริเวณน้ำลึก ในปีนี้จะดำเนินการเจาะสำรวจ 1 หลุม โดยมีความเป็นไปได้ที่จะพบศักยภาพปิโตรเลียมในแหล่งดังกล่าว และอีก 2 แปลงบนบกที่ ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ จะมีการลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือน ก.พ.นี้และตามข้อผูกพันนั้นจะต้องเร่งสำรวจให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี
“มิสทิน”ร่วมสหพัฒน์ตั้งโรงงาน
ด้าน นายดนัย ดีโรจน์วงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ “มิสทิน” แบรนด์เครื่องสำอางขายตรง กล่าวว่า มิสทินเป็นเจ้าแรกที่เข้าบุกเบิกตลาดพม่าในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันสามารถครองความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดเครื่องสำอาง และมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 ยอดขายเติบโตถึง 100%
ปัจจุบันบริษัทไม่ได้ทำธุรกิจแค่เข้าไปจำหน่าย สินค้า หรือมีสมาชิกสาวมิสทินเท่านั้น แต่ยังได้เข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตในพม่า ซึ่งเป็นการร่วม ลงทุนระหว่างเบทเตอร์เวย์กับเครือสหพัฒน์ โดยตลาดหลักอยู่ในย่างกุ้ง แต่ในปีนี้จะขยายตลาดเพิ่ม ไปใน 3 เมือง เช่น พุกาม มัณฑะเลย์ เป็นต้น
“ปีนี้เราจะเพิ่มความเข้มข้นการทำตลาดในพม่ามากขึ้น โดยมีการทุ่มงบโฆษณาและจัดกิจกรรม เพราะจากการทำเซอร์เวย์ตลอดที่ผ่านมา พบว่ามิสทินเป็นเครื่องสำอางอันดับ 1 ในใจของผู้หญิงพม่า ภาพลักษณ์เทียบเท่าเครื่องสำอางแบรนด์เนมจากยุโรปและอเมริกา เราเชื่อว่าพม่าจะเป็นประเทศดาวรุ่งในอีก 2-3 ปีข้างหน้า”
“มาม่า” เตรียมสร้างโรงงานแห่งที่ 2
เช่นเดียวกับ นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TF บริษัทในเครือสหพัฒน์ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” เปิดเผยแผนการขยายการลงทุนในในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าว่า บริษัทจะตั้งโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแห่งที่ 2 เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต เนื่องจากโรงงานแรกซึ่งตั้งอยู่ที่ย่างกุ้งมีกำลังผลิตไม่เพียงพอ โดยโรงงานดังกล่าวมีเครื่องจักร 6 เครื่อง กำลังการผลิต 30,000 หีบ/เดือน
“การลงทุนในพม่าจะเป็นการเช่าที่ดินระยะยาว 60 ปี โดยเดินทางไปดูที่ดินที่ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ในต้นเดือน ม.ค. ซึ่งเบื้องต้นพบว่าราคาที่ดินที่ย่างกุ้งเฉลี่ย 3 ล้านบาท/ไร่ ขณะที่ราคาที่ดินที่มัณฑะเลย์เฉลี่ย 2 แสนบาท/ไร่ สำหรับการเช่านาน 60 ปี อีกทั้งขณะนี้พม่ามีแผนจะเปิดประเทศ ทำให้มองเห็นโอกาสในการขยายตลาด จึงเตรียมตั้งโรงงานแห่งใหม่ขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปได้ในเร็วๆ นี้ และใช้เวลาดำเนินการก่อสร้าง 10 เดือน” นายพิพัฒกล่าว
ซีพีเล็งรุกสร้างแบรนด์-โรงไฟฟ้าชีวมวล
ด้าน นายสุพัฒน์ ศรีธนาธร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารแบรนด์เกี๊ยวกุ้งซีพี และกลุ่มสินค้าอาหารอาทิ ไส้กรอกซีพี ไก่แปรรูป กล่าวว่า ขณะนี้แบรนด์ซีพี ได้เริ่มเข้าไปสร้างแบรนด์แล้วผ่านกลุ่มสินค้า ไก่ย่างห้าดาว และ ซีพีเฟรชมาร์ท เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในตลาดผู้บริโภคในประเทศพม่า ก่อนที่จะวางแผนบุกในขั้นต่อไป โดยจะเน้นการสร้างแบรนด์ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าประเทศพม่าจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับนักลงทุน
สำหรับแผนการลงทุนของกลุ่มซีพี ยังมีธุรกิจด้านพลังงานโดย บริษัท สหโคเจน จำกัด (มหาชน) มีแผนที่จะเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานใหม่ ในรูปแบบการร่วมทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าชีวมวลจำหน่ายให้กับรัฐบาลพม่า ขณะเดียวกันจะนำพลังงานไอน้ำที่ได้จากโรงงานไฟฟ้ามาใช้ผลิตบะหมี่ อีกด้วย
“เบทาโกร”ตั้ง สนง.ตัวแทนศึกษาข้อมูล
นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายธุรกิจอาหารสัตว์ สายธุรกิจอาหารและธุรกิจภูมิภาค เครือเบทาโกร กล่าวว่า การเปิดประเทศของพม่าในช่วงนี้ ทำให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนจำนวนมาก ซึ่งเครือเบทาโกร ประเมินว่าพม่ามีประชากรมากถึง 54 ล้านคน ขณะที่ธุรกิจปศุสัตว์ยังค่อนข้างล้าหลัง ดังนั้นเบทาโกรจึงสนใจที่จะเข้าไปทำธุรกิจในพม่า โดยมีแผนที่จะเข้าไปจัดตั้งสำนักงานตัวแทน (representative office) ในพม่า เพื่อศึกษาข้อมูลและลู่ทางการลงทุนในพม่า
ปัจจุบันอยู่ระหว่างหาบุคลากร ซึ่งการเข้าไปตั้งสำนักงานตัวแทน เพื่อศึกษาข้อมูลการลงทุน กฎระเบียบและกฎหมายใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น เงื่อนไขการลงทุน อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยเพียงใด เพราะเมื่อ 3-4 ปีก่อน เครือเบทาโกรเคยเข้าไปศึกษาการลงทุนในพม่ามาแล้ว แต่มีปัญหาการเมืองไม่นิ่ง กฎระเบียบไม่ชัดเจน ทำให้พม่าขณะนั้นยังไม่น่าสนใจ โดยเฉพาะเงื่อนไขการทำธุรกิจที่พม่ากำหนดให้บริษัทต้องส่งออกสินค้าในพม่าด้วย จึงจะมีสิทธินำสินค้าเข้าไปจำหน่าย
“การทำธุรกิจที่มีลักษณะเหมือนการจัดโควตา จึงค่อนข้างยุ่งยาก เพราะเราเองไม่รู้ว่าจะส่งออกสินค้าอะไรของพม่า ในช่วงนั้นเราเลยหันไปที่กัมพูชาและลาวก่อน แต่ก็ไม่ได้ทิ้งพม่าไปเลย และมีตัวแทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) ของท้องถิ่น ที่มีการส่งออกสินค้าประเภทถั่วไปยังตะวันออกกลาง ทำให้มีสิทธิ์นำเข้าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์จากไทยไปจำหน่ายในพม่า” นายณรงค์ชัย กล่าว
คาดใช้เวลาศึกษา 1 ปีก่อนลงทุน
เขากล่าวว่า คาดว่าจะตั้งสำนักงานได้ในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้ และจะใช้เวลาศึกษาข้อมูลอย่างน้อย 1 ปี เช่น ส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ บริษัทใดเป็นเจ้าตลาด ราคาสินค้าเมื่อเทียบกับราคาในไทย เงื่อนไขการลงทุน เช่น สามารถลงทุนได้ 100% หรือต้องร่วมทุน กรรมสิทธิ์ที่ดิน หากต้องเช่าที่ดิน กำหนดระยะเวลาเช่ากี่ปี โดยเบทาโกรมีเป้าหมายที่จะลงทุนสร้างฟาร์ม พ่อ-แม่พันธุ์สุกร ฟาร์มสุกรขุน และไก่ แล้วนำเข้าอาหารสัตว์จากประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนเดียวกับที่ลงทุนในกัมพูชา และลาว
“เราไม่รู้ข้อมูลของพม่าจริงๆ รู้แต่ว่า ภาคปศุสัตว์ยังช้ากว่าไทยมาก เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ ยังไม่พร้อม ต่างกับธุรกิจประมง ที่พม่า เป็น แหล่งเลี้ยงปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ การลงทุนของเบทาโกร ในพม่านั้น เราคิดว่าธุรกิจปศุสัตว์ ในพม่ายังมีที่ว่างมากพอที่จะให้เราเข้าไปได้” นายณรงค์ชัยกล่าว
ขายตรงเชื่อคนพม่าอยากหารายได้เสริม
นายบัญชา เหมินทคุณ รองกรรมการผู้จัดการ ด้านธุรกิจเครือข่ายเอสเนเจอร์ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทลงทุน 15-20 ล้านบาท เปิดสำนักงานเอสเนเจอร์ที่เมืองย่างกุ้งประเทศพม่า โดยงบดังกล่าวรวมถึงอุปกรณ์สำนักงาน และการวางระบบไอทีในการเชื่อมต่อข้อมูลบริษัทแม่ที่ประเทศไทย
การเปิดสาขาที่ประเทศพม่าเป็นประเทศแรก เนื่องจากเห็นว่าเป็นตลาดมีศักยภาพที่ดีในการต่อยอดธุรกิจ ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลพบว่า จำนวนประชากรในพม่าปัจจุบันมีประมาณ 55-58 ล้านคน นอกจากนี้การแข่งขันตลาดเครือข่ายในพม่ายังน้อยกว่าประเทศไทย ถึงแม้ว่ากำลังซื้อจะน้อยกว่าไทยก็ตาม แต่ประชากรในประเทศดังกล่าวก็ยังต้องการมีรายได้เสริม
นายบัญชากล่าวว่า ปีนี้บริษัทยังมีแผนเข้าไปทำตลาดกัมพูชาและอินโดนีเซีย และจะขยายให้ครบทั้งอาเซียน รวมทั้งจีนในอนาคตอีกด้วย
ขณะที่ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ยูนิตี้ จำกัด ก็ได้รุกเข้าตลาดอาเซียนเช่นกัน โดยได้ขยายธุรกิจไปแล้ว 4 ประเทศ 3 รูปแบบ คือ การเข้าไปลงทุนเองที่ฮ่องกง โดยเปิดร้านแฟลกชิพ สโตร์ 5 แห่ง, รูปแบบไลเซนส์ ที่ประเทศกัมพูชา 2 แห่ง มาเลเซีย 7 แห่ง และรูปแบบการตั้งตัวแทนจำหน่าย ซึ่งเปิดแล้ว 5 แห่งในพม่า และยังมีแผนขยายธุรกิจไปลาว ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกาในรูปแบบการลงทุนเอง
ด้านนายอิทธิศักดิ์ อำพันธ์ยุทธ์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท คังเซน-เคนโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตลาดที่พม่าและลาวแล้วในขณะนี้ ด้วยการร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น และลงทุนเองในอินโดนีเซีย และปีนี้มีแผนจะขยายไปที่เวียดนามต่อไป
กลุ่มรองเท้าเตรียมแผนลงทุน
นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ผลิตรองเท้าสนใจเข้าไปลงทุนในพม่าเพราะเป็นตลาดใหม่ที่มีโอกาสขยายตัวสูงและในพม่ามีการผลิตรองเท้าในประเทศไม่มาก โดยรองเท้าที่จำหน่ายในพม่าส่วนใหญ่มาจากจีนและไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรองเท้าแตะเพราะคนพม่านิยมมากกว่ารองเท้าหุ้มส้น
“สมาชิกสมาคมรองเท้าบางรายมีแผนเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตรองเท้าในพม่าเพราะแรงงานในพม่ามีทักษะ ซึ่งมีแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยและกลับไปอยู่พม่าและแรงงานกลุ่มเป็นแรงงานที่มีทักษะและสามารถทำงานฝีมือได้ โดยแรงงานพม่ากลุ่มนี้ได้ทักษะจากการทำงานในโรงงานของญี่ปุ่น สหรัฐและไทย”
นายชนินทร์ กล่าวว่า การเข้าไปลงทุนในพม่าคงต้องหาพาร์ทเนอร์เพื่อความมั่นใจในการลงทุน โดยถ้ายังหาพาร์ทเนอร์ไม่ได้ก็อาจชะลอไว้ก่อนเพราะการไปลงทุนเองทั้งหมดมีความเสี่ยงมาก ซึ่งการลงทุนให้สำเร็จต้องใช้ระบบผูกมิตรกับนักธุรกิจท้องถิ่นที่มีการนับถือกันเป็นเครือญาติ และการตั้งโรงงานในพม่าจะเน้นจำหน่ายในพม่าเป็นหลักเพราะมีความต้องการสินค้าสูงและสินค้านำเข้ามีราคาแพง โดยเชื่อว่าการตั้งโรงงานในพม่าจะทำให้รองเท้าที่ผลิตขึ้นมาแข่งขันกับรองเท้านำเข้าจากจีนได้
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, February 20, 2012
เตือน "การเมือง-กฎระเบียบ" ปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน
“กรุงเทพธุรกิจ”สำรวจธุรกิจไทยเข้าไป ลงทุนในพม่า พบมีความเคลื่อนไหวคึกคักจากหลากหลายธุรกิจ ทั้ง“พลังงาน-ค้าปลีก-สื่อสาร-อาหาร-มีเดีย-ขายตรง” หลังพม่าประกาศนโยบายเปิดประเทศ รับนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ปตท.-กลุ่มซีพี-สหพัฒน์ สบช่อง เร่งขยายการลงทุน ขณะที่รายใหม่เริ่มเข้าไปศึกษาหาลู่ทาง มั่นใจพม่ามีศักยภาพจากฐานทรัพยากร-ประชากร แม้ยังติดปัญหากฎระเบียบ
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ในฐานะเลขาธิการสภาธุรกิจไทย-พม่า เปิดเผยว่าขณะนี้นักธุรกิจไทยสนใจที่จะเข้าไปทำธุรกิจในพม่ามาก เห็นได้จากสภาธุรกิจไทย-พม่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนก.พ.2553 ช่วงนั้นมีนักธุรกิจไทยสนใจ ไปทำธุรกิจในพม่าไม่มาก
ปัจจุบันมีสมาชิกสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและสนใจร่วมเดินทางไปหาลู่ทางทำธุรกิจในพม่าเพิ่มขึ้นมากโดยวันที่ 30 มี.ค.- 4 เม.ย.นี้ สภาธุรกิจไทย-พม่า จะนำนักธุรกิจไทย เดินทางไปพม่าประมาณ 30 ราย โดย
นักธุรกิจที่จะพาไปเป็นผู้สนใจเข้าไปลงทุนในพม่าจริง
ก่อนหน้านั้น ธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในพม่าเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เช่นบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ที่เข้าไปลงทุนในเรื่องเกษตรแปรรูป หรือในกลุ่มพลังงาน คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) จำกัด (มหาชน) ที่เข้าไปลงทุนด้านพลังงาน แต่การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของธุรกิจไทยมีความหลากหลายในหลายธุรกิจ
นายธนิต กล่าวว่า การลงทุนในพม่าถือเป็นโอกาสที่ดีเพราะการเข้าไปลงทุนก่อนจะได้เปรียบ และเมื่อนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนจนคุ้นเคยแล้ว หลังจากนั้น เมื่อกฎระเบียบในพม่าดีขึ้นจะทำให้ได้เปรียบนักธุรกิจที่เข้าไปใหม่ ซึ่งอาจเข้าไปลงทุนในเมืองหลักของพม่าที่มีความพร้อมมากกว่า เช่น ย่างกุ้ง เนย์ปิดอว์
เขาเตือนว่า การลงทุนในพม่ายังมีความเสี่ยงเพราะรัฐบาลพม่ามีอำนาจเด็ดขาด โดยนักธุรกิจไทยที่จะไปลงทุนในพม่าไม่ควรทุ่มลงไปทั้งหมด เนื่องจากถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นมาอาจได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศของพม่าปี 2541 กำหนดให้การลงทุนภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์ ภาคบริการอย่าง น้อย 300,000 ดอลลาร์ และเมื่อได้รับอนุมัติจากทาง การพม่าแล้วต้องนำเข้ามาฝากกับธนาคารในพม่าอย่าง น้อย 50% ภายใน 20 วัน และต้องฝากให้ครบทั้งหมดภายใน 180 วัน ซึ่งเป็นข้อจำกัดให้ผู้ที่จะลงทุนต้องเร่งนำเงินเข้าพม่าแต่พม่ามีปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน โดยการแลกเปลี่ยนในธนาคาร 1 ดอลลาร์ ได้ 150 จ๊าด แต่นอกระบบ 1 ดอลลาร์ได้ 780 จ๊าด
นายธนิต แนะว่าการเข้าไปลงทุนในพม่าจะต้องพิจารณาข้อมูลสำคัญ 5 เรื่อง คือ 1.กฎหมายการลงทุนที่มีรายละเอียดต่างจากประเทศอื่นและกำลังปรับปรุงกฎหมายการลงทุนใหม่คาดว่าจะบังคับใช้ได้ในปีหน้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนยังขาดความชัดเจน 2.อัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันระหว่างในระบบและนอกระบบ 3.ไฟฟ้าไม่เพียงพอกับความต้องการทำให้มีการสลับเวลาการใช้ไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ 4.สหรัฐและสหภาพยุโรปยังคว่ำบาตรพม่าจึงมีผลต่อสินค้าที่ส่งออกจากพม่า ซึ่งคาดว่าปีนี้ยังคงถูกคว่ำบาตรอยู่แต่ปีหน้าอาจมีการพิจารณาใหม่ 5.โครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการลงทุนยังไม่พร้อม เช่น ท่าเรือทำให้ค่าระวางเรือจากพม่ามีราคาแพง
กลุ่มปตท.ขยายลงทุนต่อเนื่อง
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปลงทุนในพม่ามาก่อนหน้านี้ โดยในนามของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้พัฒนาการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการร่วมลงทุนกับรัฐบาลพม่า
ทั้งนี้ ปตท.สผ.คาดว่าแหล่ง M 9 จะผลิตและต่อท่อส่งก๊าซธรรมชาติมาใช้ในฝั่งไทยในปี 2556 มีกำลังผลิต 240 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน และอีก 60 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน จะไปใช้ในสหภาพพม่า ส่วนแหล่งซอติก้านั้น อยู่ระหว่างงานก่อสร้าง คาดว่าจะผลิตได้ในปลายปี 2556 ส่วนแหล่ง M 3 ในปีนี้จะเจาะสำรวจ 2 หลุม คาดว่าจะสามารถทราบศักยภาพได้ภายในปีนี้ และหากพบศักยภาพจะเสนอแพ็คเกจการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ เพื่อป้อนเมืองย่างกุ้ง ซึ่งมีการเติบโตสูง
นอกจากนี้ แปลงสำรวจ M 11 ในบริเวณน้ำลึก ในปีนี้จะดำเนินการเจาะสำรวจ 1 หลุม โดยมีความเป็นไปได้ที่จะพบศักยภาพปิโตรเลียมในแหล่งดังกล่าว และอีก 2 แปลงบนบกที่ ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ จะมีการลงนามในสัญญาอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือน ก.พ.นี้และตามข้อผูกพันนั้นจะต้องเร่งสำรวจให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 ปี
“มิสทิน”ร่วมสหพัฒน์ตั้งโรงงาน
ด้าน นายดนัย ดีโรจน์วงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ “มิสทิน” แบรนด์เครื่องสำอางขายตรง กล่าวว่า มิสทินเป็นเจ้าแรกที่เข้าบุกเบิกตลาดพม่าในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันสามารถครองความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดเครื่องสำอาง และมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 ยอดขายเติบโตถึง 100%
ปัจจุบันบริษัทไม่ได้ทำธุรกิจแค่เข้าไปจำหน่าย สินค้า หรือมีสมาชิกสาวมิสทินเท่านั้น แต่ยังได้เข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตในพม่า ซึ่งเป็นการร่วม ลงทุนระหว่างเบทเตอร์เวย์กับเครือสหพัฒน์ โดยตลาดหลักอยู่ในย่างกุ้ง แต่ในปีนี้จะขยายตลาดเพิ่ม ไปใน 3 เมือง เช่น พุกาม มัณฑะเลย์ เป็นต้น
“ปีนี้เราจะเพิ่มความเข้มข้นการทำตลาดในพม่ามากขึ้น โดยมีการทุ่มงบโฆษณาและจัดกิจกรรม เพราะจากการทำเซอร์เวย์ตลอดที่ผ่านมา พบว่ามิสทินเป็นเครื่องสำอางอันดับ 1 ในใจของผู้หญิงพม่า ภาพลักษณ์เทียบเท่าเครื่องสำอางแบรนด์เนมจากยุโรปและอเมริกา เราเชื่อว่าพม่าจะเป็นประเทศดาวรุ่งในอีก 2-3 ปีข้างหน้า”
“มาม่า” เตรียมสร้างโรงงานแห่งที่ 2
เช่นเดียวกับ นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TF บริษัทในเครือสหพัฒน์ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” เปิดเผยแผนการขยายการลงทุนในในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าว่า บริษัทจะตั้งโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแห่งที่ 2 เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต เนื่องจากโรงงานแรกซึ่งตั้งอยู่ที่ย่างกุ้งมีกำลังผลิตไม่เพียงพอ โดยโรงงานดังกล่าวมีเครื่องจักร 6 เครื่อง กำลังการผลิต 30,000 หีบ/เดือน
“การลงทุนในพม่าจะเป็นการเช่าที่ดินระยะยาว 60 ปี โดยเดินทางไปดูที่ดินที่ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ในต้นเดือน ม.ค. ซึ่งเบื้องต้นพบว่าราคาที่ดินที่ย่างกุ้งเฉลี่ย 3 ล้านบาท/ไร่ ขณะที่ราคาที่ดินที่มัณฑะเลย์เฉลี่ย 2 แสนบาท/ไร่ สำหรับการเช่านาน 60 ปี อีกทั้งขณะนี้พม่ามีแผนจะเปิดประเทศ ทำให้มองเห็นโอกาสในการขยายตลาด จึงเตรียมตั้งโรงงานแห่งใหม่ขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปได้ในเร็วๆ นี้ และใช้เวลาดำเนินการก่อสร้าง 10 เดือน” นายพิพัฒกล่าว
ซีพีเล็งรุกสร้างแบรนด์-โรงไฟฟ้าชีวมวล
ด้าน นายสุพัฒน์ ศรีธนาธร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารแบรนด์เกี๊ยวกุ้งซีพี และกลุ่มสินค้าอาหารอาทิ ไส้กรอกซีพี ไก่แปรรูป กล่าวว่า ขณะนี้แบรนด์ซีพี ได้เริ่มเข้าไปสร้างแบรนด์แล้วผ่านกลุ่มสินค้า ไก่ย่างห้าดาว และ ซีพีเฟรชมาร์ท เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในตลาดผู้บริโภคในประเทศพม่า ก่อนที่จะวางแผนบุกในขั้นต่อไป โดยจะเน้นการสร้างแบรนด์ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าประเทศพม่าจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับนักลงทุน
สำหรับแผนการลงทุนของกลุ่มซีพี ยังมีธุรกิจด้านพลังงานโดย บริษัท สหโคเจน จำกัด (มหาชน) มีแผนที่จะเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานใหม่ ในรูปแบบการร่วมทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าชีวมวลจำหน่ายให้กับรัฐบาลพม่า ขณะเดียวกันจะนำพลังงานไอน้ำที่ได้จากโรงงานไฟฟ้ามาใช้ผลิตบะหมี่ อีกด้วย
“เบทาโกร”ตั้ง สนง.ตัวแทนศึกษาข้อมูล
นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายธุรกิจอาหารสัตว์ สายธุรกิจอาหารและธุรกิจภูมิภาค เครือเบทาโกร กล่าวว่า การเปิดประเทศของพม่าในช่วงนี้ ทำให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนจำนวนมาก ซึ่งเครือเบทาโกร ประเมินว่าพม่ามีประชากรมากถึง 54 ล้านคน ขณะที่ธุรกิจปศุสัตว์ยังค่อนข้างล้าหลัง ดังนั้นเบทาโกรจึงสนใจที่จะเข้าไปทำธุรกิจในพม่า โดยมีแผนที่จะเข้าไปจัดตั้งสำนักงานตัวแทน (representative office) ในพม่า เพื่อศึกษาข้อมูลและลู่ทางการลงทุนในพม่า
ปัจจุบันอยู่ระหว่างหาบุคลากร ซึ่งการเข้าไปตั้งสำนักงานตัวแทน เพื่อศึกษาข้อมูลการลงทุน กฎระเบียบและกฎหมายใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น เงื่อนไขการลงทุน อัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากน้อยเพียงใด เพราะเมื่อ 3-4 ปีก่อน เครือเบทาโกรเคยเข้าไปศึกษาการลงทุนในพม่ามาแล้ว แต่มีปัญหาการเมืองไม่นิ่ง กฎระเบียบไม่ชัดเจน ทำให้พม่าขณะนั้นยังไม่น่าสนใจ โดยเฉพาะเงื่อนไขการทำธุรกิจที่พม่ากำหนดให้บริษัทต้องส่งออกสินค้าในพม่าด้วย จึงจะมีสิทธินำสินค้าเข้าไปจำหน่าย
“การทำธุรกิจที่มีลักษณะเหมือนการจัดโควตา จึงค่อนข้างยุ่งยาก เพราะเราเองไม่รู้ว่าจะส่งออกสินค้าอะไรของพม่า ในช่วงนั้นเราเลยหันไปที่กัมพูชาและลาวก่อน แต่ก็ไม่ได้ทิ้งพม่าไปเลย และมีตัวแทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) ของท้องถิ่น ที่มีการส่งออกสินค้าประเภทถั่วไปยังตะวันออกกลาง ทำให้มีสิทธิ์นำเข้าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์จากไทยไปจำหน่ายในพม่า” นายณรงค์ชัย กล่าว
คาดใช้เวลาศึกษา 1 ปีก่อนลงทุน
เขากล่าวว่า คาดว่าจะตั้งสำนักงานได้ในช่วงไตรมาส 3-4 ของปีนี้ และจะใช้เวลาศึกษาข้อมูลอย่างน้อย 1 ปี เช่น ส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ บริษัทใดเป็นเจ้าตลาด ราคาสินค้าเมื่อเทียบกับราคาในไทย เงื่อนไขการลงทุน เช่น สามารถลงทุนได้ 100% หรือต้องร่วมทุน กรรมสิทธิ์ที่ดิน หากต้องเช่าที่ดิน กำหนดระยะเวลาเช่ากี่ปี โดยเบทาโกรมีเป้าหมายที่จะลงทุนสร้างฟาร์ม พ่อ-แม่พันธุ์สุกร ฟาร์มสุกรขุน และไก่ แล้วนำเข้าอาหารสัตว์จากประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนเดียวกับที่ลงทุนในกัมพูชา และลาว
“เราไม่รู้ข้อมูลของพม่าจริงๆ รู้แต่ว่า ภาคปศุสัตว์ยังช้ากว่าไทยมาก เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ ยังไม่พร้อม ต่างกับธุรกิจประมง ที่พม่า เป็น แหล่งเลี้ยงปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ การลงทุนของเบทาโกร ในพม่านั้น เราคิดว่าธุรกิจปศุสัตว์ ในพม่ายังมีที่ว่างมากพอที่จะให้เราเข้าไปได้” นายณรงค์ชัยกล่าว
ขายตรงเชื่อคนพม่าอยากหารายได้เสริม
นายบัญชา เหมินทคุณ รองกรรมการผู้จัดการ ด้านธุรกิจเครือข่ายเอสเนเจอร์ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทลงทุน 15-20 ล้านบาท เปิดสำนักงานเอสเนเจอร์ที่เมืองย่างกุ้งประเทศพม่า โดยงบดังกล่าวรวมถึงอุปกรณ์สำนักงาน และการวางระบบไอทีในการเชื่อมต่อข้อมูลบริษัทแม่ที่ประเทศไทย
การเปิดสาขาที่ประเทศพม่าเป็นประเทศแรก เนื่องจากเห็นว่าเป็นตลาดมีศักยภาพที่ดีในการต่อยอดธุรกิจ ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลพบว่า จำนวนประชากรในพม่าปัจจุบันมีประมาณ 55-58 ล้านคน นอกจากนี้การแข่งขันตลาดเครือข่ายในพม่ายังน้อยกว่าประเทศไทย ถึงแม้ว่ากำลังซื้อจะน้อยกว่าไทยก็ตาม แต่ประชากรในประเทศดังกล่าวก็ยังต้องการมีรายได้เสริม
นายบัญชากล่าวว่า ปีนี้บริษัทยังมีแผนเข้าไปทำตลาดกัมพูชาและอินโดนีเซีย และจะขยายให้ครบทั้งอาเซียน รวมทั้งจีนในอนาคตอีกด้วย
ขณะที่ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ยูนิตี้ จำกัด ก็ได้รุกเข้าตลาดอาเซียนเช่นกัน โดยได้ขยายธุรกิจไปแล้ว 4 ประเทศ 3 รูปแบบ คือ การเข้าไปลงทุนเองที่ฮ่องกง โดยเปิดร้านแฟลกชิพ สโตร์ 5 แห่ง, รูปแบบไลเซนส์ ที่ประเทศกัมพูชา 2 แห่ง มาเลเซีย 7 แห่ง และรูปแบบการตั้งตัวแทนจำหน่าย ซึ่งเปิดแล้ว 5 แห่งในพม่า และยังมีแผนขยายธุรกิจไปลาว ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกาในรูปแบบการลงทุนเอง
ด้านนายอิทธิศักดิ์ อำพันธ์ยุทธ์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท คังเซน-เคนโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตลาดที่พม่าและลาวแล้วในขณะนี้ ด้วยการร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น และลงทุนเองในอินโดนีเซีย และปีนี้มีแผนจะขยายไปที่เวียดนามต่อไป
กลุ่มรองเท้าเตรียมแผนลงทุน
นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ผลิตรองเท้าสนใจเข้าไปลงทุนในพม่าเพราะเป็นตลาดใหม่ที่มีโอกาสขยายตัวสูงและในพม่ามีการผลิตรองเท้าในประเทศไม่มาก โดยรองเท้าที่จำหน่ายในพม่าส่วนใหญ่มาจากจีนและไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรองเท้าแตะเพราะคนพม่านิยมมากกว่ารองเท้าหุ้มส้น
“สมาชิกสมาคมรองเท้าบางรายมีแผนเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตรองเท้าในพม่าเพราะแรงงานในพม่ามีทักษะ ซึ่งมีแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยและกลับไปอยู่พม่าและแรงงานกลุ่มเป็นแรงงานที่มีทักษะและสามารถทำงานฝีมือได้ โดยแรงงานพม่ากลุ่มนี้ได้ทักษะจากการทำงานในโรงงานของญี่ปุ่น สหรัฐและไทย”
นายชนินทร์ กล่าวว่า การเข้าไปลงทุนในพม่าคงต้องหาพาร์ทเนอร์เพื่อความมั่นใจในการลงทุน โดยถ้ายังหาพาร์ทเนอร์ไม่ได้ก็อาจชะลอไว้ก่อนเพราะการไปลงทุนเองทั้งหมดมีความเสี่ยงมาก ซึ่งการลงทุนให้สำเร็จต้องใช้ระบบผูกมิตรกับนักธุรกิจท้องถิ่นที่มีการนับถือกันเป็นเครือญาติ และการตั้งโรงงานในพม่าจะเน้นจำหน่ายในพม่าเป็นหลักเพราะมีความต้องการสินค้าสูงและสินค้านำเข้ามีราคาแพง โดยเชื่อว่าการตั้งโรงงานในพม่าจะทำให้รองเท้าที่ผลิตขึ้นมาแข่งขันกับรองเท้านำเข้าจากจีนได้
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 93
ปตท.ทุ่มเงินลงทุน1.7พันล้าน
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, February 21, 2012
ปตท.ทุ่มเงินลงทุน1.7พันล้าน สร้างแบรนด์ ปตท. ประกาศยึดตลาดอินโดจีน
ปตท. เตรียมรุกสร้างแบรนด์ PTT ตลาดอินโดจีน ทุ่มเงิน 1,700 ล้านบาท ผุดปั๊มน้ำมันในลาว-กัมพูชา-ฟิลิปปินส์เพิ่ม พร้อมตั้งเป้าขึ้นแท่นอันดับสองภายใน 5 ปี
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดพาณิชย์และต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ปตท. มีแผนขยายธุรกิจสถานีบริการน้ำมันใน สปป.ลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์เพิ่ม โดย ปตท. ตั้งเป้าขยายส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 2 ในลาวและกัมพูชา ภายใน 5 ปี (ปี 2555-2559) สำหรับการขยายลงทุนดังกล่าวจะเน้นการสร้างแบรนด์ PTT มากขึ้น
โดยปัจจุบัน ปตท. มีสถานีบริการน้ำมันในลาว อยู่ที่ 30 แห่ง จะเพิ่มเป็น 60 แห่ง, กัมพูชา อยู่ที่ 15 แห่ง เป็น 45 แห่ง ส่วนฟิลิปปินส์ 34 แห่ง เป็น 50 แห่ง ภายในปี 2559 ขณะที่รูปแบบการก่อสร้างสถานีบริการดังกล่าวจะเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ซึ่งในกลางปีนี้จะเตรียมจะเปิดสถานีบริการแบบครบวงจรในลาว ประกอบด้วย ร้านสะดวกซื้อ คาเฟ่อเมซอน คาร์แคร์ และธนาคาร
นอกจากนี้ ปตท. ยังศึกษาลงทุนก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันในพม่าและอินโดนีเซีย แต่การลงทุนในพม่ายังติดกฎหมาย ที่ห้ามผู้ประกอบการต่างชาติเข้าไปลงทุนดังกล่าว แต่เชื่อว่าภายหลังจากที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) มีผลบังคับใช้ในปี 2558 อาจจะมีการผ่อนปรนกฎหมายดังกล่าว ขณะที่การลงทุนในอินโดนีเซีย ปตท. ก็สนใจจะลงทุนเช่นกัน แต่ปัจจุบัน ปตท. มีธุรกิจที่เข้าลงทุนแล้ว เช่น ธุรกิจถ่านหิน และปาล์มน้ำมัน
สำหรับเงินลงทุน ปตท. เตรียมไว้ประมาณ 1,700 ล้านบาท ภายใน 5 ปี (ปี 2555-2559) ในการก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันแบบครบวงจรในลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ไม่รวมในอินโดนีเซีย โดยมูลค่าลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 ล้านบาทต่อแห่ง
ขณะเดียวกัน ปตท. มีการขยายธุรกิจในจีน โดยในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ปตท. ได้ส่งขายน้ำมันดีเซลและน้ำมันเครื่องบินล็อตแรกผ่านดีลเลอร์แบ่งเป็นน้ำมันดีเซล 1 ล้านลิตร และน้ำมันเครื่องบิน 5 แสนลิตร มูลค่ารวม 20 ล้านบาท เข้าไปขายในภูมิภาคจีนตอนใต้ และล็อตต่อไปจะตามมาอีกต่อเนื่อง โดย ปตท. มีความได้เปรียบด้านระยะเวลาขนส่ง ซึ่งในเวลาประมาณ 5 วัน แต่น้ำมันจากฝั่งตะวันออกของจีนใช้เวลาขนส่งประมาณ 7-8 วัน
“การขยายธุรกิจสถานีบริการน้ำมันในต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นการขายน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศที่กำลังโอเวอร์ซัพพลายอยู่ในขณะนี้ และเป็นการสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจด้วย โดย ปตท. ตั้งเป้าส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 2 ในลาวและกัมพูชา ภายในปี 59” นายอรรถพล กล่าว
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, February 21, 2012
ปตท.ทุ่มเงินลงทุน1.7พันล้าน สร้างแบรนด์ ปตท. ประกาศยึดตลาดอินโดจีน
ปตท. เตรียมรุกสร้างแบรนด์ PTT ตลาดอินโดจีน ทุ่มเงิน 1,700 ล้านบาท ผุดปั๊มน้ำมันในลาว-กัมพูชา-ฟิลิปปินส์เพิ่ม พร้อมตั้งเป้าขึ้นแท่นอันดับสองภายใน 5 ปี
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดพาณิชย์และต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ปตท. มีแผนขยายธุรกิจสถานีบริการน้ำมันใน สปป.ลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์เพิ่ม โดย ปตท. ตั้งเป้าขยายส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 2 ในลาวและกัมพูชา ภายใน 5 ปี (ปี 2555-2559) สำหรับการขยายลงทุนดังกล่าวจะเน้นการสร้างแบรนด์ PTT มากขึ้น
โดยปัจจุบัน ปตท. มีสถานีบริการน้ำมันในลาว อยู่ที่ 30 แห่ง จะเพิ่มเป็น 60 แห่ง, กัมพูชา อยู่ที่ 15 แห่ง เป็น 45 แห่ง ส่วนฟิลิปปินส์ 34 แห่ง เป็น 50 แห่ง ภายในปี 2559 ขณะที่รูปแบบการก่อสร้างสถานีบริการดังกล่าวจะเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ซึ่งในกลางปีนี้จะเตรียมจะเปิดสถานีบริการแบบครบวงจรในลาว ประกอบด้วย ร้านสะดวกซื้อ คาเฟ่อเมซอน คาร์แคร์ และธนาคาร
นอกจากนี้ ปตท. ยังศึกษาลงทุนก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันในพม่าและอินโดนีเซีย แต่การลงทุนในพม่ายังติดกฎหมาย ที่ห้ามผู้ประกอบการต่างชาติเข้าไปลงทุนดังกล่าว แต่เชื่อว่าภายหลังจากที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) มีผลบังคับใช้ในปี 2558 อาจจะมีการผ่อนปรนกฎหมายดังกล่าว ขณะที่การลงทุนในอินโดนีเซีย ปตท. ก็สนใจจะลงทุนเช่นกัน แต่ปัจจุบัน ปตท. มีธุรกิจที่เข้าลงทุนแล้ว เช่น ธุรกิจถ่านหิน และปาล์มน้ำมัน
สำหรับเงินลงทุน ปตท. เตรียมไว้ประมาณ 1,700 ล้านบาท ภายใน 5 ปี (ปี 2555-2559) ในการก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันแบบครบวงจรในลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ไม่รวมในอินโดนีเซีย โดยมูลค่าลงทุนจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 ล้านบาทต่อแห่ง
ขณะเดียวกัน ปตท. มีการขยายธุรกิจในจีน โดยในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ปตท. ได้ส่งขายน้ำมันดีเซลและน้ำมันเครื่องบินล็อตแรกผ่านดีลเลอร์แบ่งเป็นน้ำมันดีเซล 1 ล้านลิตร และน้ำมันเครื่องบิน 5 แสนลิตร มูลค่ารวม 20 ล้านบาท เข้าไปขายในภูมิภาคจีนตอนใต้ และล็อตต่อไปจะตามมาอีกต่อเนื่อง โดย ปตท. มีความได้เปรียบด้านระยะเวลาขนส่ง ซึ่งในเวลาประมาณ 5 วัน แต่น้ำมันจากฝั่งตะวันออกของจีนใช้เวลาขนส่งประมาณ 7-8 วัน
“การขยายธุรกิจสถานีบริการน้ำมันในต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นการขายน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศที่กำลังโอเวอร์ซัพพลายอยู่ในขณะนี้ และเป็นการสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจด้วย โดย ปตท. ตั้งเป้าส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 2 ในลาวและกัมพูชา ภายในปี 59” นายอรรถพล กล่าว
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 94
กฟผ.เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากไซยะบุรี CK ยันเดินหน้าโครงการ
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 16:03:12 น.
