บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 1
บ้านเรา ชอบเอาดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ พวก GDP, GNP เป็นตัวบ่งบอกความเจริญหรือถดถอยของประเทศ (เลียนแบบพวกทุนนิยม)
วันก่อน ผมฟังทางวิทยุคลื่นนึง (จำไม่ได้ว่าคลื่นอะไร) ผู้จัดรายการเล่าว่าที่ประเทศภูฏาณ (Bhutan) มีการใช้ดัชนีชี้วัดความเจริญของประเทศที่เรียกว่า GDH ย่อมาจาก Gross Domestic Happiness (คิดว่าจำไม่ผิดนะ)
ประเทศเราน่าจะไปขอศึกษามาประยุกต์ใช้ท่าจะดีนะครับ
วันก่อน ผมฟังทางวิทยุคลื่นนึง (จำไม่ได้ว่าคลื่นอะไร) ผู้จัดรายการเล่าว่าที่ประเทศภูฏาณ (Bhutan) มีการใช้ดัชนีชี้วัดความเจริญของประเทศที่เรียกว่า GDH ย่อมาจาก Gross Domestic Happiness (คิดว่าจำไม่ผิดนะ)
ประเทศเราน่าจะไปขอศึกษามาประยุกต์ใช้ท่าจะดีนะครับ
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 3
:lol: :lol: :lol: :lol:
ผมก็อปมา
การพัฒนาวัตถุกับจิตใจอย่างไหนดีกว่ากัน
กับเรื่องทุนนิยมกับสังคมนิยม อันไหนดีกว่ากัน
ซึ่งผมคิดว่าแต่ละเรื่องต่างก็มีจุดดีและจุดด้อยด้วยกัน ถ้านำมาส่งเสริมสนับสนุนกันและกันได้น่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ก็ไม่แน่ใจว่าสองแนวทางนี้จะยอมอยู่ด้วยกันไหม ต่างฝ่ายต่างก็มีฑิฐิพอสมควร
อย่างเรื่องเศรษฐกิจเรื่องปากท้อง สังคมนิยมก็ว่า ไม่ควรมีชนชั้นนายทุน ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน และก็ด่าทุนนิยมว่าทำให้ช่องว่าคนรวยคนจนถ่างออกมากขึ้น คนรวยก็รวยสุดโต่ง คนจนก็จ๊น...จน ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย
จุดดีของสังคมนิยมก็เห็นๆ คือทุกคนเท่ากัน แต่จุดที่ไม่เห็นในตอนแรกแต่เพิ่งมาเห็นในตอนหลังก็คือ การที่ทุกคนได้เท่ากันมันเป็นเรื่องฝืนธรรมชาติ เพราะจริงๆแล้วคนมันไม่เท่ากัน บางคนฉลาดบางคนโง่ บางคนขี้เกียจบางคนขยัน บางคนมุ่งมั่นบางคนเหลาะแหละ สารพัด เพราะคนมีหลายแบบหลายประเภทจริงๆ
เมื่อรัฐจัดให้ทุกคนได้เท่ากัน คนขยันคนฉลาดคนมุ่งมั่นก็เซ็ง เพราะทำไปก็ไปได้เท่ากับคนขี้เกียจ แรงจูงใจในการทำงานก็ลดลงเรื่อยๆ คุณภาพงานก็ลดลงเพราะทุกคนไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ GDP ก็ลดลงเรื่อยๆ ( ตอนนั้นยังไม่มีการวัด GDH แต่ถึงมีก็น่าจะตกลงเรื่อยๆเช่นเดียวกัน ) เป็นอย่างนี้ทุกปีๆเข้า ประเทศก็จนลงๆ จนสุดท้ายประเทศที่ยิ่งใหญ่ระดับมหาอำนาจก็แตกเป็นเสี่ยงๆ ลูกหลานในประเทศก็ต้องเข้าคิวซื้อขนมปัง ที่ออกนอกประเทศก็ต้องขายตัวเลี้ยงชีพ
:lol: :lol: :lol: :lol:
ผมก็อปมา
ฟังดูแล้วผมนึกถึงเรื่องที่อยู่คู่กันมานาน คือเรื่องของรากฐานความคิดเรื่อง GDP ที่ถือกำเนิดในนาม GDH - Gross National Happiness ของกษัตริย์จิเม ซิงเย หวังชุง (Jigme Singye Wangchuck) ของภูฐาน
พระองค์ท่านจบการศึกษาจากอังกฤษ ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1972 และประกาศว่าจะไม่เน้น GNP - Gross National Product แต่จะถือ GDH - Gross National Happiness เป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ
องค์ประกอบ 4 ประการของ GNH คือ
- การพึ่งตัวเองทางเศรษฐกิจ
- การคงสภาพแวดล้อม
- การเน้นวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
- ธรรมาภิบาล หรือในกรณีนี้ควรแปลว่าธรรมาธิปไตย (Good governance)
นำเอาตัวแปรทั้ง 4 มาแปลงเป็นหน่วยเพื่อเป็นดัชนีใช้วัดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ
การพัฒนาวัตถุกับจิตใจอย่างไหนดีกว่ากัน
กับเรื่องทุนนิยมกับสังคมนิยม อันไหนดีกว่ากัน
ซึ่งผมคิดว่าแต่ละเรื่องต่างก็มีจุดดีและจุดด้อยด้วยกัน ถ้านำมาส่งเสริมสนับสนุนกันและกันได้น่าจะเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ก็ไม่แน่ใจว่าสองแนวทางนี้จะยอมอยู่ด้วยกันไหม ต่างฝ่ายต่างก็มีฑิฐิพอสมควร
อย่างเรื่องเศรษฐกิจเรื่องปากท้อง สังคมนิยมก็ว่า ไม่ควรมีชนชั้นนายทุน ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน และก็ด่าทุนนิยมว่าทำให้ช่องว่าคนรวยคนจนถ่างออกมากขึ้น คนรวยก็รวยสุดโต่ง คนจนก็จ๊น...จน ไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย
จุดดีของสังคมนิยมก็เห็นๆ คือทุกคนเท่ากัน แต่จุดที่ไม่เห็นในตอนแรกแต่เพิ่งมาเห็นในตอนหลังก็คือ การที่ทุกคนได้เท่ากันมันเป็นเรื่องฝืนธรรมชาติ เพราะจริงๆแล้วคนมันไม่เท่ากัน บางคนฉลาดบางคนโง่ บางคนขี้เกียจบางคนขยัน บางคนมุ่งมั่นบางคนเหลาะแหละ สารพัด เพราะคนมีหลายแบบหลายประเภทจริงๆ
เมื่อรัฐจัดให้ทุกคนได้เท่ากัน คนขยันคนฉลาดคนมุ่งมั่นก็เซ็ง เพราะทำไปก็ไปได้เท่ากับคนขี้เกียจ แรงจูงใจในการทำงานก็ลดลงเรื่อยๆ คุณภาพงานก็ลดลงเพราะทุกคนไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ GDP ก็ลดลงเรื่อยๆ ( ตอนนั้นยังไม่มีการวัด GDH แต่ถึงมีก็น่าจะตกลงเรื่อยๆเช่นเดียวกัน ) เป็นอย่างนี้ทุกปีๆเข้า ประเทศก็จนลงๆ จนสุดท้ายประเทศที่ยิ่งใหญ่ระดับมหาอำนาจก็แตกเป็นเสี่ยงๆ ลูกหลานในประเทศก็ต้องเข้าคิวซื้อขนมปัง ที่ออกนอกประเทศก็ต้องขายตัวเลี้ยงชีพ
:lol: :lol: :lol: :lol:
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 4
:lol: :lol: :lol: :lol:
ในส่วนทุนนิยมเองข้อดีก็มีเยอะ แก้ปัญหาแรงจูงใจได้ ใครทำมากได้มากทำน้อยได้น้อย ทำแล้วก็เป็นของเราเอง คนก็ทุ่มเทกันเต็มที่ ประเทศก็เจริญ มีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตมากมาย แต่ข้อเสียก็คือ มันตอบสนองความต้องการของธรรมชาติมนุษย์มากไป( ตรงข้ามกับสังคมนิยมที่ฝืนกับธรรมชาติของมนุษย์ ) ก็เลยเกิดอาการเตลิด ทุกคนต่างก็แก่งแย่งกันสุดแรงเพื่อให้ได้มา ทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุด เกิดผลผลิตมากที่สุด ลดต้นทุนให้ได้ต่ำสุด เรื่องคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องรอง(โดยส่วนใหญ่)
