รายงาน : "ริงโทน" สร้างค่านิยมใหม่-เพิ่มรายได้เพลง
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
รายงาน : "ริงโทน" สร้างค่านิยมใหม่-เพิ่มรายได้เพลง
โพสต์ที่ 1
http://www.bangkokbiznews.com/2005/06/2 ... s_id=17729
รายงาน : "ริงโทน" สร้างค่านิยมใหม่-เพิ่มรายได้เพลงลิขสิทธิ์
27 มิถุนายน 2548
"ริงโทน" กำลังขยายบทบาทจากการเป็นแหล่งรายได้ให้กับธุรกิจโทรศัพท์มือถือ มาสู่ตำแหน่งที่ปรากฏอยู่บนชาร์ทเพลงฮิต และกลายเป็นฐานรายได้ของธุรกิจเพลง ที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทวิจัยตลาด คอนเซคท์ รายงานว่า มูลค่าของตลาดริงโทนทั่วโลกสูงถึง 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสัดส่วนจากสหรัฐอเมริกา 300 ดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ ค่านิยมของผู้ใช้มือถือในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งใช้การดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้า (ริงโทน) เพื่อแสดงออกถึงรสนิยมทางดนตรี และสร้างความต่างให้มือถือของตน กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้บรรดาค่ายเพลง และผู้ให้บริการมือถือมองเห็นโอกาสที่จะสร้างคอนเทนท์ใหม่ๆ ที่สร้างความนิยมได้อย่างล้นหลาม อาทิ เพลงถูกกฎหมาย, วิดีโอ คลิป ตลอดจนความบันเทิงอื่นๆ บนมือถือ
ปัจจุบัน ริงโทน กำลังกลายเป็นแหล่งทำเงินสำคัญ ของบรรดาผู้ผลิตเพลง และค่ายเพลง ในการเข้าถึงกลุ่มคนที่เคยชินกับการดาวน์โหลดเพลงฟรีทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเวบไซต์ที่ให้บริการแบบเพียร์ ทู เพียร์ ทางอินเทอร์เน็ต
'ริงโทน' ธุรกิจสร้างเงิน
อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้พฤติกรรมทางการตลาดเริ่มเปลี่ยนไป โดยมีตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เวบไซต์ให้บริการเพลงออนไลน์ "ไอทูนส์" ของแอปเปิล ที่คิดค่าบริการดาวน์โหลดเพลงละ 99 เซนต์ แต่ผู้ที่นำเพลงไปทำตลาดริงโทน ได้รับรายได้เพิ่ม 2-3 เท่าตัว จากการให้ดาวน์โหลดเสียงเพลงบางส่วนเพียง 15 วินาที
ทั้งนี้ นายโทมัส เฮสส์ ประธานกลุ่มธุรกิจดิจิทัล บริษัทโซนี่ บีเอ็มจี มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ก็แสดงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มนี้ว่า เป็นกระแสความนิยมที่ยังอยู่ได้อีกหลายปี
ขณะที่ บิลบอร์ด แมกกาซีน ซึ่งเป็นนิตยสารขายดีในวงการเพลง ก็ตอบรับกระแสดังกล่าว ด้วยการทำชาร์ทริงโทนยอดนิยมออกมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม ที่ผ่านมา
นายจีออฟ เมย์ฟิล นักวิเคราะห์อาวุโส และบรรณาธิการชาร์ทเพลงแห่งบิลบอร์ด กล่าวว่า บรรดาค่ายเพลงตื่นเต้นกับแหล่งรายได้ใหม่นี้ และปัจจุบันริงโทนที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ก็จะเป็นเพลงที่มีผู้ซื้อผ่านออนไลน์มากที่สุดเช่นกัน
พร้อมทั้งยกตัวอย่างว่า บางเพลงมียอดดาวน์โหลดมากกว่าล้านครั้ง ซึ่งบางครั้ง ริงโทนยอดนิยมเหล่านี้ ก็เข้าไปเบียดอันดับของวงดังๆ บนชาร์ทเพลงฮิตด้วย
นายแดน โมเชอร์ หัวหน้าบริษัท แจมสเตอร์ ผู้ให้บริการดาวน์โหลดริงโทน ซึ่งอยู่ภายใต้บริษัทเวอร์ริไซน์ อิงค์.ของสหรัฐอเมริกาให้ความเห็นว่า "เรามองเห็นหนทางมากมายในการที่จะโปรโมทริงโทน ไปพร้อมๆ กับการโปรโมทอัลบั้ม
โดยในปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีการดาวน์โหลดริงโทน ได้พัฒนาให้สามารถเล่นเพลงได้เสมือนบันทึกจากเสียงของนักร้องจริง ซึ่งรู้จักกันในวงการว่า "มาสเตอร์โทน", "ริงแบคโทน" หรือเสียงเพลงรอสาย เป็นต้น
ขณะที่ ริงโทนรูปแบบเดิมๆ อย่างโมโนนิกส์ หรือโพลีโฟนิกส์ จะสร้างรายได้จากลิขสิทธิ์ให้เพียงผู้เขียนเพลง และบริษัทเทป แต่ริงโทนรูปแบบใหม่ๆ จะช่วยให้ค่ายเพลง และศิลปิน ได้รับส่วนแบ่งด้วย
โดยทางผู้บริหารของโซนี่ ก็เชื่อว่าในอนาคต โทรศัพท์มือถือ จะเป็นทางเลือกหนึ่งของการฟังเพลงแบบเคลื่อนที่
ล่าสุด โซนี่ บีเอ็มจี สามารถสร้างรายได้จากริงโทน ได้ในระดับเดียวกับการขายเพลงผ่านออนไลน์แล้ว
ทางด้านองค์กรจัดบริหารลิขสิทธิ์นักแสดงในชื่อ "ASCAP" ก็เปิดเผยว่า ยอดจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้กับคนแต่งเพลง และบริษัทเทป จำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ คิดเป็นตัวเลขที่เท่ากับค่าลิขสิทธิ์จากบริการวิทยุผ่านอินเทอร์เน็ต, อี-การ์ด และนิวมีเดียอื่นๆ รวมกัน
ไร้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์
แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมดนตรีกล่าวว่า พวกเขาไม่มีทีท่าว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งกำลังเป็นที่ระบาดในหมู่เพลงดิจิทัล ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ผู้ให้บริการมือถือมีการควบคุมที่ยังคงเหนียวแน่นมาก
นายไมเคิล กัลเลลลี่ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการคอนเทนท์ จากทีโมบายแนะว่า "แม้ว่าเรามั่นใจว่าเราจะเป็นผู้นำในทิศทางดังกล่าว แต่อีกนัยหนึ่งคุณก็จะต้องหันกลับมามอง และก็พิจารณาหากว่าลูกค้าพึงพอใจในสิ่งที่พวกเขาต้องการทำ และพึงพอใจที่จ่ายเงินกับสิ่งนั้นด้วย"
อย่างไรก็ตาม มีเสียงบ่นจากลูกค้า เกี่ยวกับค่าบริการดาวน์โหลดที่หลอกลวงของบริษัทแจมสเตอร์ และผู้ให้บริการดาวน์โหลดริงโทนรายอื่นๆ ซึ่งเคยเกิดกรณีฟ้องร้องกันในรัฐแคลิฟอร์เนีย และทางสหภาพคุ้มครองผู้บริโภค ได้เข้าไปติดตามเรื่องดังกล่าวแล้ว
รายงาน : "ริงโทน" สร้างค่านิยมใหม่-เพิ่มรายได้เพลงลิขสิทธิ์
27 มิถุนายน 2548
"ริงโทน" กำลังขยายบทบาทจากการเป็นแหล่งรายได้ให้กับธุรกิจโทรศัพท์มือถือ มาสู่ตำแหน่งที่ปรากฏอยู่บนชาร์ทเพลงฮิต และกลายเป็นฐานรายได้ของธุรกิจเพลง ที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทวิจัยตลาด คอนเซคท์ รายงานว่า มูลค่าของตลาดริงโทนทั่วโลกสูงถึง 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสัดส่วนจากสหรัฐอเมริกา 300 ดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ ค่านิยมของผู้ใช้มือถือในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งใช้การดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้า (ริงโทน) เพื่อแสดงออกถึงรสนิยมทางดนตรี และสร้างความต่างให้มือถือของตน กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้บรรดาค่ายเพลง และผู้ให้บริการมือถือมองเห็นโอกาสที่จะสร้างคอนเทนท์ใหม่ๆ ที่สร้างความนิยมได้อย่างล้นหลาม อาทิ เพลงถูกกฎหมาย, วิดีโอ คลิป ตลอดจนความบันเทิงอื่นๆ บนมือถือ
ปัจจุบัน ริงโทน กำลังกลายเป็นแหล่งทำเงินสำคัญ ของบรรดาผู้ผลิตเพลง และค่ายเพลง ในการเข้าถึงกลุ่มคนที่เคยชินกับการดาวน์โหลดเพลงฟรีทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเวบไซต์ที่ให้บริการแบบเพียร์ ทู เพียร์ ทางอินเทอร์เน็ต
'ริงโทน' ธุรกิจสร้างเงิน
อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้พฤติกรรมทางการตลาดเริ่มเปลี่ยนไป โดยมีตัวอย่างที่ชัดเจนคือ เวบไซต์ให้บริการเพลงออนไลน์ "ไอทูนส์" ของแอปเปิล ที่คิดค่าบริการดาวน์โหลดเพลงละ 99 เซนต์ แต่ผู้ที่นำเพลงไปทำตลาดริงโทน ได้รับรายได้เพิ่ม 2-3 เท่าตัว จากการให้ดาวน์โหลดเสียงเพลงบางส่วนเพียง 15 วินาที
ทั้งนี้ นายโทมัส เฮสส์ ประธานกลุ่มธุรกิจดิจิทัล บริษัทโซนี่ บีเอ็มจี มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ก็แสดงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มนี้ว่า เป็นกระแสความนิยมที่ยังอยู่ได้อีกหลายปี
ขณะที่ บิลบอร์ด แมกกาซีน ซึ่งเป็นนิตยสารขายดีในวงการเพลง ก็ตอบรับกระแสดังกล่าว ด้วยการทำชาร์ทริงโทนยอดนิยมออกมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม ที่ผ่านมา
นายจีออฟ เมย์ฟิล นักวิเคราะห์อาวุโส และบรรณาธิการชาร์ทเพลงแห่งบิลบอร์ด กล่าวว่า บรรดาค่ายเพลงตื่นเต้นกับแหล่งรายได้ใหม่นี้ และปัจจุบันริงโทนที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ก็จะเป็นเพลงที่มีผู้ซื้อผ่านออนไลน์มากที่สุดเช่นกัน
พร้อมทั้งยกตัวอย่างว่า บางเพลงมียอดดาวน์โหลดมากกว่าล้านครั้ง ซึ่งบางครั้ง ริงโทนยอดนิยมเหล่านี้ ก็เข้าไปเบียดอันดับของวงดังๆ บนชาร์ทเพลงฮิตด้วย
นายแดน โมเชอร์ หัวหน้าบริษัท แจมสเตอร์ ผู้ให้บริการดาวน์โหลดริงโทน ซึ่งอยู่ภายใต้บริษัทเวอร์ริไซน์ อิงค์.ของสหรัฐอเมริกาให้ความเห็นว่า "เรามองเห็นหนทางมากมายในการที่จะโปรโมทริงโทน ไปพร้อมๆ กับการโปรโมทอัลบั้ม
โดยในปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีการดาวน์โหลดริงโทน ได้พัฒนาให้สามารถเล่นเพลงได้เสมือนบันทึกจากเสียงของนักร้องจริง ซึ่งรู้จักกันในวงการว่า "มาสเตอร์โทน", "ริงแบคโทน" หรือเสียงเพลงรอสาย เป็นต้น
ขณะที่ ริงโทนรูปแบบเดิมๆ อย่างโมโนนิกส์ หรือโพลีโฟนิกส์ จะสร้างรายได้จากลิขสิทธิ์ให้เพียงผู้เขียนเพลง และบริษัทเทป แต่ริงโทนรูปแบบใหม่ๆ จะช่วยให้ค่ายเพลง และศิลปิน ได้รับส่วนแบ่งด้วย
โดยทางผู้บริหารของโซนี่ ก็เชื่อว่าในอนาคต โทรศัพท์มือถือ จะเป็นทางเลือกหนึ่งของการฟังเพลงแบบเคลื่อนที่
ล่าสุด โซนี่ บีเอ็มจี สามารถสร้างรายได้จากริงโทน ได้ในระดับเดียวกับการขายเพลงผ่านออนไลน์แล้ว
ทางด้านองค์กรจัดบริหารลิขสิทธิ์นักแสดงในชื่อ "ASCAP" ก็เปิดเผยว่า ยอดจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้กับคนแต่งเพลง และบริษัทเทป จำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ คิดเป็นตัวเลขที่เท่ากับค่าลิขสิทธิ์จากบริการวิทยุผ่านอินเทอร์เน็ต, อี-การ์ด และนิวมีเดียอื่นๆ รวมกัน
ไร้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์
แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมดนตรีกล่าวว่า พวกเขาไม่มีทีท่าว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งกำลังเป็นที่ระบาดในหมู่เพลงดิจิทัล ทั้งนี้เป็นเพราะว่า ผู้ให้บริการมือถือมีการควบคุมที่ยังคงเหนียวแน่นมาก
นายไมเคิล กัลเลลลี่ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการคอนเทนท์ จากทีโมบายแนะว่า "แม้ว่าเรามั่นใจว่าเราจะเป็นผู้นำในทิศทางดังกล่าว แต่อีกนัยหนึ่งคุณก็จะต้องหันกลับมามอง และก็พิจารณาหากว่าลูกค้าพึงพอใจในสิ่งที่พวกเขาต้องการทำ และพึงพอใจที่จ่ายเงินกับสิ่งนั้นด้วย"
อย่างไรก็ตาม มีเสียงบ่นจากลูกค้า เกี่ยวกับค่าบริการดาวน์โหลดที่หลอกลวงของบริษัทแจมสเตอร์ และผู้ให้บริการดาวน์โหลดริงโทนรายอื่นๆ ซึ่งเคยเกิดกรณีฟ้องร้องกันในรัฐแคลิฟอร์เนีย และทางสหภาพคุ้มครองผู้บริโภค ได้เข้าไปติดตามเรื่องดังกล่าวแล้ว
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
รายงาน : "ริงโทน" สร้างค่านิยมใหม่-เพิ่มรายได้เพลง
โพสต์ที่ 3
ผมว่าคนขาย Ringtone ต้องพยายามหาอย่างอื่นที่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์มาขายด้วยปนๆกันไปครับ เพราะค่ายเพลงเก็บค่าหัวคิว คนขายทั่วๆไปได้กันไม่เต็มครับwoody เขียน:วันนี้ได้ยินของพี่ที่ทำงานคนนึง เป็นเสียงพูดมุขขำๆ แล้วนะครับ....
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying