ผลึกความคิด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 1
คัดลอกจากเซทเทรด
ลงทุนแบบเต่า โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ถ้าจะเปรียบเทียบการลงทุนกับสัตว์แล้ว ผมคิดว่าสไตล์การลงทุนแบบ Value Investment นั้นน่าจะเปรียบเทียบได้กับเต่า หุ้นที่จะลงทุนในลักษณะของ Value Investment นั้นควรมีลักษณะของเต่า นักลงทุนที่เป็น Value Investor เองถ้าจะให้ดีก็ต้องมีธรรมชาติของเต่า นั่นคือ ช้า แข็ง แกร่ง อดทน และอายุยืนนาน
วอเร็น บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกที่ทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้รวดเร็วมากถึงปีละประมาณ 20% โดยเฉลี่ย แต่เขาบอกว่าสไตล์การลงทุนของเขานั้นก็คือ ช้าเหมือนตัวสล็อตซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคลื่อนไหวช้าที่สุดในโลก ผมเองคิดว่า Value Investor ควรจะทำอย่างเดียวกันคือ จะซื้อหรือขายหุ้นก็ทำให้ช้าเข้าไว้ คิดและศึกษาให้นานก่อนที่จะซื้อหุ้น ซื้อแล้วก็เก็บไว้ให้นาน เวลาขายก็ไม่ต้องรีบ อย่าไปดีใจหรือตกใจกับดัชนีตลาดที่ขึ้นลงวูบวาบกับข่าวสารที่มากระทบทุกวัน และก็เช่นเดียวกับราคาของหุ้นตัวที่ซื้อมา
หุ้นเต่าที่น่าลงทุนนั้นควรจะเป็นหุ้นของกิจการที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอช้า ๆ แต่มั่นคง โดยมีเกราะป้องกันคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่ง เช่นเดียวกับความสามารถในการฝ่าฟันอันตรายจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ ค่าเงิน ภาวะเศรษฐกิจ แบบเดียวกับเต่าที่สามารถหดทุกอย่างเข้าไปอยู่ภายใต้กระดองที่แข็งแกร่ง และสามารถที่จะฝ่าฟันผ่านป่าทึบและหนองน้ำ พายุ สัตว์ร้ายต่าง ๆ ทุกชนิด และในทุกภูมิอากาศ
วิธีที่จะดูว่าเป็นหุ้นเต่าหรือเปล่าแบบง่าย ๆ ก็คือ ถามว่าในอีก 5 ปีข้างหน้านั้นจะมีอะไรที่สามารถเข้ามาทำร้ายกิจการได้ และโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน ถ้าคำตอบก็คือ มี และมีโอกาสเกิดขึ้นค่อนข้างสูง และถ้าเกิดขึ้นจะทำให้กิจการประสบกับความเสียหาย กำไรลดลงมากหรืออาจจะถึงกับขาดทุน นี่แปลว่าไม่ใช่หุ้นเต่า
ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น หุ้นของกิจการที่เป็นวัฏจักร์ทั้งหลายนั้น ถ้าขณะนี้เป็นช่วงที่ราคาสินค้าอยู่ในระดับสูงมาได้หลายปีแล้ว โอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงในระยะอีก 5 ปีข้างหน้าก็น่าจะมีสูงซึ่งจะทำให้กำไรของกิจการถดถอยลง นี่คือความเสี่ยงที่บริษัทไม่สามารถป้องกันได้ เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่หุ้นเต่า
บริษัทผู้ส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ไปต่างประเทศที่ไม่ได้มีความโดดเด่นอย่างชัดเจนนั้น อาจจะต้องประสบกับความเสี่ยงหลาย ๆ อย่าง เช่น ค่าเงินบาทที่เปลี่ยนไปในทางแข็งค่าขึ้นซึ่งจะทำให้กำไรของบริษัทลดลง หลาย ๆ บริษัทต้องเสี่ยงกับการแข่งขันจากคู่แข่งโดยเฉพาะจากจีนซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าและมีความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ของหุ้นเหล่านี้ก็ไม่ใช่หุ้นเต่า
การหาหุ้นเต่าเป็นเรื่องของการมองทางด้านความเสี่ยงในระยะยาวของกิจการ แต่การลงทุนนั้นแน่นอนว่าเราอยากได้ผลตอบแทนของการลงทุนในระดับที่น่าพอใจ นั่นก็คือ เราอยากได้เต่าที่ เดิน ดังนั้นไม่ใช่เต่าทุกตัวที่เราอยากได้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าอย่างน้อยเต่าที่น่าจะลงทุนได้ควรจะ เดิน เพิ่มหรือโตปีละไม่น้อยกว่า 7-8% และซุปเปอร์เต่าที่น่าสนใจมาก ๆ ควรจะเดินได้ปีละ 15-20% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่วนกิจการที่โตปีละ 30-40% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและนักวิเคราะห์คาดว่าจะโต 30-40% ต่อไป เราควรตั้งข้อสงสัยว่าเป็นหุ้นเต่าหรือไม่ เพราะว่าเต่าส่วนใหญ่ไม่ได้เดินเร็วขนาดนั้น
นอกจากตัวหุ้นแล้ว Value Investor ก็ควรทำตัวให้คล้าย ๆ กับเต่าเหมือนกันนั่นคือ อย่าทำตัวแอ็คทิบเกินไปแบบเด็กที่เห็นอะไรก็สนใจเข้าไปเล่นหมด หุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีจำนวนมาก หุ้นที่เป็น Value เองก็มีมากมาย ความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับหุ้นแต่ละตัวก็มีมากมาย ถ้าเราเข้าไป เล่น ทุกตัว หรือซื้อขายหุ้นบ่อยมาก แม้ว่าจะเป็นหุ้น Value แบบนี้ไม่ใช่การลงทุนแบบเต่า การลงทุนแบบเต่านั้น ผมคิดว่าต้องคิดมากแต่ทำน้อย ถ้ามองจากภายนอกก็จะเห็นถึงความเป็น เต่า คือไม่คึกคัก กระโดด เดินหน้า ถอยหลัง ไปข้าง แต่เดินอย่างช้า ๆ ไปข้างหน้าอย่างเดียว
คุณสมบัติข้อสุดท้ายที่จะพูดถึงก็คือ อายุที่ยืนยาว และนี่คือความได้เปรียบมหาศาลของเต่า เปรียบเทียบแล้ว นี่คือเวลาของการลงทุน ซึ่งผมคิดว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น ๆ ทั้งหมด ว่าที่จริง คนที่จะชนะในการลงทุนจริง ๆ นั้น จะต้องมีอายุการลงทุนที่ยาวนานพอ ซึ่งก็แปลว่าคนหนุ่มสาวที่ยังมีอายุน้อยและตั้งใจที่จะลงทุนไปยาวนานไม่ออกจากตลาด และคนที่มีสุขภาพดีและอายุยืนที่ตั้งใจลงทุนไปจนเกษียณหรือจนตาย จะได้เปรียบและมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าคนอื่น
ส่วนตัวผมเองนั้นก็ต้องถือว่าเป็นเต่าที่มีอายุหรือเป็นเต่าอาวุโสแล้ว ความคิดของผมก็คือ ความสำเร็จของผมจะมากหรือน้อยแค่ไหน ปัจจัยสำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องของความสามารถหรือจิตวิทยาการลงทุนซึ่งผมคิดว่าพอที่จะปฎิบัติได้อย่างไม่ยากเย็นแต่อยู่ที่ว่าผมจะสามารถรักษาสุขภาพได้ดีแค่ไหน เพราะฉะนั้น สนามแข่งขันการลงทุนของผมเวลานี้ ไม่ได้อยู่ที่ห้องค้าหรือโต๊ะทำงานหรือที่ไหน แต่อยู่ที่สวนหน้าบ้านที่ผมต้องพยายามออกไปวิ่งออกกำลังเป็นประจำครับ