นายมงคล สกุลแก้ว รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.ได้เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้ากับโครงการไซยะบุรีเมื่อเดือนต.ค.54 โดยจะรับซื้อไฟฟ้าในปริมาณ 1,220 เมกะวัตต์ และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของกฟผ.ในปี 62
ทั้งนี้ โครงการไซยะบุรีเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ มีกำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ โดยจะเป็นการขายไฟฟ้าส่วนใหญ่ให้กับกฟผ. และขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าลาว 60 เมกะวัตต์ตลอดอายุสัมปทาน 29 ปี ใช้เวลาก่อสร้างราว 8 ปี
โดยโครงการดังกล่าว ดำเนินการโดยบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งมี CK ถือหุ้นราว 50%,บริษัท นที ซินเนอร์ยี่ จำกัด ในกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ถือหุ้น 25%, บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ถือหุ้น 12.5% บริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL 7.5% และบริษัท พี.ที.คอนสตรัคชั่น แอนด์ อิริเกชั่น จำกัด ถือหุ้น 5%
เมื่อปลายเดือนธ.ค.54 นายเต นาวุธ เลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติของกัมพูชา กล่าวว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้ตัดสินใจเลื่อนการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี เพื่อให้ญี่ปุ่นศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมหลังกลุ่มนักเคลื่อนไหวและประเทศในภูมิภาค ระบุจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรหลายล้านคน ซึ่งผลการศึกษาที่จะออกมานั้น ผู้ดำเนินโครงการจะนำมาประกอบในการทำโครงการและแก้ปัญหาในอนาคต
ด้านตัวแทนของ CK กล่าวในที่ประชุมคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า โครงการไซยะบุรีอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มเข้าไปปรับพื้นที่และสร้างถนน โดยใช้งบลงทุนไปแล้ว 4 พันล้านบาท จากงบลงทุนทั้งโครงการที่ราว 7.6 หมื่นล้านบาท
ส่วนตัวแทนจากภาคธนาคาร ซึ่งประกอบด้วยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB.BK ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ยืนยันว่า โครงการดังกล่าวได้ผ่านหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุมัติการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการ ซึ่งผู้ขอกู้จะต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์ของประเทศนั้นๆ รวมถึงพิจารณาผลกระทบที่เจ้าของโครงการ จะต้องนำเสนอให้ธนาคารพิจารณาด้วย ขณะที่การใช้เงินลงทุนในโครงการนั้น จะต้องนำเงินออกนอกประเทศ ซึ่งก็ได้รับการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แล้ว โดยมูลค่าโครงการในการปล่อยสินเชื่อครั้งนี้ อยู่ที่ราว 5.6 หมื่นล้านบาท จาก 4 ธนาคารขนาดใหญ่
ด้านตัวแทนจากคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า รัฐบาลลาวยืนยันจะใช้เอกสิทธิ์ เพื่อดำเนินโครงการไซยะบุรี ซึ่งประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงก็ไม่มีสิทธิจะคัดค้าน เพราะโครงการอยู่ในพื้นที่ของลาว ซึ่งทางลาวยืนยันจะดำเนินโครงการ พร้อมไปกับการศึกษาผลกระทบลุ่มน้ำโขงควบคู่กันไปด้วย
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 16:03:12 น.
นายมงคล สกุลแก้ว รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.ได้เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้ากับโครงการไซยะบุรีเมื่อเดือนต.ค.54 โดยจะรับซื้อไฟฟ้าในปริมาณ 1,220 เมกะวัตต์ และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของกฟผ.ในปี 62
ทั้งนี้ โครงการไซยะบุรีเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ มีกำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ โดยจะเป็นการขายไฟฟ้าส่วนใหญ่ให้กับกฟผ. และขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าลาว 60 เมกะวัตต์ตลอดอายุสัมปทาน 29 ปี ใช้เวลาก่อสร้างราว 8 ปี
โดยโครงการดังกล่าว ดำเนินการโดยบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งมี CK ถือหุ้นราว 50%,บริษัท นที ซินเนอร์ยี่ จำกัด ในกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ถือหุ้น 25%, บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ถือหุ้น 12.5% บริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL 7.5% และบริษัท พี.ที.คอนสตรัคชั่น แอนด์ อิริเกชั่น จำกัด ถือหุ้น 5%
เมื่อปลายเดือนธ.ค.54 นายเต นาวุธ เลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติของกัมพูชา กล่าวว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้ตัดสินใจเลื่อนการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี เพื่อให้ญี่ปุ่นศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมหลังกลุ่มนักเคลื่อนไหวและประเทศในภูมิภาค ระบุจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรหลายล้านคน ซึ่งผลการศึกษาที่จะออกมานั้น ผู้ดำเนินโครงการจะนำมาประกอบในการทำโครงการและแก้ปัญหาในอนาคต
ด้านตัวแทนของ CK กล่าวในที่ประชุมคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า โครงการไซยะบุรีอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มเข้าไปปรับพื้นที่และสร้างถนน โดยใช้งบลงทุนไปแล้ว 4 พันล้านบาท จากงบลงทุนทั้งโครงการที่ราว 7.6 หมื่นล้านบาท
ส่วนตัวแทนจากภาคธนาคาร ซึ่งประกอบด้วยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB.BK ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ยืนยันว่า โครงการดังกล่าวได้ผ่านหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุมัติการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการ ซึ่งผู้ขอกู้จะต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์ของประเทศนั้นๆ รวมถึงพิจารณาผลกระทบที่เจ้าของโครงการ จะต้องนำเสนอให้ธนาคารพิจารณาด้วย ขณะที่การใช้เงินลงทุนในโครงการนั้น จะต้องนำเงินออกนอกประเทศ ซึ่งก็ได้รับการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แล้ว โดยมูลค่าโครงการในการปล่อยสินเชื่อครั้งนี้ อยู่ที่ราว 5.6 หมื่นล้านบาท จาก 4 ธนาคารขนาดใหญ่
ด้านตัวแทนจากคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า รัฐบาลลาวยืนยันจะใช้เอกสิทธิ์ เพื่อดำเนินโครงการไซยะบุรี ซึ่งประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงก็ไม่มีสิทธิจะคัดค้าน เพราะโครงการอยู่ในพื้นที่ของลาว ซึ่งทางลาวยืนยันจะดำเนินโครงการ พร้อมไปกับการศึกษาผลกระทบลุ่มน้ำโขงควบคู่กันไปด้วย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 95
ปตท.ลุยซื้อหุ้น-ขยายโรงไฟฟ้า
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, February 23, 2012
ปตท.เผยแผนธุรกิจไฟฟ้าเริ่มชัดเจน 8 ปี ตั้งเป้ามีกำลังผลิตไฟฟ้าในมือ 6,000 เมกะวัตต์ หวังขึ้นชั้นผู้นำธุรกิจไฟฟ้าในเอเชีย ลุยซื้อหุ้นโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ประเทศเพื่อนบ้าน ลาว พม่า และกัมพูชา
ต้องใช้เงินเป็นแสนล้านบาทในการลงทุน ขณะที่การเจรจาซื้อหุ้นโรงไฟฟ้ามาย-กก กับอิตาเลียนไทยในพม่า ยังไม่ได้ข้อยุติ ติดปัญหาผลการศึกษาความเป็นไปได้ยังไม่ชัดเจน
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"จากที่ได้จัดทำแผนกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินงานของกลุ่มบมจ.ปตท.ในช่วง 5 ปี(ปี 2555-2559) โดยไฟฟ้าถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่บมจ.ปตท.จะเข้าไปดำเนินงานให้มากขึ้น ที่หวังว่าภายในระยะเวลา 8 ปี(ปี 2555-2562) จะเป็นผู้นำธุรกิจไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชีย มีกำลังผลิตไฟฟ้าอย่างน้อย 6,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป จากปัจจุบันกลุ่มบมจ.ปตท.มีกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ประมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ที่มีทั้งการลงทุนก่อสร้างเอง และการเข้าไปถือหุ้นอยู่ในโรงไฟฟ้าต่างๆ
สำหรับการให้ได้มาซึ่งกำลังการผลิตไฟฟ้านั้น จะเป็นการออกไปลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิง รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น สปป.ลาว ที่เวลานี้ได้เข้าไปถือหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้าไซยะบุรีในสัดส่วน 25% จากกำลังการผลิตทั้งสิ้น 1,285 เมกะวัตต์ ที่จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2562 หากการก่อสร้างยังดำเนินการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ขณะที่สหภาพพม่านั้น อยู่ระหว่างการเจรจาเข้าถือหุ้นในโรงไฟฟ้าถ่านหินมาย-กกในสัดส่วนอย่างต่ำ 25 % จากกำลังการผลิต 405 เมกะวัตต์ และส่วนการเข้าไปลงทุนในกัมพูชานั้น ขณะนี้กำลังดูความเป็นไปได้ว่ามีโครงการไหนที่น่าสนใจบ้าง เป็นต้น เพื่อขายไฟฟ้ากลับมาให้กับประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการแสวงหาพลังงานให้กับประเทศทางหนึ่ง
นอกจากนี้ จะเป็นการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจเหมืองถ่านหินที่บมจ.ปตท.เข้าไปเป็นเจ้าของ ซึ่งมีกำลังการผลิตถ่านหินอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านตัน และในอีก 5 ปี จะเพิ่มเป็น 20 ล้านตัน และในปี 2563 จะขยายกำลังการผลิตเป็น 70 ล้านตัน ส่วนจะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใดนั้นขึ้นอยู่กับผลการศึกษาถึงความเป็นไปได้
นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการลงทุนผลิตไฟฟ้าในประเทศนั้น เนื่องจากกลุ่มบมจ.ปตท. มีแนวทางที่จะรวมหน่วยธุรกิจที่ผลิตไฟฟ้าอยู่แล้วเข้ามาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด หรือไอพีที เครือบริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) เนื่องจากมีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านนี้ มาเป็นหัวหอกในการทำธุรกิจไฟฟ้า หากทางกระทรวงพลังงานมีการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพี และเอสพีพี ในอนาคต บมจ.ปตท.ก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูล รวมถึงการเข้าไปร่วมประมูลโรงไฟฟ้าต่างประเทศด้วย
ส่วนการใช้เงินลงทุนในส่วนธุรกิจไฟฟ้าให้ได้มาซึ่งกำลังการผลิตอีก 4,500 เมกะวัตต์นั้น ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะใช้ในสัดส่วนที่เท่าใด เพราะยังไม่ทราบว่าแต่ละโครงการที่ได้มาจะเป็นอย่าง เพราะแต่ละโครงการมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้น หรือเข้าร่วมทุนหรือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ซึ่งหาคำนวณคร่าวๆ การลงทุนเมกะวัตต์ละ 30 ล้านบาท ก็ต้องใช้เงินถึง 135,000 ล้านบาท และเงินลงทุนจริงคงเป็นของบมจ.ปตท.ครึ่งหนึ่ง ที่เหลือก็จะใช้เงินกู้แทน
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเจรจาซื้อหุ้นโครงการโรงไฟฟ้ามาย-กก กับบริษัท อิตาเลียนไทย เพาเวอร์ จำกัด ว่า ขณะนี้รอความชัดเจนของโครงการว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งแต่เดิมคาดว่าจะสรุปผลได้เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ต้องเลื่อนออกมา จึงทำให้ยังไม่สามารถเจรจาเข้าร่วมถือหุ้นได้ว่าจะถือในสัดส่วนใด ซึ่งผลดังกล่าวอาจต้องทำให้โครงการโรงไฟฟ้าต้องเลื่อนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบออกไปอีกจากเดิมกำหนดไว้ในปี 2559 ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีนั้น คาดว่าจะยังคงเดินหน้าตามแผนที่กำหนดไว้
ส่วนโครงการเรือผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวหรือเอฟแอลเอ็นจี กำลังการผลิตขนาด 2 ล้านตันต่อปี จากแหล่งแคชแอนด์เมเปิ้ล ของออสเตรเลีย ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 90,000 ล้านบาท ซึ่งร่วมทุนกับทางบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)(บมจ.ปตท.สผ.) และSBM/Linde ประเทศเยอรมนีนั้น ที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ที่มีความล่าช้าออกไป จากที่คาดว่าจะทราบผลการขุดเจาะหาปริมาณสำรองก๊าซในช่วงปลายปีที่ผ่านมา จึงทำให้การผลิตก๊าซต้องล่าช้าออกไปจากที่ประมาณไว้ในปี 2556-2557
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,716 23-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, February 23, 2012
ปตท.เผยแผนธุรกิจไฟฟ้าเริ่มชัดเจน 8 ปี ตั้งเป้ามีกำลังผลิตไฟฟ้าในมือ 6,000 เมกะวัตต์ หวังขึ้นชั้นผู้นำธุรกิจไฟฟ้าในเอเชีย ลุยซื้อหุ้นโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ประเทศเพื่อนบ้าน ลาว พม่า และกัมพูชา
ต้องใช้เงินเป็นแสนล้านบาทในการลงทุน ขณะที่การเจรจาซื้อหุ้นโรงไฟฟ้ามาย-กก กับอิตาเลียนไทยในพม่า ยังไม่ได้ข้อยุติ ติดปัญหาผลการศึกษาความเป็นไปได้ยังไม่ชัดเจน
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"จากที่ได้จัดทำแผนกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินงานของกลุ่มบมจ.ปตท.ในช่วง 5 ปี(ปี 2555-2559) โดยไฟฟ้าถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่บมจ.ปตท.จะเข้าไปดำเนินงานให้มากขึ้น ที่หวังว่าภายในระยะเวลา 8 ปี(ปี 2555-2562) จะเป็นผู้นำธุรกิจไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชีย มีกำลังผลิตไฟฟ้าอย่างน้อย 6,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป จากปัจจุบันกลุ่มบมจ.ปตท.มีกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ประมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ที่มีทั้งการลงทุนก่อสร้างเอง และการเข้าไปถือหุ้นอยู่ในโรงไฟฟ้าต่างๆ
สำหรับการให้ได้มาซึ่งกำลังการผลิตไฟฟ้านั้น จะเป็นการออกไปลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิง รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น สปป.ลาว ที่เวลานี้ได้เข้าไปถือหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้าไซยะบุรีในสัดส่วน 25% จากกำลังการผลิตทั้งสิ้น 1,285 เมกะวัตต์ ที่จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2562 หากการก่อสร้างยังดำเนินการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ขณะที่สหภาพพม่านั้น อยู่ระหว่างการเจรจาเข้าถือหุ้นในโรงไฟฟ้าถ่านหินมาย-กกในสัดส่วนอย่างต่ำ 25 % จากกำลังการผลิต 405 เมกะวัตต์ และส่วนการเข้าไปลงทุนในกัมพูชานั้น ขณะนี้กำลังดูความเป็นไปได้ว่ามีโครงการไหนที่น่าสนใจบ้าง เป็นต้น เพื่อขายไฟฟ้ากลับมาให้กับประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการแสวงหาพลังงานให้กับประเทศทางหนึ่ง
นอกจากนี้ จะเป็นการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจเหมืองถ่านหินที่บมจ.ปตท.เข้าไปเป็นเจ้าของ ซึ่งมีกำลังการผลิตถ่านหินอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านตัน และในอีก 5 ปี จะเพิ่มเป็น 20 ล้านตัน และในปี 2563 จะขยายกำลังการผลิตเป็น 70 ล้านตัน ส่วนจะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใดนั้นขึ้นอยู่กับผลการศึกษาถึงความเป็นไปได้
นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการลงทุนผลิตไฟฟ้าในประเทศนั้น เนื่องจากกลุ่มบมจ.ปตท. มีแนวทางที่จะรวมหน่วยธุรกิจที่ผลิตไฟฟ้าอยู่แล้วเข้ามาไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด หรือไอพีที เครือบริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) เนื่องจากมีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านนี้ มาเป็นหัวหอกในการทำธุรกิจไฟฟ้า หากทางกระทรวงพลังงานมีการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าไอพีพี และเอสพีพี ในอนาคต บมจ.ปตท.ก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูล รวมถึงการเข้าไปร่วมประมูลโรงไฟฟ้าต่างประเทศด้วย
ส่วนการใช้เงินลงทุนในส่วนธุรกิจไฟฟ้าให้ได้มาซึ่งกำลังการผลิตอีก 4,500 เมกะวัตต์นั้น ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะใช้ในสัดส่วนที่เท่าใด เพราะยังไม่ทราบว่าแต่ละโครงการที่ได้มาจะเป็นอย่าง เพราะแต่ละโครงการมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้น หรือเข้าร่วมทุนหรือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ซึ่งหาคำนวณคร่าวๆ การลงทุนเมกะวัตต์ละ 30 ล้านบาท ก็ต้องใช้เงินถึง 135,000 ล้านบาท และเงินลงทุนจริงคงเป็นของบมจ.ปตท.ครึ่งหนึ่ง ที่เหลือก็จะใช้เงินกู้แทน
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเจรจาซื้อหุ้นโครงการโรงไฟฟ้ามาย-กก กับบริษัท อิตาเลียนไทย เพาเวอร์ จำกัด ว่า ขณะนี้รอความชัดเจนของโครงการว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งแต่เดิมคาดว่าจะสรุปผลได้เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ต้องเลื่อนออกมา จึงทำให้ยังไม่สามารถเจรจาเข้าร่วมถือหุ้นได้ว่าจะถือในสัดส่วนใด ซึ่งผลดังกล่าวอาจต้องทำให้โครงการโรงไฟฟ้าต้องเลื่อนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบออกไปอีกจากเดิมกำหนดไว้ในปี 2559 ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีนั้น คาดว่าจะยังคงเดินหน้าตามแผนที่กำหนดไว้
ส่วนโครงการเรือผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวหรือเอฟแอลเอ็นจี กำลังการผลิตขนาด 2 ล้านตันต่อปี จากแหล่งแคชแอนด์เมเปิ้ล ของออสเตรเลีย ที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 90,000 ล้านบาท ซึ่งร่วมทุนกับทางบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)(บมจ.ปตท.สผ.) และSBM/Linde ประเทศเยอรมนีนั้น ที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ที่มีความล่าช้าออกไป จากที่คาดว่าจะทราบผลการขุดเจาะหาปริมาณสำรองก๊าซในช่วงปลายปีที่ผ่านมา จึงทำให้การผลิตก๊าซต้องล่าช้าออกไปจากที่ประมาณไว้ในปี 2556-2557
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,716 23-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 96
บางจากเพิ่มลงทุน2.6หมื่นล.โรงกลั่น-ปั๊ม-พลังงานทดแทนวางแผนยกเครื่องยาวถึงปี'58
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Thursday, February 23, 2012
โพสต์ทูเดย์ -บางจาก ทุ่มงบ 2.6 หมื่นล้านบาทวางแผนลงทุน 4 ปียกระดับโรงกลั่นน้ำมัน ขยายค้าปลีกน้ำมัน พลังงานทดแทน
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า แผนลงทุนในช่วง 4 ปีข้างหน้า (2555-2558) จะใช้เงินลงทุนประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาทขยายธุรกิจของบางจาก
ทั้งนี้ ประเภทของธุรกิจที่จะขยาย ประกอบด้วย การยกระดับประสิทธิภาพโรงกลั่นน้ำมันด้วยการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันเตา พร้อมทั้งจัดให้มีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้วงเงินลงทุน8,000 ล้านบาท
ขณะที่แผนถัดมา คือ ขยายธุรกิจค้าปลีกน้ำมันใช้เงินลงทุน2,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากบริษัท ปตท. ภายในปี 2558 จากปัจจุบันที่อยู่ในอันดับ 3 ต่อจากเอสโซ่ โดยมีแผนเพิ่มจำนวนปั๊มน้ำมันอีก 200 แห่ง เป็น 1,300 แห่ง
"จำนวนดังกล่าวจะเป็นปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ที่ทันสมัยประมาณ 50 แห่ง ที่มีบริการแบบครบวงจรรองรับความต้องการของลูกค้า รวมทั้งอยู่ระหว่างเจรจาจับมือกับพันธมิตรธุรกิจห้างค้าปลีกรายใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อนำมาเปิดสาขาภายในปั๊มบางจากซึ่งจะนำมาทดแทนร้านใบจากที่มีอยู่แล้ว" นายอนุสรณ์ กล่าว
การขยายุรกิจใหม่เพื่อสร้างรายได้จะลงทุนในโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทมีกำลังการผลิต 118 เมกะวัตต์ จะช่วยสร้างรายได้ปีละ 2,800 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 เฟส
โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จะเป็นการลงทุนเฟสแรกที่ อ.บางปะอินจ.พระนครศรีอยุธยา 30 เมกะวัตต์คาดว่าจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าได้ภายในปี2555 ส่วนเฟสที่ 2 ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ และ อ.บางปะหันจ.พระนครศรีอยุธยา กำลังการผลิตรวม 50 เมกะวัตต์ จะแล้วเสร็จในปี 2556 เฟสที่ 3 มีกำลังการผลิตรวม 75 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการย้ายพื้นที่จาก จ.สระบุรีไปจังหวัดอื่นที่ปลอดภัยจากปัญหาน้ำท่วม
นายอนุสรณ์ กล่าวด้วยว่า ยังมีแผนลงทุนโรงงานเอทานอลและโรงงานไบโอดีเซล วงเงินลงทุน1,000 ล้านบาท เพื่อรองรับกับนโยบายพลังงานทดแทนของบางจาก ที่จะให้ความสำคัญกับการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยมีแผนจะขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิตให้ได้ 4,500 ไร่ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไบโอดีเซลจาก 3 แสนลิตร/วัน เป็น 4 แสนลิตร/วัน m
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Thursday, February 23, 2012
โพสต์ทูเดย์ -บางจาก ทุ่มงบ 2.6 หมื่นล้านบาทวางแผนลงทุน 4 ปียกระดับโรงกลั่นน้ำมัน ขยายค้าปลีกน้ำมัน พลังงานทดแทน
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยว่า แผนลงทุนในช่วง 4 ปีข้างหน้า (2555-2558) จะใช้เงินลงทุนประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาทขยายธุรกิจของบางจาก
ทั้งนี้ ประเภทของธุรกิจที่จะขยาย ประกอบด้วย การยกระดับประสิทธิภาพโรงกลั่นน้ำมันด้วยการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันเตา พร้อมทั้งจัดให้มีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้วงเงินลงทุน8,000 ล้านบาท
ขณะที่แผนถัดมา คือ ขยายธุรกิจค้าปลีกน้ำมันใช้เงินลงทุน2,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากบริษัท ปตท. ภายในปี 2558 จากปัจจุบันที่อยู่ในอันดับ 3 ต่อจากเอสโซ่ โดยมีแผนเพิ่มจำนวนปั๊มน้ำมันอีก 200 แห่ง เป็น 1,300 แห่ง
"จำนวนดังกล่าวจะเป็นปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ที่ทันสมัยประมาณ 50 แห่ง ที่มีบริการแบบครบวงจรรองรับความต้องการของลูกค้า รวมทั้งอยู่ระหว่างเจรจาจับมือกับพันธมิตรธุรกิจห้างค้าปลีกรายใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อนำมาเปิดสาขาภายในปั๊มบางจากซึ่งจะนำมาทดแทนร้านใบจากที่มีอยู่แล้ว" นายอนุสรณ์ กล่าว
การขยายุรกิจใหม่เพื่อสร้างรายได้จะลงทุนในโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทมีกำลังการผลิต 118 เมกะวัตต์ จะช่วยสร้างรายได้ปีละ 2,800 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 เฟส
โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จะเป็นการลงทุนเฟสแรกที่ อ.บางปะอินจ.พระนครศรีอยุธยา 30 เมกะวัตต์คาดว่าจะเริ่มจ่ายไฟฟ้าได้ภายในปี2555 ส่วนเฟสที่ 2 ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ และ อ.บางปะหันจ.พระนครศรีอยุธยา กำลังการผลิตรวม 50 เมกะวัตต์ จะแล้วเสร็จในปี 2556 เฟสที่ 3 มีกำลังการผลิตรวม 75 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการย้ายพื้นที่จาก จ.สระบุรีไปจังหวัดอื่นที่ปลอดภัยจากปัญหาน้ำท่วม
นายอนุสรณ์ กล่าวด้วยว่า ยังมีแผนลงทุนโรงงานเอทานอลและโรงงานไบโอดีเซล วงเงินลงทุน1,000 ล้านบาท เพื่อรองรับกับนโยบายพลังงานทดแทนของบางจาก ที่จะให้ความสำคัญกับการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยมีแผนจะขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิตให้ได้ 4,500 ไร่ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไบโอดีเซลจาก 3 แสนลิตร/วัน เป็น 4 แสนลิตร/วัน m
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 97
Business leaders foresee bright outlook
Source - Bangkok Post (Eng), Friday, February 24, 2012
POST REPORTERS
Implementation, graft busting new challenges Business leaders have more confidence in the government’s economic rehabilitation plan but warn major challenges now lie in the implementation of the projects and effective supervision to prevent corruption.
Kan Trakulhoon, president and chief executive of Siam Cement Group (SCG),said securing the funds for floodprevention projects and setting an appropriate implementation timeframe are critical in restoring investors’ confidence.
"The flood impacts on the gross domestic product in the fourth quarter of last year are so severe and beyond expectation," he told the 2012 Post Forum yesterday.
"The damage was unbelievable. We never dreamed of such an extent," said Mr Kan.
"We are relieved after the two executive decrees were approved so the government’s plan can now move forward,"said Mr Kan.
"However, I think we need to set the timeframe of implementation and the milestone of each step to make sure it is achievable."
Mr Kan noted Thailand needs fully integrated infrastructure, especially the rail network.
He added the corporate income tax,which has been cut to 23% from 30%this year, has helped attract investors."Indonesian investors told me Thailand’s tax cut will benefit their investments, especially when the tax is further reduced to 20% next year. In Malaysia, the tax rate is 26%," he said.
On transparency, Mr Kan suggested the private sector should collaborate with the public sector and the media to monitor the spending. The projects should also be reviewed at regular intervals of every 3-6 months.
Kyoichi Tanada, president of the Japanese Chamber of Commerce, said Thailand’s ability to prevent floods is a major concern for Japanese investors here."What Japanese investors are talking about now is how much rain we will have this year and whether the government will be able to prevent floods," said Mr Tanada, also president of Toyota Motor Thailand.
"If the government can prevent floods, Japanese investors will certainly invest more in Thailand," he noted.
For its part, Toyota aims to export more from Thailand, not only pick-up trucks but also passenger cars.
