มีบริษัทไหนในตลาดเป็นแบบนี้ไหมครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
mustang
Verified User
โพสต์: 375
ผู้ติดตาม: 0

มีบริษัทไหนในตลาดเป็นแบบนี้ไหมครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จับพิรุธ "เจ้าของตึก" ยอมขาดทุนเพื่อ...?
"บุญลอง นรจิตต์" ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย การเงินระดับประเทศ แสดงความเห็นถึงกรณีที่มีนิติบุคคลในฐานะเจ้าของอาคารสำนักงานเช่า มักแสดงผคþลการดำเนินงานเป็นตัวเลข "ขาดทุนสุทธิ" ว่า อาจมองในแง่ลบได้ว่าคล้ายเป็นการกระทำเพื่อ... ผ่องถ่ายเงิน หลังจากที่มีการดูดเงินออกมา จากต้คþนทางในรูปแบบค่าเช่าแล้ว
โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้เช่าอาคารเป็นบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเจ้าของอาคารเองก็มีฐานะเป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ด้วย
"อาจเชื่อได้ว่านั่นเป็นอีกกระบวนการทางบัญชีของบจ.เพื่อหลบเลี่ยงภาษี เพราะยิ่งมีกำไรมากก็ต้องจ่ายภาษีมากขึ้น แต่ถามว่าความจริงใครเขาอยากไปจ่ายภาษีมากขนาดนั้น"
ฉะนั้น ถ้า บจ.บันทึกรายจ่ายในรูปค่าเช่าอาคาร ค่าบริการ รวมถึงค่าสาธารณูปโภค...ยิ่งมากเท่าไร บริษัทก็ยิ่งเสียภาษีลดลง
แต่กระบวนการต่อจากนั้นน่าสังเกตว่า นิติบุคคลเจ้าของอาคารจำนวนมาก มีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นคนกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มผู้ถือหุ้นของบจ. ในฐานะผู้เช่าอาคาร ...ตรงนี้ยิ่งน่าสนใจ!!!
โดยนิติบุคคลเจ้าของอาคาร จะพยายามแสดงผลการดำเนินงานที่ "ขาดทุนสุทธิ" สะสมติดต่อกันหลายๆ ปี เพื่อหวังลดรายจ่ายด้าน "ภาษีเงินได้" ที่ต้คþองพึงจ่ายตามกฎหมาย
และเช่นเดียวกัน ถ้าหากนิติบุคคลรายนั้น(เจ้าของอาคาร)มีกำไรมากขึ้นเท่าไร เขาก็ต้องจ่ายภาษีมากขึ้นเท่านั้น กลเม็ดทางบัญชีที่ช่วยได้คคþือ "ต้องขาดทุน"
"บุญลอง" อธิบายต่อไปว่า เทคนิคการทำบัญชีภายใต้รูปแบบนี้จะมีตัวเล่นเด่นๆ อยู่ 2 ตัว ได้แก่ "ค่าเสื่อมราคา" และ "การตั้งสำรองหนี้สูญ"
วิธีของค่าเสื่อมคือนิติบุคคลเจ้าของอาคารส่วนใหญ่จะใช้วิธีประเมินมูลค่าทรัพย์สิน(อาคาร)...สูงกว่าความเป็นจริงมากๆ เพื่อแสวงประโยชน์จากกลไกทางบัญชีโดยวิธีตัดค่าเสื่อมราคา เพราะถือเป็นรายจ่ายทางบัญชี โดยตามกฎหมายจะกำหนดให้มีการตัดแบ่งค่าเสื่อมของอาคารถาวรในระยะเวลา 20 ปี
ตรงนี้เป็นจุดที่น่าสังเกต!!!
"ถ้าเขาลงทุนสร้างอาคารประมาณ 100 ล้านบาท แต่กลับมีการประเมินราคาหรือตีมูลค่าอาคารไว้ถึง 500-1,000 ล้านบาท เขาก็สามารถซอยค่าเสื่อมราคาเป็นคþค่าใช้จ่ายรายปีได้มากกว่าความเป็นจริงถึง 5 เท่า 10 เท่า ตลอดระยะเวลา 20 ปี แล้วจะไม่ให้มันขาดทุนได้ยังไง"
แต่นั่นเป็นเพียงผลประโยชน์ในทางบัญชี เพราะการขาดทุนจะช่วยหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้ที่ต้องนำส่งให้แก่กรมสรรพากร แต่ในความเป็นจริงแล้ว "เงินสด" ก้อนใหญ่ยังต้องสะสมและแสดงอยู่ในงบการเงินของบริษัท
จากตรงนี้ต้องตามกันต่อว่าเงินสดจำนวนมากที่ยังเหลือติดบัญชีไว้จะมีการเคลื่อนไหวออกไปด้วยวิธีการอย่างไร
ส่วนใหญ่แล้วเงินสดที่เหลือมักถูกนำ "ออกไป" ในรูปของค่าใช้จ่ายต่างๆ กระจัดกระจายกันไป แต่ก็น่าคิดว่าปลายทางของเงินสดไปตกอยู่ที่ไหน
ตัวเล่นที่สองทางบัญชีจะปรากฏในรูป "การตั้งสำรองหนี้สูญ"
"บุญลอง" ยกตัวอย่างกรณีที่เคยเกิดขึ้ยบ่อยครั้งว่า "สมมติว่าบริษัทมีการสั่งจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้า แต่สุดท้ายกลับไม่ได้มีการส่งมอบสินค้าเข้ามา ก็อาจเล่นเทคนิคฟ้องร้องเล็กน้อย จากนั้นก็ตัดจ่ายเป็นหนี้สูญ แค่นั้นเอง
