คิดอย่างไรกับเรื่อง ticon ครับหุ้นเมืองไทยมีคนทำราคาจริงหรือ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1063
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างไรกับเรื่อง ticon ครับหุ้นเมืองไทยมีคนทำราคาจริงหรือ
โพสต์ที่ 1
คือผมรู้สึกว่าช่วงนี้พอใกล้ประกาศงบเงินแล้วเหมื่อนกะลังโดนของอะไรสักอย่างครับ คล้ายๆช่วงก่อนออก property fund เลยครับ
หุ้นเมืองไทยมีคนทำราคาจริงหรือเปล่าครับสงสัยหรือเป็นไปแค่ตามหลัก demand supply ธรรมดา แล้วถ้ามีจริงเราจะยังควรลงทุนในหุ้นอีกหรือครับ
แฟนดูแล้วไม่ค่อยสบายใจเพราะผมลงทุนในตัวนี้ประมาณสูงมาก มากกว่าชาเขียวเยอะเลย ประมาณ 80:20 ครับโดยมีเงินออม:เงินลงทุน 30:70 พี่ๆลองcomment ให้หน่อยนะครับ
หุ้นเมืองไทยมีคนทำราคาจริงหรือเปล่าครับสงสัยหรือเป็นไปแค่ตามหลัก demand supply ธรรมดา แล้วถ้ามีจริงเราจะยังควรลงทุนในหุ้นอีกหรือครับ
แฟนดูแล้วไม่ค่อยสบายใจเพราะผมลงทุนในตัวนี้ประมาณสูงมาก มากกว่าชาเขียวเยอะเลย ประมาณ 80:20 ครับโดยมีเงินออม:เงินลงทุน 30:70 พี่ๆลองcomment ให้หน่อยนะครับ
- tummeng
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3665
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างไรกับเรื่อง ticon ครับหุ้นเมืองไทยมีคนทำราคาจริงหรือ
โพสต์ที่ 2
แต่วันนี้ที่เห็นก็ tfund ถูกขายลงมาเหลือ 9.90 บาทแล้วแฮะ
ใครจองซื้อไปตอนแรก
ตอนนี้คงเซ็งนิดๆๆ ซื้อตอนนี้ได้ถูกกว่า ไม่ต้องถือรอนาน แถมได้ปันผลเหมือนกันด้วย ถ้าจำไม่ผิดจะเริ่มจ่าย เดือน กย.นี้น่ะครับ
ใครจองซื้อไปตอนแรก
ตอนนี้คงเซ็งนิดๆๆ ซื้อตอนนี้ได้ถูกกว่า ไม่ต้องถือรอนาน แถมได้ปันผลเหมือนกันด้วย ถ้าจำไม่ผิดจะเริ่มจ่าย เดือน กย.นี้น่ะครับ
Price is what you pay. Value is what you get...
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรกับเรื่อง ticon ครับหุ้นเมืองไทยมีคนทำราคาจริง
โพสต์ที่ 3
ยังสงสัยอยู่อีกหรือครับhansome เขียน:หุ้นเมืองไทยมีคนทำราคาจริงหรือเปล่าครับสงสัย
แม้อาจจะคุมไม่ได้เบ็ดเสร็จ แต่มีแน่ๆ
"Be sure you put your feet in the right place, then stand firm"
Abraham Lincoln
Abraham Lincoln
-
- Verified User
- โพสต์: 308
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างไรกับเรื่อง ticon ครับหุ้นเมืองไทยมีคนทำราคาจริงหรือ
โพสต์ที่ 4
นี่เป็นข้อมูลจากคุณ invisible hand ค่ะ ลองอ่านแล้ววิเคราห์ดูนะคะ
ผมได้อ่านข้อมูล ใน tvi ว่าเเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. เพิ่มสูงถึง 5.3% แล้วครับ และผมคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนต่อๆ ไปของปีนี้ก็น่าจะคงอยู่ในระดับนี้หรือมากกว่านี้ไปอีก โดยเหตุผลหลักก็เป็นที่ทราบกันว่ามาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
หากมองอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในระดับปัจจุบันที่อยู่ประมาณ 1% ซึ่งก็หมายความว่า หากผู้ฝากเงินมีเงิน 1 ล้านบาท เมื่อครบ 1 ปีจะมีเงินเพิ่มขึ้น 1% แต่จะซื่อของได้น้อยลง 5% เพราะเงินเฟ้อทำให้อำนาจซื้อของเงินจำนวนเท่าเดิมลดลง เท่ากับว่าผู้ที่มีเงินออมและมีรายได้จากเงินฝากจนลง 4% ในแต่ละปี
อย่าคิดว่าจะเอาดอกเบี้ยมาเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีเลยครับ แค่ทำให้เราไม่จนลงยังทำไม่ได้เลยครับ
หากเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ไปอีก 3 ปี ก็เท่ากับว่าผู้ออมเงินจนลงไป 12% ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่น่ากลัวไม่น้อยทีเดียวครับ
แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศก็เลือกที่จะออมด้วยการฝากธนาคาร !
