ธปท.ชูนโยบายดอกเบี้ยสูงกว่า ตปท.
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ธปท.ชูนโยบายดอกเบี้ยสูงกว่า ตปท.
โพสต์ที่ 1
http://www.bangkokbiznews.com/2005/07/0 ... s_id=18924
ธปท.ชูนโยบายดอกเบี้ยสูงกว่าตปท.
1 กรกฎาคม 2548 22:43 น.
ดึงเงินทุนไหลเข้า ชดเชยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ช่วยผู้ฝากเงิน ได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ
"ปรีดิยาธร" ส่งสัญญาณชัดเจนดอกเบี้ยนโยบาย ต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ เพื่อดึงเงินทุนไหลเข้า ชดเชยปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัด ที่คาดว่าปีนี้ขาดดุล 3.1 พันล้านดอลลาร์ และอัตราดอกเบี้ยต้องสูงกว่าเงินเฟ้อ เพื่อให้ผู้ฝากได้รับผลตอบแทนที่สูง พร้อมหาทางดูดสภาพคล่อง ดึงแบงก์ขยับตาม ด้านพาณิชย์ เล็งใช้มาตรการควบคุม ผุดดัชนีเจาะลึกสินค้า 10 รายการ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภาพรวมทิศทางดอกเบี้ยและเศรษฐกิจ ที่จัด โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวานนี้ ระบุว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.จะต้องปรับขึ้นเพื่อดูแลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เป็นประโยชน์กับผู้ฝากเงิน และสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยไลบอร์ในต่างประเทศเพื่อให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลดผลกระทบการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ส่วนกรอบระยะเวลาที่ต้องปรับขึ้นไม่สามารถบอกได้ เพราะจะเป็นช่องทางให้เกิดการเก็งกำไร ขณะเดียวกัน ต้องให้เวลาตลาดได้ปรับตัวและคำนึงถึงผลกระทบกับผู้ผ่อนบ้านด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน เมื่อ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 14 วันจาก 2.25% ต่อปีเป็น 2.50% ต่อปี ขณะที่วานนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นจาก 3.0% เป็น 3.25% และมีแนวโน้มจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ส่วนอัตราดอกเบี้ยไลบอร์ ในตลาดสหรัฐ ระยะ 1เดือน อยู่ที่ 3.34% ส่วนระยะ 3 เดือนอยู่ที่ 3.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อของไทยล่าสุดเดือน มิ.ย.อยู่ที่ระดับ 3.8% เฉลี่ย 6 เดือนที่ 3.3%
"ในที่สุดเราก็ต้องปรับดอกเบี้ยให้สูงกว่า เพราะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังติดลบ เราต้องปรับให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อให้ได้ และต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยไลบอร์ ถ้าไม่สูงเงินก็ไม่ไหลเข้า แต่บังเอิญขณะนี้เรายังมีเวลาที่ทำได้ แต่ถ้าทำเร็ว ตลาดก็รับไม่ทัน ถ้าทำต้องให้ตลาดรับได้ ซึ่งการปรับขึ้นจะมีประโยชน์ถ้าตลาดขึ้นไปด้วย ถ้าไปดูตอนนี้ตลาดขึ้นไปแล้ว ผมก็จะดึงไปอีกแน่นอน แต่ดึงในสปีดเท่าไร ต้องดูจังหวะตลาดด้วย โดยดูสภาพคล่องที่มีอยู่ ถ้าเราจัดการสภาพคล่องไม่ได้ เราก็ดึงเร็วไม่ได้ ถ้าดึงแล้วต้องดึงให้ขึ้น"
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 20 ก.ค.นี้นั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า เชื่อว่าตลาดจะสามารถคาดเดาผลการประชุมได้อย่างแน่นอน หลังจากเฟดได้ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว
ยันทุนสำรองแกร่ง
อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า ขณะนี้ฐานะทุนสำรองเราอยู่ในระดับสูงก็ไม่จำเป็นต้องรีบปรับอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถตอบได้ว่ากรอบระยะเวลาของการปรับขึ้นนั้นอยู่ที่ตรงไหน เพราะถ้าให้กรอบเวลาไปก่อน เอกชนจะดักทางถูกทำให้เขาหากำไรจากตลาดตราสารหนี้ได้ ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับขึ้นนั้นทางภาคเอกชนก็รู้แล้วว่าแนวโน้มต้องปรับขึ้นแน่
สำหรับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นเขากล่าวว่าเป็นเหตุให้เศรษฐกิจไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยระยะ 5 เดือนที่ผ่านมามีการขาดดุล
เพราะราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนโดยขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดดูไบอยู่ที่ 54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 34
ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น เป็นเหตุให้เราขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หรือเท่ากับว่ามีเลือดไหลออก เป็นสิ่งที่ต้องคิดกันให้ดี และถ้าถามว่า
จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่ ตอบว่ายังสามารถรองรับได้สบายเพราะระดับทุนสำรองเรายังอยู่ในระดับที่สูงถึง 3.8
เท่าของหนี้ระยะสั้นและยังมีเงินเหลือที่จะนำไปซื้อสินค้ามาปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตได้ด้วย
ปีนี้ขาดดุลบัญชี 3.1 พันล้านดอลล์
ทั้งนี้ผู้ว่าการธปท.ได้ประเมินตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างคร่าวๆกรณีที่มีการลงทุนในเมกะโปรเจ็ก ว่าในปี 2005 จะมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.8%ต่อจีดีพี ส่วนปี 2006-2009 จะมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเฉลี่ย 6.7พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือ 3.0% ต่อจีดีพีต่อปีแต่หากว่า ไม่มีการลงทุนในเมกะโปรเจ็กดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2005 จะขาดดุลเพียง 2.7พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.5% ต่อจีดีพี และปี 2006-2009 จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเฉลี่ย 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือ 1.8% ต่อจีดีพีต่อปี
เขากล่าวด้วยว่า การปล่อยให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลซึ่งจะทำให้ทุนสำรองทางการลด เป็นเรื่องที่ไม่ดีในที่สุดเราก็ต้องดูแลเรื่องบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายและต้องจัดการโครงสร้างดอกเบี้ยเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ดึงเงินทุนต่างประเทศเข้ามามากขึ้นอย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีเงินทุนไหลเข้าอยู่ ทั้งนี้เงินที่ไหลนั้นจะมาจาก 3 ทาง ได้แก่ เงินลงทุนโดยตรงเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเงินที่หยิบยืมมาจากต่างประเทศโดยการหยิบยืมเงินมาลงทุนก็เพื่อไม่ให้กระทบกับทุนสำรอง
มั่นใจไม่เกิดวิกฤติ
เขากล่าวด้วยว่าประเทศไทยยังมีความสามารถเพียงพอที่จะรองรับปัญหาราคาน้ำมันแพงได้โดยไม่มีทางที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างแน่นอนเพราะ 1.เรามีเงินทุนมากพอ 2.เราสามารถเรียนรู้ในอดีตได้ว่าต้องปรับตัวอย่างไร 3.เศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับเพิ่มขึ้นและ4.ผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจน้อยกว่าเมื่อเจอวิกฤติราคาน้ำมันแพงในช่วงปี 1981-1982 ซึ่งขณะนั้นอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกิน 10% แต่ขณะนี้เรายังรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อได้ 3%กว่า
"ระบบเศรษฐกิจเรามีความหลากหลาย โดยเรามีภาคการเกษตรภาคอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้ดีขณะที่
อัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมยังสามารถขยายตัวได้อีกโดย ปัจจุบันอัตรากำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 71% ทำให้ราคาสินค้าไม่ขึ้นไปเร็ว ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่าปัญหาจะไม่หนักเท่าครั้งที่แล้วและเราจะใช้มาตรการทางการเงินเพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงซึ่งก็มีหลายวิธี" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ผุดดัชนีสินค้านำเข้าเจาะลึก 10 รายการนำเข้าสูง
นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าสืบเนื่องจากสถานการณ์การนำเข้าสินค้าสูง ขณะนี้พบว่า มีสินค้า 10 รายการอาทิ น้ำมันดิบ ทองคำ เหล็ก และเครื่องจักร เป็นต้น มีการนำเข้าสูงมากจึงจำเป็นต้องเฝ้าจับตาดู และกระทรวงพาณิชย์กำหนดว่า จะนำข้อมูลจากการเฝ้าดูนี้ มาจัดทำเป็นดัชนีราคาสินค้านำเข้าที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วหลายเดือน แต่ต้องรอให้ข้อมูลชัดเจนมากขึ้น ก่อนประกาศและจัดทำเป็นดัชนีราคาสินค้านำเข้าต่อไป
"จากรายการสินค้าที่น่าเป็นห่วงการนำเข้า 40 รายการ เราจะมาเจาะลึกสินค้านำเข้า 10 รายการ ที่นำเข้าสูงเพื่อมอนิเตอร์ว่าการนำเข้ามาเพื่อประโยชน์อะไรหากมีข้อมูลว่านำเข้ามากไปแล้วก็จะได้ดูว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร อย่างเครื่องจักรบางราย ถ้าแจ้งว่านำมาเพื่อเย็บผ้า ก็จะดูได้ว่าใช้เย็บผ้าจริงหรือไม่ " นายการุณ กล่าว
น้ำมันทุบยอดบริษัทตั้งใหม่หดตัว 1.39%
นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า สถิติการจดทะเบียนธุรกิจในช่วงเดือน พ.ค. 2548 ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วราชอาณาจักร จำนวน 3,625 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ จำนวน 1,621 ราย และส่วนภูมิภาค จำนวน 2,004 ราย เงินทุนจดทะเบียนรวม 10,195 ล้านบาท มีเงินทุนชำระแล้ว 7,047.56 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน พ.ค. ปี 2547 ที่ผ่านมา พบว่าจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนตั้งใหม่ลดลง จำนวน 51 ราย หรือลดลง 1.39%
"จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งราคาน้ำมันที่แพง มีผลกระทบทำให้ผู้ประกอบธุรกิจชะลอ ดูความแน่นอน ก่อนตัดสินใจดำเนินธุรกิจ และเป็นผลให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าน้อยลง "นางสาวอรจิตกล่าว
เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25%
ขณะเดียวกันเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เฟด ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น 0.25% เป็น 3.25% และยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน 0.25% เป็น 4.25% อีกด้วย นับเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 9 ติดต่อกัน และไม่ได้ส่งสัญญาณว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ดำเนินมานาน 1 ปีนั้น ใกล้จะสิ้นสุดลงแต่อย่างใด
ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้น 0.25% ตามความคาดหมายของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ และทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือน ก.ย.ปี 2544 แม้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับเมื่อวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเริ่มขึ้นเมื่อ 1 ปีที่แล้วก็ตาม
บรรดาผู้กำหนดนโยบายเอฟโอเอ็มซีกล่าวย้ำว่า จะยังคงดำเนินมาตรการกระตุ้นด้านนโยบายในอัตราที่ "ค่อยเป็นค่อยไป" ซึ่งเป็นคำที่บ่งชี้ว่า จะยังคงมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% มากกว่าจะเป็นการปรับขึ้นมากกว่านั้น
รอยเตอร์เปิดเผยว่า นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำส่วนใหญ่ย่านวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่า เฟด จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนส.ค.โดยจากการสำรวจความเห็นของดีลเลอร์พันธบัตรชั้นนำ 21 ราย จาก 22 รายเชื่อว่าเฟดจะปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นอีก 0.25% เป็น 3.5% ในการประชุมวันที่ 9 ส.ค. นี้ โดยมีดีลเลอร์หนึ่งรายที่คาดว่าเฟดอาจตรึงอัตราดอกเบี้ยในเดือนส.ค.โดยขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจในอนาคต
ธปท.ชูนโยบายดอกเบี้ยสูงกว่าตปท.
1 กรกฎาคม 2548 22:43 น.
ดึงเงินทุนไหลเข้า ชดเชยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ช่วยผู้ฝากเงิน ได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ
"ปรีดิยาธร" ส่งสัญญาณชัดเจนดอกเบี้ยนโยบาย ต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ เพื่อดึงเงินทุนไหลเข้า ชดเชยปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัด ที่คาดว่าปีนี้ขาดดุล 3.1 พันล้านดอลลาร์ และอัตราดอกเบี้ยต้องสูงกว่าเงินเฟ้อ เพื่อให้ผู้ฝากได้รับผลตอบแทนที่สูง พร้อมหาทางดูดสภาพคล่อง ดึงแบงก์ขยับตาม ด้านพาณิชย์ เล็งใช้มาตรการควบคุม ผุดดัชนีเจาะลึกสินค้า 10 รายการ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภาพรวมทิศทางดอกเบี้ยและเศรษฐกิจ ที่จัด โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวานนี้ ระบุว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.จะต้องปรับขึ้นเพื่อดูแลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เป็นประโยชน์กับผู้ฝากเงิน และสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยไลบอร์ในต่างประเทศเพื่อให้มีเม็ดเงินไหลเข้ามาลดผลกระทบการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ส่วนกรอบระยะเวลาที่ต้องปรับขึ้นไม่สามารถบอกได้ เพราะจะเป็นช่องทางให้เกิดการเก็งกำไร ขณะเดียวกัน ต้องให้เวลาตลาดได้ปรับตัวและคำนึงถึงผลกระทบกับผู้ผ่อนบ้านด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน เมื่อ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 14 วันจาก 2.25% ต่อปีเป็น 2.50% ต่อปี ขณะที่วานนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นจาก 3.0% เป็น 3.25% และมีแนวโน้มจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป ส่วนอัตราดอกเบี้ยไลบอร์ ในตลาดสหรัฐ ระยะ 1เดือน อยู่ที่ 3.34% ส่วนระยะ 3 เดือนอยู่ที่ 3.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อของไทยล่าสุดเดือน มิ.ย.อยู่ที่ระดับ 3.8% เฉลี่ย 6 เดือนที่ 3.3%
"ในที่สุดเราก็ต้องปรับดอกเบี้ยให้สูงกว่า เพราะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังติดลบ เราต้องปรับให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อให้ได้ และต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยไลบอร์ ถ้าไม่สูงเงินก็ไม่ไหลเข้า แต่บังเอิญขณะนี้เรายังมีเวลาที่ทำได้ แต่ถ้าทำเร็ว ตลาดก็รับไม่ทัน ถ้าทำต้องให้ตลาดรับได้ ซึ่งการปรับขึ้นจะมีประโยชน์ถ้าตลาดขึ้นไปด้วย ถ้าไปดูตอนนี้ตลาดขึ้นไปแล้ว ผมก็จะดึงไปอีกแน่นอน แต่ดึงในสปีดเท่าไร ต้องดูจังหวะตลาดด้วย โดยดูสภาพคล่องที่มีอยู่ ถ้าเราจัดการสภาพคล่องไม่ได้ เราก็ดึงเร็วไม่ได้ ถ้าดึงแล้วต้องดึงให้ขึ้น"
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 20 ก.ค.นี้นั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า เชื่อว่าตลาดจะสามารถคาดเดาผลการประชุมได้อย่างแน่นอน หลังจากเฟดได้ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว
ยันทุนสำรองแกร่ง
อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า ขณะนี้ฐานะทุนสำรองเราอยู่ในระดับสูงก็ไม่จำเป็นต้องรีบปรับอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถตอบได้ว่ากรอบระยะเวลาของการปรับขึ้นนั้นอยู่ที่ตรงไหน เพราะถ้าให้กรอบเวลาไปก่อน เอกชนจะดักทางถูกทำให้เขาหากำไรจากตลาดตราสารหนี้ได้ ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับขึ้นนั้นทางภาคเอกชนก็รู้แล้วว่าแนวโน้มต้องปรับขึ้นแน่
สำหรับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นเขากล่าวว่าเป็นเหตุให้เศรษฐกิจไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยระยะ 5 เดือนที่ผ่านมามีการขาดดุล
เพราะราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนโดยขณะนี้ราคาน้ำมันในตลาดดูไบอยู่ที่ 54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 34
ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น เป็นเหตุให้เราขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หรือเท่ากับว่ามีเลือดไหลออก เป็นสิ่งที่ต้องคิดกันให้ดี และถ้าถามว่า
จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่ ตอบว่ายังสามารถรองรับได้สบายเพราะระดับทุนสำรองเรายังอยู่ในระดับที่สูงถึง 3.8