ผลของการแข่งขันก็จะเกิดผู้ชนะกับผู้แพ้ ผู้ชนะบ่อยๆก็จะโตขึ้นเรื่อยๆและเริ่มเกิดการผูกขาด และเป็นกลุ่มที่มีจำนวนน้อยลงๆ ผู้แพ้บ่อยๆก็จะเล็กลงเรื่อยๆ คนที่ชนะบ้างแพ้บ้างก็กลายไปเป็นชนชั้นกลาง จนถึงจุดหนึ่งก็พบว่าเกิดกลุ่มที่แตกต่างกันอย่างมาก ความเป็นอยู่ต่างกันราวฟ้ากับเหว ซึ่งประเทศทุนนิยมส่วนใหญ่มักจะลงเอยเช่นนี้
ที่ผมว่าเอาสองระบบมารวมกันก็ไม่ใช่ความคิดของผมนะครับ ผมฟังและก็ดูเขามา แต่เห็นแล้วก็รู้สึกชอบ ก็คือว่าในเรื่องทั่วไปและสิ่งฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยน่าจะปล่อยให้ระบบทุนนิยมเป็นพระเอก แต่ในเรื่องความจำเป็นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตเช่นการรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย ปัจจัยสี่ที่จำเป็นจริงๆ การให้การศึกษา ความปลอดภัยในชิวิตและทรัพย์สิน รัฐน่าจะจัดให้ ให้สังคมนิยมเป็นพระเอก ก็จะพอขจัดจุดอ่อนของแต่ละฝ่ายได้มั้งครับ ได้ทั้ง GDP และ GDH
ส่วนเรื่องการพัฒนาวัตถุหรือจิตใจอย่างไหนดีกว่ากัน ขอต่อพรุ่งนี้ครับ ง่วงจริงๆ
:lol: :lol: :lol: :lol:
ในส่วนทุนนิยมเองข้อดีก็มีเยอะ แก้ปัญหาแรงจูงใจได้ ใครทำมากได้มากทำน้อยได้น้อย ทำแล้วก็เป็นของเราเอง คนก็ทุ่มเทกันเต็มที่ ประเทศก็เจริญ มีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตมากมาย แต่ข้อเสียก็คือ มันตอบสนองความต้องการของธรรมชาติมนุษย์มากไป( ตรงข้ามกับสังคมนิยมที่ฝืนกับธรรมชาติของมนุษย์ ) ก็เลยเกิดอาการเตลิด ทุกคนต่างก็แก่งแย่งกันสุดแรงเพื่อให้ได้มา ทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุด เกิดผลผลิตมากที่สุด ลดต้นทุนให้ได้ต่ำสุด เรื่องคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องรอง(โดยส่วนใหญ่)
ผลของการแข่งขันก็จะเกิดผู้ชนะกับผู้แพ้ ผู้ชนะบ่อยๆก็จะโตขึ้นเรื่อยๆและเริ่มเกิดการผูกขาด และเป็นกลุ่มที่มีจำนวนน้อยลงๆ ผู้แพ้บ่อยๆก็จะเล็กลงเรื่อยๆ คนที่ชนะบ้างแพ้บ้างก็กลายไปเป็นชนชั้นกลาง จนถึงจุดหนึ่งก็พบว่าเกิดกลุ่มที่แตกต่างกันอย่างมาก ความเป็นอยู่ต่างกันราวฟ้ากับเหว ซึ่งประเทศทุนนิยมส่วนใหญ่มักจะลงเอยเช่นนี้
ที่ผมว่าเอาสองระบบมารวมกันก็ไม่ใช่ความคิดของผมนะครับ ผมฟังและก็ดูเขามา แต่เห็นแล้วก็รู้สึกชอบ ก็คือว่าในเรื่องทั่วไปและสิ่งฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยน่าจะปล่อยให้ระบบทุนนิยมเป็นพระเอก แต่ในเรื่องความจำเป็นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตเช่นการรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย ปัจจัยสี่ที่จำเป็นจริงๆ การให้การศึกษา ความปลอดภัยในชิวิตและทรัพย์สิน รัฐน่าจะจัดให้ ให้สังคมนิยมเป็นพระเอก ก็จะพอขจัดจุดอ่อนของแต่ละฝ่ายได้มั้งครับ ได้ทั้ง GDP และ GDH
ส่วนเรื่องการพัฒนาวัตถุหรือจิตใจอย่างไหนดีกว่ากัน ขอต่อพรุ่งนี้ครับ ง่วงจริงๆ
:lol: :lol: :lol: :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 5
ทุนนิยม หลายครั้งมันเข้าข่าย "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" มากเกินไป จนทำให้ปลาใหญ่นั้นใหญ่ขึ้นๆ ขณะที่ปลาเล็กก็เล็กลงๆ ผลที่สุดระบบนิเวศน์อาจพังครืนก็ได้นะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 479
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 6
ผมเห็นว่าทั้ง gdp gdh ควรมีและพัฒนาไปพร้อมกัน ไม่ควรเอนเอียงอย่างใดมากไป ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพชีวิต และพัฒนาจิตใจไปด้วยไม่ใช่ต้องไขว่คว้าหาสิ่งปนเปรอความสุขทางกายอย่างเดียว หากใครมีเหลือก้อควรแบ่งปันกลับคืนแก่คนที่ยังขาด ความวุ่นวายสับสน แก่งแย่ง ชิงดีก้ออาจจะน้อยลง แต่ในความจิงคงทำไม่ได้ ตราบใด มนุษย์ยังมี กิเลสอยู่..................ประเทศภูฏาณ (Bhutan) มีการใช้ดัชนีชี้วัดความเจริญของประเทศที่เรียกว่า GDH ย่อมาจาก Gross Domestic Happiness (คิดว่าจำไม่ผิดนะ)
ประเทศเราน่าจะไปขอศึกษามาประยุกต์ใช้ท่าจะดีนะครับ
*****
-
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 7
ขอขุดมาชมเชยครับ
สุดยอดเลยครับทุกท่าน
นำสมัยจริงๆ ไปตั้งปีกว่า
สุดยอดเลยครับทุกท่าน
นำสมัยจริงๆ ไปตั้งปีกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 337
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 8
เรื่องน่าแปลกไหมประเทศที่มีความสุขที่สุด
จากการวัดค่าแล้ว
กลับเป็นประเทศที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่ชื่อเรียกยาก
ผมจำไม่ได้แล้ว อาบูมูตูอะไรสักอย่าง
ประเทศที่พัฒนาแล้วใจคนกลับไม่มีความสุขกันสักเท่าไหร่
น่าจะลองไปถามคนสมัยก่อน ๆ ดูนะ
ว่าสมัยก่อน กับสมัยนี้ที่พัฒนาแล้ว
ตอนไหนมีความสุขมากกว่ากัน
จากการวัดค่าแล้ว
กลับเป็นประเทศที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่ชื่อเรียกยาก
ผมจำไม่ได้แล้ว อาบูมูตูอะไรสักอย่าง
ประเทศที่พัฒนาแล้วใจคนกลับไม่มีความสุขกันสักเท่าไหร่
น่าจะลองไปถามคนสมัยก่อน ๆ ดูนะ
ว่าสมัยก่อน กับสมัยนี้ที่พัฒนาแล้ว
ตอนไหนมีความสุขมากกว่ากัน
-
- Verified User
- โพสต์: 337
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 9
เมื่อก่อนเมืองไทยได้ชื่อว่าสยามเมืองยิ้ม
เคยได้ฟังว่าเมื่อก่อน บางบ้านจะมีตุ่มน้ำฝน
เอาไว้เพื่อใครเดินทางมาหิวน้ำจะได้ตักกินได้
เดี๋ยวนี้มันหายไปจากสังคมไทยหมดแล้วมั้ง
อาจารย์ที่เคยลงโทษเพราะอยากให้ลูกศิษย์ได้ดี
บางทีก็คงจะไม่กล้าแล้ว กลัวเด็กแค้น
อย่างที่เป็นข่าว
ผมว่าเลิกแตกแยกกันแล้วมาช่วยกันทำเมืองไทยให้ดีขึ้นดีกว่า
ตอนนี้ประเทศไทยก็ปัญหามากพออยู่แล้ว
ถ้าในใจทุกคนมีคิดเหมือนกันคือรักชาติ
เราก็มีจุดหมายเดียวกันนะ
ไม่ต้องสนใจว่าใครผิดใครถูก
แต่สนใจว่าอะไรคือสิ่งผิดสิ่งถูกจะดีกว่า
เคยได้ฟังว่าเมื่อก่อน บางบ้านจะมีตุ่มน้ำฝน
เอาไว้เพื่อใครเดินทางมาหิวน้ำจะได้ตักกินได้
เดี๋ยวนี้มันหายไปจากสังคมไทยหมดแล้วมั้ง
อาจารย์ที่เคยลงโทษเพราะอยากให้ลูกศิษย์ได้ดี
บางทีก็คงจะไม่กล้าแล้ว กลัวเด็กแค้น
อย่างที่เป็นข่าว
ผมว่าเลิกแตกแยกกันแล้วมาช่วยกันทำเมืองไทยให้ดีขึ้นดีกว่า
