เงินไม่พอใช้หรือเปล่าครับ ถึงต้องเร่งเก็บจัง "ภาษี"
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
เงินไม่พอใช้หรือเปล่าครับ ถึงต้องเร่งเก็บจัง "ภาษี"
โพสต์ที่ 1
http://www.matichon.co.th/prachachart/p ... 2005/08/15
บี้"อาชีพพิเศษ"จ่ายภาษีทุกครึ่งปี "ดาราพิธีกร-ทนาย-นายหน้า"อ่วม
กรมสรรพากรยุคไฮเทคใช้ระบบไอทีดูดข้อมูลฐานภาษีไล่บี้ภาษีดารา พิธีกร ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ มั่นใจฐานข้อมูลพร้อมรีดภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย คาดปิดหีบงบฯปี"48 ทะลุเป้ากว่า 75,000 ล้านบาท ส่วนงบฯปี"49 วางเป้าหมายเฉพาะสรรพากรถอนขนห่านอีก 1 ล้านล้านบาท อธิบดียันไม่น่าห่วงเครื่องมือ-คนพร้อม เล็งเจาะกลุ่มภาษีจากโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ โครงการสร้างบ้านเลียบรถไฟฟ้า ภาษีจากดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝากที่ปรับตัวสูงขึ้น และบริษัทขนาดใหญ่ที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น อาทิ เบียร์ช้าง-ทศทฯ
นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงกรณีที่กรมสรรพากรได้ออกหนังสือถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระให้มายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแรกภายในเดือนกันยายนนี้ว่า ในเรื่องนี้กรมสรรพากรทำมานานแล้ว โดยผู้ที่มีรายได้จากอาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ผู้รับเหมาก่อสร้าง นักบัญชี นักแสดง พิธีกร ทนายความ และผู้ที่มีรายได้จากค่าเช่าเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะต้องมายื่นเสียภาษีกับกรมสรรพากรในช่วงกลางปีหรือภายในเดือนกันยายนทุกปี เพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้กับผู้เสียภาษี แทนที่จะไปยื่นเสียภาษีครั้งเดียวในในช่วงสิ้นปีต้องชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ทางกรมสรรพากรได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีเงินได้เหล่านี้มาเสียภาษีครึ่งหนึ่งก่อน จากนั้นถึงจะไปยื่นเสียภาษีเงินได้ประจำปีอีกครั้งหนึ่ง เงินได้ที่เคยเสียภาษีแล้วจะถูกหักออกไป
ส่วนในกรณีที่มีผู้ประกอบวิชาชีพอิสระบางรายที่ไม่เคยถูกกรมสรรพากรเรียกให้เข้ามาเสียภาษีเลย หรือถูกเชิญให้เข้ามาเสียภาษีในบางปีนั้น ต่อไปนี้คงจะต้องมาเสียทุกปีเมื่อมีรายได้ตามมาตรา 40 (5-8 ) เกิดขึ้น (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ) ทั้งนี้เป็นผลมาจากการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดเก็บภาษี โดยการนำข้อมูลจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัท ห้างร้าน หักจากผู้ประกอบวิชาชีพนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือนมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการเรียกเก็บภาษีผู้ประกอบวิชาชีพอิสระได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ค่าใช้จ่ายส่วนตัวหักลดหย่อนได้
ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมสรรพากรกล่าวว่า ผู้เสียภาษีที่อยู่ในข่ายที่จะต้องเข้ามายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้เสียภาษี ทางกรมสรรพากรยังได้กำหนดให้ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระสามารถนำรายได้มาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท เหมือนผู้เสียภาษีปกติทั่วไป แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ ผู้เสียภาษียังสามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้อีกขั้นตอนหนึ่งก่อนที่คำนวณออกมาเป็นรายได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า
ในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่จะนำมาหักภาษีนั้น ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้แตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ดารา นักร้อง นักแสดง พิธีกร หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 600,000 บาท ซึ่งแตกต่างจากผู้เสียภาษีทั่วไปที่หักค่าใช้จ่ายได้แค่ 40% ของรายได้ และหักได้ไม่เกิน 60,000 บาท เนื่องจากอาชีพเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายสูง ส่วนผู้ที่มีรายได้จากค่าเช่าอาคารหักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของรายได้ แต่ถ้าเป็นรายได้จากค่าเช่าที่ดินที่ใช้เพื่อการเกษตรหักค่าใช้จ่ายได้ 20% ของรายได้ รายได้จากค่าเช่าที่ดินที่ไม่ได้ใช้ภาคการเกษตรหักค่าใช้จ่ายได้แค่ 15% ของรายได้ รายได้จากการเก็บค่าเช่ารถยนต์หักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของรายได้ แพทย์ ทันตแพทย์ หักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของรายได้ เป็นต้น สำหรับรายได้ที่เกิดจากเงินรางวัลจากการไปเล่นเกมโชว์จะนำมาหักค่าใช้จ่ายไม่ได้ จะต้องแยกคำนวณออกต่างหาก
มั่นใจรีดได้กว่า 1 หมื่นล้าน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า การเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากลางปีนี้คาดว่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 11,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 10% นอกจากนี้ภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ กรมสรรพากรคาดว่าจะมีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลเข้ามาอีกไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท และเมื่อรวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มและรายได้อื่นๆ แล้ว ในปีงบประมาณ 2548 กรมสรรพากรคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ปีนี้ไม่ต่ำกว่า 890,000 ล้านบาทแน่นอน โดยจะมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 365,400 ล้านบาท ภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 302,000 ล้านบาท ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 152,000 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ อีก 70,600 ล้านบาท
ส่วนการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2549 ในวงเงิน 1,009,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2548 เพียง 13.37% ทางกรมสรรพากรมั่นใจว่าจะเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย แม้ภาวะเศรษฐกิจในปี 2548 จะชะลอตัว แต่ภาวะเศรษฐกิจยังมีการขยายตัวอยู่ และจากการที่เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรทำงานกันอย่างหนักในการออกสำรวจและติดตามธุรกิจนอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบภาษีและมีการนำระบบไอทีมาใช้ในการประมวลผลข้อมูล ทั้งข้อมูลภายในกรมสรรพากรที่ได้มาจากผู้เสียภาษีกรอกลงในแบบฟอร์มการยื่นภาษีและข้อมูลจากภายนอกกรมสรรพากร ได้ส่งผลทำให้ฐานการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรขยายตัวขึ้นไปมาก จากปีงบประมาณ 2547-2548 การจัดเก็บของรายได้กรมสรรพากรมีสัดส่วนประมาณ 10.6% และ 12.4% ของจีดีพีตามลำดับ และในปี 2549 คาดว่าไม่ต่ำกว่า 12.8% ของจีดีพี
เล็งกลุ่มบี้ภาษีปีหน้า
โดยรายได้ที่สำคัญในปีหน้าของกรมสรรพากรจะมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการบริโภคสินค้าทั้งภายในประเทศและสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น น้ำมัน เหล็ก ปิโตรเคมี เครื่องจักร วัตถุดิบที่จะนำเข้ามาใช้ในการลงทุนผลิตสินค้าส่งออกและลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (MEGA PROJECT) วงเงินลงทุนปีหน้าประมาณ 300,000 ล้านบาท จะทำให้กรมสรรพากรมีรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มาจากการงานรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งในขณะนี้เริ่มมีการลงทุนก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรบริเวณเลียบเส้นทางรถไฟฟ้าเกิดขึ้นมากมาย ทั้งๆ ที่โครงการ เมกะโปรเจ็กต์ยังไม่ได้เกิดขึ้น โดยเฉพาะในย่านบางบัวทอง และจากแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นปีหน้าที่อยู่ในทิศทางขาขึ้นนั้น หากธนาคารพาณิชย์มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นจะทำให้กรมสรรพากรมีรายได้จากภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เก็บจากผู้ฝากเงินได้เพิ่มขึ้น ส่วนในด้านของสินเชื่อ หากสถาบันการเงินมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจะทำให้กรมสรรพากรมีรายได้จากภาษีธุรกิจเฉพาะที่เก็บจากสถาบันการเงินได้เพิ่มขึ้น ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลแหล่งภาษีที่สำคัญยังคงมาจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งในปีหน้าจะมีบริษัทขนาดใหญ่ๆ เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯหลายบริษัท อาทิ บริษัท ทศท จำกัด บริษัท กฟผ. จำกัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด เป็นต้น จะทำให้บริษัทเหล่านี้มีระบบบัญชีที่มีมาตรฐานและเสียภาษีได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งได้รับหนังสือจากกรมสรรพากรให้ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี 2548 ได้กล่าวว่า ปกติทุกปีจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาช่วงสิ้นปี หรือ ภ.ง.ด.90 อยู่แล้ว และปกติในปีก่อนๆ ก็มีรายได้จากการเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์และวิทยุเป็นประจำสม่ำเสมอ แต่กรมสรรพากรไม่เคยมีหนังสือให้เสียภาษีครึ่งปีเลย จึงรู้สึกแปลกใจจึงโทรศัพท์ไปสอบถามเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่า หมายความอย่างไร ใครมีหน้าที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.94 บ้าง และทำไมปีก่อนๆ ไม่เห็นได้ยื่นเลยทั้งที่มีราย ได้มากกว่าปีนี้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรแจ้ง ว่า ปีนี้กรมสรรพากรจัดเก็บข้อมูลภาษีรายได้อย่างละเอียด และผู้มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปีจะเป็น กลุ่มผู้มีรายได้อิสระ กลุ่มอาชีพเหล่านี้จะเป็นผู้มี รายได้สูง ฉะนั้นหากยื่นภาษีสิ้นปีครั้งเดียวจะต้องแบกภาระหนักในการจ่ายภาษี จึงต้องแบ่งให้มาจ่ายภาษีครึ่งปีด้วย
บี้"อาชีพพิเศษ"จ่ายภาษีทุกครึ่งปี "ดาราพิธีกร-ทนาย-นายหน้า"อ่วม
กรมสรรพากรยุคไฮเทคใช้ระบบไอทีดูดข้อมูลฐานภาษีไล่บี้ภาษีดารา พิธีกร ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ มั่นใจฐานข้อมูลพร้อมรีดภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย คาดปิดหีบงบฯปี"48 ทะลุเป้ากว่า 75,000 ล้านบาท ส่วนงบฯปี"49 วางเป้าหมายเฉพาะสรรพากรถอนขนห่านอีก 1 ล้านล้านบาท อธิบดียันไม่น่าห่วงเครื่องมือ-คนพร้อม เล็งเจาะกลุ่มภาษีจากโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ โครงการสร้างบ้านเลียบรถไฟฟ้า ภาษีจากดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝากที่ปรับตัวสูงขึ้น และบริษัทขนาดใหญ่ที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น อาทิ เบียร์ช้าง-ทศทฯ
นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงกรณีที่กรมสรรพากรได้ออกหนังสือถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระให้มายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีแรกภายในเดือนกันยายนนี้ว่า ในเรื่องนี้กรมสรรพากรทำมานานแล้ว โดยผู้ที่มีรายได้จากอาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ผู้รับเหมาก่อสร้าง นักบัญชี นักแสดง พิธีกร ทนายความ และผู้ที่มีรายได้จากค่าเช่าเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะต้องมายื่นเสียภาษีกับกรมสรรพากรในช่วงกลางปีหรือภายในเดือนกันยายนทุกปี เพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้กับผู้เสียภาษี แทนที่จะไปยื่นเสียภาษีครั้งเดียวในในช่วงสิ้นปีต้องชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ทางกรมสรรพากรได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีเงินได้เหล่านี้มาเสียภาษีครึ่งหนึ่งก่อน จากนั้นถึงจะไปยื่นเสียภาษีเงินได้ประจำปีอีกครั้งหนึ่ง เงินได้ที่เคยเสียภาษีแล้วจะถูกหักออกไป
ส่วนในกรณีที่มีผู้ประกอบวิชาชีพอิสระบางรายที่ไม่เคยถูกกรมสรรพากรเรียกให้เข้ามาเสียภาษีเลย หรือถูกเชิญให้เข้ามาเสียภาษีในบางปีนั้น ต่อไปนี้คงจะต้องมาเสียทุกปีเมื่อมีรายได้ตามมาตรา 40 (5-8 ) เกิดขึ้น (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ) ทั้งนี้เป็นผลมาจากการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดเก็บภาษี โดยการนำข้อมูลจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัท ห้างร้าน หักจากผู้ประกอบวิชาชีพนำส่งกรมสรรพากรทุกเดือนมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการเรียกเก็บภาษีผู้ประกอบวิชาชีพอิสระได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ค่าใช้จ่ายส่วนตัวหักลดหย่อนได้
ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมสรรพากรกล่าวว่า ผู้เสียภาษีที่อยู่ในข่ายที่จะต้องเข้ามายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้เสียภาษี ทางกรมสรรพากรยังได้กำหนดให้ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระสามารถนำรายได้มาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท เหมือนผู้เสียภาษีปกติทั่วไป แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ ผู้เสียภาษียังสามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้อีกขั้นตอนหนึ่งก่อนที่คำนวณออกมาเป็นรายได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า
ในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่จะนำมาหักภาษีนั้น ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้แตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ดารา นักร้อง นักแสดง พิธีกร หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 600,000 บาท ซึ่งแตกต่างจากผู้เสียภาษีทั่วไปที่หักค่าใช้จ่ายได้แค่ 40% ของรายได้ และหักได้ไม่เกิน 60,000 บาท เนื่องจากอาชีพเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายสูง ส่วนผู้ที่มีรายได้จากค่าเช่าอาคารหักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของรายได้ แต่ถ้าเป็นรายได้จากค่าเช่าที่ดินที่ใช้เพื่อการเกษตรหักค่าใช้จ่ายได้ 20% ของรายได้ รายได้จากค่าเช่าที่ดินที่ไม่ได้ใช้ภาคการเกษตรหักค่าใช้จ่ายได้แค่ 15% ของรายได้ รายได้จากการเก็บค่าเช่ารถยนต์หักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของรายได้ แพทย์ ทันตแพทย์ หักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของรายได้ เป็นต้น สำหรับรายได้ที่เกิดจากเงินรางวัลจากการไปเล่นเกมโชว์จะนำมาหักค่าใช้จ่ายไม่ได้ จะต้องแยกคำนวณออกต่างหาก
มั่นใจรีดได้กว่า 1 หมื่นล้าน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า การเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากลางปีนี้คาดว่าจะได้ไม่ต่ำกว่า 11,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 10% นอกจากนี้ภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ กรมสรรพากรคาดว่าจะมีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลเข้ามาอีกไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท และเมื่อรวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มและรายได้อื่นๆ แล้ว ในปีงบประมาณ 2548 กรมสรรพากรคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ปีนี้ไม่ต่ำกว่า 890,000 ล้านบาทแน่นอน โดยจะมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 365,400 ล้านบาท ภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 302,000 ล้านบาท ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 152,000 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ อีก 70,600 ล้านบาท
ส่วนการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2549 ในวงเงิน 1,009,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2548 เพียง 13.37% ทางกรมสรรพากรมั่นใจว่าจะเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย แม้ภาวะเศรษฐกิจในปี 2548 จะชะลอตัว แต่ภาวะเศรษฐกิจยังมีการขยายตัวอยู่ และจากการที่เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรทำงานกันอย่างหนักในการออกสำรวจและติดตามธุรกิจนอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบภาษีและมีการนำระบบไอทีมาใช้ในการประมวลผลข้อมูล ทั้งข้อมูลภายในกรมสรรพากรที่ได้มาจากผู้เสียภาษีกรอกลงในแบบฟอร์มการยื่นภาษีและข้อมูลจากภายนอกกรมสรรพากร ได้ส่งผลทำให้ฐานการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรขยายตัวขึ้นไปมาก จากปีงบประมาณ 2547-2548 การจัดเก็บของรายได้กรมสรรพากรมีสัดส่วนประมาณ 10.6% และ 12.4% ของจีดีพีตามลำดับ และในปี 2549 คาดว่าไม่ต่ำกว่า 12.8% ของจีดีพี
เล็งกลุ่มบี้ภาษีปีหน้า
