โจทย์หินเศรษฐกิจไทย ดุลเสถียรภาพ'เอียง'
...ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ได้มองสถานการณ์ราคาน้ำมันโลก หนึ่งในหลาย ๆตัวปัจจัยเสี่ยง ว่ายังคงมีแนวโน้มสูงเกินระดับ 40 ดอลลาร์ต่อบาเรล อย่างน้อย 2-3 ปี จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่กระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มสูง จนห่วงว่าจะคุกคามเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย หากรัฐดำเนินนโยบายผิดพลาด
เขาได้เน้นให้รัฐชูจุดขายในเรื่องของการสร้าง "เสถียรภาพ" เรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน มากกว่าการชูจุดขายของ " เมกกะโปรเจ็กต์ 1.7 ล้านล้านบาท ) และ 3 ข้อใหญ่ที่ดร.ปิยสวัสดิ์ให้ความสำคัญ ก็คือ 1.ให้รัฐเลิกอุดหนุนพลังงานทุกประเภท 2.ดำเนินนโยบายการเงินรัดกุม เร่งส่งเสริมการออม ดึงดอกเบี้ยระยะสั้นให้ใกล้เคียงดอกเบี้ยสหรัฐ ฯ เพื่อดึงเงินจากต่างประเทศเข้ามา 3. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
**ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะกินเวลานานไหม ?
ผลกระทบในครั้งนี้มันไม่รุนแรง เหมือนครั้งที่ 1-2 (ปี 2516 ,ปี 2522 ) เพราะมีปัจจัยอย่างที่กล่าวบรรเทาช่วยไว้ได้ แต่ถามว่ารุนแรงไหมรุนแรง แน่นอน เพียงแต่ไม่รุนแรงอย่างที่เคยเกิด 2 ครั้ง แต่ราคาน้ำมัน 50-60 ดอลลาร์ต่อบาเรล มีผลต่อการชะลอของเศรษฐกิจไทยแน่นอน จะเห็นได้ว่าไตรมาสแรกของปีนี้ เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 3.3% แต่ไม่ใช่ประเทศแรกประเทศเดียวที่ชะลอ ประเทศผู้นำเข้าน้ำมันในเอเชีย เช่นไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ เศรษฐกิจก็ขยายตัวไม่มาก
นอกจากนี้ปัจจัยบวกจากที่ประเทศเคยได้รับ อาทิสภาพคล่องที่มีมาก และดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำ จนก่อให้เกิดการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาก แต่ ภาพดังกล่าวกำลังจะเริ่มเปลี่ยน เพราะราคาน้ำมันที่สูง การใช้จ่ายที่สูงได้ทำให้การดุลบัญชีเดินสะพัด กลับมาขาดดุลเร็วกว่าที่คาดไว้
ประเทศในเอเชียหลังเกิดวิกฤติปี 2540 มีการเกินดุลมหาศาล แต่ตอนนี้การเกินดุลการค้าเริ่มลด ปีนี้จะเป็นปีแรกที่ประเทศในเอเชีย ยกเว้นจีน ไม่มีดุลการค้าที่เกินดุล ซึ่งก็หมายความสภาพคล่องในระบบการเงิน จะค่อย ๆลดลง และประกอบกับรัฐบาลไทย และอีกหลายประเทศในเอเซียก็มีความจำเป็นที่จะลงทุนเพิ่มเติม หลังจากที่โครงการต่าง ๆ ลงทุนต่าง ๆถูกลดลงไปเยอะ หลังวิกฤติเศรษฐกิจ จนขณะนี้โครงการพื้นฐานหลายอย่างเริ่มขาดแคลน ขณะที่กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มเต็ม จึงต้องใช้เงินลงทุนเพิ่ม สภาพคล่องในระบบจะค่อย ๆลดลง และเริ่มเห็นธนาคารพาณิชย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝาก จากที่ตลาดตราสารหนี้ได้นำหน้าปรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นขึ้นไปก่อน...
