อยากให้ลูกเป็นVI
-
- Verified User
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 0
อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 1
อยากปูลู่ทางให้ลูกเป็นVI อยากถามว่าต้องให้เรียนคณะอะไร ใจผมอยากให้ลูกเรียน
คณะเศรษฐศาสตร์ไม่ทราบว่าจะเหมาะสมรึเปล่า?
คณะเศรษฐศาสตร์ไม่ทราบว่าจะเหมาะสมรึเปล่า?
-
- Verified User
- โพสต์: 1024
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 2
เรียนคณะไหนก็เป็น VI หรือ technical ได้ครับ
อยู่ที่ความพึงพอใจและความชอบของลูกละครับ
อยู่ที่ความพึงพอใจและความชอบของลูกละครับ
"เพราะเรียบง่าย จึงชนะ"
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 3
ในความเห็นผม ถ้าจะให้เป็น VI น่าให้เรียนบริหารธุรกิจนะครับ จะช่วยได้ในการวิเคราะห์ตัวธุรกิจ ถ้าเรียนเศรษฐศาสตร์จะออกแนวมหภาค ซึ่ง VI ให้ความสำคัญน้อยกว่า
แต่ถ้าคิดแบบแหวกแนว ผมเห็น VI เก่งๆ จบวิดวะกันหลายคนครับ แล้วค่อยไปต่อโท MBA ทีหลัง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่สำคัญสุดคือ ต้องค่อยๆ ปลูกฝังให้น้องเค้าสนใจในแนวทางนี้ครับ
แต่ถ้าคิดแบบแหวกแนว ผมเห็น VI เก่งๆ จบวิดวะกันหลายคนครับ แล้วค่อยไปต่อโท MBA ทีหลัง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่สำคัญสุดคือ ต้องค่อยๆ ปลูกฝังให้น้องเค้าสนใจในแนวทางนี้ครับ
http://www.ClubVI.com
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 430
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 4
ไม่ต้องให้เรียนอะไรพิเศษหรอกครับ
พ่อแม่นี่ล่ะ สอนเองดีที่สุด
ทำให้เขาสนใจเรื่องเงิน ทำให้เขาสนุกกับการหาเงิน ทำให้เขารู้สึกว่าไม่อยากใช้เงิน
เดียว หนทาง จะมาหาเองล่ะครับ
ว่าแต่ผมยังไม่แต่งเลยนี่หว่า ไปดีกว่า อิอิ
พ่อแม่นี่ล่ะ สอนเองดีที่สุด
ทำให้เขาสนใจเรื่องเงิน ทำให้เขาสนุกกับการหาเงิน ทำให้เขารู้สึกว่าไม่อยากใช้เงิน
เดียว หนทาง จะมาหาเองล่ะครับ
ว่าแต่ผมยังไม่แต่งเลยนี่หว่า ไปดีกว่า อิอิ
ปล ความเห็นส่วนตัว
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 5
ไม่จำเป็นต้องเรียนมหาวิทยาลัยก็เป็นVIได้แน่นอนครับ
ลงทุนเพื่อชีวิต
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 6
อย่าให้เรียนบริหารครับ เพราะเดี๋ยวจะไปยึกถือกับเรื่อง efficient market theory ซึ่งขัดกับหลัก vi อยู่พอสมควร ผมสังเกตุ vi เก่งๆ ส่วนใหญ่ จบหลากหลายครับ แต่ต้องรักการอ่าน ปลูกฝั่งให้ลูกรักการอ่านครับ แล้วเรียนคณะไหนก็ได้
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 7
ไม่แหวกแนวเลยครับ จริงๆแล้วผมคิดว่า คณะวิศวะ เป็นคณะที่เหมาะสม...อาจจะเหมาะสมที่สุดด้วยซ้ำ เพราะเป็นคณะที่มีพื้นฐานปลูกฝัง logic thinking คิดแบบเป็นเหตุเป็นผล ถ้าเป็นคณะที่อาศัยการท่องจำๆๆๆเป็นหลักอาจจะทำให้ขาดพื้นฐานการคิดแบบนี้ซึ่งเป็นพื้นฐานการคิดที่สำคัญในการลงทุน จึงไม่แปลกที่นักลงทุนเก่งๆหลายคนจบวิศวะartvirus เขียน:ในความเห็นผม ถ้าจะให้เป็น VI น่าให้เรียนบริหารธุรกิจนะครับ จะช่วยได้ในการวิเคราะห์ตัวธุรกิจ ถ้าเรียนเศรษฐศาสตร์จะออกแนวมหภาค ซึ่ง VI ให้ความสำคัญน้อยกว่า
แต่ถ้าคิดแบบแหวกแนว ผมเห็น VI เก่งๆ จบวิดวะกันหลายคนครับ แล้วค่อยไปต่อโท MBA ทีหลัง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่สำคัญสุดคือ ต้องค่อยๆ ปลูกฝังให้น้องเค้าสนใจในแนวทางนี้ครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 8
แบบ ดร.นิเวศน์ ไงครับ
ป.ตรีวิศวะ ได้ความรู้ระดับ Operation
ป.โทบริหาร ได้ความรู้ด้าน Management
ป.เอกการเงิน ได้ความรู้ด้าน Finance
แต่ผมคิดว่า อีกด้านนึงที่สำคัญไม่แพ้กับความรู้ก็คือ
แนวคิดอย่างมุ่งมั่นทางด้าน VI และหลักการใช้เหตุผลในการคิดและตัดสินใจครับ
ป.ตรีวิศวะ ได้ความรู้ระดับ Operation
ป.โทบริหาร ได้ความรู้ด้าน Management
ป.เอกการเงิน ได้ความรู้ด้าน Finance
แต่ผมคิดว่า อีกด้านนึงที่สำคัญไม่แพ้กับความรู้ก็คือ
แนวคิดอย่างมุ่งมั่นทางด้าน VI และหลักการใช้เหตุผลในการคิดและตัดสินใจครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 10
หากคิดว่าจะเป็นนักลงทุนอาชีพจริงๆแล้ว
ผมเสนอว่าอย่าเรียนอะไรที่เป็นการไปกีดกันที่นั่งสำหรับคนอื่นๆครับ
เช่นเรียนสายการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่เป็นวิชาชีพโดยเฉพาะ
หากเรียนแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นการสูญเสียของสังคมโดยรวม
แม้ว่าเราจะบอกว่าเราเอามาใช้ได้ แต่ก็ส่วนน้อยครับ
หากอยากให้ลูกเป็น vi ผมเสนอว่าน่าจะเรียนอะไรที่ตัวเขาชอบ
จะได้มีความสุขในชีวิต และค่อยมาฝึกการลงทุน
แต่หากทำได้ เรียนสายการเงิน บริหาร หรือเศรษฐศาสตร์
ดีกว่าสายวิทย์ที่เป็นวิชาชีพครับ เหตุผลคือข้างบนครับ
ส่วนที่พี่ yoyo ว่าไว้เรื่อง efficient market นั้น เป็นข้อสังเกตที่ดีและน่าสนใจ
แต่เป็นแค่ทางทฤษฏีครับ
รู้แล้วก็รู้เลย เมืองไทยเราไม่ได้เป็นแบบนั้นแน่ครับ
อีกอย่างครับ เรียนปริญญาเอกไม่คุ้มค่าแน่นอน
เพราะเรียนทางทฤษฎีและทำงานวิจัยเป็นหลัก
ไม่เหมาะและไม่ได้ใช้ในทางปฏิบัติเลย โดยเฉพาะหากเป็น vi
ว่าแต่ว่าการเป็น vi นี่ เป็นยังไงกันครับ
ผมเสนอว่าอย่าเรียนอะไรที่เป็นการไปกีดกันที่นั่งสำหรับคนอื่นๆครับ
เช่นเรียนสายการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่เป็นวิชาชีพโดยเฉพาะ
หากเรียนแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นการสูญเสียของสังคมโดยรวม
แม้ว่าเราจะบอกว่าเราเอามาใช้ได้ แต่ก็ส่วนน้อยครับ
หากอยากให้ลูกเป็น vi ผมเสนอว่าน่าจะเรียนอะไรที่ตัวเขาชอบ
จะได้มีความสุขในชีวิต และค่อยมาฝึกการลงทุน
แต่หากทำได้ เรียนสายการเงิน บริหาร หรือเศรษฐศาสตร์
ดีกว่าสายวิทย์ที่เป็นวิชาชีพครับ เหตุผลคือข้างบนครับ
ส่วนที่พี่ yoyo ว่าไว้เรื่อง efficient market นั้น เป็นข้อสังเกตที่ดีและน่าสนใจ
แต่เป็นแค่ทางทฤษฏีครับ
รู้แล้วก็รู้เลย เมืองไทยเราไม่ได้เป็นแบบนั้นแน่ครับ
อีกอย่างครับ เรียนปริญญาเอกไม่คุ้มค่าแน่นอน
เพราะเรียนทางทฤษฎีและทำงานวิจัยเป็นหลัก
ไม่เหมาะและไม่ได้ใช้ในทางปฏิบัติเลย โดยเฉพาะหากเป็น vi
ว่าแต่ว่าการเป็น vi นี่ เป็นยังไงกันครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 11
ผมก็มีความคิดว่า ลูกมีความสนใจอยากเป็นนักกีฬา ซึ่งเป็นกีฬาที่คงไม่สามารถทำเป็นอาชีพที่มั่นคงได้ แต่ก็ตั้งใจให้เขาทำตามความชอบ ส่วนเรื่องเรียนผมไม่เน้น แต่จะปลูกฝังเรื่องการลงทุนแนวทางVIนี้ ให้เขาได้เข้าใจ แบ่ง port การลงทุนที่เป็นส่วนของเงินเก็บของเขาเอง สำหรับตัวผมเองก็หวังและตั้งใจที่จะอยู่กับเขาให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ดูแลสุขภาพและออกกำลังกาย และหลีกเลียงสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ) เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การลงทุน แนะนำและแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นความรู้ ที่เราได้ลองผิดถูก เพื่อให้เขามีอิสรภาพทางการเงิน อิสรภาพในการที่จะทำในสิ่งที่เขาชอบควบคู่ไปกับการลงทุนแนวทางนี้ และก็หวังว่าเขาจะรักษา ทำให้เพิ่มพูน และส่งต่อความมั่นคั้งต่อไปให้ลูกของเขา
ผมคิดว่าคนเราเกิดมามีชีวิตก็ไม่ยาวนาน ทำในสิ่งที่ดี สิ่งที่ชอบ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น และช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่เราพอจะทำได้ แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
ผมคิดว่าคนเราเกิดมามีชีวิตก็ไม่ยาวนาน ทำในสิ่งที่ดี สิ่งที่ชอบ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น และช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่เราพอจะทำได้ แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 12
จริงๆ ถามลูกก่อนดีไหมคับ ว่าเค้าชอบอะไร
เค้ารู้ไหม มีชีวิตเพราะอะไร ชีวิตคืออะไร เมื่อมีชีวิตแล้วจะต้องทำอะไรต่อไป
เช่น อยากหาเลี้ยงชีพยังไง อยากตระหนักว่าตัวเองชอบอะไร
มีเจตจำนงของตัวเองว่าอย่างไร จะใช้ชีวิตที่เกิดมานี้ทำอะไร อย่างไร
พร้อมอธิบายให้ลูกรู้ว่าต่อไปต้องทำอะไรบ้าง ที่ต้องทำงานเพราะอะไร
และจะต้องทำไปเรื่อยๆ เพื่ออาศัยผลตอบแทนจากการทำงาน
มาซื้อหาปัจจัยสี่ และความต้องการส่วนเพิ่มต่างๆ เพื่อประโยชน์
แก่ตัวเอง และผู้อื่นอย่างไร อย่าไปสนใจเลยคับ
ว่าลูกจะเป็น VI หรือไม่ VI
แถมถ้าอยากให้ลูกเข้าใจเรื่องการลงทุนจริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนวิศวะก็ได้
ไม่เห็นเกี่ยวกันตรงไหน ว่าถ้าเป็นนักลงทุนต้องจบวิศวะ จบหมอ งงมาก
เพราะการเรียน ไม่ว่าสาขาไหน ก็มีหลักเหตุผล เหมือนกันหมด
อยู่ที่ลูกคุณจะเข้าใจหลักคิดหรือเปล่าเท่านั้น เช่น
เรียนประวัติศาสตร์ ถ้าเขามีหลักคิด จะทำให้ทราบเหตุความเป็นมาว่าเรื่องนั้นๆในประวัติศาสตร์ เกิดได้อย่างไร
จะสืบสาวเข้าไปถึงเหตุผลโดยใช้หลักการณ์ต่างๆได้อย่างไร และจะป้องกัน หรือเรียนรู้อะไรได้บ้าง ฯลฯ
เรียนศิลปะ วาดรูป ใช้สี ก็ต้องใช้หลักการณ์ เขียนเส้น การผสมสี เข้าใจธรรมชาติของสี เข้าใจ
มิติของภาพ เข้าใจการสื่ออารมณ์ ถ้าทำได้ดีก็สามารถประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย สะท้อนสิ่งต่างๆในสังคมได้ดี ฯลฯ
เรียนภูมิศาสตร์ ก็ต้องเข้าใจการกำเนิดของเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงของชั้นหิน น้ำ อากาศ
ประกอบด้วยอะไร อะไรส่งผลถึงอะไร และมีความเป็นมาอย่างไร ฯลฯ
เรียนจิตวิทยา ก็เข้าใจร่างกายมนุษย์ว่าทำงานอย่างไร การทำงานนั้นส่งผลถึงอารมณ์ จิตใจ
พฤติกรรมอย่างไร เข้าใจถึงที่มาของความต้องการ ไม่ว่าด้านร่างกาย หรือจิตใจ ฯลฯ
เรียนบริหารธุรกิจ ก็ต้องเรียนอย่างเข้าใจที่มาที่ไป ของการเกิดขึ้นของธุรกิจ ค้าขาย
การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ การตลาด ระบบบริหาร บัญชี คืออะไร ทำไปทำไม ทำไมต้องพัฒนาสินค้า ฯลฯ
เรียนเศรษฐศาสตร์ ก็ทำให้เข้าใจถึงที่มาของระบบเศรษฐกิจ ทำไมต้องมีระบบแบบอย่างที่เป็นทุกวันนี้
ทำไมคนเราถึงต้องมาทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน มองย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของ ฯลฯ
เรียนชีววิทยา ทำให้รู้ว่า ชีวิตดำเนิน กำเนิด เกี่ยวพัน กับอะไรๆมาบ้าง ทำให้รู้ว่า ร่างกายเรา
ประกอบด้วยเซลล์ถึงหกสิบล้านเซลล์ มาทำงานร่วมกัน โดยยอมเสียสละการปกครองให้แก่สมอง
และสมอง ก็ยอมให้เกิดความคิดจิตใจในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การคิด
เป็นตัวเรา การมีสติ รู้นึกรู้ตัว อยู่ในปัจจุบันก็ตามมา ทำให้เรา สามารถทำสิ่งต่างๆได้ หรือถ้าย้อนกลับไปในการวิวัฒนาการ
ก็จะเข้าใจถึงชีวิตต่างๆได้ดีขึ้น ฯลฯ
เรียนฟิสิกส์ ก็เข้าใจถึงระบบการทำงานของธรรมชาติต่างๆ ความเป็นไปในระดับเล็กกว่าอะตอม
ถึงใหญ่ระดับจักรวาล ความเกี่ยวพันของสิ่งต่างๆ การส่งถ่ายพลังงาน การรวม การแยก ผลของมันที่มีต่อเรา ฯลฯ
เรียนเคมี ก็เข้าใจถึงองค์ประกอบของสสารต่างๆ ตั่งแต่ระดับอะตอมขึ้นไป การเกิดพันธะ การเกิด
โมเลกุล การยึดจับกันเป็นสิ่งที่ใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น การแยกแยะคุณสมบัติของสสาร การนำไปใช้
