มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 1
จะว่าไปแล้วมันเป็นความขมขื่นของผมที่เรียนเรื่องนี้อย่างทุกข์ทรมาน อดตาหลับ ขับตานอนตอนไปสอบ แต่ผมกลับมาคิดว่าเป็นเรื่องน่าสนใจ อยากจะให้คุณ adiช่วยนำมาคุยกับพวกเราหน่อย เพื่อเป็นความรู้แบ่งปันกันครับ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 435
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 3
เอางี้ก็แล้วกันผมเจอข้อมูลที่เขาพูดถึง Mutual Fund ต่างๆในอเมริกา แยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง จัดการแบบ value investment อีกกลุ่มจัดการแบบท้องตลาดเน้น diversify สุดๆเพื่อความปลอดภัย ข้อมูลระหว่างปี 1999-2003 (5ปี)ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้น Hi tech เดี้ยง เขาเอาผลสรุปมาตรวจสอบดูพบว่า กลุ่มแรกเอาชนะตลาดราว 11% ส่วนกลุ่มหลังเดี้ยงไปตามฟอร์มadi เขียน:............. แต่ผมไม่รู้จะเริ่มยังงัยครับ
ในนี้ยังมีการอ้างอิงถึงหลักของ value investment ที่ยังไม่ตาย นับตั้งแต่ Graham และ Dodders , Warren Buffett , Charlie Munger หรือแม้แต่ John Maynard Keynes (นักเศรษฐศาสตร์ผู้โด่งดัง)ซึ่งก็เป็น value investor อีกคนก็ถูกอ้างถึงความเห็นเกี่ยวกับ Portfolio diversification
เชิญตามไปติดตามดูตามนี้นะครับ:
http://www.law.columbia.edu/center_prog ... DWP255.pdf
แล้วลองถกกันดูน่าจะเข้าประเด็นของคุณมน
ตามอัธยาศัยครับ แล้วจะมาร่วมแจมอีก
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 6
เรื่องนี้ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์เชิงสถิติมากมาย การวัดผลตอบแทน และความเสี่ยงก็ใช้สถิติ จากสามาญสำนึกแล้วการซื้อหุ้นมันไม่น่าจะเลือกหุ้นจากข้อมูลสถิติด้านราคาเท่านั้น อีกประการหนึ่งทฤษฏีนี้เหมือนจะบอกว่าให้เราหลับหูหลับตาเลือกหุ้น
ซึ่งสมัยเรียนMBA เราก็มาทนนั่งเรียนการบริหารกิการกันอย่างถึงพริกถึงขิง โดยเฉพาะเรื่องการตลาด การจัดการเชิงกลยุทธ์ แต่พอมาเจอเรื่องนี้กลับกันโดยชิ้นเชิงเลยครับ
ไม่ทราบว่าเห็นเป้นอย่างไงกันบ้างครับ กับประเด็นนี้
ซึ่งสมัยเรียนMBA เราก็มาทนนั่งเรียนการบริหารกิการกันอย่างถึงพริกถึงขิง โดยเฉพาะเรื่องการตลาด การจัดการเชิงกลยุทธ์ แต่พอมาเจอเรื่องนี้กลับกันโดยชิ้นเชิงเลยครับ
ไม่ทราบว่าเห็นเป้นอย่างไงกันบ้างครับ กับประเด็นนี้
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 7
ผมพอที่จะอ่านผ่านๆแล้วครับ โดยรวมแล้วเค้าก็เขียนได้ดีทีเดียว เสียที่ไม่ค่อยพูดถึงเรื่องความเสี่ยงเท่าไหร่ (std dev) เน้นแต่เรื่องของผลตอบแทนมากไปหน่อย
ผมขอตั้งข้อสังเกตอีกอย่างแทนสำหรับพวก random walker ในที่นี้ผู้เขียนโต้แย้งทฤษฎี random walk ครับ โดยที่ตลาดหุ้นcrashในช่วงนั้นส่วนใหญ่สืบเนื่องจาก hi-tech stock เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกิดใหม่ และไม่สามารถหามูลค่ากิจการได้จากการคำนวณที่ทำอยู่ ซึ่งอาจทำให้rational investor ไม่ rational อีกต่อไป
สำหรับผมไม่เป็น random walker แน่นอน ไม่งั้นผมจะมาเล่นเวปบอร์ดนี้ทำไมล่ะครับ ตลาดหุ้นของเราไม่มีทางมีประสิทธิภาพได้ ดูจาก information ที่ทุกคนได้รับก็ได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นมันไม่มีทาง equilibrium ตามตำราแหงม (เดา) คนที่อ่านเวปนี้น้อยคนที่จะเป็น passive investor ส่วนใหญ่เป็น active ทั้งนั้น
แต่ผมเชื่อว่า การ diversify สามารถลดความเสี่ยงให้คุณได้จริง (no brainer เลยครับ)
มีใครเป็น random walker บ้างครับ???
