อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
พลพล คนกันเอง
Verified User
โพสต์: 109
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ยุคของเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันกำลังถึงกาลอวสานลงแล้วในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน


โลกที่เคยชินกับการบริโภคน้ำมัน และใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองอำนาจทางการเมืองกำลังจะหมดไป เศรษฐกิจใหม่แห่งยุคอนาคตกำลังจะเริ่มขึ้น ปองพล สารสมัคร พาไปรู้จักกับแหล่งพลังงานใหม่ที่จ่ายมาตามท่อประปา

วันนี้คุณเดินเข้าไปในโชว์รูมรถยนต์ แน่นอนว่าผู้ขายจะไม่บอกข้อมูลสำคัญอย่างหนึ่งให้คุณทราบ ข้อมูลสำคัญที่ว่านี้คือ อีก 40 ปี น้ำมันจะหมดเกลี้ยงจากโลก ถึงเวลานั้นยานพาหนะทุกชนิดจะไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงอีกแล้ว

แม้ว่าทุกวันนี้ผู้ใช้รถยนต์ต่างหวาดผวากับข่าวประกาศขึ้นราคาน้ำมันคราวละ 40 สตางค์ แต่คงเทียบไม่ได้เลยกับอนาคตหลังยุคที่น้ำมันเริ่มนับถอยหลังนับตั้งแต่ถูกขุดขึ้นมาใช้เป็นเวลาหลายสิบปี

รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร ผู้อำนวยการบัณฑิตร่วมต้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้ข้อมูลที่น่าตกใจว่า หลังจากที่เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

"ปัจจุบันการใช้น้ำมันของโลกอยู่ที่ 83 ล้านบาร์เรลต่อวัน มีการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญแล้วว่า หากยังคงมีการใช้อัตรานี้ โลกจะอยู่ได้อีก 40 ปี ส่วนก๊าซธรรมชาติคาดว่าจะมีพอใช้อีก 60 ปี ถ่านหินยังใช้ได้อีกกว่า 290 ปี" รศ.ดร.บัณฑิต กล่าว

ทุกวันนี้โลกเราใช้พลังงานจากฟอสซิล ร้อยละ 80 โดยแบ่งเป็นน้ำมันร้อยละ 35 ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 22 ถ่านหินร้อยละ 23 ที่เหลือเป็นพลังงานนิวเคลียร์ร้อยละ 7 และพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 13 ส่วนไทยปัจจุบันมีการใช้พลังงานน้ำมันร้อยละ 47.5 ก๊าซ 29.5 ถ่านหิน 9.8 นอกจากนั้น เป็นพลังงานทางเลือก

เมื่อสถานการณ์พลังงานโลกเข้าขั้นวิกฤติอย่างชนิดที่มองเห็นได้ในอนาคตอันใกล้ สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบคือ พลังงานในอนาคตรูปแบบไหนที่จะมาทดแทนพลังงานฟอสซิลได้ และแน่นอนว่า ต้องไม่เป็นพลังงานที่ทำให้ประเทศหรือกลุ่มประเทศใดได้เปรียบในด้านของการผูกขาดพลังงาน

รุ่งอรุณของไฮโดรเจน

ในสายตาของนักวิทยาศาสตร์ แหล่งพลังงานที่ถูกทาบทามมากที่สุด และมีศักยภาพที่สุดในระยะยาว คือพลังงานไฮโดรเจน

หลายทศวรรษแห่งการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ได้ก่อปัญหามลพิษมากมาย อันเนื่องมาจากผลของการเผาพลาญเชื้อเพลิง อาทิ ก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบที่มีต่อภาวะเรือนกระจก

ตรงกันข้าม การเผาผลาญไฮโดรเจน กลับไม่ก่อผลกระทบเหมือนกับเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ปัญหาคือ แล้วเราจะเอาก๊าซไฮโดรเจนมาจากที่ไหน และจะเก็บบรรจุมันอย่างไร หากตอบคำถามเหล่านี้ได้ พลังงานอนาคตรูปแบบใหม่จะเข้ามาแทนที่ฟอสซิลโดยทันที

อย่างที่รู้กันทั่วไปว่า น้ำ ประกอบด้วยไฮโดรเจนและออกซิเจน ดังนั้น คำตอบของแหล่งที่มาของไฮโดรเจนจึงอยู่ในน้ำ นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำได้โดยการป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับน้ำ เพื่อแยกโมเลกุลของน้ำให้กลายเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนบริสุทธิ์