ทราบถึงความแตกต่างระหว่างสารอินทรีย์ และอนินทรีย์ ฯลฯ
ส่วนเรื่องของการลงทุน ถ้าลูกคุณมีหลักการคิดที่ถูกต้องแล้วชอบ ก็สามารถศึกษาต่อได้
เช่น ต้องเข้าใจก่อนว่าตลาดหุ้นเกิดเพราะอะไร ความเสี่ยงและผลตอบแทนในการลงทุน
ถ้าเป็นแบบ VI ก็ใช้หลักคิดในมุมมองร่วมทำธุรกิจ ว่าธุรกิจนั้นดีไม่ดีอย่างไร
ถูกกระทบจากเศรษฐกิจได้อย่างไร ประเมินมูลค่าธุรกิจได้อย่างไร เอามาใช้ในตลาดหุ้นได้อย่างไร
ก็เอามาใช้ได้เมื่อราคาหุ้นในตลาด เสนอโอกาสซื้อ-ขายที่เหมาะสมให้ ทีนี้ราคาในตลาดหุ้นของหุ้น
มันมาได้อย่างไร กลไกการทำงานของมัน ก็อยู่การสนใจศึกษาแล้วล่ะคับ
การทำสิ่งใดๆควรมาจากความคิดที่ถูกต้องก่อนเป็นสำคัญ
และเป็นความคิดความต้องการของลูกจริงๆเสมอ แน่นอน
ความต้องการของลูก ความคิดของลูก ก็เปลี่ยนแปลงได้ไปตาม
สภาพแวดล้อม และความต้องการของเขา เราเอง (พ่อแม่) ก็เปลี่ยน
แปลงไป ลองคิดดูว่าสมัยเป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น ตอนเรียน ตอนทำงาน
ความคิด ความต้องการเราก็เปลี่ยนไปเสมอ โลกรอบๆข้างของเราก็
เปลี่ยนแปลงไปเสมอด้วย เพื่อนฝูงที่รู้จัก ที่เรียน ที่ทำงาน ที่เจอกัน ก็เปลี่ยนหน้ากันไป
เรา (พ่อแม่) ก็ต้องอธิบายสิ่งต่างๆให้ลูก สั่งสอน อบรม
ฝึกหัด ให้ได้ในเบื้องต้น ส่วนเค้าจะเป็นอย่างไร เราก็มีหน้าที่ประคับ
ประคองต่อไปตามความรู้ความสามารถของเราอย่างเหมาะสม
จนกว่าเค้าจะสามารถยืนบนลำแข้งของตัวเองได้อย่างเต็มภาคภูมิ
แล้วสอนลูกของเค้า หลานของเราให้ได้ดีต่อไป
เค้ารู้ไหม มีชีวิตเพราะอะไร ชีวิตคืออะไร เมื่อมีชีวิตแล้วจะต้องทำอะไรต่อไป
เช่น อยากหาเลี้ยงชีพยังไง อยากตระหนักว่าตัวเองชอบอะไร
มีเจตจำนงของตัวเองว่าอย่างไร จะใช้ชีวิตที่เกิดมานี้ทำอะไร อย่างไร
พร้อมอธิบายให้ลูกรู้ว่าต่อไปต้องทำอะไรบ้าง ที่ต้องทำงานเพราะอะไร
และจะต้องทำไปเรื่อยๆ เพื่ออาศัยผลตอบแทนจากการทำงาน
มาซื้อหาปัจจัยสี่ และความต้องการส่วนเพิ่มต่างๆ เพื่อประโยชน์
แก่ตัวเอง และผู้อื่นอย่างไร อย่าไปสนใจเลยคับ
ว่าลูกจะเป็น VI หรือไม่ VI
แถมถ้าอยากให้ลูกเข้าใจเรื่องการลงทุนจริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนวิศวะก็ได้
ไม่เห็นเกี่ยวกันตรงไหน ว่าถ้าเป็นนักลงทุนต้องจบวิศวะ จบหมอ งงมาก
เพราะการเรียน ไม่ว่าสาขาไหน ก็มีหลักเหตุผล เหมือนกันหมด
อยู่ที่ลูกคุณจะเข้าใจหลักคิดหรือเปล่าเท่านั้น เช่น
เรียนประวัติศาสตร์ ถ้าเขามีหลักคิด จะทำให้ทราบเหตุความเป็นมาว่าเรื่องนั้นๆในประวัติศาสตร์ เกิดได้อย่างไร
จะสืบสาวเข้าไปถึงเหตุผลโดยใช้หลักการณ์ต่างๆได้อย่างไร และจะป้องกัน หรือเรียนรู้อะไรได้บ้าง ฯลฯ
เรียนศิลปะ วาดรูป ใช้สี ก็ต้องใช้หลักการณ์ เขียนเส้น การผสมสี เข้าใจธรรมชาติของสี เข้าใจ
มิติของภาพ เข้าใจการสื่ออารมณ์ ถ้าทำได้ดีก็สามารถประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย สะท้อนสิ่งต่างๆในสังคมได้ดี ฯลฯ
เรียนภูมิศาสตร์ ก็ต้องเข้าใจการกำเนิดของเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงของชั้นหิน น้ำ อากาศ
ประกอบด้วยอะไร อะไรส่งผลถึงอะไร และมีความเป็นมาอย่างไร ฯลฯ
เรียนจิตวิทยา ก็เข้าใจร่างกายมนุษย์ว่าทำงานอย่างไร การทำงานนั้นส่งผลถึงอารมณ์ จิตใจ
พฤติกรรมอย่างไร เข้าใจถึงที่มาของความต้องการ ไม่ว่าด้านร่างกาย หรือจิตใจ ฯลฯ
เรียนบริหารธุรกิจ ก็ต้องเรียนอย่างเข้าใจที่มาที่ไป ของการเกิดขึ้นของธุรกิจ ค้าขาย
การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ การตลาด ระบบบริหาร บัญชี คืออะไร ทำไปทำไม ทำไมต้องพัฒนาสินค้า ฯลฯ
เรียนเศรษฐศาสตร์ ก็ทำให้เข้าใจถึงที่มาของระบบเศรษฐกิจ ทำไมต้องมีระบบแบบอย่างที่เป็นทุกวันนี้
ทำไมคนเราถึงต้องมาทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน มองย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของ ฯลฯ
เรียนชีววิทยา ทำให้รู้ว่า ชีวิตดำเนิน กำเนิด เกี่ยวพัน กับอะไรๆมาบ้าง ทำให้รู้ว่า ร่างกายเรา
ประกอบด้วยเซลล์ถึงหกสิบล้านเซลล์ มาทำงานร่วมกัน โดยยอมเสียสละการปกครองให้แก่สมอง
และสมอง ก็ยอมให้เกิดความคิดจิตใจในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การคิด
เป็นตัวเรา การมีสติ รู้นึกรู้ตัว อยู่ในปัจจุบันก็ตามมา ทำให้เรา สามารถทำสิ่งต่างๆได้ หรือถ้าย้อนกลับไปในการวิวัฒนาการ
ก็จะเข้าใจถึงชีวิตต่างๆได้ดีขึ้น ฯลฯ
เรียนฟิสิกส์ ก็เข้าใจถึงระบบการทำงานของธรรมชาติต่างๆ ความเป็นไปในระดับเล็กกว่าอะตอม
ถึงใหญ่ระดับจักรวาล ความเกี่ยวพันของสิ่งต่างๆ การส่งถ่ายพลังงาน การรวม การแยก ผลของมันที่มีต่อเรา ฯลฯ
เรียนเคมี ก็เข้าใจถึงองค์ประกอบของสสารต่างๆ ตั่งแต่ระดับอะตอมขึ้นไป การเกิดพันธะ การเกิด
โมเลกุล การยึดจับกันเป็นสิ่งที่ใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น การแยกแยะคุณสมบัติของสสาร การนำไปใช้
ทราบถึงความแตกต่างระหว่างสารอินทรีย์ และอนินทรีย์ ฯลฯ
ส่วนเรื่องของการลงทุน ถ้าลูกคุณมีหลักการคิดที่ถูกต้องแล้วชอบ ก็สามารถศึกษาต่อได้
เช่น ต้องเข้าใจก่อนว่าตลาดหุ้นเกิดเพราะอะไร ความเสี่ยงและผลตอบแทนในการลงทุน
ถ้าเป็นแบบ VI ก็ใช้หลักคิดในมุมมองร่วมทำธุรกิจ ว่าธุรกิจนั้นดีไม่ดีอย่างไร
ถูกกระทบจากเศรษฐกิจได้อย่างไร ประเมินมูลค่าธุรกิจได้อย่างไร เอามาใช้ในตลาดหุ้นได้อย่างไร
ก็เอามาใช้ได้เมื่อราคาหุ้นในตลาด เสนอโอกาสซื้อ-ขายที่เหมาะสมให้ ทีนี้ราคาในตลาดหุ้นของหุ้น
มันมาได้อย่างไร กลไกการทำงานของมัน ก็อยู่การสนใจศึกษาแล้วล่ะคับ
การทำสิ่งใดๆควรมาจากความคิดที่ถูกต้องก่อนเป็นสำคัญ
และเป็นความคิดความต้องการของลูกจริงๆเสมอ แน่นอน
ความต้องการของลูก ความคิดของลูก ก็เปลี่ยนแปลงได้ไปตาม
สภาพแวดล้อม และความต้องการของเขา เราเอง (พ่อแม่) ก็เปลี่ยน
แปลงไป ลองคิดดูว่าสมัยเป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น ตอนเรียน ตอนทำงาน
ความคิด ความต้องการเราก็เปลี่ยนไปเสมอ โลกรอบๆข้างของเราก็
เปลี่ยนแปลงไปเสมอด้วย เพื่อนฝูงที่รู้จัก ที่เรียน ที่ทำงาน ที่เจอกัน ก็เปลี่ยนหน้ากันไป
เรา (พ่อแม่) ก็ต้องอธิบายสิ่งต่างๆให้ลูก สั่งสอน อบรม
ฝึกหัด ให้ได้ในเบื้องต้น ส่วนเค้าจะเป็นอย่างไร เราก็มีหน้าที่ประคับ
ประคองต่อไปตามความรู้ความสามารถของเราอย่างเหมาะสม
จนกว่าเค้าจะสามารถยืนบนลำแข้งของตัวเองได้อย่างเต็มภาคภูมิ
แล้วสอนลูกของเค้า หลานของเราให้ได้ดีต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 13
ฝึกความคิดเชิงสังเคราะห์เยอะๆครับ เพราะการประเมินมูลค่าหุ้นต้องใช้ข้อมูลที่หลายหลายมากประกอบเป็นภาพใหญ่ของกิจการ (แต่ให้อยู่ในหลักวิชานิดนึงไม่งั้นเขาเรียกฟุ้งซ่าน)
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 15
"เรียนเอง สอนเอง" ดีที่สุดครับ ตำรามีเยอะแยะ คนแต่งคนเขียนระดับโลกทั้งนั้นครับ ปีเตอร์ ลินซ์ จอร์น เนฟฟ์
เรียนอะไรไม่สำคัญและไม่มีประโยชน์ "ถ้าใจไม่รักและไม่สนใจที่จะรับ"
เพื่อนผมจบตรีบริหารจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง MBA การเงินจากต่างประเทศ ทำงานธนาคาร สนใจหุ้นตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ
สุดท้ายลงทุนได้ไม่นานก็ต้องเลิก จุดที่ทำให้เลิกเพราะขาดทุนหนัก ๆ ในวันเดียว ผมถามเค้าว่า "ซื้อหุ้นยังไง" เค้าบอกผมว่า แทบไม่ได้ใช้ความรู้การเงินที่เรียนมาเลย เพราะ "เล่นข่าวล้วน ๆ"
เรียนอะไรไม่สำคัญและไม่มีประโยชน์ "ถ้าใจไม่รักและไม่สนใจที่จะรับ"
เพื่อนผมจบตรีบริหารจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง MBA การเงินจากต่างประเทศ ทำงานธนาคาร สนใจหุ้นตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ
สุดท้ายลงทุนได้ไม่นานก็ต้องเลิก จุดที่ทำให้เลิกเพราะขาดทุนหนัก ๆ ในวันเดียว ผมถามเค้าว่า "ซื้อหุ้นยังไง" เค้าบอกผมว่า แทบไม่ได้ใช้ความรู้การเงินที่เรียนมาเลย เพราะ "เล่นข่าวล้วน ๆ"
"Become a risk taker, not a risk maker"
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 16
ไม่เรียงลำดับนะครับ แต่สิ่งที่ต้องปลูกฝังคือ
1. ต้องมีวินัย มีความมุ่งมั่น วางแผน
2. ต้องรักการเรียนรู้ รักการอ่าน
3. ต้องมีความอดทน ไม่ย่อท้อ ทบทวนตัวเองเป็น
4. ต้องชอบในธุรกิจ ชอบศึกษาการแข่งขันในธุรกิจต่าง ๆ
5. ต้องรู้จักใช้เงิน ใช้เงินเป็น มีพื้นฐานการอดออม
6. ควรจะได้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สาม
7. ควรจะชอบการคำนวณ และตัวเลข
8. ควรจะชอบสถิติ เก็บข้อมูล
9. ควรจะปฏิบัติธรรม หรือฝึกสมาธิ
10. ควรมีจริตของ VI อันนี้สอนไม่ได้ เอาเป็นควรมีแล้วกัน
ส่วนจะเรียนคณะไหน สายไหน ไม่ค่อยสำคัญหรอกครับ
1. ต้องมีวินัย มีความมุ่งมั่น วางแผน
2. ต้องรักการเรียนรู้ รักการอ่าน
3. ต้องมีความอดทน ไม่ย่อท้อ ทบทวนตัวเองเป็น
4. ต้องชอบในธุรกิจ ชอบศึกษาการแข่งขันในธุรกิจต่าง ๆ
5. ต้องรู้จักใช้เงิน ใช้เงินเป็น มีพื้นฐานการอดออม
6. ควรจะได้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สาม
7. ควรจะชอบการคำนวณ และตัวเลข
8. ควรจะชอบสถิติ เก็บข้อมูล
9. ควรจะปฏิบัติธรรม หรือฝึกสมาธิ
10. ควรมีจริตของ VI อันนี้สอนไม่ได้ เอาเป็นควรมีแล้วกัน
ส่วนจะเรียนคณะไหน สายไหน ไม่ค่อยสำคัญหรอกครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 17
แนะนำว่าให้เขาทำสิ่งที่เขาชอบนะครับ จะเรียนคณะอะไรก็สามารถเป็น vi ได้หมดครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1047
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 18
ขอแชร์ประสพการณ์ ผมมีลูกอายุ 5 ขวบกว่า มีอยู่วันนึงตอนปิดเทอม เค้าก็ถามผมว่า....
พ่อดูหุ้นอย่างไรครับ
พ่อก็ดูไปเรื่อยๆแหละลูก ว่าแต่ว่าลูกอยากรู้จริงเหรอ
เห็นพ่อนั่งดู ก็อยากรู้
ผมเกาหัวอยู่พักนึง เอ..........จะอธิบายอย่างไรดีหว่า เด็กขนาดนี้ถึงจะเข้าใจได้...
อ๋อ เอางี้ ลูกมีเพื่อนที่โรงเรียนใช่ปะ
ครับ
มีหลายคนใช่ป่ะ
ครับ
บางคนเรียนเก่ง บางคนเรียนไม่เก่งใช่ป่ะ
ครับ
คนที่เรียนเก่งๆ โตขึ้นไปก็อาจจะมีคนมาจ้างเค้าทำงานยากๆแล้วได้เงินเดือนสูง แต่คนที่เรียนไม่เก่งก็อาจจะไม่มีโอกาสแบบนั้น
นั้นแหละ หุ้นก็เหมือนกับเพื่อนลูกนั่นแหละ เพื่อนที่เก่งๆก็เหมือนหุ้นที่เก่งๆลูกก็ต้องเฝ้าจับตามองเอาไว้ แต่ยังไม่ซื้อหุ้น
แล้วลูกเคยเห็นเพื่อนคนใหนที่ไม่เคยป่วยปะ
ไม่เคยพ่อ เพื่อนที่โรงเรียนป่วยกันทุกคน
นั่นแหละเราซื้อหุ้นเพื่อนตอนที่เพื่อนคนที่เรียนเ่ก่งป่วยง่ะ เข้าใจยัง
อ๋อ
จะได้ของดีถูกๆ
อีกนิดนึง ที่พ่อเปรียบเทียบหุ้นเป็นเพื่อนลูกนะเพื่อความเข้าใจง่ายนะ หุ้นที่เก่งๆเนี่ย....เค้ามักจะขายของเก่ง ทำของอร่อย (พอดีตอนนั้นผมมีขนมปังฟาร์มเฮาส์ไส้ต่างๆซื้อมาลองชิมดู) ดูนี่ซิ เพื่อนพ่อชื่อฟาร์มเฮาส์ ทำขนมปังออกมาขาย พ่อลองซื้อมาชิมดู ว่าแล้วก็ฉีกซองแบ่งให้ลูกินด้วย ถ้ากินดูแล้วอร่อยอยากกินอีก พ่อก็จะจับตามองเพื่อนคนนี้ไว้ แล้วซื้อตอยเค้าไม่สบาย จะได้ของถูก
อร่อยดีพ่อ ....ชอบไส้อันนี้ ไส้ chocolate (จริงๆคือไส้ถั่วแดงแต่เค้าเข้าใจผิด เพราะสีมันใกล้เคียงกัน)
นั่นแหละลูก พ่อจะรอจนเค้าป่วยแล้วซื้อเลย เข้าใจ๋
ครับ (ไปเล่นต่อ)
หลายวันผ่านไป
แม่เค้าซื้อเลย์มาให้กิน เค้าก็วิ่งมาหาพร้อมถุงเลย์
พ่อๆ ซื้อหุ้นอันนี้ให้หน่อย พร้อมกับชูถุงเลย์ให้ดู........