หรือไม่บางส่วนก็ออมผ่านกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งปัจจุบันเราเห็นขนาดกองทุนตราสารหนี้ใหญ่กว่ากองทุนหุ้นค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นเพราะว่าหลายคนยังกลัวการลงทุนในหุ้นอยู่พอสมควร กองทุนตราสารหนี้ที่เป็นที่นิยมมากคือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น 9 เดือน 12 เดือน ซึ่งให้ผลตอบแทนประมาณ 2% กว่าๆ ดูเหมือนจะรับประกันผลตอบแทน ซึ่งก็คงจะเป็นเช่นนั้น หากกองทุนตราสารหนี้ดังกล่าวไม่ไปลงทุนใน B/E ของบริษัทเอกชนที่เสี่ยงเกินไปนัก เมื่อเงินเฟ้อขึ้นไปเป็น 5% ผู้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ดังกล่าวก็จะจนลงปีละ 3%
หากพิจารณาการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวอย่างพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ก็จะให้ผลตอบแทนวันนี้ที่ 4.69% ต่อปี ซึ่งก็ยังแพ้เงินเฟ้ออยู่ดี หากเป็นพันธบัตรที่อายุสั้นกว่านั้น ก็จะมีผลตอบแทนน้อยลงไปอีก เช่น พันธบัตรอายุ 5 ปีก็จะมีผลตอบแทน 4.16%
หากเราดูหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่มีบริหารเงินออมให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีทางเลือกในการลงทุนมากกว่าการฝากเงิน สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของกองทุนดังกล่าวก็ยังเป็นพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เงินฝากธนาคาร ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำกว่า 5% เกือบทั้งนั้น เว้นเสียแต่หุ้นกู้ บ. เอกชนบางบริษัทที่อาจจะให้ผลตอบแทนเกิน 5% แต่ก็เป็นส่วนน้อยและน่าจะเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงทางการเงินอยู่พอสมควร การลงทุนในหุ้นของหน่วยงานทั้ง 3 อยู่ในระดับค่อนข้างน้อยคือ ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 15% ซึ่ผลตอบแทนของตลาดปีนี้ยังไม่ถึง 5% ดังนั้นผลตอบแทนของเงินออมของคนส่วนใหญ่ของประเทศต่ำกว่าเงินเฟ้อทั้งนั้น
ผมเชื่อว่าสถานการณ์ตรงนี้อาจจะคงอยู่ไม่นานนัก เราอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้าง เช่น การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น เพื่อให้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยและเงินเฟ้อแคบลง และเพื่อไม่ให้เงินไหลออกมากเกินไป การขึ้นดอกเบี้ยในกรณีนี้ก็น่าจะทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นด้วย
แต่หาก....... มีสถานการณ์หรือภาวะแวดล้อมอะไรบางอย่างที่ทำให้ภาวะดอกเบี้ยเงินฝากรวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยในระบบไม่เพิ่มขึ้น ผมคิดว่าการลงทุนในหุ้นจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง เพราะอัตราเงินปันผลของตลาดหุ้นยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างมาก รวมไปถึงการที่หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในระยะยาวราคาหุ้นจะมีความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ
เมื่อวันอาทิตย์ผมได้เดินที่ร้าน se-ed อันดับหนังสือที่ขายดีอันดับที่ 16 ของร้าน se-ed คือ หนังสือ ทำธุรกิจอพาร์ตเมนท์กันดีกว่า ผมซื้อหนังสือเล่มนี้เป็นเล่มสุดท้ายของร้าน ซึ่งอาจจะเกิดจากหนังสือขายดี ประกอบกับจำนวนการพิมพ์และการสั่งเข้าร้านค่อนข้างน้อย แสดงว่าทั้งผู้พิมพ์และผู้ขายก็ไม่คิดเหมือนกันว่าหนังสือเล่มนี้จะขายดี
เป็นตัวบ่งบอกอย่างหนึ่งว่า ประชาชนที่มีเงินออมกำลังเบื่อกับดอกเบี้ยเงินฝาก 1% เต็มทนแล้ว จึงยอมทำอะไรที่เสี่ยงขึ้นกันแล้ว
หลายคนกำลังจะสร้างอพาร์ตเมนต์ หากประสบความสำเร็จ อาจจะได้ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายประมาณ 8-12% ต่อปี ขึ้นกับความสามารถในการบริหารจัดการ ซึ่งหากได้ 10% ต่อปีก็เท่ากับการฝากธนาคาร 10 ปี ผมซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านเป็นความรู้แต่ผมคงไม่ทำอพาร์ตเมนท์ครับเพราะอพาร์ตเมนต์ที่เราจะทำได้คงไม่ใช่ระดับบนที่เก็บค่าเช่าเดือนละ 2-5 หมื่น แต่คงจะต้องเป็นระดับกลางถึงล่าง ซึ่งดูแล้วน่าจะมีปัญหาตามมาสารพัดทีเดียว และที่สำคัญก็คือเวลาส่วนตัวที่จะลดลงไปเยอะมากซึ่งผมมองว่ามันเป็นต้นทุนแฝงครับ
ดังนั้น ผมคิดว่าหากเงินเฟ้อระดับนี้ และดอกเบี้ยเงินฝากยัง 1% ควรจะกลับเข้ามาพิจารณาการลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง
แต่คราวนี้ ผมไม่คิดว่าควรจะข้ามาซื้อหุ้นทุกตัวแบบกระจายเหมือนปี 2546 แต่จะเป็นการซื้อแบบเจาะจง โดยจะเน้นไปที่หุ้นที่มี pricing power คือ สามารถผลักภาระต้นทุนให้กับลูกค้าได้เต็มๆ หรือเผลอๆ จะมี margin ดีขึ้นด้วยซ้ำจากการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งมักจะเป็นหุ้นที่เป็นผู้นำตลาด หรือมีความนิยมในตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์สูง หรือหุ้นที่เป็นลักษณะ monopoly ซึ่งหุ้นที่ว่ามานี้มักจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ ดังนั้นเราอาจจะได้เห็นหุ้นขนาดใหญ่หรือหุ้นขนาดกลางและเล็กที่เป็นผู้นำตลาด มีผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นที่มีขนาดเล็ก ซึ่ง trend นี้เราก็เห็นมาบ้างแล้วพอสมควรตั้งแต่ต้นปีครับ
หุ้นอีกประเภทที่จะได้รับผลดีจากเงินเฟ้อ คือ หุ้นที่มีสินทรัพย์มากๆ ซึ่งราคาสินทรัพย์น่าจะปรับเพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนการก่อสร้างใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้สินทรัพย์ที่มีอยู่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
หุ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นใหญ่หรือเล็กที่สามารถฝ่าด่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อมาได้ และมีกำไรไม่ลดลง และสามารถปันผลได้ 5-7% ต่อปี จะเป็นหุ้นที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นในครึ่งหลังของปีนี้ คงจะต้องเป็นการซื้อหุ้นคุณภาพ คือหุ้นดีราคาไม่แพงเกินไป ไม่ใช่หุ้นถูกแต่คุณภาพอาจจะไม่ดี เพราะหุ้นถูก อาจจะถูกเพราะ p/e ของปีก่อน ซึ่งหากคิด p/e ปีนี้อาจจะแพงขึ้นมากหรือขาดทุนไปเลยก็เป็นไปได้ครับ
ผมได้แต่หวังว่า เงินที่เข้ามาซื้อหุ้น คงจะเป็นเงินออมของประชาชน ที่เข้ามาเลือกซื้อหุ้นดีๆ คงไม่ใช่เงินต่างชาติ ที่เค้ารู้ว่าหุ้นบ้านเราตัวไหนยังถูก อาศัยข้อมูลที่เหนือกว่าทำกำไรกลับไปอีก
และหวังว่าหน่วยงานทั้ง 2 ที่เป็นกึ่งรัฐอย่างกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือเอกชน คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ น่าจะพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์มากขึ้นครับ เพราะอย่างไรเสียหากเลือกหุ้นถูกตัว ผลตอบแทนในระยะยาวๆ ของหุ้นก็ดีกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ อยู่พอสมควรครับ
ผมอ่านกระทู้ของเพื่อนท่านหนึ่งใน tvi ยกประเด็นว่า การฝากธนาคารในปัจจุบัน ก็เหมือนการซื้อหุ้นที่ p/e 100 เท่า เพราะต้องจ่ายไป 100 แต่ได้กลับมาปีละ 1 เป็นประเด็นที่น่าสนใจทีเดียวครับ ผมเห็นว่าแม้จะเป็นหุ้นที่ดีที่สุดและไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย ก็ไม่ควรมี p/e 100 เท่าครับ และยิ่งหุ้นตัวนั้นอาจจะไม่มี growth ด้วย
การถือเงินสดเป็นส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเสมอไปสำหรับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อสูงอย่างที่เราเห็นในช่วงนี้เสมอไปครับ การถือหุ้นดีมีคุณภาพ และมีปันผล จึงเป็นทางเลือกที่น่าจะดีกว่าครับ
สิ่งที่ผมแปลกใจคือ ทำไมคนไทยส่วนใหญ่จึงมีความรู้เรื่องการลงทุน การบริหารเงินออม โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นน้อยมาก แม้ว่านักศึกษาที่จบมาจากสาขา finance ก็ไม่มีความรู้ทางการลงทุนเท่าที่ควรนัก ซึ่งไม่ต้องหวังอะไรกับนักศึกษาที่จบจากสาขาอื่นเลย แสดงว่าประเทศไทยยังล้มเหลวในการระบบการศึกษาพอสมควรครับ
ความรู้เรื่องการลงทุน จะเป็นความรู้ที่มีค่าขึ้นเรื่อยๆ ครับ หากเราไม่อยากจนลงปีละ 4% หรือซื้อหุ้นที่ p/e 100 เท่าครับ
การลงทุนก็เปรียบเสมือนเรือที่แล่นในทะเลอาจจะเสี่ยงที่จะจมลงจากคลื่นลมพายุ การฝากเงินอย่างเดียวก็เหมือนเรือที่จอดอยู่บนฝั่งแม้จะไม่จมจากพายุ แต่วันหนึ่งก็จะถูกสนิมกัดกร่อนจนผุ ซึ่งเงินเฟ้อก็เหมือนสนิมที่คอยกัดกินเรืออยู่ตลอดเวลาครับ
ยิ่งตอนนี้มีคลี่นสึนามิแล้วด้วย เรือที่จอดอยู่ริมฝั่งอาจจะพังง่ายๆ ได้ทีเดียวครับ : )
ผมได้อ่านข้อมูล ใน tvi ว่าเเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. เพิ่มสูงถึง 5.3% แล้วครับ และผมคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนต่อๆ ไปของปีนี้ก็น่าจะคงอยู่ในระดับนี้หรือมากกว่านี้ไปอีก โดยเหตุผลหลักก็เป็นที่ทราบกันว่ามาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
หากมองอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในระดับปัจจุบันที่อยู่ประมาณ 1% ซึ่งก็หมายความว่า หากผู้ฝากเงินมีเงิน 1 ล้านบาท เมื่อครบ 1 ปีจะมีเงินเพิ่มขึ้น 1% แต่จะซื่อของได้น้อยลง 5% เพราะเงินเฟ้อทำให้อำนาจซื้อของเงินจำนวนเท่าเดิมลดลง เท่ากับว่าผู้ที่มีเงินออมและมีรายได้จากเงินฝากจนลง 4% ในแต่ละปี