To that end, a stable currency exchange rate at about 30 baht a dollar is suitable for exports."I am asking the Thai government to help Japanese investors by not allowing the baht to get so strong," Mr Tanada said.
Pailin Chuchottworn, PTT Plc’s CEO,suggested the government should set up an independent committee to oversee the rehabilitation plan and the logistic networks that need to be improved urgently.
The committee should be empowered to ensure fast development and effi-ciency of the flood-prevention projects.
Dr Pailin noted that the model is similar to Indonesia’s Aceh post-tsunami in 2005.
"A law should also be in place to protect it from intervention," said Dr Pailin.
Aceh’s rehabilitation plan was lauded by many international organisations for its success.
He noted if the country quickly recovers, the plan will open up great opportunities in the future but its success would hinge on the accountability and transparency of budget spending.
Determination, coordination, strong leadership and full support from all parties are key to the success, said Dr Pailin.
He pointed out that if the plan is successful, Thailand will once again be a country with high potential, with its strategic location between the world’s fastest-growing economies of India and China.
"We can link these two countries by road and rail which should be completed in the next decade," said Dr Pailin.
He also stressed the danger of corruption, saying it is a major hurdle to the country’s development.
"The crucial thing is corruption. All parties in the society must not turn a blind eye to it. We have to join hands against it for the country’s sake," said Dr Pailin.
He pointed out business continuity plans are crucial for the private sector.The riots in Bangkok two years ago served as a wakeup call for the private sector to prepare themselves for the unexpected, resulting in fewer difficulties for some companies in handling the situation during the great floods.
Chawalit Chantaratat, managing director of TEAM Group, said that the key concern lies in the government’s readiness to deal with the floods this year, as the flood prevention plan aims for results in the next two years.
In the short term, related agencies should revise the rules and allow less water to be kept at major dams.
"The Meteorological Department expected the overflowing water from Nakhon Sawan province to total 20 billion cubic metres this year, compared with 35 billion cubic metres last year.We will handle less water this year," Mr Chawalit said.
He said the country’s water management capacity currently stands at 30 billion cubic metres.
However, he warns the government’s handling of encroachment in floodway areas is a key concerns in the flood prevention efforts.
"The crucial thing is corruption. All parties in the society must not turn a blind eye to it. We have to join hands against it for the country’s sake
Source: Bangkok Post
Source - Bangkok Post (Eng), Friday, February 24, 2012
POST REPORTERS
Implementation, graft busting new challenges Business leaders have more confidence in the government’s economic rehabilitation plan but warn major challenges now lie in the implementation of the projects and effective supervision to prevent corruption.
Kan Trakulhoon, president and chief executive of Siam Cement Group (SCG),said securing the funds for floodprevention projects and setting an appropriate implementation timeframe are critical in restoring investors’ confidence.
"The flood impacts on the gross domestic product in the fourth quarter of last year are so severe and beyond expectation," he told the 2012 Post Forum yesterday.
"The damage was unbelievable. We never dreamed of such an extent," said Mr Kan.
"We are relieved after the two executive decrees were approved so the government’s plan can now move forward,"said Mr Kan.
"However, I think we need to set the timeframe of implementation and the milestone of each step to make sure it is achievable."
Mr Kan noted Thailand needs fully integrated infrastructure, especially the rail network.
He added the corporate income tax,which has been cut to 23% from 30%this year, has helped attract investors."Indonesian investors told me Thailand’s tax cut will benefit their investments, especially when the tax is further reduced to 20% next year. In Malaysia, the tax rate is 26%," he said.
On transparency, Mr Kan suggested the private sector should collaborate with the public sector and the media to monitor the spending. The projects should also be reviewed at regular intervals of every 3-6 months.
Kyoichi Tanada, president of the Japanese Chamber of Commerce, said Thailand’s ability to prevent floods is a major concern for Japanese investors here."What Japanese investors are talking about now is how much rain we will have this year and whether the government will be able to prevent floods," said Mr Tanada, also president of Toyota Motor Thailand.
"If the government can prevent floods, Japanese investors will certainly invest more in Thailand," he noted.
For its part, Toyota aims to export more from Thailand, not only pick-up trucks but also passenger cars.
To that end, a stable currency exchange rate at about 30 baht a dollar is suitable for exports."I am asking the Thai government to help Japanese investors by not allowing the baht to get so strong," Mr Tanada said.
Pailin Chuchottworn, PTT Plc’s CEO,suggested the government should set up an independent committee to oversee the rehabilitation plan and the logistic networks that need to be improved urgently.
The committee should be empowered to ensure fast development and effi-ciency of the flood-prevention projects.
Dr Pailin noted that the model is similar to Indonesia’s Aceh post-tsunami in 2005.
"A law should also be in place to protect it from intervention," said Dr Pailin.
Aceh’s rehabilitation plan was lauded by many international organisations for its success.
He noted if the country quickly recovers, the plan will open up great opportunities in the future but its success would hinge on the accountability and transparency of budget spending.
Determination, coordination, strong leadership and full support from all parties are key to the success, said Dr Pailin.
He pointed out that if the plan is successful, Thailand will once again be a country with high potential, with its strategic location between the world’s fastest-growing economies of India and China.
"We can link these two countries by road and rail which should be completed in the next decade," said Dr Pailin.
He also stressed the danger of corruption, saying it is a major hurdle to the country’s development.
"The crucial thing is corruption. All parties in the society must not turn a blind eye to it. We have to join hands against it for the country’s sake," said Dr Pailin.
He pointed out business continuity plans are crucial for the private sector.The riots in Bangkok two years ago served as a wakeup call for the private sector to prepare themselves for the unexpected, resulting in fewer difficulties for some companies in handling the situation during the great floods.
Chawalit Chantaratat, managing director of TEAM Group, said that the key concern lies in the government’s readiness to deal with the floods this year, as the flood prevention plan aims for results in the next two years.
In the short term, related agencies should revise the rules and allow less water to be kept at major dams.
"The Meteorological Department expected the overflowing water from Nakhon Sawan province to total 20 billion cubic metres this year, compared with 35 billion cubic metres last year.We will handle less water this year," Mr Chawalit said.
He said the country’s water management capacity currently stands at 30 billion cubic metres.
However, he warns the government’s handling of encroachment in floodway areas is a key concerns in the flood prevention efforts.
"The crucial thing is corruption. All parties in the society must not turn a blind eye to it. We have to join hands against it for the country’s sake
Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 98
ปตท.เปิดแผน 5 ปี 4 ภารกิจ ทุ่ม 9 แสนล้าน เพิ่มเค้กพลังงาน 52%
กิจการที่คุมทิศทางเศรษฐกิจประเทศ คือ "บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)" มีหน้าที่โดยตรงเรื่องการดูแลจัดหารับผิดชอบด้าน "ความมั่นคงทางพลังงาน" ตั้งแต่ ปี 2555 เป็นต้นไป ตลอดช่วง 5-10 ปีนี้ จะต้องขับเคลื่อนงานใหญ่ตามเป้าหมาย 4 ภารกิจ คือ
ภารกิจ 1 จัดหาพลังงานภายในปี 2563 จะต้องครองส่วนแบ่งพลังงานเพิ่มเป็น 52% จากปัจจุบัน 18%
ภารกิจ 2 วางแผนใช้เงินลงทุนภายใน 5 ปีนี้กว่า 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ปตท. 3.6 แสนล้านบาทสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน และ ปตท.สตผ.อีก 3.6 แสนล้านบาท พัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ กับน้ำมันทั้งในและต่างประเทศและธุรกิจในเครือ 3 แสนล้านบาท
ภารกิจ 3 นำพาองค์กรภายในปี 2560 ก้าวเข้าสู่บริษัทชั้นนำของโลกติดอันดับ Global TOP 100 Enterprise หรือติดฟอร์จูน 1 ใน 100 อันดับ สร้างรายได้ปีละ 4 ล้านล้านบาทขึ้นไป จากปัจจุบันทำได้ราว 2 ล้านล้านบาท
ภารกิจ 4 พัฒนารายได้จากระหว่างธุรกิจน้ำมัน (oil) กับไม่ใช่ธุรกิจน้ำมัน (nonoil) ให้ได้สัดส่วน 50 : 50
ทั้ง 4 ภารกิจหลักนี้ "ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำทีมผู้บริหาร 3 ซีอีโอ กับ 1 รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ร่วมกันเปิดกลยุทธ์เส้นทางสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย "เทวินทร์ วงศ์วานิช" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน (CFO) "วิชัย พรกีรติวัฒน์" ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ "ณัฐชาติ จารุจินดา" ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ การ (COO) กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย และ "สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์องค์กร
"ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" อธิบายว่า ช่วง 5 ปีข้างหน้าต้องทุ่มใช้เงินลงทุนมหาศาลเกือบ 1 ล้านล้านบาท (จาก ปตท. 3.6 แสนล้านบาท, ปตท.สผ. 3.6 แสนล้านบาท และกลุ่มธุรกิจในเครือ เช่น ไออาร์พีซี ปิโตรเคมีคอล อีกเกือบ 3 แสนล้านบาท ปีนี้จะใช้มากที่สุด 91,000 ล้านบาท จากนั้นจะทยอยลงเงินตามแผน (ดูกราฟประกอบ) เพื่อแลกกับเป้าหมาย "3 ความมั่นคง" คือ
ความมั่นคงที่ 1 ทางพลังงาน จะต้องหาแหล่งพลังงานสำรอง ต้องเพิ่มส่วนแบ่งตลาดอย่างต่ำ 34% จากปัจจุบัน 18 เป็น 52% สนองความต้องการของประเทศตอนนี้ใช้อยู่วันละ 2.071 ล้านบาร์เรล ปี 2563 จะขยายไปถึงวันละ 2.841 ล้านบาร์เรล
ความมั่นคงที่ 2 ทางเศรษฐกิจ ปตท.เข้าจดทะเบียนเป็นมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี 2544 มีรายได้เพียง 3.8 แสนล้านบาท ผ่านมา 10 ปี ปี 2554 รายได้เพิ่มเป็น 2.428 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8 เท่า เป็นการแสวงหารายได้มาเองทั้งสิ้นจาก ปตท.เอง 45% และบริษัทย่อยในเครือ 55% โดยภาพรวมเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 5% เป็นกำลังสำคัญการขับเคลื่อนตลาดทุนเพราะมีมูลค่า ตามราคา (market capitalization) ขนาดใหญ่ 1 ใน 4 ของทั้งหมดนำส่งรายได้ให้รัฐบาลปีนี้มากถึง 461,878 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งอยู่ในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ถึง 8%
ความมั่นคงที่ 3 ทางสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยการลงทุนนำเทคโนโลยีเข้าสู่กระบวนการผลิต ลดการเกิดมลพิษให้เหลือน้อยที่สุด ควบคู่กับการสร้างกิจกรรมปรับโหมดจากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจเข้าสู่หมวดองค์ความรู้ ทำให้ชุมชนและสังคมมีการศึกษาที่ดีได้บริหารจัดการชีววิทยารอบแหล่งผลิต และสนับสนุนกิจกรรมทางสังคม โดยการจัดตั้งองค์กรดูแลมูลค่าเพิ่มเรื่องดังกล่าวเติบโตไปด้วยกัน
ดร.ไพรินทร์ยืนยันว่า นับจากนี้เป็นต้นไป ผู้บริโภคภายในประเทศควรล้มเลิกความหวังได้แล้ว ที่จะได้ใช้เชื้อเพลิงทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน เพราะราคาจะไม่มีวันลดลง มีแต่จะเพิ่ม เนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตมากขึ้นทุกปี
"นายเทวินทร์ วงศ์วานิช" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท. ถอดรหัสแผนการใช้เงินลงทุน มุ่งเน้น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ลงทุนในเครือข่ายบริการ 52% แยกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจก๊าซธรรมชาติ คือ ท่อส่งก๊าซเส้นที่ 4 และส่วนขยาย สถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติ (LNG) สถานีก๊าซเหลวธรรมชาติรถยนต์ (NGV) ส่วนที่ 2 สร้างเครือข่ายความมั่นคงทางพลังงาน 45% โดยมองหาแหล่งถ่านหิน ปาล์มน้ำมัน เรือลอยน้ำแอลเอ็นจีไฟฟ้า ส่วนที่ 3 ทำวิจัยพัฒนาและอื่น ๆ 3%
ส่วนพื้นที่เป้าหมายในการหาแหล่งพลังงานจะกระจายสัดส่วนอยู่ทั่วโลก 5 โซน คือ อยู่ในไทย 54% เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 22% อเมริกาเหนือ 15% ตะวันออกกลางและแอฟริกา 4% ออสเตรเลีย 5%
โดยจะเคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมกัน 4 แผน ประกอบด้วย ปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศ-สร้างพลังร่วม-เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างนวัตกรรม-มุ่งความเป็นเลิศด้านการสร้างสมดุลระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยจัดการลงทุน เมื่อสิ้นสุดปี 2563 จะต้องสัมฤทธิผลใน 4 กลุ่มธุรกิจดังนี้
กลุ่ม 1 กลุ่มธุรกิจเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการสำรวจและผลิต วันละ 9 แสนบาร์เรล ถ่านหิน ต้องผลิตเป็น 70 ล้านตัน ปาล์มน้ำมัน ต้องเป็นผู้นำต้นน้ำด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ 500 kHA
กลุ่ม 2 ธุรกิจสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรธรรมชาติ โดยตั้งเป้าเป็นผู้นำ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติอันดับ 1 ใน 3 ของเอเชีย ไฟฟ้า เป็น 1 ในเอเชีย ปิโตรเคมี สามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงในเอเชีย-แปซิฟิก การกลั่น จะทำให้ครบวงจรในเอเชีย-แปซิฟิก และค้าปลีก จะขยายในอินโดจีนควบคู่การสร้างแบรนด์ระดับโลก
กลุ่ม 3 บริหารผลผลิตและความเสี่ยง จะมุ่งเป็นผู้นำการค้าระหว่างประเทศ
กลุ่ม 4 กลุ่มธุรกิจพลังงานสีเขียว จะต้องเป็นผู้นำอย่างสมบูรณ์แบบ
ตลอดปี 2554 ปตท.และบริษัทในเครือ มีกำไรสุทธิ 105,296 ล้านบาท เฉพาะ ปตท. 47,246 ล้านบาท ในเครือ 58,050 ล้านบาท จากรายได้การขายและบริการของทั้งกลุ่ม 2,428,165 ล้านบาท เฉพาะ ปตท. 2,197,555 ล้านบาท ในเครือ 230,640 ล้านบาท จ่ายปันผล 13 บาท/หุ้น
กิจการที่คุมทิศทางเศรษฐกิจประเทศ คือ "บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)" มีหน้าที่โดยตรงเรื่องการดูแลจัดหารับผิดชอบด้าน "ความมั่นคงทางพลังงาน" ตั้งแต่ ปี 2555 เป็นต้นไป ตลอดช่วง 5-10 ปีนี้ จะต้องขับเคลื่อนงานใหญ่ตามเป้าหมาย 4 ภารกิจ คือ
ภารกิจ 1 จัดหาพลังงานภายในปี 2563 จะต้องครองส่วนแบ่งพลังงานเพิ่มเป็น 52% จากปัจจุบัน 18%
ภารกิจ 2 วางแผนใช้เงินลงทุนภายใน 5 ปีนี้กว่า 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ปตท. 3.6 แสนล้านบาทสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน และ ปตท.สตผ.อีก 3.6 แสนล้านบาท พัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ กับน้ำมันทั้งในและต่างประเทศและธุรกิจในเครือ 3 แสนล้านบาท
ภารกิจ 3 นำพาองค์กรภายในปี 2560 ก้าวเข้าสู่บริษัทชั้นนำของโลกติดอันดับ Global TOP 100 Enterprise หรือติดฟอร์จูน 1 ใน 100 อันดับ สร้างรายได้ปีละ 4 ล้านล้านบาทขึ้นไป จากปัจจุบันทำได้ราว 2 ล้านล้านบาท
ภารกิจ 4 พัฒนารายได้จากระหว่างธุรกิจน้ำมัน (oil) กับไม่ใช่ธุรกิจน้ำมัน (nonoil) ให้ได้สัดส่วน 50 : 50
ทั้ง 4 ภารกิจหลักนี้ "ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำทีมผู้บริหาร 3 ซีอีโอ กับ 1 รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ร่วมกันเปิดกลยุทธ์เส้นทางสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย "เทวินทร์ วงศ์วานิช" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน (CFO) "วิชัย พรกีรติวัฒน์" ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ "ณัฐชาติ จารุจินดา" ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ การ (COO) กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย และ "สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์องค์กร
"ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" อธิบายว่า ช่วง 5 ปีข้างหน้าต้องทุ่มใช้เงินลงทุนมหาศาลเกือบ 1 ล้านล้านบาท (จาก ปตท. 3.6 แสนล้านบาท, ปตท.สผ. 3.6 แสนล้านบาท และกลุ่มธุรกิจในเครือ เช่น ไออาร์พีซี ปิโตรเคมีคอล อีกเกือบ 3 แสนล้านบาท ปีนี้จะใช้มากที่สุด 91,000 ล้านบาท จากนั้นจะทยอยลงเงินตามแผน (ดูกราฟประกอบ) เพื่อแลกกับเป้าหมาย "3 ความมั่นคง" คือ
ความมั่นคงที่ 1 ทางพลังงาน จะต้องหาแหล่งพลังงานสำรอง ต้องเพิ่มส่วนแบ่งตลาดอย่างต่ำ 34% จากปัจจุบัน 18 เป็น 52% สนองความต้องการของประเทศตอนนี้ใช้อยู่วันละ 2.071 ล้านบาร์เรล ปี 2563 จะขยายไปถึงวันละ 2.841 ล้านบาร์เรล
ความมั่นคงที่ 2 ทางเศรษฐกิจ ปตท.เข้าจดทะเบียนเป็นมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี 2544 มีรายได้เพียง 3.8 แสนล้านบาท ผ่านมา 10 ปี ปี 2554 รายได้เพิ่มเป็น 2.428 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8 เท่า เป็นการแสวงหารายได้มาเองทั้งสิ้นจาก ปตท.เอง 45% และบริษัทย่อยในเครือ 55% โดยภาพรวมเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 5% เป็นกำลังสำคัญการขับเคลื่อนตลาดทุนเพราะมีมูลค่า ตามราคา (market capitalization) ขนาดใหญ่ 1 ใน 4 ของทั้งหมดนำส่งรายได้ให้รัฐบาลปีนี้มากถึง 461,878 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งอยู่ในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ถึง 8%
ความมั่นคงที่ 3 ทางสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยการลงทุนนำเทคโนโลยีเข้าสู่กระบวนการผลิต ลดการเกิดมลพิษให้เหลือน้อยที่สุด ควบคู่กับการสร้างกิจกรรมปรับโหมดจากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจเข้าสู่หมวดองค์ความรู้ ทำให้ชุมชนและสังคมมีการศึกษาที่ดีได้บริหารจัดการชีววิทยารอบแหล่งผลิต และสนับสนุนกิจกรรมทางสังคม โดยการจัดตั้งองค์กรดูแลมูลค่าเพิ่มเรื่องดังกล่าวเติบโตไปด้วยกัน
ดร.ไพรินทร์ยืนยันว่า นับจากนี้เป็นต้นไป ผู้บริโภคภายในประเทศควรล้มเลิกความหวังได้แล้ว ที่จะได้ใช้เชื้อเพลิงทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน เพราะราคาจะไม่มีวันลดลง มีแต่จะเพิ่ม เนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตมากขึ้นทุกปี
"นายเทวินทร์ วงศ์วานิช" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท. ถอดรหัสแผนการใช้เงินลงทุน มุ่งเน้น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ลงทุนในเครือข่ายบริการ 52% แยกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจก๊าซธรรมชาติ คือ ท่อส่งก๊าซเส้นที่ 4 และส่วนขยาย สถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติ (LNG) สถานีก๊าซเหลวธรรมชาติรถยนต์ (NGV) ส่วนที่ 2 สร้างเครือข่ายความมั่นคงทางพลังงาน 45% โดยมองหาแหล่งถ่านหิน ปาล์มน้ำมัน เรือลอยน้ำแอลเอ็นจีไฟฟ้า ส่วนที่ 3 ทำวิจัยพัฒนาและอื่น ๆ 3%
ส่วนพื้นที่เป้าหมายในการหาแหล่งพลังงานจะกระจายสัดส่วนอยู่ทั่วโลก 5 โซน คือ อยู่ในไทย 54% เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 22% อเมริกาเหนือ 15% ตะวันออกกลางและแอฟริกา 4% ออสเตรเลีย 5%
โดยจะเคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมกัน 4 แผน ประกอบด้วย ปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศ-สร้างพลังร่วม-เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างนวัตกรรม-มุ่งความเป็นเลิศด้านการสร้างสมดุลระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยจัดการลงทุน เมื่อสิ้นสุดปี 2563 จะต้องสัมฤทธิผลใน 4 กลุ่มธุรกิจดังนี้
กลุ่ม 1 กลุ่มธุรกิจเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการสำรวจและผลิต วันละ 9 แสนบาร์เรล ถ่านหิน ต้องผลิตเป็น 70 ล้านตัน ปาล์มน้ำมัน ต้องเป็นผู้นำต้นน้ำด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ 500 kHA
กลุ่ม 2 ธุรกิจสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรธรรมชาติ โดยตั้งเป้าเป็นผู้นำ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติอันดับ 1 ใน 3 ของเอเชีย ไฟฟ้า เป็น 1 ในเอเชีย ปิโตรเคมี สามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงในเอเชีย-แปซิฟิก การกลั่น จะทำให้ครบวงจรในเอเชีย-แปซิฟิก และค้าปลีก จะขยายในอินโดจีนควบคู่การสร้างแบรนด์ระดับโลก
กลุ่ม 3 บริหารผลผลิตและความเสี่ยง จะมุ่งเป็นผู้นำการค้าระหว่างประเทศ
กลุ่ม 4 กลุ่มธุรกิจพลังงานสีเขียว จะต้องเป็นผู้นำอย่างสมบูรณ์แบบ
ตลอดปี 2554 ปตท.และบริษัทในเครือ มีกำไรสุทธิ 105,296 ล้านบาท เฉพาะ ปตท. 47,246 ล้านบาท ในเครือ 58,050 ล้านบาท จากรายได้การขายและบริการของทั้งกลุ่ม 2,428,165 ล้านบาท เฉพาะ ปตท. 2,197,555 ล้านบาท ในเครือ 230,640 ล้านบาท จ่ายปันผล 13 บาท/หุ้น
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 99
ผมอยากชวนดูรายการ Money Talk เดี๋ยวนี้เลยนะครับ
สำหรับ บริษัทฯ PTTEP ครับผม
ช่อง Money Channel วันนี้ 26 ก.พ. 55 นะครับ เวลา 22.00 - 23.00 น.
สำหรับ บริษัทฯ PTTEP ครับผม
ช่อง Money Channel วันนี้ 26 ก.พ. 55 นะครับ เวลา 22.00 - 23.00 น.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 100
Energy giant PTT becomes a target in political rivalry
Source - The Nation Eng), Monday, February 27, 2012
The opposition Democrat Party has stepped forward to warn the public to keep a close watch on whether the Pheu Thai Party plans to ’suck blood’ from PTT because politicians believe that the energy giant is their treasure trove, writes Watcharapong Thongrung.
The Democrat Party recently caused some fuss by pointing out that Thai Consultant and Public Relations had been selected to manage public relations for 17 PTT projects. It is a small example of criticism in which the Democrats want the public to investigate whether ousted prime minister Thaksin Shinawatra is eyeing the energy giant’s enterprises.
In addition, PTT has come under pressure on whether it practises good governance as promoted.
It is very common for large companies like PTT to throw some big projects to other firms. But the Democrat Party revealed that Thai Consultant and Public Relations had close relations with Deputy Agriculture Minister Natthawut Saikua, as one of its shareholders.
As Thais direct more criticism towards this state-run enterprise, it puts more pressure on concerned government agencies to verify the transparency of PTT’s procurements.
Because of the Democrat Party’s revelations, PTT has been widely criticised for monopolising the country’s energy sector with unreasonably high costs, and ignoring the needs of Thai people to generate massive profits.
The company’s annual public relations budget of Bt1 billion, the opposition says, is a lure for "bloodsucking" politicians.
It may be normal that Thai Consultant won a few projects from PTT. On the other hand, the company has managed public relations for 17 PTT pipeline-construction projects.
Although each pipeline project costs about Bt10 million, the Democrat Party warned the public to focus on PTT’s total investment, which is set at about Bt91 billion this year. This will allow politicians to reap more benefits from investments by the Kingdom’s oil giant every time, it claims.
PTT has been kept in spotlight over interventions by politicians in the coalition government. The company is closely involved in fuel-price restructuring, which directly affects consumers of natural gas for vehicles and liquefied petroleum gas.
However, PTT has been one of the major donors to flood-relief activities since the disaster last year, contributing Bt1 billion towards recovery efforts.
Moreover, the government of Prime Minister Yingluck Shinawatra has raised the idea of privatising PTT by selling a 2-per-cent stake, to expand investment in a foreign country where Thaksin has business interests. The Democrat Party has urged Thais to monitor PTT closely, not only its management, but also its procurement in all activities and investment.
Thaksin has had investment interests in the energy sector for years since the US-based company Chevron won an exploration concession in Cambodia. That business appears to be still in his mind as he foresees making a huge profit in the long run.
Meanwhile in the latest Cabinet reshuffle, Arak Chontaranont was appointed as the new energy minister. He worked closely with Thaksin in the Shin Group.
Arak’s three priority jobs are to consider energy-price structures to calm public protest over the increasing cost of living, to negotiate with neighbouring countries including Cambodia and Burma on potential shared oil-drilling areas, and to encourage PTT to expand its investment overseas, particularly in those two countries.
As a listed company, PTT has been closely monitored by concerned agencies such as the Office of the Auditor-General and the Securities and Exchange Commission so that it will not affect investors’ confidence. Moreover, the awards granted by many international authorities have highlighted PTT’s good management.
The company is also considering setting up a special task force to provide correct information to the public so they have a better understanding of PTT’s performance in the areas of business and politics.
So far, PTT has been a victim of both the Pheu Thai and Democrat parties. However, the company has learned very well from this situation by trying to clarify its position, particularly on the political side. The special task force will handle this issue in an attempt to prove PTT is politically "clean".
Source - The Nation Eng), Monday, February 27, 2012
The opposition Democrat Party has stepped forward to warn the public to keep a close watch on whether the Pheu Thai Party plans to ’suck blood’ from PTT because politicians believe that the energy giant is their treasure trove, writes Watcharapong Thongrung.
The Democrat Party recently caused some fuss by pointing out that Thai Consultant and Public Relations had been selected to manage public relations for 17 PTT projects. It is a small example of criticism in which the Democrats want the public to investigate whether ousted prime minister Thaksin Shinawatra is eyeing the energy giant’s enterprises.
In addition, PTT has come under pressure on whether it practises good governance as promoted.
It is very common for large companies like PTT to throw some big projects to other firms. But the Democrat Party revealed that Thai Consultant and Public Relations had close relations with Deputy Agriculture Minister Natthawut Saikua, as one of its shareholders.
As Thais direct more criticism towards this state-run enterprise, it puts more pressure on concerned government agencies to verify the transparency of PTT’s procurements.
Because of the Democrat Party’s revelations, PTT has been widely criticised for monopolising the country’s energy sector with unreasonably high costs, and ignoring the needs of Thai people to generate massive profits.
The company’s annual public relations budget of Bt1 billion, the opposition says, is a lure for "bloodsucking" politicians.
It may be normal that Thai Consultant won a few projects from PTT. On the other hand, the company has managed public relations for 17 PTT pipeline-construction projects.
Although each pipeline project costs about Bt10 million, the Democrat Party warned the public to focus on PTT’s total investment, which is set at about Bt91 billion this year. This will allow politicians to reap more benefits from investments by the Kingdom’s oil giant every time, it claims.
PTT has been kept in spotlight over interventions by politicians in the coalition government. The company is closely involved in fuel-price restructuring, which directly affects consumers of natural gas for vehicles and liquefied petroleum gas.
However, PTT has been one of the major donors to flood-relief activities since the disaster last year, contributing Bt1 billion towards recovery efforts.
Moreover, the government of Prime Minister Yingluck Shinawatra has raised the idea of privatising PTT by selling a 2-per-cent stake, to expand investment in a foreign country where Thaksin has business interests. The Democrat Party has urged Thais to monitor PTT closely, not only its management, but also its procurement in all activities and investment.
Thaksin has had investment interests in the energy sector for years since the US-based company Chevron won an exploration concession in Cambodia. That business appears to be still in his mind as he foresees making a huge profit in the long run.
Meanwhile in the latest Cabinet reshuffle, Arak Chontaranont was appointed as the new energy minister. He worked closely with Thaksin in the Shin Group.
Arak’s three priority jobs are to consider energy-price structures to calm public protest over the increasing cost of living, to negotiate with neighbouring countries including Cambodia and Burma on potential shared oil-drilling areas, and to encourage PTT to expand its investment overseas, particularly in those two countries.
As a listed company, PTT has been closely monitored by concerned agencies such as the Office of the Auditor-General and the Securities and Exchange Commission so that it will not affect investors’ confidence. Moreover, the awards granted by many international authorities have highlighted PTT’s good management.
The company is also considering setting up a special task force to provide correct information to the public so they have a better understanding of PTT’s performance in the areas of business and politics.
So far, PTT has been a victim of both the Pheu Thai and Democrat parties. However, the company has learned very well from this situation by trying to clarify its position, particularly on the political side. The special task force will handle this issue in an attempt to prove PTT is politically "clean".