ผมขอตั้งข้อสังเกตอีกอย่างแทนสำหรับพวก random walker ในที่นี้ผู้เขียนโต้แย้งทฤษฎี random walk ครับ โดยที่ตลาดหุ้นcrashในช่วงนั้นส่วนใหญ่สืบเนื่องจาก hi-tech stock เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกิดใหม่ และไม่สามารถหามูลค่ากิจการได้จากการคำนวณที่ทำอยู่ ซึ่งอาจทำให้rational investor ไม่ rational อีกต่อไป
สำหรับผมไม่เป็น random walker แน่นอน ไม่งั้นผมจะมาเล่นเวปบอร์ดนี้ทำไมล่ะครับ ตลาดหุ้นของเราไม่มีทางมีประสิทธิภาพได้ ดูจาก information ที่ทุกคนได้รับก็ได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นมันไม่มีทาง equilibrium ตามตำราแหงม (เดา) คนที่อ่านเวปนี้น้อยคนที่จะเป็น passive investor ส่วนใหญ่เป็น active ทั้งนั้น
แต่ผมเชื่อว่า การ diversify สามารถลดความเสี่ยงให้คุณได้จริง (no brainer เลยครับ)
มีใครเป็น random walker บ้างครับ???
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 8
ตามทฤษฎีแล้ว Henry Markowitz อาศัยสมมุติฐานว่า นักลงทุนทุกคนเป็นผู้ที่ใช้เหตุผลในการตัดสินใจลงทุน ซึ่งเป็นที่มาของการตั้งสมมุติฐานของทฤษฎีนี้ต่มาอีกคือ
1 นักลงทุนใช้การกระจายตัวของความน่าจะเป็น(probability distribution)ที่จะเกิดขึ้นของอัตราผลตอบแทนคาดหวัง ในช่วงใดช่วงหนึ่งเป็นทางเลือกในการลงทุน
2 ผู้ลงทุนต้องการสร้างความมั่งคั่งสูงสุด หรือต้องการอรรถประโยชน์สูงสุดในช่วงที่ลงทุนอยู่
3 นักลงทุนจะประมาณค่าความเสี่ยงได้จากค่าความแปรปรวนหรือส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของอัตราผลตอบแทน
4 นักลงทุนใช้ อัตราผลตอบแทนคาดหวัง และ ความเสี่ยงเพียงสองปัจจัยในการพิจารณาลงทุนเท่านั้น
5 ผู้ลงทุนเป็นผู้ที่กลัวความเสี่ยง จะเลือกลงทุนในทางเลือกที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า อัตราผลตอบแทนที่เท่ากันหรือสูงกว่า
ลองเอาสมมุติฐานเบื้องต้นไปพิจารณากันก่อนนะครับ ว่าโดยสามาญสำนึกแล้ว ใช่หรือไม่
1 นักลงทุนใช้การกระจายตัวของความน่าจะเป็น(probability distribution)ที่จะเกิดขึ้นของอัตราผลตอบแทนคาดหวัง ในช่วงใดช่วงหนึ่งเป็นทางเลือกในการลงทุน
2 ผู้ลงทุนต้องการสร้างความมั่งคั่งสูงสุด หรือต้องการอรรถประโยชน์สูงสุดในช่วงที่ลงทุนอยู่
3 นักลงทุนจะประมาณค่าความเสี่ยงได้จากค่าความแปรปรวนหรือส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานของอัตราผลตอบแทน
4 นักลงทุนใช้ อัตราผลตอบแทนคาดหวัง และ ความเสี่ยงเพียงสองปัจจัยในการพิจารณาลงทุนเท่านั้น
5 ผู้ลงทุนเป็นผู้ที่กลัวความเสี่ยง จะเลือกลงทุนในทางเลือกที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า อัตราผลตอบแทนที่เท่ากันหรือสูงกว่า
ลองเอาสมมุติฐานเบื้องต้นไปพิจารณากันก่อนนะครับ ว่าโดยสามาญสำนึกแล้ว ใช่หรือไม่
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 435
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 9
อยากให้คุณมนและคุณ adi พูดอภิปรายกันดูว่าสิ่งที่เรียนในหลักสูตร MBA ในส่วนของ Portfolio Theory มาน่ะ ที่ว่าน่าสนใจหรือไม่มากน้อยอย่างไร ..และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ในตลาดหุ้นจริงมากน้อยแค่ไหนครับ ( อันนี้เป็นคำถามของคนที่ไม่มีพื้นฐานการเรียนด้านธุรกิจมาก่อนเลยนะครับ) ถ้าอายุสัก 20 กว่า- 30 ผมสมัครเรียน MBA ตามที่คุณฉัตรแนะนำบ่อยๆในหลายกระทู้แน่นอนเลยจะได้เป็นพื้นฐานสำหรับลงทุนในตลาดหุ้นให้ประสบความสำเร็จเหมือนหลายๆท่านในเวบนี้ (... แต่นี่ปาเข้าไป 50 ต้นๆ เลยกะว่าเรียนจากการค้นคว้าหาอ่านเท่าที่จะทำได้ด้วยตนเองแทน ....เสียดายที่มาเริ่มสนใจเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นช้าไปมากๆ คือเริ่มต้นเมื่อ 2 ปีนี่เอง .....เทียบกับสุดยอดปรามาจารย์อย่าง Warren Buffett ที่เริ่มต้นสนใจศึกษาเรื่องการลงทุนที่ 7 ขวบ เขาบ่นเป็นทีเล่นทีจริงเลยว่าเสียดายเวลา 7 ปีแรกที่สูญเปล่าไม่ยอมเริ่มศึกษาเรื่องการลงทุน ...สรุปแล้วเริ่มต้นเร็วที่สุดดีที่สุด .......สำหรับผมก็ไม่รู้จะไปได้แค่ไหน อย่างไรก็ตามก็ยังมีไฟใผ่ที่จะเรียนรู้อยู่ )Mon money เขียน:................................................................แต่ผมกลับมาคิดว่าเป็นเรื่องน่าสนใจ อยากจะให้คุณ adiช่วยนำมาคุยกับพวกเราหน่อย เพื่อเป็นความรู้แบ่งปันกันครับ
ส่วนข้อมูลที่ผมทำลิงค์ไว้ข้างต้นชื่อ Searching for Rational Investors In a Perfect Storm โดย Louis Lowenstein เท่าที่ผมพยายมอ่านทำความเข้าใจดู เห็นว่าศาสตราจารย์ Lowenstein ผู้วิจัย พยายามสื่อให้เห็นข้อเปรียบเทียบผลของการนำปรัชญาการลงทุนระหว่าง แบบ value investing และแบบที่สอนกันในโรงเรียนธุรกิจในอเมริกาไปใช้ในทางปฏิบัติ ปรากฏพบว่าการลงทุนแนว Value investing สามารถยืนหยัดอยู่ได้ อีกทั้งยังได้รับผลตอบแทนดีกว่าแบบที่เปรียบเทียบในระหว่างช่วง 5 ปีที่เกิดพายุทางเศรษฐกิจการเงินที่รุนแรง(1999-2003)ดังกล่าว ทั้งนี้ทั้งนั้นบรรดาครูบาอาจารย์และนักวิชาการในสถาบันการศึกษาด้านธุรกิจต่างๆในสหรัฐส่วนใหญ่ต่างไม่ค่อยเห็นชอบว่าเป็นวิธีการที่ดี (แต่ก้อไม่ได้ทำความค้นคว้าวิจัยถึงผลของแนวทางนี้ในอย่างจริงจังแต่อย่างใด ... พูดตามที่ Louis Lowenstein ว่าไว้นะครับ) และงานวิจัยฉบับนี้เปรียบเหมือนเป็น version ของต่อจากที่ Warren Buffett ทำไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว หากท่านใดได้อ่าน The Intelligent Investor ในบท Appendixes ที่ชื่อ The Superinvestors of Grahan-and Doddsville นั่นแหละเป็น version แรกของงานวิจัยฉบับนี้ เท่ากับเป็นการยืนยันว่าแนวทาง Value Investing ยังไม่ตาย
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 10
ถ้าว่ากันด้วยสถิติล้วนๆ นะครับ ผลการลงทุนรวมของนักลงทุนทุกคน แบบไม่นับ
ปันผลที่เอาออกจากระบบ (สมมุติว่าปันผลกลายเป็น reinvested dividend ทั้งหมด)
น่าจะเป็นรูประฆังคว่ำที่ค่อนข้างสมมาตร แต่เบ้ไปทางซ้าย
โดยคนที่อยู่ตรงกลางๆ คือพวกกองทุน ซื้อหุ้นหลายตัวมาก diversify สุดๆ ความเสี่ยง
ต่ำ ยังไงก็เกาะกลุ่มตรงกลางไปพร้อมๆ กับ Market
ส่วนพวกสุดโต่งด้านซ้ายกับด้านขวา (พวกขาดทุนมโหฬารกับพวกกำไรพันเท่า)
น่าจะเป็นพวกเลือกหุ้นน้อยตัวมากๆ อาจจะ 1-5 ตัวเท่านั้น ในระยะเวลา 1 ปี
ปันผลที่เอาออกจากระบบ (สมมุติว่าปันผลกลายเป็น reinvested dividend ทั้งหมด)
น่าจะเป็นรูประฆังคว่ำที่ค่อนข้างสมมาตร แต่เบ้ไปทางซ้าย
โดยคนที่อยู่ตรงกลางๆ คือพวกกองทุน ซื้อหุ้นหลายตัวมาก diversify สุดๆ ความเสี่ยง
ต่ำ ยังไงก็เกาะกลุ่มตรงกลางไปพร้อมๆ กับ Market
ส่วนพวกสุดโต่งด้านซ้ายกับด้านขวา (พวกขาดทุนมโหฬารกับพวกกำไรพันเท่า)
น่าจะเป็นพวกเลือกหุ้นน้อยตัวมากๆ อาจจะ 1-5 ตัวเท่านั้น ในระยะเวลา 1 ปี
-
- Verified User
- โพสต์: 435
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 11
เท่าที่ผมตีความบทวิจัยนี้ดู เห็นว่าบรรดาเหล่าผู้ยึดปรัชญา value Investing เขามองว่าแนวทางวิธีการลงทุนตามแนวที่สอนกันในสถาบันการศ๊กษาด้านธุรกิจในสหรัฐฯส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูงกว่าแนว Value Investing ยึดถืออยู่adi เขียน:ผมพอที่จะอ่านผ่านๆแล้วครับ โดยรวมแล้วเค้าก็เขียนได้ดีทีเดียว เสียที่ไม่ค่อยพูดถึงเรื่องความเสี่ยงเท่าไหร่ (std dev) เน้นแต่เรื่องของผลตอบแทนมากไปหน่อย
ผมเองประสบการณ์ในตลาดหุ้นบ้านเรายังน้อยมากจึงยังออกความเห็นในจุดนี้ได้ไม่มากนัก อยากให้คุณ adi และท่านที่มีประสบการณ์ยาวนานทั้งหลายที่ยึดแนว VI จริงๆว่าจริงแค่ใหนในจุดนี้