ลงทุนแบบเต่า โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ถ้าจะเปรียบเทียบการลงทุนกับสัตว์แล้ว ผมคิดว่าสไตล์การลงทุนแบบ Value Investment นั้นน่าจะเปรียบเทียบได้กับเต่า หุ้นที่จะลงทุนในลักษณะของ Value Investment นั้นควรมีลักษณะของเต่า นักลงทุนที่เป็น Value Investor เองถ้าจะให้ดีก็ต้องมีธรรมชาติของเต่า นั่นคือ ช้า แข็ง แกร่ง อดทน และอายุยืนนาน
วอเร็น บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกที่ทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้รวดเร็วมากถึงปีละประมาณ 20% โดยเฉลี่ย แต่เขาบอกว่าสไตล์การลงทุนของเขานั้นก็คือ ช้าเหมือนตัวสล็อตซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคลื่อนไหวช้าที่สุดในโลก ผมเองคิดว่า Value Investor ควรจะทำอย่างเดียวกันคือ จะซื้อหรือขายหุ้นก็ทำให้ช้าเข้าไว้ คิดและศึกษาให้นานก่อนที่จะซื้อหุ้น ซื้อแล้วก็เก็บไว้ให้นาน เวลาขายก็ไม่ต้องรีบ อย่าไปดีใจหรือตกใจกับดัชนีตลาดที่ขึ้นลงวูบวาบกับข่าวสารที่มากระทบทุกวัน และก็เช่นเดียวกับราคาของหุ้นตัวที่ซื้อมา
หุ้นเต่าที่น่าลงทุนนั้นควรจะเป็นหุ้นของกิจการที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอช้า ๆ แต่มั่นคง โดยมีเกราะป้องกันคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่ง เช่นเดียวกับความสามารถในการฝ่าฟันอันตรายจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ ค่าเงิน ภาวะเศรษฐกิจ แบบเดียวกับเต่าที่สามารถหดทุกอย่างเข้าไปอยู่ภายใต้กระดองที่แข็งแกร่ง และสามารถที่จะฝ่าฟันผ่านป่าทึบและหนองน้ำ พายุ สัตว์ร้ายต่าง ๆ ทุกชนิด และในทุกภูมิอากาศ
วิธีที่จะดูว่าเป็นหุ้นเต่าหรือเปล่าแบบง่าย ๆ ก็คือ ถามว่าในอีก 5 ปีข้างหน้านั้นจะมีอะไรที่สามารถเข้ามาทำร้ายกิจการได้ และโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน ถ้าคำตอบก็คือ มี และมีโอกาสเกิดขึ้นค่อนข้างสูง และถ้าเกิดขึ้นจะทำให้กิจการประสบกับความเสียหาย กำไรลดลงมากหรืออาจจะถึงกับขาดทุน นี่แปลว่าไม่ใช่หุ้นเต่า
ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น หุ้นของกิจการที่เป็นวัฏจักร์ทั้งหลายนั้น ถ้าขณะนี้เป็นช่วงที่ราคาสินค้าอยู่ในระดับสูงมาได้หลายปีแล้ว โอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงในระยะอีก 5 ปีข้างหน้าก็น่าจะมีสูงซึ่งจะทำให้กำไรของกิจการถดถอยลง นี่คือความเสี่ยงที่บริษัทไม่สามารถป้องกันได้ เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่หุ้นเต่า
บริษัทผู้ส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ไปต่างประเทศที่ไม่ได้มีความโดดเด่นอย่างชัดเจนนั้น อาจจะต้องประสบกับความเสี่ยงหลาย ๆ อย่าง เช่น ค่าเงินบาทที่เปลี่ยนไปในทางแข็งค่าขึ้นซึ่งจะทำให้กำไรของบริษัทลดลง หลาย ๆ บริษัทต้องเสี่ยงกับการแข่งขันจากคู่แข่งโดยเฉพาะจากจีนซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าและมีความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ของหุ้นเหล่านี้ก็ไม่ใช่หุ้นเต่า
การหาหุ้นเต่าเป็นเรื่องของการมองทางด้านความเสี่ยงในระยะยาวของกิจการ แต่การลงทุนนั้นแน่นอนว่าเราอยากได้ผลตอบแทนของการลงทุนในระดับที่น่าพอใจ นั่นก็คือ เราอยากได้เต่าที่ เดิน ดังนั้นไม่ใช่เต่าทุกตัวที่เราอยากได้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าอย่างน้อยเต่าที่น่าจะลงทุนได้ควรจะ เดิน เพิ่มหรือโตปีละไม่น้อยกว่า 7-8% และซุปเปอร์เต่าที่น่าสนใจมาก ๆ ควรจะเดินได้ปีละ 15-20% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่วนกิจการที่โตปีละ 30-40% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและนักวิเคราะห์คาดว่าจะโต 30-40% ต่อไป เราควรตั้งข้อสงสัยว่าเป็นหุ้นเต่าหรือไม่ เพราะว่าเต่าส่วนใหญ่ไม่ได้เดินเร็วขนาดนั้น
นอกจากตัวหุ้นแล้ว Value Investor ก็ควรทำตัวให้คล้าย ๆ กับเต่าเหมือนกันนั่นคือ อย่าทำตัวแอ็คทิบเกินไปแบบเด็กที่เห็นอะไรก็สนใจเข้าไปเล่นหมด หุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีจำนวนมาก หุ้นที่เป็น Value เองก็มีมากมาย ความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับหุ้นแต่ละตัวก็มีมากมาย ถ้าเราเข้าไป เล่น ทุกตัว หรือซื้อขายหุ้นบ่อยมาก แม้ว่าจะเป็นหุ้น Value แบบนี้ไม่ใช่การลงทุนแบบเต่า การลงทุนแบบเต่านั้น ผมคิดว่าต้องคิดมากแต่ทำน้อย ถ้ามองจากภายนอกก็จะเห็นถึงความเป็น เต่า คือไม่คึกคัก กระโดด เดินหน้า ถอยหลัง ไปข้าง แต่เดินอย่างช้า ๆ ไปข้างหน้าอย่างเดียว
คุณสมบัติข้อสุดท้ายที่จะพูดถึงก็คือ อายุที่ยืนยาว และนี่คือความได้เปรียบมหาศาลของเต่า เปรียบเทียบแล้ว นี่คือเวลาของการลงทุน ซึ่งผมคิดว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น ๆ ทั้งหมด ว่าที่จริง คนที่จะชนะในการลงทุนจริง ๆ นั้น จะต้องมีอายุการลงทุนที่ยาวนานพอ ซึ่งก็แปลว่าคนหนุ่มสาวที่ยังมีอายุน้อยและตั้งใจที่จะลงทุนไปยาวนานไม่ออกจากตลาด และคนที่มีสุขภาพดีและอายุยืนที่ตั้งใจลงทุนไปจนเกษียณหรือจนตาย จะได้เปรียบและมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าคนอื่น
ส่วนตัวผมเองนั้นก็ต้องถือว่าเป็นเต่าที่มีอายุหรือเป็นเต่าอาวุโสแล้ว ความคิดของผมก็คือ ความสำเร็จของผมจะมากหรือน้อยแค่ไหน ปัจจัยสำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องของความสามารถหรือจิตวิทยาการลงทุนซึ่งผมคิดว่าพอที่จะปฎิบัติได้อย่างไม่ยากเย็นแต่อยู่ที่ว่าผมจะสามารถรักษาสุขภาพได้ดีแค่ไหน เพราะฉะนั้น สนามแข่งขันการลงทุนของผมเวลานี้ ไม่ได้อยู่ที่ห้องค้าหรือโต๊ะทำงานหรือที่ไหน แต่อยู่ที่สวนหน้าบ้านที่ผมต้องพยายามออกไปวิ่งออกกำลังเป็นประจำครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 2