พ่อดูหุ้นอย่างไรครับ
พ่อก็ดูไปเรื่อยๆแหละลูก ว่าแต่ว่าลูกอยากรู้จริงเหรอ
เห็นพ่อนั่งดู ก็อยากรู้
ผมเกาหัวอยู่พักนึง เอ..........จะอธิบายอย่างไรดีหว่า เด็กขนาดนี้ถึงจะเข้าใจได้...
อ๋อ เอางี้ ลูกมีเพื่อนที่โรงเรียนใช่ปะ
ครับ
มีหลายคนใช่ป่ะ
ครับ
บางคนเรียนเก่ง บางคนเรียนไม่เก่งใช่ป่ะ
ครับ
คนที่เรียนเก่งๆ โตขึ้นไปก็อาจจะมีคนมาจ้างเค้าทำงานยากๆแล้วได้เงินเดือนสูง แต่คนที่เรียนไม่เก่งก็อาจจะไม่มีโอกาสแบบนั้น
นั้นแหละ หุ้นก็เหมือนกับเพื่อนลูกนั่นแหละ เพื่อนที่เก่งๆก็เหมือนหุ้นที่เก่งๆลูกก็ต้องเฝ้าจับตามองเอาไว้ แต่ยังไม่ซื้อหุ้น
แล้วลูกเคยเห็นเพื่อนคนใหนที่ไม่เคยป่วยปะ
ไม่เคยพ่อ เพื่อนที่โรงเรียนป่วยกันทุกคน
นั่นแหละเราซื้อหุ้นเพื่อนตอนที่เพื่อนคนที่เรียนเ่ก่งป่วยง่ะ เข้าใจยัง
อ๋อ
จะได้ของดีถูกๆ
อีกนิดนึง ที่พ่อเปรียบเทียบหุ้นเป็นเพื่อนลูกนะเพื่อความเข้าใจง่ายนะ หุ้นที่เก่งๆเนี่ย....เค้ามักจะขายของเก่ง ทำของอร่อย (พอดีตอนนั้นผมมีขนมปังฟาร์มเฮาส์ไส้ต่างๆซื้อมาลองชิมดู) ดูนี่ซิ เพื่อนพ่อชื่อฟาร์มเฮาส์ ทำขนมปังออกมาขาย พ่อลองซื้อมาชิมดู ว่าแล้วก็ฉีกซองแบ่งให้ลูกินด้วย ถ้ากินดูแล้วอร่อยอยากกินอีก พ่อก็จะจับตามองเพื่อนคนนี้ไว้ แล้วซื้อตอยเค้าไม่สบาย จะได้ของถูก
อร่อยดีพ่อ ....ชอบไส้อันนี้ ไส้ chocolate (จริงๆคือไส้ถั่วแดงแต่เค้าเข้าใจผิด เพราะสีมันใกล้เคียงกัน)
นั่นแหละลูก พ่อจะรอจนเค้าป่วยแล้วซื้อเลย เข้าใจ๋
ครับ (ไปเล่นต่อ)
หลายวันผ่านไป
แม่เค้าซื้อเลย์มาให้กิน เค้าก็วิ่งมาหาพร้อมถุงเลย์
พ่อๆ ซื้อหุ้นอันนี้ให้หน่อย พร้อมกับชูถุงเลย์ให้ดู........
เลือกเด็กที่เรียนดี แล้วให้เค้าพาเราไป
-
- Verified User
- โพสต์: 28
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 20
คำถามของ จขกท ถามว่า "อยากให้ลูกเป็น VI ต้องให้เรียนคณะอะไร"
จากคำถาม เราว่าต้องเริ่มตีความก่อนว่า แล้วตอนนี้ ลูกรู้จัก และชอบ หรืออยากที่จะเป็น VI แล้วหรือยัง
ฟังดูเหมือนจะยังเลยนะคะ เพราะคุณบอกว่าต้องการปูลู่ทางให้ลูกก่อน
คำตอบส่วนตัวของเราคือ "ให้ลูกได้เรียนคณะที่ชอบและมีความสุขค่ะ"
อยากให้ลูกเรียนเศรษฐศาสตร์หรือบริหารธุรกิจ เพื่อปูแนวทางการเป็น VI แต่ถ้าระหว่างที่ลูกเรียนไม่มีความสุขเพราะไม่ใช่สิ่งที่ชอบ เราว่าไม่ใช่สิ่งที่ดีเท่าไหร่หรอกค่ะ เด็กๆ สมัยนี้หลายคนเหลือเกินที่ต้องเรียนตามความคาดหวังของพ่อแม่ ทั้งที่ใจไม่ได้รักเลย
เคยอ่านเจอว่า "ลูกจะไม่ทำในสิ่งที่เราสอน แต่ลูกจะทำในสิ่งที่เราทำ" อะไรประมาณนี้ค่ะ
ส่วนตัวคิดว่า ให้เขาได้สัมผัสความเป็น VI จากผู้เป็นพ่อ
ให้เขาเห็นว่าพ่อทำอะไรกับชีวิต VI บ้าง แล้วพ่อได้อะไรจากการเป็น VI
ตรงนี้น่าจะเป็นการปูลู่ทางให้ลูกสู่การเป็น VI หรือ อยากเป็น VI ได้ดีที่สุดค่ะ
แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามมาเป็นลักษณะที่ว่า "ลูกอยากเป็นนักลงทุนอาชีพแนว VI ต้องเรียนคณะอะไร"
คำตอบจึงควรจะเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ บัญชี บริหารธุรกิจ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องค่ะ
จากคำถาม เราว่าต้องเริ่มตีความก่อนว่า แล้วตอนนี้ ลูกรู้จัก และชอบ หรืออยากที่จะเป็น VI แล้วหรือยัง
ฟังดูเหมือนจะยังเลยนะคะ เพราะคุณบอกว่าต้องการปูลู่ทางให้ลูกก่อน
คำตอบส่วนตัวของเราคือ "ให้ลูกได้เรียนคณะที่ชอบและมีความสุขค่ะ"
อยากให้ลูกเรียนเศรษฐศาสตร์หรือบริหารธุรกิจ เพื่อปูแนวทางการเป็น VI แต่ถ้าระหว่างที่ลูกเรียนไม่มีความสุขเพราะไม่ใช่สิ่งที่ชอบ เราว่าไม่ใช่สิ่งที่ดีเท่าไหร่หรอกค่ะ เด็กๆ สมัยนี้หลายคนเหลือเกินที่ต้องเรียนตามความคาดหวังของพ่อแม่ ทั้งที่ใจไม่ได้รักเลย
เคยอ่านเจอว่า "ลูกจะไม่ทำในสิ่งที่เราสอน แต่ลูกจะทำในสิ่งที่เราทำ" อะไรประมาณนี้ค่ะ
ส่วนตัวคิดว่า ให้เขาได้สัมผัสความเป็น VI จากผู้เป็นพ่อ
ให้เขาเห็นว่าพ่อทำอะไรกับชีวิต VI บ้าง แล้วพ่อได้อะไรจากการเป็น VI
ตรงนี้น่าจะเป็นการปูลู่ทางให้ลูกสู่การเป็น VI หรือ อยากเป็น VI ได้ดีที่สุดค่ะ
แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามมาเป็นลักษณะที่ว่า "ลูกอยากเป็นนักลงทุนอาชีพแนว VI ต้องเรียนคณะอะไร"
คำตอบจึงควรจะเป็นคณะเศรษฐศาสตร์ บัญชี บริหารธุรกิจ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 21
เคยแนะนำลูกเกี่ยวกับการลงทุน และคิดไว้ว่าช่วงปริญญาตรี
ให้เขาได้เลือกเรียนตามที่ลูกชอบ ปริญญาโทขอให้เป็นด้านการบริหาร
(ตามที่แม่ชอบ) ลูกก็เห็นด้วยค่ะ (อายุ 14-15) ช่วงนี้ก็ให้เขาดูความก้าวหน้าและ
ความแตกต่างของเงินลงทุน (เงินฝากประจำ กับหุ้นที่ซื้อไว้ในอัตราส่วนที่เท่ากัน)
ให้เขาได้เลือกเรียนตามที่ลูกชอบ ปริญญาโทขอให้เป็นด้านการบริหาร
(ตามที่แม่ชอบ) ลูกก็เห็นด้วยค่ะ (อายุ 14-15) ช่วงนี้ก็ให้เขาดูความก้าวหน้าและ
ความแตกต่างของเงินลงทุน (เงินฝากประจำ กับหุ้นที่ซื้อไว้ในอัตราส่วนที่เท่ากัน)
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 23
มาดูว่าเซียนหุ้น VI สอนลูกอย่างไรครับ (ข่าวเก่าจากกรุงเทพธุรกิจนำมาฝาก)
3 กูรูด้านการลงทุน แนะวิธีส่งต่อความมั่งคั่งสู่ทายาท พร้อมวิธีสอนลูกใช้เงินอย่างคุ้มค่าและเป็นสุข
คนฟุ่มเฟือยชอบทำอะไรเกินตัว แม้จะร่ำรวยสุดท้ายก็มักขัดสน คนนิสัยประหยัด แม้จะยากจนก็มักมีเหลือเก็บ ความสำคัญของ “เงิน” อยู่ที่คุณค่าการใช้ ไม่ใช่ “ปริมาณ” สามดอกเตอร์สอนลูกเรื่องเงิน ส่งต่อ “ความรวย” ด้วยศาสตร์และศิลป์ เพราะพวกเขามองว่า..ชีวิตของลูกอยู่ในกำมือของพ่อแม่
ตลอดชีวิตการลงทุนที่ผ่านมา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จะเลือกเฟ้นแต่เฉพาะหุ้น “เฟิร์สคลาส” (ชั้นหนึ่ง) ตรงกันข้ามกับวิถีการใช้ชีวิตจะใช้แบบ Economy (คุ้มค่า) โดยมองทุกอย่างที่ความคุ้มค่าของเงิน และประโยชน์ที่ได้รับกลับมา โดยจะไม่จ่ายอะไรที่แพงเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้น “การใช้จ่าย” เพื่อซื้อความสุข สำหรับ Value Investor จึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
กูรูด้านการลงทุนหุ้นคุณค่าหมายเลขหนึ่งของเมืองไทย เล่าว่า วิธีสอนเรื่องการใช้เงินกับ “น้องแจน” น.ส.พิสชา เหมวชิรวรากร (นักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ สาขาการจัดการการสื่อสารคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ) ลูกสาวคนเดียว ในฐานะพ่อจะทำตัวให้เป็นตัวอย่างมากกว่าบอกว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้
ส่วนตัวคิดว่าเด็กสมัยใหม่บางคนไม่ถูกกดดันให้ต้องหาเงินเองทำให้มีคำถาม กลับมาว่าทำไมต้องประหยัดด้วย อย่างเช่นน้องแจนไปเที่ยวบ้านเพื่อนก็จะกลับมาถามว่าทำไมเราไม่สร้างบ้านให้ ใหญ่เหมือนเขา (ทั้งๆ ที่รู้ว่าพ่อรวย) คนเป็นพ่อแม่จะต้องอธิบายให้เขาฟังด้วยเหตุผลว่าอะไรที่จำเป็นอะไรไม่จำเป็น
ดร.นิเวศน์ เคยเล่าว่า ทุกวันนี้ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง บ้านของดอกเตอร์เป็นบ้านชั้นเดียวเล็กๆ บนเนื้อที่ไม่กี่ตารางวา ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของแม่ยาย ทุกคนอยู่รวมกัน เห็นหน้ากันทุกวัน ไม่มีพื้นที่สำหรับความเป็นส่วนตัว ไม่มีคนรับใช้ แต่บ้านหลังนี้ไม่เคยปราศจากไออุ่นของทุกคน
“บ้านผมมีห้องเดียวนะ เป็นบ้านที่อยู่ตั้งแต่สมัยที่ไม่มีตังค์เลย ตอนแต่งงานใหม่ๆ ชีวิตทำงานกินเงินเดือน ก็ไม่ได้มีตังค์มาก ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้านหลังเดิม…ความสะดวกสบายในบ้านจริงๆ มีน้อย บ้านหลังเล็กมาก แต่ผมไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้ เพราะมาคิดดูอีกทีถามว่าไปอยู่บ้านหลังใหญ่ๆ โตๆ ได้มั้ย มันก็ได้ แต่บ้านใหญ่โตไม่ได้ให้ความสุขกับเรามากไปกว่าบ้านหลังเล็ก ทุกคนใกล้ชิดกัน เจอหน้ากันทั้งวัน”
หลักการเรื่องความคุ้มค่าของเงินจะต้องมาพร้อมกับ “ความสุข” เสมอ เรื่องนี้ ดร.นิเวศน์ เชื่อว่า สิ่งใดที่ต้องจ่ายแพงๆ แล้วจะต้องกลายเป็น “ทาส” ของสิ่งนั้น ตัวเอง “จะไม่ทำ” ยกตัวอย่างการซื้อรถยนต์ หรือซื้อบ้านราคาแพงๆ แล้วต้องเป็นทุกข์กับการทำความสะอาดบ่อยๆ แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นความสุขจริง
ตรงกันข้ามกับของบางอย่างถ้าต้อง “จ่ายแพง” แลกกับประโยชน์ที่คุ้มค่าระยะยาวก็จำเป็น โดยเฉพาะเรื่อง “การศึกษาบุตร” สมัยเมื่อ 20 ปีก่อนยังไม่มีเงินมากเท่าตอนนี้ ตอนนั้นตัดสินใจส่งน้องแจนเรียนหลักสูตรอินเตอร์แม้ราคาจะแพงแต่มองว่านี่ คือการลงทุน ที่จะออกดอกผลในอนาคต นอกจากนี้ยังมีเรื่องหนังสือดีๆ และอาหารการกินที่ไม่ควรจะประหยัดเกินไป แต่ถ้าของอย่างอื่นที่จำเป็นจริงๆ ก็ต้องซื้อ เช่น ล่าสุดเพิ่งซื้อมือถือ BlackBerry ให้ลูกไปเพราะอีกหน่อยไปเรียนเมืองนอกจะใช้คุยกับคนที่เมืองไทยได้
ส่วนเรื่องของ “มรดก” ดร.นิเวศน์ เปิดเผยว่า น้องแจนเพิ่งจะรู้ไม่นานเองว่าพ่อมีพอร์ตหุ้นระดับ (เกิน) “พันล้านบาท” แล้วเขารู้จากเพื่อน ที่จริงไม่คิดที่จะปกปิดมีแผนที่จะค่อยๆ สอนเรื่องหุ้นให้กับลูกอยู่แล้ว แต่ขอแบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะเด็กรุ่นใหม่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องหุ้น อาจจะตีความหมายผิดไปได้ว่าพ่อเป็น “คนรวย” (ไม่เห็นต้องดิ้นรน) ไม่อยากให้ลูกคิดแบบนี้
“อีกไม่นานเขาจะต้องเป็นผู้รับช่วงต่อพอร์ตหุ้นของผมทั้งหมดไปอย่างแน่ นอน จากนี้ไปเป็นงานของผมที่ต้องค่อยๆ อธิบายแนวคิดการลงทุนให้เขารู้ ไม่ว่าในอนาคตเขาจะทำงานประจำหรือแต่งงานออกไปเป็นแม่บ้านอย่างเดียว”
ในฐานะพ่อที่ทะนุถนอมพอร์ตหุ้นจนเติบใหญ่เลี้ยงมาไม่ต่างจากลูกรักอีกคน ดร.นิเวศน์ยังจะประคับประคองขอให้เป็นการตัดสินใจร่วมกันว่าควรจะขายหุ้นออก ไปเมื่อไร คงไม่ให้ลูกตัดสินใจเพียงลำพัง แม้พ่อจะหาสมบัติไว้เป็นมรดกให้ลูกมากมายนับพันล้านบาท แต่พ่อคนนี้ก็ย้ำสอนกับลูกสาวคนเดียวของเขาว่า…
“ลูกไม่จำเป็นต้องมี(หา)สามีรวยเพื่อให้ทัดเทียมกับเรา แต่ขอให้เลือกคนที่อยู่ด้วยแล้วมีความสุขเป็นอันดับแรก แม้เขาจะจนกว่าเรา ขอให้มีความขยันอยู่ในตัวก็พอ” นัยหนึ่งพ่อต้องการสอน…ลูกต้องเป็น “นาย” ของเงิน อย่าเป็น “ทาส” ของเงิน มองคนที่ “คุณค่า” ไม่ใช่มองคนที่ “ราคา” เช่นเดียวกับหุ้นที่พ่อซื้อ
ด้านคุณพ่อลูก(ชาย)สอง ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร แม้จะมีฐานะค่อนข้างมั่นคงมาตั้งแต่ลูกยังเล็ก มีรายได้จากค่าที่ปรึกษากฎหมายภาษีเป็นรายนาที แต่มักสอนให้ลูกใช้เงินอย่างประหยัด “จ่าย” ให้น้อยกว่า “รับ” เป็นวิธีเดียวที่จะเก็บความมั่งคั่งเอาไว้ได้
ดร.สุวรรณ เคยเล่าว่าได้ตกลงกับภรรยาตั้งกองทุนให้ลูกทั้ง 2 คนๆ ละ 10 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกว่าจะใช้สำหรับการไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือจะใช้เป็นทุนสำหรับเริ่มต้นชีวิต และสิ่งที่ครอบครัวนี้เลือกก็คือเก็บเงิน 10 ล้านบาท เป็นเงินก้นถุงของลูกแต่ละคน
“ถ้าส่งลูกไปเรียนที่อังกฤษเสียค่าใช้จ่ายปีละ 1.6 ล้านบาท ส่งไปเรียนอเมริกาเสียปีละ 1.2 ล้านบาท ออสเตรเลียปีละ 8 แสนบาท นิวซีแลนด์ปีละ 6 แสนบาท ถ้าเราส่งพวกเขาไปเรียน 10 ปี ก็ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่าคนละ 10 ล้านบาท เราจึงตกลงกันว่าจะเก็บเงินส่วนนี้ให้พวกเขา”
เหตุผล 3 ข้อของการไม่ส่งลูกไปเรียนเมืองนอกของครอบครัววลัยเสถียร หนึ่ง. ลูกโตขึ้นโดยที่เราไม่ได้ดูแล ไม่ได้อบรมบ่มนิสัยตั้งแต่เด็ก สอง. เรียนเมืองนอกเสียค่าใช้จ่ายมาก เงินส่วนนี้ควรเก็บเอาไว้ให้ลูกๆ ได้ตั้งตัว และสาม. ลูกกลับมาจะกลายเป็นคนที่ไม่มีเพื่อน ไม่มีรุ่น
ในช่วงวัยเรียน (วัยรุ่น) ขณะปิดภาคการศึกษา ดร.สุวรรณได้ส่งลูกชายไปฝึกงานเป็นพนักงานรับจองตั๋วที่โรงหนัง EGV เป็นการฝึกให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตัดโอกาสเที่ยวเตร่ รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่งาน รู้คุณค่าและความยากลำบากของการหาเงิน และรู้รสชาติของการเป็นลูกจ้าง
ช่วงปิดภาคเรียนถัดๆ มา ได้ส่งลูกชายไปฝึกงานในแผนกบริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่ง เพราะลูกชายเป็นคนชอบรถยนต์ ประสบการณ์ที่ได้คือความอดทนต่อการถูกตำหนิของลูกค้า รู้จักแก้ปัญหาในสถานการณ์คับขัน เหล่านี้เป็นมหาวิทยาลัยชีวิตที่เป็น “วิชาเสริม” ให้ลูกได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง
ประธานชมรมคนออมเงิน ในฐานะนักกฎหมายภาษีชั้นเซียน ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีแต่บุตรสาวและต้องการรักษาทรัพย์สินในรูปแบบ อสังหาริมทรัพย์ไม่ให้ผู้ที่จะมาเป็น “ลูกเขย” ในอนาคตนำไปขาย ให้ใช้วิธี “จดสิทธิเก็บกิน” หรือผู้ทรงสิทธิอาศัยในชื่อพ่อแม่แทนที่จะใช้วิธีโอนที่ดินให้ลูกโดยตรง นอกจากมีค่าใช้จ่ายถูกเพียงแค่หลักร้อยบาทแล้วผลประโยชน์ในสินทรัพย์ยังตก อยู่กับผู้ทรงสิทธิคือพ่อแม่ไม่ตกกับเจ้าของ แต่พอเราเสียชีวิตอสังหาริมทรัพย์นั่นก็ยังเป็นมรดกตกทอดให้ลูกๆ อยู่ดี
“ผมจะพูดกับลูกเสมอว่าเรียนไม่เก่งไม่เป็นไรแต่ขอให้เรียนจบขั้นต่ำต้อง ปริญญาตรี และสำคัญมากห้ามไปเซ็นค้ำประกันให้กับใคร แม้ส่วนตัวจะเป็นที่ปรึกษาภาษีให้เศรษฐีหลายคน แต่ก็สอนลูกๆ ทุกคนว่าโตขึ้นต้องไม่เลี่ยงภาษี”
สำหรับแผนการถ่ายโอนมรดกให้ลูกจะไม่นิยมเก็บในรูปของเงินสด แต่นิยมซื้อที่ดินเก็บไว้ ปัจจุบันมีที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งเป็นบ้านพักในปัจจุบันอยู่ที่สุขุมวิทซอย 8 (ซอยปรีดา) พื้นที่ 100 ตารางวา ที่เตรียมจะส่งต่อให้กับลูก ส่วนตัวคิดต่างจาก ดร.นิเวศน์ตรงที่ ถ้ามีเงินมากพอก็ควรจะ “ซื้อความสุข” ให้กับชีวิต อย่างบ้านก็จะทำใหญ่ๆ เพราะชอบอยู่สบายกว่าหลังเล็ก
นอกจากนี้ ยังชอบเก็บ “ทองคำ” ในระยะยาวมีความมั่นคงสูงและให้ผลตอบแทนดีกว่าพันธบัตรรัฐบาล เห็นได้ว่า 10 ปีย้อนหลังทองคำให้ผลตอบแทน 10% ทุกปี นอกจากนี้ยังลงทุนหุ้น TISCO ในชื่อลูกชาย ชาลี วลัยเสถียร ถืออยู่ 3,937,220 หุ้น สัดส่วน 0.54% (ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 115 ล้านบาท) รอรับเงินปันผลปีละ 2 บาทต่อหุ้น แค่นี้ก็พอใช้ทั้งปีแล้ว
จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ยังพบว่า ดร.สุวรรณ ลงทุนหุ้น S&P ในชื่อชาลี 786,900 หุ้น ราคาตลาดเกือบ 32 ล้านบาท ลงทุนหุ้น TNDT ในชื่อ ดวงใจ วลัยเสถียร ภรรยา 600,000 หุ้น มูลค่า 3 ล้านบาท และลงทุนหุ้น SVI ในชื่อลูกชาย 10,087,284 หุ้น มูลค่าประมาณ 30 ล้านบาท และเก็บหุ้น SVI ในนามส่วนตัวอีกเกือบ 5.58 ล้านหุ้น เป็นต้น
ดร.สุวรรณ บอกด้วยว่า ช่วงที่ผ่านมาได้ซื้อหุ้น SVI จำนวน 4 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 2 บาท (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัท) เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตสามารถส่งต่อให้ลูกหลานได้ เพราะบริษัทยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ส่วนแนวโน้มราคาทองคำคาดว่าจะผันผวนสูงเพราะวิกฤติหนี้ที่ยุโรปยังไม่น่าไว้ วางใจ แต่สิ้นปีน่าจะได้เห็นที่ระดับ 1,350 ดอลลาร์ต่ออออนซ์ ครึ่งปีหลังหุ้นกับอสังหาริมทรัพย์ยังน่าลงทุนกว่าพันธบัตร
คนสุดท้ายนักลงทุนหุ้นคุณค่าพอร์ตระดับร้อยล้านบาท นพ.บำรุง ศรีงาน ประธานชมรมไทยวีไอ บอกว่า เงินเป็นทาสที่ดีของเรา แต่เป็นนายที่แย่ เท่ากับว่าเงินเป็นดาบสองคมมีทั้งคุณและโทษ ก่อนจะใช้ต้องระวังไว้เสมอ ปัจจุบันคุณหมอมีลูก 3 คนยังเล็กอยู่จะใช้วิธีสอนเรื่องเงินสามขั้นตอนคือ หนึ่ง ให้รู้จักว่าเงินสำคัญอย่างไร สอง สอนวิธีการหาเงิน และ สาม สอนวิธีการใช้เงิน ถ้าปลูกฝังแนวคิดนี้ลูกๆ จะเห็นว่าเงินหายากก็จะใช้ยากด้วย
ถ้าลูกๆ อยากจะได้สิ่งของอะไร จะต้องมีผลงานมาโชว์ด้วยเช่น ผลการสอบ เวลาที่จะซื้อของอะไรก็ตามจะสอนลูกด้วยว่าสิ่งที่ต้องจ่ายมากขึ้น “คุ้มค่า” หรือไม่ อย่างทุกวันนี้ยังขับรถโตโยต้า คัมรี่ และไม่มีการแต่งรถเลย เพราะมองว่าออปชั่นต่างๆ ที่ต้องซื้อเพิ่มมันแพงเกินควร
ตอนนี้ลูกๆ ทั้งสามของคุณหมอยังเล็กอยู่ แต่อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ เตรียมแผนการปลูกฝังเรื่องการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือแวลูอินเวสเตอร์ให้ลูกๆ แล้ว คิดว่าจะเริ่มหลังจากมีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น อาจจะหลังจบปริญญาตรีสัก 2-3 ปี
แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น คุณหมอวางแผนจะลงทุนหุ้นให้กับลูกเพื่อรับประกันความมั่งคั่งในอนาคต ทำไมต้องเป็นหุ้น? เขาบอกว่าหุ้นเป็นสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญพอสมควร และยิ่งลงทุนนานจะให้ผลตอบแทนดีกว่าอย่างอื่น จะให้ลงทุนทองคำก็ไม่ค่อยมีความรู้มากนัก
ส่วนตัวมองว่าการวิเคราะห์หุ้นมันลึกกว่าทองคำที่มีปัจจัยแค่ดี มานด์-ซัพพลาย แต่หุ้นต้องคำนึงถึงผู้บริหารด้วย เหมือนอย่างที่เข้าซื้อหุ้น SAT ตั้งแต่ราคา 5-6 บาท ปัจจุบันอยู่ที่ 20 บาท นอกจากเห็นว่าตลาดรถยนต์ของไทยจะโตแล้วยังเชื่อว่าผู้บริหารมีความสามารถ ด้วย ก่อนจะมากำไรหุ้น SAT คุณหมอก็กำไรหุ้น STPI มาก่อน “หลายเท่าตัว” รวมถึงหุ้น STANLY ด้วย
BangkokBizNews
3 กูรูด้านการลงทุน แนะวิธีส่งต่อความมั่งคั่งสู่ทายาท พร้อมวิธีสอนลูกใช้เงินอย่างคุ้มค่าและเป็นสุข
คนฟุ่มเฟือยชอบทำอะไรเกินตัว แม้จะร่ำรวยสุดท้ายก็มักขัดสน คนนิสัยประหยัด แม้จะยากจนก็มักมีเหลือเก็บ ความสำคัญของ “เงิน” อยู่ที่คุณค่าการใช้ ไม่ใช่ “ปริมาณ” สามดอกเตอร์สอนลูกเรื่องเงิน ส่งต่อ “ความรวย” ด้วยศาสตร์และศิลป์ เพราะพวกเขามองว่า..ชีวิตของลูกอยู่ในกำมือของพ่อแม่
ตลอดชีวิตการลงทุนที่ผ่านมา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จะเลือกเฟ้นแต่เฉพาะหุ้น “เฟิร์สคลาส” (ชั้นหนึ่ง) ตรงกันข้ามกับวิถีการใช้ชีวิตจะใช้แบบ Economy (คุ้มค่า) โดยมองทุกอย่างที่ความคุ้มค่าของเงิน และประโยชน์ที่ได้รับกลับมา โดยจะไม่จ่ายอะไรที่แพงเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้น “การใช้จ่าย” เพื่อซื้อความสุข สำหรับ Value Investor จึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
กูรูด้านการลงทุนหุ้นคุณค่าหมายเลขหนึ่งของเมืองไทย เล่าว่า วิธีสอนเรื่องการใช้เงินกับ “น้องแจน” น.ส.พิสชา เหมวชิรวรากร (นักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ สาขาการจัดการการสื่อสารคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ) ลูกสาวคนเดียว ในฐานะพ่อจะทำตัวให้เป็นตัวอย่างมากกว่าบอกว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้
ส่วนตัวคิดว่าเด็กสมัยใหม่บางคนไม่ถูกกดดันให้ต้องหาเงินเองทำให้มีคำถาม กลับมาว่าทำไมต้องประหยัดด้วย อย่างเช่นน้องแจนไปเที่ยวบ้านเพื่อนก็จะกลับมาถามว่าทำไมเราไม่สร้างบ้านให้ ใหญ่เหมือนเขา (ทั้งๆ ที่รู้ว่าพ่อรวย) คนเป็นพ่อแม่จะต้องอธิบายให้เขาฟังด้วยเหตุผลว่าอะไรที่จำเป็นอะไรไม่จำเป็น
ดร.นิเวศน์ เคยเล่าว่า ทุกวันนี้ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง บ้านของดอกเตอร์เป็นบ้านชั้นเดียวเล็กๆ บนเนื้อที่ไม่กี่ตารางวา ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของแม่ยาย ทุกคนอยู่รวมกัน เห็นหน้ากันทุกวัน ไม่มีพื้นที่สำหรับความเป็นส่วนตัว ไม่มีคนรับใช้ แต่บ้านหลังนี้ไม่เคยปราศจากไออุ่นของทุกคน
“บ้านผมมีห้องเดียวนะ เป็นบ้านที่อยู่ตั้งแต่สมัยที่ไม่มีตังค์เลย ตอนแต่งงานใหม่ๆ ชีวิตทำงานกินเงินเดือน ก็ไม่ได้มีตังค์มาก ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้านหลังเดิม…ความสะดวกสบายในบ้านจริงๆ มีน้อย บ้านหลังเล็กมาก แต่ผมไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้ เพราะมาคิดดูอีกทีถามว่าไปอยู่บ้านหลังใหญ่ๆ โตๆ ได้มั้ย มันก็ได้ แต่บ้านใหญ่โตไม่ได้ให้ความสุขกับเรามากไปกว่าบ้านหลังเล็ก ทุกคนใกล้ชิดกัน เจอหน้ากันทั้งวัน”
หลักการเรื่องความคุ้มค่าของเงินจะต้องมาพร้อมกับ “ความสุข” เสมอ เรื่องนี้ ดร.นิเวศน์ เชื่อว่า สิ่งใดที่ต้องจ่ายแพงๆ แล้วจะต้องกลายเป็น “ทาส” ของสิ่งนั้น ตัวเอง “จะไม่ทำ” ยกตัวอย่างการซื้อรถยนต์ หรือซื้อบ้านราคาแพงๆ แล้วต้องเป็นทุกข์กับการทำความสะอาดบ่อยๆ แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นความสุขจริง
ตรงกันข้ามกับของบางอย่างถ้าต้อง “จ่ายแพง” แลกกับประโยชน์ที่คุ้มค่าระยะยาวก็จำเป็น โดยเฉพาะเรื่อง “การศึกษาบุตร” สมัยเมื่อ 20 ปีก่อนยังไม่มีเงินมากเท่าตอนนี้ ตอนนั้นตัดสินใจส่งน้องแจนเรียนหลักสูตรอินเตอร์แม้ราคาจะแพงแต่มองว่านี่ คือการลงทุน ที่จะออกดอกผลในอนาคต นอกจากนี้ยังมีเรื่องหนังสือดีๆ และอาหารการกินที่ไม่ควรจะประหยัดเกินไป แต่ถ้าของอย่างอื่นที่จำเป็นจริงๆ ก็ต้องซื้อ เช่น ล่าสุดเพิ่งซื้อมือถือ BlackBerry ให้ลูกไปเพราะอีกหน่อยไปเรียนเมืองนอกจะใช้คุยกับคนที่เมืองไทยได้