เท่าของหนี้ระยะสั้นและยังมีเงินเหลือที่จะนำไปซื้อสินค้ามาปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตได้ด้วย
ปีนี้ขาดดุลบัญชี 3.1 พันล้านดอลล์
ทั้งนี้ผู้ว่าการธปท.ได้ประเมินตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างคร่าวๆกรณีที่มีการลงทุนในเมกะโปรเจ็ก ว่าในปี 2005 จะมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.8%ต่อจีดีพี ส่วนปี 2006-2009 จะมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเฉลี่ย 6.7พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือ 3.0% ต่อจีดีพีต่อปีแต่หากว่า ไม่มีการลงทุนในเมกะโปรเจ็กดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2005 จะขาดดุลเพียง 2.7พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.5% ต่อจีดีพี และปี 2006-2009 จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเฉลี่ย 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือ 1.8% ต่อจีดีพีต่อปี
เขากล่าวด้วยว่า การปล่อยให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลซึ่งจะทำให้ทุนสำรองทางการลด เป็นเรื่องที่ไม่ดีในที่สุดเราก็ต้องดูแลเรื่องบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายและต้องจัดการโครงสร้างดอกเบี้ยเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ดึงเงินทุนต่างประเทศเข้ามามากขึ้นอย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีเงินทุนไหลเข้าอยู่ ทั้งนี้เงินที่ไหลนั้นจะมาจาก 3 ทาง ได้แก่ เงินลงทุนโดยตรงเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และเงินที่หยิบยืมมาจากต่างประเทศโดยการหยิบยืมเงินมาลงทุนก็เพื่อไม่ให้กระทบกับทุนสำรอง
มั่นใจไม่เกิดวิกฤติ
เขากล่าวด้วยว่าประเทศไทยยังมีความสามารถเพียงพอที่จะรองรับปัญหาราคาน้ำมันแพงได้โดยไม่มีทางที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างแน่นอนเพราะ 1.เรามีเงินทุนมากพอ 2.เราสามารถเรียนรู้ในอดีตได้ว่าต้องปรับตัวอย่างไร 3.เศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับเพิ่มขึ้นและ4.ผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจน้อยกว่าเมื่อเจอวิกฤติราคาน้ำมันแพงในช่วงปี 1981-1982 ซึ่งขณะนั้นอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกิน 10% แต่ขณะนี้เรายังรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อได้ 3%กว่า
"ระบบเศรษฐกิจเรามีความหลากหลาย โดยเรามีภาคการเกษตรภาคอุตสาหกรรมและภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตได้ดีขณะที่
อัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมยังสามารถขยายตัวได้อีกโดย ปัจจุบันอัตรากำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 71% ทำให้ราคาสินค้าไม่ขึ้นไปเร็ว ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่าปัญหาจะไม่หนักเท่าครั้งที่แล้วและเราจะใช้มาตรการทางการเงินเพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงซึ่งก็มีหลายวิธี" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ผุดดัชนีสินค้านำเข้าเจาะลึก 10 รายการนำเข้าสูง
นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าสืบเนื่องจากสถานการณ์การนำเข้าสินค้าสูง ขณะนี้พบว่า มีสินค้า 10 รายการอาทิ น้ำมันดิบ ทองคำ เหล็ก และเครื่องจักร เป็นต้น มีการนำเข้าสูงมากจึงจำเป็นต้องเฝ้าจับตาดู และกระทรวงพาณิชย์กำหนดว่า จะนำข้อมูลจากการเฝ้าดูนี้ มาจัดทำเป็นดัชนีราคาสินค้านำเข้าที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วหลายเดือน แต่ต้องรอให้ข้อมูลชัดเจนมากขึ้น ก่อนประกาศและจัดทำเป็นดัชนีราคาสินค้านำเข้าต่อไป
"จากรายการสินค้าที่น่าเป็นห่วงการนำเข้า 40 รายการ เราจะมาเจาะลึกสินค้านำเข้า 10 รายการ ที่นำเข้าสูงเพื่อมอนิเตอร์ว่าการนำเข้ามาเพื่อประโยชน์อะไรหากมีข้อมูลว่านำเข้ามากไปแล้วก็จะได้ดูว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร อย่างเครื่องจักรบางราย ถ้าแจ้งว่านำมาเพื่อเย็บผ้า ก็จะดูได้ว่าใช้เย็บผ้าจริงหรือไม่ " นายการุณ กล่าว
น้ำมันทุบยอดบริษัทตั้งใหม่หดตัว 1.39%
นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า สถิติการจดทะเบียนธุรกิจในช่วงเดือน พ.ค. 2548 ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วราชอาณาจักร จำนวน 3,625 ราย แยกเป็นกรุงเทพฯ จำนวน 1,621 ราย และส่วนภูมิภาค จำนวน 2,004 ราย เงินทุนจดทะเบียนรวม 10,195 ล้านบาท มีเงินทุนชำระแล้ว 7,047.56 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน พ.ค. ปี 2547 ที่ผ่านมา พบว่าจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนตั้งใหม่ลดลง จำนวน 51 ราย หรือลดลง 1.39%
"จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งราคาน้ำมันที่แพง มีผลกระทบทำให้ผู้ประกอบธุรกิจชะลอ ดูความแน่นอน ก่อนตัดสินใจดำเนินธุรกิจ และเป็นผลให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าน้อยลง "นางสาวอรจิตกล่าว
เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25%
ขณะเดียวกันเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เฟด ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น 0.25% เป็น 3.25% และยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน 0.25% เป็น 4.25% อีกด้วย นับเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 9 ติดต่อกัน และไม่ได้ส่งสัญญาณว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ดำเนินมานาน 1 ปีนั้น ใกล้จะสิ้นสุดลงแต่อย่างใด
ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้น 0.25% ตามความคาดหมายของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ และทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอยู่ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือน ก.ย.ปี 2544 แม้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับเมื่อวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเริ่มขึ้นเมื่อ 1 ปีที่แล้วก็ตาม
บรรดาผู้กำหนดนโยบายเอฟโอเอ็มซีกล่าวย้ำว่า จะยังคงดำเนินมาตรการกระตุ้นด้านนโยบายในอัตราที่ "ค่อยเป็นค่อยไป" ซึ่งเป็นคำที่บ่งชี้ว่า จะยังคงมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% มากกว่าจะเป็นการปรับขึ้นมากกว่านั้น
รอยเตอร์เปิดเผยว่า นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำส่วนใหญ่ย่านวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่า เฟด จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนส.ค.โดยจากการสำรวจความเห็นของดีลเลอร์พันธบัตรชั้นนำ 21 ราย จาก 22 รายเชื่อว่าเฟดจะปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นอีก 0.25% เป็น 3.5% ในการประชุมวันที่ 9 ส.ค. นี้ โดยมีดีลเลอร์หนึ่งรายที่คาดว่าเฟดอาจตรึงอัตราดอกเบี้ยในเดือนส.ค.โดยขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจในอนาคต
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
ธปท.ชูนโยบายดอกเบี้ยสูงกว่า ตปท.
โพสต์ที่ 3
ถ้าขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก เงินจะไหลเข้า เงินบาทจะแข็งขึ้น ส่งออกไม่ได้รับประโยชน์ นำเข้าจะยังยันไว้ในราคาที่ดีกว่าเงินบาทอ่อนค่า
ถ้าไม่ขึ้นดอกเบี้ย เงินจะออก เงินบาทจะอ่อนตัว นำเข้าน้ำมันจะแพงขึ้น แต่ส่งออกจะได้รับประโยชน์
เอ...ในสถานะการณ์แบบนี้ คิดว่าไงดีคับ ผมว่าไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามน่าจะดีกว่ามั้ย เราจะได้ประหยัดน้ำมันกันมากขึ้น ประหยัดนำเข้ามากขึ้น ส่งออกได้ผลดี แถมหนี้เกษตรจะได้ไม่โดนดอกเบี้ยมากๆ แลกกับเงินไหลออกเงินบาทอ่อนตัว
ฮ่า มีทั้งดีและไม่ดีอยู่ในตัวเองทั้งสองทางเลือกเลยเนอะคับ
ถ้าไม่ขึ้นดอกเบี้ย เงินจะออก เงินบาทจะอ่อนตัว นำเข้าน้ำมันจะแพงขึ้น แต่ส่งออกจะได้รับประโยชน์
เอ...ในสถานะการณ์แบบนี้ คิดว่าไงดีคับ ผมว่าไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามน่าจะดีกว่ามั้ย เราจะได้ประหยัดน้ำมันกันมากขึ้น ประหยัดนำเข้ามากขึ้น ส่งออกได้ผลดี แถมหนี้เกษตรจะได้ไม่โดนดอกเบี้ยมากๆ แลกกับเงินไหลออกเงินบาทอ่อนตัว
ฮ่า มีทั้งดีและไม่ดีอยู่ในตัวเองทั้งสองทางเลือกเลยเนอะคับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ธปท.ชูนโยบายดอกเบี้ยสูงกว่า ตปท.
โพสต์ที่ 5
นโยบายนี้ถูกต้องครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