โจทย์หินเศรษฐกิจไทย ดุลเสถียรภาพ'เอียง' จากฐานเศรษฐกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 456
- ผู้ติดตาม: 0
โจทย์หินเศรษฐกิจไทย ดุลเสถียรภาพ'เอียง' จากฐานเศรษฐกิจ
โพสต์ที่ 2
**โจทย์เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง**
ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเร็วกว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดูอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรายังมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องลงทุนทางด้านโครงสร้างทางพื้นฐานอีกมาก ไม่ลงทุนก็ไม่ได้เพราะจะทำให้โครงสร้างพื้นฐานมันขาดแคลน และเป็นข้อจำกัด ในการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ถ้าลงทุนมากเกินไป ดุลบัญชีเดินสะพัดก็ยิ่งขาดดุล
ฉะนั้นการดูแลดุลบัญชีเดินสะพัด โดยน้ำหนักในเรื่องของเสถียรภาพมีความสำคัญที่รัฐจะมาเน้นการขยายทางเศรษฐกิจ ถ้าจะมีเรื่องของการใช้จ่าย ก็ควรจะเป็นการใช้จ่ายที่เป็นการลงทุนซึ่งมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ควรจะเป็นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนการลงทุนต่ำสุด และถ้าเป็นการลงทุนไม่ประสิทธิภาพ ต้นทุนสูง ก็จะกลับเป็นภาระในระยะยาว
**สภาพเศรษฐกิจปีหน้าจะหนักกว่าปีนี้ไหม ?
ปีนี้ก็หนักแล้ว ถามปีหน้าถ้าราคาน้ำมันลดลง ก็ช่วยได้ แต่ปัจจัยลบก็คือเรื่องเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง และก็มีเรื่องภาวะแห้งแล้ง ที่ยืดเยื้อ สภาพคล่องในระบบการเงิน อัตราดอกเบี้ยที่เริ่มสูงขึ้น จึงมีทั้งปัจจัยบวกและลบ
นอกจากนี้มาตรการของรัฐจะเป็นตัวสำคัญที่จะบอกว่า เศรษฐกิจระยะต่อไปจะเป็นอย่างไร ถ้าดำเนินนโยบายผิดพลาด ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจได้ แต่ถ้าดำเนินนโยบายถูกต้องอาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอแค่ช่วงสั้น แต่ต่อไปจะทำให้ฐานะการเงินมีความมั่นคง และพร้อมจะเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาวด้วย
**ตลาดหุ้น **
ผลต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปีนี้ก็ยังดี กำไรคงเพิ่มขึ้นประมาณ 12% ไตรมาสแรกเพิ่มค่อนข้างมาก แต่เป็นการเพิ่มขึ้นของหุ้นที่เกี่ยวกับพลังงานค่อนข้างเยอะ และหุ้นที่เกี่ยวกับปิโตรเคมี ขณะนี้ก็มีสัดส่วนมาร์เก็ตแคปค่อนข้างสูงในตลาด แต่ถ้าแยกพลังงานออกไปแล้ว กำไรก็ไม่ค่อยมาก และบริษัท หลายบริษัทที่อยู่ในส่วนนี้ก็เริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอลง ถึงแม้บริษัทที่จดทะเบียน ปีนี้คาดว่าจะเพิ่ม 12% ปีหน้าบริษัทจดทะเบียนก็คงเพิ่มไม่มากเท่าไร เศรษฐกิจชะลอลง กำลังซื้อหด ดุลบัญชีสะพัดขาดดุล ดอกเบี้บขาขึ้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้น ซ้ำเติมปัจจัยน้ำว่าจะขาดหรือไม่ขาดยังไม่รู้ เพราะฉะนั้นทิศทางตลาดหุ้นไทย ก็ไม่ค่อยสดใสเท่าไร แต่ราคาหุ้นไทยก็ถูกนะเมื่อเทียบกับ ประเทศต่าง ๆในเอเซีย อาจมีเกาหลีที่อาจจะถูกกว่าเรา
ราคาหุ้นจะขึ้นได้ ต่อเมื่อความไม่แน่นอนเรื่องปัจจัยลบที่พูดออกไปนี่ มันคลีคลายออกไป และเริ่มเห็นแววว่าจะเห็นความคลี่คลายออกไป เช่นในเรื่องราคาน้ำมัน การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยระยะสั้นในสหรัฐอเมริกา 3.5 หรือ4% และหากดอกเบี้ยระยะสั้นอเมริกาถ้าขึ้นไปจนสูงสุดเมื่อนั้นก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น ยกเว้นเศรษฐกิจโลกชะลอลง ภาพสิ่งเหล่านี้ต้องมีความชัดเจนราคาหุ้นถึงเริ่มฟื้นตัวมาได้ เป้าหมายดัชนีของบลจ.กสิกรไทย ก็ยังอยู่ที่ 740 ไม่ต้องปรับ เพราะถึงแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2028
ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเร็วกว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดูอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรายังมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องลงทุนทางด้านโครงสร้างทางพื้นฐานอีกมาก ไม่ลงทุนก็ไม่ได้เพราะจะทำให้โครงสร้างพื้นฐานมันขาดแคลน และเป็นข้อจำกัด ในการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ถ้าลงทุนมากเกินไป ดุลบัญชีเดินสะพัดก็ยิ่งขาดดุล
ฉะนั้นการดูแลดุลบัญชีเดินสะพัด โดยน้ำหนักในเรื่องของเสถียรภาพมีความสำคัญที่รัฐจะมาเน้นการขยายทางเศรษฐกิจ ถ้าจะมีเรื่องของการใช้จ่าย ก็ควรจะเป็นการใช้จ่ายที่เป็นการลงทุนซึ่งมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ควรจะเป็นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนการลงทุนต่ำสุด และถ้าเป็นการลงทุนไม่ประสิทธิภาพ ต้นทุนสูง ก็จะกลับเป็นภาระในระยะยาว
**สภาพเศรษฐกิจปีหน้าจะหนักกว่าปีนี้ไหม ?
ปีนี้ก็หนักแล้ว ถามปีหน้าถ้าราคาน้ำมันลดลง ก็ช่วยได้ แต่ปัจจัยลบก็คือเรื่องเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง และก็มีเรื่องภาวะแห้งแล้ง ที่ยืดเยื้อ สภาพคล่องในระบบการเงิน อัตราดอกเบี้ยที่เริ่มสูงขึ้น จึงมีทั้งปัจจัยบวกและลบ
นอกจากนี้มาตรการของรัฐจะเป็นตัวสำคัญที่จะบอกว่า เศรษฐกิจระยะต่อไปจะเป็นอย่างไร ถ้าดำเนินนโยบายผิดพลาด ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจได้ แต่ถ้าดำเนินนโยบายถูกต้องอาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอแค่ช่วงสั้น แต่ต่อไปจะทำให้ฐานะการเงินมีความมั่นคง และพร้อมจะเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาวด้วย
**ตลาดหุ้น **
ผลต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปีนี้ก็ยังดี กำไรคงเพิ่มขึ้นประมาณ 12% ไตรมาสแรกเพิ่มค่อนข้างมาก แต่เป็นการเพิ่มขึ้นของหุ้นที่เกี่ยวกับพลังงานค่อนข้างเยอะ และหุ้นที่เกี่ยวกับปิโตรเคมี ขณะนี้ก็มีสัดส่วนมาร์เก็ตแคปค่อนข้างสูงในตลาด แต่ถ้าแยกพลังงานออกไปแล้ว กำไรก็ไม่ค่อยมาก และบริษัท หลายบริษัทที่อยู่ในส่วนนี้ก็เริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอลง ถึงแม้บริษัทที่จดทะเบียน ปีนี้คาดว่าจะเพิ่ม 12% ปีหน้าบริษัทจดทะเบียนก็คงเพิ่มไม่มากเท่าไร เศรษฐกิจชะลอลง กำลังซื้อหด ดุลบัญชีสะพัดขาดดุล ดอกเบี้บขาขึ้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้น ซ้ำเติมปัจจัยน้ำว่าจะขาดหรือไม่ขาดยังไม่รู้ เพราะฉะนั้นทิศทางตลาดหุ้นไทย ก็ไม่ค่อยสดใสเท่าไร แต่ราคาหุ้นไทยก็ถูกนะเมื่อเทียบกับ ประเทศต่าง ๆในเอเซีย อาจมีเกาหลีที่อาจจะถูกกว่าเรา
ราคาหุ้นจะขึ้นได้ ต่อเมื่อความไม่แน่นอนเรื่องปัจจัยลบที่พูดออกไปนี่ มันคลีคลายออกไป และเริ่มเห็นแววว่าจะเห็นความคลี่คลายออกไป เช่นในเรื่องราคาน้ำมัน การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยระยะสั้นในสหรัฐอเมริกา 3.5 หรือ4% และหากดอกเบี้ยระยะสั้นอเมริกาถ้าขึ้นไปจนสูงสุดเมื่อนั้นก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น ยกเว้นเศรษฐกิจโลกชะลอลง ภาพสิ่งเหล่านี้ต้องมีความชัดเจนราคาหุ้นถึงเริ่มฟื้นตัวมาได้ เป้าหมายดัชนีของบลจ.กสิกรไทย ก็ยังอยู่ที่ 740 ไม่ต้องปรับ เพราะถึงแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2028