ส่วนเรื่องของ “มรดก” ดร.นิเวศน์ เปิดเผยว่า น้องแจนเพิ่งจะรู้ไม่นานเองว่าพ่อมีพอร์ตหุ้นระดับ (เกิน) “พันล้านบาท” แล้วเขารู้จากเพื่อน ที่จริงไม่คิดที่จะปกปิดมีแผนที่จะค่อยๆ สอนเรื่องหุ้นให้กับลูกอยู่แล้ว แต่ขอแบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะเด็กรุ่นใหม่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องหุ้น อาจจะตีความหมายผิดไปได้ว่าพ่อเป็น “คนรวย” (ไม่เห็นต้องดิ้นรน) ไม่อยากให้ลูกคิดแบบนี้
“อีกไม่นานเขาจะต้องเป็นผู้รับช่วงต่อพอร์ตหุ้นของผมทั้งหมดไปอย่างแน่ นอน จากนี้ไปเป็นงานของผมที่ต้องค่อยๆ อธิบายแนวคิดการลงทุนให้เขารู้ ไม่ว่าในอนาคตเขาจะทำงานประจำหรือแต่งงานออกไปเป็นแม่บ้านอย่างเดียว”
ในฐานะพ่อที่ทะนุถนอมพอร์ตหุ้นจนเติบใหญ่เลี้ยงมาไม่ต่างจากลูกรักอีกคน ดร.นิเวศน์ยังจะประคับประคองขอให้เป็นการตัดสินใจร่วมกันว่าควรจะขายหุ้นออก ไปเมื่อไร คงไม่ให้ลูกตัดสินใจเพียงลำพัง แม้พ่อจะหาสมบัติไว้เป็นมรดกให้ลูกมากมายนับพันล้านบาท แต่พ่อคนนี้ก็ย้ำสอนกับลูกสาวคนเดียวของเขาว่า…
“ลูกไม่จำเป็นต้องมี(หา)สามีรวยเพื่อให้ทัดเทียมกับเรา แต่ขอให้เลือกคนที่อยู่ด้วยแล้วมีความสุขเป็นอันดับแรก แม้เขาจะจนกว่าเรา ขอให้มีความขยันอยู่ในตัวก็พอ” นัยหนึ่งพ่อต้องการสอน…ลูกต้องเป็น “นาย” ของเงิน อย่าเป็น “ทาส” ของเงิน มองคนที่ “คุณค่า” ไม่ใช่มองคนที่ “ราคา” เช่นเดียวกับหุ้นที่พ่อซื้อ
ด้านคุณพ่อลูก(ชาย)สอง ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร แม้จะมีฐานะค่อนข้างมั่นคงมาตั้งแต่ลูกยังเล็ก มีรายได้จากค่าที่ปรึกษากฎหมายภาษีเป็นรายนาที แต่มักสอนให้ลูกใช้เงินอย่างประหยัด “จ่าย” ให้น้อยกว่า “รับ” เป็นวิธีเดียวที่จะเก็บความมั่งคั่งเอาไว้ได้
ดร.สุวรรณ เคยเล่าว่าได้ตกลงกับภรรยาตั้งกองทุนให้ลูกทั้ง 2 คนๆ ละ 10 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกว่าจะใช้สำหรับการไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือจะใช้เป็นทุนสำหรับเริ่มต้นชีวิต และสิ่งที่ครอบครัวนี้เลือกก็คือเก็บเงิน 10 ล้านบาท เป็นเงินก้นถุงของลูกแต่ละคน
“ถ้าส่งลูกไปเรียนที่อังกฤษเสียค่าใช้จ่ายปีละ 1.6 ล้านบาท ส่งไปเรียนอเมริกาเสียปีละ 1.2 ล้านบาท ออสเตรเลียปีละ 8 แสนบาท นิวซีแลนด์ปีละ 6 แสนบาท ถ้าเราส่งพวกเขาไปเรียน 10 ปี ก็ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่าคนละ 10 ล้านบาท เราจึงตกลงกันว่าจะเก็บเงินส่วนนี้ให้พวกเขา”
เหตุผล 3 ข้อของการไม่ส่งลูกไปเรียนเมืองนอกของครอบครัววลัยเสถียร หนึ่ง. ลูกโตขึ้นโดยที่เราไม่ได้ดูแล ไม่ได้อบรมบ่มนิสัยตั้งแต่เด็ก สอง. เรียนเมืองนอกเสียค่าใช้จ่ายมาก เงินส่วนนี้ควรเก็บเอาไว้ให้ลูกๆ ได้ตั้งตัว และสาม. ลูกกลับมาจะกลายเป็นคนที่ไม่มีเพื่อน ไม่มีรุ่น
ในช่วงวัยเรียน (วัยรุ่น) ขณะปิดภาคการศึกษา ดร.สุวรรณได้ส่งลูกชายไปฝึกงานเป็นพนักงานรับจองตั๋วที่โรงหนัง EGV เป็นการฝึกให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตัดโอกาสเที่ยวเตร่ รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่งาน รู้คุณค่าและความยากลำบากของการหาเงิน และรู้รสชาติของการเป็นลูกจ้าง
ช่วงปิดภาคเรียนถัดๆ มา ได้ส่งลูกชายไปฝึกงานในแผนกบริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่ง เพราะลูกชายเป็นคนชอบรถยนต์ ประสบการณ์ที่ได้คือความอดทนต่อการถูกตำหนิของลูกค้า รู้จักแก้ปัญหาในสถานการณ์คับขัน เหล่านี้เป็นมหาวิทยาลัยชีวิตที่เป็น “วิชาเสริม” ให้ลูกได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเข้มแข็ง
ประธานชมรมคนออมเงิน ในฐานะนักกฎหมายภาษีชั้นเซียน ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีแต่บุตรสาวและต้องการรักษาทรัพย์สินในรูปแบบ อสังหาริมทรัพย์ไม่ให้ผู้ที่จะมาเป็น “ลูกเขย” ในอนาคตนำไปขาย ให้ใช้วิธี “จดสิทธิเก็บกิน” หรือผู้ทรงสิทธิอาศัยในชื่อพ่อแม่แทนที่จะใช้วิธีโอนที่ดินให้ลูกโดยตรง นอกจากมีค่าใช้จ่ายถูกเพียงแค่หลักร้อยบาทแล้วผลประโยชน์ในสินทรัพย์ยังตก อยู่กับผู้ทรงสิทธิคือพ่อแม่ไม่ตกกับเจ้าของ แต่พอเราเสียชีวิตอสังหาริมทรัพย์นั่นก็ยังเป็นมรดกตกทอดให้ลูกๆ อยู่ดี
“ผมจะพูดกับลูกเสมอว่าเรียนไม่เก่งไม่เป็นไรแต่ขอให้เรียนจบขั้นต่ำต้อง ปริญญาตรี และสำคัญมากห้ามไปเซ็นค้ำประกันให้กับใคร แม้ส่วนตัวจะเป็นที่ปรึกษาภาษีให้เศรษฐีหลายคน แต่ก็สอนลูกๆ ทุกคนว่าโตขึ้นต้องไม่เลี่ยงภาษี”
สำหรับแผนการถ่ายโอนมรดกให้ลูกจะไม่นิยมเก็บในรูปของเงินสด แต่นิยมซื้อที่ดินเก็บไว้ ปัจจุบันมีที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งเป็นบ้านพักในปัจจุบันอยู่ที่สุขุมวิทซอย 8 (ซอยปรีดา) พื้นที่ 100 ตารางวา ที่เตรียมจะส่งต่อให้กับลูก ส่วนตัวคิดต่างจาก ดร.นิเวศน์ตรงที่ ถ้ามีเงินมากพอก็ควรจะ “ซื้อความสุข” ให้กับชีวิต อย่างบ้านก็จะทำใหญ่ๆ เพราะชอบอยู่สบายกว่าหลังเล็ก
นอกจากนี้ ยังชอบเก็บ “ทองคำ” ในระยะยาวมีความมั่นคงสูงและให้ผลตอบแทนดีกว่าพันธบัตรรัฐบาล เห็นได้ว่า 10 ปีย้อนหลังทองคำให้ผลตอบแทน 10% ทุกปี นอกจากนี้ยังลงทุนหุ้น TISCO ในชื่อลูกชาย ชาลี วลัยเสถียร ถืออยู่ 3,937,220 หุ้น สัดส่วน 0.54% (ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 115 ล้านบาท) รอรับเงินปันผลปีละ 2 บาทต่อหุ้น แค่นี้ก็พอใช้ทั้งปีแล้ว
จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ยังพบว่า ดร.สุวรรณ ลงทุนหุ้น S&P ในชื่อชาลี 786,900 หุ้น ราคาตลาดเกือบ 32 ล้านบาท ลงทุนหุ้น TNDT ในชื่อ ดวงใจ วลัยเสถียร ภรรยา 600,000 หุ้น มูลค่า 3 ล้านบาท และลงทุนหุ้น SVI ในชื่อลูกชาย 10,087,284 หุ้น มูลค่าประมาณ 30 ล้านบาท และเก็บหุ้น SVI ในนามส่วนตัวอีกเกือบ 5.58 ล้านหุ้น เป็นต้น
ดร.สุวรรณ บอกด้วยว่า ช่วงที่ผ่านมาได้ซื้อหุ้น SVI จำนวน 4 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 2 บาท (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการบริษัท) เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตสามารถส่งต่อให้ลูกหลานได้ เพราะบริษัทยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ส่วนแนวโน้มราคาทองคำคาดว่าจะผันผวนสูงเพราะวิกฤติหนี้ที่ยุโรปยังไม่น่าไว้ วางใจ แต่สิ้นปีน่าจะได้เห็นที่ระดับ 1,350 ดอลลาร์ต่ออออนซ์ ครึ่งปีหลังหุ้นกับอสังหาริมทรัพย์ยังน่าลงทุนกว่าพันธบัตร
คนสุดท้ายนักลงทุนหุ้นคุณค่าพอร์ตระดับร้อยล้านบาท นพ.บำรุง ศรีงาน ประธานชมรมไทยวีไอ บอกว่า เงินเป็นทาสที่ดีของเรา แต่เป็นนายที่แย่ เท่ากับว่าเงินเป็นดาบสองคมมีทั้งคุณและโทษ ก่อนจะใช้ต้องระวังไว้เสมอ ปัจจุบันคุณหมอมีลูก 3 คนยังเล็กอยู่จะใช้วิธีสอนเรื่องเงินสามขั้นตอนคือ หนึ่ง ให้รู้จักว่าเงินสำคัญอย่างไร สอง สอนวิธีการหาเงิน และ สาม สอนวิธีการใช้เงิน ถ้าปลูกฝังแนวคิดนี้ลูกๆ จะเห็นว่าเงินหายากก็จะใช้ยากด้วย
ถ้าลูกๆ อยากจะได้สิ่งของอะไร จะต้องมีผลงานมาโชว์ด้วยเช่น ผลการสอบ เวลาที่จะซื้อของอะไรก็ตามจะสอนลูกด้วยว่าสิ่งที่ต้องจ่ายมากขึ้น “คุ้มค่า” หรือไม่ อย่างทุกวันนี้ยังขับรถโตโยต้า คัมรี่ และไม่มีการแต่งรถเลย เพราะมองว่าออปชั่นต่างๆ ที่ต้องซื้อเพิ่มมันแพงเกินควร
ตอนนี้ลูกๆ ทั้งสามของคุณหมอยังเล็กอยู่ แต่อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ เตรียมแผนการปลูกฝังเรื่องการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือแวลูอินเวสเตอร์ให้ลูกๆ แล้ว คิดว่าจะเริ่มหลังจากมีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น อาจจะหลังจบปริญญาตรีสัก 2-3 ปี
แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น คุณหมอวางแผนจะลงทุนหุ้นให้กับลูกเพื่อรับประกันความมั่งคั่งในอนาคต ทำไมต้องเป็นหุ้น? เขาบอกว่าหุ้นเป็นสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญพอสมควร และยิ่งลงทุนนานจะให้ผลตอบแทนดีกว่าอย่างอื่น จะให้ลงทุนทองคำก็ไม่ค่อยมีความรู้มากนัก
ส่วนตัวมองว่าการวิเคราะห์หุ้นมันลึกกว่าทองคำที่มีปัจจัยแค่ดี มานด์-ซัพพลาย แต่หุ้นต้องคำนึงถึงผู้บริหารด้วย เหมือนอย่างที่เข้าซื้อหุ้น SAT ตั้งแต่ราคา 5-6 บาท ปัจจุบันอยู่ที่ 20 บาท นอกจากเห็นว่าตลาดรถยนต์ของไทยจะโตแล้วยังเชื่อว่าผู้บริหารมีความสามารถ ด้วย ก่อนจะมากำไรหุ้น SAT คุณหมอก็กำไรหุ้น STPI มาก่อน “หลายเท่าตัว” รวมถึงหุ้น STANLY ด้วย
BangkokBizNews
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 24
อีกท่านหนึ่ง เสี่ยปู สอนลูกรับกับมรดกหุ้น VI พันล้านอย่างไร จากกรุงเทพธุรกิจเมื่อปี 2552
___________________________________________________________________________________________
การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 23 กันยายน 2552 03:00ปั้นลูกเป็นเซียนหุ้น..เสี่ยปู่ รวยไม่เลิก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ท่ามกลางวิกฤติ "เสี่ยปู่" กลับมองเป็นโอกาสสำคัญ "สะสมหุ้น" ราคาถูก พร้อมผลักดัน "น้องบอล" ลูกชายวัย 22 ปี เข้าสู่ตลาดหุ้นเดินตามรอยเท้าพ่อ
กว่า 20 ปีมาแล้วที่ "เสี่ยปู่" สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล นั่งทำงานประจำของตัวเองเต็มเวลาอยู่หน้ากระดานหุ้น โดยมีราคา "เขียว-แดง" แว้บๆที่หน้าจอเป็นยิ่งกว่าเพื่อนที่รู้ใจ เขาคือนักเล่นหุ้นมืออาชีพที่เริ่มนับหนึ่งจาก BMW เก่าๆ และเงินทุนประเดิมไม่ถึง 1 ล้านบาท วันนี้เสี่ยปู่มีพอร์ตลงทุนมากว่า "พันล้านบาท" มีเบนท์ลีย์เป็นพาหนะ สะสมที่ดินผืนงามเพื่อการลงทุน ทุกอย่างได้มาด้วยการพิชิต "เงามืด" ภายในจิตใจตนเองและของผู้อื่น "ความโลภ-ความกลัว" และ "วิกฤติ" คือโอกาสที่ไม่สิ้นสุด
ปัจจุบันเสี่ยปู่เป็น "เจ้าของ" บริษัทมหาชนหลายแห่งในตลาดหลักทรัพย์ที่บริษัทไม่มีเก้าอี้กรรมการให้นั่ง เขามีเพียงตำแหน่งยั่งยืนที่ใครก็เอาไปไม่ได้ที่ติดตัวมาเพราะฝีมือ..ตำแหน่ง "เซียนหุ้น" มือวางอันดับต้นๆของประเทศ โดยมีวิกฤติใหญ่ 3 ครั้ง (แบล็กมันเดย์-ต้มยำกุ้ง-ซับไพร์ม) ยืนยันว่าของจริง
ปัจจุบัน "ภรรยา" วารุณี ชลคดีดำรงกุล ก็เป็นนักลงทุน (แต่เล่นกันคนละโบรกฯ) และกำลังวางรากฐานให้ลูกๆ 3 คน "พงษ์พัฒน์-นัทยา-ขนิษฐา" เป็นลูกไม้ที่หล่นใต้ต้น
สำหรับวิกฤติครั้งนี้ เสี่ยปู่ซุ่มเก็บหุ้นราคาถูกไว้จำนวนมาก โดยยังโฟกัสไปที่ "หุ้นขนาดกลาง" ปัจจัยพื้นฐานดี ขณะเดียวกันยังใช้จังหวะของวิกฤติผลักดันให้ลูกชายคนโตวัย 22 ปี "บอล" พงษ์พัฒน์ ชลคดีดำรงกุล เข้ามาเรียนรู้การเล่นหุ้นในสนามจริง
“วิกฤติซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา และวิกฤติการเงินโลก อาจทำให้นักลงทุนหลายคนกลัว แต่สำหรับผมมันคือโอกาสการทำกำไรครั้งสำคัญ" เสี่ยปู่ บอกกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek สิ่งที่เขามองต่างออกไปจากนักลงทุนส่วนใหญ่ที่มักยึดตัว SET Index เป็นตัวตั้ง และรีบขายหุ้นทำกำไรเพราะคิดว่า..เดี๋ยวหุ้นก็ลง
แต่วิกฤติหลายครั้งในตลาดหุ้นสอนเสี่ยปู่ว่า หลังวิกฤติต้อง "ถือรอ" จนกว่าราคาหุ้นนั้นจะสะท้อนการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ และหุ้นที่จะสร้างผลตอบแทนได้มากต้องเป็นหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีที่กำลังจะ "เทิร์นอะราวด์" โดยพิจารณาจาก "มูลค่าหุ้นตามบัญชี" และ "เงินปันผล"
"วันนี้ยังมีหุ้นพื้นฐานดีอีกหลายตัวที่ยังซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชีประมาณ 20-30% และจ่ายเงินปันผลดี ใครศึกษาพื้นฐานของบริษัทดีๆรับรองว่าจะได้รับกำไรสองต่อทั้งส่วนต่างกำไรและเงินปันผล"
เซียนหุ้นพันล้าน เล่าว่า ได้สนับสนุนน้องบอลลูกชายคนโตให้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อปี 2551 ปัจจุบันมีพอร์ตแล้วประมาณ 6-7 ล้านบาท ลักษณะการลงทุนจะคล้ายกันคือ "มองหาโอกาสจากวิกฤติ" เพราะมีวิกฤติก็จะเป็นโอกาสการลงทุน อาจแตกต่างกันตรงที่น้องบอลจะติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เขาจะอ่านหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส และจะฟัง เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เป็นหลัก ตรงกันข้ามกับพ่อที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้เท่าไร
แนวทางการปั้นลูกให้เป็น "เซียนหุ้น" ก่อนจะส่งลงสนามที่มีความเสี่ยงบนเดิมพันสิ่งแรกไม่ใช่การสอนวิธีการ "หาเงิน" หรือ ซื้อหุ้นอย่างไรให้ได้กำไร แต่สิ่งที่เสี่ยปู่สอนลูกคือให้เขารู้จักวิธีการ "รักษาเงิน" ซะก่อน (ก่อนจะรุกต้องเรียนรู้วิธีการตั้งรับก่อน) ลูกทั้ง 3 คนจะถูกสอนว่าต้องรู้จักบริหารเงินในมือให้เป็นเพื่อชีวิตในวันข้างหน้าพวกลูกจะได้ไม่ลำบาก
"ถ้ามีเงินเก็บ 100 บาท ควรแบ่งมาลงทุนเพื่อให้เงินนั้นงอกเงย 80-90% ที่เหลืออีก 10-20% ให้นำไปซื้อที่ดิน หรือฝากแบงก์ และต้องไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัวถ้าใช้เงินไม่เกิดประโยชน์อนาคตจะอยู่อย่างไร..คนที่ใช้เงินไม่เป็นมีเท่าไรก็หมด"
เสี่ยปู่ บอกว่า น้องบอลลูกชายคนโตคงชัดเจนแล้วว่าจะเดินตาม "รอยเท้าผม" วันนี้เขาซื้อหุ้นทุกตัวเหมือนผม และมีแผนจะทำงานเกี่ยวกับแวดวงการเงิน แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร เนื่องจากวันนี้ยังเป็น “มือสมัครเล่น” คงต้องเรียนรู้อีกระยะ
ส่วนลูกสาวคนที่ 2 "น้องนัท" นัทยา ชลคดีดำรงกุล อายุ 19 ปี รายนี้ชอบเรื่องแฟชั่นมากคงไม่สนใจการลงทุนในตลาดหุ้น คนสุดท้อง "น้องฝ้าย" ขนิษฐา ชลคดีดำรงกุล อายุ 17 ปี ไม่ต้องพูดเลยคนนี้เป็นตัวของตัวเองมาก ปัจจุบันเรียนด้านวิศวะสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นเรื่องเศรษฐกิจ ตลาดทุน ตลาดหุ้น เขาไม่สนใจเลย
อย่างไรก็ตาม พ่อ-แม่ก็วางรากฐานเรื่องการลงทุนไว้ให้แต่เนิ่นๆ น้องนัท ถือหุ้น MFEC จำนวน 525,000 หุ้น และหุ้น LANNA จำนวน 242,000 หุ้น ส่วนน้องฝ้าย ถือหุ้น MFEC จำนวน 517,000 หุ้น และหุ้น LANNA จำนวน 242,000 หุ้น แต่สำหรับน้องบอล ตอนนี้มีพอร์ตของตัวเองแล้วที่ บล.กิมเอ็ง
“ผมไม่ได้สอนเทคนิคการเล่นหุ้นให้น้องบอล เพราะเรื่องแบบนี้มันเป็นเทคนิคส่วนบุคคล แต่เขาก็มีมาขอคำแนะนำบ้างหรือมาบอกในสิ่งที่ผมไม่รู้บ้าง โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจโลกเพราะเขาจะเกาะติดใกล้ชิดอย่างเร็วๆ นี้ ก็มาบอกว่าในอนาคตอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในสหรัฐอเมริกาให้ระมัดระวัง”
ในตลาดหุ้นความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ทางของ "ลูกไม้" 3 นักเรียนนอกคงไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบ...เส้นทางสายนี้ยังอีกยาวไกล
___________________________________________________________________________________________
การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 23 กันยายน 2552 03:00ปั้นลูกเป็นเซียนหุ้น..เสี่ยปู่ รวยไม่เลิก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ท่ามกลางวิกฤติ "เสี่ยปู่" กลับมองเป็นโอกาสสำคัญ "สะสมหุ้น" ราคาถูก พร้อมผลักดัน "น้องบอล" ลูกชายวัย 22 ปี เข้าสู่ตลาดหุ้นเดินตามรอยเท้าพ่อ
กว่า 20 ปีมาแล้วที่ "เสี่ยปู่" สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล นั่งทำงานประจำของตัวเองเต็มเวลาอยู่หน้ากระดานหุ้น โดยมีราคา "เขียว-แดง" แว้บๆที่หน้าจอเป็นยิ่งกว่าเพื่อนที่รู้ใจ เขาคือนักเล่นหุ้นมืออาชีพที่เริ่มนับหนึ่งจาก BMW เก่าๆ และเงินทุนประเดิมไม่ถึง 1 ล้านบาท วันนี้เสี่ยปู่มีพอร์ตลงทุนมากว่า "พันล้านบาท" มีเบนท์ลีย์เป็นพาหนะ สะสมที่ดินผืนงามเพื่อการลงทุน ทุกอย่างได้มาด้วยการพิชิต "เงามืด" ภายในจิตใจตนเองและของผู้อื่น "ความโลภ-ความกลัว" และ "วิกฤติ" คือโอกาสที่ไม่สิ้นสุด
ปัจจุบันเสี่ยปู่เป็น "เจ้าของ" บริษัทมหาชนหลายแห่งในตลาดหลักทรัพย์ที่บริษัทไม่มีเก้าอี้กรรมการให้นั่ง เขามีเพียงตำแหน่งยั่งยืนที่ใครก็เอาไปไม่ได้ที่ติดตัวมาเพราะฝีมือ..ตำแหน่ง "เซียนหุ้น" มือวางอันดับต้นๆของประเทศ โดยมีวิกฤติใหญ่ 3 ครั้ง (แบล็กมันเดย์-ต้มยำกุ้ง-ซับไพร์ม) ยืนยันว่าของจริง
ปัจจุบัน "ภรรยา" วารุณี ชลคดีดำรงกุล ก็เป็นนักลงทุน (แต่เล่นกันคนละโบรกฯ) และกำลังวางรากฐานให้ลูกๆ 3 คน "พงษ์พัฒน์-นัทยา-ขนิษฐา" เป็นลูกไม้ที่หล่นใต้ต้น
สำหรับวิกฤติครั้งนี้ เสี่ยปู่ซุ่มเก็บหุ้นราคาถูกไว้จำนวนมาก โดยยังโฟกัสไปที่ "หุ้นขนาดกลาง" ปัจจัยพื้นฐานดี ขณะเดียวกันยังใช้จังหวะของวิกฤติผลักดันให้ลูกชายคนโตวัย 22 ปี "บอล" พงษ์พัฒน์ ชลคดีดำรงกุล เข้ามาเรียนรู้การเล่นหุ้นในสนามจริง
“วิกฤติซับไพร์มของสหรัฐอเมริกา และวิกฤติการเงินโลก อาจทำให้นักลงทุนหลายคนกลัว แต่สำหรับผมมันคือโอกาสการทำกำไรครั้งสำคัญ" เสี่ยปู่ บอกกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek สิ่งที่เขามองต่างออกไปจากนักลงทุนส่วนใหญ่ที่มักยึดตัว SET Index เป็นตัวตั้ง และรีบขายหุ้นทำกำไรเพราะคิดว่า..เดี๋ยวหุ้นก็ลง
แต่วิกฤติหลายครั้งในตลาดหุ้นสอนเสี่ยปู่ว่า หลังวิกฤติต้อง "ถือรอ" จนกว่าราคาหุ้นนั้นจะสะท้อนการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ และหุ้นที่จะสร้างผลตอบแทนได้มากต้องเป็นหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีที่กำลังจะ "เทิร์นอะราวด์" โดยพิจารณาจาก "มูลค่าหุ้นตามบัญชี" และ "เงินปันผล"
"วันนี้ยังมีหุ้นพื้นฐานดีอีกหลายตัวที่ยังซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชีประมาณ 20-30% และจ่ายเงินปันผลดี ใครศึกษาพื้นฐานของบริษัทดีๆรับรองว่าจะได้รับกำไรสองต่อทั้งส่วนต่างกำไรและเงินปันผล"
เซียนหุ้นพันล้าน เล่าว่า ได้สนับสนุนน้องบอลลูกชายคนโตให้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อปี 2551 ปัจจุบันมีพอร์ตแล้วประมาณ 6-7 ล้านบาท ลักษณะการลงทุนจะคล้ายกันคือ "มองหาโอกาสจากวิกฤติ" เพราะมีวิกฤติก็จะเป็นโอกาสการลงทุน อาจแตกต่างกันตรงที่น้องบอลจะติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศอย่างใกล้ชิด เขาจะอ่านหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส และจะฟัง เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เป็นหลัก ตรงกันข้ามกับพ่อที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้เท่าไร
แนวทางการปั้นลูกให้เป็น "เซียนหุ้น" ก่อนจะส่งลงสนามที่มีความเสี่ยงบนเดิมพันสิ่งแรกไม่ใช่การสอนวิธีการ "หาเงิน" หรือ ซื้อหุ้นอย่างไรให้ได้กำไร แต่สิ่งที่เสี่ยปู่สอนลูกคือให้เขารู้จักวิธีการ "รักษาเงิน" ซะก่อน (ก่อนจะรุกต้องเรียนรู้วิธีการตั้งรับก่อน) ลูกทั้ง 3 คนจะถูกสอนว่าต้องรู้จักบริหารเงินในมือให้เป็นเพื่อชีวิตในวันข้างหน้าพวกลูกจะได้ไม่ลำบาก
"ถ้ามีเงินเก็บ 100 บาท ควรแบ่งมาลงทุนเพื่อให้เงินนั้นงอกเงย 80-90% ที่เหลืออีก 10-20% ให้นำไปซื้อที่ดิน หรือฝากแบงก์ และต้องไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัวถ้าใช้เงินไม่เกิดประโยชน์อนาคตจะอยู่อย่างไร..คนที่ใช้เงินไม่เป็นมีเท่าไรก็หมด"
เสี่ยปู่ บอกว่า น้องบอลลูกชายคนโตคงชัดเจนแล้วว่าจะเดินตาม "รอยเท้าผม" วันนี้เขาซื้อหุ้นทุกตัวเหมือนผม และมีแผนจะทำงานเกี่ยวกับแวดวงการเงิน แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร เนื่องจากวันนี้ยังเป็น “มือสมัครเล่น” คงต้องเรียนรู้อีกระยะ
ส่วนลูกสาวคนที่ 2 "น้องนัท" นัทยา ชลคดีดำรงกุล อายุ 19 ปี รายนี้ชอบเรื่องแฟชั่นมากคงไม่สนใจการลงทุนในตลาดหุ้น คนสุดท้อง "น้องฝ้าย" ขนิษฐา ชลคดีดำรงกุล อายุ 17 ปี ไม่ต้องพูดเลยคนนี้เป็นตัวของตัวเองมาก ปัจจุบันเรียนด้านวิศวะสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นเรื่องเศรษฐกิจ ตลาดทุน ตลาดหุ้น เขาไม่สนใจเลย
อย่างไรก็ตาม พ่อ-แม่ก็วางรากฐานเรื่องการลงทุนไว้ให้แต่เนิ่นๆ น้องนัท ถือหุ้น MFEC จำนวน 525,000 หุ้น และหุ้น LANNA จำนวน 242,000 หุ้น ส่วนน้องฝ้าย ถือหุ้น MFEC จำนวน 517,000 หุ้น และหุ้น LANNA จำนวน 242,000 หุ้น แต่สำหรับน้องบอล ตอนนี้มีพอร์ตของตัวเองแล้วที่ บล.กิมเอ็ง
“ผมไม่ได้สอนเทคนิคการเล่นหุ้นให้น้องบอล เพราะเรื่องแบบนี้มันเป็นเทคนิคส่วนบุคคล แต่เขาก็มีมาขอคำแนะนำบ้างหรือมาบอกในสิ่งที่ผมไม่รู้บ้าง โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจโลกเพราะเขาจะเกาะติดใกล้ชิดอย่างเร็วๆ นี้ ก็มาบอกว่าในอนาคตอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในสหรัฐอเมริกาให้ระมัดระวัง”
ในตลาดหุ้นความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ทางของ "ลูกไม้" 3 นักเรียนนอกคงไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบ...เส้นทางสายนี้ยังอีกยาวไกล
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 25
คอลัมน์: หน้าต่างก.ล.ต.: เลือกของขวัญให้ลูก
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Tuesday, January 24, 2012 03:47
34396 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK XCORP XFINMKT DAS V%PAPERL P%PTD
สุรีรัตน์ สุรเดชะ
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมความรู้ด้านการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.