เท่าที่ผมตีความ rational investor หมายถึง กลุ่ม value investor ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับ random walker โดยกลุ่ม randomจะยึดถือและเชื่อแนว EMT (Efficient Market Theory)เป็นหลัก ซึ่งโดยทฤษฎีเชื่อว่าผู้ลงทุนในตลาดหุ้นทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้รู้ว่าราคาหุ้นควรเป็นเท่าใด ดังนั้นจึงเชื่อราคาหุ้นในตลาดเป็นการสะท้อนความเป็นจริงของหุ้น ในช่วงบูมของ Hi-tech คนจึงแย่งซื้อหุ้นกันอย่างไม่ลืมหูลืมตาแม้ PE 50 ก็ไม่สนใจ เพราะเชื่อว่า โดยทฤษฎี EMT ทุกคนเข้าใจและเชื่อว่าราคาสะท้อนมูลค่าจริง และราคาสามารถขึ้นไปไม่สิ้นสุด ในที่สุดพอฟองสะบู่แตก เหล่าผู้เป็นนักลงทุนตามแนว EMT จึงบาดเจ็บล้มตายกันมาก ต่างจากกลุ่ม rational หรือ value invetstor ซึ่งอยู่รอดปลดภัย เพราะพิจารณาเห็นแล้วว่าการประเมินมูลค่ากิจการไม่ได้เป็นความเสี่ยงนักลงทุนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จึงไม่ยุ่งกับพวกหุ้น Hi tech หนำซ้ำยังถูกเยาะเย้ยว่าเป็นพวกตกยุคไม่ทันสมัย ช่วงนั้น Warren Buffett ถูกเขียนตำหนิว่าลงทุนด้วนแนวทางที่ล้าสมัย สิ้นยุคของการลงทุนแบบวิธี Value Investing แล้ว แต่ผลก็อย่างที่ปรากฏออกมานั่นแหละครับadi เขียน:.....ผมขอตั้งข้อสังเกตอีกอย่างแทนสำหรับพวก random walker ในที่นี้ผู้เขียนโต้แย้งทฤษฎี random walk ครับ โดยที่ตลาดหุ้นcrashในช่วงนั้นส่วนใหญ่สืบเนื่องจาก hi-tech stock เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกิดใหม่ และไม่สามารถหามูลค่ากิจการได้จากการคำนวณที่ทำอยู่ ซึ่งอาจทำให้rational investor ไม่ rational อีกต่อไป
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 12
ถูกต้องแล้วครับ เพียงแต่ว่าในบทความไม่ได้กล่าวอ้างถึงความเสี่ยงที่สามารถลดลงได้อย่างชัดเจน คือยกมาแต่ return แต่ไม่พูดถึง devเท่าที่ผมตีความบทวิจัยนี้ดู เห็นว่าบรรดาเหล่าผู้ยึดปรัชญา value Investing เขามองว่าแนวทางวิธีการลงทุนตามแนวที่สอนกันในสถาบันการศ๊กษาด้านธุรกิจในสหรัฐฯส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูงกว่าแนว Value Investing ยึดถืออยู่
ผมว่า value investor กับ rational investor เป็นนักลงทุนคนละพวกกันครับ value investor ก็น่าจะเป็นแบบคุณลุง buffet ที่ไม่ยอมออกจากวงกลมของความสามารถของเค้า แต่ rational investor เป็นอีกแบบ rational investor เป็นคนที่ทำให้ราคาตลาดมีเหตุผล เช่นถ้าหุ้น PE50 ราคาแพงไปจริง rational investor ก็จะทำ short sell เพราะเห็นว่าราคาเหมาะสมถูกกว่านี้ ซึ่งทำให้เกิด random walk theoryเท่าที่ผมตีความ rational investor หมายถึง กลุ่ม value investor ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับ random walker โดยกลุ่ม randomจะยึดถือและเชื่อแนว EMT (Efficient Market Theory)เป็นหลัก ซึ่งโดยทฤษฎีเชื่อว่าผู้ลงทุนในตลาดหุ้นทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้รู้ว่าราคาหุ้นควรเป็นเท่าใด ดังนั้นจึงเชื่อราคาหุ้นในตลาดเป็นการสะท้อนความเป็นจริงของหุ้น ในช่วงบูมของ Hi-tech คนจึงแย่งซื้อหุ้นกันอย่างไม่ลืมหูลืมตาแม้ PE 50 ก็ไม่สนใจ เพราะเชื่อว่า โดยทฤษฎี EMT ทุกคนเข้าใจและเชื่อว่าราคาสะท้อนมูลค่าจริง และราคาสามารถขึ้นไปไม่สิ้นสุด ในที่สุดพอฟองสะบู่แตก เหล่าผู้เป็นนักลงทุนตามแนว EMT จึงบาดเจ็บล้มตายกันมาก ต่างจากกลุ่ม rational หรือ value invetstor ซึ่งอยู่รอดปลดภัย เพราะพิจารณาเห็นแล้วว่าการประเมินมูลค่ากิจการไม่ได้เป็นความเสี่ยงนักลงทุนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จึงไม่ยุ่งกับพวกหุ้น Hi tech หนำซ้ำยังถูกเยาะเย้ยว่าเป็นพวกตกยุคไม่ทันสมัย ช่วงนั้น Warren Buffett ถูกเขียนตำหนิว่าลงทุนด้วนแนวทางที่ล้าสมัย สิ้นยุคของการลงทุนแบบวิธี Value Investing แล้ว แต่ผลก็อย่างที่ปรากฏออกมานั่นแหละครับ
แต่ที่ผมบอกว่า rational investor อาจจะไม่ rational เพราะในอุตสาหกรรมเกิดใหม่จำพวก internet, e-commerce, หรือ biotech เป็นอุตสาหกรรมที่คาดเดาได้ยากว่าจะไปทิศทางใดในอนาคต ทำให้หามูลค่ากิจการตามทฎษฎีเดิมๆยาก
-
- Verified User
- โพสต์: 435
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 13