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 101
ปตท.สผ.จ่อฮุบบริษัทนอก 2 ดีล/ปี ซื้อ"โคฟ เอนเนอร์จี" พลังงานยักษ์ใหญ่อังกฤษ มูลค่า 5.6 หมื่นล้าน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, February 27, 2012
วางแผนลงทุน 5 ปี จะใช้เงินรวม 6 แสนล้าน ไม่รวมงบซื้อกิจการ หวั่นไม่ลงทุนเพิ่ม กดโตเหลือ 4% ต่อปี
ปตท.สผ. ตั้งเป้าซื้อกิจการต่างประเทศปีละ 1-2 ดีล หวังเพิ่มอัตราการเติบโต หวั่นหากไม่มีโครงการใหม่ช่วง 5 ปีข้างหน้าโตเฉลี่ยเพียงปีละ 4% ชี้ราคาน้ำมันแพงผลดีต่อบริษัท คาดราคาขายปีนี้เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้วอยู่ที่ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตั้งงบลงทุน 5 ปี 6 แสนล้าน กว่า 50% ใช้ในโครงการใหม่ ล่าสุดซื้อ Cove Energy บริษัทยักษ์ใหญ่จากอังกฤษมูลค่า 5.6 หมื่นล้านบาท หวังขยายฐานพลังงานสู่แอฟริกาตะวันออกเผยมีปริมาณน้ำมันสำรอง 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. (PTTEP) เปิดเผยว่า บริษัทพยายามจะซื้อกิจการในต่างประเทศให้ได้ปีละ 1-2 ดีล โดยโฟกัสในหลายภูมิภาค ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้ ซึ่งต้องดูการลงทุนที่เหมาะสมกับความต้องการของบริษัท ทั้งขนาดพอร์ตลงทุน และผลตอบแทนที่ได้รับ
หากเป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ บริษัทจะหาพันธมิตรเข้าไปร่วมลงทุน ส่วนในภูมิภาคยุโรป บริษัทไม่ได้เข้าไปดูเท่าที่ควร เนื่องจากโครงการผลิตและสำรวจปิโตรเลียมในแถบยุโรปค่อนข้างอิ่มตัว อาจมีการซื้อขายโครงการบ้าง แต่โอกาสการเติบโตมีน้อย
"บริษัทจะพยายามหาโครงการใหม่ๆ เข้ามา เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัท หากไม่มีการควบรวมกิจการในช่วง 5 ปีข้างหน้า บริษัทจะโตเฉลี่ยปีละประมาณ 4% โดยเติบโตสูงในช่วงแรกและเติบโตน้อยในปีหลัง ซึ่งคาดการณ์ว่าปีนี้ยอดขายบริษัท จะโต 7% และเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักในปี 2556" นายอนนต์กล่าว
เขากล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี ส่งผลดีต่อบริษัท ที่จะทำให้ราคาปิโตรเลียมทั้งก๊าซธรรมชาติและราคาน้ำมัน ณ ปากหลุมปรับเพิ่มขึ้น จากราคาเฉลี่ยในปี 2554 อยู่ที่ระดับ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งจะปรับขึ้นไม่มาก ต้องติดตามดูสถานการณ์ในอิหร่านว่าจะยืดเยื้อแค่ไหน ขณะนี้ บริษัทยังคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันเฉลี่ยปีนี้อยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
แผน 5 ปีใช้เงินลงทุน 6 แสนล้าน
ส่วนแผนลงทุนช่วง 5 ปี บริษัทมีแผนจะใช้เงินลงทุนรวม 6 แสนล้านบาท ไม่รวมงบการซื้อกิจการ โดย 50% หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในโครงการใหม่ อีก 15% เป็นงบลงทุนขุดเจาะและสำรวจ ส่วนอีก 35% เป็นการลงทุนในโครงการเดิม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านปฏิบัติการค่อนข้างสูง
นายอนนต์ เปิดเผยว่า บริษัทได้แจ้งความประสงค์เข้าทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของบริษัท Cove Energy ที่ชำระแล้วและยังไม่ได้ชำระทั้งหมดที่ราคา 220 เพนซ์ คิดเป็น มูลค่า 1119.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง หรือราว 5.6 หมื่นล้านบาท
บริษัท Cove เป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาด alternative investment market (aim) ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมีสินทรัพย์หลัก คือ การถือสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน rovuma offshore area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิค โดยแปลงสัมปทานดังกล่าวนั้น เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และคาดว่าจะมีปริมาณสำรอง ประมาณ 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมถึงแหล่งน้ำมัน black pearl prospectนอกจากนี้ Cove ยังถือสัดส่วน 10 % ในแปลงสัมปทาน rovuma onshore area ในประเทศสาธารณรัฐโมซัมบิค รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในประเทศเคนยาอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การทำคำเสนอซื้อครั้งนี้จะมีผลผูกพันต่อเมื่อคณะกรรมการบริษัท Cove มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ยอมรับข้อเสนอ ปตท.สผ.โดยปราศจากเงื่อนไข
ปตท.สผ. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเว้นเงื่อนไขเบื้องต้นบางส่วน หรือทั้งหมด ในเวลาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ปตท.สผ. ซึ่ง ปตท.สผ.ไม่มีภาระผูกพันที่จะยื่นข้อเสนอสุดท้ายแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าเงื่อนไขบางข้อหรือทั้งหมดได้ถูกดำเนินการแล้วเสร็จหรือได้รับยกเว้น
ทั้งนี้ ทรัพย์สินหลักและโครงการของ Cove มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว ของกลุ่ม ปตท. การประกาศความประสงค์ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นตาม ข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับ ปตท.สผ. ในการเข้าถึงแหล่งพลังงานในแถบแอฟริกาตะวันออก ที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูง โดย ปตท.สผ.มีความมุ่งมั่นที่จะใช้ประสบการณ์อันยาวนานในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อสนับสนุนให้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและสาธารณรัฐโมซัมบิค
สำหรับแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำคำเสนอซื้อในครั้งนี้ จะมาจากเงินสดคงเหลือของ ปตท.สผ. และวงเงินสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน ปตท.สผ. มีโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแอฟริกาเหนือ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการแอลจีเรีย 433 เอ และ 416 บี โครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ในประเทศแอลจีเรีย และ โครงการโรมมานา ในประเทศอียิปต์
ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์รายงานว่า ผลการดำเนินงานของบริษัท ปตท.สผ.งวดปี 2554 รวมบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 44,748 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 43,773 ล้านบาท
บล.เกียรตินาคิน วิเคราะห์ว่า ยังคงประมาณการกำไรสุทธิของ ปตท.สผ.ปี 2555 ไว้ที่ 47,870 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อนหน้า คาดมียอดขายปิโตรเลียมเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 2.84 แสนบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 7% โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ได้แก่ แหล่งบงกชใต้ จะเริ่มผลิตไตรมาส 1 ปีนี้ และโครงการมอนทารา เริ่มไตรมาส 2 ปีนี้ ประเมินราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ของบริษัท ไว้ที่ 52.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 5% จากปีก่อนหน้า ผลจากมุมมองเชิงลบต่อราคาน้ำมันดิบ ซึ่งจะอยู่ระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามพื้นฐานที่อ่อนแอจากเศรษฐกิจที่ยังเป็นปัจจัยลบต่อความต้องการ
ดังนั้น การเพิ่มทุน ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากบริษัทคงเป้ายอดขายปี 2558 ที่ 5 แสนบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าเป้ายอดขายปัจจุบัน 76% โดยคาดการเติบโตยอดขายมาจาก 2 ส่วน ได้แก่ การเติบโตยอดขายปิโตรเลียมจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ซึ่งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 4 แสน บาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2558 โดยโครงการสำคัญส่วนใหญ่เป็นโครงการปิโตรเลียมในพม่า รวมทั้งในแอลจีเรีย ที่จะทยอยดำเนินการผลิตในปี 2556 และ 2557 ตามลำดับ
การลงทุนในแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและใกล้ดำเนินการผลิต หรือดำเนินการผลิตอยู่แล้ว อีกไม่น้อยกว่า 1 แสนบาร์เรลต่อวัน เพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัท ซึ่งเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความกังวลต่อการเพิ่มทุนของ ปตท.สผ. ในช่วงที่ผ่านมา
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, February 27, 2012
วางแผนลงทุน 5 ปี จะใช้เงินรวม 6 แสนล้าน ไม่รวมงบซื้อกิจการ หวั่นไม่ลงทุนเพิ่ม กดโตเหลือ 4% ต่อปี
ปตท.สผ. ตั้งเป้าซื้อกิจการต่างประเทศปีละ 1-2 ดีล หวังเพิ่มอัตราการเติบโต หวั่นหากไม่มีโครงการใหม่ช่วง 5 ปีข้างหน้าโตเฉลี่ยเพียงปีละ 4% ชี้ราคาน้ำมันแพงผลดีต่อบริษัท คาดราคาขายปีนี้เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้วอยู่ที่ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตั้งงบลงทุน 5 ปี 6 แสนล้าน กว่า 50% ใช้ในโครงการใหม่ ล่าสุดซื้อ Cove Energy บริษัทยักษ์ใหญ่จากอังกฤษมูลค่า 5.6 หมื่นล้านบาท หวังขยายฐานพลังงานสู่แอฟริกาตะวันออกเผยมีปริมาณน้ำมันสำรอง 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. (PTTEP) เปิดเผยว่า บริษัทพยายามจะซื้อกิจการในต่างประเทศให้ได้ปีละ 1-2 ดีล โดยโฟกัสในหลายภูมิภาค ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้ ซึ่งต้องดูการลงทุนที่เหมาะสมกับความต้องการของบริษัท ทั้งขนาดพอร์ตลงทุน และผลตอบแทนที่ได้รับ
หากเป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ บริษัทจะหาพันธมิตรเข้าไปร่วมลงทุน ส่วนในภูมิภาคยุโรป บริษัทไม่ได้เข้าไปดูเท่าที่ควร เนื่องจากโครงการผลิตและสำรวจปิโตรเลียมในแถบยุโรปค่อนข้างอิ่มตัว อาจมีการซื้อขายโครงการบ้าง แต่โอกาสการเติบโตมีน้อย
"บริษัทจะพยายามหาโครงการใหม่ๆ เข้ามา เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัท หากไม่มีการควบรวมกิจการในช่วง 5 ปีข้างหน้า บริษัทจะโตเฉลี่ยปีละประมาณ 4% โดยเติบโตสูงในช่วงแรกและเติบโตน้อยในปีหลัง ซึ่งคาดการณ์ว่าปีนี้ยอดขายบริษัท จะโต 7% และเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักในปี 2556" นายอนนต์กล่าว
เขากล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี ส่งผลดีต่อบริษัท ที่จะทำให้ราคาปิโตรเลียมทั้งก๊าซธรรมชาติและราคาน้ำมัน ณ ปากหลุมปรับเพิ่มขึ้น จากราคาเฉลี่ยในปี 2554 อยู่ที่ระดับ 55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งจะปรับขึ้นไม่มาก ต้องติดตามดูสถานการณ์ในอิหร่านว่าจะยืดเยื้อแค่ไหน ขณะนี้ บริษัทยังคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันเฉลี่ยปีนี้อยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
แผน 5 ปีใช้เงินลงทุน 6 แสนล้าน
ส่วนแผนลงทุนช่วง 5 ปี บริษัทมีแผนจะใช้เงินลงทุนรวม 6 แสนล้านบาท ไม่รวมงบการซื้อกิจการ โดย 50% หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในโครงการใหม่ อีก 15% เป็นงบลงทุนขุดเจาะและสำรวจ ส่วนอีก 35% เป็นการลงทุนในโครงการเดิม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านปฏิบัติการค่อนข้างสูง
นายอนนต์ เปิดเผยว่า บริษัทได้แจ้งความประสงค์เข้าทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของบริษัท Cove Energy ที่ชำระแล้วและยังไม่ได้ชำระทั้งหมดที่ราคา 220 เพนซ์ คิดเป็น มูลค่า 1119.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง หรือราว 5.6 หมื่นล้านบาท
บริษัท Cove เป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาด alternative investment market (aim) ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมีสินทรัพย์หลัก คือ การถือสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน rovuma offshore area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิค โดยแปลงสัมปทานดังกล่าวนั้น เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และคาดว่าจะมีปริมาณสำรอง ประมาณ 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมถึงแหล่งน้ำมัน black pearl prospectนอกจากนี้ Cove ยังถือสัดส่วน 10 % ในแปลงสัมปทาน rovuma onshore area ในประเทศสาธารณรัฐโมซัมบิค รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในประเทศเคนยาอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การทำคำเสนอซื้อครั้งนี้จะมีผลผูกพันต่อเมื่อคณะกรรมการบริษัท Cove มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ยอมรับข้อเสนอ ปตท.สผ.โดยปราศจากเงื่อนไข
ปตท.สผ. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเว้นเงื่อนไขเบื้องต้นบางส่วน หรือทั้งหมด ในเวลาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ปตท.สผ. ซึ่ง ปตท.สผ.ไม่มีภาระผูกพันที่จะยื่นข้อเสนอสุดท้ายแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าเงื่อนไขบางข้อหรือทั้งหมดได้ถูกดำเนินการแล้วเสร็จหรือได้รับยกเว้น
ทั้งนี้ ทรัพย์สินหลักและโครงการของ Cove มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว ของกลุ่ม ปตท. การประกาศความประสงค์ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นตาม ข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับ ปตท.สผ. ในการเข้าถึงแหล่งพลังงานในแถบแอฟริกาตะวันออก ที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูง โดย ปตท.สผ.มีความมุ่งมั่นที่จะใช้ประสบการณ์อันยาวนานในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อสนับสนุนให้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและสาธารณรัฐโมซัมบิค
สำหรับแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำคำเสนอซื้อในครั้งนี้ จะมาจากเงินสดคงเหลือของ ปตท.สผ. และวงเงินสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน ปตท.สผ. มีโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแอฟริกาเหนือ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการแอลจีเรีย 433 เอ และ 416 บี โครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ในประเทศแอลจีเรีย และ โครงการโรมมานา ในประเทศอียิปต์
ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์รายงานว่า ผลการดำเนินงานของบริษัท ปตท.สผ.งวดปี 2554 รวมบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 44,748 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 43,773 ล้านบาท
บล.เกียรตินาคิน วิเคราะห์ว่า ยังคงประมาณการกำไรสุทธิของ ปตท.สผ.ปี 2555 ไว้ที่ 47,870 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อนหน้า คาดมียอดขายปิโตรเลียมเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 2.84 แสนบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 7% โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ได้แก่ แหล่งบงกชใต้ จะเริ่มผลิตไตรมาส 1 ปีนี้ และโครงการมอนทารา เริ่มไตรมาส 2 ปีนี้ ประเมินราคาขายเฉลี่ยผลิตภัณฑ์ของบริษัท ไว้ที่ 52.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลง 5% จากปีก่อนหน้า ผลจากมุมมองเชิงลบต่อราคาน้ำมันดิบ ซึ่งจะอยู่ระดับ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามพื้นฐานที่อ่อนแอจากเศรษฐกิจที่ยังเป็นปัจจัยลบต่อความต้องการ
ดังนั้น การเพิ่มทุน ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากบริษัทคงเป้ายอดขายปี 2558 ที่ 5 แสนบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าเป้ายอดขายปัจจุบัน 76% โดยคาดการเติบโตยอดขายมาจาก 2 ส่วน ได้แก่ การเติบโตยอดขายปิโตรเลียมจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ ซึ่งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 4 แสน บาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2558 โดยโครงการสำคัญส่วนใหญ่เป็นโครงการปิโตรเลียมในพม่า รวมทั้งในแอลจีเรีย ที่จะทยอยดำเนินการผลิตในปี 2556 และ 2557 ตามลำดับ
การลงทุนในแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและใกล้ดำเนินการผลิต หรือดำเนินการผลิตอยู่แล้ว อีกไม่น้อยกว่า 1 แสนบาร์เรลต่อวัน เพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัท ซึ่งเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความกังวลต่อการเพิ่มทุนของ ปตท.สผ. ในช่วงที่ผ่านมา
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 102
ภาพข่าว: ปตท.-GIZ ลงนามพัฒนาพลังหมุนเวียน
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, February 28, 2012
ณัฐชาติ จารุจินดา ปธ.จนท.ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ.ปตท.ลงนามความร่วมมือ "Collaborative Research Development" กับ Mr.Tom Pat, Managing Director, Deutsche Gesellschaft fur Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาวางแผนโครงการรวมถึงนำผลศึกษาไปใช้ในงานด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, February 28, 2012
ณัฐชาติ จารุจินดา ปธ.จนท.ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ.ปตท.ลงนามความร่วมมือ "Collaborative Research Development" กับ Mr.Tom Pat, Managing Director, Deutsche Gesellschaft fur Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาวางแผนโครงการรวมถึงนำผลศึกษาไปใช้ในงานด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
--จบ--
แนบไฟล์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 103
โบรกฯชี้ปตท.สผ.ซื้อโคฟแพง บางจากทุ่มงบลงทุน4ปี2.6หมื่นล้าน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, February 28, 2012
ยันราคาซื้อคุ้มค่าลงทุน ไร้ปัญหาแหล่งเงินทุน"อนนต์"ชี้มีโอกาสชนะสูง
โบรกเกอร์ ชี้ ปตท.สผ. เสนอซื้อหุ้นโคฟ เอนเนอจี้ ราคาแพงเกินสูงกว่าเชลล์เสนอซื้อ 12.8% ผู้บริหารลั่น เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ย้ำอยู่ในขั้นตอนประกาศเจตนาเท่านั้น รอลุ้นบอร์ดโคฟฯ ชี้ขาด มั่นใจจัดหาแหล่งเงินทุนได้ ยอมรับศึกษาทุกช่องทาง รวมทั้งการเพิ่มทุน ขณะที่หุ้น ปตท.สผ. ปรับตัวลง 4 บาท ด้าน บางจาก ตั้งงบลงทุน 4 ปี มูลค่า 2.6 หมื่นล้าน ส่วนความคืบหน้าจับมือโมเดิร์นเทรดเปิดมินิมาร์ทในปั๊มน้ำมัน คาดได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์หน้า
นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.(PTTEP) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (27 ก.พ.) บริษัทได้ชี้แจงนักวิเคราะห์ผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ ถึงการยื่นประมูลซื้อหุ้นบริษัทโคฟ เอนเนอจี้ (Cove Energy) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งขณะนี้เป็นเพียงการประกาศแสดงความสนใจทำคำเสนอซื้อหุ้นเท่านั้น เหมือนกับเชลล์ (SHELL) ที่ได้ประกาศแสดงความสนใจไปก่อนหน้า แต่ยังไม่ได้เป็นผู้ซื้อ
อย่างไรก็ตามตามกฎของยูเค เทคโอเวอร์ โค้ด (UK Takeover Code ) ให้ระบุราคาที่จะเสนอซื้อไปด้วย โดยจะปิดให้ผู้ที่สนใจประกาศเจตจำนงทำคำเสนอซื้อวันที่ 29 ก.พ. นี้เป็นวันสุดท้าย โดยคณะกรรมการของโคฟฯ จะเป็นฝ่ายคัดเลือก
การชี้แจงนักวิเคราะห์ในครั้งนี้ ยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้มาก เพราะตามกฎของยูเค เทคโอเวอร์ฯมีกฎข้อห้าม เรื่องการเปิดเผยข้อมูลมากมายที่ต้องปฏิบัติตาม แต่อยากรีบชี้แจงให้เห็นว่าขณะนี้เป็นเพียงแค่การแสดงความสนใจ เพราะไม่อยากให้ตกใจ ส่วนข้อกังวลที่ว่าปตท.สผ.เสนอราคาแพงนั้น อยากให้คิดว่า ใครก็ตามที่เสนอราคาไป เจ้าตัวก็ต้องคิดว่าคุ้มค่า นางสาวเพ็ญจันทร์กล่าว
สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะใช้ในการซื้อหุ้นโคฟฯ ในมูลค่า 1.11 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 5.6 หมื่นล้านบาท) หากบริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อนั้น บริษัทเตรียมไว้หลายแนวทาง เพื่อดูแลโครงสร้างการเงินให้เหมาะสม โดยจะพิจารณาทุกทางเลือก แล้วแต่ภาวะตลาด และจังหวะที่เหมาะสม ทั้งการกู้เงินในประเทศ ต่างประเทศ การออกหุ้นกู้ รวมถึงการเพิ่มทุน นอกจากนี้ปริมาณเงินสดในมือของบริษัทก็มีพร้อม
เงินลงทุนในโครงการนี้ ไม่รวมอยู่ในแผนการลงทุน 5 ปี ซึ่งมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถบริหารจัดการโครงสร้างเงินทุนให้อยู่ระดับที่เหมาะสมได้ โดยบริษัทมีกรอบว่าจะพยายามบริหารจัดการให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับประมาณ 0.5 เท่า จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 0.4 เท่า อย่างไรก็ตามอาจมีบางช่วงที่อาจจะเกินบ้าง แต่เฉลี่ยแล้วจะพยายามรักษาระดับนี้ไว้
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ.ถือว่าได้เปรียบ และมีโอกาสที่จะชนะประมูล เนื่องจากเสนอไปมูลค่า 1119.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง หรือราว 5.6 หมื่นล้านบาท สูงกว่ากลุ่มเชลล์ที่เสนอราคาไปก่อนหน้านี้ที่ 195 เพนซ์ ซึ่งราคาที่เสนอไปนั้น ปตท.สผ.ได้ผ่านการศึกษาข้อมูลมาสักระยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตามขณะนี้ บริษัทโคฟฯ ยังเปิดกว้างให้หลายๆ บริษัทเสนอซื้อเข้ามาอีก ซึ่งบริษัทที่เสนอราคาสูงสุดเท่านั้นจึงจะชนะประมูล
โบรกฯชี้ซื้อโคฟฯแพง
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส วิเคราะห์ว่า หากพิจารณาตามสถานะทางการเงินในปัจจุบัน ปตท.สผ. มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปีละกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่มีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (DE) ราว 0.4 เท่า จึงคาดว่ายังมีช่องว่างที่จะกู้ยืมได้อีกเล็กน้อย จากเพดานที่กำหนดไว้ ไม่เกิน 0.5 เท่า ซึ่งคาดว่าปตท.สผ.อาจจะไม่ต้องเพิ่มทุนในรอบนี้ แต่หากพิจารณาแผนลงทุนในระยะ 5 ปี ข้างหน้าราว 3.6 แสนล้านบาท อาจจะต้องมีการเพิ่มทุนด้วย ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงในระยะกลาง
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ยต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ 112 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่กำหนดไว้ที่ 100 ดอลลาร์ จึงมีโอกาสจะปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้ขึ้นเป็น 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หนุนให้กำไรสุทธิของบริษัทเพิ่มจากเดิม 6.7%
บทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี ระบุว่าหาก ปตท.สผ. ทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของโคฟฯ ได้สำเร็จจะส่งผลบวกต่อปริมาณขายเพิ่มขึ้นปีละ 10% หรือดีที่สุด 18% แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงินจากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนปี 2555 อาจเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 0.75 เท่า และมองว่าดีลครั้งนี้มีโอกาส 50:50 เนื่องจากมีคู่แข่งรายใหญ่ที่ให้ความสนใจเช่นกัน โดยมีเงื่อนเวลาในปลายเดือนก.พ. นี้
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน วิเคราะห์ว่า การลงทุนในครั้งถือว่าราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากราคาเสนอขายอยู่สูงกว่าราคาหุ้นโคฟฯ เฉลี่ย 5 วันทำการย้อนหลังประมาณ 29.6% รวมทั้งสูงกว่าราคาที่ Shell E&P ที่เสนอประมาณ 12.8%
ขณะที่การเคลื่อนไหวราคาหุ้น PTTEP เมื่อวานนี้ (27 ก.พ.) ปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดตลาด ก่อนที่จะปิดที่ 181 บาท ลดลง 4 บาท หรือลดลง 2.16% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 969 ล้านบาท
บางจากตั้งงบลงทุน 4 ปี 2.6 หมื่นล้าน
ด้าน นายวิเชียร อุษณาโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม (BCP) เปิดเผยว่า ในช่วง 4 ปีข้างหน้า (2555-2558) บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 2.6 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 1.5 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินลงทุนปกติ และโครงการอื่นๆ โดยจะทำให้กำไรก่อนหักรายการ (EBITDA) เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1 หมื่นล้านบาทในปี 2558 จากปัจจุบันอยู่ในระดับ 7 พันล้านบาท
ส่วนในปี 2559-2563 คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 6.15 หมื่นล้านบาท ทำให้ EBITDA เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2 หมื่นล้านบาทในปี 2563 ส่วนใหญ่กว่า 5 หมื่นล้านบาท ใช้ในการลงทุนใหม่ๆ ในโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ รวมถึงหาโอกาสเข้าลงทุนใหม่ในทุกอุตสาหกรรมที่เป็นไปได้ เช่น เหมืองแร่ เป็นต้น เพื่อไม่ให้ธุรกิจของบริษัท อิงกับธุรกิจโรงกลั่นมากจนเกินไป
เขากล่าวอีกว่า คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุปในการร่วมกับพันธมิตรโมเดิร์นเทรดเปิดร้านมินิมาร์ทในสถานีบริการน้ำมันของบางจาก โดยปัจจุบัน ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจาก ชื่อ ใบจาก มีอยู่กว่า 100 สาขา หากได้พันธมิตรโมเดิร์นเทรดจะเข้ามาแทนที่ร้านใบจาก เมื่อเข้ามาแล้ว คาดว่าจะทำให้ยอดขายร้านค้าปลีกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
เงินลงทุนซื้อโคฟนี้ไม่รวมอยู่ในแผนลงทุน 5 ปี
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, February 28, 2012
ยันราคาซื้อคุ้มค่าลงทุน ไร้ปัญหาแหล่งเงินทุน"อนนต์"ชี้มีโอกาสชนะสูง
โบรกเกอร์ ชี้ ปตท.สผ. เสนอซื้อหุ้นโคฟ เอนเนอจี้ ราคาแพงเกินสูงกว่าเชลล์เสนอซื้อ 12.8% ผู้บริหารลั่น เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ย้ำอยู่ในขั้นตอนประกาศเจตนาเท่านั้น รอลุ้นบอร์ดโคฟฯ ชี้ขาด มั่นใจจัดหาแหล่งเงินทุนได้ ยอมรับศึกษาทุกช่องทาง รวมทั้งการเพิ่มทุน ขณะที่หุ้น ปตท.สผ. ปรับตัวลง 4 บาท ด้าน บางจาก ตั้งงบลงทุน 4 ปี มูลค่า 2.6 หมื่นล้าน ส่วนความคืบหน้าจับมือโมเดิร์นเทรดเปิดมินิมาร์ทในปั๊มน้ำมัน คาดได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์หน้า
นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.(PTTEP) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (27 ก.พ.) บริษัทได้ชี้แจงนักวิเคราะห์ผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ ถึงการยื่นประมูลซื้อหุ้นบริษัทโคฟ เอนเนอจี้ (Cove Energy) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งขณะนี้เป็นเพียงการประกาศแสดงความสนใจทำคำเสนอซื้อหุ้นเท่านั้น เหมือนกับเชลล์ (SHELL) ที่ได้ประกาศแสดงความสนใจไปก่อนหน้า แต่ยังไม่ได้เป็นผู้ซื้อ
อย่างไรก็ตามตามกฎของยูเค เทคโอเวอร์ โค้ด (UK Takeover Code ) ให้ระบุราคาที่จะเสนอซื้อไปด้วย โดยจะปิดให้ผู้ที่สนใจประกาศเจตจำนงทำคำเสนอซื้อวันที่ 29 ก.พ. นี้เป็นวันสุดท้าย โดยคณะกรรมการของโคฟฯ จะเป็นฝ่ายคัดเลือก
การชี้แจงนักวิเคราะห์ในครั้งนี้ ยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้มาก เพราะตามกฎของยูเค เทคโอเวอร์ฯมีกฎข้อห้าม เรื่องการเปิดเผยข้อมูลมากมายที่ต้องปฏิบัติตาม แต่อยากรีบชี้แจงให้เห็นว่าขณะนี้เป็นเพียงแค่การแสดงความสนใจ เพราะไม่อยากให้ตกใจ ส่วนข้อกังวลที่ว่าปตท.สผ.เสนอราคาแพงนั้น อยากให้คิดว่า ใครก็ตามที่เสนอราคาไป เจ้าตัวก็ต้องคิดว่าคุ้มค่า นางสาวเพ็ญจันทร์กล่าว
สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะใช้ในการซื้อหุ้นโคฟฯ ในมูลค่า 1.11 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 5.6 หมื่นล้านบาท) หากบริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อนั้น บริษัทเตรียมไว้หลายแนวทาง เพื่อดูแลโครงสร้างการเงินให้เหมาะสม โดยจะพิจารณาทุกทางเลือก แล้วแต่ภาวะตลาด และจังหวะที่เหมาะสม ทั้งการกู้เงินในประเทศ ต่างประเทศ การออกหุ้นกู้ รวมถึงการเพิ่มทุน นอกจากนี้ปริมาณเงินสดในมือของบริษัทก็มีพร้อม
เงินลงทุนในโครงการนี้ ไม่รวมอยู่ในแผนการลงทุน 5 ปี ซึ่งมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถบริหารจัดการโครงสร้างเงินทุนให้อยู่ระดับที่เหมาะสมได้ โดยบริษัทมีกรอบว่าจะพยายามบริหารจัดการให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับประมาณ 0.5 เท่า จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 0.4 เท่า อย่างไรก็ตามอาจมีบางช่วงที่อาจจะเกินบ้าง แต่เฉลี่ยแล้วจะพยายามรักษาระดับนี้ไว้
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ.ถือว่าได้เปรียบ และมีโอกาสที่จะชนะประมูล เนื่องจากเสนอไปมูลค่า 1119.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง หรือราว 5.6 หมื่นล้านบาท สูงกว่ากลุ่มเชลล์ที่เสนอราคาไปก่อนหน้านี้ที่ 195 เพนซ์ ซึ่งราคาที่เสนอไปนั้น ปตท.สผ.ได้ผ่านการศึกษาข้อมูลมาสักระยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตามขณะนี้ บริษัทโคฟฯ ยังเปิดกว้างให้หลายๆ บริษัทเสนอซื้อเข้ามาอีก ซึ่งบริษัทที่เสนอราคาสูงสุดเท่านั้นจึงจะชนะประมูล
โบรกฯชี้ซื้อโคฟฯแพง
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส วิเคราะห์ว่า หากพิจารณาตามสถานะทางการเงินในปัจจุบัน ปตท.สผ. มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปีละกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่มีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (DE) ราว 0.4 เท่า จึงคาดว่ายังมีช่องว่างที่จะกู้ยืมได้อีกเล็กน้อย จากเพดานที่กำหนดไว้ ไม่เกิน 0.5 เท่า ซึ่งคาดว่าปตท.สผ.อาจจะไม่ต้องเพิ่มทุนในรอบนี้ แต่หากพิจารณาแผนลงทุนในระยะ 5 ปี ข้างหน้าราว 3.6 แสนล้านบาท อาจจะต้องมีการเพิ่มทุนด้วย ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงในระยะกลาง
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ยต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ 112 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่กำหนดไว้ที่ 100 ดอลลาร์ จึงมีโอกาสจะปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้ขึ้นเป็น 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หนุนให้กำไรสุทธิของบริษัทเพิ่มจากเดิม 6.7%
บทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี ระบุว่าหาก ปตท.สผ. ทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของโคฟฯ ได้สำเร็จจะส่งผลบวกต่อปริมาณขายเพิ่มขึ้นปีละ 10% หรือดีที่สุด 18% แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อฐานะการเงินจากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนปี 2555 อาจเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 0.75 เท่า และมองว่าดีลครั้งนี้มีโอกาส 50:50 เนื่องจากมีคู่แข่งรายใหญ่ที่ให้ความสนใจเช่นกัน โดยมีเงื่อนเวลาในปลายเดือนก.พ. นี้
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน วิเคราะห์ว่า การลงทุนในครั้งถือว่าราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากราคาเสนอขายอยู่สูงกว่าราคาหุ้นโคฟฯ เฉลี่ย 5 วันทำการย้อนหลังประมาณ 29.6% รวมทั้งสูงกว่าราคาที่ Shell E&P ที่เสนอประมาณ 12.8%
ขณะที่การเคลื่อนไหวราคาหุ้น PTTEP เมื่อวานนี้ (27 ก.พ.) ปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดตลาด ก่อนที่จะปิดที่ 181 บาท ลดลง 4 บาท หรือลดลง 2.16% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 969 ล้านบาท
บางจากตั้งงบลงทุน 4 ปี 2.6 หมื่นล้าน
ด้าน นายวิเชียร อุษณาโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม (BCP) เปิดเผยว่า ในช่วง 4 ปีข้างหน้า (2555-2558) บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 2.6 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 1.5 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินลงทุนปกติ และโครงการอื่นๆ โดยจะทำให้กำไรก่อนหักรายการ (EBITDA) เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1 หมื่นล้านบาทในปี 2558 จากปัจจุบันอยู่ในระดับ 7 พันล้านบาท
ส่วนในปี 2559-2563 คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 6.15 หมื่นล้านบาท ทำให้ EBITDA เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2 หมื่นล้านบาทในปี 2563 ส่วนใหญ่กว่า 5 หมื่นล้านบาท ใช้ในการลงทุนใหม่ๆ ในโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ รวมถึงหาโอกาสเข้าลงทุนใหม่ในทุกอุตสาหกรรมที่เป็นไปได้ เช่น เหมืองแร่ เป็นต้น เพื่อไม่ให้ธุรกิจของบริษัท อิงกับธุรกิจโรงกลั่นมากจนเกินไป
เขากล่าวอีกว่า คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุปในการร่วมกับพันธมิตรโมเดิร์นเทรดเปิดร้านมินิมาร์ทในสถานีบริการน้ำมันของบางจาก โดยปัจจุบัน ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจาก ชื่อ ใบจาก มีอยู่กว่า 100 สาขา หากได้พันธมิตรโมเดิร์นเทรดจะเข้ามาแทนที่ร้านใบจาก เมื่อเข้ามาแล้ว คาดว่าจะทำให้ยอดขายร้านค้าปลีกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
เงินลงทุนซื้อโคฟนี้ไม่รวมอยู่ในแผนลงทุน 5 ปี
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 104
อินเดียเกทับPTTEPซื้อCOVE
Source - ข่าวหุ้น (Th), Wednesday, February 29, 2012
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า บริษัทสนใจเสนอซื้อกิจการ Cove Energy เนื่องจากเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ระดับโลกหากบริษัทสามารถซื้อกิจการดังกล่าวได้เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะบริษัทมีตลาดรองรับ และสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ได้
"ส่วนกรณีบริษัท ONGC Videsh Ltd. สนใจเข้าซื้อกิจการ Cove Energy เช่นกันนั้น เป็นสิทธิ์ของแต่ละราย ซึ่งมีข้อห้ามในการแสดงความเห็น" นายอนนต์ กล่าว
ทั้งนี้ PTTEP มีความประสงค์ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ออกแล้วและยังไม่ได้ออกทั้งหมดของบริษัท Cove ที่ราคา 220 เพนซ์ต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 1,119.6 ล้านปอนด์สเตอลิงสำหรับแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำคำเสนอซื้อในครั้งนี้จะมาจากเงินสดคงเหลือของบริษัท และวงเงินสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน
หนังสือพิมพ์ไทม์ส ออฟ อินเดียรายงานว่า บริษัท ONGC Videsh Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทการลงทุนในต่างประเทศในเครือของออยล์ แอนด์ แนเชอรัล แก๊ส คอร์ป (ONGC) ผู้ผลิตน้ำมันของรัฐบาลอินเดีย และบริษัทเกล อินเดีย (GAIL) ผู้จัดจำหน่ายก๊าซของรัฐบาลอินเดีย มีแผนจะร่วมกันเข้าซื้อกิจการบริษัท Cove Energy ของอังกฤษด้วยวงเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์
โดยข้อเสนอของ ONGC-GAIL จะสูงกว่าข้อเสนอในวงเงิน 1,760 ล้านดอลลาร์ ของ PTTEP และ 1,600 ล้านดอลลาร์ของรอยัล ดัทช์ เชลล์เมื่อต้นเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ONGC-GAIL อาจยื่นข้อเสนอซื้อร่วมกันในสัปดาห์นี้ โดยข้อเสนอซื้อดังกล่าวอาจกำหนดมูลค่าหุ้นของ Cove ไว้ที่ 245 เพนซ์ต่อหุ้น ขณะที่ปตท.สผ.ระบุในวันศุกร์ว่า ทางบริษัทวางแผนจะเสนอซื้อในราคา 220 เพนซ์ต่อหุ้น ซึ่งสูงกว่าข้อเสนอซื้อของเชลล์