ข้อดีของเทคนิคนี้คือ เราสามารถผลิตไฮโดรเจนได้ทุกที่ที่มีน้ำ ยกตัวอย่าง มนุษย์อาจนำน้ำจากก๊อกมาเติมเข้าไปในถังแล้วเดินเครื่องแยกก๊าซ เพื่อให้ได้ไฮโดรเจนไว้ใช้งานเติมเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์

อีกวิธีการหนึ่งคือ การเปลี่ยนรูปจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หมายถึงผลิตไฮโดรเจนจากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ที่มีไฮโดรคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นโมเลกุลของไฮโดรเจน และคาร์บอน แต่วิธีนี้อาจฟังดูประหลาดที่ยังต้องพึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ เหมือนกับผลิตรถไฟฟ้าที่ต้องชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่โดยการเสียบปลั๊กไฟบ้าน ซึ่งรู้อยู่ว่าไฟฟ้าผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

"ในสมัยก่อน ถ้าเราจะแยกน้ำให้ได้ออกซิเจนและไฮโดรเจนก็จะป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไป แต่ปัจจุบันเราถ้าเราป้อนไฮโดรเจนและออกซิเจนเข้าไปคนละด้านแล้วทำปฏิกิริยาทางเคมีก็จะได้กระแสไฟฟ้าออกมาสามารถนำมาใช้งานได้กับอุปกรณ์ต่าง" รศ.ดร.อภิชัย เทอดเทียนวงษ์ นักวิจัยด้านเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) โครงการทักษะวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) อธิบายถึงการกำเนิดพลังงานแห่งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล

เซลล์เชื้อเพลิง คือ เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าโดยมีการทำงานคล้ายกับแบตเตอรี่ แต่แตกต่างกันตรงที่ เซลล์เชื้อเพลิงไม่จำเป็นต้องหยุดเพื่อทำการชาร์จไฟ ทั้งนี้เซลล์เชื้อเพลิงสามารถทำงานอย่างต่อเนื่องตราบใดที่ยังคงมีการป้อนเชื้อเพลิงและก๊าชออกซิแดนท์ (oxidant) เข้าไปตลอด โดยเชื้อเพลิงที่ป้อนเข้ามีตั้งแต่ ก๊าชไฮโดรเจน เมทานอล และเอทานอล ในขณะที่ก๊าชออกซิแดนท์ คือ ก๊าชออกซิเจน หรือ อากาศเป็นหลัก

"แบตเตอรี่กับเซลล์เชื้อเพลิงคล้ายกันตรงที่ทำหน้าจ่ายกระแสไฟฟ้า แต่แบตเตอรี่ต้องการการชาร์จและเสียเวลา แต่สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงตราบใดที่ป้อนไฮโดรเจนและออกซิเจนเข้าไปในตัวเซลล์มันก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าตลอดเวลา"

ปัจจุบันเซลล์เชื้อเพลิงได้รับความสนใจมากจากนักวิจัยและบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งบริษัทผลิตรถยนต์ต่างๆ เนื่องจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและขาดแคลนพลังงาน รวมทั้งวิกฤติราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นทั่วทุกอนูของชุมชนโลก ทำให้หลายๆ ฝ่ายเริ่มหันมาสนใจแหล่งพลังงานแห่งใหม่นี้ รศ.ดร.อภิชัย มองว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าเซลล์เชื้อเพลิงจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น นอกเหนือจากพลังงานที่ได้จากซากฟอสซิลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

"เมื่อ 10 ปีมาแล้ว เราใช้พลังงานจากถ่านหินกันเยอะ เมื่อพบว่าถ่านหินเป็นพิษ ก็ถึงยุคน้ำมันแพงและโลกก็เข้าสู่ยุคนี้พอสมควร ซึ่งมีการคาดคะเนว่าอีก 40 - 50 ปีข้างหน้าน้ำมันจะหมด พอน้ำมันหมดคนก็เริ่มมองหาแหล่งพลังงานใหม่ซึ่งได้แก่ก๊าซธรรมชาติ แต่ก็จะอยู่กับเราได้ไม่นานหรอก ต่อไปก็ต้องมองพลังงานหมุนเวียนมากเพิ่มขึ้น ตอนนี้รัฐบาลกำลังมองมากเรื่องพลังงานทดแทน และไฮโดรเจนก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของพลังงานทดแทน" ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเคมีไฟฟ้า กล่าว

เซลล์เชื้อเพลิงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เกิดขึ้นมานานเป็นเวลา 166 ปีแล้ว ย้อนไปเมื่อ พ.ศ.2382 ศ.คริสเตียน เฟรเดอริก เชอนบาย ได้รายงานปฏิกิริยาของเซลล์เชื้อเพลิงเป็นครั้งแรกโดยพบว่ามีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนและออกซิเจน โดยใช้กรดซัลฟูริกและลวดแพลตินัม

หนึ่งเดือนถัดมา เซอร์วิลเลียม โกรว์ฟ ได้รายงานถึงแบตเตอรี่ที่ใช้แพลตินัมและสังกะสี เมื่อใช้กรดซัลฟูริกและไนตริกเป็นอิเล็กโตรไลต์ ซึ่งถือเป็นเซลล์เชื้อเพลิงเครื่องแรกของโลก และหลังจากนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

ในกลางศตวรรษที่ 20 พบว่าประสิทธิภาพของเซลล์เชื้อเพลิงได้มาจากประสิทธิภาพทางเคมี โดยอาศัยหลักการทางเทอร์โมไดนามิกซึ่งไม่เกี่ยวกับวัฏจักรคาร์โนต์ที่เป็นตัวควบคุมประสิทธิภาพการทำงานในเครื่องกำเนิดพลังงานจากความร้อน อาทิ ระบบกังหันก๊าซ และเครื่องยนต์สันดาปภายใน เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาเคมีโดยตรง

แนวโน้มของการหันมาหาพลังงานรูปแบบใหม่จากไฮโดรเจน ได้รับความสนใจอย่างจริงจังจากห้องปฏิบัติการทดลองหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่น ที่ทุ่มงบประมาณวิจัยและพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่นี้อย่างเต็มที่ เนื่องจากญี่ปุ่นต้องน้ำเข้าน้ำมันเพื่อใช้ในประเทศเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

เริ่มตั้งแต่ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ ทั้งโตโยต้าและฮอนด้า ต่างพัฒนายานยนต์แห่งอนาคตที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนกันแล้ว แถมเดินหน้าทำตลาดรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงทั้งในและนอกประเทศ โดยล่าสุดฮอนด้านำร่องไปเจาะตลาดสหรัฐแล้ว ด้วยรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง รุ่น เอฟซีเอ็กซ์ ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากอเมริกันชนหลายราย ที่สำคัญในนครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ทางการได้ประกาศสนับสนุนเพิ่มจำนวนสถานีให้บริการไฮโดรเจนแล้วด้วย

ใช่ว่าจะมีแต่รถยนต์ค่ายญี่ปุ่นเท่านั้น ที่ทำตลาดเซลล์เชื้อเพลิง เพราะบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ก็มีต้นแบบรถเซลล์เชื้อเพลิงออกมาให้เห็นกันแล้ว แม้จะยังไม่มีวางจำหน่ายในขณะนี้ก็ตาม

แน่นอนว่าเมื่อใช้เทคโนโลยีพลังงานใหม่เช่นนี้ ราคาตัวรถก็ต้องแพงเป็นธรรมดา ดังนั้นหากคิดจะครอบครองยานยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไว้กับตัว อาจต้องหันมาพิจารณา 2 ล้อ แทน 4 ล้อ เพราะราคาถูกกว่ากันเยอะ

รถจักรยานยนต์อีเอ็นวี (Emissions Neutral Vehicle) ของบริษัท อินเทลลิเจนท์ เอ็นเนอร์จี ในสหรัฐ มีแผนทำตลาดในต้นปี 2549 จุดเด่นอยู่ที่ความเงียบของเครื่องยนต์ และไม่มีการพ่นไอเสียออกมาให้ระคายเคือง หรืออยากได้ราคาถูกกว่านี้อีก ก็คงต้องรอสกูตเตอร์ที่ใช้แบตเตอรี่เซลล์เชื้อเพลิงของฮอนด้า ตอนนี้ยังไม่มีวางจำหน่าย แต่คาดว่าในเร็วๆ นี้ จะมีให้ซื้อหากันแน่

จริงๆ แล้ว เซลล์เชื้อเพลิงไม่ได้จำกัดเฉพาะยานพาหนะเท่านั้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากรูปแบบก็สามารถใช้ได้ ซึ่งบริษัท เอ็นทีที โดโคโม ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการมือถือในญี่ปุ่น ก็เล็งเห็นศักยภาพของแหล่งพลังงานดังกล่าว จึงได้เปิดตัวต้นแบบแบตเตอรี่เซลล์เชื้อเพลิงที่สามารถเติมเมทานอลได้โดยตรง ออกแบบมาเพื่อใช้กับโทรศัพท์มือถือ 3 จี รุ่นใหม่ของบริษัท ฟูจิตสึ โดยเฉพาะ

ขณะที่บริษัท เคดีดีไอ ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่อีกแห่ง ก็ไม่ยอมแพ้ เผยโฉมเครื่องแบตเตอรี่มือถือเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้เมทานอลเป็นเชื้อเพลิงเช่นกัน เห็นบอกว่าใช้เมทานอลเพียง 10 ซีซี ก็สามารถคุยได้นานต่อเนื่อง 8 ชั่วโมงแล้ว แต่แบตเตอรี่ดังกล่าว เคดีดีไอไม่ได้พัฒนาเอง เป็นผลงานของบริษัท ฮิตาชิ ซึ่งกำลังพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายชนิด อาทิ พีดีเอ และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ซึ่งใช้เมทานอล 250 ซีซี สามารถใช้งานได้นาน 10 ชั่วโมง

เพียงแต่ข้อด้อยของแบตเตอรี่เซลล์เชื้อเพลิงในขณะนี้ ติดอยู่ที่ยังมีขนาดใหญ่เทอะทะอยู่ ด้วยเหตุนี้ บริษัท โตชิบาจึงได้ตัดหน้าเปิดตัวแบตเตอรี่เซลล์เชื้อเพลิงที่อ้างว่ามีขนาดเล็กที่สุดในโลก ใช้พลังงานจากเมทานอลโดยตรงเช่นกัน เหมาะใช้กับเครื่องเล่นเพลงดิจิทัล มือถือ กล้องดิจิทัล และพีดีเอ ใช้เมทานอลเพียง 2 ซีซี ก็จ่ายพลังงานได้มากถึง 100 มิลลิวัตต์ หรือเทียบเท่ากับการใช้งานได้นานถึง 20 ชั่วโมง


ไทยร่วมขบวนเศรษฐกิจยุคไฮโดรเจน

สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงที่ทาง มจธ.กำลังดำเนินการวิจัยนั้นเป็นชนิดที่ใช้โพลิเมอร์เมมเบรนเป็นอิเล็กโตรไลต์ (PMFC) ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเป็นเชื้อเพลิงให้กับรถยนต์ได้ ขณะนี้ทางคณะวิจัยต่างเร่งศึกษาและพัฒนาในส่วนที่เรียกว่า เมมเบรน ซึ่งทำหน้าที่ส่งผ่านอิออนให้ปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าเกิดครบวงจร โดยในส่วนนี้มีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่สามารถผลิตได้และต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงมาก รศ.ดร.อภิชัย เชื่อว่าหากคณะวิจัยของมจธ. สามารถผลิตส่วนนี้ได้จะทำให้เซลล์เชื้อเพลิงมีราคถูกลงมาก

"เมมเบรนที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้เป็นประเภทที่ใช้สารแนฟฟริออน ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับแทปลอนที่สามารถนำโปรตอนได้ แต่มีราคาแพงมาก ทำอย่างไรถึงจะสามารถผลิตเมมเบรนด้วยตัวของเราเอง กับสามารถตกแต่งเซลล์ด้วยตัวของเราเองแล้วทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตเป็นเชิงพาณิชย์ได้ มันก็เหมือนกับปัญหาที่ว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน แต่หากมันเกิดพร้อมกันก็จะช่วยขับเคลื่อนไปด้วยกัน ทำให้เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นไปด้วย ถ้าจะมานั่งรอให้เทคโนโลยีพัฒนาก่อนแล้วค่อยมาดันมันก็ไม่ได้อีก เพราะต้องการเงินลงทุนวิจัยเยอะเช่นกัน" รศ.ดร.อภิชัยกล่าว

นอกจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่ดำเนินงานวิจัยด้านเซลล์เชื้อเพลิงแล้ว ทางด้านศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ยังได้พัฒนางานวิจัยด้านนี้เช่นเดียวกัน โดย ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล นักวิจัยโครงการพัฒนาเซลล์พลังงานแบบออกไซด์ของแข็ง บอกว่า ทางเอ็มเทคได้เริ่มวิจัยและพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงชนิดของแข็งมาเป็นระยะเวลา 4 ปีแล้ว โดยความคิดริเริ่มของ ดร.ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ซึ่งเน้นการใช้เอทานอลและลดการใช้ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ โดยโครงการนี้เป็นการใช้เซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์ของแข็ง