จากบทวิจัยฉบับที่กล่าวไว้ข้างต้น ในสภาวะการณ์ช่วง ก่อน ระหว่างและหลังเกิดพายุเศรษฐกิจการเงิน ปี 1999-2003 นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากของอเมริกา ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใด 10 value funds ที่ถูกนำมาวิจัยจึงสามารถเอาชนะตลาดในแง่ผลตอบแทนได้ ก็เลยยกเหตุว่าเป็นเรื่อง ของ five-sigma event ซึ่งยอมรับไม่สามารถอธิบายได้ในทางสถิติ(ท่านใดที่เชี่ยวด้านสถิติ กรุณาอธิบายให้กระจ่างหน่อยว่าคำว่า five-sigma event หมายความถึงเหตุการณ์อะไร) ซึ่งผมเข้าใจเอาเองว่า นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายเหล่านี้ หมายถึงเป็นเรื่องของความบังเอิญ หรือ ฟลุ๊คมากกว่าที่เหล่า 10 value funds สามารถเอาชนะตลาดได้ ซึ่ง Warren Buffett และเหล่าสาวกของ Ben Graham ที่นำเอาแนวทางการลงทุนแบบ value investing ไปใช้ในช่วงก่อน 20 ปีเอง และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดทุกรายก็เคยถูกถากถางเป็นเรื่องฟลุ๊คเสียมากกว่ามั้ง !!!! Warren งง ถึงกับพูดประชดประชัน จนถึงปัจจุบันผู้คนที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีของ VI ในอเมริกาก็ยังไม่สามารถอธิบายเหตุการณ์ที่ว่าฟลุ๊คนี้ได้Mon money เขียน:เรื่องนี้ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์เชิงสถิติมากมาย การวัดผลตอบแทน และความเสี่ยงก็ใช้สถิติ จากสามาญสำนึกแล้วการซื้อหุ้นมันไม่น่าจะเลือกหุ้นจากข้อมูลสถิติด้านราคาเท่านั้น อีกประการหนึ่งทฤษฏีนี้เหมือนจะบอกว่าให้เราหลับหูหลับตาเลือกหุ้น
...............................................................
ไม่ทราบว่าเห็นเป้นอย่างไงกันบ้างครับ กับประเด็นนี้
ในเรื่องของการใช้ข้อมูลทางสถิติเพื่อการวิเคราะห์ ราคา มูลค่า เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นบทวิจัยฉบับนี้ยังอ้างอิงคำพูดในการบรรยายของผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล ชื่อ Freidrich von Hayek ว่า เขาฉงนงงงวยว่ามีการใช้สติปัญญาปริมาณมากเท่าใดไปในการวิเคราะห์วัดค่าหาผลทางสถิติในตลาดหุ้นซึ่งถือเป็นเรื่องสูญเปล่าแทนที่จะเอาไปใช้ในเรื่องที่เป็นเรื่องจะดีกว่า (It is puzzling how much talaent is wasted on this effort to measure,as Freidrich von Hayek sai in his Nobel lecture, Laureate address, what is measurable instead of what matters.)
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 14
ไม่ได้เชี่ยวชาญ แต่ five sigma หมายถึง ถ้าผลตอบแทนของทุกคนกระจายตัว(ท่านใดที่เชี่ยวด้านสถิติ กรุณาอธิบายให้กระจ่างหน่อยว่าคำว่า five-sigma event หมายความถึงเหตุการณ์อะไร) ซึ่งผมเข้าใจเอาเองว่า นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลายเหล่านี้ หมายถึงเป็นเรื่องของความบังเอิญ หรือ ฟลุ๊คมากกว่าที่เหล่า 10 value funds สามารถเอาชนะตลาดได้
เป็น standard normal distribution แล้ว คนที่ได้ผลตอบแทนมากกว่า 6 SD
จะมีเพียง 2.3% เท่านั้น
เขาจัดว่าพวก value investor อย่างบัฟเฟตต์เป็น 2.3% นี้ ไม่มีทางเป็นคนส่วนใหญ่
ประมาณได้ว่า พวกทางซ้ายคือพวกผลตอบแทนน้อยกว่าตลาด พวกทางขวา
คือพวกที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 435
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 16
ตรงจั่วหัวของบทวิจัยเขียนไว้อย่างนี้นะครับ คุณ adi "Searching for Rational Investors In a Perfect Storm" หรือ "การเสาะแสวงหานักลงทุนผู้มีเหตุผลในยามที่เกิดพายุทางเศรษฐกิจการเงินที่สมบูรณ์แบบ" ผมยังตีความว่าเป็นการค้นหา value Investors ซึ่งหมายถึงผู้จัดการกองทุน value funds ทั้ง 10 funds ที่กล่าวกล่าวไว้ในบทวิจัยนี้นะครับadi เขียน:.......................................................
....................................................................................................
ผมว่า value investor กับ rational investor เป็นนักลงทุนคนละพวกกันครับ value investor ก็น่าจะเป็นแบบคุณลุง buffet ที่ไม่ยอมออกจากวงกลมของความสามารถขอเค้า
.........................................................................................................................................................................................................................................................
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 17
ถ้าจะให้ผมแปล ผมจะแปลว่าอย่างนี้ครับ
"ไอ้เจ้าพวก rational investors มันหายหัวไปไหนฟะ ไหนบอกว่ามันจะคอยทำให้ราคาของหุ้นมีค่าใกล้เคียงกับ intrinsic value ไง"
เดี๋ยวลองฟังความเห็นคนอื่นดูดีกว่า คุณ mon ชวนผมคุยไม่ใช่เหรอครับ
"ไอ้เจ้าพวก rational investors มันหายหัวไปไหนฟะ ไหนบอกว่ามันจะคอยทำให้ราคาของหุ้นมีค่าใกล้เคียงกับ intrinsic value ไง"
เดี๋ยวลองฟังความเห็นคนอื่นดูดีกว่า คุณ mon ชวนผมคุยไม่ใช่เหรอครับ
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 435
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 18
ในบทวิจัยฉบับนี้สรุปแล้ว 10 value funds มีหุ้นในพอร์ต 35 ตัวหรือ น้อยกว่า เทียบกับ mutual funds อื่นๆ มีสูง 160 ตัว และผลที่ได้ตามกล่าว คือ ทั้ง 10 value funds เอาชนะตลาดทุกตัว รวมเฉลี่ยราว 11% หรือ ในversion ก่อนที่ทำโดย Warren Buffett เมื่อ 20 ปี ก่อน ผลออกมากเหมือนกัน คือ Portfolio ของเหล่าสาวกของ Ben Graham ส่วนใหญ่เป็น แบบ concentrated portfolio และใช้การบริหารกองทุนแบบ value investing พิจารณาดู แล้วน่าทึ่ง กล่าวคือ ผลที่เกิดขึ้นต่างไปจากที่เราคาดคิดไว้adi เขียน: ........................................................................................................
แต่ผมเชื่อว่า การ diversify สามารถลดความเสี่ยงให้คุณได้จริง (no brainer เลยครับ)
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 19
จริงครับคุณ PP เพียงแต่ว่าการได้ผลตอบแทนที่ชนะตลาดไม่ได้หมายความว่าคุณมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า ผมถึงบอกว่าเสียดายที่ผู้เขียนไม่ได้นำตัวเลขค่าเบี่ยงเบนมาแสดง ถ้าเค้าแสดงค่าเบี่ยงเบนที่ต่ำกว่าด้วยเนี่ยในบทวิจัยฉบับนี้สรุปแล้ว 10 value funds มีหุ้นในพอร์ต 35 ตัวหรือ น้อยกว่า เทียบกับ mutual funds อื่นๆ มีสูง 160 ตัว และผลที่ได้ตามกล่าว คือ ทั้ง 10 value funds เอาชนะตลาดทุกตัว รวมเฉลี่ยราว 11% หรือ ในversion ก่อนที่ทำโดย Warren Buffett เมื่อ 20 ปี ก่อน ผลออกมากเหมือนกัน คือ Portfolio ของเหล่าสาวกของ Ben Graham ส่วนใหญ่เป็น แบบ concentrated portfolio และใช้การบริหารกองทุนแบบ value investing พิจารณาดู แล้วน่าทึ่ง กล่าวคือ ผลที่เกิดขึ้นต่างไปจากที่เราคาดคิดไว้
paper ชิ้นนี้คงเจ๋งมากๆ
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 435
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 20
adi เขียน:...........คุณ mon ชวนผมคุยไม่ใช่เหรอครับ
คุณ adiadi เขียน:.........paper ชิ้นนี้คงเจ๋งมากๆ
ผมต้องขออภัยที่ข้อคิดเห็นของผมสร้างความขุ่นเคืองแก่คุณนะครับ โดยเจตนาผมเพียงต้องการได้รับข้อคิดเห็นต่างๆจาก paperนี้ และคาดว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนในเวบนี้ ไม่ได้คิดเป็นอย่างอื่น ผมเองก็คาดว่าต้องมีคนแสดงความไม่เห็นด้วยแน่นอน โดยเฉพาะในเรื่องการแสดงค่าทางสถิติเกี่ยวกับค่าเบี่ยงแบนที่คุณโต้แย้งไว้ ผมเห็นด้วยทุกประการ ทำให้ผมได้มุมมองอีกทางหนึ่ง และคุณมนเป็นคนตั้งกระทู้เพื่อคุยกับคุณ adi เรื่อง porfolio theory และอย่างที่ผมบอกว่าลองถกกันเพื่อข้อมูลใน papaer นี้จะเข้าประเด็นดังกล่าว แค่นั้นเองครับ
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
-
- Verified User
- โพสต์: 435
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 21
คุณ CKCK เขียน: ......... five sigma หมายถึง ถ้าผลตอบแทนของทุกคนกระจายตัว
เป็น standard normal distribution แล้ว คนที่ได้ผลตอบแทนมากกว่า 6 SD
จะมีเพียง 2.3% เท่านั้น