E-mai : [email protected]
เด็กกับของเล่นเป็นของคู่กันเสมอ ทันทีที่เด็กๆ ได้รับของขวัญเป็นของเล่นที่อยากได้ ความดีใจจะปรากฏให้เห็นได้ชัด พ่อแม่คงยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ที่เห็นลูกมีความสุข แต่คุณลองสังเกตดูสักนิดไหมว่า เมื่อเวลาผ่านไป ของเล่นเหล่านี้ยังเป็นของเล่นชิ้นโปรดของลูกอยู่หรือไม่ หรือหายไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้และไม่นานพ่อแม่ก็ต้องซื้อของเล่นชิ้นใหม่ให้ลูกอีกเรื่อยๆราคาของเล่นที่ลูกอยากได้ก็สูงขึ้นตามอายุ จากของเล่นประเภทรถแข่งหรือตุ๊กตา กลายเป็น Gadget ต่างๆ ราคาหลักหมื่น กว่าลูกจะโตก็คงนับชิ้นไม่ถ้วน คิดเป็นเงินไม่น้อยทีเดียวจะดีแค่ไหนหากเงินที่พ่อแม่จ่ายเป็นค่าของเล่นวันนี้ จะกลายเป็นเงินที่สร้างอนาคตที่มั่นคงให้ลูก ด้วยการเปลี่ยนของขวัญจากของเล่นที่นับวันจะมีมูลค่าลดลงมาเป็นเงินลงทุนที่เพิ่มมูลค่าขึ้นได้ในอนาคต
ในอดีตหลายคนนิยมฝากเงินในธนาคารให้ลูกแบบสม่ำเสมอทุกเดือน เพื่อหวังสร้างอนาคตที่มั่นคงให้ลูกเริ่มตั้งแต่ยังเล็ก แต่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากค่อนข้างต่ำ การออมเงินผ่านบัญชีเงินฝากไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อและไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการเพิ่มมูลค่าเงินในระยะยาว
ขณะที่การลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนระยะยาวไม่น้อยกว่า 5-10 ปี แม้ราคาหุ้นในแต่ละช่วงเวลาจะผันผวนขึ้นลงได้ง่ายจากปัจจัยที่เข้ามากระทบกับการประกอบธุรกิจและจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแต่หลายกิจการในตลาดหลักทรัพย์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการเอาชนะกระแสคลื่นแห่งความผันผวนของราคาได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น หุ้นร้านสะดวกซื้อที่เราต้องไปใช้บริการอยู่บ่อยครั้ง หากคุณลงทุนไว้ 1 แสนบาทเมื่อ 10 ปีที่แล้วปรากฏว่ามีมูลค่าเติบโตขึ้นเป็น 1 ล้านบาทในวันนี้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง หุ้นบริษัทอาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็งแห่งหนึ่ง หากคุณลงทุนไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว 1 แสนบาท ถึงวันนี้เงินลงทุนเติบโตเป็น 6 แสนบาทเลยทีเดียว
การซื้อหุ้นเป็นของขวัญให้ลูก นอกจากเป็นการสร้างอนาคตทางการเงินในระยะยาวแล้ว ยังช่วยจุดประกายการเรียนรู้ทางการเงินให้ลูกได้ตั้งแต่ยังเล็ก ยิ่งพ่อแม่รู้จักใช้จ่ายอย่างฉลาด รู้จักเลือกซื้อของที่มีคุณค่าแล้ว ก็จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะในการจัดการเงินที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่าพ่อแม่คือ Financial Advisor คนแรกของลูกนั่นเอง และของขวัญชิ้นนี้ก็ใช่ว่าให้แล้วให้เลย เพราะเมื่อเขาโตพอที่จะเรียนรู้ได้ คุณยังสามารถสอนให้ลูกรู้จักติดตามมูลค่าเงินลงทุน ดูตัวเลขเงินปันผล รู้จักคำนวณผลกำไรขาดทุนแบบง่ายๆ ให้เขาสนุกกับการได้เข้าใจถึงปัจจัยที่จะทำให้ราคาหุ้นของเขาเพิ่มขึ้นหรือลดลง นับว่าเป็นการปูพื้นความรู้ทางการลงทุนไปด้วยในตัว และยิ่งเริ่มซื้อหุ้นให้ลูกได้เร็วเท่าไหร่ มูลค่าหุ้นก็ยิ่งมีโอกาสเพิ่มได้มากเท่านั้นตามการเติบโตของกิจการ
หากใครคิดว่าการซื้อหุ้นให้ลูกตั้งแต่ยังเด็กนั้นเร็วเกินไปลองดูตัวอย่างจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ หนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ที่เริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 11 ปี การขายหุ้นแล้วได้กำไรช่วยจุดประกายให้เขารู้จักการลงทุนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ่อแม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะซื้อหุ้นอะไรให้ลูกดีลองปรึกษากับเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อขอคำแนะนำสำหรับหุ้นที่มีพื้นฐานดีมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว หรือหุ้นที่จ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุน และจะยิ่งดีหากว่ามีบริษัทหลักทรัพย์เสนอบริการคัดเลือกหุ้นที่ดีมีอนาคต เหมาะที่จะเป็นของขวัญที่พ่อแม่จะเลือกซื้อไว้ให้ลูก ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้มากขึ้น แต่ถ้าอยากหาแบบที่สะดวกกว่านั้น หรืออยากให้มีการกระจายการลงทุนไปในหุ้นที่หลากหลายขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจซื้อกองทุนรวมหุ้นให้ลูกแทนก็ได้ เพราะผู้จัดการกองทุนจะทำหน้าที่คัดสรรหุ้นหลายๆ ตัวมารวมในพอร์ต ในการเลือกลงทุนก็ควรดูกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดีอย่างสม่ำเสมอ
ความสุขของลูกคือความสุขของพ่อแม่ จึงเป็นเรื่องดีที่พ่อแม่จะมอบของขวัญที่สามารถสร้างความสุขทั้งในปัจจุบันเมื่อได้รับและความสุขในอนาคตได้ด้วย ไม่ว่าวันเกิด วันตรุษจีนหรือวันพิเศษไหนๆ ลองเปลี่ยนจากของขวัญแบบเดิมๆ ที่ให้ความสุขแก่ลูกได้แค่ชั่วยาม มาเป็นของขวัญเพื่ออนาคตดูบ้างเมื่อหลายปีผ่านไป ดิฉันมั่นใจว่าทั้งคุณและเขาจะพบด้วยตัวเองว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องอย่างแน่นอนค่ะ สำหรับท่านที่ยังไม่เคยลงทุนในหุ้น สามารถหาความรู้เกี่ยวกับการ
ลงทุนเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ ก.ล.ต. ที่ www.start-toinvest.com m
ลองเปลี่ยนจากของขวัญแบบเดิมๆ
ที่ให้ความสุขแก่ลูก
ได้แค่ชั่วยาม มาเป็นของขวัญเพื่ออนาคตดูบ้าง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Tuesday, January 24, 2012 03:47
34396 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK XCORP XFINMKT DAS V%PAPERL P%PTD
สุรีรัตน์ สุรเดชะ
ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมความรู้ด้านการเงิน
สำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.
E-mai : [email protected]
เด็กกับของเล่นเป็นของคู่กันเสมอ ทันทีที่เด็กๆ ได้รับของขวัญเป็นของเล่นที่อยากได้ ความดีใจจะปรากฏให้เห็นได้ชัด พ่อแม่คงยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ที่เห็นลูกมีความสุข แต่คุณลองสังเกตดูสักนิดไหมว่า เมื่อเวลาผ่านไป ของเล่นเหล่านี้ยังเป็นของเล่นชิ้นโปรดของลูกอยู่หรือไม่ หรือหายไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้และไม่นานพ่อแม่ก็ต้องซื้อของเล่นชิ้นใหม่ให้ลูกอีกเรื่อยๆราคาของเล่นที่ลูกอยากได้ก็สูงขึ้นตามอายุ จากของเล่นประเภทรถแข่งหรือตุ๊กตา กลายเป็น Gadget ต่างๆ ราคาหลักหมื่น กว่าลูกจะโตก็คงนับชิ้นไม่ถ้วน คิดเป็นเงินไม่น้อยทีเดียวจะดีแค่ไหนหากเงินที่พ่อแม่จ่ายเป็นค่าของเล่นวันนี้ จะกลายเป็นเงินที่สร้างอนาคตที่มั่นคงให้ลูก ด้วยการเปลี่ยนของขวัญจากของเล่นที่นับวันจะมีมูลค่าลดลงมาเป็นเงินลงทุนที่เพิ่มมูลค่าขึ้นได้ในอนาคต
ในอดีตหลายคนนิยมฝากเงินในธนาคารให้ลูกแบบสม่ำเสมอทุกเดือน เพื่อหวังสร้างอนาคตที่มั่นคงให้ลูกเริ่มตั้งแต่ยังเล็ก แต่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากค่อนข้างต่ำ การออมเงินผ่านบัญชีเงินฝากไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อและไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการเพิ่มมูลค่าเงินในระยะยาว
ขณะที่การลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนระยะยาวไม่น้อยกว่า 5-10 ปี แม้ราคาหุ้นในแต่ละช่วงเวลาจะผันผวนขึ้นลงได้ง่ายจากปัจจัยที่เข้ามากระทบกับการประกอบธุรกิจและจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแต่หลายกิจการในตลาดหลักทรัพย์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการเอาชนะกระแสคลื่นแห่งความผันผวนของราคาได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น หุ้นร้านสะดวกซื้อที่เราต้องไปใช้บริการอยู่บ่อยครั้ง หากคุณลงทุนไว้ 1 แสนบาทเมื่อ 10 ปีที่แล้วปรากฏว่ามีมูลค่าเติบโตขึ้นเป็น 1 ล้านบาทในวันนี้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง หุ้นบริษัทอาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็งแห่งหนึ่ง หากคุณลงทุนไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว 1 แสนบาท ถึงวันนี้เงินลงทุนเติบโตเป็น 6 แสนบาทเลยทีเดียว
การซื้อหุ้นเป็นของขวัญให้ลูก นอกจากเป็นการสร้างอนาคตทางการเงินในระยะยาวแล้ว ยังช่วยจุดประกายการเรียนรู้ทางการเงินให้ลูกได้ตั้งแต่ยังเล็ก ยิ่งพ่อแม่รู้จักใช้จ่ายอย่างฉลาด รู้จักเลือกซื้อของที่มีคุณค่าแล้ว ก็จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะในการจัดการเงินที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่าพ่อแม่คือ Financial Advisor คนแรกของลูกนั่นเอง และของขวัญชิ้นนี้ก็ใช่ว่าให้แล้วให้เลย เพราะเมื่อเขาโตพอที่จะเรียนรู้ได้ คุณยังสามารถสอนให้ลูกรู้จักติดตามมูลค่าเงินลงทุน ดูตัวเลขเงินปันผล รู้จักคำนวณผลกำไรขาดทุนแบบง่ายๆ ให้เขาสนุกกับการได้เข้าใจถึงปัจจัยที่จะทำให้ราคาหุ้นของเขาเพิ่มขึ้นหรือลดลง นับว่าเป็นการปูพื้นความรู้ทางการลงทุนไปด้วยในตัว และยิ่งเริ่มซื้อหุ้นให้ลูกได้เร็วเท่าไหร่ มูลค่าหุ้นก็ยิ่งมีโอกาสเพิ่มได้มากเท่านั้นตามการเติบโตของกิจการ
หากใครคิดว่าการซื้อหุ้นให้ลูกตั้งแต่ยังเด็กนั้นเร็วเกินไปลองดูตัวอย่างจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ หนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ที่เริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 11 ปี การขายหุ้นแล้วได้กำไรช่วยจุดประกายให้เขารู้จักการลงทุนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ่อแม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะซื้อหุ้นอะไรให้ลูกดีลองปรึกษากับเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อขอคำแนะนำสำหรับหุ้นที่มีพื้นฐานดีมีศักยภาพเติบโตในระยะยาว หรือหุ้นที่จ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุน และจะยิ่งดีหากว่ามีบริษัทหลักทรัพย์เสนอบริการคัดเลือกหุ้นที่ดีมีอนาคต เหมาะที่จะเป็นของขวัญที่พ่อแม่จะเลือกซื้อไว้ให้ลูก ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้มากขึ้น แต่ถ้าอยากหาแบบที่สะดวกกว่านั้น หรืออยากให้มีการกระจายการลงทุนไปในหุ้นที่หลากหลายขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจซื้อกองทุนรวมหุ้นให้ลูกแทนก็ได้ เพราะผู้จัดการกองทุนจะทำหน้าที่คัดสรรหุ้นหลายๆ ตัวมารวมในพอร์ต ในการเลือกลงทุนก็ควรดูกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดีอย่างสม่ำเสมอ
ความสุขของลูกคือความสุขของพ่อแม่ จึงเป็นเรื่องดีที่พ่อแม่จะมอบของขวัญที่สามารถสร้างความสุขทั้งในปัจจุบันเมื่อได้รับและความสุขในอนาคตได้ด้วย ไม่ว่าวันเกิด วันตรุษจีนหรือวันพิเศษไหนๆ ลองเปลี่ยนจากของขวัญแบบเดิมๆ ที่ให้ความสุขแก่ลูกได้แค่ชั่วยาม มาเป็นของขวัญเพื่ออนาคตดูบ้างเมื่อหลายปีผ่านไป ดิฉันมั่นใจว่าทั้งคุณและเขาจะพบด้วยตัวเองว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องอย่างแน่นอนค่ะ สำหรับท่านที่ยังไม่เคยลงทุนในหุ้น สามารถหาความรู้เกี่ยวกับการ
ลงทุนเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ ก.ล.ต. ที่ www.start-toinvest.com m
ลองเปลี่ยนจากของขวัญแบบเดิมๆ
ที่ให้ความสุขแก่ลูก
ได้แค่ชั่วยาม มาเป็นของขวัญเพื่ออนาคตดูบ้าง--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 26
สอนให้ลูกรู้จักการลงทุนเพื่อผลตอบแทน
ยิ่งสอนให้ลูกของคุณรู้จักการออมและการลงทุนเสียแต่เนิ่นๆ ก็จะยิ่งเป็นการเตรียมตัวที่ดีให้กับเด็กในการจัดการการเงินของเขาเอง สอนให้ลูกลงทุน
สอนให้รู้จักความแตกต่าง
ทุกวันนี้คุณคงรู้แล้วว่านอกจากฝากเงินกินดอกเบี้ยแล้ว คุณสามารถนำเงินไปทำอะไรได้บ้างที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ย และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ใครๆ ก็รู้ว่าตลาดหุ้นทำงานอย่างไร ทำไมตลาดหุ้นอาจให้ผลตอบแทนในอัตราสูงที่สุด แต่ความเสี่ยงก็สูงตามไปด้วย คุณคงไม่อยากให้ลูกคุณโตขึ้นมาแล้วลองผิดลองถูกแบบคุณอีก ทำไมไม่สอนให้เขารู้จักการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เสียแต่วันนี้ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักลงทุนชั้นเยี่ยมก็สามารถสอนลูกได้เริ่มเลย