อย่าคิดว่าจะเอาดอกเบี้ยมาเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปีเลยครับ แค่ทำให้เราไม่จนลงยังทำไม่ได้เลยครับ
หากเหตุการณ์เป็นอย่างนี้ไปอีก 3 ปี ก็เท่ากับว่าผู้ออมเงินจนลงไป 12% ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่น่ากลัวไม่น้อยทีเดียวครับ
แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศก็เลือกที่จะออมด้วยการฝากธนาคาร !
หรือไม่บางส่วนก็ออมผ่านกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งปัจจุบันเราเห็นขนาดกองทุนตราสารหนี้ใหญ่กว่ากองทุนหุ้นค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นเพราะว่าหลายคนยังกลัวการลงทุนในหุ้นอยู่พอสมควร กองทุนตราสารหนี้ที่เป็นที่นิยมมากคือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น 9 เดือน 12 เดือน ซึ่งให้ผลตอบแทนประมาณ 2% กว่าๆ ดูเหมือนจะรับประกันผลตอบแทน ซึ่งก็คงจะเป็นเช่นนั้น หากกองทุนตราสารหนี้ดังกล่าวไม่ไปลงทุนใน B/E ของบริษัทเอกชนที่เสี่ยงเกินไปนัก เมื่อเงินเฟ้อขึ้นไปเป็น 5% ผู้ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ดังกล่าวก็จะจนลงปีละ 3%
หากพิจารณาการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวอย่างพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ก็จะให้ผลตอบแทนวันนี้ที่ 4.69% ต่อปี ซึ่งก็ยังแพ้เงินเฟ้ออยู่ดี หากเป็นพันธบัตรที่อายุสั้นกว่านั้น ก็จะมีผลตอบแทนน้อยลงไปอีก เช่น พันธบัตรอายุ 5 ปีก็จะมีผลตอบแทน 4.16%
หากเราดูหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่มีบริหารเงินออมให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีทางเลือกในการลงทุนมากกว่าการฝากเงิน สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของกองทุนดังกล่าวก็ยังเป็นพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เงินฝากธนาคาร ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำกว่า 5% เกือบทั้งนั้น เว้นเสียแต่หุ้นกู้ บ. เอกชนบางบริษัทที่อาจจะให้ผลตอบแทนเกิน 5% แต่ก็เป็นส่วนน้อยและน่าจะเป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงทางการเงินอยู่พอสมควร การลงทุนในหุ้นของหน่วยงานทั้ง 3 อยู่ในระดับค่อนข้างน้อยคือ ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 15% ซึ่ผลตอบแทนของตลาดปีนี้ยังไม่ถึง 5% ดังนั้นผลตอบแทนของเงินออมของคนส่วนใหญ่ของประเทศต่ำกว่าเงินเฟ้อทั้งนั้น
ผมเชื่อว่าสถานการณ์ตรงนี้อาจจะคงอยู่ไม่นานนัก เราอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้าง เช่น การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น เพื่อให้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยและเงินเฟ้อแคบลง และเพื่อไม่ให้เงินไหลออกมากเกินไป การขึ้นดอกเบี้ยในกรณีนี้ก็น่าจะทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นด้วย
แต่หาก....... มีสถานการณ์หรือภาวะแวดล้อมอะไรบางอย่างที่ทำให้ภาวะดอกเบี้ยเงินฝากรวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยในระบบไม่เพิ่มขึ้น ผมคิดว่าการลงทุนในหุ้นจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง เพราะอัตราเงินปันผลของตลาดหุ้นยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างมาก รวมไปถึงการที่หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในระยะยาวราคาหุ้นจะมีความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ
เมื่อวันอาทิตย์ผมได้เดินที่ร้าน se-ed อันดับหนังสือที่ขายดีอันดับที่ 16 ของร้าน se-ed คือ หนังสือ ทำธุรกิจอพาร์ตเมนท์กันดีกว่า ผมซื้อหนังสือเล่มนี้เป็นเล่มสุดท้ายของร้าน ซึ่งอาจจะเกิดจากหนังสือขายดี ประกอบกับจำนวนการพิมพ์และการสั่งเข้าร้านค่อนข้างน้อย แสดงว่าทั้งผู้พิมพ์และผู้ขายก็ไม่คิดเหมือนกันว่าหนังสือเล่มนี้จะขายดี
เป็นตัวบ่งบอกอย่างหนึ่งว่า ประชาชนที่มีเงินออมกำลังเบื่อกับดอกเบี้ยเงินฝาก 1% เต็มทนแล้ว จึงยอมทำอะไรที่เสี่ยงขึ้นกันแล้ว
หลายคนกำลังจะสร้างอพาร์ตเมนต์ หากประสบความสำเร็จ อาจจะได้ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายประมาณ 8-12% ต่อปี ขึ้นกับความสามารถในการบริหารจัดการ ซึ่งหากได้ 10% ต่อปีก็เท่ากับการฝากธนาคาร 10 ปี ผมซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านเป็นความรู้แต่ผมคงไม่ทำอพาร์ตเมนท์ครับเพราะอพาร์ตเมนต์ที่เราจะทำได้คงไม่ใช่ระดับบนที่เก็บค่าเช่าเดือนละ 2-5 หมื่น แต่คงจะต้องเป็นระดับกลางถึงล่าง ซึ่งดูแล้วน่าจะมีปัญหาตามมาสารพัดทีเดียว และที่สำคัญก็คือเวลาส่วนตัวที่จะลดลงไปเยอะมากซึ่งผมมองว่ามันเป็นต้นทุนแฝงครับ
ดังนั้น ผมคิดว่าหากเงินเฟ้อระดับนี้ และดอกเบี้ยเงินฝากยัง 1% ควรจะกลับเข้ามาพิจารณาการลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง
แต่คราวนี้ ผมไม่คิดว่าควรจะข้ามาซื้อหุ้นทุกตัวแบบกระจายเหมือนปี 2546 แต่จะเป็นการซื้อแบบเจาะจง โดยจะเน้นไปที่หุ้นที่มี pricing power คือ สามารถผลักภาระต้นทุนให้กับลูกค้าได้เต็มๆ หรือเผลอๆ จะมี margin ดีขึ้นด้วยซ้ำจากการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งมักจะเป็นหุ้นที่เป็นผู้นำตลาด หรือมีความนิยมในตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์สูง หรือหุ้นที่เป็นลักษณะ monopoly ซึ่งหุ้นที่ว่ามานี้มักจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ ดังนั้นเราอาจจะได้เห็นหุ้นขนาดใหญ่หรือหุ้นขนาดกลางและเล็กที่เป็นผู้นำตลาด มีผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นที่มีขนาดเล็ก ซึ่ง trend นี้เราก็เห็นมาบ้างแล้วพอสมควรตั้งแต่ต้นปีครับ
หุ้นอีกประเภทที่จะได้รับผลดีจากเงินเฟ้อ คือ หุ้นที่มีสินทรัพย์มากๆ ซึ่งราคาสินทรัพย์น่าจะปรับเพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนการก่อสร้างใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้สินทรัพย์ที่มีอยู่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
หุ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นใหญ่หรือเล็กที่สามารถฝ่าด่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อมาได้ และมีกำไรไม่ลดลง และสามารถปันผลได้ 5-7% ต่อปี จะเป็นหุ้นที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนในหุ้นในครึ่งหลังของปีนี้ คงจะต้องเป็นการซื้อหุ้นคุณภาพ คือหุ้นดีราคาไม่แพงเกินไป ไม่ใช่หุ้นถูกแต่คุณภาพอาจจะไม่ดี เพราะหุ้นถูก อาจจะถูกเพราะ p/e ของปีก่อน ซึ่งหากคิด p/e ปีนี้อาจจะแพงขึ้นมากหรือขาดทุนไปเลยก็เป็นไปได้ครับ
ผมได้แต่หวังว่า เงินที่เข้ามาซื้อหุ้น คงจะเป็นเงินออมของประชาชน ที่เข้ามาเลือกซื้อหุ้นดีๆ คงไม่ใช่เงินต่างชาติ ที่เค้ารู้ว่าหุ้นบ้านเราตัวไหนยังถูก อาศัยข้อมูลที่เหนือกว่าทำกำไรกลับไปอีก
และหวังว่าหน่วยงานทั้ง 2 ที่เป็นกึ่งรัฐอย่างกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม หรือเอกชน คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ น่าจะพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์มากขึ้นครับ เพราะอย่างไรเสียหากเลือกหุ้นถูกตัว ผลตอบแทนในระยะยาวๆ ของหุ้นก็ดีกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ อยู่พอสมควรครับ
ผมอ่านกระทู้ของเพื่อนท่านหนึ่งใน tvi ยกประเด็นว่า การฝากธนาคารในปัจจุบัน ก็เหมือนการซื้อหุ้นที่ p/e 100 เท่า เพราะต้องจ่ายไป 100 แต่ได้กลับมาปีละ 1 เป็นประเด็นที่น่าสนใจทีเดียวครับ ผมเห็นว่าแม้จะเป็นหุ้นที่ดีที่สุดและไม่มีความเสี่ยงอะไรเลย ก็ไม่ควรมี p/e 100 เท่าครับ และยิ่งหุ้นตัวนั้นอาจจะไม่มี growth ด้วย
การถือเงินสดเป็นส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเสมอไปสำหรับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อสูงอย่างที่เราเห็นในช่วงนี้เสมอไปครับ การถือหุ้นดีมีคุณภาพ และมีปันผล จึงเป็นทางเลือกที่น่าจะดีกว่าครับ
สิ่งที่ผมแปลกใจคือ ทำไมคนไทยส่วนใหญ่จึงมีความรู้เรื่องการลงทุน การบริหารเงินออม โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นน้อยมาก แม้ว่านักศึกษาที่จบมาจากสาขา finance ก็ไม่มีความรู้ทางการลงทุนเท่าที่ควรนัก ซึ่งไม่ต้องหวังอะไรกับนักศึกษาที่จบจากสาขาอื่นเลย แสดงว่าประเทศไทยยังล้มเหลวในการระบบการศึกษาพอสมควรครับ
ความรู้เรื่องการลงทุน จะเป็นความรู้ที่มีค่าขึ้นเรื่อยๆ ครับ หากเราไม่อยากจนลงปีละ 4% หรือซื้อหุ้นที่ p/e 100 เท่าครับ
การลงทุนก็เปรียบเสมือนเรือที่แล่นในทะเลอาจจะเสี่ยงที่จะจมลงจากคลื่นลมพายุ การฝากเงินอย่างเดียวก็เหมือนเรือที่จอดอยู่บนฝั่งแม้จะไม่จมจากพายุ แต่วันหนึ่งก็จะถูกสนิมกัดกร่อนจนผุ ซึ่งเงินเฟ้อก็เหมือนสนิมที่คอยกัดกินเรืออยู่ตลอดเวลาครับ
ยิ่งตอนนี้มีคลี่นสึนามิแล้วด้วย เรือที่จอดอยู่ริมฝั่งอาจจะพังง่ายๆ ได้ทีเดียวครับ : )