ตอนนี้ประเทศไทยก็ปัญหามากพออยู่แล้ว
ถ้าในใจทุกคนมีคิดเหมือนกันคือรักชาติ
เราก็มีจุดหมายเดียวกันนะ
ไม่ต้องสนใจว่าใครผิดใครถูก
แต่สนใจว่าอะไรคือสิ่งผิดสิ่งถูกจะดีกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 3345
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 10
นั่นสิครับ ...Financial Engineer เขียน:ทุนนิยม หลายครั้งมันเข้าข่าย "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" มากเกินไป จนทำให้ปลาใหญ่นั้นใหญ่ขึ้นๆ ขณะที่ปลาเล็กก็เล็กลงๆ ผลที่สุดระบบนิเวศน์อาจพังครืนก็ได้นะครับ
- nanakorn
- Verified User
- โพสต์: 636
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 11
Theory of Natural Selection ของ Charles Darwin ได้ถูกใช้ในการสนับสนุน Capitalism ตามหลักการที่ว่าผู้ที่เข้มแข็งกว่าและลูกหลานของผู้ที่เข้มแข็งกว่าี่จะมีโอกาสอยู่รอดต่อไปมากกว่า ลองดูตัวอย่างใน link ครับ (http://www.icr.org/index.php?module=art ... iew&ID=454)
ผมเองเชื่อใน Theory of Natural Selection โดยเชื่อว่าคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนที่เข้มแข็งกว่ายอมมีโอกาสดีกว่า อย่างไรก็ตาม คำนิยามของความเข้มแข็งจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป เช่นในอดีตผู้เข้มแข็งคือผู้ที่มีร่างกายเข้มแข็งต่อสู้ศึกสงครามได้ดี ต่อมาผู้เข้มแข็งอาจจะเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดี ต่อมาอาจจะเป็นผู้ที่มีสติปัญญาและจิตใจที่ดี คำนิยามของความเข้มแข็งจะเปลี่ยนไปในทางที่ทำให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป เช่น เมื่อมนุษย์กลายมาเป็นสัตว์สังคม กติกาทางสังคมในเรื่องความดีก็จะเกิดขึ้นตามมา ไม่อย่างนั้น คนในสังคมก็จะทำลายกันไปเอง
คนที่เข้มแข็งในนิยามที่ผิดยุคสมัย ก็จะไม่มีประโยชน์ หรืออาจจะ้เป็นโทษ เช่น ในปัจจุบัน คนที่มีร่างกายแข็งแรงและใช้ความแข็งแรงนั้นไปจี้ปล้น ก็มีโอกาสสูงที่จะตายหรือติดคุก
สำหรับสัตว์ก็เช่นเดียวกัน เืมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป สัตว์ที่เข้มแข็ง หรือสามารถปรับตัวให้เข้มแข็งในสภาพแวดล้อมใหม่ได้เร็ว ก็จะอยู่รอดได้
การปฎิบัติต่อทุกคนเ่ท่ากันหมด โดยไม่พิจารณาความเข้มแข็ง (ในนิยามปัจจุบัน ซึ่งน่าที่จะมีความดีรวมอยู่ด้วย) ขัดต่อความเป็นจริงในธรรมชาติ ไม่น่าที่จะเป็นประโยชน์ครับ
ผมเองเชื่อใน Theory of Natural Selection โดยเชื่อว่าคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนที่เข้มแข็งกว่ายอมมีโอกาสดีกว่า อย่างไรก็ตาม คำนิยามของความเข้มแข็งจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป เช่นในอดีตผู้เข้มแข็งคือผู้ที่มีร่างกายเข้มแข็งต่อสู้ศึกสงครามได้ดี ต่อมาผู้เข้มแข็งอาจจะเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดี ต่อมาอาจจะเป็นผู้ที่มีสติปัญญาและจิตใจที่ดี คำนิยามของความเข้มแข็งจะเปลี่ยนไปในทางที่ทำให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป เช่น เมื่อมนุษย์กลายมาเป็นสัตว์สังคม กติกาทางสังคมในเรื่องความดีก็จะเกิดขึ้นตามมา ไม่อย่างนั้น คนในสังคมก็จะทำลายกันไปเอง
คนที่เข้มแข็งในนิยามที่ผิดยุคสมัย ก็จะไม่มีประโยชน์ หรืออาจจะ้เป็นโทษ เช่น ในปัจจุบัน คนที่มีร่างกายแข็งแรงและใช้ความแข็งแรงนั้นไปจี้ปล้น ก็มีโอกาสสูงที่จะตายหรือติดคุก
สำหรับสัตว์ก็เช่นเดียวกัน เืมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป สัตว์ที่เข้มแข็ง หรือสามารถปรับตัวให้เข้มแข็งในสภาพแวดล้อมใหม่ได้เร็ว ก็จะอยู่รอดได้
การปฎิบัติต่อทุกคนเ่ท่ากันหมด โดยไม่พิจารณาความเข้มแข็ง (ในนิยามปัจจุบัน ซึ่งน่าที่จะมีความดีรวมอยู่ด้วย) ขัดต่อความเป็นจริงในธรรมชาติ ไม่น่าที่จะเป็นประโยชน์ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 337
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 12
หมายความว่า ไม่ควรมีความเป็นธรรมในสังคมนะ ไม่รู้นะผมไม่ชอบเลยnanakorn เขียน: การปฎิบัติต่อทุกคนเ่ท่ากันหมด โดยไม่พิจารณาความเข้มแข็ง (ในนิยามปัจจุบัน ซึ่งน่าที่จะมีความดีรวมอยู่ด้วย) ขัดต่อความเป็นจริงในธรรมชาติ ไม่น่าที่จะเป็นประโยชน์ครับ
ผมคิดว่าควรมีความเป็นธรรมในสังคม
อย่าง gdh จะให้ความเป็นธรรมต่อทุกคนมากกว่า เพราะวัดว่าทุกคนมีความสุขไหม
ถ้า gdp วัดเศรษกิจ โดยขอให้มันโต แต่มันมาจากคนแค่ไม่กี่คนก็ทำได้
ส่วนตัวผมคิดว่ามันไม่ดีกับคนทุกคนจริง
ผมรู้สึกว่า gdh ให้เป็นธรรมต่อทุกคนมากกว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 455
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 16
ข้อนึงของ เศรษฐกิจพอเพียง ที่ ดร ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม พูดบ่อยๆ ว่าในหลวงทรงเน้นถึงการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมทั่วถึง ก่อนข้ออื่นๆซะอีก
แล้วจึงตามด้วยข้ออื่นๆ เช่น ไม่ใช้จ่ายเกินตัว กู้เกินตัว มีเงินออม ใช้เงินออม เหลือเผื่อฉุกเฉิน ต่างๆ
ผมว่า พอเพียง เป็นวิธีการ ไม่ใช่เป้าหมายซะทีเดียว
เช่น เราอยากรวย ก็ไม่ผิดหลักการพอเพียง
แต่เราจะต้องรวยโดยคิด หา ช่องทาง ตลอด
ทดลองทำโดยไม่เสี่ยงก่อน ไม่ลงทุนเกินตัว ไม่กู้มาก
มีเผื่อเหลือเผื่อขาดตลอด
และเมื่อทำเช่นนี้เราก็จะโตอย่างมั่นคง
จะค่อยๆโต หรือโตเร็ว ก็ขึ้นกับฝีมือ จังหวะ ดวง
หลายอย่าง
แต่เชื่อแน่อย่างหนึ่งว่า ถ้ามีไรผิดพลาดขึ้นมา
จะไม่ถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว หนี้ล้นพ้น
หมุนเงินไม่ทัน ตัวเองเดือดร้อน
ครอบครัวคนใกล้ชิดเดือดร้อน สุขภาพจิตเสีย
เช่นเดียวกันระดับมหภาค
การมุ่งอุตสาหกรรมจ๋า สิ่งอำนวยความสะดวกเยอะๆ
ผมว่าเราก็ไปถึงได้ด้วยหลักพอเพียง
นั่นคือ กำหนดเป้าหมายให้ดีละกัน ให้เหมาะ
แล้วพอได้เป้าแล้ว ก็เดินไปด้วยหลักพอเพียง
ไม่ใช่พอพูดถึงพอเพียง พูดถึง GNH
ก็พาลแต่จะเห็นภาพป่าเขาลำเนาไพร
บ้านมุงจาก ไร่นาสวนผสมแปลงเล็กๆ
เท่านั้น นั่นมันรูปแบบหนึ่งในร้อยเท่านั้น
ไม่ใช่เนื้อหา
ซึ่งเราจะเดินอย่าง safety และ sufficiency ที่ในหลวงท่านว่าไว้ได้ ก็ต้องคิดให้ได้แบบที่พระองค์ท่านสอนไว้ก่อนคือ "อย่าสุดโต่ง" ให้คิดอะไรที่เป็นไปได้
เช่นสมมติพี่ๆหลายๆคนในนี้อย่างพี่ chatchai หวังกำไรเงินปันผลแค่ปีละ 10% cap. gain มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ เลือกหุ้นปึ้กๆ ไม่กี่ตัว ศึกษาเยอะๆ ตามติดตลอด (พอเพียงไม่ใช่ขี้เกียจ)
ผ่านไป 4 -5 ปี พี่เขาผอดโตเท่าตัวแล้ว (สมมตินะครับ) ก็คือพอเพียง
ขณะที่บางคนอาจจะเดือนนี้จับหุ้นปั่นถูกตัว เดือนเดียวได้เท่าตัว หรือมากกว่านั้นเพราะมาร์จิ้นเยอะเต็มแม๊กซ์ รูดการ์ดมาเล่นด้วย และเน็ตเซ็ตด้วย แต่พอผิดคาดไม่ทันไรแทบเหลือศูนย์หักเงินที่กู้มา และดอก และ ค่าคอม ฯลฯ ก็คือตรงข้ามกะพอเพียง
แล้วจึงตามด้วยข้ออื่นๆ เช่น ไม่ใช้จ่ายเกินตัว กู้เกินตัว มีเงินออม ใช้เงินออม เหลือเผื่อฉุกเฉิน ต่างๆ
ผมว่า พอเพียง เป็นวิธีการ ไม่ใช่เป้าหมายซะทีเดียว
เช่น เราอยากรวย ก็ไม่ผิดหลักการพอเพียง
แต่เราจะต้องรวยโดยคิด หา ช่องทาง ตลอด
ทดลองทำโดยไม่เสี่ยงก่อน ไม่ลงทุนเกินตัว ไม่กู้มาก
มีเผื่อเหลือเผื่อขาดตลอด
และเมื่อทำเช่นนี้เราก็จะโตอย่างมั่นคง
จะค่อยๆโต หรือโตเร็ว ก็ขึ้นกับฝีมือ จังหวะ ดวง
หลายอย่าง
แต่เชื่อแน่อย่างหนึ่งว่า ถ้ามีไรผิดพลาดขึ้นมา
จะไม่ถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว หนี้ล้นพ้น
หมุนเงินไม่ทัน ตัวเองเดือดร้อน
ครอบครัวคนใกล้ชิดเดือดร้อน สุขภาพจิตเสีย
เช่นเดียวกันระดับมหภาค
การมุ่งอุตสาหกรรมจ๋า สิ่งอำนวยความสะดวกเยอะๆ
ผมว่าเราก็ไปถึงได้ด้วยหลักพอเพียง
นั่นคือ กำหนดเป้าหมายให้ดีละกัน ให้เหมาะ
แล้วพอได้เป้าแล้ว ก็เดินไปด้วยหลักพอเพียง
ไม่ใช่พอพูดถึงพอเพียง พูดถึง GNH
ก็พาลแต่จะเห็นภาพป่าเขาลำเนาไพร
บ้านมุงจาก ไร่นาสวนผสมแปลงเล็กๆ
เท่านั้น นั่นมันรูปแบบหนึ่งในร้อยเท่านั้น
ไม่ใช่เนื้อหา
ซึ่งเราจะเดินอย่าง safety และ sufficiency ที่ในหลวงท่านว่าไว้ได้ ก็ต้องคิดให้ได้แบบที่พระองค์ท่านสอนไว้ก่อนคือ "อย่าสุดโต่ง" ให้คิดอะไรที่เป็นไปได้
เช่นสมมติพี่ๆหลายๆคนในนี้อย่างพี่ chatchai หวังกำไรเงินปันผลแค่ปีละ 10% cap. gain มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ เลือกหุ้นปึ้กๆ ไม่กี่ตัว ศึกษาเยอะๆ ตามติดตลอด (พอเพียงไม่ใช่ขี้เกียจ)
ผ่านไป 4 -5 ปี พี่เขาผอดโตเท่าตัวแล้ว (สมมตินะครับ) ก็คือพอเพียง
ขณะที่บางคนอาจจะเดือนนี้จับหุ้นปั่นถูกตัว เดือนเดียวได้เท่าตัว หรือมากกว่านั้นเพราะมาร์จิ้นเยอะเต็มแม๊กซ์ รูดการ์ดมาเล่นด้วย และเน็ตเซ็ตด้วย แต่พอผิดคาดไม่ทันไรแทบเหลือศูนย์หักเงินที่กู้มา และดอก และ ค่าคอม ฯลฯ ก็คือตรงข้ามกะพอเพียง
- nanakorn
- Verified User
- โพสต์: 636
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 18
ไม่ใช่อย่างนั้นครับ จริงๆที่ผมเขียนไว้ จะเกี่ยวกับ Theory of natural selection และ Capitalism ไม่ค่อยเกี่ยวกับ GDH เท่าไรครับ ขอเขียนเพิ่มเติมอีกนิดครับ ผมคิดว่า ถ้าสังคมมนุษย์จะอยู่รอด คำนิยามของความเข้มแข็งก็จะต้องรวมความดีเข้าไปด้วย แปลว่าคนที่ทำดีจะเป็นคนที่เข้มแข็งในสังคม ดังนั้นจะได้ผลตอบแทนที่ดีต่อชีวิตจากสังคม ลองเขียนเป็นตัวอย่างครับiambuffet เขียน: หมายความว่า ไม่ควรมีความเป็นธรรมในสังคมนะ ไม่รู้นะผมไม่ชอบเลย
ผมคิดว่าควรมีความเป็นธรรมในสังคม
อย่าง gdh จะให้ความเป็นธรรมต่อทุกคนมากกว่า เพราะวัดว่าทุกคนมีความสุขไหม
ถ้า gdp วัดเศรษกิจ โดยขอให้มันโต แต่มันมาจากคนแค่ไม่กี่คนก็ทำได้
ส่วนตัวผมคิดว่ามันไม่ดีกับคนทุกคนจริง
ผมรู้สึกว่า gdh ให้เป็นธรรมต่อทุกคนมากกว่าครับ
ในสมัยก่อน นิยามของความเข้มแข็งคือความแข็งแรงทางร่างกาย ดังนั้น
คนแข็งแรง ต่อสู้เก่ง เจริญ
คนร่างกายอ่อนแอ ไม่เจริญ
ปัจจุบัน นิยามของความเข้มแข็งคือ การมีสติปัญญาและจิตใจดี (สมมุติเป็นตัวอย่าง ความจริงผมไม่ทราบครับ) ดังนั้น
คนดีที่ฉลาด เจริญ
คนไม่ฉลาดหรือคนไม่ดี ไม่เจริญ
ที่ผมไม่เห็นด้วยคือ
คนดีที่ฉลาด และ คนไม่ฉลาดหรือคนไม่ดี เจริญเท่าๆกันหมด ซึ่งผมคิดว่าอันนี้ผิดหลักธรรมชาติ และไม่เป็นธรรมด้วย
ปัญหาใหญ่คือ อะไรคือความเข้มแข็งในปัจจุบัน ถ้านิยามของความเข้มแข็งของคนไม่มีความเหมาะสม เช่น ความเข้มแข็งคือความรวย คนก็อาจจะสูญพันธุ์ในที่สุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 19
JL wrote
เริ่มต้นจากนิยามของคำว่าสุขภาพก่อนนะครับ
เพื่อที่จะวัดผลงานให้เป็นรูปธรรมให้ได้มากที่สุด จึงต้องกำหนดตัวชี้วัดขึ้นมาท้าพิสูจน์ว่าประชาชนมีความสุขทั้งทางร่างกายจิตใจสังคมและจิตวิญญาณจริงหรือไม่และถ้าจริงมีมากแค่ไหน ได้แก่
หมวดที่ 1 สุขภาพดี
1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด
2. แม่ที่คลอดลูกได้รับทำคลอด/ดูแลหลังคลอด
3. เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม
4. เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีได้รับวัคซีนครบ
5. เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างน้อย 4 เดือนแรก
6. เด็ก - 5 ปีกินอาหารเหมาะสม/เพียงพอ
7. เด็ก 6-15 ปีได้กินอาหารถูกต้องครบถ้วน
8. เด็ก 6-12 ปี รับฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบ
9. ครัวเรือนได้กินอาหารมีคุณภาพได้มาตรฐาน
10. ครัวเรือนมีความรู้การใช้ยาถูกต้องเหมาะสม
11. คนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับตรวจสุขภาพประจำปี
หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย
12. ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย
13. ครัวเรือนมีน้ำสะอาดดื่มและบริโภคพอตลอดปี
14. ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี
15. ครัวเรือนจัดบ้านเรือน/บริเวณถูกสุขลักษณะ
16. ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ
17. ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี
18. ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
19. ครอบครัวมีความอบอุ่น
หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา
20. เด็กอายุ 3-5 ปี รับบริการเตรียมความพร้อม
21. เด็กอายุ 6-15 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี
22. เด็กจบภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อมัธยมปลาย
23. เด็กจบภาคบังคับ 9 ปี ได้รับการฝึกอบรมอาชีพ
24. คนอายุ 15-60 ปีเต็ม อ่านออก/เขียนไทยได้
25. คนในครัวเรือนได้รับรู้ข่าวสาร
หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า
26. คนอายุ 18-60 ปี มีอาชีพและรายได้
27. รายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อปี/คน
28. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน
หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย
29. คนในครัวเรือนไม่ติดสุรา
30. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่
31. คนอายุ 6 ปีขึ้นไปปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา
32. คนสูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่
33. คนพิการได้รับการดูแลเอาใจใส่
หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา
34. ครัวเรือนมีคนเป็นสมาชิกกลุ่มในหมู่บ้าน/ตำบล
35. ครัวเรือนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
36. ครัวเรือนมีคนเข้าร่วมทำกิจกรรมสาธารณะหมู่บ้าน
37. คนที่มีสิทธิ์ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
โครงการนี้ใช้เวลาทำทั่วประเทศประมาณห้าปีกว่ามั้งครับ (มากกว่าอายุรัฐบาลปัจจุบันนี้ถึงห้าเท่า) แล้วก็สำเร็จลงก่อนปี 2543 พร้อมกับประกาศไปแล้วว่าคนไทยทุกครัวเรือนทุกจังหวัดมีความสุขกันทั่วหน้า
แต่ลองย้อนเปรียบเทียบวันนั้นกับวันนี้และวันก่อนหน้าที่จะทำโครงการ ผมว่าไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่เลย
เพราะอะไรหนอ
มีทางอยู่ครับและถ้าจะบอกว่าเคยทำกันแล้วจะเชื่อไหมครับพอมีทางวัดได้ กำหนดดัชนีขึ้นมา
เริ่มต้นจากนิยามของคำว่าสุขภาพก่อนนะครับ
ซึ่งถ้าทำตามนี้ได้หมดก็น่าเชื่อว่า GNH จะเพิ่มขึ้นมากมายใช่ไหมครับ ก็สุขหมดทุกส่วนแล้วนี่ อาจจะไม่ขึ้นถึงขั้นสุดยอดแต่ก็น่าจะพอเพียงนะองค์การอนามัยโลก ( WHO ) ได้ให้คำนิยาม คำว่า สุขภาพ (HEALTH) หมายถึง
ภาวะที่เป็นสุขทางกาย ( physical well-being )
ภาวะที่เป็นสุขทางใจ ( mental well-being )
ภาวะที่เป็นสุขทางสังคม ( social well-being )
และภาวะที่เป็นสุขทางจิตวิญญาณ ( spiritual well-being
เพื่อที่จะวัดผลงานให้เป็นรูปธรรมให้ได้มากที่สุด จึงต้องกำหนดตัวชี้วัดขึ้นมาท้าพิสูจน์ว่าประชาชนมีความสุขทั้งทางร่างกายจิตใจสังคมและจิตวิญญาณจริงหรือไม่และถ้าจริงมีมากแค่ไหน ได้แก่
หมวดที่ 1 สุขภาพดี
1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด
2. แม่ที่คลอดลูกได้รับทำคลอด/ดูแลหลังคลอด
3. เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม
4. เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีได้รับวัคซีนครบ
5. เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างน้อย 4 เดือนแรก
6. เด็ก - 5 ปีกินอาหารเหมาะสม/เพียงพอ
7. เด็ก 6-15 ปีได้กินอาหารถูกต้องครบถ้วน
8. เด็ก 6-12 ปี รับฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบ
9. ครัวเรือนได้กินอาหารมีคุณภาพได้มาตรฐาน
10. ครัวเรือนมีความรู้การใช้ยาถูกต้องเหมาะสม
11. คนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับตรวจสุขภาพประจำปี
หมวดที่ 2 มีบ้านอาศัย
12. ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย
13. ครัวเรือนมีน้ำสะอาดดื่มและบริโภคพอตลอดปี
14. ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี
15. ครัวเรือนจัดบ้านเรือน/บริเวณถูกสุขลักษณะ
16. ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ
17. ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี
18. ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
19. ครอบครัวมีความอบอุ่น
หมวดที่ 3 ฝักใฝ่การศึกษา
20. เด็กอายุ 3-5 ปี รับบริการเตรียมความพร้อม
21. เด็กอายุ 6-15 ปี ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี
22. เด็กจบภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อมัธยมปลาย
23. เด็กจบภาคบังคับ 9 ปี ได้รับการฝึกอบรมอาชีพ
24. คนอายุ 15-60 ปีเต็ม อ่านออก/เขียนไทยได้
25. คนในครัวเรือนได้รับรู้ข่าวสาร
หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า
26. คนอายุ 18-60 ปี มีอาชีพและรายได้
27. รายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อปี/คน
28. ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน
หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยมไทย
29. คนในครัวเรือนไม่ติดสุรา
30. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่
31. คนอายุ 6 ปีขึ้นไปปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา
32. คนสูงอายุได้รับการดูแลเอาใจใส่
33. คนพิการได้รับการดูแลเอาใจใส่
หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา
34. ครัวเรือนมีคนเป็นสมาชิกกลุ่มในหมู่บ้าน/ตำบล
35. ครัวเรือนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
36. ครัวเรือนมีคนเข้าร่วมทำกิจกรรมสาธารณะหมู่บ้าน
37. คนที่มีสิทธิ์ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
โครงการนี้ใช้เวลาทำทั่วประเทศประมาณห้าปีกว่ามั้งครับ (มากกว่าอายุรัฐบาลปัจจุบันนี้ถึงห้าเท่า) แล้วก็สำเร็จลงก่อนปี 2543 พร้อมกับประกาศไปแล้วว่าคนไทยทุกครัวเรือนทุกจังหวัดมีความสุขกันทั่วหน้า
แต่ลองย้อนเปรียบเทียบวันนั้นกับวันนี้และวันก่อนหน้าที่จะทำโครงการ ผมว่าไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่เลย
เพราะอะไรหนอ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 20
ขอกระตุ้นคุณ FE หน่อยนะครับน้องลูกอิสาน
ระบบนิเวศน์ไม่เดือดร้อนอะไรเลย เพราะมันมีวิถีของมัน......
เท่าที่เห็นนะครับ ตัวที่พังก็คือปลาใหญ่ เพราะมันไม่มีปลาเล็กให้กินนั่นเอง อดอาหารไม่กี่วันก็ตายแล้วหละครับ พอปลาใหญ่ตาย ปลาเล็กก็กลับมาฟู่ฟ่าอีกครั้งเพราะมันไม่ได้ถูกกินจนหมดเกลี้ยงนั่นเอง มันก็จะเป็นจุดเริ่มต้นวัฏจักรใหม่อีกครั้งหนึ่งซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เต่าล้านปีจนมาถึงยุคจรวดยุคแห่ง GNH
ระบบนิเวศน์ไม่เคยพังเพราะปลาใหญ่ๆขึ้นและปลาเล็กๆลงนะครับทุนนิยม หลายครั้งมันเข้าข่าย "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" มากเกินไป จนทำให้ปลาใหญ่นั้นใหญ่ขึ้นๆ ขณะที่ปลาเล็กก็เล็กลงๆ ผลที่สุดระบบนิเวศน์อาจพังครืนก็ได้นะครับ
ระบบนิเวศน์ไม่เดือดร้อนอะไรเลย เพราะมันมีวิถีของมัน......
เท่าที่เห็นนะครับ ตัวที่พังก็คือปลาใหญ่ เพราะมันไม่มีปลาเล็กให้กินนั่นเอง อดอาหารไม่กี่วันก็ตายแล้วหละครับ พอปลาใหญ่ตาย ปลาเล็กก็กลับมาฟู่ฟ่าอีกครั้งเพราะมันไม่ได้ถูกกินจนหมดเกลี้ยงนั่นเอง มันก็จะเป็นจุดเริ่มต้นวัฏจักรใหม่อีกครั้งหนึ่งซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เต่าล้านปีจนมาถึงยุคจรวดยุคแห่ง GNH
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- shadow_attack
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 21
ลองมองที่ระบบดูนะครับ
ปกติประเทศที่เจริญแล้วส่วนใหญ่จะใช้ระบบทุนนิยม+สังคมนิยมนิดหน่อย
คือปล่อยให้ทุนนิยมดำเนินไปเต็มที่แล้วเอาภาษีที่เก็บได้มาเป็นสวัสดิการคนจน คนจนในประเทศเหล่านี้จึงไม่ถึงกับหมดหนทางดำเนินชีวิต ดังนั้นค่า GDP จึงสำคัญสุดเพราะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะเก็บภาษีได้เท่าไหร่ รัฐบาลสามารถวางแผนเพิ่มลดสวัสดิการสังคมได้จากตัวแปรนี้
แต่ถ้าเราใช้ GDH แล้วเราจะใช้ระบบอะไรมาทำงานกับตัวแปรนี้ครับ ช่วยคิดหน่อยเพราะผมก็ยังงงๆเหมือนกัน
ผมคิดว่าตัวแปรต่างๆเป็นเครื่องมือบอกสถานะของระบบ แค่บอกว่าจะนำมาใช้มันไม่พอหรอก ต้องบอกว่าจะนำมาใช้อย่างไรด้วยครับ
ปกติประเทศที่เจริญแล้วส่วนใหญ่จะใช้ระบบทุนนิยม+สังคมนิยมนิดหน่อย
คือปล่อยให้ทุนนิยมดำเนินไปเต็มที่แล้วเอาภาษีที่เก็บได้มาเป็นสวัสดิการคนจน คนจนในประเทศเหล่านี้จึงไม่ถึงกับหมดหนทางดำเนินชีวิต ดังนั้นค่า GDP จึงสำคัญสุดเพราะเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะเก็บภาษีได้เท่าไหร่ รัฐบาลสามารถวางแผนเพิ่มลดสวัสดิการสังคมได้จากตัวแปรนี้
แต่ถ้าเราใช้ GDH แล้วเราจะใช้ระบบอะไรมาทำงานกับตัวแปรนี้ครับ ช่วยคิดหน่อยเพราะผมก็ยังงงๆเหมือนกัน
ผมคิดว่าตัวแปรต่างๆเป็นเครื่องมือบอกสถานะของระบบ แค่บอกว่าจะนำมาใช้มันไม่พอหรอก ต้องบอกว่าจะนำมาใช้อย่างไรด้วยครับ
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 22
พูดเรื่องชาร์ล ดาร์วิน แล้วนึกถึง Darwin's medical ครับ
เรื่องความสุขนั้นทุกคนชอบและเห็นว่ามีประโยชน์ชัดๆและใครๆก็แสวงหา ผู้นำรัฐบาลนี้ถึงกับแถลงเป็นนโยบายหลักเลยทีเดียว
แต่เรื่องความทุกข์ความเจ็บปวดนั้นก็มีแง่มุมที่น่าสนใจไม่น้อยถึงประโยชน์ของมัน
ความทุกข์ความเจ็บปวดมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตมาหลายร้อยล้านปีมาแล้ว และยังคงมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่เว้นแม้แต่คน ถ้ามันไม่มีประโยชน์แล้วทำไมมันถึงอยู่คู่กับสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด(หรือทุกชนิด)มาอย่างยาวนานอย่างนี้
Darwin's medical เป็นสาขาทางการแพทย์อีกแขนงหนึ่ง สาขานี้เชื่อว่า ความทุกข์ความเจ็บปวดเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตราย ถ้าปวดท้องข้างขวาก็เตือนว่าอาจจะกำลังจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ ถ้าปวดหัวมีไข้คอแข็ง นั่นอาจจะเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบก็ได้
ถ้าไม่มีสัญญาณเตือนเหล่านี้ คือ ไม่มีทุกข์ ไม่เจ็บปวด ไม่มีไข้ คนๆนั้นก็อาจจะไม่รู้สึกตัว ไม่หยุดพักทำงาน ไม่สนใจสุขภาพ นั่นคือมีโอกาสเสียชีวิตได้อย่างไม่รู้ตัว
Darwin's medical จึงไม่พยายามให้ยาบำบัดอาการเหล่านี้ก่อนที่จะได้แก้ไขที่สาเหตุ เพราะถ้าอาการเหล่านี้หายไป อาจจะไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่เกิดอาการขึ้นได้ จะบำบัดก็ต่อเมื่ออาการทุกข์นั้นรุนแรงเกินไปเท่านั้นเอง เป้าหมายของเขาคือ แก้ไขที่สาเหตุให้ได้เพื่อการรักษาที่หายขาด
เรื่องความสุขนั้นทุกคนชอบและเห็นว่ามีประโยชน์ชัดๆและใครๆก็แสวงหา ผู้นำรัฐบาลนี้ถึงกับแถลงเป็นนโยบายหลักเลยทีเดียว
แต่เรื่องความทุกข์ความเจ็บปวดนั้นก็มีแง่มุมที่น่าสนใจไม่น้อยถึงประโยชน์ของมัน
ความทุกข์ความเจ็บปวดมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตมาหลายร้อยล้านปีมาแล้ว และยังคงมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่เว้นแม้แต่คน ถ้ามันไม่มีประโยชน์แล้วทำไมมันถึงอยู่คู่กับสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด(หรือทุกชนิด)มาอย่างยาวนานอย่างนี้
Darwin's medical เป็นสาขาทางการแพทย์อีกแขนงหนึ่ง สาขานี้เชื่อว่า ความทุกข์ความเจ็บปวดเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตราย ถ้าปวดท้องข้างขวาก็เตือนว่าอาจจะกำลังจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ ถ้าปวดหัวมีไข้คอแข็ง นั่นอาจจะเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบก็ได้
ถ้าไม่มีสัญญาณเตือนเหล่านี้ คือ ไม่มีทุกข์ ไม่เจ็บปวด ไม่มีไข้ คนๆนั้นก็อาจจะไม่รู้สึกตัว ไม่หยุดพักทำงาน ไม่สนใจสุขภาพ นั่นคือมีโอกาสเสียชีวิตได้อย่างไม่รู้ตัว
Darwin's medical จึงไม่พยายามให้ยาบำบัดอาการเหล่านี้ก่อนที่จะได้แก้ไขที่สาเหตุ เพราะถ้าอาการเหล่านี้หายไป อาจจะไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่เกิดอาการขึ้นได้ จะบำบัดก็ต่อเมื่ออาการทุกข์นั้นรุนแรงเกินไปเท่านั้นเอง เป้าหมายของเขาคือ แก้ไขที่สาเหตุให้ได้เพื่อการรักษาที่หายขาด
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 23
ความทุกข์ที่ไม่รุนแรงเกินไปก็ก่อประโยชน์ให้ไม่น้อย
ความเครียดที่ไม่รุนแรงเกินไปกลับทำให้ร่างกายสูบฉีดโลหิตได้ดีกว่า ความคิดแจ่มใสกว่า ถ้าไม่เครียดเลย มักจะเฉื่อยชามากกว่า
สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีความเจ็บปวดที่ปรากฏอยู่บนโลกนี้จึงมีน้อยยิ่งกว่าน้อย และถ้ามีเหลืออยู่จริง ก็คงจะสูญพันธ์ไปในไม่ช้า เพราะมันไม่พยายามหนีจากความเจ็บปวดนั้นนั่นเอง
สังคมที่ไม่มีความทุกข์จะสูญพันธ์ไปในเวลาไม่นานด้วยหรือไม่
สังคมควรจะมีความทุกข์ ความเครียด ความเจ็บปวดในระดับหนึ่งที่เหมาะสมแก่การดิ้นรนเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นและสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไปหรือไม่........
ความเครียดที่ไม่รุนแรงเกินไปกลับทำให้ร่างกายสูบฉีดโลหิตได้ดีกว่า ความคิดแจ่มใสกว่า ถ้าไม่เครียดเลย มักจะเฉื่อยชามากกว่า
สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีความเจ็บปวดที่ปรากฏอยู่บนโลกนี้จึงมีน้อยยิ่งกว่าน้อย และถ้ามีเหลืออยู่จริง ก็คงจะสูญพันธ์ไปในไม่ช้า เพราะมันไม่พยายามหนีจากความเจ็บปวดนั้นนั่นเอง
สังคมที่ไม่มีความทุกข์จะสูญพันธ์ไปในเวลาไม่นานด้วยหรือไม่
สังคมควรจะมีความทุกข์ ความเครียด ความเจ็บปวดในระดับหนึ่งที่เหมาะสมแก่การดิ้นรนเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นและสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไปหรือไม่........
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 24
[quote="สามัญชน"]ขอกระตุ้นคุณ FE หน่อยนะครับน้องลูกอิสาน
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 25
วัดมันทั้งสองอย่างเลยสิ ใครชอบอันไหนก็เชิญเลือกดูอันที่ตัวเองชอบ แล้วก็ไม่ต้องบังคับให้คนอื่นชอบด้วย จะได้ไม่ต้องทะเลาะกัน :D
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 26
น้องคัดท้ายบอกว่า
ระบบนิเวศน์ ประกอบไปด้วยทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตอยู่รวมกัน มีทั้งปลา ทั้งพืช ทั้งดินหินแร่ธาตุ แบคทีเรีย ไวรัส ระบบนิเวศน์จะปรับตัวเองอยู่เสมอ เหยื่อมากผู้ล่าก็มากตาม เหยื่อลดผู้ล่าก็ลด(เพราะไม่มีอะไรเป็นเหยื่อนั่นเอง และถ้ายิ่งผู้ล่าตัวใหญ่ต้องการอาหารปริมาณมากๆก็ยิ่งตายเร็ว) ระบบนิเวศน์ไม่เคยสูญเสียเพราะมันเป็นธรรมชาติที่ปรับเปลี่ยนสถานะตำแหน่งไปเรื่อยๆ จากรูปแบบหนึ่งไปอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่คนเราพูดว่าระบบนิเวศน์สูญเสียไปนั้น หมายถึงระบบนิเวศน์เปลี่ยนสถานะไปอยู่ตำแหน่งที่ไม่เหมาะกับคนเราเท่านั้นเอง แต่มันอาจจะเหมาะกับสิ่งมีชีวิตอื่นก็ได้ ถ้าเรายึดคนเป็นตัวตั้งเราก็อาจจะเรียกการตัดไม้ทำลายป่ามาสร้างเป็นเมืองเป็นชุมชนว่าเป็นการปรับระบบนิเวศน์ให้ดีขึ้น(เพราะมันเหมาะกับเรา เพราะเราชอบอยู่ในบ้านไม่ชอบอยู่บนต้นไม้) แต่ถ้าไปถามสิ่งมีชีวิตอื่น มันก็อาจจะบอกว่าที่คนเราไปทำลายป่าเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ของมันก็ได้
ถ้าปลาพื้นเมืองจะสูญพันธ์ ก็แปลว่าองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์สูญสลายไป ปลาไม่ใช่ระบบนิเวศน์แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ต่างหาก
ชีวิตย่อมมีหนทางของมัน ระบบนิเวศน์ก็มีหนทางของมัน
ต้องแยกระหว่างอะไรคือระบบนิเวศน์กับอะไรคือองค์ประกอบของระบบนิเวศน์ครับเจ้าหน้าที่สหรัฐพบว่าปลาชนิดนี้หลุดไปในแหล่งน้ำ แล้วแข็งแรงกว่าปลาพื้นเมือง ไล่กินปลาพื้นเมือง จนเจ้าหน้าที่เกรงว่าปลาพื้นเมืองจะสูญพันธ์ และระบบนิเวศน์จะเสียหายครับ
ระบบนิเวศน์ ประกอบไปด้วยทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตอยู่รวมกัน มีทั้งปลา ทั้งพืช ทั้งดินหินแร่ธาตุ แบคทีเรีย ไวรัส ระบบนิเวศน์จะปรับตัวเองอยู่เสมอ เหยื่อมากผู้ล่าก็มากตาม เหยื่อลดผู้ล่าก็ลด(เพราะไม่มีอะไรเป็นเหยื่อนั่นเอง และถ้ายิ่งผู้ล่าตัวใหญ่ต้องการอาหารปริมาณมากๆก็ยิ่งตายเร็ว) ระบบนิเวศน์ไม่เคยสูญเสียเพราะมันเป็นธรรมชาติที่ปรับเปลี่ยนสถานะตำแหน่งไปเรื่อยๆ จากรูปแบบหนึ่งไปอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่คนเราพูดว่าระบบนิเวศน์สูญเสียไปนั้น หมายถึงระบบนิเวศน์เปลี่ยนสถานะไปอยู่ตำแหน่งที่ไม่เหมาะกับคนเราเท่านั้นเอง แต่มันอาจจะเหมาะกับสิ่งมีชีวิตอื่นก็ได้ ถ้าเรายึดคนเป็นตัวตั้งเราก็อาจจะเรียกการตัดไม้ทำลายป่ามาสร้างเป็นเมืองเป็นชุมชนว่าเป็นการปรับระบบนิเวศน์ให้ดีขึ้น(เพราะมันเหมาะกับเรา เพราะเราชอบอยู่ในบ้านไม่ชอบอยู่บนต้นไม้) แต่ถ้าไปถามสิ่งมีชีวิตอื่น มันก็อาจจะบอกว่าที่คนเราไปทำลายป่าเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ของมันก็ได้
ถ้าปลาพื้นเมืองจะสูญพันธ์ ก็แปลว่าองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์สูญสลายไป ปลาไม่ใช่ระบบนิเวศน์แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ต่างหาก
ชีวิตย่อมมีหนทางของมัน ระบบนิเวศน์ก็มีหนทางของมัน
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 27
อืมม์ จริงๆ แล้ว ระบบนิเวศน์เสียสมดุลเป็นประจำครับ
ซึ่งเมื่อระบบเสียสมดุลไปแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรุนแรง
และต้องใช้เวลานาน ในการปรับเข้าหาจุดสมดุลใหม่
ที่เรียกกันว่า dynamic equivibrium
ซึ่งเมื่อไปถึงจุดสมดุลใหม่ ระบบจะมีเสถียรภาพ
จนกว่าจะเกิดตัวแปรใหม่เข้ามาในระบบนิเวศน์
ซึ่งทำให้เสถียรภาพในระบบค่อยๆ ลดลง
จนถึงจุดที่ระบบเสียสมดุล แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
Changes are inevitable
ไฟป่า จริงๆ แล้วก็เป็นกลไกอย่างหนึ่ง
ในการรักษาระบบที่เสียสมดุลไปแล้วของป่า
คือต้นไม้ใหญ่ๆ เมื่อใหญ่มากไป
จะบดบังต้นไม้เล็กจนไม่ได้รับแสง
เหี่ยวเฉาตายกันหมด ทำให้ต้นไม้ใหญ่
ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดได้
เพราะพันธุ์ไม้ใหม่เกิดไม่ได้
สัตว์บางชนิดจะเริ่มสูญพันธุ์
ไฟป่าจะปรับระบบนิเวศน์
สู่สมดุลใหม่อีกครั้ง
ทำให้ต้นไม้เล็กๆ ใหญ่ๆ มีโอกาสเท่ากัน
ที่จะแข่งกันโต จนนำไปสู่ภาวะเดิม
คือยุคต้นไม้ใหญ่ครองป่าอีกครั้ง
และเป็นหน้าที่ของไฟป่า
ที่จะกลับมาปรับสมดุลอีกครั้งเหมือนกัน
นอกจากนี้ เกิดๆ ดับๆ ของป่าต่างๆ
ยังทำให้เกิดหลุมน้ำมันดิบอีกด้วย
ดังนั้น ระบบนิเวศน์มีการเสียสมดุล
(ถูกทำลาย) ตลอดมา ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
ซึ่งเมื่อระบบเสียสมดุลไปแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรุนแรง
และต้องใช้เวลานาน ในการปรับเข้าหาจุดสมดุลใหม่
ที่เรียกกันว่า dynamic equivibrium
ซึ่งเมื่อไปถึงจุดสมดุลใหม่ ระบบจะมีเสถียรภาพ
จนกว่าจะเกิดตัวแปรใหม่เข้ามาในระบบนิเวศน์
ซึ่งทำให้เสถียรภาพในระบบค่อยๆ ลดลง
จนถึงจุดที่ระบบเสียสมดุล แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
Changes are inevitable
ไฟป่า จริงๆ แล้วก็เป็นกลไกอย่างหนึ่ง
ในการรักษาระบบที่เสียสมดุลไปแล้วของป่า
คือต้นไม้ใหญ่ๆ เมื่อใหญ่มากไป
จะบดบังต้นไม้เล็กจนไม่ได้รับแสง
เหี่ยวเฉาตายกันหมด ทำให้ต้นไม้ใหญ่
ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดได้
เพราะพันธุ์ไม้ใหม่เกิดไม่ได้
สัตว์บางชนิดจะเริ่มสูญพันธุ์
ไฟป่าจะปรับระบบนิเวศน์
สู่สมดุลใหม่อีกครั้ง
ทำให้ต้นไม้เล็กๆ ใหญ่ๆ มีโอกาสเท่ากัน
ที่จะแข่งกันโต จนนำไปสู่ภาวะเดิม
คือยุคต้นไม้ใหญ่ครองป่าอีกครั้ง
และเป็นหน้าที่ของไฟป่า
ที่จะกลับมาปรับสมดุลอีกครั้งเหมือนกัน
นอกจากนี้ เกิดๆ ดับๆ ของป่าต่างๆ
ยังทำให้เกิดหลุมน้ำมันดิบอีกด้วย
ดังนั้น ระบบนิเวศน์มีการเสียสมดุล
(ถูกทำลาย) ตลอดมา ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 28
ก็แล้วแต่จะเลือกใช้คำ และก็แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ใช้ครับดังนั้น ระบบนิเวศน์มีการเสียสมดุล
(ถูกทำลาย) ตลอดมา ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
เพราะถ้าจะใช้คำว่า ปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงแทนคำว่าถูกทำลายก็เป็นอีกมุมมองอยู่ดี
ยกตัวอย่างครับ
มีคนพูดว่าโลกเรานั้นกำลังถูกทำลายลงไป เนื่องจากมนุษย์ทำให้ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลงหรือเสียสมดุล
มีคนห่วงว่าเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากๆจนถึงยุคที่โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง สิ่งมีชีวิตจะดำรงอยู่ด้วยความลำบาก
ถ้าเมฆฝุ่นบดบังโลกทั้งหมด คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มปริมาณในอากาศสูงมากๆ โลกจะร้อนขึ้น สิ่งมีชีวิตจะดำรงอยู่ด้วยความลำบาก
ดังนั้น โครงการ protect earth จึงเกิดขึ้น
ถ้าจะบอกว่าโครงการนี้ถูกต้อง ก็สามารถบอกได้และก็ดูจะเข้าใจกันได้ง่ายๆ
แต่ถ้าจะบอกว่าโครงการนี้ผิด ก็พูดได้เช่นกัน เอ๊ะ........ผิดอย่างไร เป็นไปได้หรือที่โครงการแบบนี้จะผิด
เป็นไปได้ครับ ผิดในแง่ความหมายตามตัวอักษรที่เป็นสากล
ผิดเพราะเราไม่จำเป็นต้องพิทักษ์โลก เราพิทักษณ์ระบบนิเวศน์ที่เหมาะกับมนุษย์ก็เพียงพอแล้ว
โลกเกิดมาเกือบห้าพันล้านปีมาแล้ว มันไม่เป็นอะไรในระยะอันสั้นร้อยสองร้อนล้านปีนี้หรอกครับ
ต่อให้แผ่นดินไหวภูเขาไฟระเบิด โลกก็ไม่รู้สึกเจ็บปวด อาจจะคันๆนิดหน่อยเท่านั้นเอง 555
ต่อให้ผิวหนังของโลกร้อนขึ้นถึงร้อยองศาหรือพันองศาก็ไม่มีเหงื่อให้ออกแต่อย่างไร 555
ต่อให้ทวีปเคลื่อนเข้าชนกันก่อให้เกิดเป็นภูเขาลูกใหม่ที่ใหญ่และสูงกว่าหิมาลัย ก็เปรียบเสมือนโลกเป็นสิวเสี้ยนเม็ดเล็กๆเท่านั้นเอง ไม่มีอันตรายถึงชีวิตแต่อย่างไร มันไม่ได้แตกสลายกลายไปเป็นสิ่งที่ไม่ใช่โลก อิอิ
โลกยังอยู่ได้อีกหลายพันล้านปี
เห็นไหมครับ การเลือกใช้คำ
จาก GNH ผมไปถึงไหนต่อไหนไม่รู้ กำจริงๆ :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
บ้านเรา ถ้าเปลี่ยนตัวชี้วัดความเจริญเป็นแบบนี้ก็น่าจะดีนะ
โพสต์ที่ 29
เมื่อพูดถึง earth ผมก็นึกถึงคำพูดในเนื้อเพลง
Colors of the Wind จากเรื่อง Pocahontas
"You can own the Earth and still
All you'll own is Earth until
You can paint with all the colors of the wind"
เป็นการเล่นคำที่สวยงามมากครับ
กับคำว่า Earth คำเดียว ที่ตีความหมายได้สองด้าน
Earth อาจจะเป็นแค่โลกใบนี้
ที่พี่สามัญชนพูดว่า มันจะอยู่ไปได้อีกหลายพันล้านปี
(แต่ผมว่าไม่ถึง)
หรือหมายถึงสภาพแวดล้อม ที่มนุษย์อาศัยอยู่
ดังนั้น ผมคิดว่า Protect the Earth ก็ถูกต้องครับ
ถ้าเขาพูดว่า Protect the Planet นี่ ผิดชัวร์ๆ
ถ้าดวงอาทิตย์เกิด Super Nova
หรืออุกาบาตจะพุ่งชนโลก
ตอนนั้นเราต้อง Protect the Planet Earth ครับ
Colors of the Wind จากเรื่อง Pocahontas
"You can own the Earth and still
All you'll own is Earth until
You can paint with all the colors of the wind"
เป็นการเล่นคำที่สวยงามมากครับ
กับคำว่า Earth คำเดียว ที่ตีความหมายได้สองด้าน
Earth อาจจะเป็นแค่โลกใบนี้
ที่พี่สามัญชนพูดว่า มันจะอยู่ไปได้อีกหลายพันล้านปี
(แต่ผมว่าไม่ถึง)
หรือหมายถึงสภาพแวดล้อม ที่มนุษย์อาศัยอยู่
ดังนั้น ผมคิดว่า Protect the Earth ก็ถูกต้องครับ
ถ้าเขาพูดว่า Protect the Planet นี่ ผิดชัวร์ๆ
ถ้าดวงอาทิตย์เกิด Super Nova
หรืออุกาบาตจะพุ่งชนโลก
ตอนนั้นเราต้อง Protect the Planet Earth ครับ