เมื่อตอนที่ลูกของคุณยังเล็ก คุณควรสอนให้เขารู้ว่าอันไหนคือการออม อันไหนคือการลงทุน แน่นอนว่าเด็กอายุไม่กี่ขวบคงเปิดบัญชีธนาคารไม่ได้ ก็สอนให้เขารู้จักกับกระปุกออมสิน ว่านั่นคือการออม แต่อย่าลืมที่จะเพิ่มดอกเบี้ยให้เขาทุกๆ เดือนหรือ 6 เดือน เช่น 5 บาท ต่อทุกๆ 100 บาท แล้วสอนให้เขารู้ว่านั่นคือผลตอบแทนจากการออม ยิ่งออมมากก็ยิ่งมีผลตอบแทนมาก และอัตรา 5 บาท นั้นขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง เช่นถ้าให้พ่อแม่ยืมก็อาจจะให้ดอกเบี้ยเป็น 10 บาท เพราะมีความเสี่ยงสูงที่พ่อแม่อาจจะลืมคืนเงินให้เป็นต้น แต่อย่าให้ถึงขั้นว่าเป็นการปล่อยกู้เลย เพราะเดี๋ยวจะติดนิสัยเป็นคนขี้งกคิดดอกแม้กระทั่งพ่อแม่ สอนให้เขานำเงินไปลงทุนด้านอื่นดีกว่า
หากเด็กได้รับเงินจำนวนมากเป็นของขวัญปีใหม่ จากใครก็แล้วแต่ สอนให้เขารู้จักว่าจะนำเงินส่วนนั้นไปใช้จ่าย เก็บออม หรือลงทุนดี เด็กๆ เห็นของเล่นแล้วมักอยากจะซื้อ คุณอาจจะยื่นข้อเสนอว่าส่วนหนึ่งนำไปซื้อของเล่นได้ แต่ต้องเก็บส่วนหนึ่งไว้เพื่อการออมหรือลงทุน แต่อย่าลืมแสดงให้เขาเห็นตัวเลขในบัญชี หากคุณฝากเงินในนามของเขา หรือถ้าคุณเก็บเงินของเขาไว้คุณก็ควรต้องจ่ายผลตอบแทนให้เขา
สอนให้รู้จักการลงทุน
อธิบายความหมายของหุ้น ถามเขาว่าชอบขนมยี่ห้อไหนมากที่สุด ใครเป็นคนผลิต ชี้ให้เขาดูบริษัทผู้ผลิต บริษัทมาจากไหน ผู้ถือหุ้นหมายถึงอะไร หากเราไปซื้อหุ้นของบริษัทนั้นเราก็เป็นเจ้าของบริษัทนั้นส่วนหนึ่งด้วย แล้วเราหรือผู้ถือหุ้นจะได้อะไรตอบแทนกลับมา แล้วราคาหุ้นคืออะไร ซื้อขายกันที่ไหนเป็นต้น รับรองว่าเด็กๆ จะมีคำถามออกมามากมาย ก็พยายามอธิบายไปเรื่อยๆ เด็กๆ จะฟังและจินตนาการตามคุณไปด้วย อธิบายให้เห็นภาพด้วยว่าหุ้นตก กับหุ้นขึ้นหมายถึงอะไร ตัวแปรมีอะไรบ้าง
KFC McDonal PIZZA เวลาที่คุณพาเขาผ่านร้านเหล่านี้อธบายให้เขาทราบว่า มันคืออะไร อะไรคือเครื่องหมายการค้า ทำไมพูดถึง KFC แล้วทุกคนรู้ว่าขายไก่ทอดเป็นต้น ใครเป็นเจ้าของ เวลาดูทีวีเห็นโฆษณาต่างๆ เห็นยี่ห้อต่างนั้นหมายถึงอะไร เด็กอายุประมาณ 5-7 ขวบ จะเริ่มรู้จักเครื่องหมายการค้าดังๆ และจดจำได้
สอนให้รู้จักความหมายของตลาดหุ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 10 ขวบ อธิบายว่าทำไมถึงมีการซื้อขายหุ้น ราคาหุ้นขึ้นๆ ลงๆ ได้เพราะปัจจัยอะไรบ้าง ตลาดหุ้นอยู่ที่ไหน การค้าขายหุ้นทำได้อย่างไร หากมีโอกาสก็พาเขาไปดูห้องค้าหุ้นตามหัวเมืองใหญ่ๆ ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง การเล่นหุ้นนั้นกำไรหรือขาดทุนได้อย่างไร บางบริษัททำไมถึงเป็นที่สนใจกันมาก ทำไมบางบริษัทถึงมีมูลค่าการซื้อขายสูงกว่าบริษัทอื่นๆ เป็นต้น มีการแบ่งบริษัทต่างๆ ออกเป็นกลุ่มๆ เช่นกลุ่มธนาคาร กลุ่มเทคโนโลยี่ กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก
ให้เด็กได้มีประสบการณ์จริง หากคุณเล่นหุ้นอยู่ด้วย ก็อธิบายว่าจะซื้อขายหุ้นต้องทำอย่างไรบ้าง นายหน้าหรือโบรกเกอร์คือใคร หากคุณกำลังโทรหาโบรกเกอร์ก็ให้ลูกได้พูดจาทักทายกับเขาบ้าง เด็กๆ จะรู้สึกตื่นเต้นเอามากๆ ที่เดียว ลองให้ลูกติดตามดูหุ้นสัก 2 -3 ตัว คุณอาจจะยอมให้เขาลองตัดสินใจซื้อขายดูซักหน่อยเท่าที่พอจะยอมรับได้ เมื่อคุณขายหุ้นได้กำไรก็แบ่งเงิน(สดๆ) ให้เขาได้รู้สึกชื่นใจ อาจจะลองให้เขานำเงินเก็บส่วนหนึ่งของเขาเอง (แน่หละคุณต้องสอนให้เขารู้จักเก็บออมก่อน) มาลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือกองทุนรวม (ไม่ควรสอนให้เขาเสี่ยงมากเพราะอาจจะไม่ดีนัก เดี๋ยวจะกลายเป็นคนชอบเสี่ยงไปซะ) สอนให้เขามองหาผลตอบแทนที่นอกเหนือจากการฝากเงินในธนาคารเพียงอย่างเดียว เปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้และตัดสินใจในเงินที่เขาเก็บออมมาเอง
ถ้าหากคุณสอนให้เขารู้จักตั้งแต่เด็กๆ ถึงการเก็บออม การลงทุน เขาจะเติบโตไปกับความรู้เหล่านี้ และซาบซึ้งว่าการออม การแสวงหาผลตอบแทนที่เหมาะสม คือการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของเขาเอง พร้อมกันนั้นอย่าลืมสอนให้เขารู้จักกับการจัดการ การเงิน ที่คุณกำลังเรียนรู้อยู่นี้ด้วย
http://www.siaminfobiz.com/mambo/content/view/793/48/
ยิ่งสอนให้ลูกของคุณรู้จักการออมและการลงทุนเสียแต่เนิ่นๆ ก็จะยิ่งเป็นการเตรียมตัวที่ดีให้กับเด็กในการจัดการการเงินของเขาเอง สอนให้ลูกลงทุน
สอนให้รู้จักความแตกต่าง
ทุกวันนี้คุณคงรู้แล้วว่านอกจากฝากเงินกินดอกเบี้ยแล้ว คุณสามารถนำเงินไปทำอะไรได้บ้างที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ย และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ใครๆ ก็รู้ว่าตลาดหุ้นทำงานอย่างไร ทำไมตลาดหุ้นอาจให้ผลตอบแทนในอัตราสูงที่สุด แต่ความเสี่ยงก็สูงตามไปด้วย คุณคงไม่อยากให้ลูกคุณโตขึ้นมาแล้วลองผิดลองถูกแบบคุณอีก ทำไมไม่สอนให้เขารู้จักการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เสียแต่วันนี้ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักลงทุนชั้นเยี่ยมก็สามารถสอนลูกได้เริ่มเลย
เมื่อตอนที่ลูกของคุณยังเล็ก คุณควรสอนให้เขารู้ว่าอันไหนคือการออม อันไหนคือการลงทุน แน่นอนว่าเด็กอายุไม่กี่ขวบคงเปิดบัญชีธนาคารไม่ได้ ก็สอนให้เขารู้จักกับกระปุกออมสิน ว่านั่นคือการออม แต่อย่าลืมที่จะเพิ่มดอกเบี้ยให้เขาทุกๆ เดือนหรือ 6 เดือน เช่น 5 บาท ต่อทุกๆ 100 บาท แล้วสอนให้เขารู้ว่านั่นคือผลตอบแทนจากการออม ยิ่งออมมากก็ยิ่งมีผลตอบแทนมาก และอัตรา 5 บาท นั้นขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง เช่นถ้าให้พ่อแม่ยืมก็อาจจะให้ดอกเบี้ยเป็น 10 บาท เพราะมีความเสี่ยงสูงที่พ่อแม่อาจจะลืมคืนเงินให้เป็นต้น แต่อย่าให้ถึงขั้นว่าเป็นการปล่อยกู้เลย เพราะเดี๋ยวจะติดนิสัยเป็นคนขี้งกคิดดอกแม้กระทั่งพ่อแม่ สอนให้เขานำเงินไปลงทุนด้านอื่นดีกว่า
หากเด็กได้รับเงินจำนวนมากเป็นของขวัญปีใหม่ จากใครก็แล้วแต่ สอนให้เขารู้จักว่าจะนำเงินส่วนนั้นไปใช้จ่าย เก็บออม หรือลงทุนดี เด็กๆ เห็นของเล่นแล้วมักอยากจะซื้อ คุณอาจจะยื่นข้อเสนอว่าส่วนหนึ่งนำไปซื้อของเล่นได้ แต่ต้องเก็บส่วนหนึ่งไว้เพื่อการออมหรือลงทุน แต่อย่าลืมแสดงให้เขาเห็นตัวเลขในบัญชี หากคุณฝากเงินในนามของเขา หรือถ้าคุณเก็บเงินของเขาไว้คุณก็ควรต้องจ่ายผลตอบแทนให้เขา
สอนให้รู้จักการลงทุน
อธิบายความหมายของหุ้น ถามเขาว่าชอบขนมยี่ห้อไหนมากที่สุด ใครเป็นคนผลิต ชี้ให้เขาดูบริษัทผู้ผลิต บริษัทมาจากไหน ผู้ถือหุ้นหมายถึงอะไร หากเราไปซื้อหุ้นของบริษัทนั้นเราก็เป็นเจ้าของบริษัทนั้นส่วนหนึ่งด้วย แล้วเราหรือผู้ถือหุ้นจะได้อะไรตอบแทนกลับมา แล้วราคาหุ้นคืออะไร ซื้อขายกันที่ไหนเป็นต้น รับรองว่าเด็กๆ จะมีคำถามออกมามากมาย ก็พยายามอธิบายไปเรื่อยๆ เด็กๆ จะฟังและจินตนาการตามคุณไปด้วย อธิบายให้เห็นภาพด้วยว่าหุ้นตก กับหุ้นขึ้นหมายถึงอะไร ตัวแปรมีอะไรบ้าง
KFC McDonal PIZZA เวลาที่คุณพาเขาผ่านร้านเหล่านี้อธบายให้เขาทราบว่า มันคืออะไร อะไรคือเครื่องหมายการค้า ทำไมพูดถึง KFC แล้วทุกคนรู้ว่าขายไก่ทอดเป็นต้น ใครเป็นเจ้าของ เวลาดูทีวีเห็นโฆษณาต่างๆ เห็นยี่ห้อต่างนั้นหมายถึงอะไร เด็กอายุประมาณ 5-7 ขวบ จะเริ่มรู้จักเครื่องหมายการค้าดังๆ และจดจำได้
สอนให้รู้จักความหมายของตลาดหุ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 10 ขวบ อธิบายว่าทำไมถึงมีการซื้อขายหุ้น ราคาหุ้นขึ้นๆ ลงๆ ได้เพราะปัจจัยอะไรบ้าง ตลาดหุ้นอยู่ที่ไหน การค้าขายหุ้นทำได้อย่างไร หากมีโอกาสก็พาเขาไปดูห้องค้าหุ้นตามหัวเมืองใหญ่ๆ ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง การเล่นหุ้นนั้นกำไรหรือขาดทุนได้อย่างไร บางบริษัททำไมถึงเป็นที่สนใจกันมาก ทำไมบางบริษัทถึงมีมูลค่าการซื้อขายสูงกว่าบริษัทอื่นๆ เป็นต้น มีการแบ่งบริษัทต่างๆ ออกเป็นกลุ่มๆ เช่นกลุ่มธนาคาร กลุ่มเทคโนโลยี่ กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก
ให้เด็กได้มีประสบการณ์จริง หากคุณเล่นหุ้นอยู่ด้วย ก็อธิบายว่าจะซื้อขายหุ้นต้องทำอย่างไรบ้าง นายหน้าหรือโบรกเกอร์คือใคร หากคุณกำลังโทรหาโบรกเกอร์ก็ให้ลูกได้พูดจาทักทายกับเขาบ้าง เด็กๆ จะรู้สึกตื่นเต้นเอามากๆ ที่เดียว ลองให้ลูกติดตามดูหุ้นสัก 2 -3 ตัว คุณอาจจะยอมให้เขาลองตัดสินใจซื้อขายดูซักหน่อยเท่าที่พอจะยอมรับได้ เมื่อคุณขายหุ้นได้กำไรก็แบ่งเงิน(สดๆ) ให้เขาได้รู้สึกชื่นใจ อาจจะลองให้เขานำเงินเก็บส่วนหนึ่งของเขาเอง (แน่หละคุณต้องสอนให้เขารู้จักเก็บออมก่อน) มาลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือกองทุนรวม (ไม่ควรสอนให้เขาเสี่ยงมากเพราะอาจจะไม่ดีนัก เดี๋ยวจะกลายเป็นคนชอบเสี่ยงไปซะ) สอนให้เขามองหาผลตอบแทนที่นอกเหนือจากการฝากเงินในธนาคารเพียงอย่างเดียว เปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้และตัดสินใจในเงินที่เขาเก็บออมมาเอง
ถ้าหากคุณสอนให้เขารู้จักตั้งแต่เด็กๆ ถึงการเก็บออม การลงทุน เขาจะเติบโตไปกับความรู้เหล่านี้ และซาบซึ้งว่าการออม การแสวงหาผลตอบแทนที่เหมาะสม คือการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของเขาเอง พร้อมกันนั้นอย่าลืมสอนให้เขารู้จักกับการจัดการ การเงิน ที่คุณกำลังเรียนรู้อยู่นี้ด้วย
http://www.siaminfobiz.com/mambo/content/view/793/48/
- theerasak24
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 621
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 28
เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:หากคิดว่าจะเป็นนักลงทุนอาชีพจริงๆแล้ว
ผมเสนอว่าอย่าเรียนอะไรที่เป็นการไปกีดกันที่นั่งสำหรับคนอื่นๆครับ
เช่นเรียนสายการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่เป็นวิชาชีพโดยเฉพาะ
หากเรียนแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นการสูญเสียของสังคมโดยรวม
แม้ว่าเราจะบอกว่าเราเอามาใช้ได้ แต่ก็ส่วนน้อยครับ
หากอยากให้ลูกเป็น vi ผมเสนอว่าน่าจะเรียนอะไรที่ตัวเขาชอบ
จะได้มีความสุขในชีวิต และค่อยมาฝึกการลงทุน
แต่หากทำได้ เรียนสายการเงิน บริหาร หรือเศรษฐศาสตร์
ดีกว่าสายวิทย์ที่เป็นวิชาชีพครับ เหตุผลคือข้างบนครับ
ส่วนที่พี่ yoyo ว่าไว้เรื่อง efficient market นั้น เป็นข้อสังเกตที่ดีและน่าสนใจ
แต่เป็นแค่ทางทฤษฏีครับ
รู้แล้วก็รู้เลย เมืองไทยเราไม่ได้เป็นแบบนั้นแน่ครับ
อีกอย่างครับ เรียนปริญญาเอกไม่คุ้มค่าแน่นอน
เพราะเรียนทางทฤษฎีและทำงานวิจัยเป็นหลัก
ไม่เหมาะและไม่ได้ใช้ในทางปฏิบัติเลย โดยเฉพาะหากเป็น vi
ว่าแต่ว่าการเป็น vi นี่ เป็นยังไงกันครับ
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เพราะว่าแม้ว่าจะเรียนอะไรที่ชอบก็แล้วแต่สามารถผันตัวเองมาเป็น VI ได้ทั้งนั้นจะต่างกันแค่ว่าเป็นเร็วหรือช้าเท่านั้นเอง ( แต่ถ้าเป็นเร็วก็ได้เปรียบครับ 555)
"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะยังคงทำสิ่งต่างๆ ต่อไปตราบใดที่มันยังให้ความรื่นรมย์และคุณก็ทำมันได้ดี"
-
- Verified User
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 1
Re: อยากให้ลูกเป็นVI
โพสต์ที่ 30
เคยไปอ่านหนังสือเศรษฐศาสตร์แปลไทยเล่มนึง
เขาว่า ประมาณนี้
กรรมพันธ์(กรรมเก่า) มีผล 40%
ความตั้งใจ(กรรมใหม่) มีผล 40%
สิ่งแวดล้อม(กรรมที่พ่อแม่จัดให้) มีผล 20%
คือคล้ายๆ เด็กมันเกิดมาไม่ใช่ แล้วไม่ชอบ
แต่เราส่งเข้าเรียนคณะที่ต้องการ ได้ผลแค่20%
ถ้ามันborn to be vi ตั้งใจจะเป็น ไปเรียนวิชาด้วย
ได้ผล 100% แบบอ.บัฟเฟต (ผมว่าอ.ลูกอิสานก็น่าจะใช่นะ)
เพราะสังเกตว่า ลูกๆ vi ระดับโลก หรือ ประเทศ
ก็ไม่ได้ "ปั้นได้"
และวีไอระดับสุดยอด ก็ "เกิดมาเป็น" ตั้งใจเป็น และเรียนรู้เอง
หรือจะเชื่อดวง?
ลูกชายผม มันเกิดวันเดียวกะ อ.บัฟเฟต เลนครับ
แต่ผม เกิดวันเดียวกะโน้ตอุดม
ตามดวงคงพอเดาความสามารถทางการลงทุนผมได้นะครับ
ว่าเก่งแค่ใหน? 5555
เขาว่า ประมาณนี้
กรรมพันธ์(กรรมเก่า) มีผล 40%
ความตั้งใจ(กรรมใหม่) มีผล 40%
สิ่งแวดล้อม(กรรมที่พ่อแม่จัดให้) มีผล 20%
คือคล้ายๆ เด็กมันเกิดมาไม่ใช่ แล้วไม่ชอบ
แต่เราส่งเข้าเรียนคณะที่ต้องการ ได้ผลแค่20%
ถ้ามันborn to be vi ตั้งใจจะเป็น ไปเรียนวิชาด้วย
ได้ผล 100% แบบอ.บัฟเฟต (ผมว่าอ.ลูกอิสานก็น่าจะใช่นะ)
เพราะสังเกตว่า ลูกๆ vi ระดับโลก หรือ ประเทศ
ก็ไม่ได้ "ปั้นได้"
และวีไอระดับสุดยอด ก็ "เกิดมาเป็น" ตั้งใจเป็น และเรียนรู้เอง
หรือจะเชื่อดวง?
ลูกชายผม มันเกิดวันเดียวกะ อ.บัฟเฟต เลนครับ
แต่ผม เกิดวันเดียวกะโน้ตอุดม
ตามดวงคงพอเดาความสามารถทางการลงทุนผมได้นะครับ
ว่าเก่งแค่ใหน? 5555
samatah