ขอบคุณมากสำหรับคำอธิบายพร้อมของแถมเป็นรูปกราฟระฆังคว่ำที่เกี่ยวกับคำว่า five-sigma event นะครับ สมกับคำชมที่หลายท่านในเว็บได้พูดถึงคุณ CK ว่าเป็นปราชญ์ผู้รอบรู้ในหลายๆด้าน จริงๆครับ
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 22
ต้องขอโทษจริงๆครับที่ทำให้คุณ PP เข้าใจผิด ผมไม่เคยขุ่นเคืองใครเลยนะครับ เพียงแต่ภาษาเขียนของผมมันไม่ค่อยดีทำให้คนอื่นตีความหมายของผมผิดไป (ไม่ต้องแปลกใจครับ มันเกิดขึ้นเป็นประจำ) ขอโทษอีกทีจริงๆPP เขียน: คุณ adi
ผมต้องขออภัยที่ข้อคิดเห็นของผมสร้างความขุ่นเคืองแก่คุณนะครับ โดยเจตนาผมเพียงต้องการได้รับข้อคิดเห็นต่างๆจาก paperนี้ และคาดว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนในเวบนี้ ไม่ได้คิดเป็นอย่างอื่น ผมเองก็คาดว่าต้องมีคนแสดงความไม่เห็นด้วยแน่นอน โดยเฉพาะในเรื่องการแสดงค่าทางสถิติเกี่ยวกับค่าเบี่ยงแบนที่คุณโต้แย้งไว้ ผมเห็นด้วยทุกประการ ทำให้ผมได้มุมมองอีกทางหนึ่ง และคุณมนเป็นคนตั้งกระทู้เพื่อคุยกับคุณ adi เรื่อง porfolio theory และอย่างที่ผมบอกว่าลองถกกันเพื่อข้อมูลใน papaer นี้จะเข้าประเด็นดังกล่าว แค่นั้นเองครับ
จริงๆผมก็ได้ความรู้และสนุกที่ได้คุยไปคุยมา ไม่เคยเกิดอารมณ์อะไรเลย ได้แลกเปลี่ยนความเห็นมันก็ดี มากกว่าเสียอยู่แล้วครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 23
ขอโทษที่ครับที่ไม่ได้มาตอบนานเลย ผมได้เอกสารไปแล้วยังไม่ได้อ่านเลย แต่ดีครับมาสรุปให้ผมฟังแล้วครับ
ผมเคยอ่านงานวิจัยสักที่หนึ่งเขาลองใช้วิธีพื้นฐานง่ายโดยใช้ PE PBV ในการจัดportเพื่อดูว่าหุ้นในลักษณะเช่นนี้มีความเสี่ยงและผลตอบแทนอย่างไร ผลมันออกมาว่า ผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด แต่ความเสี่ยงต่ำกว่าตลาดครับ
ความเสี่ยงนั้นวัดจากค่า SD ของราคาในช่วงระยะเวลาที่ถือครองหุ้น หุ้นประเภทนี้ไม่ค่อยหวืหวา ค่าSDจึงไม่สูงนัก ความเสี่ยงในความหมายเลยต่ำ แต่เนื่องจากราคานั้นถูกเมื่อใช้หลัก PE PBV จึงทำให้โอกาสปรับตัวสูงกว่าหุ้นที่วิ่งมามากแล้ว PE PBVสูงๆครับ
ถ้าความเสี่ยงอยู่ที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นๆลงๆจริง ผมว่ามันก็ไม่Rationalเช่นกัน
คราวหน้าจะมาคุยเรื่องของการวัดค่าSD หาค่าต่างๆมาจัดportกันครับ
ผมเคยอ่านงานวิจัยสักที่หนึ่งเขาลองใช้วิธีพื้นฐานง่ายโดยใช้ PE PBV ในการจัดportเพื่อดูว่าหุ้นในลักษณะเช่นนี้มีความเสี่ยงและผลตอบแทนอย่างไร ผลมันออกมาว่า ผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด แต่ความเสี่ยงต่ำกว่าตลาดครับ
ความเสี่ยงนั้นวัดจากค่า SD ของราคาในช่วงระยะเวลาที่ถือครองหุ้น หุ้นประเภทนี้ไม่ค่อยหวืหวา ค่าSDจึงไม่สูงนัก ความเสี่ยงในความหมายเลยต่ำ แต่เนื่องจากราคานั้นถูกเมื่อใช้หลัก PE PBV จึงทำให้โอกาสปรับตัวสูงกว่าหุ้นที่วิ่งมามากแล้ว PE PBVสูงๆครับ
ถ้าความเสี่ยงอยู่ที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นๆลงๆจริง ผมว่ามันก็ไม่Rationalเช่นกัน
คราวหน้าจะมาคุยเรื่องของการวัดค่าSD หาค่าต่างๆมาจัดportกันครับ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 24
ลักษณะแบบนี้คล้ายกับพวก active portfolio management ใช่มั้ยครับMon money เขียน:ขอโทษที่ครับที่ไม่ได้มาตอบนานเลย ผมได้เอกสารไปแล้วยังไม่ได้อ่านเลย แต่ดีครับมาสรุปให้ผมฟังแล้วครับ
ผมเคยอ่านงานวิจัยสักที่หนึ่งเขาลองใช้วิธีพื้นฐานง่ายโดยใช้ PE PBV ในการจัดportเพื่อดูว่าหุ้นในลักษณะเช่นนี้มีความเสี่ยงและผลตอบแทนอย่างไร ผลมันออกมาว่า ผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด แต่ความเสี่ยงต่ำกว่าตลาดครับ
ความเสี่ยงนั้นวัดจากค่า SD ของราคาในช่วงระยะเวลาที่ถือครองหุ้น หุ้นประเภทนี้ไม่ค่อยหวืหวา ค่าSDจึงไม่สูงนัก ความเสี่ยงในความหมายเลยต่ำ แต่เนื่องจากราคานั้นถูกเมื่อใช้หลัก PE PBV จึงทำให้โอกาสปรับตัวสูงกว่าหุ้นที่วิ่งมามากแล้ว PE PBVสูงๆครับ
ถ้าความเสี่ยงอยู่ที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นๆลงๆจริง ผมว่ามันก็ไม่Rationalเช่นกัน
คราวหน้าจะมาคุยเรื่องของการวัดค่าSD หาค่าต่างๆมาจัดportกันครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 25
ในความคิดของผมพวกที่จัดพอร์ตให้เป็นindex fundนั้นจะเป็น Passive ส่วนพวกที่ไม่ยอมหยุดอยู่แค่นั้น จะจัดเป็นพวก Active
เมื่อคำนวณค่าSD ซึ่งเป็นความเสี่ยงเฉพาะตัวของหุ้นนั้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่ผลตอบแทนจริงจะเบี่ยงเบนไปจากผลตอบแทนที่คาดหวังเท่าไร
ตามทฤษฏี ความเสี่ยงตัวนี้คือความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือMarket riskหรือความคิดของผมคือ อารมณ์ความรู้สึกของตลาดที่มีผลต่อหุ้นตัวนี้ในระยะเวลาหนึ่งๆ กระจายความเสี่ยงไปในหุ้นหลายๆตัวก็ช่วยไม่ได้มาก
ความเสี่ยงอีกตัวหนึ่งคือ ความเสี่ยงจากตัวธุรกิจ อันนี้ช่วยได้ในการกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นหลายๆบริษัท เช่นในช่วงวิกฤติจะมีหุ้นที่ขึ้นและหุ้นที่ลง ให้กระจายเอาหุ้นทั้งสองแบบเข้าพอร์ตเอาไว้ จึงเป็นที่มาของการหา Correlation ซึ่งก็คือตัวบ่งชี้ทิศทางและระดับความผันผวนของอัตราผลตอบแทนของหุ้นแต่ละคู่ ว่าไปในทิศทางเดียวกันหรือตรงกันข้าม และอยู่ในระดับใด ค่าcorrelation จะเป็นค่าระหว่าง -1 - +1 ค่ากลางคือ 0 ถ้าเท่ากับ 1 จะหมายความว่าหุ้นจะขึ้นลงไปพร้อมกัน ถ้า-1 แสดงว่าหุ้นจะวิ่งสวนทางกัน ถ้า0 คือหุ้นคู่นั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเลยบอกทิศทางไม่ได้
เอาแค่นี้ก่อน เหนื่อยแล้ว ค่อยต่อทีหลัง
เมื่อคำนวณค่าSD ซึ่งเป็นความเสี่ยงเฉพาะตัวของหุ้นนั้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่ผลตอบแทนจริงจะเบี่ยงเบนไปจากผลตอบแทนที่คาดหวังเท่าไร
ตามทฤษฏี ความเสี่ยงตัวนี้คือความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือMarket riskหรือความคิดของผมคือ อารมณ์ความรู้สึกของตลาดที่มีผลต่อหุ้นตัวนี้ในระยะเวลาหนึ่งๆ กระจายความเสี่ยงไปในหุ้นหลายๆตัวก็ช่วยไม่ได้มาก
ความเสี่ยงอีกตัวหนึ่งคือ ความเสี่ยงจากตัวธุรกิจ อันนี้ช่วยได้ในการกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นหลายๆบริษัท เช่นในช่วงวิกฤติจะมีหุ้นที่ขึ้นและหุ้นที่ลง ให้กระจายเอาหุ้นทั้งสองแบบเข้าพอร์ตเอาไว้ จึงเป็นที่มาของการหา Correlation ซึ่งก็คือตัวบ่งชี้ทิศทางและระดับความผันผวนของอัตราผลตอบแทนของหุ้นแต่ละคู่ ว่าไปในทิศทางเดียวกันหรือตรงกันข้าม และอยู่ในระดับใด ค่าcorrelation จะเป็นค่าระหว่าง -1 - +1 ค่ากลางคือ 0 ถ้าเท่ากับ 1 จะหมายความว่าหุ้นจะขึ้นลงไปพร้อมกัน ถ้า-1 แสดงว่าหุ้นจะวิ่งสวนทางกัน ถ้า0 คือหุ้นคู่นั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเลยบอกทิศทางไม่ได้
เอาแค่นี้ก่อน เหนื่อยแล้ว ค่อยต่อทีหลัง
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
มาชวนคุณ adi คุยเรื่อง Portfolio theory
โพสต์ที่ 26
คือ active fund ที่อเมริกาจะใช้ trading system ลักษณะใกล้เคียงกับที่คุณมนบอกครับ เค้าจะหา indicator ไม่ว่าจะเป็น p/e, p/bv, p/s, return%, etc. เพื่อเอามาทดสอบว่าสามารถนำมา bet กับตลาดได้รึเปล่า โดยเค้าจะถือ portfolioที่มีอัตราส่วนใกล้เคียงกับ benchmark แต่จะตั้งค่าที่จะ bet ไว้เช่น 0.5% อะไรทำนองนี้ ทำไปสักพักก็จะทดสอบค่า indicator อีกทีจากช่วงที่ผ่านมา แล้วก็ทำยังงี้ใหม่
ส่วนเรื่องความเสี่ยงก็เป็นแบบเดียวกับที่คุณมนบอกครับ
ไว้ต่อวันหลัง
ส่วนเรื่องความเสี่ยงก็เป็นแบบเดียวกับที่คุณมนบอกครับ
ไว้ต่อวันหลัง
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan