แนวทางในการลงทุนแบบ Dividend Investor (ต่อจากกระทู้คุณ Mon)
-
- Verified User
- โพสต์: 25
- ผู้ติดตาม: 0
แนวทางในการลงทุนแบบ Dividend Investor (ต่อจากกระทู้คุณ Mon)
โพสต์ที่ 1
แนวทางในการลงทุนหุ้น แบบ Dividend Investor ของผม
1. เน้นหุ้นปันผลดี (เช่น ตั้งแต่ 5% ขึ้นไป) และต่อเนื่อง (เช่น อย่างน้อย 5 ปี ขึ้นไป)
2. ราคาหุ้นต้องไม่แพงจนเกินไป (เช่น P/E < 10 , P/BV <2 ) และมีกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earning Per Share, EPS) สม่ำเสมอ
3. บริษัทมี brand ที่แข็งแกร่ง มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในอันดับต้นๆของอุตสาหกรรม
4. บริษัทมีหนี้น้อยมาก มีกระแสเงินสดต่อหุ้นในอัตราที่สูง (เช่น มีหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว 250 ล้านบาท แต่มีกำไรสุทธิต่อปี 300 ล้านบาท ซึ่งทำให้สามารถล้างหนี้สินให้หมดได้ภายในระยะเวลาเพียง 250/300 = 0.83 ปี)
5. เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ กองทุนต่างชาติหรือกองทุนในประเทศไม่สนใจ ยกเว้นซื้อเพื่อถือยาวเพื่อรับเงินปันผล ควรเป็นหุ้นที่นักเก็งกำไรไม่รู้จัก หรือเมินหน้าหนีเพราะไม่ค่อยมีข่าวและราคาหุ้นไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวทำให้เก็งกำไรได้ยาก ถ้านักวิเคราะห์ไม่ค่อยออกบทวิเคราะห์ก็จะดีมาก
6. เน้นการซื้อหุ้นที่เราสามารถเข้าใจธรรมชาติของกิจการได้ดีพอสมควร เป็นหุ้นที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ร้อนแรง เพราะอาจมีราคาที่สูงเกินพื้นฐาน ในทางตรงข้าม กลับสนใจหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ฟังดูแล้วน่าเบื่อและไม่ค่อยมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามา
7. เป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลดี ผู้บริหารมีประวัติที่ดีและโปร่งใส ซื้อหุ้นแล้วนอนหลับสบาย ไม่กังวล
8. ผู้ถือหุ้นใหญ่เน้นการถือยาวจนแทบจะไม่มีการขายหุ้นออกมา
9. ตั้งใจซื้อและถือยาวโดยมองอนาคตของกิจการไปข้างหน้าอย่างน้อย 5-10 ปี
10. ถ้าซื้อแล้วหุ้นตก โดยที่ผลการดำเนินงานไม่เปลี่ยนแปลงก็จะชอบมาก และจะยิ่งซื้อเพิ่ม ถ้าซื้อแล้วหุ้นขึ้นก็ไม่เสียหาย แต่จะไม่ค่อยชอบเพราะต้องซื้อหุ้นในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากไม่คาดหวังส่วนต่างจากการซื้อขาย (capital gain) แต่ต้องการทยอยซื้อหุ้นให้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรับเงินปันผลมากกว่า
11. ไม่คิดที่จะขายเพราะราคาหุ้นพุ่งสูงจนน่าขายทำกำไร หรือราคาหุ้นลงต่ำจนน่ากลัวจนน่าตัดขาดทุน แต่จะขายก็ต่อเมื่อผลการดำเนินงานลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสและบริษัทไม่มีศักยภาพที่จะปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า ผลประกอบการของบริษัทย่อมต้องมีขึ้นมีลง เป็นธรรมดา แต่บริษัทที่แข็งแกร่งจะผ่านพ้นวิกฤตการไปได้
12. กระจายการลงทุนหุ้นในหลายอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในความไม่แน่นอนของเงินปันผล
13. ค่อยๆทยอยซื้อหุ้นทีละน้อยไปเรื่อยๆ และนำปันผลมาซื้อหุ้นเพิ่ม การมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นหัวใจของการลงทุนแบบนี้ เพราะเสมือนว่าเราจะมีจำนวนเครื่องปั๊มเงิน (cash machine) เพิ่มขึ้น
14. ยึดมั่นในการลงทุนระยะยาว (10 ปี 20 ปี หรือนานกว่านั้น) เพื่อสะสมความมั่งคั่งอย่างช้าๆ คิดเสียว่าซื้อหุ้นแล้วถือยาวให้เป็นมรดกกับลูกหลาน ไม่เชื่อในเทคนิค กลวิธี ทางลัด หรือข่าวลือใดๆที่จะทำเงินจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น โดยปล่อยให้ความโลภมาครอบงำวิจารณญาณในการตัดสินใจ การซื้อขายหุ้นบ่อยๆจะทำให้ขาดทุนง่ายเสมือนนักพนันในบ่อน ซึ่งในระยะยาวแล้วจะขาดทุน ในทางตรงข้ามเราต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือนายบ่อนที่คอยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาว นักเก็งกำไรระยะสั้นจนร่ำรวยนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะประกาศตนเฉพาะเวลาได้กำไร ผู้คนจะยกย่องเขาให้เป็นเซียนหุ้น แต่พอขาดทุนหนักๆก็จะเงียบหายไปในที่สุด นักลงทุนระยะยาวที่ถือหุ้นนานๆจนมั่งคั่งนั้นมีมาก เพียงแต่นักลงทุนประเภทนี้มักไม่ชอบเป็นข่าว
15. รู้จักแยกแยะข่าวสารที่เกี่ยวกับหุ้นหรือบทวิเคราะห์ต่างๆ ว่าส่วนใดคือข้อเท็จจริง (fact) ส่วนใดคือความคิดเห็น (opinion)
หรือส่วนใดคือการคาดการณ์ (forecast) โดยให้น้ำหนักกับข้อเท็จจริงมากที่สุด ไม่หูเบาไปกับ marketing หรือบทวิเคราะห์ที่คอยแนะนำให้ซื้อ-ขายบ่อยๆ เพราะถ้าเขาสามารถรู้ล่วงหน้าว่าหุ้นตัวใดจะมีราคาสูงขึ้นแล้ว เขาก็คงเล่นหุ้นเองไม่ต้องมาทำงานเพื่อหาค่า commission ไปวันๆ (ในความเป็นจริงนั้น port การลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์เองก็ยังขาดทุนเช่นกันในช่วงที่ตลาดไม่ดี และหลายบริษัทก็ยังขาดทุนในสัดส่วนที่มากกว่าการลดลงของดัชนีของตลาดอีกด้วย)
16. เชื่อมั่นและมีจุดยืนของตนเอง ลงทุนตามแผนที่ได้วางไว้อย่างมีวินัย
17. นักลงทุนที่ดีควรฝึกการใช้สติยั้งคิด ไตร่ตรองหาเหตุผล ฝึกนิสัยการใช้จ่ายอย่างมัธยัสถ์ กินอยู่ให้ต่ำกว่าฐานะ รู้จักอดออม ไม่หลงไปตามกระแสความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ของสังคม ส่วนผู้ที่ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายเกินตัว เคยชินกับการเป็นหนี้บัตรเครดิต ชอบความโก้หรู อยากมีวัตถุสิ่งของเพื่อให้ทัดเทียมชาวบ้านตามกระแสบริโภคนิยม ลุ่มหลงในอบายมุข เช่น สุรา นารี ยาเสพติด และการพนัน หลงระเริงอยู่ในความสุขสนุกสบาย ไม่อดทนต่อความยากลำบาก ไม่ขยันทำมาหากิน บุคคลเหล่านี้ถือว่าดำรงตนอยู่ในความประมาท สุดท้ายแล้วจะประสบแต่ความยากลำบากในบั้นปลาย
หวังว่าคงมีเพื่อนๆที่มีแนวคิดคล้ายกัน มาเป็นเพื่อนร่วมลงทุนด้วยกันอีกหลายสิบปีต่อจากนี้ไปนะครับ
1. เน้นหุ้นปันผลดี (เช่น ตั้งแต่ 5% ขึ้นไป) และต่อเนื่อง (เช่น อย่างน้อย 5 ปี ขึ้นไป)
2. ราคาหุ้นต้องไม่แพงจนเกินไป (เช่น P/E < 10 , P/BV <2 ) และมีกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earning Per Share, EPS) สม่ำเสมอ
3. บริษัทมี brand ที่แข็งแกร่ง มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในอันดับต้นๆของอุตสาหกรรม
4. บริษัทมีหนี้น้อยมาก มีกระแสเงินสดต่อหุ้นในอัตราที่สูง (เช่น มีหนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว 250 ล้านบาท แต่มีกำไรสุทธิต่อปี 300 ล้านบาท ซึ่งทำให้สามารถล้างหนี้สินให้หมดได้ภายในระยะเวลาเพียง 250/300 = 0.83 ปี)
5. เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ กองทุนต่างชาติหรือกองทุนในประเทศไม่สนใจ ยกเว้นซื้อเพื่อถือยาวเพื่อรับเงินปันผล ควรเป็นหุ้นที่นักเก็งกำไรไม่รู้จัก หรือเมินหน้าหนีเพราะไม่ค่อยมีข่าวและราคาหุ้นไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวทำให้เก็งกำไรได้ยาก ถ้านักวิเคราะห์ไม่ค่อยออกบทวิเคราะห์ก็จะดีมาก
6. เน้นการซื้อหุ้นที่เราสามารถเข้าใจธรรมชาติของกิจการได้ดีพอสมควร เป็นหุ้นที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ร้อนแรง เพราะอาจมีราคาที่สูงเกินพื้นฐาน ในทางตรงข้าม กลับสนใจหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ฟังดูแล้วน่าเบื่อและไม่ค่อยมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามา
7. เป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลดี ผู้บริหารมีประวัติที่ดีและโปร่งใส ซื้อหุ้นแล้วนอนหลับสบาย ไม่กังวล
8. ผู้ถือหุ้นใหญ่เน้นการถือยาวจนแทบจะไม่มีการขายหุ้นออกมา
9. ตั้งใจซื้อและถือยาวโดยมองอนาคตของกิจการไปข้างหน้าอย่างน้อย 5-10 ปี
10. ถ้าซื้อแล้วหุ้นตก โดยที่ผลการดำเนินงานไม่เปลี่ยนแปลงก็จะชอบมาก และจะยิ่งซื้อเพิ่ม ถ้าซื้อแล้วหุ้นขึ้นก็ไม่เสียหาย แต่จะไม่ค่อยชอบเพราะต้องซื้อหุ้นในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากไม่คาดหวังส่วนต่างจากการซื้อขาย (capital gain) แต่ต้องการทยอยซื้อหุ้นให้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรับเงินปันผลมากกว่า
11. ไม่คิดที่จะขายเพราะราคาหุ้นพุ่งสูงจนน่าขายทำกำไร หรือราคาหุ้นลงต่ำจนน่ากลัวจนน่าตัดขาดทุน แต่จะขายก็ต่อเมื่อผลการดำเนินงานลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสและบริษัทไม่มีศักยภาพที่จะปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า ผลประกอบการของบริษัทย่อมต้องมีขึ้นมีลง เป็นธรรมดา แต่บริษัทที่แข็งแกร่งจะผ่านพ้นวิกฤตการไปได้
12. กระจายการลงทุนหุ้นในหลายอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในความไม่แน่นอนของเงินปันผล
13. ค่อยๆทยอยซื้อหุ้นทีละน้อยไปเรื่อยๆ และนำปันผลมาซื้อหุ้นเพิ่ม การมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นหัวใจของการลงทุนแบบนี้ เพราะเสมือนว่าเราจะมีจำนวนเครื่องปั๊มเงิน (cash machine) เพิ่มขึ้น
14. ยึดมั่นในการลงทุนระยะยาว (10 ปี 20 ปี หรือนานกว่านั้น) เพื่อสะสมความมั่งคั่งอย่างช้าๆ คิดเสียว่าซื้อหุ้นแล้วถือยาวให้เป็นมรดกกับลูกหลาน ไม่เชื่อในเทคนิค กลวิธี ทางลัด หรือข่าวลือใดๆที่จะทำเงินจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น โดยปล่อยให้ความโลภมาครอบงำวิจารณญาณในการตัดสินใจ การซื้อขายหุ้นบ่อยๆจะทำให้ขาดทุนง่ายเสมือนนักพนันในบ่อน ซึ่งในระยะยาวแล้วจะขาดทุน ในทางตรงข้ามเราต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือนายบ่อนที่คอยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาว นักเก็งกำไรระยะสั้นจนร่ำรวยนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะประกาศตนเฉพาะเวลาได้กำไร ผู้คนจะยกย่องเขาให้เป็นเซียนหุ้น แต่พอขาดทุนหนักๆก็จะเงียบหายไปในที่สุด นักลงทุนระยะยาวที่ถือหุ้นนานๆจนมั่งคั่งนั้นมีมาก เพียงแต่นักลงทุนประเภทนี้มักไม่ชอบเป็นข่าว
15. รู้จักแยกแยะข่าวสารที่เกี่ยวกับหุ้นหรือบทวิเคราะห์ต่างๆ ว่าส่วนใดคือข้อเท็จจริง (fact) ส่วนใดคือความคิดเห็น (opinion)
หรือส่วนใดคือการคาดการณ์ (forecast) โดยให้น้ำหนักกับข้อเท็จจริงมากที่สุด ไม่หูเบาไปกับ marketing หรือบทวิเคราะห์ที่คอยแนะนำให้ซื้อ-ขายบ่อยๆ เพราะถ้าเขาสามารถรู้ล่วงหน้าว่าหุ้นตัวใดจะมีราคาสูงขึ้นแล้ว เขาก็คงเล่นหุ้นเองไม่ต้องมาทำงานเพื่อหาค่า commission ไปวันๆ (ในความเป็นจริงนั้น port การลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์เองก็ยังขาดทุนเช่นกันในช่วงที่ตลาดไม่ดี และหลายบริษัทก็ยังขาดทุนในสัดส่วนที่มากกว่าการลดลงของดัชนีของตลาดอีกด้วย)
16. เชื่อมั่นและมีจุดยืนของตนเอง ลงทุนตามแผนที่ได้วางไว้อย่างมีวินัย
17. นักลงทุนที่ดีควรฝึกการใช้สติยั้งคิด ไตร่ตรองหาเหตุผล ฝึกนิสัยการใช้จ่ายอย่างมัธยัสถ์ กินอยู่ให้ต่ำกว่าฐานะ รู้จักอดออม ไม่หลงไปตามกระแสความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ของสังคม ส่วนผู้ที่ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายเกินตัว เคยชินกับการเป็นหนี้บัตรเครดิต ชอบความโก้หรู อยากมีวัตถุสิ่งของเพื่อให้ทัดเทียมชาวบ้านตามกระแสบริโภคนิยม ลุ่มหลงในอบายมุข เช่น สุรา นารี ยาเสพติด และการพนัน หลงระเริงอยู่ในความสุขสนุกสบาย ไม่อดทนต่อความยากลำบาก ไม่ขยันทำมาหากิน บุคคลเหล่านี้ถือว่าดำรงตนอยู่ในความประมาท สุดท้ายแล้วจะประสบแต่ความยากลำบากในบั้นปลาย
หวังว่าคงมีเพื่อนๆที่มีแนวคิดคล้ายกัน มาเป็นเพื่อนร่วมลงทุนด้วยกันอีกหลายสิบปีต่อจากนี้ไปนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 375
- ผู้ติดตาม: 0
แนวทางในการลงทุนแบบ Dividend Investor (ต่อจากกระทู้คุณ Mon)
โพสต์ที่ 3
เอาของผมมั่งนะครับ ความรู้ด้าน VI ก็ไม่ค่อยมาก เท่าไหร่ เริ่มเล่นมาไม่กี่เดือนครับ
ไม่ขาดทุนแต่ก็ยังไม่ได้กำไร ซักเท่าไหร่
1.ดูผลการดำเนินงานในอดีตของบริษัทนั้นๆครับ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ผมจะตัดบริษัทที่ขาดทุนบ้างกำไรบ้างออกไป ยกเว้นช่วงวิกฤต เศรษฐกิจครับ กำไรลดลงไม่เป็นไรครับแต่ไม่ควรขาดทุนครับ
2.อ่าน 56-1 และก็ รายงานประจำปีครับ
3.วิเคราะห์งบ
4.ตัดหุ้นที่ไม่จ่ายปันผลออกไป ปันผลน้อยไม่เป็นไร
5.หนี้เยอะๆ ไม่เอาครับ
6.ผมประกอบการควรโตอย่างต่อเนื่อง ช้าๆ ไม่ต้องรีบ โตมากๆไม่ค่อยชอบนะครับ
7.ไม่ชอบวอแรนท์ นะครับ
8.ดูตลาดทนแทนนะครับ และก็ดู brand
จากนั้นผมก็จะเริ่มมาดูที่ราคาของหุ้นที่ผมคิดว่าดีนะครับ ถ้าถูกก็ซื้อ
แพงก็รอ ให้ราคาลงถ้าเงื่อนไขยังเหมือนเดิมก็ซื้อนะครับ
หลังจากซื้อแล้วก็แช่งให้ลงทุกวัน ๆๆๆ ถ้าลงก็ซื้อเพิ่ม ไปเรื่อยๆ ไม่หายเด็ดขาดถ้าผมประกอบการไม่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าผลประกอบการแย่ลงมากๆก็บ้ายบายครับ
และก็ไอเดียส่วนมากก็ copy จากพี่ๆ ที่นี่ละครับ ต้องขอบคุณมากเลย
ไม่ขาดทุนแต่ก็ยังไม่ได้กำไร ซักเท่าไหร่
1.ดูผลการดำเนินงานในอดีตของบริษัทนั้นๆครับ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ผมจะตัดบริษัทที่ขาดทุนบ้างกำไรบ้างออกไป ยกเว้นช่วงวิกฤต เศรษฐกิจครับ กำไรลดลงไม่เป็นไรครับแต่ไม่ควรขาดทุนครับ
2.อ่าน 56-1 และก็ รายงานประจำปีครับ
3.วิเคราะห์งบ
4.ตัดหุ้นที่ไม่จ่ายปันผลออกไป ปันผลน้อยไม่เป็นไร
5.หนี้เยอะๆ ไม่เอาครับ
6.ผมประกอบการควรโตอย่างต่อเนื่อง ช้าๆ ไม่ต้องรีบ โตมากๆไม่ค่อยชอบนะครับ
7.ไม่ชอบวอแรนท์ นะครับ
8.ดูตลาดทนแทนนะครับ และก็ดู brand
จากนั้นผมก็จะเริ่มมาดูที่ราคาของหุ้นที่ผมคิดว่าดีนะครับ ถ้าถูกก็ซื้อ
แพงก็รอ ให้ราคาลงถ้าเงื่อนไขยังเหมือนเดิมก็ซื้อนะครับ
หลังจากซื้อแล้วก็แช่งให้ลงทุกวัน ๆๆๆ ถ้าลงก็ซื้อเพิ่ม ไปเรื่อยๆ ไม่หายเด็ดขาดถ้าผมประกอบการไม่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าผลประกอบการแย่ลงมากๆก็บ้ายบายครับ
และก็ไอเดียส่วนมากก็ copy จากพี่ๆ ที่นี่ละครับ ต้องขอบคุณมากเลย