หรืออีกทางหนึ่ง บริษัทแห่งนั้นอาจนำเงินออกไปในรูปของ "เงินยืม" ด้วยวิธีปล่อยกู้ให้กับกรรมการบริษัทโดยไม่คิดดอกเบี้ย จนเมื่อถึงเวลาหนึ่งกรรมการคนนั้นไม่นำเงินมาชำระคืน บริษัทก็ตั้งสำรองเป็นหนี้สูญไป"
นอกจากนี้ นิติบุคคลเจ้าของอาคารบางแห่งยังอาจมีการทำสัญญาให้เช่าตั้งแต่ระยะ 3 ปี หรือ 10 ปีบ้าง ก่อนจะมีการเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้าทั้งหมด แล้วจะได้เงินก้อนมานับสิบล้านร้อยล้าน
"แต่ในทางบัญชีเขาจะลงโดยวิธีที่เรียกว่า 'เกณฑ์สิทธิ์' รายรับล่วงหน้า(เงินสด)ทั้งจำนวนที่ได้มาจะถูกแบ่งออกตามระยะเวลาของสัญญาเช่า แล้วนำมาบันทึกในบัญชีว่ารายรับที่แท้จริงในปีนี้เป็นเท่าไร แล้วเงินล่วงหน้าส่วนที่เหลือก็จะบันทึกเป็นรายรับล่วงหน้าทางฝั่งเดบิต แต่เงินสดที่เคยรับล่วงหน้ามาจะต้องมีที่มาที่ไป"
สรุปได้ว่าวิธีการทางบัญชีที่มักปฏิบัติเช่นนี้ ผู้ทำจะได้ประโยชน์ทั้งสองทาง ทางหนึ่งในเรื่องของ "ภาษีเงินได้" ที่หายไป กับอีกทางหนึ่คþงก็เรื่องของ "เงินสด"
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรูปแบบทางบัญชีที่เกิดขึ้นกับบริษัทผู้ให้เช่าอาคารจะไม่ถือว่าเป็นบริษัทย่อยของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหคþลักทรัพย์ เรื่องดังกล่าวจึงไม่อยู่ในความดูแลของตลาดหลักทรัพย์หรือสำนักงาน ก.ล.ต.
ดังนั้นในกรณีที่มีเงินไหลออกไปจากบริษัทผู้ให้เช่าอาคาร ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงินยืมของกรรมการ หรือการตั้งสำรองหนี้สูญ จึงมีโอกาสเกคþิดขึ้นสูง
แต่ถึงอย่างไร ถ้าทางกรมสรรพากรจะดำเนินการเข้าตรวจสอบกันอย่างจริงจัง..."ผมเชื่อว่ายังไงก็เจอ มันต้องมีค่าใช้จ่ายบางรายการที่ปูดออกมา"
วิธีการก็คือส่งผู้ตรวจสอบบัญชีไปสอบงบการเงินของนิติบุคคลนั้นๆ และมุ่งประเด็นไปที่เรื่องของค่าใช้จ่าย "หลักๆ" ก็จะสามารถเห็นได้ว่าคคþ่าใช้จ่ายบางรายการ อาจมีการจ่ายเกินจริง
จากนั้นก็ต้องไปบี้เอาเหตุผลที่ฟังขึ้นว่า คุณนำเงินบริษัทไปใช้จ่ายอะไร แล้วเงินนั้นออกไปเท่าไรยังไง และทำไมถึงขาดทุน
"ถ้าสรรพากรเมืองไทยจะเล่นกันตรงนี้จริงๆ...รับรอง(ผู้ประกอบการ)ตาย ประเทศจะมีเงินเข้าคลังอีกเท่าไร เพียงแต่ว่ากำลังคนของสรรพากรบ้านเรามีน้อย หรือบางครั้งถ้าจะตามตรวจสอบกันจริงก็ได้แค่ลูบหน้าปะจมูกไปตามขั้นตอน ผลสุดท้ายออกมาก็ไม่มีอะไร
แต่ถ้าเป็นต่างประเทศกรณีอย่างนี้เกิดขึ้นยาก ของเขาจะตรอจสอบกันละเอียดมาก"
"ถ้าเขาลงทุนสร้างอาคารประมาณ 100 ล้านบาท แต่กลับมีการประเมินราคาหรือตีมูลค่าอาคารไว้ถึง 500-1,000 ล้านบาท เขาก็สามารถซอยค่าเสื่อมราคาเป็นคþค่าใช้จ่ายรายปีได้มากกว่าความเป็นจริงถึง 5 เท่า 10 เท่า"
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

มีบริษัทไหนในตลาดเป็นแบบนี้ไหมครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

มีครับ เคยเห็น แต่ถ้าเก็บในอัตราที่เหมาะสม ก็ไม่น่าเกลียด

คงต้องดูเป็นรายบริษัทไปครับ
Expecto Patronum!!!!!!
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

มีบริษัทไหนในตลาดเป็นแบบนี้ไหมครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

กรณีแบบนี้ ถ้าค่าเช่าและเงื่อนไขเป็นไปตามราคาตลาดก็โอเคครับ

แต่ที่ไม่โอเคก็คือ บริษัทที่เป็นเจ้าของอาคารซิครับ มีการตบแต่งงบให้ขาดทุน เพื่อหลบหนีภาษี
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ล็อคหัวข้อ