คัดลอกจากบิซวีค สิงหาคม 2547
ทางเดินความคิด...."Value Investor" หมายเลข 1
เฟ้นหุ้น "เฟิร์สคลาส"...ใช้ชีวิต "อีโคโนมี"
"แก่นแท้" แห่งวิถีการลงทุน ของ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
สูตรการลงทุนให้ประสบความสำเร็จสำหรับ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.นครหลวงไทย
ไม่ได้แตกต่างไปจากวิถีทางเดินชีวิตของดอกเตอร์เลยแม้แต่น้อย
ทางเดินความคิดของ...."Value Investor" หมายเลข 1
ผู้นี้ทั้งเรียบง่าย และสมถะ
ดอกเตอร์ไม่ได้เสแสร้ง หรือสร้างภาพลักษณ์โดยปราศจาก "แก่นแท้"
ของความปกติพอดี..."ชีวิตคนเราจะต้องการอะไรไปมากกว่านี้"
แก่นแท้อย่างหนึ่งที่สรุปได้ในความหมายของดอกเตอร์ ก็คือ
ความสำเร็จมันซ่อนอยู่ในความ "พอเพียง" ของการใช้ชีวิต และรู้จัก
"เพียงพอ" ต่อความโลภ
กว่าชั่วโมงที่นั่งคุยในช่วงเวลาอาหารมือกลางวัน
เริ่มต้นจากเทคนิคการเล่นหุ้น ไปจบที่วิถีความคิด
และเส้นทางการใช้ชีวิต
ขณะที่ดอกเตอร์ก็นั่งกินแซนด์วิชที่ออกจะแข็งกระด้างไปพราง
ตามด้วยน้ำเปล่าเป็นระยะๆ
มันเป็นอาหารที่ออกจะวิเศษสุดในมื้อนั้นสำหรับ Value Investor
พันธุ์แท้ที่เน้นความเรียบง่าย
วันนี้ต้องบอกว่า ดร.นิเวศน์ "รวย" แล้ว แม้จะยังมีเงินไม่ถึง
1,000 ล้านบาท ตามที่ตั้งใจ
แต่ก็มีมากพอที่จะใช้ชีวิตอย่างสุขสบายไปตลอดชั่วชีวิต
แต่เปล่าเลยดอกเตอร์กลับไม่เคยใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย
....ทุกสิ่งที่ ดร.นิเวศน์ จ่ายเงินออกไป
จะต้องแลกกลับมาด้วยความ "คุ้มค่า" เสมอ
"คนชอบเข้าใจผิดว่า Value Investor ต้องใช้ของถูก จริงๆ
แล้วเข้าใจผิด เรามองทุกอย่างที่ความคุ้มค่า "ดอกเตอร์บอกอีกว่า
Value Investor จะไม่จ่ายอะไรที่แพงเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้น
"การใช้จ่าย" เพื่อซื้อความสุข สำหรับ Value Investor
จึงไม่ใช่ความสุข"
"....ไม่มี Value Investor พันธุ์แท้คนไหน
ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยแล้วประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้น(ในระยะยาว)
ทั้งหมดเป็นวิธีคิดที่อยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน" ดอกเตอร์บอก
ดูอย่าง "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ซิ!!! พอเขาเป็น Value Investor
ทั้งชีวิตและจิตใจ จะไม่มีความสุขกับการใช้เงิน
ความสุขทั้งหมดของเขาจะไปอยู่ที่การลงทุน
เห็นราคาหุ้นเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง เอาเงินไปซื้อบ้านราคาแพง
ไปซื้อรถเบนซ์ ของพวกนี้ใช้แล้วมันหายไป Value Investor
พันธุ์แท้จะไม่ชอบ"
การค้นหาหุ้นของ ดร.นิเวศน์
เรียบเรียงจากวิธีคิดพอจะสรุปได้ว่ามาจากขบวนการภายใต้
"จิตสำนึก" โดยมองสินค้าที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวัน
และทำความเข้าใจกับมันทุกวันจนกลายเป็นความเคยชิน
"เราเห็นมันบ่อยๆ เนื่องจากการใช้ชีวิตของเรา
ผมจะเลือกซื้อหุ้นพวกนี้ก่อน"
เคล็ดลับเช่นนี้เองที่กลายเป็นพฤติกรรมแทรกซึมเข้ามาอยู่ในจิตใต้สำนึกที่เฟ้นแต่หุ้น
"Value" เข้าพอร์ต "ทุกครั้งที่เห็นสินค้า เราอ่านหนังสือเจอ
ทุกอย่างมันจะลิ้งเข้ามาที่เรื่องของหุ้น มันเข้ามาเองอัตโนมัติ"
ดร.นิเวศน์ อธิบายว่า จริงๆ แล้ว Value Investor
เวลาเลือกหุ้นก็แบบเดียวกัน หาหุ้นที่ "ดีมาก" แต่ใช้เงิน
"นิดเดียว" (ซื้อตอนที่ราคายังไม่แพง หรือตอนที่หุ้นตกหนักๆ)
เช่นเดียวกับการใช้ชีวิต ค้นหาสิ่งดีๆ ให้กับชีวิตได้มากมาย
ด้วยเงินเพียงนิดเดียว
"ถ้าศึกษาวิธีคิดของ Value Investor มันเกี่ยวกับข้องกับชีวิตนะ
ถ้าคุณจ่ายเงินซื้อรถเบนซ์โก้หรู ผมยังไม่ค่อยเห็น
ถ้าคุณคิดแบบนั้นคุณก็ไม่ใช่ Value Investor พันธุ์แท้"
Value Investor พันธุ์แท้ในมุมมองของ ดร.นิเวศน์ จะต้องมองที่
"คุณค่า" ของเงินที่จ่าย คุณอย่าซื้อหุ้นเพราะเห็นว่าราคา "ถูก"
แต่ต้องซื้อหุ้นเพราะว่ามัน "ดี" แล้วจ่ายเงินซื้อในราคา
"ยุติธรรม"
"ผมไม่เคยซื้อหุ้นราคา 3 บาท 5 บาท ชอบซื้อหุ้นที่คนพูดว่า "แพง"
ในด้านราคา แต่ "ถูก" ในแง่ของ "Value"
ถ้าสังเกตุดูหุ้นในพอร์ตผมราคาเป็น 100 บาทขึ้นไปทั้งนั้น
หรือราคาหลายสิบบาทที่พาร์บาทเดียว (เช่น STANLY SE-ED IRC
APRINT SSC PR และ TMD) หุ้นของผมราคาสูงหมดนะ แต่มันคุ้มค่า
มันสร้างผลตอบแทนให้เราดีมาก"
ดอกเตอร์พูดว่าการเล่นหุ้นขาดไม่ได้จะต้องมีความสุขกับมัน....เพราะความสุขจะเป็น
"ทุน" สร้างผลตอบแทน มันเป็น "เหตุ" ที่สร้างผลลัพธ์ของ "กำไร"
"จริงๆ ผมมีความสุขกับการได้ซื้อหุ้นที่เราพอใจมากๆ ดีมากๆ
น่าสนใจมากๆ แล้วเก็บมากขึ้นๆ
จนวันหนึ่งเรากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท"....ความสุขในที่นี้ของ
ดร.นิเวศน์หมายถึงความ "ภาคภูมิใจ"
"ผมเชื่อมาตลอดว่า "การเดินทาง" สำคัญกว่า "เป้าหมาย"
อยากบอกนักลงทุนทุกคนว่าอย่าไปกังวลกับเป้าหมาย แต่ควรใส่ใจใน
"เส้นทาง" ที่เรากำลังเดิน ถ้าเราทำดีที่สุด
และมีความสุขในเส้นทางของเราทุกวัน
ในที่สุดเราก็จะไปถึงเป้าหมายนั้นเอง" ดร.นิเวศน์
เชื่อเช่นนี้ตลอด
".....เงิน 1,000 ล้าน สำหรับผมถ้าไม่ได้ ก็ไม่ใช่จะเป็นจะตาย
เรามี "เป้าหมาย" เพื่อกำหนด "เส้นทาง" ไม่ให้เราไขว้เขว
ถ้าเราแน่วแน่ ผลลัพธ์ที่ออกมามันจะสอดคล้องกันทั้งหมด"
ถามดอกเตอร์ว่าสมมติ ดร.นิเวศน์ ทำเงินถึง 1,000 ล้านบาท จริงๆ
เป้าหมายต่อไปคืออะไร?