ปัจจุบัน Cove เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด Alternative Investment Market (AIM) ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีสินทรัพย์หลักคือ การถือสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และคาดว่ามีปริมมาณสำรองประมาณ 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมถึงแหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect นอกจากนี้ Cove ยังถือสัดส่วน 10% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area ในสาธารณรัฐโมซัมบิก รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในเคนยาด้วย
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Wednesday, February 29, 2012
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า บริษัทสนใจเสนอซื้อกิจการ Cove Energy เนื่องจากเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ระดับโลกหากบริษัทสามารถซื้อกิจการดังกล่าวได้เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะบริษัทมีตลาดรองรับ และสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ได้
"ส่วนกรณีบริษัท ONGC Videsh Ltd. สนใจเข้าซื้อกิจการ Cove Energy เช่นกันนั้น เป็นสิทธิ์ของแต่ละราย ซึ่งมีข้อห้ามในการแสดงความเห็น" นายอนนต์ กล่าว
ทั้งนี้ PTTEP มีความประสงค์ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ออกแล้วและยังไม่ได้ออกทั้งหมดของบริษัท Cove ที่ราคา 220 เพนซ์ต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 1,119.6 ล้านปอนด์สเตอลิงสำหรับแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำคำเสนอซื้อในครั้งนี้จะมาจากเงินสดคงเหลือของบริษัท และวงเงินสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน
หนังสือพิมพ์ไทม์ส ออฟ อินเดียรายงานว่า บริษัท ONGC Videsh Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทการลงทุนในต่างประเทศในเครือของออยล์ แอนด์ แนเชอรัล แก๊ส คอร์ป (ONGC) ผู้ผลิตน้ำมันของรัฐบาลอินเดีย และบริษัทเกล อินเดีย (GAIL) ผู้จัดจำหน่ายก๊าซของรัฐบาลอินเดีย มีแผนจะร่วมกันเข้าซื้อกิจการบริษัท Cove Energy ของอังกฤษด้วยวงเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์
โดยข้อเสนอของ ONGC-GAIL จะสูงกว่าข้อเสนอในวงเงิน 1,760 ล้านดอลลาร์ ของ PTTEP และ 1,600 ล้านดอลลาร์ของรอยัล ดัทช์ เชลล์เมื่อต้นเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ONGC-GAIL อาจยื่นข้อเสนอซื้อร่วมกันในสัปดาห์นี้ โดยข้อเสนอซื้อดังกล่าวอาจกำหนดมูลค่าหุ้นของ Cove ไว้ที่ 245 เพนซ์ต่อหุ้น ขณะที่ปตท.สผ.ระบุในวันศุกร์ว่า ทางบริษัทวางแผนจะเสนอซื้อในราคา 220 เพนซ์ต่อหุ้น ซึ่งสูงกว่าข้อเสนอซื้อของเชลล์
ปัจจุบัน Cove เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด Alternative Investment Market (AIM) ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีสินทรัพย์หลักคือ การถือสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และคาดว่ามีปริมมาณสำรองประมาณ 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมถึงแหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect นอกจากนี้ Cove ยังถือสัดส่วน 10% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area ในสาธารณรัฐโมซัมบิก รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในเคนยาด้วย
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 105
การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 8
การประชุมเชิงวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย (Conference on Energy Technology Network of Thailand; E-NETT) โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้ และหน่วยงานวิจัยทางด้านพลังงานในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการวิจัยที่เป็นรูปธรรม ไม่ซ้ำซ้อน และมีประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยรวม ซึ่งงานประชุม E-NETT จะจัดขึ้นทุกปี โดยในครั้งที่ 8 นี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม มีเนื้อหาการประชุมเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และเซลล์เชื้อเพลิง รวมถึง การจัดการและการอนุรักษ์พลังงานทั้งภายในอาคารและระบบอุตสาหกรรม เป็นต้น
ที่มา : http://202.28.32.233/e-nett8/main.asp
การประชุมเชิงวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย (Conference on Energy Technology Network of Thailand; E-NETT) โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้ และหน่วยงานวิจัยทางด้านพลังงานในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการวิจัยที่เป็นรูปธรรม ไม่ซ้ำซ้อน และมีประโยชน์ต่อประเทศไทยโดยรวม ซึ่งงานประชุม E-NETT จะจัดขึ้นทุกปี โดยในครั้งที่ 8 นี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม มีเนื้อหาการประชุมเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และเซลล์เชื้อเพลิง รวมถึง การจัดการและการอนุรักษ์พลังงานทั้งภายในอาคารและระบบอุตสาหกรรม เป็นต้น
ที่มา : http://202.28.32.233/e-nett8/main.asp
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 106
คอลัมน์: COOL BIZ: 'รักษาสิ่งแวดล้อม ทำธุรกิจโปร่งใส'สัญญาประชาคมของธุรกิจพลังงาน
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, March 02, 2012
จากการเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมเวิลด์อีโคโนมิก ฟอรัม ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. ได้กลับมาเล่าถึงแนวโน้มการดำเนินธุรกิจพลังงานในอนาคต ว่า หลังจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ครั้งใหญ่ ภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจในสายตาของสังคมถูกมองในด้านลบมากขึ้น มีหลายฝ่ายเริ่มมองว่าการทำธุรกิจไม่มีคุณธรรม โดยเฉพาะธุรกิจพลังงานที่ทำงานกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ และอาจเป็นตัวการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา
ดังนั้นภาคธุรกิจทั่วโลกจึงจำเป็นต้องลดความกังวลของสังคมลง และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจพลังงาน เนื่องจากทำงานอยู่บนทรัพยากรธรรมชาติ หากไม่ได้รับฉันทานุมัติในการดำเนินการจากทุกฝ่าย ธุรกิจนี้ก็จะไม่สามารถดำเนินการได้
จึงคิดว่าในอนาคตอุตสาหกรรมพลังงานอาจจะต้องมีการทำสัญญาประชาคมต่อสังคมว่าจะทำธุรกิจที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และทำธุรกิจบนความโปร่งใส รวมทั้งจะจัดหาพลังงานราคาถูกมาให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนภายใต้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและทำความเข้าใจกับประชาชนว่าพลังงานมีอยู่จำนวนจำกัด โดยภาคธุรกิจต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบอยู่ตลอด
สำหรับในประเทศไทยกระแสการต่อต้านอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากมีการกำหนดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่าด้วยการทำธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมสุขภาพ และชุมชนใกล้เคียง จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพก่อน และยังมีขั้นตอนในการตรวจสอบมากขึ้น
ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาที่เคยเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมเคมี จนทำให้บริษัทต้องออกมาสัญญากับสังคมว่าจะไม่ทำธุรกิจที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีก ซึ่งมองว่าอุตสาหกรรมพลังงานในเมืองไทยก็ควรจะดำเนินการเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับสังคม รวมถึงต้องมีการคิดใหม่ทำใหม่ หาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว และดูว่าพลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
นอกจากการทำสัญญาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแล้ว สิ่งที่ ปตท.จะสามารถทำให้กับสังคมได้ คือการทำให้สังคมตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงานมากที่สุดในอาเซียน และไม่มีพลังงานตัวไหนที่พึ่งพาตัวเองได้ พลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 50% มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว และใช้พลังงานเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดว่าการใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน เพราะหากไม่ทำจะมีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาทต่อปี ขณะที่มูลค่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) อยู่ที่ 10 ล้านล้านบาทต่อปี การใช้พลังงานจึงมีสัดส่วน 20% ของจีดีพีและมีการใช้มากในภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่ง ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตของจีดีพีของไทย 1% แต่การใช้พลังงานมีมากกว่า 1% ของจีดีพี เท่ากับประสิทธิภาพการใช้พลังงานอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ตาม มีคนที่ต้องการเรียกร้องที่จะใช้พลังงานในราคาถูก ซึ่งผู้ใช้ต้องยอมรับด้วยว่าการใช้พลังงานมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือยอมรับผลกระทบจากการใช้ เท่ากับว่าทุกคนควรจะทราบ ยอมรับสิทธิและหน้าที่ของตนเองในการใช้พลังงาน โดยสิทธิหมายถึงการเข้าถึง และได้ใช้พลังงานหลากหลายรูปแบบในราคาที่เหมาะสมเป็นธรรมและเสมอภาค ส่วนหน้าที่ หมายถึง รู้จักเลือกใช้พลังงานชนิดต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมเช่น รถยนต์เบนซิน ไม่ควรใช้ก๊าซแอลพีจี เป็นต้นเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพตามสมควรอนุรักษ์พลังงานเพื่อคนรุ่นหลังและพร้อมยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานชนิดต่างๆ
"สังคมไม่สามารถหวังจะใช้ของราคาถูก หรือของที่หาง่ายได้ เพราะพลังงานมีอยู่น้อยและจำกัด" ไพรินทร์ กล่าว
ตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นผู้ใช้น้ำมันมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก จึงต้องมีการใช้พลังงานที่เหมาะสม ไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหามีความต้องการใช้พลังงานมาก แต่ไม่สามารถที่จะสร้างโรงไฟฟ้า หรือแหล่งผลิตพลังงานใหม่ๆขึ้นมาได้ เนื่องจากประชาชนเป็นห่วงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ปตท. จึงได้มีการเปิดหลักสูตรวิทยาการพลังงาน เพื่อให้ผู้บริหารและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาเรียนรู้การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ และมารับทราบข้อมูลที่มาของแหล่งพลังงานต่างๆ เพื่อที่จะได้รับรู้ว่าพลังงานในโลกเรามีอยู่ในปริมาณจำกัด รวมถึงให้ทุกคนรับทราบสิทธิและหน้าที่ของการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นต่อสังคมในเรื่องการใช้พลังงานมากขึ้น
สำหรับเป้าหมายในการบริหารจัดการพลังงานของ ปตท. คือ จะจัดหาพลังงานให้เพียงพอ มีความหลากหลาย ในราคาที่เหมาะสม และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงพลังงาน โดยการใช้อย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในราคาที่ยุติธรรม โดยผู้ใช้ต้องยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ด้วย m--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, March 02, 2012
จากการเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมเวิลด์อีโคโนมิก ฟอรัม ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. ได้กลับมาเล่าถึงแนวโน้มการดำเนินธุรกิจพลังงานในอนาคต ว่า หลังจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ครั้งใหญ่ ภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจในสายตาของสังคมถูกมองในด้านลบมากขึ้น มีหลายฝ่ายเริ่มมองว่าการทำธุรกิจไม่มีคุณธรรม โดยเฉพาะธุรกิจพลังงานที่ทำงานกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ และอาจเป็นตัวการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา
ดังนั้นภาคธุรกิจทั่วโลกจึงจำเป็นต้องลดความกังวลของสังคมลง และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจพลังงาน เนื่องจากทำงานอยู่บนทรัพยากรธรรมชาติ หากไม่ได้รับฉันทานุมัติในการดำเนินการจากทุกฝ่าย ธุรกิจนี้ก็จะไม่สามารถดำเนินการได้
จึงคิดว่าในอนาคตอุตสาหกรรมพลังงานอาจจะต้องมีการทำสัญญาประชาคมต่อสังคมว่าจะทำธุรกิจที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด และทำธุรกิจบนความโปร่งใส รวมทั้งจะจัดหาพลังงานราคาถูกมาให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนภายใต้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและทำความเข้าใจกับประชาชนว่าพลังงานมีอยู่จำนวนจำกัด โดยภาคธุรกิจต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบอยู่ตลอด
สำหรับในประเทศไทยกระแสการต่อต้านอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากมีการกำหนดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่าด้วยการทำธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมสุขภาพ และชุมชนใกล้เคียง จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมรวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพก่อน และยังมีขั้นตอนในการตรวจสอบมากขึ้น
ตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาที่เคยเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมเคมี จนทำให้บริษัทต้องออกมาสัญญากับสังคมว่าจะไม่ทำธุรกิจที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีก ซึ่งมองว่าอุตสาหกรรมพลังงานในเมืองไทยก็ควรจะดำเนินการเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับสังคม รวมถึงต้องมีการคิดใหม่ทำใหม่ หาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว และดูว่าพลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
นอกจากการทำสัญญาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแล้ว สิ่งที่ ปตท.จะสามารถทำให้กับสังคมได้ คือการทำให้สังคมตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงานมากที่สุดในอาเซียน และไม่มีพลังงานตัวไหนที่พึ่งพาตัวเองได้ พลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 50% มาจากการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว และใช้พลังงานเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดว่าการใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน เพราะหากไม่ทำจะมีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการใช้พลังงานมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาทต่อปี ขณะที่มูลค่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) อยู่ที่ 10 ล้านล้านบาทต่อปี การใช้พลังงานจึงมีสัดส่วน 20% ของจีดีพีและมีการใช้มากในภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่ง ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตของจีดีพีของไทย 1% แต่การใช้พลังงานมีมากกว่า 1% ของจีดีพี เท่ากับประสิทธิภาพการใช้พลังงานอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ตาม มีคนที่ต้องการเรียกร้องที่จะใช้พลังงานในราคาถูก ซึ่งผู้ใช้ต้องยอมรับด้วยว่าการใช้พลังงานมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือยอมรับผลกระทบจากการใช้ เท่ากับว่าทุกคนควรจะทราบ ยอมรับสิทธิและหน้าที่ของตนเองในการใช้พลังงาน โดยสิทธิหมายถึงการเข้าถึง และได้ใช้พลังงานหลากหลายรูปแบบในราคาที่เหมาะสมเป็นธรรมและเสมอภาค ส่วนหน้าที่ หมายถึง รู้จักเลือกใช้พลังงานชนิดต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมเช่น รถยนต์เบนซิน ไม่ควรใช้ก๊าซแอลพีจี เป็นต้นเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพตามสมควรอนุรักษ์พลังงานเพื่อคนรุ่นหลังและพร้อมยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานชนิดต่างๆ
"สังคมไม่สามารถหวังจะใช้ของราคาถูก หรือของที่หาง่ายได้ เพราะพลังงานมีอยู่น้อยและจำกัด" ไพรินทร์ กล่าว
ตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นผู้ใช้น้ำมันมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก จึงต้องมีการใช้พลังงานที่เหมาะสม ไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหามีความต้องการใช้พลังงานมาก แต่ไม่สามารถที่จะสร้างโรงไฟฟ้า หรือแหล่งผลิตพลังงานใหม่ๆขึ้นมาได้ เนื่องจากประชาชนเป็นห่วงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ปตท. จึงได้มีการเปิดหลักสูตรวิทยาการพลังงาน เพื่อให้ผู้บริหารและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาเรียนรู้การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ และมารับทราบข้อมูลที่มาของแหล่งพลังงานต่างๆ เพื่อที่จะได้รับรู้ว่าพลังงานในโลกเรามีอยู่ในปริมาณจำกัด รวมถึงให้ทุกคนรับทราบสิทธิและหน้าที่ของการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นต่อสังคมในเรื่องการใช้พลังงานมากขึ้น
สำหรับเป้าหมายในการบริหารจัดการพลังงานของ ปตท. คือ จะจัดหาพลังงานให้เพียงพอ มีความหลากหลาย ในราคาที่เหมาะสม และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงพลังงาน โดยการใช้อย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในราคาที่ยุติธรรม โดยผู้ใช้ต้องยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ด้วย m--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 107
มิตซูบิชิได้พันธมิตรเอกชนผลิตไฟฟ้าโซล่าร์ ไฟฟ้าทางเลือกสำหรับรถ "ไอมีฟ" [ ข่าวหุ้น, 2 มี.ค. 55 ]
หลังจากทำข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ อย่างการไฟฟ้านครหลวง
(กฟน.) ปตท. และ พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล ในเครือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อศึกษาการใช้
งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า "มิตซูบิชิ ไอมีฟ" แล้ว มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย หรือ MMTh ได้พันธมิตร
รายใหม่ที่เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนรายแรก คือ NED หรือบริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด โดยได้
ลงนามในข้อตกลงเพื่อศึกษาการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของมิตซูบิชิอีกราย
หลังจากทำข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ อย่างการไฟฟ้านครหลวง
(กฟน.) ปตท. และ พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล ในเครือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อศึกษาการใช้
งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า "มิตซูบิชิ ไอมีฟ" แล้ว มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย หรือ MMTh ได้พันธมิตร
รายใหม่ที่เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนรายแรก คือ NED หรือบริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด โดยได้
ลงนามในข้อตกลงเพื่อศึกษาการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของมิตซูบิชิอีกราย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 108
PTT เผยบ.ย่อยเข้าซื้อหุ้น RIM ในออสเตรเลียอีก 66.5% [ ทันหุ้น, 02 มีนาคม 2555 ]
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. (PTT) ได้ลงทุนผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จากัด (PTTI) ในธุรกิจถ่านหินโดยการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท PTT Asia Pacific Mining Pty Ltd (PTTAPM) มาตั้งแต่ปี 2552 โดยปัจจุบันถือหุ้นในสัดส่วน 100% และหนึ่งในสินทรัพย์ของ PTTAPM คือหุ้น 33.5% ในบริษัท Red Island Minerals Ltd (RIM) โดย PTTAPM ได้รับสิทธิตามสัญญา Investment & Option Agreement (IOA) ในการซื้อ
หุ้น RIM ส่วนที่เหลืออีก 66.5% โดยราคาและเงื่อนไขในการใช้สิทธิเป็นไปตามสัญญา IOA นั้น
ปตท. แจ้งว่า ในวันที่ 2 มีนาคม 2555 PTTAPM โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการ ปตท.ได้ทาการเข้าซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมด 66.5% ของ RIM ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม IOA ในมูลค่ารวมค่าใช้จ่ายในการดาเนินการทั้งสิ้น 50.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และส่งผลให้ RIM มีสถานะเป็นบริษัทย่อยในเครือของ ปตท.
RIM ครอบครองสัมปทานการสารวจและทาเหมืองในประเทศสาธารณรัฐมาดากัสการ์ (Sakoa Coal Field Project) ผ่านการถือหุ้น 80% ใน บริษัท Madagascar Consolidated Mining Ltd (MCM) โดยโครงการตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ และมีปริมาณทรัพยากรถ่านหินตามมาตรฐาน JORC (JORC Resources) ทั้งสิ้นประมาณ 180 ล้านตัน ซึ่งเป็นถ่านหินคุณภาพดีเทียบเท่ามาตรฐานถ่านหินที่ส่งออกจากประเทศแอฟริกาใต้ และโครงการมีศักยภาพในการส่งออกเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมหนักต่างๆ ในประเทศอินเดีย และประเทศในทวีปยุโรปตะวันตก
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. (PTT) ได้ลงทุนผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จากัด (PTTI) ในธุรกิจถ่านหินโดยการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท PTT Asia Pacific Mining Pty Ltd (PTTAPM) มาตั้งแต่ปี 2552 โดยปัจจุบันถือหุ้นในสัดส่วน 100% และหนึ่งในสินทรัพย์ของ PTTAPM คือหุ้น 33.5% ในบริษัท Red Island Minerals Ltd (RIM) โดย PTTAPM ได้รับสิทธิตามสัญญา Investment & Option Agreement (IOA) ในการซื้อ
หุ้น RIM ส่วนที่เหลืออีก 66.5% โดยราคาและเงื่อนไขในการใช้สิทธิเป็นไปตามสัญญา IOA นั้น
ปตท. แจ้งว่า ในวันที่ 2 มีนาคม 2555 PTTAPM โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการ ปตท.ได้ทาการเข้าซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมด 66.5% ของ RIM ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม IOA ในมูลค่ารวมค่าใช้จ่ายในการดาเนินการทั้งสิ้น 50.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และส่งผลให้ RIM มีสถานะเป็นบริษัทย่อยในเครือของ ปตท.
RIM ครอบครองสัมปทานการสารวจและทาเหมืองในประเทศสาธารณรัฐมาดากัสการ์ (Sakoa Coal Field Project) ผ่านการถือหุ้น 80% ใน บริษัท Madagascar Consolidated Mining Ltd (MCM) โดยโครงการตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ และมีปริมาณทรัพยากรถ่านหินตามมาตรฐาน JORC (JORC Resources) ทั้งสิ้นประมาณ 180 ล้านตัน ซึ่งเป็นถ่านหินคุณภาพดีเทียบเท่ามาตรฐานถ่านหินที่ส่งออกจากประเทศแอฟริกาใต้ และโครงการมีศักยภาพในการส่งออกเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมหนักต่างๆ ในประเทศอินเดีย และประเทศในทวีปยุโรปตะวันตก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 109
พลังงานจี้แผนสำรองน้ำมันเพิ่ม
Source - บ้านเมือง (Th), Saturday, March 03, 2012
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้เสนอแผนพลังงานฉุกเฉิน (EMERGEnCY PLan) ต่อ รมว.พลังงานให้รับทราบ ซึ่งแผนนี้เป็นแผนปกติรองรับป้องกันการขาดแคลนด้านพลังงาน ทั้งด้านไฟฟ้า และน้ำมัน โดยยืนยันว่าจะไม่เกิดการขาดแคลน แม้ว่าหากจะเกิดสงครามในตะวันออกกลาง หรืออิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซก็ตาม
ทั้งนี้ รมว.พลังงานได้สั่งการเพิ่มเติมให้เร่งสำรองน้ำมันเพิ่มเติมตามแผนที่กระทรวงฯ ได้ศึกษาไว้เพื่อความมั่นคงจากที่ขณะนี้มีการสำรองน้ำมันตามกฎหมาย 5% รวม 36 วัน เมื่อรวมน้ำมันสำรองทางการค้าจะอยู่ได้นาน43-45 วัน อย่างไรก็ตาม แผนทั้งหมดขอให้มั่นใจว่าน้ำมันมีเพียงพอแต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด เพราะอาจจะเกิดการตื่นตระหนกจากประชาชน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า แผนด้านน้ำมันเป็นแผนที่จัดทำไว้รองรับหลายกรณี เช่น การขาดแคลนน้ำมันดิบของแต่ละโรงกลั่นน้ำมัน เช่น 20% และ 20-40% ในกรณีนี้แต่ละโรงกลั่นจะสามารถใช้วิธีการแลกเปลี่ยน หรือสว็อปน้ำมันกันได้ แต่หากเกิดปัญหากรณีน้ำมันขาดไปถึง 60% ก็จะใช้แนวทางการปันส่วนน้ำมันให้เหมาะสม ซึ่งแนวทางแรกๆ ที่จะใช้คือ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมกันประหยัดพลังงานให้มากที่สุด เพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน
สำหรับแนวทางที่ รมว.พลังงานเร่งรัดคือ การเร่งสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ให้เร็วขึ้น เบื้องต้นให้ศึกษาว่าจะใช้คลังน้ำมันที่ว่างอยู่ของเอกชนมาสำรองน้ำมันดิบได้อย่างไรทั้งคลังไออาร์พีซี ที่ระยอง และคลังที่เกาะสีชัง ซึ่งจะสามารถสำรองน้ำมันได้เพิ่มอีก 3 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ อาจจะพิจารณาเช่าเรือน้ำมันลอยลำ หรือโฟลททิ้ง รวมทั้งอาจขอความร่วมมือกับ ปตท.ในการใช้ประโยชน์จากเรือน้ำมันของ ปตท.ที่ลอยลำในสิงคโปร์ 2 ลำ รวม 2 ล้านบาร์เรล เพื่อเป็นการสำรองน้ำมันเพิ่มเติม
--จบ--
Source - บ้านเมือง (Th), Saturday, March 03, 2012
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้เสนอแผนพลังงานฉุกเฉิน (EMERGEnCY PLan) ต่อ รมว.พลังงานให้รับทราบ ซึ่งแผนนี้เป็นแผนปกติรองรับป้องกันการขาดแคลนด้านพลังงาน ทั้งด้านไฟฟ้า และน้ำมัน โดยยืนยันว่าจะไม่เกิดการขาดแคลน แม้ว่าหากจะเกิดสงครามในตะวันออกกลาง หรืออิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซก็ตาม
ทั้งนี้ รมว.พลังงานได้สั่งการเพิ่มเติมให้เร่งสำรองน้ำมันเพิ่มเติมตามแผนที่กระทรวงฯ ได้ศึกษาไว้เพื่อความมั่นคงจากที่ขณะนี้มีการสำรองน้ำมันตามกฎหมาย 5% รวม 36 วัน เมื่อรวมน้ำมันสำรองทางการค้าจะอยู่ได้นาน43-45 วัน อย่างไรก็ตาม แผนทั้งหมดขอให้มั่นใจว่าน้ำมันมีเพียงพอแต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด เพราะอาจจะเกิดการตื่นตระหนกจากประชาชน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า แผนด้านน้ำมันเป็นแผนที่จัดทำไว้รองรับหลายกรณี เช่น การขาดแคลนน้ำมันดิบของแต่ละโรงกลั่นน้ำมัน เช่น 20% และ 20-40% ในกรณีนี้แต่ละโรงกลั่นจะสามารถใช้วิธีการแลกเปลี่ยน หรือสว็อปน้ำมันกันได้ แต่หากเกิดปัญหากรณีน้ำมันขาดไปถึง 60% ก็จะใช้แนวทางการปันส่วนน้ำมันให้เหมาะสม ซึ่งแนวทางแรกๆ ที่จะใช้คือ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมกันประหยัดพลังงานให้มากที่สุด เพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน
สำหรับแนวทางที่ รมว.พลังงานเร่งรัดคือ การเร่งสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ให้เร็วขึ้น เบื้องต้นให้ศึกษาว่าจะใช้คลังน้ำมันที่ว่างอยู่ของเอกชนมาสำรองน้ำมันดิบได้อย่างไรทั้งคลังไออาร์พีซี ที่ระยอง และคลังที่เกาะสีชัง ซึ่งจะสามารถสำรองน้ำมันได้เพิ่มอีก 3 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ อาจจะพิจารณาเช่าเรือน้ำมันลอยลำ หรือโฟลททิ้ง รวมทั้งอาจขอความร่วมมือกับ ปตท.ในการใช้ประโยชน์จากเรือน้ำมันของ ปตท.ที่ลอยลำในสิงคโปร์ 2 ลำ รวม 2 ล้านบาร์เรล เพื่อเป็นการสำรองน้ำมันเพิ่มเติม
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 110
ข่าวเดียวกัน แต่นำเสนอคนละแง่มุม (ในส่วนของพลังงาน และการใช้หลอดไป LED ประหยัดพลังงาน)
ผมจึงขอเก็บไว้ทั้ง 2 ข่าวเลยนะครับ
ดังนี้...
อากาศร้อน!กฟผ.คาดปี 55 ความต้องการใช้ไฟสูงสุดทุบสถิติ 2.57 หมื่นเมกะวัตต์
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Sunday, March 04, 2012
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak) ของปีนี้
จะอยู่ที่ 25,784 เมกะวัตต์ ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,884 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ 7.88 อย่างไรก็ตาม การใช้ไฟฟ้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.พ.) อยู่ที่ 26,604 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.26
"สภาพอากาศที่เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนเร็วกว่าปกติ และภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้อีกครั้ง ภายใต้การคาดการณ์เศรษฐกิจจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 - 6.5 สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจเดือนม.ค. ซึ่งขณะนี้มีทิศทางดีขึ้น"นายสุทัศน์กล่าว
ทั้งนี้ กฟผ. มั่นใจว่าจะรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นได้ เนื่องจากมีสำรองการไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 20 รวมทั้งได้ประสานงานกับบมจ.ปตท.(PTT) ให้เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการซ่อมบำรุง ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และระหว่างนั้นต้องจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอด้วย รวมถึงประสานงานกับโรงไฟฟ้าเอกชน ร่วมวางแผนการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า ตลอดทั้งปี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ
ส่วนแนวทางบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ยึดตามแผนของรัฐบาล ที่คำนึงถึงปัญหาอุทกภัยเป็นหลัก โดยการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล ปัจจุบันอยู่ที่ 60 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เขื่อนสิริกิติ์ อยู่ที่ 40 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน 2 เขื่อนรวมกันจะเหลือพื้นที่รับน้ำ 7,300 ล้านลูกบาศก์เมตร และถึงเดือนเมษายนนี้ ตามแผนจะรองรับน้ำได้ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ กฟผ. ยังต้องติดตามการพยากรณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุวิทยา ในช่วงฤดูฝน ก่อนจะนำมาปรับแผนการใช้ไฟฟ้า และการระบายน้ำจากเขื่อนให้เกิดความเหมาะสม ขณะเดียวกัน ยังจับตาสภาพอากาศ และมีความเป็นห่วงที่อาจจะเกิดภัยแล้ง
นอกจากนี้ กฟผ. เตรียมออกโครงการรณรงค์ประหยัดการใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อนของปีนี้ เป็นการรณรงค์ล้างเครื่องปรับอากาศ ที่จะนำร่องในสถานที่ราชการ อาทิ ศาลากลางจังหวัด โรงพยาบาลภูมิพล โรงพยาบาลสิริกิติ์ และศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตั้งเป้า 8,000 เครื่อง รวมทั้งจะมีการสอนวิธี และมอบอุปกรณ์ล้างเครื่องปรับอากาศให้กับกองทัพภาคที่ 1 - 4 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
นอกจากนี้ กฟผ. ยังทดลองโครงการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ในเขื่อนศรีนครินทร์ 105 หลอด ที่ประหยัดได้ร้อยละ 80 เพื่อต่อยอดไปยังสถานที่ ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าส่องสว่าง อาทิ ถนนทั่วไป ซึ่งจะเกิดความคุ้มทุนได้ใน 3 ปี
=========================================================
กฟผ.คาดยอดใช้ไฟฟ้าหน้าร้อนนี้พุ่งสูงสุดทำลายสถิติอีกรอบ
Source - สยามรัฐ (Th), Sunday, March 04, 2012
กฟผ.ชี้การใช้ไฟฟ้าปีนี้กลับมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เหตุเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ฟื้นตัวช่วงฤดูร้อนคนใช้ไฟฟ้ามาก มั่นใจจัดหาไฟฟ้าได้พอเพียงแน่นอน
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ศูนย์ควบคุมระบบพลังงานไฟฟ้าแห่งชาติ ของ กฟผ.ได้จัดทำการคาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในปี 2555 พบว่า ความต้องการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุด (พีค)ของปีนี้จะอยู่ที่ 25,784 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำลายสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2553 ที่ระดับกว่า 24,000 เมกะวัตต์ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจประเทศเริ่มฟื้นตัวจากภาวะน้ำท่วม ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมที่ประสบภัยน้ำท่วมจะกลับมาเดินเครื่องการผลิตได้เต็มที่ในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับการเข้าสู่ฤดูร้อนที่ประชาชนใช้ไฟฟ้าสูงด้วย
ทั้งนี้คาดว่าพีคไฟฟ้าปีนี้ จะสูงกว่าปีที่แล้ว 1,884 เมกะวัตต์ หรือ 7.88% ส่วนความจต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าคาดว่าจะเท่ากับ 163,215 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 4,251.71 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 2.67% นอกจากนี้เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าเป็นรายเดือนพบว่า เพียงแค่ 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.)ที่ผ่านมา ความต้องการใช้ไฟฟ้ารวม 26,604 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 6.26% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งสูงกว่าการวางแผนของ กฟผ.ที่คาดว่าจะสูงขึ้นเพียง แค่ 4%
“ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเติบโตมากกว่า 6 % แน่นอน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่คาดว่าจะเติบโตเพียง 4 % แต่จะดูแลไม่ให้มีปัญหาต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันมีสำรองไฟฟ้าในระดับ 23 % ขณะเดียวกันได้ประสานงานกับบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โดยล่าสุดที่จะมีการซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซฯพม่าอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ก๊าซฯหายไปจากระบบ 1,100 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ก็จะเลือกช่วงเวลาซ่อมในช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ และระหว่างนั้นต้องจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง เพื่อผลิตไฟฟ้าอย่างพอเพียง รวมถึงประสานกับโรงไฟฟ้าเอกชน ร่วมวางแผนการซ่อมบำรุงตลอดทั้งปี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ “นายสุทัศน์ กล่าว
โดยทั้งนี้ในปีนี้จะมีโรงไฟฟ้าเอกชนทั้งในและต่างประเทศเข้าระบบเพิ่มเติมรวม 1,314 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้าเก๊คโค่-วัน ของกลุ่มโกลว์ กรุ๊ป 660 เมกะวัตต์ โครงการเทิน-หินบุน 220 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (เอสพีพี) 434 เมกะวัตต์
สำหรับความคืบหน้าของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือพีดีพี นายสุทัศน์ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างปรับปรุงแผนพีดีพี ฉบับ 2011 อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นเมื่อสิ้นสุดแผนในปี 2563 มีแนวทางจะลดสัดส่วนการใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงจาก70 % ในปัจจุบันเหลือประมาณ 50 % เนื่องจากไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี)เข้ามาเสริมก๊าซฯจากอ่าวไทยที่ลดน้อยลง และต้นทุนแอลเอ็นจีสูงกว่าก๊าซฯในอ่าว
รวมทั้งหาแนวทางเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเป็น 25 % พลังงานทดแทน 15 % พลังน้ำ 10 % และในจำนวนนี้เป็นสัดส่วนซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 15 % โดยในส่วนการซื้อไฟฟ้าต่างประเทศนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ผมจึงขอเก็บไว้ทั้ง 2 ข่าวเลยนะครับ
ดังนี้...
อากาศร้อน!กฟผ.คาดปี 55 ความต้องการใช้ไฟสูงสุดทุบสถิติ 2.57 หมื่นเมกะวัตต์
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Sunday, March 04, 2012
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak) ของปีนี้
จะอยู่ที่ 25,784 เมกะวัตต์ ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,884 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ 7.88 อย่างไรก็ตาม การใช้ไฟฟ้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.พ.) อยู่ที่ 26,604 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.26
"สภาพอากาศที่เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนเร็วกว่าปกติ และภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวได้อีกครั้ง ภายใต้การคาดการณ์เศรษฐกิจจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 - 6.5 สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจเดือนม.ค. ซึ่งขณะนี้มีทิศทางดีขึ้น"นายสุทัศน์กล่าว
ทั้งนี้ กฟผ. มั่นใจว่าจะรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นได้ เนื่องจากมีสำรองการไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 20 รวมทั้งได้ประสานงานกับบมจ.ปตท.(PTT) ให้เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการซ่อมบำรุง ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และระหว่างนั้นต้องจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอด้วย รวมถึงประสานงานกับโรงไฟฟ้าเอกชน ร่วมวางแผนการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า ตลอดทั้งปี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ
ส่วนแนวทางบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ยึดตามแผนของรัฐบาล ที่คำนึงถึงปัญหาอุทกภัยเป็นหลัก โดยการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล ปัจจุบันอยู่ที่ 60 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เขื่อนสิริกิติ์ อยู่ที่ 40 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน 2 เขื่อนรวมกันจะเหลือพื้นที่รับน้ำ 7,300 ล้านลูกบาศก์เมตร และถึงเดือนเมษายนนี้ ตามแผนจะรองรับน้ำได้ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ กฟผ. ยังต้องติดตามการพยากรณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุวิทยา ในช่วงฤดูฝน ก่อนจะนำมาปรับแผนการใช้ไฟฟ้า และการระบายน้ำจากเขื่อนให้เกิดความเหมาะสม ขณะเดียวกัน ยังจับตาสภาพอากาศ และมีความเป็นห่วงที่อาจจะเกิดภัยแล้ง
นอกจากนี้ กฟผ. เตรียมออกโครงการรณรงค์ประหยัดการใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อนของปีนี้ เป็นการรณรงค์ล้างเครื่องปรับอากาศ ที่จะนำร่องในสถานที่ราชการ อาทิ ศาลากลางจังหวัด โรงพยาบาลภูมิพล โรงพยาบาลสิริกิติ์ และศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตั้งเป้า 8,000 เครื่อง รวมทั้งจะมีการสอนวิธี และมอบอุปกรณ์ล้างเครื่องปรับอากาศให้กับกองทัพภาคที่ 1 - 4 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
นอกจากนี้ กฟผ. ยังทดลองโครงการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ในเขื่อนศรีนครินทร์ 105 หลอด ที่ประหยัดได้ร้อยละ 80 เพื่อต่อยอดไปยังสถานที่ ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าส่องสว่าง อาทิ ถนนทั่วไป ซึ่งจะเกิดความคุ้มทุนได้ใน 3 ปี
=========================================================
กฟผ.คาดยอดใช้ไฟฟ้าหน้าร้อนนี้พุ่งสูงสุดทำลายสถิติอีกรอบ
Source - สยามรัฐ (Th), Sunday, March 04, 2012
กฟผ.ชี้การใช้ไฟฟ้าปีนี้กลับมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เหตุเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ฟื้นตัวช่วงฤดูร้อนคนใช้ไฟฟ้ามาก มั่นใจจัดหาไฟฟ้าได้พอเพียงแน่นอน
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ศูนย์ควบคุมระบบพลังงานไฟฟ้าแห่งชาติ ของ กฟผ.ได้จัดทำการคาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในปี 2555 พบว่า ความต้องการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุด (พีค)ของปีนี้จะอยู่ที่ 25,784 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำลายสถิติการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2553 ที่ระดับกว่า 24,000 เมกะวัตต์ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจประเทศเริ่มฟื้นตัวจากภาวะน้ำท่วม ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมที่ประสบภัยน้ำท่วมจะกลับมาเดินเครื่องการผลิตได้เต็มที่ในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับการเข้าสู่ฤดูร้อนที่ประชาชนใช้ไฟฟ้าสูงด้วย
ทั้งนี้คาดว่าพีคไฟฟ้าปีนี้ จะสูงกว่าปีที่แล้ว 1,884 เมกะวัตต์ หรือ 7.88% ส่วนความจต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าคาดว่าจะเท่ากับ 163,215 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 4,251.71 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 2.67% นอกจากนี้เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าเป็นรายเดือนพบว่า เพียงแค่ 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.)ที่ผ่านมา ความต้องการใช้ไฟฟ้ารวม 26,604 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 6.26% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งสูงกว่าการวางแผนของ กฟผ.ที่คาดว่าจะสูงขึ้นเพียง แค่ 4%
“ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเติบโตมากกว่า 6 % แน่นอน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่คาดว่าจะเติบโตเพียง 4 % แต่จะดูแลไม่ให้มีปัญหาต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันมีสำรองไฟฟ้าในระดับ 23 % ขณะเดียวกันได้ประสานงานกับบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โดยล่าสุดที่จะมีการซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซฯพม่าอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ก๊าซฯหายไปจากระบบ 1,100 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ก็จะเลือกช่วงเวลาซ่อมในช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ และระหว่างนั้นต้องจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงสำรอง เพื่อผลิตไฟฟ้าอย่างพอเพียง รวมถึงประสานกับโรงไฟฟ้าเอกชน ร่วมวางแผนการซ่อมบำรุงตลอดทั้งปี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ “นายสุทัศน์ กล่าว
โดยทั้งนี้ในปีนี้จะมีโรงไฟฟ้าเอกชนทั้งในและต่างประเทศเข้าระบบเพิ่มเติมรวม 1,314 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้าเก๊คโค่-วัน ของกลุ่มโกลว์ กรุ๊ป 660 เมกะวัตต์ โครงการเทิน-หินบุน 220 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (เอสพีพี) 434 เมกะวัตต์
สำหรับความคืบหน้าของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือพีดีพี นายสุทัศน์ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างปรับปรุงแผนพีดีพี ฉบับ 2011 อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นเมื่อสิ้นสุดแผนในปี 2563 มีแนวทางจะลดสัดส่วนการใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงจาก70 % ในปัจจุบันเหลือประมาณ 50 % เนื่องจากไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี)เข้ามาเสริมก๊าซฯจากอ่าวไทยที่ลดน้อยลง และต้นทุนแอลเอ็นจีสูงกว่าก๊าซฯในอ่าว
รวมทั้งหาแนวทางเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเป็น 25 % พลังงานทดแทน 15 % พลังน้ำ 10 % และในจำนวนนี้เป็นสัดส่วนซื้อไฟฟ้าต่างประเทศ 15 % โดยในส่วนการซื้อไฟฟ้าต่างประเทศนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 112
นักลงทุนไทยตบเท้าปักธง'พม่า'
Source - คมชัดลึก (Th), Monday, March 05, 2012
นักลงทุนตบเท้าปักธง ’พม่า’ ชี้ช่องไทยใช้ความได้เปรียบยึดหัวหาด : โดย ... ณัฎฐ์ชิตา เกิดแดง
หลังการเปิดประเทศ ทำให้ชื่อของ "พม่า" กลายเป็นเมืองที่เนื้อหอมสุดๆ ในสายตาของนักลงทุนจากประเทศต่างๆ เนื่องจากพม่าเป็นแหล่งทรัพยากรชั้นดีทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ และพลังงาน ซึ่งประเทศไทยได้เข้าไปลงทุนด้านพลังงานนานแล้ว และปัจจุบันพบว่านักธุรกิจไทยกำลังตบเท้าเข้าไปลงทุนมากขึ้น หลังจากมองว่าการเมืองในพม่าเริ่มมีสัญญาณที่ดีและหันมาใช้เศรษฐกิจเป็นตัวนำในการพัฒนาประเทศ
“พม่าเป็นเหมือนสาวพรหมจรรย์ที่ชายหนุ่มหมายปอง ตอนนี้ใครเข้าไปได้เร็วกว่าก็ย่อมได้เปรียบ ซึ่งประเทศไทยมีการลงทุนในพม่ามานานจึงไม่น่าละทิ้งโอกาสในการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับพม่า” นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ให้ความเห็น
คลังจี้บีโอไอหนุนเอกชนไทยลงทุน
นอกจากนี้ หลังจากที่พม่าเปิดประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจมีการเติบโตเร็วขึ้นมาก ประเทศไทยมีชายแดนติดกับพม่าเป็นระยะทางค่อนข้างยาวจึงควรสร้างยุทธศาสตร์ร่วมกันในการพัฒนา โดยในส่วนของกระทรวงการคลังจะใช้บทบาทกองทุนเงินให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาเป็นตัวนำทางให้เอกชนเข้าไปลงทุนเพื่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยให้มากที่สุด
ล่าสุด รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้เจรจาร่วมกันที่จะให้เงินกู้ในการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อจากทวายในพม่าผ่านมายังบ้านน้ำพุ จ.กาญจนบุรี และเชื่อมต่อไปยังแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าที่สำคัญจากพม่าไปนิคมอุตสาหกรรมของไทย รวมระยะทาง 160 กิโลเมตร แต่เนื่องจากมีความลาดชันสูงจึงอาจต้องใช้เงินลงทุนมากและเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ถือเป็นโอกาสของสินค้าไทยที่จะเข้ามาสู่พม่าได้สะดวก จากปัจจุบันที่จะเข้าได้เพียงทางด่านแม่สอดและแม่สาย นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทยก็สามารถเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานหรือย้ายฐานการผลิตในอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาแรงงาน เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า เพราะขณะนี้ยังมีความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงาน
“หากเอกชนไทยเข้าไปลงทุนก่อนจะเปิดเสรีอาเซียนเต็มรูปแบบในปี 2558 จะมีความได้เปรียบ เพราะแรงงานพม่าถูกกว่า ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่าไทยอยู่ที่ 10% เท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ของบีโอไอที่จะต้องเร่งดำเนินการ ทั้งสนับสนุนข้อมูลหรือเอื้อประโยชน์ให้เอกชนไทยเข้าไปได้ง่ายขึ้น เพราะนักลงทุนจากชาติต่างๆ เริ่มทยอยเข้ามาจำนวนมาก ทั้ง จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ พบว่ามีการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถแซงขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งแทนที่ไทยได้” นายอารีพงศ์ ระบุ
"จีน-ฮ่องกง" ลงทุนที่หนึ่งแซงไทย
น.ส.สุภาพรรณ เตียพิริยะกิจ เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ให้ข้อมูลว่า หลังการเลือกตั้งปี 2553 ที่ผ่านมา พม่ามีมาตรการเชิงบวกหลายด้าน โดยนโยบายด้านเศรษฐกิจรัฐบาลได้กระตุ้นและเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนเป็นอันดับแรก ทั้งการเพิ่มเงินเดือนและบำนาญให้ข้าราชการปัจจุบันและที่เกษียณหลายเท่าตัว
“มีนักลงทุนเข้ามาแสวงหาโอกาสการค้า การลงทุนในพม่ามากขึ้น จะเห็นได้ว่าตอนนี้มีรถยนต์วิ่งบนถนนมากขึ้นทั้งที่รถแพงกว่าเมืองไทยถึง 3 เท่า ค่าครองชีพสูงขึ้นทั้งค่าอาหาร ค่ารถ ค่าที่พัก ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มบูมจากการเก็งกำไรที่ดิน ซึ่งบางพื้นที่ราคาตารางวาละ 1 ล้านบาท ส่วนค่าเงินจ๊าดก็แข็งขึ้นเรื่อยๆ”
ขณะที่ภาคธุรกิจนั้น พม่าได้เริ่มปฏิรูประบบเศรษฐกิจที่มีอุปสรรคด้านกฎหมายให้กลายเป็นระบบเสรีที่แท้จริง และส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุน ถึงการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทบทวนกฎหมายการลงทุนและดึงเม็ดเงินจากต่างชาติเข้ามามากขึ้น ยิ่งหลังจากมีกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ออกมาเขตแรกที่ทวาย มีการให้สิทธิพิเศษนักลงทุนมากมาย รวมทั้งกำลังปรับปรุงกฎหมายเอื้อนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ (มาสเตอร์แพลน) ระยะ 5 ปี รวมทั้งรัฐบาลพม่ามีความกระตือรือร้นจะเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราให้มาเป็นอัตราเดียวมาเป็นอิงกับตลาด โดยดึงไอเอ็มเอฟเข้ามาช่วยปฏิรูป
“หลังจากเปิดประเทศเพียงปีเดียว มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของยอดการลงทุนสะสมมาตลอด 14 ปี โดยไทยสะสมเม็ดเงินลงทุนมาเป็นอันดับหนึ่งประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปี 2554 ที่ผ่านมา น่าเสียดายที่ไทยเสียแชมป์ให้จีน-ฮ่องกงที่มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนรวมกันกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแท่นเป็นอันดับหนึ่งแทน”
"ซีพี-โอสถสภา"ยึดตลาดของกิน-ของใช้
สำหรับการยกทัพเข้ามาลงทุนในพม่าของเอกชนไทยนั้น มีจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่เข้าไปเปิดตลาดก่อนอย่างเครือซีพี ที่เข้ามาตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2539 โดยตั้งบริษัท เมียนมาร์ ซี.พี. ไลฟ์สต็อก จำกัด จากนั้นปี 2540 จึงก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์ และเริ่มทำตลาดการเลี้ยงสัตว์ครบวงจรที่เมืองย่างกุ้ง จากนั้นปีถัดมาจึงเปิดอีกแห่งที่มัณฑะเลย์ เป็นโรงงานผลิตไก่เนื้อรวมทั้งการเริ่มดำเนินธุรกิจอาหารและเปิดร้านซีพี เฟรชมาร์ท ซึ่งมีประชาชนชาวพม่าเข้ามาเกี่ยวข้องในธุรกิจกว่า 2 แสนครัวเรือน เพราะมีทั้งธุรกิจที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง รุกธุรกิจอาหารสัตว์ ยารักษาสัตว์ ธุรกิจสัตว์น้ำ ขยายฟาร์ม ล่าสุดเปิดธุรกิจไก่ย่าง 5 ดาว
ขณะที่นายพจน์ ภัทรกุลนิยม ผู้จัดการภาคพื้นอินโดไชน่า บริษัท โอสถสภา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวถึงการเข้าลงทุนในพม่าในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาว่า เริ่มจากเข้ามาร่วมทำตลาดเครื่องดื่มฉลาม โดยผลิตที่ไทยแล้วเอาเข้ามาขายในพม่า จากนั้นขยายไปสินค้ากลุ่ม เบบี้มายด์ ทเวลฟ์พลัส และเอ็ม150 เป๊ปทีน ซึ่งหลายตัวผู้ค้านำเข้ามาจำหน่ายเองไม่ได้ผ่านทางบริษัท
“บริษัทนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายอย่างถูกต้องและผู้ค้าของเราก็เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างถูกต้อง แต่มีสินค้าบางตัวที่ลักลอบนำเข้ามาขายแบบหนีภาษี จึงเป็นปัญหาในการทำธุรกิจค่อนข้างมากแต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทก็ไม่ได้ย่อท้อสามารถกระจายสินค้าได้ทั่วประเทศและสร้างความนิยมในสินค้าได้ดี”
ปตท.สผ.ชูพม่าแหล่งลงทุนอันดับต้น
นายศิริพงษ์ เฟื่องลิขิต ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ปตท.สผ. โครงการพม่า (สาขาย่างกุ้ง) กล่าวว่า บริษัทได้เข้ามาลงทุนในพม่าตั้งแต่ 15 ปีก่อนเช่นกัน โดยเริ่มแรกลงทุนที่ยาดานา และตั้งสำนักงานที่ยาทากุน ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนกับบริษัทปิโตรนาสของมาเลเซีย โดยแผนการลงทุนในพม่าถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนในต่างประเทศ 41 โครงการ จำนวน 13 ประเทศ ทั้ง เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ไนจีเรีย อียิปต์ กัมพูชา ซึ่งมีการเดินหน้าผลิตก๊าซธรรมชาติแล้ว 20 โครงการ อยู่ระหว่างสำรวจ 19 โครงการ และเริ่มพัฒนาแล้ว 2 โครงการ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการส่งก๊าซธรรมชาติกลับมาที่ไทยจะสามารถส่งมาได้ทั้งหมด และไทยพึ่งพาพลังงานดังกล่าวจากพม่าค่อนข้างมาก แต่ต่อไปจะมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการลงทุนใหม่ในรูปแบบของสัญญาแบ่งปันผลผลิต มีทั้งสิ้น 5 แปลง คือแปลงเอ็ม 7 เอ็ม 9 เอ็ม 8 เอ็ม 11 เอ็ม 3 โดยก๊าซที่ขุดได้ส่วนหนึ่งต้องแบ่งให้พม่าด้วย เพราะจริงๆ แล้วพม่ายังต้องการพลังงานเชื้อเพลิงใช้ในประเทศอีกมาก
“พม่าเป็นแหล่งทรัพยากรที่ปตท.สผ.ให้ความสำคัญมากในอันดับต้นๆ และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเรา เพราะยังมีแหล่งปิโตรเลียมอีกมาก”
ท่องเที่ยวบูมธุรกิจโรงแรมสดใส
ด้านนายพงษ์พิชัย พิทักษ์บุรี ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมชาเตี้ยม ซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ที่นายชาตรี โสภณพนิช เข้ามาซื้อกิจการจากนิกโก้ของญี่ปุ่น โดยยอมรับว่า การทำธุรกิจโรงแรมในพม่าช่วงแรกมีปัญหามาก ทั้งการดูแลบำรุงรักษาต้องมีการนำเครื่องมืออุปกรณ์เข้ามาจากไทย รวมถึงอาหารแทบทั้งหมดต้องนำเข้า แต่ปัจจุบันถือว่าค่อนข้างอยู่ตัวและกิจการไปได้ดี เพราะหลังจากที่พม่าเปิดประเทศ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นจากปีละ 1-2 แสนคน เป็น 3-4 แสนคน ห้องพักโรงแรมไม่เพียงพอรองรับ
สำหรับโรงแรมทั่วประเทศพบว่ามีเพียง 73 แห่ง จำนวน 2.5 หมื่นห้อง เฉพาะที่ย่างกุ้งมี 8 พันห้อง แต่ส่วนที่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจพักได้มีเพียง 3 พันห้อง และค่าโรงแรมจะปรับเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10% จึงมองว่าธุรกิจโรงแรมยังคงน่าลงทุน แม้ราคาที่ดินจะสูงขึ้นมาก เพราะพม่ามีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย ทั้งหิมะ ภูเขา ทะเล และยังเปิดกว้างการเข้ามาลงทุนของต่างชาติสามารถลงทุนได้ถึง 65% ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในพม่ายังถูก เช่น เงินเดือนพนักงานตกเดือนละ 4,500 บาทเท่านั้น แม้รายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ยังต่ำ แต่กลุ่มเป้าหมายของโรงแรมอยู่ที่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่แห่เข้ามาในพม่ากันมากกว่า
----------
(หมายเหตุ : นักลงทุนตบเท้าปักธง ’พม่า’ ชี้ช่องไทยใช้ความได้เปรียบยึดหัวหาด : โดย ... ณัฎฐ์ชิตา เกิดแดง)
Source - คมชัดลึก (Th), Monday, March 05, 2012
นักลงทุนตบเท้าปักธง ’พม่า’ ชี้ช่องไทยใช้ความได้เปรียบยึดหัวหาด : โดย ... ณัฎฐ์ชิตา เกิดแดง
หลังการเปิดประเทศ ทำให้ชื่อของ "พม่า" กลายเป็นเมืองที่เนื้อหอมสุดๆ ในสายตาของนักลงทุนจากประเทศต่างๆ เนื่องจากพม่าเป็นแหล่งทรัพยากรชั้นดีทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ และพลังงาน ซึ่งประเทศไทยได้เข้าไปลงทุนด้านพลังงานนานแล้ว และปัจจุบันพบว่านักธุรกิจไทยกำลังตบเท้าเข้าไปลงทุนมากขึ้น หลังจากมองว่าการเมืองในพม่าเริ่มมีสัญญาณที่ดีและหันมาใช้เศรษฐกิจเป็นตัวนำในการพัฒนาประเทศ
“พม่าเป็นเหมือนสาวพรหมจรรย์ที่ชายหนุ่มหมายปอง ตอนนี้ใครเข้าไปได้เร็วกว่าก็ย่อมได้เปรียบ ซึ่งประเทศไทยมีการลงทุนในพม่ามานานจึงไม่น่าละทิ้งโอกาสในการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับพม่า” นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ให้ความเห็น
คลังจี้บีโอไอหนุนเอกชนไทยลงทุน
นอกจากนี้ หลังจากที่พม่าเปิดประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจมีการเติบโตเร็วขึ้นมาก ประเทศไทยมีชายแดนติดกับพม่าเป็นระยะทางค่อนข้างยาวจึงควรสร้างยุทธศาสตร์ร่วมกันในการพัฒนา โดยในส่วนของกระทรวงการคลังจะใช้บทบาทกองทุนเงินให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาเป็นตัวนำทางให้เอกชนเข้าไปลงทุนเพื่อเกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยให้มากที่สุด
ล่าสุด รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้เจรจาร่วมกันที่จะให้เงินกู้ในการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อจากทวายในพม่าผ่านมายังบ้านน้ำพุ จ.กาญจนบุรี และเชื่อมต่อไปยังแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าที่สำคัญจากพม่าไปนิคมอุตสาหกรรมของไทย รวมระยะทาง 160 กิโลเมตร แต่เนื่องจากมีความลาดชันสูงจึงอาจต้องใช้เงินลงทุนมากและเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ถือเป็นโอกาสของสินค้าไทยที่จะเข้ามาสู่พม่าได้สะดวก จากปัจจุบันที่จะเข้าได้เพียงทางด่านแม่สอดและแม่สาย นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทยก็สามารถเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานหรือย้ายฐานการผลิตในอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาแรงงาน เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ รองเท้า เพราะขณะนี้ยังมีความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงาน
“หากเอกชนไทยเข้าไปลงทุนก่อนจะเปิดเสรีอาเซียนเต็มรูปแบบในปี 2558 จะมีความได้เปรียบ เพราะแรงงานพม่าถูกกว่า ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่าไทยอยู่ที่ 10% เท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ของบีโอไอที่จะต้องเร่งดำเนินการ ทั้งสนับสนุนข้อมูลหรือเอื้อประโยชน์ให้เอกชนไทยเข้าไปได้ง่ายขึ้น เพราะนักลงทุนจากชาติต่างๆ เริ่มทยอยเข้ามาจำนวนมาก ทั้ง จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ พบว่ามีการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถแซงขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งแทนที่ไทยได้” นายอารีพงศ์ ระบุ
"จีน-ฮ่องกง" ลงทุนที่หนึ่งแซงไทย
น.ส.สุภาพรรณ เตียพิริยะกิจ เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ให้ข้อมูลว่า หลังการเลือกตั้งปี 2553 ที่ผ่านมา พม่ามีมาตรการเชิงบวกหลายด้าน โดยนโยบายด้านเศรษฐกิจรัฐบาลได้กระตุ้นและเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชนเป็นอันดับแรก ทั้งการเพิ่มเงินเดือนและบำนาญให้ข้าราชการปัจจุบันและที่เกษียณหลายเท่าตัว
“มีนักลงทุนเข้ามาแสวงหาโอกาสการค้า การลงทุนในพม่ามากขึ้น จะเห็นได้ว่าตอนนี้มีรถยนต์วิ่งบนถนนมากขึ้นทั้งที่รถแพงกว่าเมืองไทยถึง 3 เท่า ค่าครองชีพสูงขึ้นทั้งค่าอาหาร ค่ารถ ค่าที่พัก ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มบูมจากการเก็งกำไรที่ดิน ซึ่งบางพื้นที่ราคาตารางวาละ 1 ล้านบาท ส่วนค่าเงินจ๊าดก็แข็งขึ้นเรื่อยๆ”
ขณะที่ภาคธุรกิจนั้น พม่าได้เริ่มปฏิรูประบบเศรษฐกิจที่มีอุปสรรคด้านกฎหมายให้กลายเป็นระบบเสรีที่แท้จริง และส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุน ถึงการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทบทวนกฎหมายการลงทุนและดึงเม็ดเงินจากต่างชาติเข้ามามากขึ้น ยิ่งหลังจากมีกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ออกมาเขตแรกที่ทวาย มีการให้สิทธิพิเศษนักลงทุนมากมาย รวมทั้งกำลังปรับปรุงกฎหมายเอื้อนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ (มาสเตอร์แพลน) ระยะ 5 ปี รวมทั้งรัฐบาลพม่ามีความกระตือรือร้นจะเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราให้มาเป็นอัตราเดียวมาเป็นอิงกับตลาด โดยดึงไอเอ็มเอฟเข้ามาช่วยปฏิรูป
“หลังจากเปิดประเทศเพียงปีเดียว มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของยอดการลงทุนสะสมมาตลอด 14 ปี โดยไทยสะสมเม็ดเงินลงทุนมาเป็นอันดับหนึ่งประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปี 2554 ที่ผ่านมา น่าเสียดายที่ไทยเสียแชมป์ให้จีน-ฮ่องกงที่มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนรวมกันกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแท่นเป็นอันดับหนึ่งแทน”
"ซีพี-โอสถสภา"ยึดตลาดของกิน-ของใช้
สำหรับการยกทัพเข้ามาลงทุนในพม่าของเอกชนไทยนั้น มีจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่เข้าไปเปิดตลาดก่อนอย่างเครือซีพี ที่เข้ามาตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2539 โดยตั้งบริษัท เมียนมาร์ ซี.พี. ไลฟ์สต็อก จำกัด จากนั้นปี 2540 จึงก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์ และเริ่มทำตลาดการเลี้ยงสัตว์ครบวงจรที่เมืองย่างกุ้ง จากนั้นปีถัดมาจึงเปิดอีกแห่งที่มัณฑะเลย์ เป็นโรงงานผลิตไก่เนื้อรวมทั้งการเริ่มดำเนินธุรกิจอาหารและเปิดร้านซีพี เฟรชมาร์ท ซึ่งมีประชาชนชาวพม่าเข้ามาเกี่ยวข้องในธุรกิจกว่า 2 แสนครัวเรือน เพราะมีทั้งธุรกิจที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง รุกธุรกิจอาหารสัตว์ ยารักษาสัตว์ ธุรกิจสัตว์น้ำ ขยายฟาร์ม ล่าสุดเปิดธุรกิจไก่ย่าง 5 ดาว
ขณะที่นายพจน์ ภัทรกุลนิยม ผู้จัดการภาคพื้นอินโดไชน่า บริษัท โอสถสภา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวถึงการเข้าลงทุนในพม่าในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาว่า เริ่มจากเข้ามาร่วมทำตลาดเครื่องดื่มฉลาม โดยผลิตที่ไทยแล้วเอาเข้ามาขายในพม่า จากนั้นขยายไปสินค้ากลุ่ม เบบี้มายด์ ทเวลฟ์พลัส และเอ็ม150 เป๊ปทีน ซึ่งหลายตัวผู้ค้านำเข้ามาจำหน่ายเองไม่ได้ผ่านทางบริษัท
“บริษัทนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายอย่างถูกต้องและผู้ค้าของเราก็เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างถูกต้อง แต่มีสินค้าบางตัวที่ลักลอบนำเข้ามาขายแบบหนีภาษี จึงเป็นปัญหาในการทำธุรกิจค่อนข้างมากแต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทก็ไม่ได้ย่อท้อสามารถกระจายสินค้าได้ทั่วประเทศและสร้างความนิยมในสินค้าได้ดี”
ปตท.สผ.ชูพม่าแหล่งลงทุนอันดับต้น
นายศิริพงษ์ เฟื่องลิขิต ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ปตท.สผ. โครงการพม่า (สาขาย่างกุ้ง) กล่าวว่า บริษัทได้เข้ามาลงทุนในพม่าตั้งแต่ 15 ปีก่อนเช่นกัน โดยเริ่มแรกลงทุนที่ยาดานา และตั้งสำนักงานที่ยาทากุน ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนกับบริษัทปิโตรนาสของมาเลเซีย โดยแผนการลงทุนในพม่าถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนในต่างประเทศ 41 โครงการ จำนวน 13 ประเทศ ทั้ง เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ไนจีเรีย อียิปต์ กัมพูชา ซึ่งมีการเดินหน้าผลิตก๊าซธรรมชาติแล้ว 20 โครงการ อยู่ระหว่างสำรวจ 19 โครงการ และเริ่มพัฒนาแล้ว 2 โครงการ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการส่งก๊าซธรรมชาติกลับมาที่ไทยจะสามารถส่งมาได้ทั้งหมด และไทยพึ่งพาพลังงานดังกล่าวจากพม่าค่อนข้างมาก แต่ต่อไปจะมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการลงทุนใหม่ในรูปแบบของสัญญาแบ่งปันผลผลิต มีทั้งสิ้น 5 แปลง คือแปลงเอ็ม 7 เอ็ม 9 เอ็ม 8 เอ็ม 11 เอ็ม 3 โดยก๊าซที่ขุดได้ส่วนหนึ่งต้องแบ่งให้พม่าด้วย เพราะจริงๆ แล้วพม่ายังต้องการพลังงานเชื้อเพลิงใช้ในประเทศอีกมาก
“พม่าเป็นแหล่งทรัพยากรที่ปตท.สผ.ให้ความสำคัญมากในอันดับต้นๆ และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเรา เพราะยังมีแหล่งปิโตรเลียมอีกมาก”
ท่องเที่ยวบูมธุรกิจโรงแรมสดใส
ด้านนายพงษ์พิชัย พิทักษ์บุรี ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมชาเตี้ยม ซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ที่นายชาตรี โสภณพนิช เข้ามาซื้อกิจการจากนิกโก้ของญี่ปุ่น โดยยอมรับว่า การทำธุรกิจโรงแรมในพม่าช่วงแรกมีปัญหามาก ทั้งการดูแลบำรุงรักษาต้องมีการนำเครื่องมืออุปกรณ์เข้ามาจากไทย รวมถึงอาหารแทบทั้งหมดต้องนำเข้า แต่ปัจจุบันถือว่าค่อนข้างอยู่ตัวและกิจการไปได้ดี เพราะหลังจากที่พม่าเปิดประเทศ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นจากปีละ 1-2 แสนคน เป็น 3-4 แสนคน ห้องพักโรงแรมไม่เพียงพอรองรับ
สำหรับโรงแรมทั่วประเทศพบว่ามีเพียง 73 แห่ง จำนวน 2.5 หมื่นห้อง เฉพาะที่ย่างกุ้งมี 8 พันห้อง แต่ส่วนที่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจพักได้มีเพียง 3 พันห้อง และค่าโรงแรมจะปรับเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10% จึงมองว่าธุรกิจโรงแรมยังคงน่าลงทุน แม้ราคาที่ดินจะสูงขึ้นมาก เพราะพม่ามีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย ทั้งหิมะ ภูเขา ทะเล และยังเปิดกว้างการเข้ามาลงทุนของต่างชาติสามารถลงทุนได้ถึง 65% ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในพม่ายังถูก เช่น เงินเดือนพนักงานตกเดือนละ 4,500 บาทเท่านั้น แม้รายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ยังต่ำ แต่กลุ่มเป้าหมายของโรงแรมอยู่ที่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่แห่เข้ามาในพม่ากันมากกว่า
----------
(หมายเหตุ : นักลงทุนตบเท้าปักธง ’พม่า’ ชี้ช่องไทยใช้ความได้เปรียบยึดหัวหาด : โดย ... ณัฎฐ์ชิตา เกิดแดง)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 113
ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และบันทึกความเข้าใจศึกษาการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานในต่างประเทศ กับ บริษัท เชื้อไฟลาว จำกัด
นสพ.พิมพ์ไทย, 3 มี.ค. 55
นายสรัญ รังคสิริ รธน. ปตท. เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และบันทึกความเข้าใจศึกษาการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานในต่างประเทศ กับ บริษัท เชื้อไฟลาว จำกัด โดยปตท. จะเป็นผู้จัดหาน้ำมันอากาศยานและน้ำมันเตา ให้บริษัทเชื้อไฟลาว แต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลา 2 ปี รวมมูลค่ากว่า 1,600 ล้านบาท
นสพ.พิมพ์ไทย, 3 มี.ค. 55
นายสรัญ รังคสิริ รธน. ปตท. เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และบันทึกความเข้าใจศึกษาการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานในต่างประเทศ กับ บริษัท เชื้อไฟลาว จำกัด โดยปตท. จะเป็นผู้จัดหาน้ำมันอากาศยานและน้ำมันเตา ให้บริษัทเชื้อไฟลาว แต่เพียงผู้เดียวเป็นเวลา 2 ปี รวมมูลค่ากว่า 1,600 ล้านบาท
แนบไฟล์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 114
GUNKUL สุดฮอตบริษัทลูกเปิดโรงไฟฟ้าขายให้ กฟภ. 3 โครงการ [ ทันหุ้น, 05 มีนาคม 2555 ]
วันที่ 1, 2 และ 5 มีนาคมนี้ “จี-พาวเวอร์ซอร์ส” บริษัทย่อย บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) เดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า 19.50 เมกะวัตต์ จ่ายไฟเข้าระบบ กฟภ.เรียบร้อยแล้ว”โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ “เผยจะรับรู้รายได้ทันทีในปีนี้ ส่วนที่เหลืออีก 6.5 เมกะวัตต์ คาดเริ่มผลิตและจ่ายไฟฟ้าได้ปลายปีนี้ ระบุ โครงการดังกล่าวช่วยเพิ่มฐานรายได้ให้กลุ่มบริษัทมากยิ่งขึ้น
นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า ขณะนี้ บริษัท จี-พาวเวอร์ซอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GUNKUL สามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า 3 โครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิตขนาด 19.50 เมกะวัตต์ บนพื้นที่ ตำบลตาขีด ตำบลตาสัง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ และที่ตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้แล้วตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป และจะทยอยรับรู้รายได้ทันทีภายในปี 2555 นี้
ทั้งนี้ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของ บริษัท จี-พาวเวอร์ซอร์ส จำกัด มีทั้งหมด 4 โครงการและกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมที่ได้รับการอนุมัติคือ 26 เมกกะวัตต์ โดยโครงการที่ 1-3 มีกำลังการผลิตขนาดรวม 19.50 เมกะวัตต์ได้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งในส่วนของกำลังการผลิตที่เหลืออีก 6.5 เมกะวัตต์ ตามแผนงานที่วางไว้คาดว่าจะเริ่มผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบให้กับ กฟภ.ได้ช่วงไตรมาส 4/2555 โดยคาดว่าทั้ง 4 โครงการจะสร้างรายได้ให้กับบริษัทประมาณ 450 ล้านบาทต่อปี โดยคาดว่าจะมีกำไรประมาณ 40-50% ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ดีมาก เนื่องจากรัฐบาลให้การสนับสนุนและบริษัทมองว่าน่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้บริษัทเติบโตอย่างมั่นคงต่อไป
"โครงการนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มฐานรายได้ให้กับกลุ่มบริษัท GUNKUL เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถขายให้กับ กฟภ.ได้ทั้งจำนวน อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรที่จะเข้าร่วมทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โครงการดังกล่าวโดยบริษัทจะยังคงถือสัดส่วนไม่น้อยกว่า 40% ซึ่งขณะนี้การเจรจามีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยคาดว่าน่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2555 ทั้งนี้ จะทำให้บริษัทสามารถรับรู้กำไรเพิ่มขึ้นทันทีจากการขายโรงไฟฟ้า “
เขากล่าวทิ้งท้ายว่า บริษัทยังคงมีแผนในการลงทุนด้านพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าจากพลังงานลม ซึ่งบริษัทได้เซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงพลังงาน ประเทศสหภาพพม่า 1,000 เมกกะวัตต์ เมื่อปลายปี 2554 และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการติดตั้งเสาลม ซึ่งจากการที่มีงานเข้ามาอย่างต่อเนื่องและเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจพลังงานทดแทน รวมถึงบริษัทมีนโยบายที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน อย่างครบวงจร จึงทำให้มั่นใจว่าผลประกอบการของปี 2555 จะเดินหน้าเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในอนาคต และเป็นการตอกย้ำศักยภาพของบริษัท ที่จะดำเนินการขยายธุรกิจให้ได้ตามเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนอย่างครบวงจร
วันที่ 1, 2 และ 5 มีนาคมนี้ “จี-พาวเวอร์ซอร์ส” บริษัทย่อย บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) เดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า 19.50 เมกะวัตต์ จ่ายไฟเข้าระบบ กฟภ.เรียบร้อยแล้ว”โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ “เผยจะรับรู้รายได้ทันทีในปีนี้ ส่วนที่เหลืออีก 6.5 เมกะวัตต์ คาดเริ่มผลิตและจ่ายไฟฟ้าได้ปลายปีนี้ ระบุ โครงการดังกล่าวช่วยเพิ่มฐานรายได้ให้กลุ่มบริษัทมากยิ่งขึ้น
นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า ขณะนี้ บริษัท จี-พาวเวอร์ซอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GUNKUL สามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า 3 โครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิตขนาด 19.50 เมกะวัตต์ บนพื้นที่ ตำบลตาขีด ตำบลตาสัง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ และที่ตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้แล้วตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป และจะทยอยรับรู้รายได้ทันทีภายในปี 2555 นี้
ทั้งนี้ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของ บริษัท จี-พาวเวอร์ซอร์ส จำกัด มีทั้งหมด 4 โครงการและกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมที่ได้รับการอนุมัติคือ 26 เมกกะวัตต์ โดยโครงการที่ 1-3 มีกำลังการผลิตขนาดรวม 19.50 เมกะวัตต์ได้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งในส่วนของกำลังการผลิตที่เหลืออีก 6.5 เมกะวัตต์ ตามแผนงานที่วางไว้คาดว่าจะเริ่มผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบให้กับ กฟภ.ได้ช่วงไตรมาส 4/2555 โดยคาดว่าทั้ง 4 โครงการจะสร้างรายได้ให้กับบริษัทประมาณ 450 ล้านบาทต่อปี โดยคาดว่าจะมีกำไรประมาณ 40-50% ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ดีมาก เนื่องจากรัฐบาลให้การสนับสนุนและบริษัทมองว่าน่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้บริษัทเติบโตอย่างมั่นคงต่อไป
"โครงการนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มฐานรายได้ให้กับกลุ่มบริษัท GUNKUL เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถขายให้กับ กฟภ.ได้ทั้งจำนวน อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรที่จะเข้าร่วมทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โครงการดังกล่าวโดยบริษัทจะยังคงถือสัดส่วนไม่น้อยกว่า 40% ซึ่งขณะนี้การเจรจามีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยคาดว่าน่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2555 ทั้งนี้ จะทำให้บริษัทสามารถรับรู้กำไรเพิ่มขึ้นทันทีจากการขายโรงไฟฟ้า “
เขากล่าวทิ้งท้ายว่า บริษัทยังคงมีแผนในการลงทุนด้านพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าจากพลังงานลม ซึ่งบริษัทได้เซ็นสัญญาบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงพลังงาน ประเทศสหภาพพม่า 1,000 เมกกะวัตต์ เมื่อปลายปี 2554 และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการติดตั้งเสาลม ซึ่งจากการที่มีงานเข้ามาอย่างต่อเนื่องและเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจพลังงานทดแทน รวมถึงบริษัทมีนโยบายที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน อย่างครบวงจร จึงทำให้มั่นใจว่าผลประกอบการของปี 2555 จะเดินหน้าเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในอนาคต และเป็นการตอกย้ำศักยภาพของบริษัท ที่จะดำเนินการขยายธุรกิจให้ได้ตามเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนอย่างครบวงจร
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 115
สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ร่วมกับ Japan Overseas Development Corporation (JODC)
จัดสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานสาขาอุตสาหกรรมพลาสติก
โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน (ระยะที่ 2)
(The Project on Establishment of Sustainable system for Practical
Energy Efficiency and Conservation Promotion in Thai Industries : ESPEC Phase-2)
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555 เวลา 08.00 - 16.00 น.
ณ ห้อง Queens Park 2 ชั้น 2 โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค
ร่วมกับ Japan Overseas Development Corporation (JODC)
จัดสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินงานสาขาอุตสาหกรรมพลาสติก
โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน (ระยะที่ 2)
(The Project on Establishment of Sustainable system for Practical
Energy Efficiency and Conservation Promotion in Thai Industries : ESPEC Phase-2)
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555 เวลา 08.00 - 16.00 น.
ณ ห้อง Queens Park 2 ชั้น 2 โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 116
ลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนร่วมสำหรับโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง(Power Generation and Heat Recovery: PHR)
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, March 08, 2012
มร.คิเซิต ปาร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้ร่วมลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนร่วมสำหรับโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง(Power Generation and Heat Recovery: PHR)กับนายพีระพงษ์ อัจฉริยะชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว กรุงเทพ
--จบ--
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, March 08, 2012
มร.คิเซิต ปาร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้ร่วมลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนร่วมสำหรับโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง(Power Generation and Heat Recovery: PHR)กับนายพีระพงษ์ อัจฉริยะชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว กรุงเทพ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 117
ปตท.ผนึก"ปิโตรนาส"สู้คู่แข่ง เน้นพันธมิตรจัดหาพลังงานทั่วโลก-รุกลงทุนต้นน้ำและปลายน้ำ
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, March 08, 2012
มั่นใจธุรกิจสองบริษัทไปได้ไกลเร็วกว่าต่างคนต่างไป
ปตท.ปรับกลยุทธ์เลิกมองคู่แข่ง หันจับมือ “ปิโตรนาส” มาเลเซีย รุกลงทุนต่างประเทศทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ หวังแบ่งปันความเสี่ยง และเงินลงทุน มั่นใจสองบริษัทไปได้ไกลเร็วกว่าต่างคนต่างไป เบียดคู่แข่งยักษ์พลังงานระดับโลก ยึดอาเซียนถือเป็นฐานลงทุนหลัก พร้อมวางแผนลงทุน 5 ปีกลุ่มปตท.มูลค่า 9 แสนล้านบาท ขณะที่ ปตท.สผ.เน้นจับมือพันธมิตรลงทุนต่างประเทศ
"กรุงเทพธุรกิจ" สำรวจการลงทุนต่างประเทศกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ของภาคธุรกิจไทย ที่หลายๆ บริษัทต่างมองหาประเทศ ที่มีศักยภาพที่จะขยายการลงทุน นอกจากสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรแล้ว ยังเป็นการเสริมความมั่นคงและความต้องการให้กับประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจพลังงาน ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากปริมาณทรัพยากรภายในประเทศเริ่มมีข้อจำกัดมากขึ้น
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ กรุงเทพธุรกิจ ถึงแนวทางการลงทุนต่างประเทศ ว่า ปัจจุบัน ปตท.มีการลงทุนอยู่กว่า 14 ประเทศทั่วโลก โดยมีฐานการลงทุนที่สำคัญ ประกอบด้วย อาเซียน รวมถึงบังกลาเทศ ออสเตรเลีย และในภูมิภาคอเมริกาเหนือ
สำหรับในอาเซียนถือเป็นฐานการลงทุนหลัก ที่ ปตท.วางเป้าหมายที่จะเข้าไปลงทุนตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่ผ่านมาได้ออกไปดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งมีทั้งธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ทั้งในประเทศลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ พม่า ขณะเดียวกัน มีการผลิตปิโตรเลียมในหลายประเทศ อาทิ พม่า และมาเลเซีย
กลยุทธ์ในการบุกของเราไม่ได้มองว่าทุกบริษัทเป็นคู่แข่งทั้งหมด แต่มองว่าจะร่วมมือกันอย่างไรระหว่างชาติสมาชิกด้วย นายไพรินทร์ กล่าว
จับมือปิโตรนาสสู้ยักษ์ใหญ่
เขากล่าวถึงเหตุผลที่ต้องหาพันธมิตรว่า เพราะการออกไปบุกต่างประเทศคนเดียว อาจสู้กับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ได้ยาก ดังนั้น ปตท.จึงพยายามมองหาพันธมิตรที่จะร่วมมือกันในการลงทุนในระยะยาวทั้งธุรกิจต้นน้ำ และปลายน้ำ จึงได้จับมือกับบริษัทปิโตรนาส ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติเหมือนกัน และมีขนาดใกล้เคียงกัน ปัจจุบันปิโตรนาสได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์จูนให้เป็น 1 ใน 500 บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่ ปตท.อยู่ในอันดับ 128 โดยปิโตรนาสมีการลงทุนกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
จากที่ได้มีโอกาสพบปะกันระหว่างบริษัทน้ำมันแห่งชาติ เห็นว่า ปตท.กับปิโตรนาส มีโอกาสที่จับมือเป็นพันธมิตรการลงทุนมากที่สุด เพราะเคยร่วมมือกันมาก่อนในการเป็นหุ้นส่วนแหล่งน้ำมันเยดานา และเยตากุน ในประเทศพม่า ขณะที่บริษัทน้ำมันแห่งชาติอื่นๆ เช่น บริษัทพลังงานแห่งชาติ ของอินโดนีเซีย อย่างเปอร์ตามินา แม้จะมีศักยภาพแต่รัฐบาลไม่ได้ปล่อยให้ เปอร์ตามินาได้แสดงบทบาทอย่างเต็มที่ ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ขณะที่ปิโตรนาส รัฐบาลมาเลเซียสนับสนุนให้เป็นเจ้าของแหล่งพลังงาน และเป็นกลไกของรัฐในหลายเรื่อง ล่าสุดบริษัทปิโตรนาส ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ดังนั้นวิสัยทัศน์ และบทบาทของปิโตรนาสจะคล้ายกับเรามากที่สุด นายไพรินทร์ กล่าว
เน้นร่วมมือจัดหาพลังงานทั่วโลก
สำหรับความร่วมมือกับปิโตรนาสนั้น นายไพรินทร์บอกว่าเป็นลักษณะการร่วมมือกันจัดหาพลังงานทั่วโลก เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนมากและมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นการร่วมมือกันแบ่งปันความเสี่ยง และเงินลงทุนน่าจะทำให้ภาพรวมของทั้งสองบริษัทไปได้ไกลและเร็วมากกว่าที่จะไปแบบต่างคนต่างไป
หลายประเทศเราเข้าไปบุกได้ เพราะไปก่อนคนอื่น ถือเป็นความโชคดี อาทิเช่นพม่า แต่ในภาพรวมแล้ว ปตท.ยังเล็กมาก เมื่อเทียบกับ จีน อินเดีย รัสเซีย บราซิล ยุโรปตะวันตก ดังนั้นความร่วมมือกับปิโตรนาส จะทำให้เราได้เปรียบขึ้น นายไพรินทร์ กล่าว
ในการร่วมมือกันนั้น จะเป็นลักษณะต่างคนต่างออกไปบุกตามช่องทางของตัวเอง หากเห็นว่าควรร่วมมือกันเพื่อหาความได้เปรียบ ก็จะมาคุยที่จะเป็นหุ้นส่วนกันเป็นรายโครงการ
กลุ่มปตท.5ปีใช้เงินลงทุน9แสนล้าน
สำหรับแผนการลงทุน 5 ปีของทั้งกลุ่ม ปตท. ระหว่างปี 2555-2559 มีมูลค่ารวมประมาณ 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็นลงทุนโดยบริษัท ปตท. มูลค่า 3.57 แสนล้านบาท บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. วงเงิน 3.6 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นบริษัทในกลุ่มปิโตรเคมีและโรงกลั่นวงเงิน 2 แสนล้านบาท
โครงการลงทุนหลักของบริษัท ปตท.นั้น สัดส่วน 45% ของเงินลงทุน จะเป็นการลงทุนในธุรกิจถ่านหิน ปาล์มน้ำมัน ทุ่นผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวนอกฝั่ง (เอฟแอลเอ็นจี) และไฟฟ้า เป็นต้น และสัดส่วน 38% เป็นการขยายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยาย สถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) สัดส่วน 14% ลงทุนคลังน้ำมัน คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลเอ็นจี) และสถานีบริการน้ำมัน
นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า ภายใต้การเปิดเสรีทั้งในระดับโลกและอาเซียนนั้น ศักยภาพการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญมาก ในการออกไปบุกตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นปราการป้องกันการบุกตีกลับของต่างประเทศที่จะเข้ามาที่ไทย ซึ่งเป็นฐานการลงทุนของเราด้วยเช่นเดียวกัน
เผยไทยขาดวิสัยทัศน์เออีซี
กรณีของการเปิดประเทศภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี เชื่อว่าหลายธุรกิจจะได้รับผลกระทบในทางลบรุนแรง เพราะการเปิดประเทศ มีทั้งคนได้และเสียประโยชน์ เนื่องจากไม่ได้เปิดทางให้ทุนไทยไปบุกต่างประเทศเท่านั้น แต่ตลาดในไทยก็ถูกบุกด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเออีซี คือการเปิดเสรีการแข่งขัน
ดังนั้นหากธุรกิจใดไม่อยู่ภายใต้การแข่งขันเสรี และยังมีการอุดหนุน จะได้รับผลกระทบรุนแรงแน่นอน ถือว่าตอนนี้ไทยยังขาดวิสัยทัศน์ที่จะก้าวเดินไปบนเออีซี เพราะเราไม่มีเป้าหมายว่าจะเปิดประเทศไปเพื่ออะไร และภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญ คือ หลายๆ ธุรกิจ รวมถึงคนของเรายอมรับการแข่งขันเสรีหรือไม่ นายไพรินทร์ กล่าว และว่า ถึงเวลาที่ต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การแข่งขัน ไม่ควรรอจนวันสุดท้ายก่อนเปิดเสรี หากจนวันนั้นมาถึงรับรองว่าประเทศไทยถูกรุมจากประเทศอื่นๆ แน่นอน
ขณะที่ บริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมซึ่งมีพันธกิจหลักในการจัดหาปิโตรเลียมเพื่อสนองความต้องการใช้พลังงานทั้งภายในประเทศ และประเทศที่ไปลงทุน รวมทั้งสามารถนำเป็นรายได้กลับคืนสู่ประเทศ ปตท.สผ. ถือเป็น 1 ใน 10 บริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าทุนตามตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันประกอบธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากกว่า 40 โครงการ
ล่าสุด ปตท.สผ. แจ้งความประสงค์เข้าซื้อหุ้น บริษัท Cove Energy Plc. ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศอังกฤษ มูลค่า 1,119.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง เพื่อเป็นการขยายฐานการลงทุนของ ปตท.สผ. และเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย
ปตท.สผ.วางเป้าลงทุนต่างประเทศ
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า เป้าหมายหลักในการลงทุนต่างประเทศเพื่อหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เพื่อให้ได้กำลังการผลิตปิโตรเลียมในมือเป็น 900,000 บาร์เรลต่อวันภายในปี 2563 จากปัจจุบันมีกำลังผลิตกว่า 300,000 บาร์เรลต่อวัน
กำลังผลิต 900,000 บาร์เรลต่อวันนั้น ปตท.สผ.วางแผนไว้ว่า 1 ใน 3 จะมาจากการขยายแหล่งที่มีการพัฒนาอยู่แล้วในปัจจุบัน และ 1 ใน 3 มาจากการซื้อและควบรวมกิจการ (M& A) และอีก 1 ใน 3 มาจากการเข้าไปยื่นขอสัมปทานในแหล่งต่างๆ
การเพิ่มกำลังผลิตเป็น 3 เท่าตัวเป็นสิ่งท้าทายมากแต่ก็มีโอกาสที่จะเดินไปสู่เป้าหมายได้ ทั้งนี้ได้วางยุทธศาสตร์หลัก คือ การหาพันธมิตรร่วมลงทุน เนื่องจากธุรกิจสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมมีความเสี่ยงและต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก นอกจากนี้ แต่ละบริษัทที่อยู่ในธุรกิจนี้มักจะมีความชำนาญและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการหาพันธมิตรร่วมลงทุนจึงเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุด และทำให้เราเดินไปสู่เป้าหมายได้
จับมือพันธมิตรขึ้นกับความเหมาะสม
นายอนนต์ กล่าวว่า การจับมือเป็นพันธมิตรไปร่วมลงทุนกับบริษัทใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ที่จะเข้าไปพัฒนา โดยจะไม่ยึดติดว่าจะต้องจับมือกับพันธมิตรรายใดรายหนึ่งเสมอไป
ยกตัวอย่างกรณีของสแตทออยล์ ที่มีเทคโนโลยี และประสบการณ์ในการพัฒนาปิโตรเลียมในเขตน้ำลึก หรือในพื้นที่มีข้อจำกัดในการสำรวจก็จะจับมือเป็นพันธมิตรกันตั้งแต่ต้นในการเข้าไปพัฒนาในแหล่ง ออยล์ แซนด์ KKD ที่แคนาดา เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จับมือกับกลุ่มเชฟรอน ในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่แอฟริกา ส่วนกลุ่มโททาล บริษัทก็เป็นพันธมิตรร่วมทุนกันในแหล่งปิโตรเลียมที่อินโดนีเซีย เป็นต้น
ทุ่ม 3.6 แสนล้านลงทุนใน 5 ปี
ทั้งนี้ปัจจุบัน ปตท.สผ. พัฒนาปิโตรเลียมอยู่ 41 โครงการ ใน 13 ประเทศ มีปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว ณ เดือน ธ.ค. 2554 อยู่ที่ 969 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งจำนวนนี้อยู่ในไทย 56% และต่างประเทศ 44% และเป็นก๊าซธรรมชาติ 72% และน้ำมัน 28%
โดยในแผน 5 ปีข้างหน้านี้ (2555-2559) ปตท.สผ.จะใช้เงินลงทุน 360,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในไทย สัดส่วน 54% เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 22% อเมริกาเหนือ 15% ออสเตรเลีย 5% และตะวันออกกลางและแอฟริกา 4%
--จบ--
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, March 08, 2012
มั่นใจธุรกิจสองบริษัทไปได้ไกลเร็วกว่าต่างคนต่างไป
ปตท.ปรับกลยุทธ์เลิกมองคู่แข่ง หันจับมือ “ปิโตรนาส” มาเลเซีย รุกลงทุนต่างประเทศทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ หวังแบ่งปันความเสี่ยง และเงินลงทุน มั่นใจสองบริษัทไปได้ไกลเร็วกว่าต่างคนต่างไป เบียดคู่แข่งยักษ์พลังงานระดับโลก ยึดอาเซียนถือเป็นฐานลงทุนหลัก พร้อมวางแผนลงทุน 5 ปีกลุ่มปตท.มูลค่า 9 แสนล้านบาท ขณะที่ ปตท.สผ.เน้นจับมือพันธมิตรลงทุนต่างประเทศ
"กรุงเทพธุรกิจ" สำรวจการลงทุนต่างประเทศกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ของภาคธุรกิจไทย ที่หลายๆ บริษัทต่างมองหาประเทศ ที่มีศักยภาพที่จะขยายการลงทุน นอกจากสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรแล้ว ยังเป็นการเสริมความมั่นคงและความต้องการให้กับประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจพลังงาน ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากปริมาณทรัพยากรภายในประเทศเริ่มมีข้อจำกัดมากขึ้น
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ กรุงเทพธุรกิจ ถึงแนวทางการลงทุนต่างประเทศ ว่า ปัจจุบัน ปตท.มีการลงทุนอยู่กว่า 14 ประเทศทั่วโลก โดยมีฐานการลงทุนที่สำคัญ ประกอบด้วย อาเซียน รวมถึงบังกลาเทศ ออสเตรเลีย และในภูมิภาคอเมริกาเหนือ
สำหรับในอาเซียนถือเป็นฐานการลงทุนหลัก ที่ ปตท.วางเป้าหมายที่จะเข้าไปลงทุนตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่ผ่านมาได้ออกไปดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งมีทั้งธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ทั้งในประเทศลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ พม่า ขณะเดียวกัน มีการผลิตปิโตรเลียมในหลายประเทศ อาทิ พม่า และมาเลเซีย
กลยุทธ์ในการบุกของเราไม่ได้มองว่าทุกบริษัทเป็นคู่แข่งทั้งหมด แต่มองว่าจะร่วมมือกันอย่างไรระหว่างชาติสมาชิกด้วย นายไพรินทร์ กล่าว
จับมือปิโตรนาสสู้ยักษ์ใหญ่
เขากล่าวถึงเหตุผลที่ต้องหาพันธมิตรว่า เพราะการออกไปบุกต่างประเทศคนเดียว อาจสู้กับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ได้ยาก ดังนั้น ปตท.จึงพยายามมองหาพันธมิตรที่จะร่วมมือกันในการลงทุนในระยะยาวทั้งธุรกิจต้นน้ำ และปลายน้ำ จึงได้จับมือกับบริษัทปิโตรนาส ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติเหมือนกัน และมีขนาดใกล้เคียงกัน ปัจจุบันปิโตรนาสได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์จูนให้เป็น 1 ใน 500 บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่ ปตท.อยู่ในอันดับ 128 โดยปิโตรนาสมีการลงทุนกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
จากที่ได้มีโอกาสพบปะกันระหว่างบริษัทน้ำมันแห่งชาติ เห็นว่า ปตท.กับปิโตรนาส มีโอกาสที่จับมือเป็นพันธมิตรการลงทุนมากที่สุด เพราะเคยร่วมมือกันมาก่อนในการเป็นหุ้นส่วนแหล่งน้ำมันเยดานา และเยตากุน ในประเทศพม่า ขณะที่บริษัทน้ำมันแห่งชาติอื่นๆ เช่น บริษัทพลังงานแห่งชาติ ของอินโดนีเซีย อย่างเปอร์ตามินา แม้จะมีศักยภาพแต่รัฐบาลไม่ได้ปล่อยให้ เปอร์ตามินาได้แสดงบทบาทอย่างเต็มที่ ในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ขณะที่ปิโตรนาส รัฐบาลมาเลเซียสนับสนุนให้เป็นเจ้าของแหล่งพลังงาน และเป็นกลไกของรัฐในหลายเรื่อง ล่าสุดบริษัทปิโตรนาส ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ดังนั้นวิสัยทัศน์ และบทบาทของปิโตรนาสจะคล้ายกับเรามากที่สุด นายไพรินทร์ กล่าว
เน้นร่วมมือจัดหาพลังงานทั่วโลก
สำหรับความร่วมมือกับปิโตรนาสนั้น นายไพรินทร์บอกว่าเป็นลักษณะการร่วมมือกันจัดหาพลังงานทั่วโลก เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนมากและมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นการร่วมมือกันแบ่งปันความเสี่ยง และเงินลงทุนน่าจะทำให้ภาพรวมของทั้งสองบริษัทไปได้ไกลและเร็วมากกว่าที่จะไปแบบต่างคนต่างไป
หลายประเทศเราเข้าไปบุกได้ เพราะไปก่อนคนอื่น ถือเป็นความโชคดี อาทิเช่นพม่า แต่ในภาพรวมแล้ว ปตท.ยังเล็กมาก เมื่อเทียบกับ จีน อินเดีย รัสเซีย บราซิล ยุโรปตะวันตก ดังนั้นความร่วมมือกับปิโตรนาส จะทำให้เราได้เปรียบขึ้น นายไพรินทร์ กล่าว
ในการร่วมมือกันนั้น จะเป็นลักษณะต่างคนต่างออกไปบุกตามช่องทางของตัวเอง หากเห็นว่าควรร่วมมือกันเพื่อหาความได้เปรียบ ก็จะมาคุยที่จะเป็นหุ้นส่วนกันเป็นรายโครงการ
กลุ่มปตท.5ปีใช้เงินลงทุน9แสนล้าน
สำหรับแผนการลงทุน 5 ปีของทั้งกลุ่ม ปตท. ระหว่างปี 2555-2559 มีมูลค่ารวมประมาณ 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็นลงทุนโดยบริษัท ปตท. มูลค่า 3.57 แสนล้านบาท บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. วงเงิน 3.6 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นบริษัทในกลุ่มปิโตรเคมีและโรงกลั่นวงเงิน 2 แสนล้านบาท
โครงการลงทุนหลักของบริษัท ปตท.นั้น สัดส่วน 45% ของเงินลงทุน จะเป็นการลงทุนในธุรกิจถ่านหิน ปาล์มน้ำมัน ทุ่นผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวนอกฝั่ง (เอฟแอลเอ็นจี) และไฟฟ้า เป็นต้น และสัดส่วน 38% เป็นการขยายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยาย สถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) สัดส่วน 14% ลงทุนคลังน้ำมัน คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลเอ็นจี) และสถานีบริการน้ำมัน
นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า ภายใต้การเปิดเสรีทั้งในระดับโลกและอาเซียนนั้น ศักยภาพการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญมาก ในการออกไปบุกตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นปราการป้องกันการบุกตีกลับของต่างประเทศที่จะเข้ามาที่ไทย ซึ่งเป็นฐานการลงทุนของเราด้วยเช่นเดียวกัน
เผยไทยขาดวิสัยทัศน์เออีซี
กรณีของการเปิดประเทศภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี เชื่อว่าหลายธุรกิจจะได้รับผลกระทบในทางลบรุนแรง เพราะการเปิดประเทศ มีทั้งคนได้และเสียประโยชน์ เนื่องจากไม่ได้เปิดทางให้ทุนไทยไปบุกต่างประเทศเท่านั้น แต่ตลาดในไทยก็ถูกบุกด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเออีซี คือการเปิดเสรีการแข่งขัน
ดังนั้นหากธุรกิจใดไม่อยู่ภายใต้การแข่งขันเสรี และยังมีการอุดหนุน จะได้รับผลกระทบรุนแรงแน่นอน ถือว่าตอนนี้ไทยยังขาดวิสัยทัศน์ที่จะก้าวเดินไปบนเออีซี เพราะเราไม่มีเป้าหมายว่าจะเปิดประเทศไปเพื่ออะไร และภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญ คือ หลายๆ ธุรกิจ รวมถึงคนของเรายอมรับการแข่งขันเสรีหรือไม่ นายไพรินทร์ กล่าว และว่า ถึงเวลาที่ต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การแข่งขัน ไม่ควรรอจนวันสุดท้ายก่อนเปิดเสรี หากจนวันนั้นมาถึงรับรองว่าประเทศไทยถูกรุมจากประเทศอื่นๆ แน่นอน
ขณะที่ บริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมซึ่งมีพันธกิจหลักในการจัดหาปิโตรเลียมเพื่อสนองความต้องการใช้พลังงานทั้งภายในประเทศ และประเทศที่ไปลงทุน รวมทั้งสามารถนำเป็นรายได้กลับคืนสู่ประเทศ ปตท.สผ. ถือเป็น 1 ใน 10 บริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าทุนตามตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันประกอบธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากกว่า 40 โครงการ
ล่าสุด ปตท.สผ. แจ้งความประสงค์เข้าซื้อหุ้น บริษัท Cove Energy Plc. ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศอังกฤษ มูลค่า 1,119.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง เพื่อเป็นการขยายฐานการลงทุนของ ปตท.สผ. และเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย
ปตท.สผ.วางเป้าลงทุนต่างประเทศ
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า เป้าหมายหลักในการลงทุนต่างประเทศเพื่อหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เพื่อให้ได้กำลังการผลิตปิโตรเลียมในมือเป็น 900,000 บาร์เรลต่อวันภายในปี 2563 จากปัจจุบันมีกำลังผลิตกว่า 300,000 บาร์เรลต่อวัน
กำลังผลิต 900,000 บาร์เรลต่อวันนั้น ปตท.สผ.วางแผนไว้ว่า 1 ใน 3 จะมาจากการขยายแหล่งที่มีการพัฒนาอยู่แล้วในปัจจุบัน และ 1 ใน 3 มาจากการซื้อและควบรวมกิจการ (M& A) และอีก 1 ใน 3 มาจากการเข้าไปยื่นขอสัมปทานในแหล่งต่างๆ
การเพิ่มกำลังผลิตเป็น 3 เท่าตัวเป็นสิ่งท้าทายมากแต่ก็มีโอกาสที่จะเดินไปสู่เป้าหมายได้ ทั้งนี้ได้วางยุทธศาสตร์หลัก คือ การหาพันธมิตรร่วมลงทุน เนื่องจากธุรกิจสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมมีความเสี่ยงและต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก นอกจากนี้ แต่ละบริษัทที่อยู่ในธุรกิจนี้มักจะมีความชำนาญและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการหาพันธมิตรร่วมลงทุนจึงเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุด และทำให้เราเดินไปสู่เป้าหมายได้
จับมือพันธมิตรขึ้นกับความเหมาะสม
นายอนนต์ กล่าวว่า การจับมือเป็นพันธมิตรไปร่วมลงทุนกับบริษัทใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ที่จะเข้าไปพัฒนา โดยจะไม่ยึดติดว่าจะต้องจับมือกับพันธมิตรรายใดรายหนึ่งเสมอไป
ยกตัวอย่างกรณีของสแตทออยล์ ที่มีเทคโนโลยี และประสบการณ์ในการพัฒนาปิโตรเลียมในเขตน้ำลึก หรือในพื้นที่มีข้อจำกัดในการสำรวจก็จะจับมือเป็นพันธมิตรกันตั้งแต่ต้นในการเข้าไปพัฒนาในแหล่ง ออยล์ แซนด์ KKD ที่แคนาดา เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จับมือกับกลุ่มเชฟรอน ในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่แอฟริกา ส่วนกลุ่มโททาล บริษัทก็เป็นพันธมิตรร่วมทุนกันในแหล่งปิโตรเลียมที่อินโดนีเซีย เป็นต้น
ทุ่ม 3.6 แสนล้านลงทุนใน 5 ปี
ทั้งนี้ปัจจุบัน ปตท.สผ. พัฒนาปิโตรเลียมอยู่ 41 โครงการ ใน 13 ประเทศ มีปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว ณ เดือน ธ.ค. 2554 อยู่ที่ 969 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งจำนวนนี้อยู่ในไทย 56% และต่างประเทศ 44% และเป็นก๊าซธรรมชาติ 72% และน้ำมัน 28%
โดยในแผน 5 ปีข้างหน้านี้ (2555-2559) ปตท.สผ.จะใช้เงินลงทุน 360,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในไทย สัดส่วน 54% เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 22% อเมริกาเหนือ 15% ออสเตรเลีย 5% และตะวันออกกลางและแอฟริกา 4%
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 118
วาง3ขั้นรับวิกฤติอิหร่าน พลังงานสั่งเพิ่มสำรองน้ำมัน 64 วัน - หวั่นความขัดแย้งบานปลาย
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Friday, March 09, 2012
ปตท.เตรียมหาแหล่งซื้อเพิ่ม-จุดจอดเรือขน 2 ลำรับเหตุฉุกเฉิน
พลังงานถกผู้ค้าน้ำมัน ออกมาตรการ 3 ขั้น รับสถานการณ์ อิหร่าน วิกฤติ หวั่นขาดแคลนหนักหากความขัดแย้งบานปลาย สั่งสำรองน้ำมันเพิ่มจาก 55 วันเป็น 64 วัน ขณะ ปตท.เตรียมหาแหล่งน้ำมันเพิ่ม-ใช้เรือสำรองกลางทะเล-ปรับสัญญาซื้อน้ำมันระยะยาวเพิ่มขึ้น อารักษ์ เตรียมงัดมาตรการประหยัด ห้ามขับรถเร็ว-กำหนดทะเบียนวิ่งวันคี่วันคู่ ด้าน กบง.ขอกู้เพิ่ม 2 หมื่นล้านอุดหนุนพลังงาน หลังฐานะกองทุนน้ำมันติดลบกว่า 2 หมื่นล้าน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการหารือกับกระทรวงพลังงานและผู้ค้าน้ำมัน เพื่อวางมาตรการรับมือกับสถานการณ์รุนแรงในอิหร่าน วานนี้ (8 มี.ค.) ว่า โรงกลั่นน้ำมันทุกแห่งได้ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการสต็อกน้ำมันจากปกติที่มีปริมาณสำรองอยู่ที่ 55 วัน เพิ่มขึ้นเป็น 64 วัน
เขากล่าวว่า มาตรการรับสถานการณ์ดังกล่าวมี 3 ขั้น โดยขั้นแรก คือ 1. สำรองน้ำมันดิบทางธุรกิจ 18 วัน แต่ในจำนวนนี้นำมาใช้ได้ทันทีเพียง 12 วัน ที่เหลือต้องใช้เวลาแปรสภาพให้กลับมากลั่นได้ 2. สำรองน้ำมันสำเร็จรูป 19 วัน 3. ปริมาณสำรองน้ำมันเพื่อเตรียมการกลั่นอีก 11 วัน 4. ปริมาณน้ำมันที่ได้สั่งซื้อแล้วและอยู่ระหว่างการขนส่งทางเรืออีก 8.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งสามารถใช้ได้ 13 วัน รวมทั้งสิ้นมีสำรองน้ำมันสามารถใช้ได้ 55 วัน
หากสถานการณ์อิหร่านน่าเป็นห่วง กลุ่มโรงกลั่นจะดำเนินการในขั้นที่ 2 เพิ่มเติมอีก คือ 1. จะเพิ่มปริมาณน้ำมันเพื่อเตรียมการกลั่นอีก 2 วัน รวม 1.4 ล้านบาร์เรล และ 2. ชะลอการซ่อมแซมถังเก็บน้ำมันตามระยะเวลาที่กำหนดออกไปก่อน ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บน้ำมันได้เพิ่มอีก 7 วัน ซึ่งรวมแล้วไทยจะมีน้ำมันใช้ได้ตามปกติ 64 วัน คิดเป็นระยะเวลารวม 2 เดือน นายสุรงค์กล่าว
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการด้านอื่นๆ เพิ่มเติม โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เตรียมหาน้ำมันจากแหล่งอื่น เช่น รัสเซีย แอฟริกา ออสเตรเลีย เพื่อลดความเสี่ยง รวมทั้งจัดหาน้ำมันจาก AL FUJAIRAH ซึ่งเป็นท่อส่งน้ำมันเส้นใหม่ ที่ส่งน้ำมันจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยไม่ต้องผ่านช่องแคบฮอร์มุส ซึ่งท่อเส้นนี้จะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้ และมีกำลังส่งน้ำมันรวม 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เขากล่าวอีกว่า ในขั้นที่ 3 กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งนอกจากจัดหาน้ำมันจากแหล่งอื่นๆ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่สามารถจัดซื้อเพิ่มเพราะไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศผู้ค้าน้ำมัน ยังเตรียมสำรองในเรือขนส่งน้ำมันของ ปตท.ที่มีอยู่ 2 ลำ ซึ่งสามารถเก็บน้ำมันได้ลำละ 2 ล้านบาร์เรล ทำให้มีปริมาณสำรองเพิ่มขึ้นอีก 6 วัน
ปตท.ยังมีพันธมิตรกองเรือที่สามารถหาเรือเพิ่มได้อีก โดยขณะนี้กำลังสำรวจจุดทอดสมอที่เหมาะสม เพื่อนำเรือมาลอยลำ ส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะหารือกับกระทรวงพลังงานอีกครั้ง นายสุรงค์กล่าว
ปตท.เดินหน้าขั้น 2 สต็อกน้ำมัน
ด้านนางศรีวรรณ เอี่ยมรุ่งโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ แผนกลยุทธ์และบริหารการลงทุน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตอนนี้ทุกฝ่ายทั้งกระทรวงพลังงาน และผู้ค้าน้ำมันได้วาง 3 ขั้นตอนการป้องกันและแก้ไขปัญหาหากเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันจากกรณีความไม่สงบในอิหร่าน โดยขั้นตอนที่ 1 และ 2 ได้ดำเนินการแล้วในส่วนของการบริหารจัดการสต็อกน้ำมันที่สามารถเพิ่มปริมาณสำรองได้ขั้นต่ำ 64 วัน
ส่วนขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นกรณีเกิดวิกฤตการณ์ที่รุนแรง ทางกระทรวงพลังงานจะเป็นผู้ให้สัญญาณ โดยขั้นตอนนี้ส่วนของโรงกลั่นน้ำมันจะปรับสัดส่วนการจัดหาน้ำมันดิบจากเดิม สัดส่วนการจัดหาตามสัญญาระยะยาวกับจัดหาจากตลาดจร 50/50 เป็นสัดส่วน 75/25 เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน และการหาเรือสำหรับลอยลำเพื่อเก็บสำรองน้ำมันอีก
การดำเนินการตามมาตรการต่างๆ สามารถสำรองน้ำมันได้รวมแล้วถึง 120 วัน นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงการผ่อนผันกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์รุนแรง โดยเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล เพื่อลดการใช้น้ำมัน
อารักษ์ เตรียมงัดมาตรการประหยัด
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างหามาตรการประหยัดพลังงานมาใช้ ซึ่งมีทั้งที่สามารถทำได้ทันทีและที่ต้องอาศัยกฎหมายใหม่ อาทิ การขับรถไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถทำได้ทันที แต่ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจทางหลวง เพื่อให้เข้มงวดกวดขันในการตรวจจับมากขึ้น และหากเกิดวิกฤตการณ์รุนแรงขึ้นอีก ก็อาจต้องนำมาตรการทะเบียนรถวันคู่วันคี่ออกมาใช้ ซึ่งการประหยัดต่างๆ เหล่านี้จะช่วยยืดเวลาการใช้น้ำมันสำรองได้อีก
นอกจากนี้อาจต้องมีมาตรการห้ามส่งออกน้ำมัน และยกเลิกมาตรฐานน้ำมันชั่วคราว รวมทั้งการเพิ่มสัดส่วนเอทานอล หรือ ไบโอดีเซลได้มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด
ด้าน นายสุรงค์ กล่าวถึง ทิศทางราคาน้ำมันในขณะนี้ ว่า ไทยออยล์ได้รับฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยในปีนี้เป็น 109 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้วจากเดิม 106 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และคาดว่าจะต้องปรับฐานใหม่อีกครั้ง เป็น 110-120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้การปรับฐานดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์อิหร่านยังไม่คลี่คลายในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้เศรษฐกิจสหรัฐยังกลับมาฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่งผลให้มีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันขยับขึ้น ไม่มั่นใจสถานการณ์
สำหรับการเคลื่อนไหวราคาน้ำมันวานนี้ (8 มี.ค.) อยู่เหนือระดับ 106 ดอลลาร์บาร์เรลในเอเชีย จากการที่นักลงทุนยังไม่มั่นใจว่าความตึงเครียดระหว่างโลกตะวันตก กับอิหร่าน ในเรื่องโครงการอาวุธนิวเคลียร์ว่าจะผ่อนคลายลงในเร็ววัน
นับตั้งแต่เดือนที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนใกล้แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน เพราะความวิตกว่าข้อขัดแย้งทางทหาร ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในอิหร่าน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดหาน้ำมันโลก หลังสหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศคว่ำบาตรอิหร่าน ขณะที่อิหร่านขู่ที่จะระงับการขนส่งน้ำมันในเส้นทางที่ต้องผ่านอ่าวเปอร์เซียทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณที่ดีขึ้น เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา อิหร่านยื่นข้อเสนอและจะเปิดทางให้ผู้ตรวจสอบนิวเคลียร์สากล เข้ามายังพื้นที่ก่อสร้างโรงงานนิวเคลียร์ แต่นางอัมริตา เซน นักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์ส แคปิตัล ระบุว่า มองไม่เห็นความเป็นไปได้ที่การเจรจารอบล่าสุดของ 2 ฝ่าย จะช่วยฟื้นสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับโลกตะวันตก
ชี้ระยะสั้นน้ำมันไม่ถึง 150 ดอลลาร์
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการพลังงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาน้ำมัน ว่า คาดว่าราคาน้ำมันในระยะสั้นนี้จะไม่ขึ้นไปถึง 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ราคาสูงสุดน่าจะอยู่ในระดับ 125 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้เนื่องจากกรณีอิหร่านยังมีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง จึงยังไม่มีแนวโน้มที่จะไปสู่ความรุนแรง และวิกฤตการณ์ถึงขั้นปิดช่องแคบฮอร์มุส ทำให้ราคาน้ำมันในขณะนี้ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 118-119 ดอลลาร์ นอกจากนี้เศรษฐกิจในยุโรปยังไม่ได้ดีขึ้นมากนัก ส่วนสถานการณ์ในระยะยาวจะเป็นอย่างไรนั้น ในขณะนี้ยังประเมินได้ยาก
หนุนรัฐวางแผนรับเหตุฉุกเฉิน
สำหรับกรณีที่กระทรวงพลังงานวางมาตรการรับมือกับเหตุการณ์วิกฤตินั้น ถือเป็นเรื่องดีที่ต้องเตรียมแผนฉุกเฉินไว้ล่วงหน้า
อย่างไรก็ตามแนวทางที่ภาครัฐจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ คือ การดำเนินโครงการและปฏิบัติการประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยไม่ควรรอให้ราคาน้ำมันสูง หรือเกิดวิกฤตการณ์ก่อน จึงจะหามาตรการหรือมารณรงค์
โดยปัจจุบันไทยมีแผนอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีรายละเอียดของโครงการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การประหยัดพลังงานอยู่แล้ว แต่ข้อสำคัญ คือควรดำเนินการอย่างจริงจังตามแผน และทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
ส่วนภาคประชาชนนั้น เชื่อว่าหากปล่อยให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ไม่อุดหนุนอย่างทุกวันนี้ ประชาชนจะลงมือประหยัดพลังงานด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีโครงการมารณรงค์ใดๆ แต่ทุกวันนี้รัฐบาลไปทำให้ราคาพลังงานถูกเกินจริง
--จบ--
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Friday, March 09, 2012
ปตท.เตรียมหาแหล่งซื้อเพิ่ม-จุดจอดเรือขน 2 ลำรับเหตุฉุกเฉิน
พลังงานถกผู้ค้าน้ำมัน ออกมาตรการ 3 ขั้น รับสถานการณ์ อิหร่าน วิกฤติ หวั่นขาดแคลนหนักหากความขัดแย้งบานปลาย สั่งสำรองน้ำมันเพิ่มจาก 55 วันเป็น 64 วัน ขณะ ปตท.เตรียมหาแหล่งน้ำมันเพิ่ม-ใช้เรือสำรองกลางทะเล-ปรับสัญญาซื้อน้ำมันระยะยาวเพิ่มขึ้น อารักษ์ เตรียมงัดมาตรการประหยัด ห้ามขับรถเร็ว-กำหนดทะเบียนวิ่งวันคี่วันคู่ ด้าน กบง.ขอกู้เพิ่ม 2 หมื่นล้านอุดหนุนพลังงาน หลังฐานะกองทุนน้ำมันติดลบกว่า 2 หมื่นล้าน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการหารือกับกระทรวงพลังงานและผู้ค้าน้ำมัน เพื่อวางมาตรการรับมือกับสถานการณ์รุนแรงในอิหร่าน วานนี้ (8 มี.ค.) ว่า โรงกลั่นน้ำมันทุกแห่งได้ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการสต็อกน้ำมันจากปกติที่มีปริมาณสำรองอยู่ที่ 55 วัน เพิ่มขึ้นเป็น 64 วัน
เขากล่าวว่า มาตรการรับสถานการณ์ดังกล่าวมี 3 ขั้น โดยขั้นแรก คือ 1. สำรองน้ำมันดิบทางธุรกิจ 18 วัน แต่ในจำนวนนี้นำมาใช้ได้ทันทีเพียง 12 วัน ที่เหลือต้องใช้เวลาแปรสภาพให้กลับมากลั่นได้ 2. สำรองน้ำมันสำเร็จรูป 19 วัน 3. ปริมาณสำรองน้ำมันเพื่อเตรียมการกลั่นอีก 11 วัน 4. ปริมาณน้ำมันที่ได้สั่งซื้อแล้วและอยู่ระหว่างการขนส่งทางเรืออีก 8.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งสามารถใช้ได้ 13 วัน รวมทั้งสิ้นมีสำรองน้ำมันสามารถใช้ได้ 55 วัน
หากสถานการณ์อิหร่านน่าเป็นห่วง กลุ่มโรงกลั่นจะดำเนินการในขั้นที่ 2 เพิ่มเติมอีก คือ 1. จะเพิ่มปริมาณน้ำมันเพื่อเตรียมการกลั่นอีก 2 วัน รวม 1.4 ล้านบาร์เรล และ 2. ชะลอการซ่อมแซมถังเก็บน้ำมันตามระยะเวลาที่กำหนดออกไปก่อน ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บน้ำมันได้เพิ่มอีก 7 วัน ซึ่งรวมแล้วไทยจะมีน้ำมันใช้ได้ตามปกติ 64 วัน คิดเป็นระยะเวลารวม 2 เดือน นายสุรงค์กล่าว
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการด้านอื่นๆ เพิ่มเติม โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เตรียมหาน้ำมันจากแหล่งอื่น เช่น รัสเซีย แอฟริกา ออสเตรเลีย เพื่อลดความเสี่ยง รวมทั้งจัดหาน้ำมันจาก AL FUJAIRAH ซึ่งเป็นท่อส่งน้ำมันเส้นใหม่ ที่ส่งน้ำมันจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยไม่ต้องผ่านช่องแคบฮอร์มุส ซึ่งท่อเส้นนี้จะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้ และมีกำลังส่งน้ำมันรวม 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
เขากล่าวอีกว่า ในขั้นที่ 3 กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่งนอกจากจัดหาน้ำมันจากแหล่งอื่นๆ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่สามารถจัดซื้อเพิ่มเพราะไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศผู้ค้าน้ำมัน ยังเตรียมสำรองในเรือขนส่งน้ำมันของ ปตท.ที่มีอยู่ 2 ลำ ซึ่งสามารถเก็บน้ำมันได้ลำละ 2 ล้านบาร์เรล ทำให้มีปริมาณสำรองเพิ่มขึ้นอีก 6 วัน
ปตท.ยังมีพันธมิตรกองเรือที่สามารถหาเรือเพิ่มได้อีก โดยขณะนี้กำลังสำรวจจุดทอดสมอที่เหมาะสม เพื่อนำเรือมาลอยลำ ส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะหารือกับกระทรวงพลังงานอีกครั้ง นายสุรงค์กล่าว
ปตท.เดินหน้าขั้น 2 สต็อกน้ำมัน
ด้านนางศรีวรรณ เอี่ยมรุ่งโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ แผนกลยุทธ์และบริหารการลงทุน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตอนนี้ทุกฝ่ายทั้งกระทรวงพลังงาน และผู้ค้าน้ำมันได้วาง 3 ขั้นตอนการป้องกันและแก้ไขปัญหาหากเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันจากกรณีความไม่สงบในอิหร่าน โดยขั้นตอนที่ 1 และ 2 ได้ดำเนินการแล้วในส่วนของการบริหารจัดการสต็อกน้ำมันที่สามารถเพิ่มปริมาณสำรองได้ขั้นต่ำ 64 วัน
ส่วนขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นกรณีเกิดวิกฤตการณ์ที่รุนแรง ทางกระทรวงพลังงานจะเป็นผู้ให้สัญญาณ โดยขั้นตอนนี้ส่วนของโรงกลั่นน้ำมันจะปรับสัดส่วนการจัดหาน้ำมันดิบจากเดิม สัดส่วนการจัดหาตามสัญญาระยะยาวกับจัดหาจากตลาดจร 50/50 เป็นสัดส่วน 75/25 เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน และการหาเรือสำหรับลอยลำเพื่อเก็บสำรองน้ำมันอีก
การดำเนินการตามมาตรการต่างๆ สามารถสำรองน้ำมันได้รวมแล้วถึง 120 วัน นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงการผ่อนผันกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์รุนแรง โดยเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล เพื่อลดการใช้น้ำมัน
อารักษ์ เตรียมงัดมาตรการประหยัด
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างหามาตรการประหยัดพลังงานมาใช้ ซึ่งมีทั้งที่สามารถทำได้ทันทีและที่ต้องอาศัยกฎหมายใหม่ อาทิ การขับรถไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถทำได้ทันที แต่ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจทางหลวง เพื่อให้เข้มงวดกวดขันในการตรวจจับมากขึ้น และหากเกิดวิกฤตการณ์รุนแรงขึ้นอีก ก็อาจต้องนำมาตรการทะเบียนรถวันคู่วันคี่ออกมาใช้ ซึ่งการประหยัดต่างๆ เหล่านี้จะช่วยยืดเวลาการใช้น้ำมันสำรองได้อีก
นอกจากนี้อาจต้องมีมาตรการห้ามส่งออกน้ำมัน และยกเลิกมาตรฐานน้ำมันชั่วคราว รวมทั้งการเพิ่มสัดส่วนเอทานอล หรือ ไบโอดีเซลได้มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด
ด้าน นายสุรงค์ กล่าวถึง ทิศทางราคาน้ำมันในขณะนี้ ว่า ไทยออยล์ได้รับฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยในปีนี้เป็น 109 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้วจากเดิม 106 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และคาดว่าจะต้องปรับฐานใหม่อีกครั้ง เป็น 110-120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้การปรับฐานดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์อิหร่านยังไม่คลี่คลายในเร็วๆ นี้ นอกจากนี้เศรษฐกิจสหรัฐยังกลับมาฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่งผลให้มีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันขยับขึ้น ไม่มั่นใจสถานการณ์
สำหรับการเคลื่อนไหวราคาน้ำมันวานนี้ (8 มี.ค.) อยู่เหนือระดับ 106 ดอลลาร์บาร์เรลในเอเชีย จากการที่นักลงทุนยังไม่มั่นใจว่าความตึงเครียดระหว่างโลกตะวันตก กับอิหร่าน ในเรื่องโครงการอาวุธนิวเคลียร์ว่าจะผ่อนคลายลงในเร็ววัน
นับตั้งแต่เดือนที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนใกล้แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน เพราะความวิตกว่าข้อขัดแย้งทางทหาร ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในอิหร่าน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดหาน้ำมันโลก หลังสหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศคว่ำบาตรอิหร่าน ขณะที่อิหร่านขู่ที่จะระงับการขนส่งน้ำมันในเส้นทางที่ต้องผ่านอ่าวเปอร์เซียทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณที่ดีขึ้น เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา อิหร่านยื่นข้อเสนอและจะเปิดทางให้ผู้ตรวจสอบนิวเคลียร์สากล เข้ามายังพื้นที่ก่อสร้างโรงงานนิวเคลียร์ แต่นางอัมริตา เซน นักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์ส แคปิตัล ระบุว่า มองไม่เห็นความเป็นไปได้ที่การเจรจารอบล่าสุดของ 2 ฝ่าย จะช่วยฟื้นสัมพันธ์ระหว่างอิหร่านกับโลกตะวันตก
ชี้ระยะสั้นน้ำมันไม่ถึง 150 ดอลลาร์
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการพลังงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาน้ำมัน ว่า คาดว่าราคาน้ำมันในระยะสั้นนี้จะไม่ขึ้นไปถึง 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ราคาสูงสุดน่าจะอยู่ในระดับ 125 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ทั้งนี้เนื่องจากกรณีอิหร่านยังมีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง จึงยังไม่มีแนวโน้มที่จะไปสู่ความรุนแรง และวิกฤตการณ์ถึงขั้นปิดช่องแคบฮอร์มุส ทำให้ราคาน้ำมันในขณะนี้ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 118-119 ดอลลาร์ นอกจากนี้เศรษฐกิจในยุโรปยังไม่ได้ดีขึ้นมากนัก ส่วนสถานการณ์ในระยะยาวจะเป็นอย่างไรนั้น ในขณะนี้ยังประเมินได้ยาก
หนุนรัฐวางแผนรับเหตุฉุกเฉิน
สำหรับกรณีที่กระทรวงพลังงานวางมาตรการรับมือกับเหตุการณ์วิกฤตินั้น ถือเป็นเรื่องดีที่ต้องเตรียมแผนฉุกเฉินไว้ล่วงหน้า
อย่างไรก็ตามแนวทางที่ภาครัฐจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ คือ การดำเนินโครงการและปฏิบัติการประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยไม่ควรรอให้ราคาน้ำมันสูง หรือเกิดวิกฤตการณ์ก่อน จึงจะหามาตรการหรือมารณรงค์
โดยปัจจุบันไทยมีแผนอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีรายละเอียดของโครงการต่างๆ ที่จะนำไปสู่การประหยัดพลังงานอยู่แล้ว แต่ข้อสำคัญ คือควรดำเนินการอย่างจริงจังตามแผน และทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
ส่วนภาคประชาชนนั้น เชื่อว่าหากปล่อยให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ไม่อุดหนุนอย่างทุกวันนี้ ประชาชนจะลงมือประหยัดพลังงานด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีโครงการมารณรงค์ใดๆ แต่ทุกวันนี้รัฐบาลไปทำให้ราคาพลังงานถูกเกินจริง
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 119
พม่าไฟเขียวโรงไฟฟ้าถ่านหินทวายตั้งแต่ห้ามส่งกระแสไฟฟ้ากลับไทย
Source - ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ (Th), Friday, March 09, 2012
ย่างกุ้ง สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวระดับสูงในบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)ระบุรัฐบาลกรุงเนปิดอเปิดทางให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตอุตสาหกรรมทวายแล้ว โดยตั้งเงื่อนไขห้ามส่งกระแสไฟฟ้ากลับไทย
บลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาลพม่าไม่ได้ห้ามการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตอุตสาหกรรมเมืองทวายแต่อย่างใด เพียงแต่ไม่เห็นด้วยที่จะมีการส่งกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวกลับมาใช้ในประเทศไทยเท่านั้น เนื่องจากการอนุมัติให้สร้างโรงไฟฟ้าในเขตอุตสาหกรรมทวาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าป้อนเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกเมืองทวายเท่านั้น
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า รัฐบาลพม่าได้สั่งระงับการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำมะยิดสอนมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยบริษัทของจีนเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว และต่อมาได้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในเมืองทวายในเดือนมกราคมปีนี้ โดยอ้างเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม
คำสั่งระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในเมืองทวาย ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโครงการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกเมืองทวายมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบริษัทอิตาเลียนไทย ดิเวล๊อปเมนต์ของไทยเป็นผู้ได้รับสัมปทาน เพราะหากไม่มีโรงไฟฟ้า ก็จะไม่มีกระแสไฟฟ้าเพียงพอที่จะป้อนให้แก่เขตอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึก
แหล่งข่าวระดับสูงในปตท.ระบุว่า เบื้องต้นปตท.ได้แสดงความสนใจร่วมลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 4,000 เมกะวัตต์ในเขตอุตสาหกรรมทวาย โดยใช้เชื้อเพลิงอื่นที่ไม่ใช่ถ่านหิน และมีแผนจะส่งกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งกลับมาขายในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวหลายกระแสระบุว่า เหตุผลที่รัฐบาลพม่าสั่งระงับและทบทวนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในทวายเมื่อเดือนมกราคม อาจไม่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับการสั่งระงับและทบทวนโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำมะยิดสอน ซึ่งจะส่งกระแสไฟฟ้ากลับไปใช้ในประเทศจีนเช่นเดียวกัน
กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพม่ากล่าวว่า รัฐบาลพม่ามีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศถึง 7 แห่ง ถ้าจะระงับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ก็น่าจะระงับหมดทั้ง 7 แห่ง การสั่งระงับโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในทวายเพียงแห่งเดียวจึงเป็นเรื่องค่อนข้างแปลก
บริษัทอิตาเลียนไทย ดิเวล๊อปเมนต์ ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลพม่าเป็นผู้พัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือเขตอุตสาหกรรมทวาย เป็นระยะเวลา 75 ปี ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลเมืองทวาย 250 ตารางกิโลเมตร ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว นอกจากจะมีโรงไฟฟ้าแล้ว ยังได้รับการออกแบบให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี และท่าเรือน้ำลึก ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายน้ำมันดิบและสินค้าอื่นๆ จากทะเลอันดามันผ่านประเทศไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียอาคเนย์โดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
ที่มา: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 มี.ค. 2555--
Source - ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ (Th), Friday, March 09, 2012
ย่างกุ้ง สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวระดับสูงในบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)ระบุรัฐบาลกรุงเนปิดอเปิดทางให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตอุตสาหกรรมทวายแล้ว โดยตั้งเงื่อนไขห้ามส่งกระแสไฟฟ้ากลับไทย
บลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาลพม่าไม่ได้ห้ามการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตอุตสาหกรรมเมืองทวายแต่อย่างใด เพียงแต่ไม่เห็นด้วยที่จะมีการส่งกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวกลับมาใช้ในประเทศไทยเท่านั้น เนื่องจากการอนุมัติให้สร้างโรงไฟฟ้าในเขตอุตสาหกรรมทวาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าป้อนเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกเมืองทวายเท่านั้น
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า รัฐบาลพม่าได้สั่งระงับการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำมะยิดสอนมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยบริษัทของจีนเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว และต่อมาได้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในเมืองทวายในเดือนมกราคมปีนี้ โดยอ้างเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม
คำสั่งระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในเมืองทวาย ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโครงการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกเมืองทวายมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบริษัทอิตาเลียนไทย ดิเวล๊อปเมนต์ของไทยเป็นผู้ได้รับสัมปทาน เพราะหากไม่มีโรงไฟฟ้า ก็จะไม่มีกระแสไฟฟ้าเพียงพอที่จะป้อนให้แก่เขตอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึก
แหล่งข่าวระดับสูงในปตท.ระบุว่า เบื้องต้นปตท.ได้แสดงความสนใจร่วมลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 4,000 เมกะวัตต์ในเขตอุตสาหกรรมทวาย โดยใช้เชื้อเพลิงอื่นที่ไม่ใช่ถ่านหิน และมีแผนจะส่งกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งกลับมาขายในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวหลายกระแสระบุว่า เหตุผลที่รัฐบาลพม่าสั่งระงับและทบทวนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในทวายเมื่อเดือนมกราคม อาจไม่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับการสั่งระงับและทบทวนโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำมะยิดสอน ซึ่งจะส่งกระแสไฟฟ้ากลับไปใช้ในประเทศจีนเช่นเดียวกัน
กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพม่ากล่าวว่า รัฐบาลพม่ามีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศถึง 7 แห่ง ถ้าจะระงับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ก็น่าจะระงับหมดทั้ง 7 แห่ง การสั่งระงับโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในทวายเพียงแห่งเดียวจึงเป็นเรื่องค่อนข้างแปลก
บริษัทอิตาเลียนไทย ดิเวล๊อปเมนต์ ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลพม่าเป็นผู้พัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือเขตอุตสาหกรรมทวาย เป็นระยะเวลา 75 ปี ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลเมืองทวาย 250 ตารางกิโลเมตร ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว นอกจากจะมีโรงไฟฟ้าแล้ว ยังได้รับการออกแบบให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี และท่าเรือน้ำลึก ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายน้ำมันดิบและสินค้าอื่นๆ จากทะเลอันดามันผ่านประเทศไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียอาคเนย์โดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
ที่มา: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 มี.ค. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 120
ที่ PTTEP 13061/1076/2012
9 มีนาคม 2555
เรื่อง ผลการเจาะหลุมสำรวจ Rhourde Terfaia-1 (RTF-1) ในโครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เข้าร่วมลงทุนในโครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ซึ่งตั้งอยู่บนบกครอบคลุมพื้นที่ 5,377.97 ตารางกิโลเมตรทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย ในสัดส่วนร้อยละ 24.5 และเป็นผู้ดำเนินการ โดยผู้ร่วมทุนอื่นประกอบด้วย SONATRACH (บริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศแอลจีเรีย) และ CNOOC Limited ในสัดส่วนร้อยละ 51 และร้อยละ 24.5 ตามลำดับนั้น
ปตท.สผ. ขอรายงานผลการเจาะหลุมสำรวจ Rhourde Terfaia-1 (RTF-1) ซึ่งเป็นหลุมสำรวจหลุมแรกของบริษัทฯและผู้ร่วมทุนในแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการขุดเจาะถึงระดับความลึกสุดท้ายที่ 4,129 เมตร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 ได้พบชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม ในชั้นหิน Triassic Argilo-gréseux Inférieur (TAGI) โดยได้ทำการทดสอบอัตราการไหลด้วยเทคนิค Drill Stem Test (DST) ผลการทดสอบพบว่า มีอัตราการไหลของน้ำมันดิบประมาณ 1,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติประมาณ 0.3 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ทั้งนี้ บริษัทฯและผู้ร่วมทุนมีแผนงานจะขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลเพิ่มเติม เพื่อยืนยันศักยภาพทางปิโตรเลียมในแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
อนนต์ สิริแสงทักษิณ
(นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
9 มีนาคม 2555
เรื่อง ผลการเจาะหลุมสำรวจ Rhourde Terfaia-1 (RTF-1) ในโครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เข้าร่วมลงทุนในโครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ซึ่งตั้งอยู่บนบกครอบคลุมพื้นที่ 5,377.97 ตารางกิโลเมตรทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย ในสัดส่วนร้อยละ 24.5 และเป็นผู้ดำเนินการ โดยผู้ร่วมทุนอื่นประกอบด้วย SONATRACH (บริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศแอลจีเรีย) และ CNOOC Limited ในสัดส่วนร้อยละ 51 และร้อยละ 24.5 ตามลำดับนั้น
ปตท.สผ. ขอรายงานผลการเจาะหลุมสำรวจ Rhourde Terfaia-1 (RTF-1) ซึ่งเป็นหลุมสำรวจหลุมแรกของบริษัทฯและผู้ร่วมทุนในแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการขุดเจาะถึงระดับความลึกสุดท้ายที่ 4,129 เมตร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 ได้พบชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม ในชั้นหิน Triassic Argilo-gréseux Inférieur (TAGI) โดยได้ทำการทดสอบอัตราการไหลด้วยเทคนิค Drill Stem Test (DST) ผลการทดสอบพบว่า มีอัตราการไหลของน้ำมันดิบประมาณ 1,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติประมาณ 0.3 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ทั้งนี้ บริษัทฯและผู้ร่วมทุนมีแผนงานจะขุดเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลเพิ่มเติม เพื่อยืนยันศักยภาพทางปิโตรเลียมในแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
อนนต์ สิริแสงทักษิณ
(นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."