โดยรายได้ที่สำคัญในปีหน้าของกรมสรรพากรจะมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการบริโภคสินค้าทั้งภายในประเทศและสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น น้ำมัน เหล็ก ปิโตรเคมี เครื่องจักร วัตถุดิบที่จะนำเข้ามาใช้ในการลงทุนผลิตสินค้าส่งออกและลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (MEGA PROJECT) วงเงินลงทุนปีหน้าประมาณ 300,000 ล้านบาท จะทำให้กรมสรรพากรมีรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มาจากการงานรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งในขณะนี้เริ่มมีการลงทุนก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรบริเวณเลียบเส้นทางรถไฟฟ้าเกิดขึ้นมากมาย ทั้งๆ ที่โครงการ เมกะโปรเจ็กต์ยังไม่ได้เกิดขึ้น โดยเฉพาะในย่านบางบัวทอง และจากแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นปีหน้าที่อยู่ในทิศทางขาขึ้นนั้น หากธนาคารพาณิชย์มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นจะทำให้กรมสรรพากรมีรายได้จากภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เก็บจากผู้ฝากเงินได้เพิ่มขึ้น ส่วนในด้านของสินเชื่อ หากสถาบันการเงินมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจะทำให้กรมสรรพากรมีรายได้จากภาษีธุรกิจเฉพาะที่เก็บจากสถาบันการเงินได้เพิ่มขึ้น ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลแหล่งภาษีที่สำคัญยังคงมาจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งในปีหน้าจะมีบริษัทขนาดใหญ่ๆ เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯหลายบริษัท อาทิ บริษัท ทศท จำกัด บริษัท กฟผ. จำกัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด เป็นต้น จะทำให้บริษัทเหล่านี้มีระบบบัญชีที่มีมาตรฐานและเสียภาษีได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
แหล่งข่าวรายหนึ่งซึ่งได้รับหนังสือจากกรมสรรพากรให้ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี 2548 ได้กล่าวว่า ปกติทุกปีจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาช่วงสิ้นปี หรือ ภ.ง.ด.90 อยู่แล้ว และปกติในปีก่อนๆ ก็มีรายได้จากการเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์และวิทยุเป็นประจำสม่ำเสมอ แต่กรมสรรพากรไม่เคยมีหนังสือให้เสียภาษีครึ่งปีเลย จึงรู้สึกแปลกใจจึงโทรศัพท์ไปสอบถามเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่า หมายความอย่างไร ใครมีหน้าที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.94 บ้าง และทำไมปีก่อนๆ ไม่เห็นได้ยื่นเลยทั้งที่มีราย ได้มากกว่าปีนี้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรแจ้ง ว่า ปีนี้กรมสรรพากรจัดเก็บข้อมูลภาษีรายได้อย่างละเอียด และผู้มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปีจะเป็น กลุ่มผู้มีรายได้อิสระ กลุ่มอาชีพเหล่านี้จะเป็นผู้มี รายได้สูง ฉะนั้นหากยื่นภาษีสิ้นปีครั้งเดียวจะต้องแบกภาระหนักในการจ่ายภาษี จึงต้องแบ่งให้มาจ่ายภาษีครึ่งปีด้วย
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
เงินไม่พอใช้หรือเปล่าครับ ถึงต้องเร่งเก็บจัง "ภาษี"
โพสต์ที่ 5
ข้าราชการก็โดนบังคับจ่ายภาษีทุกเดือนนะ เริ่มมาได้ปีเศษๆแล้ว ก่อนหน้านั้นให้สมัครใจที่จะจ่ายเองทุกเดือน
ก็ปรากฏว่าดีขึ้นเยอะ เมื่อก่อนใช้เพลินพอถึงสิ้นปีแทบอาเจียน เดี๋ยวนี้จ่ายไปเรื่อยๆสิ้นปีไม่หนักเท่าไหร่ คิดอย่างนี้สบายใจดี
แต่ก็อย่างว่าแหละ เราอยากให้หน่วยงานราชการทุกแห่งทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ยกเว้นอยู่แห่งหนึ่งได้แก่ กรมสรรพากร
ก็ปรากฏว่าดีขึ้นเยอะ เมื่อก่อนใช้เพลินพอถึงสิ้นปีแทบอาเจียน เดี๋ยวนี้จ่ายไปเรื่อยๆสิ้นปีไม่หนักเท่าไหร่ คิดอย่างนี้สบายใจดี
แต่ก็อย่างว่าแหละ เราอยากให้หน่วยงานราชการทุกแห่งทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ยกเว้นอยู่แห่งหนึ่งได้แก่ กรมสรรพากร
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
เงินไม่พอใช้หรือเปล่าครับ ถึงต้องเร่งเก็บจัง "ภาษี"
โพสต์ที่ 7
เฮ้อ ตกลงมันดีหรือไม่ดี เนี่ย ภาษีเก็บไปก็อย่าโกงกินละครับท่านไม่งั้น คนแช่งทั้งประเทศ คงไม่ได้อยู่ดีนักหรอก อย่างน้อยก็โกงกินตายไปตกนรกนะครับ(อเวจีมหานรกแบบที่ท่านชูวิทย์ว่า 55)