"ถ้าตัดเรื่องเงินออกไป เป้าหมายของผมก็ยังต้องการเป็น
"นักลงทุน" และใช้ชีวิต "สมถะ" เช่นนี้ตลอดไป(จนตาย)
คนเราอย่าไปคิดว่ามีเงิน 1,000 ล้าน แล้วจะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
คนที่คิดก่อนแล้วว่า จะทิ้ง "วิถี"
ชีวิตดั้งเดิมของตัวเองก่อนที่ตัวเองจะไปถึงเส้นชัย....ผมคิดว่าเขาคงจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่แท้จริงหรอก"
ความเร้นลับของ "กำไร" และ "ความสุข" สำหรับ ดร.นิเวศน์
สะท้อนออกมาในแง่มุมของการเลือกหุ้น ก็เหมือนกับการเลือก
"คู่แต่งงาน" คุณต้องคิดเสมอว่าต้องหาคู่ที่ดีที่สุด
และเหมาะสมที่สุดกับคุณ
เพื่อจะครองคู่กันไปจนแก่เฒ่า....โดยเน้นย้ำว่า Value Investor
จะไม่เลือกหุ้น "ฉาบฉวย" หวังขายในอีก 1 สัปดาห์ หรือ 1
เดือนข้างหน้า แต่ต้องเลือกหุ้นที่ดีที่สุด และมีอนาคตในอีกหลายๆ
ปีข้างหน้า
"ผมจะซื้อหุ้นที่ตัวเองรู้สึกพอใจมากๆ แล้วอยากจะเก็บมันไว้นานๆ"
นี่คือปฐมบทของความสำเร็จที่ดอกเตอร์สรุปให้ฟัง
ดร.นิเวศน์ คิดถึงขนาดที่ว่าสักวันหนึ่งหุ้นที่ "พ่อ"
ถือก็จะถูกส่งต่อไปให้กับ "ลูก" เพื่อเป็น "มรดก" ด้วยซ้ำ
"จริงๆ แล้วหุ้นที่ผมซื้อส่วนใหญ่ส่งต่อไปเป็นมรดกได้
แต่ไม่รู้ว่าถ้าเวลาผ่านไปนานๆ ปัจจัยบางอย่างเปลี่ยนไป
เราอาจต้องเปลี่ยนหุ้นตัวอื่น
แต่ทุกกิจการที่ลงทุนตั้งต้นจากวิธีคิดที่ว่าสามารถถือไปจนถึงลูกถึงหลานได้"
ดอกเตอร์ย้อนกลับมาที่คำพูดคำเดิม การเล่นหุ้นจะต้องเริ่มที่
"ความสุข" มันเป็นเหตุเป็นผลกัน
"ถ้าผมซื้อหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยม ในราคาที่ค่อนข้างต่ำ
มีผู้บริหารดี ในที่สุดราคาหุ้นจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
เราก็มีความสุขกับ Score (ผลตอบแทน) ที่เพิ่มขึ้น
แต่เป็นคนละส่วนกับการเอากำไรมาซื้อความสุขนะ"
ดร.นิเวศน์ อธิบาย Score แห่งความสุขเพิ่มเติมว่า
เราซื้อไปแล้วราคาหุ้นเพิ่มขึ้น จ่ายปันผลมาเราก็ "ทบต้น" ขึ้นไป
แล้วเห็นผลตอบแทนแต่ละปีที่ผ่านไปดีกว่าตลาดโดยรวม
รู้สึกพอใจเมื่อเห็นมันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
"จนวันหนึ่งเราสามารถบอกได้ว่า ตอนนี้เราก็มีฐานะ มีความมั่นคง
และเป็นอิสระพอที่จะไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้
สามารถมีปันผลที่เลี้ยงเราตลอดชีวิตไปจนถึงลูกถึงหลานได้ นี่คือ
ความสุขของผม"
ถามว่า ดร.นิเวศน์
เคยรู้สึกว่าตัวเองผิดพลาดเรื่องการลงทุนบ้างหรือไม่!!!
ดร.นิเวศน์ เล่าให้ฟังว่า ผมเคยซื้อบ้านราคานับสิบล้านบาทด้วย
"กิเลส" ที่มันซุกอยู่ภายในเหมือนกับคนทั่วๆ ไป
แต่นั่นไม่ใช่การลงทุนที่คุ้มค่าเลย
ท้ายที่สุดก็ขายบ้านหลังนั้นทิ้งไป
"ตอนที่ผมยังไม่มีความคิดแบบ Value Investor เคยสนใจซื้อที่ดิน
เราเห็นเลยว่าที่ดินมันก็อยู่ที่เก่า มันไม่เคยจ่ายปันผลให้เรา
ราคาก็ไม่ได้ไปไหน 10 ปีที่ผ่านมา ถ้าขายราคาเดิม...ผมขาย
แต่มันขายไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมรู้สึกว่าตัวเองไม่ชำนาญทางด้านนี้
ให้ซื้อเพื่อเก็งกำไรคงไม่ทำแน่"
ดร.นิเวศน์ เล่าว่า ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง
เป็นแค่บ้านชั้นเดียวเล็กๆ บนเนื้อที่ไม่กี่ตารางวา
ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของแม่ยาย ทุกคนอยู่รวมกัน
เห็นหน้ากันทุกวัน ไม่มีพื้นที่สำหรับความเป็นส่วนตัว
ไม่มีคนรับใช้ แต่บ้านหลังนี้ไม่เคยปราศจากอบอุ่นเลย
"ความสะดวกสบายในบ้านจริงๆ มีน้อย บ้านหลังเล็กมาก
แต่ผมก็ไม่ได้ต้องการมากกว่านี้
เพราะมาคิดดูอีกทีถามว่าไปอยู่บ้านหลังใหญ่ๆโตๆได้มั๊ย!!..."มันก็ได้"
แต่บ้านใหญ่โตมันก็ไม่ได้ให้ความสุขกับเรามากไปกว่าบ้านหลังเล็ก
ทุกคนใกล้ชิดกัน เจอหน้ากันทั้งวัน"
ส่วนรถยนต์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็เป็นรถประจำตำแหน่ง(ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
ธ.นครหลวงไทย)ไม่มีเป็นของตัวเอง ถ้าออกจากงานวันไหน
วันนั้นค่อยไปหาซื้อมาเป็นของตัวเอง
"ทุกวันนี้กิจกรรมที่ผมทำอยู่จริงๆ ชีวิตมันมีความสุขอยู่แล้ว
การออกกำลังกายเป็นความสุขยิ่งใหญ่ ผมไม่ต้องใช้เงินเลย
มีรองเท้าคู่เดียว ถามว่า "ฟิตเนส" มันดีกว่ามั๊ย!!
สำหรับผมวิ่งในสวน (สาธารณะ)
มันก็สดชื่นไปอีกแบบหนึ่ง...นี่คือสิ่งที่ผมกำลังจะบอกว่าพื้นฐานความคิดของ
Value Investor "เงิน" มันไม่ใช่โจทย์ของ "ความสุข"
ตรงกันข้ามกับการเลือกหุ้นคุณต้องเลือกหุ้นที่คิดว่าดีเยี่ยมที่สุด"
ดอกเตอร์ บอกว่า เกือบ 10 ปีที่ผมลงทุนในแนวทางนี้
พิสูจน์แล้วว่ามันประสบความสำเร็จ
ยังจำได้ว่าวันแรกที่ลงทุนตามแนวคิด Value Investor
หนี้สินผมมากกว่าสินทรัพย์สภาพคล่อง
สมัยนั้นผมคิดว่าอยากจะมีบ้านหลังใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้
ก็ไปก่อหนี้ขึ้นมา 10 กว่าล้านบาท
แต่โชคดียังพอมีเงินสดเหลืออยู่ แม้จะน้อยกว่าตัวหนี้
ผมเอาเงินก้อนนั้นไปลงทุนจนถึงวันนี้เงินก้อนนั้นเติบโตขึ้นมาเกือบ
20 เท่าตัว"
แม้วันนี้ Score
แห่งความสุขของดอกเตอร์จะทะยานผ่านพรมแดนแห่งคำว่า "อิสรภาพ"
ทางการเงิน(รายรับจากเงินลงทุนมากกว่ารายจ่ายประจำ)ไปแล้ว แต่
ดร.นิเวศน์ ก็หาไม่ที่จะนำเงินเก็บส่วนของการลงทุนมาซื้อความสุข
"กาย" ในชีวิต มากไปกว่าสิ่งที่มีอยู่
รางวัลในชีวิตของ ดร.นิเวศน์ จึงแตกต่างจากคนทั่วไป
ดอกเตอร์พูดว่า "รางวัลของชีวิต ก็คือ สิ่งที่ทำอยู่ทุกวัน" คำๆ
หนึ่งที่ ดร.นิเวศน์ เน้นย้ำน่าสนใจอย่างยิ่ง คำว่า "การเดินทาง"
กับ "เป้าหมาย"
ในชีวิตของคนทุกคน...นักเล่นหุ้นที่ประสบความสำเร็จที่แท้จริง
เขาควรเฟ้นหาเฉพาะหุ้นระดับ "เฟิร์สคลาส"...มีวิถีชีวิตแบบ
"อีโคโนมี"
ทั้งหมดคือ ทางเดินความคิดของ "Value Investor"หมายเลข 1
ที่ชื่อ"ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
ทางเดินความคิด...."Value Investor" หมายเลข 1
เฟ้นหุ้น "เฟิร์สคลาส"...ใช้ชีวิต "อีโคโนมี"
"แก่นแท้" แห่งวิถีการลงทุน ของ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
สูตรการลงทุนให้ประสบความสำเร็จสำหรับ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.นครหลวงไทย
ไม่ได้แตกต่างไปจากวิถีทางเดินชีวิตของดอกเตอร์เลยแม้แต่น้อย
ทางเดินความคิดของ...."Value Investor" หมายเลข 1
ผู้นี้ทั้งเรียบง่าย และสมถะ
ดอกเตอร์ไม่ได้เสแสร้ง หรือสร้างภาพลักษณ์โดยปราศจาก "แก่นแท้"
ของความปกติพอดี..."ชีวิตคนเราจะต้องการอะไรไปมากกว่านี้"
แก่นแท้อย่างหนึ่งที่สรุปได้ในความหมายของดอกเตอร์ ก็คือ
ความสำเร็จมันซ่อนอยู่ในความ "พอเพียง" ของการใช้ชีวิต และรู้จัก
"เพียงพอ" ต่อความโลภ
กว่าชั่วโมงที่นั่งคุยในช่วงเวลาอาหารมือกลางวัน
เริ่มต้นจากเทคนิคการเล่นหุ้น ไปจบที่วิถีความคิด
และเส้นทางการใช้ชีวิต
ขณะที่ดอกเตอร์ก็นั่งกินแซนด์วิชที่ออกจะแข็งกระด้างไปพราง
ตามด้วยน้ำเปล่าเป็นระยะๆ
มันเป็นอาหารที่ออกจะวิเศษสุดในมื้อนั้นสำหรับ Value Investor
พันธุ์แท้ที่เน้นความเรียบง่าย
วันนี้ต้องบอกว่า ดร.นิเวศน์ "รวย" แล้ว แม้จะยังมีเงินไม่ถึง
1,000 ล้านบาท ตามที่ตั้งใจ
แต่ก็มีมากพอที่จะใช้ชีวิตอย่างสุขสบายไปตลอดชั่วชีวิต
แต่เปล่าเลยดอกเตอร์กลับไม่เคยใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย
....ทุกสิ่งที่ ดร.นิเวศน์ จ่ายเงินออกไป
จะต้องแลกกลับมาด้วยความ "คุ้มค่า" เสมอ
"คนชอบเข้าใจผิดว่า Value Investor ต้องใช้ของถูก จริงๆ
แล้วเข้าใจผิด เรามองทุกอย่างที่ความคุ้มค่า "ดอกเตอร์บอกอีกว่า
Value Investor จะไม่จ่ายอะไรที่แพงเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้น
"การใช้จ่าย" เพื่อซื้อความสุข สำหรับ Value Investor
จึงไม่ใช่ความสุข"
"....ไม่มี Value Investor พันธุ์แท้คนไหน
ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยแล้วประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้น(ในระยะยาว)
ทั้งหมดเป็นวิธีคิดที่อยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน" ดอกเตอร์บอก
ดูอย่าง "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ซิ!!! พอเขาเป็น Value Investor
ทั้งชีวิตและจิตใจ จะไม่มีความสุขกับการใช้เงิน
ความสุขทั้งหมดของเขาจะไปอยู่ที่การลงทุน
เห็นราคาหุ้นเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง เอาเงินไปซื้อบ้านราคาแพง
ไปซื้อรถเบนซ์ ของพวกนี้ใช้แล้วมันหายไป Value Investor
พันธุ์แท้จะไม่ชอบ"
การค้นหาหุ้นของ ดร.นิเวศน์
เรียบเรียงจากวิธีคิดพอจะสรุปได้ว่ามาจากขบวนการภายใต้
"จิตสำนึก" โดยมองสินค้าที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวัน
และทำความเข้าใจกับมันทุกวันจนกลายเป็นความเคยชิน
"เราเห็นมันบ่อยๆ เนื่องจากการใช้ชีวิตของเรา
ผมจะเลือกซื้อหุ้นพวกนี้ก่อน"
เคล็ดลับเช่นนี้เองที่กลายเป็นพฤติกรรมแทรกซึมเข้ามาอยู่ในจิตใต้สำนึกที่เฟ้นแต่หุ้น
"Value" เข้าพอร์ต "ทุกครั้งที่เห็นสินค้า เราอ่านหนังสือเจอ
ทุกอย่างมันจะลิ้งเข้ามาที่เรื่องของหุ้น มันเข้ามาเองอัตโนมัติ"
ดร.นิเวศน์ อธิบายว่า จริงๆ แล้ว Value Investor
เวลาเลือกหุ้นก็แบบเดียวกัน หาหุ้นที่ "ดีมาก" แต่ใช้เงิน
"นิดเดียว" (ซื้อตอนที่ราคายังไม่แพง หรือตอนที่หุ้นตกหนักๆ)
เช่นเดียวกับการใช้ชีวิต ค้นหาสิ่งดีๆ ให้กับชีวิตได้มากมาย
ด้วยเงินเพียงนิดเดียว
"ถ้าศึกษาวิธีคิดของ Value Investor มันเกี่ยวกับข้องกับชีวิตนะ
ถ้าคุณจ่ายเงินซื้อรถเบนซ์โก้หรู ผมยังไม่ค่อยเห็น
ถ้าคุณคิดแบบนั้นคุณก็ไม่ใช่ Value Investor พันธุ์แท้"
Value Investor พันธุ์แท้ในมุมมองของ ดร.นิเวศน์ จะต้องมองที่
"คุณค่า" ของเงินที่จ่าย คุณอย่าซื้อหุ้นเพราะเห็นว่าราคา "ถูก"
แต่ต้องซื้อหุ้นเพราะว่ามัน "ดี" แล้วจ่ายเงินซื้อในราคา
"ยุติธรรม"
"ผมไม่เคยซื้อหุ้นราคา 3 บาท 5 บาท ชอบซื้อหุ้นที่คนพูดว่า "แพง"
ในด้านราคา แต่ "ถูก" ในแง่ของ "Value"
ถ้าสังเกตุดูหุ้นในพอร์ตผมราคาเป็น 100 บาทขึ้นไปทั้งนั้น
หรือราคาหลายสิบบาทที่พาร์บาทเดียว (เช่น STANLY SE-ED IRC
APRINT SSC PR และ TMD) หุ้นของผมราคาสูงหมดนะ แต่มันคุ้มค่า
มันสร้างผลตอบแทนให้เราดีมาก"
ดอกเตอร์พูดว่าการเล่นหุ้นขาดไม่ได้จะต้องมีความสุขกับมัน....เพราะความสุขจะเป็น
"ทุน" สร้างผลตอบแทน มันเป็น "เหตุ" ที่สร้างผลลัพธ์ของ "กำไร"
"จริงๆ ผมมีความสุขกับการได้ซื้อหุ้นที่เราพอใจมากๆ ดีมากๆ
น่าสนใจมากๆ แล้วเก็บมากขึ้นๆ
จนวันหนึ่งเรากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท"....ความสุขในที่นี้ของ
ดร.นิเวศน์หมายถึงความ "ภาคภูมิใจ"
"ผมเชื่อมาตลอดว่า "การเดินทาง" สำคัญกว่า "เป้าหมาย"
อยากบอกนักลงทุนทุกคนว่าอย่าไปกังวลกับเป้าหมาย แต่ควรใส่ใจใน
"เส้นทาง" ที่เรากำลังเดิน ถ้าเราทำดีที่สุด
และมีความสุขในเส้นทางของเราทุกวัน
ในที่สุดเราก็จะไปถึงเป้าหมายนั้นเอง" ดร.นิเวศน์
เชื่อเช่นนี้ตลอด
".....เงิน 1,000 ล้าน สำหรับผมถ้าไม่ได้ ก็ไม่ใช่จะเป็นจะตาย
เรามี "เป้าหมาย" เพื่อกำหนด "เส้นทาง" ไม่ให้เราไขว้เขว
ถ้าเราแน่วแน่ ผลลัพธ์ที่ออกมามันจะสอดคล้องกันทั้งหมด"
ถามดอกเตอร์ว่าสมมติ ดร.นิเวศน์ ทำเงินถึง 1,000 ล้านบาท จริงๆ
เป้าหมายต่อไปคืออะไร?
"ถ้าตัดเรื่องเงินออกไป เป้าหมายของผมก็ยังต้องการเป็น
"นักลงทุน" และใช้ชีวิต "สมถะ" เช่นนี้ตลอดไป(จนตาย)
คนเราอย่าไปคิดว่ามีเงิน 1,000 ล้าน แล้วจะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
คนที่คิดก่อนแล้วว่า จะทิ้ง "วิถี"
ชีวิตดั้งเดิมของตัวเองก่อนที่ตัวเองจะไปถึงเส้นชัย....ผมคิดว่าเขาคงจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่แท้จริงหรอก"
ความเร้นลับของ "กำไร" และ "ความสุข" สำหรับ ดร.นิเวศน์
สะท้อนออกมาในแง่มุมของการเลือกหุ้น ก็เหมือนกับการเลือก
"คู่แต่งงาน" คุณต้องคิดเสมอว่าต้องหาคู่ที่ดีที่สุด
และเหมาะสมที่สุดกับคุณ
เพื่อจะครองคู่กันไปจนแก่เฒ่า....โดยเน้นย้ำว่า Value Investor
จะไม่เลือกหุ้น "ฉาบฉวย" หวังขายในอีก 1 สัปดาห์ หรือ 1
เดือนข้างหน้า แต่ต้องเลือกหุ้นที่ดีที่สุด และมีอนาคตในอีกหลายๆ
ปีข้างหน้า
"ผมจะซื้อหุ้นที่ตัวเองรู้สึกพอใจมากๆ แล้วอยากจะเก็บมันไว้นานๆ"
นี่คือปฐมบทของความสำเร็จที่ดอกเตอร์สรุปให้ฟัง
ดร.นิเวศน์ คิดถึงขนาดที่ว่าสักวันหนึ่งหุ้นที่ "พ่อ"
ถือก็จะถูกส่งต่อไปให้กับ "ลูก" เพื่อเป็น "มรดก" ด้วยซ้ำ
"จริงๆ แล้วหุ้นที่ผมซื้อส่วนใหญ่ส่งต่อไปเป็นมรดกได้
แต่ไม่รู้ว่าถ้าเวลาผ่านไปนานๆ ปัจจัยบางอย่างเปลี่ยนไป
เราอาจต้องเปลี่ยนหุ้นตัวอื่น
แต่ทุกกิจการที่ลงทุนตั้งต้นจากวิธีคิดที่ว่าสามารถถือไปจนถึงลูกถึงหลานได้"
ดอกเตอร์ย้อนกลับมาที่คำพูดคำเดิม การเล่นหุ้นจะต้องเริ่มที่
"ความสุข" มันเป็นเหตุเป็นผลกัน
"ถ้าผมซื้อหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยม ในราคาที่ค่อนข้างต่ำ
มีผู้บริหารดี ในที่สุดราคาหุ้นจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
เราก็มีความสุขกับ Score (ผลตอบแทน) ที่เพิ่มขึ้น
แต่เป็นคนละส่วนกับการเอากำไรมาซื้อความสุขนะ"
ดร.นิเวศน์ อธิบาย Score แห่งความสุขเพิ่มเติมว่า
เราซื้อไปแล้วราคาหุ้นเพิ่มขึ้น จ่ายปันผลมาเราก็ "ทบต้น" ขึ้นไป
แล้วเห็นผลตอบแทนแต่ละปีที่ผ่านไปดีกว่าตลาดโดยรวม
รู้สึกพอใจเมื่อเห็นมันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
"จนวันหนึ่งเราสามารถบอกได้ว่า ตอนนี้เราก็มีฐานะ มีความมั่นคง
และเป็นอิสระพอที่จะไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้
สามารถมีปันผลที่เลี้ยงเราตลอดชีวิตไปจนถึงลูกถึงหลานได้ นี่คือ
ความสุขของผม"
ถามว่า ดร.นิเวศน์
เคยรู้สึกว่าตัวเองผิดพลาดเรื่องการลงทุนบ้างหรือไม่!!!
ดร.นิเวศน์ เล่าให้ฟังว่า ผมเคยซื้อบ้านราคานับสิบล้านบาทด้วย
"กิเลส" ที่มันซุกอยู่ภายในเหมือนกับคนทั่วๆ ไป
แต่นั่นไม่ใช่การลงทุนที่คุ้มค่าเลย
ท้ายที่สุดก็ขายบ้านหลังนั้นทิ้งไป
"ตอนที่ผมยังไม่มีความคิดแบบ Value Investor เคยสนใจซื้อที่ดิน
เราเห็นเลยว่าที่ดินมันก็อยู่ที่เก่า มันไม่เคยจ่ายปันผลให้เรา
ราคาก็ไม่ได้ไปไหน 10 ปีที่ผ่านมา ถ้าขายราคาเดิม...ผมขาย
แต่มันขายไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมรู้สึกว่าตัวเองไม่ชำนาญทางด้านนี้
ให้ซื้อเพื่อเก็งกำไรคงไม่ทำแน่"
ดร.นิเวศน์ เล่าว่า ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง
เป็นแค่บ้านชั้นเดียวเล็กๆ บนเนื้อที่ไม่กี่ตารางวา
ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของแม่ยาย ทุกคนอยู่รวมกัน
เห็นหน้ากันทุกวัน ไม่มีพื้นที่สำหรับความเป็นส่วนตัว
ไม่มีคนรับใช้ แต่บ้านหลังนี้ไม่เคยปราศจากอบอุ่นเลย
"ความสะดวกสบายในบ้านจริงๆ มีน้อย บ้านหลังเล็กมาก
แต่ผมก็ไม่ได้ต้องการมากกว่านี้
เพราะมาคิดดูอีกทีถามว่าไปอยู่บ้านหลังใหญ่ๆโตๆได้มั๊ย!!..."มันก็ได้"
แต่บ้านใหญ่โตมันก็ไม่ได้ให้ความสุขกับเรามากไปกว่าบ้านหลังเล็ก
ทุกคนใกล้ชิดกัน เจอหน้ากันทั้งวัน"
ส่วนรถยนต์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็เป็นรถประจำตำแหน่ง(ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
ธ.นครหลวงไทย)ไม่มีเป็นของตัวเอง ถ้าออกจากงานวันไหน
วันนั้นค่อยไปหาซื้อมาเป็นของตัวเอง
"ทุกวันนี้กิจกรรมที่ผมทำอยู่จริงๆ ชีวิตมันมีความสุขอยู่แล้ว
การออกกำลังกายเป็นความสุขยิ่งใหญ่ ผมไม่ต้องใช้เงินเลย
มีรองเท้าคู่เดียว ถามว่า "ฟิตเนส" มันดีกว่ามั๊ย!!
สำหรับผมวิ่งในสวน (สาธารณะ)
มันก็สดชื่นไปอีกแบบหนึ่ง...นี่คือสิ่งที่ผมกำลังจะบอกว่าพื้นฐานความคิดของ
Value Investor "เงิน" มันไม่ใช่โจทย์ของ "ความสุข"
ตรงกันข้ามกับการเลือกหุ้นคุณต้องเลือกหุ้นที่คิดว่าดีเยี่ยมที่สุด"
ดอกเตอร์ บอกว่า เกือบ 10 ปีที่ผมลงทุนในแนวทางนี้
พิสูจน์แล้วว่ามันประสบความสำเร็จ
ยังจำได้ว่าวันแรกที่ลงทุนตามแนวคิด Value Investor
หนี้สินผมมากกว่าสินทรัพย์สภาพคล่อง
สมัยนั้นผมคิดว่าอยากจะมีบ้านหลังใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้
ก็ไปก่อหนี้ขึ้นมา 10 กว่าล้านบาท
แต่โชคดียังพอมีเงินสดเหลืออยู่ แม้จะน้อยกว่าตัวหนี้
ผมเอาเงินก้อนนั้นไปลงทุนจนถึงวันนี้เงินก้อนนั้นเติบโตขึ้นมาเกือบ
20 เท่าตัว"
แม้วันนี้ Score
แห่งความสุขของดอกเตอร์จะทะยานผ่านพรมแดนแห่งคำว่า "อิสรภาพ"
ทางการเงิน(รายรับจากเงินลงทุนมากกว่ารายจ่ายประจำ)ไปแล้ว แต่
ดร.นิเวศน์ ก็หาไม่ที่จะนำเงินเก็บส่วนของการลงทุนมาซื้อความสุข
"กาย" ในชีวิต มากไปกว่าสิ่งที่มีอยู่
รางวัลในชีวิตของ ดร.นิเวศน์ จึงแตกต่างจากคนทั่วไป
ดอกเตอร์พูดว่า "รางวัลของชีวิต ก็คือ สิ่งที่ทำอยู่ทุกวัน" คำๆ
หนึ่งที่ ดร.นิเวศน์ เน้นย้ำน่าสนใจอย่างยิ่ง คำว่า "การเดินทาง"
กับ "เป้าหมาย"
ในชีวิตของคนทุกคน...นักเล่นหุ้นที่ประสบความสำเร็จที่แท้จริง
เขาควรเฟ้นหาเฉพาะหุ้นระดับ "เฟิร์สคลาส"...มีวิถีชีวิตแบบ
"อีโคโนมี"
ทั้งหมดคือ ทางเดินความคิดของ "Value Investor"หมายเลข 1
ที่ชื่อ"ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 3
ท่านผู้นำเต่า ว่ายน้ำขึ้นฝั่งไปแล้ว
เหลือแต่ลูกเต่าอีกเป็นโขยง กำลังว่ายน้ำตามมา
แต่ไม่รู้จะเหลือลูกเต่าสักกี่ตัว ที่จะเอาชนะตัวเองและรอดพ้นจากเหล่านักล่า
พอที่จะเติบโตเป็นพ่อแม่เต่าต่อไป..
เหลือแต่ลูกเต่าอีกเป็นโขยง กำลังว่ายน้ำตามมา
แต่ไม่รู้จะเหลือลูกเต่าสักกี่ตัว ที่จะเอาชนะตัวเองและรอดพ้นจากเหล่านักล่า
พอที่จะเติบโตเป็นพ่อแม่เต่าต่อไป..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 4
:lol: :lol: :lol: :lol:
ผมชอบแนวคิดของดอกเตอร์นะ และก็ชอบแนวคิดของบัฟเฟตต์ด้วย
ถึงทุกวันนี้ก็ยังยึดแนวของดอกเตอร์ของบัฟเฟตต์และพอร์ตเตอร์ในการเลือกหุ้น
แต่ผมก็ยังมีข้อสงสัยที่อยากจะถามบัฟเฟตต์บางข้อ
บัฟเฟตต์เลือกหุ้นที่มีคุณค่าเมื่อเทียบกับราคา หรือซื้อของที่สามารถใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา อันนี้ผมเห็นด้วยเต็มๆ
แต่ที่ผมสงสัยก็คือ บัฟเฟตต์หาเงินมากๆไว้ทำไม เป็นแสนล้าน ( 100,000,000,000 ตัวเลขที่แน่นอนคงไม่ใช่ตัวนี้ อันนี้กะๆเอา) เพราะได้ใช้ประโยชน์จากมันน้อยเหลือเกินจากการดำรงชีวิตที่สมถะ ตลอดชีวิตจะใช้ถึงสิบล้านหรือเปล่า งงจริงๆ ดูแล้วไม่คุ้มค่าอย่างยิ่ง
เรียกว่าสมบัติอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ บ้าน หรืออื่นๆ ถูกใช้จนคุ้มจริงๆ เรียกว่าขูดถึงกระดูก แต่สมบัติที่เป็นเงินนี่ ไม่ใช่เลย แค่หนังกำพร้าก็ยังไม่ระคายเคืองเล้ย........แปลกไหมครับ...
ก็เลยเดาว่า คงจะเป็นความสุขของบัฟเฟตต์ที่สามารถทำตัวเลข จนเป็นผู้มีเงินเกือบมากที่สุดของโลก ( แต่ก็ไม่รู้จะเป็นทุกข์หรือเปล่าที่รวยน้อยกว่าเกตต์ เห็นเคยบ่นๆว่า ถ้าปีไหนเป็นรองเกตต์ ประเด็นที่พูดคุยในครอบครัวส่วนมากและคุยทั้งปีก็จะเป็นเรื่อง ทำไมถึงรวยน้อยกว่าเกตต์ อืม.... )
ดังนั้น ผมว่า บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุน( นักหาเงิน )ที่ทรงคุณค่ามากๆๆ แต่เป็นนักใช้เงินที่ไม่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง
บัฟเฟตต์คงจะมีความสุขที่ได้มี ( และทำสิ่งที่ฝันไว้ได้สำเร็จ ) ไม่ใช่ความสุขที่ได้ใช้ กระมังครับ
ผมอยากมีความสุขทั้งสองอย่างเลยครับ คงจะห่างไกลจาก VI อีกนานแสนนาน.......อนิจจา.....
:lol: :lol: :lol: :lol:
ผมชอบแนวคิดของดอกเตอร์นะ และก็ชอบแนวคิดของบัฟเฟตต์ด้วย
ถึงทุกวันนี้ก็ยังยึดแนวของดอกเตอร์ของบัฟเฟตต์และพอร์ตเตอร์ในการเลือกหุ้น
แต่ผมก็ยังมีข้อสงสัยที่อยากจะถามบัฟเฟตต์บางข้อ
บัฟเฟตต์เลือกหุ้นที่มีคุณค่าเมื่อเทียบกับราคา หรือซื้อของที่สามารถใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา อันนี้ผมเห็นด้วยเต็มๆ
แต่ที่ผมสงสัยก็คือ บัฟเฟตต์หาเงินมากๆไว้ทำไม เป็นแสนล้าน ( 100,000,000,000 ตัวเลขที่แน่นอนคงไม่ใช่ตัวนี้ อันนี้กะๆเอา) เพราะได้ใช้ประโยชน์จากมันน้อยเหลือเกินจากการดำรงชีวิตที่สมถะ ตลอดชีวิตจะใช้ถึงสิบล้านหรือเปล่า งงจริงๆ ดูแล้วไม่คุ้มค่าอย่างยิ่ง
เรียกว่าสมบัติอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ บ้าน หรืออื่นๆ ถูกใช้จนคุ้มจริงๆ เรียกว่าขูดถึงกระดูก แต่สมบัติที่เป็นเงินนี่ ไม่ใช่เลย แค่หนังกำพร้าก็ยังไม่ระคายเคืองเล้ย........แปลกไหมครับ...
ก็เลยเดาว่า คงจะเป็นความสุขของบัฟเฟตต์ที่สามารถทำตัวเลข จนเป็นผู้มีเงินเกือบมากที่สุดของโลก ( แต่ก็ไม่รู้จะเป็นทุกข์หรือเปล่าที่รวยน้อยกว่าเกตต์ เห็นเคยบ่นๆว่า ถ้าปีไหนเป็นรองเกตต์ ประเด็นที่พูดคุยในครอบครัวส่วนมากและคุยทั้งปีก็จะเป็นเรื่อง ทำไมถึงรวยน้อยกว่าเกตต์ อืม.... )
ดังนั้น ผมว่า บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุน( นักหาเงิน )ที่ทรงคุณค่ามากๆๆ แต่เป็นนักใช้เงินที่ไม่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง
บัฟเฟตต์คงจะมีความสุขที่ได้มี ( และทำสิ่งที่ฝันไว้ได้สำเร็จ ) ไม่ใช่ความสุขที่ได้ใช้ กระมังครับ
ผมอยากมีความสุขทั้งสองอย่างเลยครับ คงจะห่างไกลจาก VI อีกนานแสนนาน.......อนิจจา.....
:lol: :lol: :lol: :lol:
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 5
ผมก็ยังไม่เคยรวย แต่คิดว่าคนที่รวยแล้วก็คงคิดคล้ายๆกันคือสามัญชน เขียน: ดังนั้น ผมว่า บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุน( นักหาเงิน )ที่ทรงคุณค่ามากๆๆ แต่เป็นนักใช้เงินที่ไม่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง
บัฟเฟตต์คงจะมีความสุขที่ได้มี ( และทำสิ่งที่ฝันไว้ได้สำเร็จ ) ไม่ใช่ความสุขที่ได้ใช้ กระมังครับ
ผมอยากมีความสุขทั้งสองอย่างเลยครับ คงจะห่างไกลจาก VI อีกนานแสนนาน.......อนิจจา.....
:lol: :lol: :lol: :lol:
หลังจากต้องการเงินเพื่อตอบสนองปัจจัย 4 แล้ว
หลังจากนั้นความสุขที่ได้จากเงินก็ลดน้อยลงมาก
ถามผมว่าบัฟเฟตต์ ดร.นิเวศ หมอยงค์ หรือใกล้ตัวหน่อยพี่ปรัชญา ลุงขวด พี่ครรชิต มีอะไรที่คล้ายๆกันหรือเปล่า เท่าที่ทราบและสัมผัสมา การใช้ชีวิตของท่านเหล่านี้ค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ได้ฟุ้งเฟ้อเลย เมื่อเปรียบเทียบกับพอร์ตการลงทุน เงินที่เพิ่มขึ้นทุกปีก็คงเป็นแค่ตัวเลข หรือเหมือนคะแนนที่ได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ส่วนวอเรนต์เป็นคนหาเงินที่เก่ง แต่ไม่ได้เป็นคนใช้เงิน แต่ความคิดที่นำเงินทั้งหมดตั้งเป็นมูลนิธิ เพื่อให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น ก็เป็นความคิดที่ไม่เลวเลยนะครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 7
ผมละกลัวพี่เจ๋งพิมพ์พลาดเป็น ตีแต.. :lol:Jeng เขียน:ผมชอบชีวิตของ เจ้าของเพนเฮ้า อ่ะ รู้สึกไม่ได้แต่งงาน และเวลาล่องเรือยอร์ชนี่ สาวๆตรึม
แบบนี้จะเป็น V อะไรดี
อิอิ
มิน่า อ่านตีแตกไม่จบ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 10
V like pretty girl ? :lol: :lol:Jeng เขียน:ผมชอบชีวิตของ เจ้าของเพนเฮ้า อ่ะ รู้สึกไม่ได้แต่งงาน และเวลาล่องเรือยอร์ชนี่ สาวๆตรึม
แบบนี้จะเป็น V อะไรดี
อิอิ
มิน่า อ่านตีแตกไม่จบ
ขอนินทาหน่อย
เข้ากรุงไปประชุมคราวนี้
เจอสาวๆชาวกรุง นุ่งน้อยห่มนิดกันมากมาย
ทำเอาคนมีครอบครัวแล้วอย่างผมกระอักกระอ่วนใจมากทีเดียว
ไม่รู้ว่าปีนี้อากาศร้อนผิดปกติ หรือเทรนด์วัยรุ่นเดี๋ยวนี้เป็นอย่างงี้..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 11
:lol: :lol: :lol: :lol:
อืม..VI...ต้องระวัง...HIV.. ด้วยนะคับ ชื่อมันคล้ายกันเหลือเกิน อิอิอิ
อ้อ...เห็นน้องลูกอิสานนั่งซับน้ำลาย ที่แท้เป็นกระบวนท่ากระอักกระอ่วนใจนี่เอง
:lol: :lol: :lol: :lol:
อืม..VI...ต้องระวัง...HIV.. ด้วยนะคับ ชื่อมันคล้ายกันเหลือเกิน อิอิอิ
อ้อ...เห็นน้องลูกอิสานนั่งซับน้ำลาย ที่แท้เป็นกระบวนท่ากระอักกระอ่วนใจนี่เอง
:lol: :lol: :lol: :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 12
:lol: :lol: :lol: :lol:
น้องลูกอิสานว่า
หรืออาจเป็นว่าพอรวยแล้วเคยใช้เงินแบบสุดๆแล้ว อิ่มแล้ว ก็เลยพอแล้ว
และจริงๆแล้วความสุขของคนเรา ที่เกิดขึ้นจากเงินมักจะเป็นความสุขขั้นต้นๆของชีวิตเท่านั้นเอง ตามที่ Maslow s Heirachy Needs ว่าไว้
ความสุขขั้นสูงๆมักจะซื้อไม่ได้ด้วยเงินกระมังครับ
:lol: :lol: :lol: :lol:
น้องลูกอิสานว่า
อืม.....น่าคิดครับผมก็ยังไม่เคยรวย แต่คิดว่าคนที่รวยแล้วก็คงคิดคล้ายๆกันคือ
หลังจากต้องการเงินเพื่อตอบสนองปัจจัย 4 แล้ว
หลังจากนั้นความสุขที่ได้จากเงินก็ลดน้อยลงมาก
หรืออาจเป็นว่าพอรวยแล้วเคยใช้เงินแบบสุดๆแล้ว อิ่มแล้ว ก็เลยพอแล้ว
และจริงๆแล้วความสุขของคนเรา ที่เกิดขึ้นจากเงินมักจะเป็นความสุขขั้นต้นๆของชีวิตเท่านั้นเอง ตามที่ Maslow s Heirachy Needs ว่าไว้
ความสุขขั้นสูงๆมักจะซื้อไม่ได้ด้วยเงินกระมังครับ
:lol: :lol: :lol: :lol:
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 15
:lol: :lol: :lol: :lol:
พี่ปรัชญา ว่า
แต่ยังไงผมก็ขอส่งเข้าประกวดด้วยอีกตัวหนึ่งครับ
อืม.....หุ้นห่านทองคำ หมายถึงหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่มากและสม่ำเสมอ ตราบใดที่ไม่เชือดห่านทิ้งเหมือนสองตายายในนิทาน
แต่ในชีวิตจริง ไม่มีห่านตัวใหนออกไข่เป็นทองคำเนาะ หุ้นห่านทองคำจะมีแต่ในนิยายเหมือนกันหรือเปล่าน้อ.....ที่เห็นบ่อยๆ คือ ออกไข่วันละสองลูก มากกว่าชาวบ้านลูกหนึ่งก็เรียกว่าไขทองคำแล้วอ่ะ
หุ้นเต่า......ถึงจะเดินช้า แต่เครื่องป้องกันตัวเพียบ ยากที่ใครจะมาทำร้ายได้ พิสูจน์จากการที่เต่าอยู่บนโลกนี้ได้นานมากเป็นร้อยล้านปี โดยไม่สูญพันธ์ มันต้องมีอะไรดีๆแน่นอน
บัฟเฟตต์ชอบหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน ( นอกเหนือจากมีเครื่องป้องกันที่ดีอย่างเดียว น่าจะมีอาวุธที่ดีด้วยถึงจะปราบคู่แข่งได้ ) ดังนั้นจะเรียกว่าหุ้นสิงโตได้ไหมครับ ก็สิงโตเป็นเจ้าป่านี่นา อิอิอิ
ถ้าอย่างนั้นผมมองหาหุ้นคนดีกว่า เพราะว่าคนเป็นเจ้าโลก 5555
:lol: :lol: :lol: :lol:
พี่ปรัชญา ว่า
ผมชอบไอเดียอนุมานและอุปมานจังเลยครับ คิดได้ยังไงมีห่านทองคำ
แล้วก็มีเต่า
นานๆเข้าขนกันมาหมดป่าเลย
แต่ยังไงผมก็ขอส่งเข้าประกวดด้วยอีกตัวหนึ่งครับ
อืม.....หุ้นห่านทองคำ หมายถึงหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่มากและสม่ำเสมอ ตราบใดที่ไม่เชือดห่านทิ้งเหมือนสองตายายในนิทาน
แต่ในชีวิตจริง ไม่มีห่านตัวใหนออกไข่เป็นทองคำเนาะ หุ้นห่านทองคำจะมีแต่ในนิยายเหมือนกันหรือเปล่าน้อ.....ที่เห็นบ่อยๆ คือ ออกไข่วันละสองลูก มากกว่าชาวบ้านลูกหนึ่งก็เรียกว่าไขทองคำแล้วอ่ะ
หุ้นเต่า......ถึงจะเดินช้า แต่เครื่องป้องกันตัวเพียบ ยากที่ใครจะมาทำร้ายได้ พิสูจน์จากการที่เต่าอยู่บนโลกนี้ได้นานมากเป็นร้อยล้านปี โดยไม่สูญพันธ์ มันต้องมีอะไรดีๆแน่นอน
บัฟเฟตต์ชอบหุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน ( นอกเหนือจากมีเครื่องป้องกันที่ดีอย่างเดียว น่าจะมีอาวุธที่ดีด้วยถึงจะปราบคู่แข่งได้ ) ดังนั้นจะเรียกว่าหุ้นสิงโตได้ไหมครับ ก็สิงโตเป็นเจ้าป่านี่นา อิอิอิ
ถ้าอย่างนั้นผมมองหาหุ้นคนดีกว่า เพราะว่าคนเป็นเจ้าโลก 5555
:lol: :lol: :lol: :lol:
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 16
:lol: :lol: :lol: :lol:
อืม.....แต่มาคิดดูอีกที หุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนน่าจะเป็นหุ้นคนอยู่แล้วนะ ไม่น่าจะเป็นแค่สิงโต
:lol: :lol: :lol: :lol:
อืม.....แต่มาคิดดูอีกที หุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนน่าจะเป็นหุ้นคนอยู่แล้วนะ ไม่น่าจะเป็นแค่สิงโต
:lol: :lol: :lol: :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 1435
- ผู้ติดตาม: 0
ผลึกความคิด
โพสต์ที่ 17
พี่ศรรามเลิกติดเกม มาโพสต์ที่นีบ่อยๆ แล้วดีจัง
นักล่าส่วนเกินทุนที่ถือหุ้นไม่จำกัดระยะเวลาแบบ คุณคลายเครียด
ชอบหุ้นไหนกัน ห่านทองคำ เต่า สิงโต ปลาโลม ฉลาม หรือ ลิงอุรังอุตัง!!
นักล่าส่วนเกินทุนที่ถือหุ้นไม่จำกัดระยะเวลาแบบ คุณคลายเครียด
ชอบหุ้นไหนกัน ห่านทองคำ เต่า สิงโต ปลาโลม ฉลาม หรือ ลิงอุรังอุตัง!!
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1