"เอ็มเทคเน้นงานวิจัยศึกษาส่วนประกอบทุกส่วน อะไรคืออะไร ใช้งานอย่างไร มีตัวแปรอะไรบ้างที่มีผลต่อการทำงานเริ่มตั้งแต่ตัวเซลล์ พัฒนาเป็นส่วนผสมที่ใช้เป็นขั้วของแต่ละส่วน ทั้งแอโนด แคโทด และอิเล็กโตรไลต์ ต้องใช้ส่วนผสมมากน้อยเท่าไหร่ ทำขนาดเท่าไหร่ถึงดีที่สุดสำหรับการทำงานทำให้รูปร่างแปลกๆ ได้ไหม ทำแบบบางได้ไหมหรือขนาดเล็กแบบไมโคร เราไม่เน้นให้ผลิตไฟฟ้าได้เยอะ" ดร.สุมิตรากล่าว

เธอกล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันยังไม่มีเจ้าตลาดในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีนี้ ทำให้เอ็มเทคเองมีช่องทางในการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในระดับตลาดได้ ซึ่งไม่ควรผลิตต่ำกว่ากิโลวัตต์ เนื่องจากต้องพิจารณาถึงการจัดการความร้อนโดยใช้อุณหภูมิสูงในการผลิต และต้องเอาความร้อนที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

กระนั้นก็ดี กว่าที่นักวิจัยจะสามารถสร้างเซลล์เชื้อเพลิงขึ้นมาได้เพียงหนึ่งเซลล์ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาทางเทคโนโลยีหรือเทคนิควิธีการ แต่กลับเป็นเรื่องของงบประมาณและการสนับสนุนงานวิจัย แม้กระทั่งการค้นหาข้อมูลซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายแต่สำหรับงานนี้ปอกกล้วยเข้าปากยังง่ายกว่าเยอะ

"ถามว่าพอใจไหมกับงานวิจัยตอนนี้ ตอบว่ายังไม่พอใจ ยังอยากพัฒนาต่อไปให้มันดีขึ้น ซึ่งยังต้องการการสนับสนุนทั้งประเทศต้องมองภาพรวมในเรื่องนี้ไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ บางอย่างที่ล่าช้า เช่น การค้นหาข้อมูลทางวิชาการข่าวสาร ถ้าอยู่ในต่างประเทศเราเสิร์ชปุ๊ปเรารู้เลยว่ามีบทความอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ อยากจะอ่านเพื่อเป็นพื้นฐานข้อมูลสำหรับการดีไซน์งานของเราต่อ ถ้าอยู่ที่โน้นเพียงคลิกเดียวทั้งเปเปอร์มาเลย แต่ของเราไม่ใช่ อาจจะต้องไปทำใบร้องขอไว้ อาจจะได้ 2 อาทิตย์ เป็นเดือน หรืออาจจะไม่ได้" เธอกล่าวด้วยใบหน้าขมวดคิ้ว

แม้เซลล์เชื้อเพลิงจะไม่ได้เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่บรรจุอยู่ในแผนงานของรัฐบาล แต่นักวิจัยจากหลายๆ สำนัก ต่างก็เชื่อว่าหากมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการสนับสนุนเงินงบประมาณอย่างจริงจัง ในอีกไม่ช้าเซลล์เชื้อเพลิงคงเป็นแหล่งพลังงานแห่งใหม่ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเริ่มตัดสินใจให้แน่นอนได้แล้วว่า จะใช้พลังงานจากแหล่งใดเป็นเชื้อเพลิงหลักในการขับดันประเทศ เพื่อการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีให้สามารถใช้งานได้ทันสถานการณ์

แต่ดูเหมือนว่าความฝันยังห่างไกลความเป็นจริงอยู่มาก ในประเด็นนี้ ดร.สุมิตรา กล่าวทิ้งท้ายว่า หากจะรอให้เทคโนโลยีสุกงอมเต็มที่และราคาแข่งขันได้พร้อมให้บริการก็คงอีกนานที่ให้เซลล์เชื้อเพลิงมารองรับการใช้พลังงาน
พลพล คนกันเอง
Verified User
โพสต์: 109
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 2

โพสต์

พลพล คนกันเอง
Verified User
โพสต์: 109
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถ้ารถใหญ่มันแพง    นี่เลย ...............

http://world.honda.com/news/2004/2040824_03.html
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 4

โพสต์

fuel cell โดนรื้อขึ้นมาทุกครั้งที่น้ำมันแพง

อยากรู้ว่า ถ้าอีก 3 ปีข้างหน้า ราคาน้ำมันดิบลดลงไปเหลือ $40
ยังจะพูดเรื่อง fuel cell กันอีกหรือเปล่า
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 5

โพสต์

มันจะเกิดหรือไม่เกิดผมว่ายังไงก็ต้องขึ้นกับ Trade off cost เหมือนอย่างถ้าจะเอาโซล่าเซลไปติดหลังคาบ้าน เมื่อคิดคำนวณค่าไฟที่ลดได้เป็นกำไรใช้เวลา 10 ปีในการคืนทุน มันคงต้องคิดว่า opportunity cost ของคุณอยู่เท่าไหร่ หรือเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นLPGก็ต้องมาคิดคำนวณ Spending Cost ที่ลดลง หักลบกับความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และมูลค่าของตัวรถที่ลดลง ผมเชื่อว่าทุกคนมีการ trade off ตลอดเวลา แต่อาจให้costในอัตราที่ไม่เท่ากันเท่านั้นเอง ดังนั้นการใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงจะเกิดเป็นผลในทางปฏิบัติ ก็คงต้องรอจนกว่าราคาพลังงานจากแหล่งอื่นมีต้นทุนที่สูงขึ้นจนถึงระดับที่มีความคุ้มค่าในการใช้ไฮโดรเจน เมื่อนั้นกลไกตลาดก็จะเข้ามาจัดการโดยตัวของมันเอง เหมือนเอธานอลที่สมัยก่อนถูกละเลย แต่ปัจจุบันก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในบ้านเราทั้งๆที่พูดมาตั้งหลายสิบปีแล้ว  :wink:
ksk
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อ่านบทความแล้วงงๆ เซลเชื้อเพลิงประเภทที่ใช้เอทานอลนี่ยังพอมองออกว่าจะเอาเอทานอลมาจากไหนได้ แต่เชื้อเพลิงประเภทที่ใช้ไฮโดรเจนนี่ได้ไฮโดรเจนมาจากไหนครับ เห็นพูดถึงแต่แยกน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งก็ยังหนีไม่พ้นน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซ :shock:
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เคยนิยายวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ  การทำพลังงานจากน้ำโดยใช้หลักการ
การระเบิดของ ระดับอนุภาค    เอว่าแต่ถ้าทำได้ เจ๋งน่าดูคิดดูอีกหน่อย
รถยนต์จะวิ่งน้ำ 1กระป๋อง
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 8

โพสต์

อ่านบทความแล้วงงๆ เซลเชื้อเพลิงประเภทที่ใช้เอทานอลนี่ยังพอมองออกว่าจะเอาเอทานอลมาจากไหนได้ แต่เชื้อเพลิงประเภทที่ใช้ไฮโดรเจนนี่ได้ไฮโดรเจนมาจากไหนครับ เห็นพูดถึงแต่แยกน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งก็ยังหนีไม่พ้นน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซ
นั่นซิ ใครเก่งเรื่องพลังงานช่วยอธิบายให้หน่อยครับ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 9

โพสต์

พลังไฟฟ้ามาจากหลายแหล่งเอาพลังงานหลายอย่างมาแปรรูปเช่นพลังน้ำตกหรือพลังงานนิวเคลียความร้อนใต้พิภพพลังงานน้ำมันฟอสซิลเป็นแค่ส่วนหนึ่งจำไม่ได้ว่าสัดส่วนเท่าไหร่คับวันสัมมนาทีเด็ดรวยหุ้นหมื่นล้านเปิดตำนานตีแตกของทีวีไอเชิญท่านวิทยากรจากกฟผ.มาให้ความรู้น่าจะมีคนจดๆเอาไว้ลองถามดูคับ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ก่อนอื่น รถที่ใช้ fuel cell ไม่เหมือน NGV นะครับ
NGV เป็น internal combustion คือสันดาปภายใน
เอาแก๊สไปผสมอ๊อกซิเจนแล้วจุดระเบิด เพื่อขับเคลื่อน
เครื่องยนต์

fuel cell คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าครับ โดยใช้แก๊สไฮโดรเจน
ไม่ใช่เอาแก๊สไฮโดรเจนไปจุดระเบิดนะครับ

เหมือน solar cell คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

หลักการของ fuel cell ก็ง่ายๆ คือมี ไฮโดรเจน อ๊อกซิเจน
เมื่อสองอย่างนี้รวมกัน ก็จะได้น้ำและไฟฟ้าออกมา

fuel cell มีห้าประเภท (เท่าที่รู้) ขึ้นอยู่กับวิธีการรวม
แต่อย่ารู้เลยครับว่ามันต่างกันไง (เพราะผมก็ไม่รู้ :lovl:)

ข้อดีของ fuel cell คือ เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก
สร้างมลภาวะน้อยหรือไม่สร้างเลย ไม่มีเสียงรบกวน
ให้พลังงานค่อนข้างมาก เหมาะสำหรับการติดตั้งในที่ชุมชน

เพราะเทียบกับเครื่องปั่นไฟจากน้ำมันแล้ว fuel cell เงียบกว่า
เบากว่า ไม่มีแก๊สพิษปล่อยออกมา (เช่น คาร์บอนไดอ๊อกไซด์)

ส่วนการเอา fuel cell มาใช้กับรถยนต์นั้น รถยนต์จะไปเติม
ไฮโดรเจนที่ปั๊มแก๊ส ส่วนอ๊อกซิเจนเอาจากอากาศภายนอก

เมื่อผ่านกระบวนการรวมกันเสร็จ ก็จะได้ไฟฟ้าไปขับเคลื่อน
มอเตอร์ เพื่อให้รถวิ่งอีกที

ของเสียที่ออกมาจากรถคือไอน้ำ
จากการรวมกันของไฮโดรเจนและอ๊อกซิเจน
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 11

โพสต์

แล้วมันแตกต่างจากรถไฟฟ้ายังไงครับ

แตกต่างคือ (ถามเองตอบเอง :lovl:) รถไฟฟ้าต้องใช้แบ็ตเตอรี่ขนาดใหญ่
วิ่งได้ไม่นานแบ็ตก็หมด ต้องไปชาร์จไฟ ซึ่งใช้เวลานาน

ส่วนรถที่ใช้ fuel cell สามารถวิ่งได้นานกว่า ไกลว่า และน้ำหนักของ
ถังไฮโดรเจน (เหลวหรือแก๊ส) ก็เบากว่าแบ็ตเตอรี่

เมื่อไฮโดรเจนใกล้หมด ก็แวะปั๊มที่ขายไฮโดรเจน เติมแป๊บเดียวเสร็จ
และวิ่งได้ต่อเลย
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 12

โพสต์

แล้วไฮโดรเจนเอามาจากไหนครับ

ก็เอาไฟฟ้าใส่เข้าไปในน้ำครับ เรียกว่าอิเล็กโตรไลสิส

แล้วไฟฟ้าเอามาจากไหนครับ

คุณเจโชว์ตอบไปแล้วครับ
jaychou เขียน:พลังไฟฟ้ามาจากหลายแหล่งเอาพลังงานหลายอย่างมาแปรรูปเช่นพลังน้ำตกหรือพลังงานนิวเคลียความร้อนใต้พิภพพลังงานน้ำมันฟอสซิลเป็นแค่ส่วนหนึ่งจำไม่ได้ว่าสัดส่วนเท่าไหร่คับวันสัมมนาทีเด็ดรวยหุ้นหมื่นล้านเปิดตำนานตีแตกของทีวีไอเชิญท่านวิทยากรจากกฟผ.มาให้ความรู้น่าจะมีคนจดๆเอาไว้ลองถามดูคับ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 13

โพสต์

[quote]เคยนิยายวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ถ้าอยากรู้ว่ารถที่ใช้ fuel cell ทำงานอย่างไร ลองซื้อรถคันนี้มันเล่นดูได้ครับ
เพียงสี่พันกว่าบาทเท่านั้น

http://www.discoverthis.com/fuelcelcaran.html
ksk
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ถ้าอย่างนั้น fuel cell ที่เป็นใช้ไฮโดรเจนก็ไม่ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานทดแทนน่ะสิครับ แต่เป็นการแปลงรูปพลังงานไฟฟ้ามาเก็บไว้ (โดยการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า) แล้วก็แปลงกลับเป็นไฟฟ้า (ด้วยตัว fuel cell) แล้วค่อยนำไปใช้อีกที เทียบแล้วก็คือ battery ที่มีคุณสมบัติบางประการที่ดีกว่าแบบที่ใช้อยู่ในบัจจุบัน  :shock:
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เทียบแล้วก็คือ battery ที่มีคุณสมบัติบางประการที่ดีกว่าแบบที่ใช้อยู่ในบัจจุบัน
ถูกต้องนะคร๊าบ

แต่ถ้าคิดดีๆ fossil fuel หรือพลังงานจาก แก๊ส น้ำมัน และถ่านหิน ก็คือแบ็ตเตอรี่
เหมือนกันครับ

มาจากแสงแดดกันทั้งนั้น แต่ใช้ระยะเวลาหลายล้านปีเท่านั้นเองครับ

จริงๆ แล้ว แหล่งพลังงานเกือบทั้งหมดในโลก มาจากแสงอาทิตย์ทั้งสิ้นครับ
จะยกเว้นก็เพียงพลังงานนิวเคลียร์ และ geothermal เท่านั้นเอง

แม้แต่พลังงานจากคลื่นทะเลและลม ก็เริ่มจากแสงอาทิตย์
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 17

โพสต์

CK เขียน:ถ้าอยากรู้ว่ารถที่ใช้ fuel cell ทำงานอย่างไร ลองซื้อรถคันนี้มันเล่นดูได้ครับ
เพียงสี่พันกว่าบาทเท่านั้น

http://www.discoverthis.com/fuelcelcaran.html
ถ้าผมมีลูกผมซื้อให้เลยนะเนี่ย  :B

จิงๆอยากได้แค่ฟูลเอลเซลล์เท่านั้นแหละครับ อิๆ นอกนั้นมีเลโก้อยู่แล้วอะ
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 18

โพสต์

.....สงสัยมานาน


อาจจะเป็นเรื่องโง่ๆ  แต่สงสัยจริงๆ


ที่โลกเราหมุนรอบตัวเอง และหมุนรอบดวงอาทิตย์


เอาพลังงานจากไหนครับ???
shanghai
Verified User
โพสต์: 401
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ เเต่คาดว่ายังคงไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้เเน่ อาจจะหลายสิบปีข้างหน้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ เเต่คาดว่ายังคงไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้เเน่ อาจจะหลายสิบปีข้างหน้า
เห็นด้วยครับ  อาจจะหลายสิบปีข้างหน้า  แต่ไม่น่าเกิน 40 ปีนะ  สัก 20 ปีน่าจะเริ่มเห็นเนื้อเห็นหนังพอสมควร
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ที่โลกเราหมุนรอบตัวเอง และหมุนรอบดวงอาทิตย์

เอาพลังงานจากไหนครับ???
เป็นแรงเฉื่อยครับ ไม่ได้ใช้พลังงาน

เนื่องจากโลกหมุนในเกือบสูญญากาศ ทำให้แรงเสียดทานแทบไม่มี
โลกจึงหมุนไปได้เรื่อยๆ แต่จะหมุนช้าลงเล็กน้อย
ถ้าจำไม่ผิด ก็ปีละ 0.0002 วินาทีหรือไงเนี่ยแหละ แต่จำนวนทศนิยม
จำไม่ได้ เอาเป็นว่าน้อยมาก

ส่วนหมุนรอบดวงอาทิตย์ เป็นความสมดุลระหว่างแรงหนีศูนย์กลาง
กับแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ไม่ได้ใช้พลังงานอีกเหมือนกัน

ส่วนพลังงานที่ทำให้เกิดการเริ่มหมุนในครั้งแรก ... ไม่ทราบครับ
เพราะยังไม่เกิด :lovl:

ถ้าตามทฤษฎี big bang ก็จากการระเบิดตั้งแต่สมัยโน้น

ส่วนผมว่า เป็นงานของพระเจ้าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ที่โลกเราหมุนรอบตัวเอง และหมุนรอบดวงอาทิตย์


เอาพลังงานจากไหนครับ???
ถ้าตอนนี้ก็ไม่ต้องใช้พลังงานครับ  เป็นความเฉื่อยเนื้อๆและหลักๆ เป็นมา4,500 ล้านปีแล้วนะ

แต่ถ้าตอนเริ่มต้น ยังไม่เคลียร์ครับ ไม่รู้จะเชื่อทฤษฎีใหนดี
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 23

โพสต์

อ้า....โดนท่านCK แย่งตอบจ้อย....
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 24

โพสต์

อ้า ท่านสามัญชนพูดได้รวบรัดชัดเจนกว่าครับ
ของผมมีแต่น้ำกับขี้เลื่อย
ksk
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ถ้า
CK เขียน:จริงๆ แล้ว แหล่งพลังงานเกือบทั้งหมดในโลก มาจากแสงอาทิตย์ทั้งสิ้นครับ
จะยกเว้นก็เพียงพลังงานนิวเคลียร์ และ geothermal เท่านั้นเอง

แม้แต่พลังงานจากคลื่นทะเลและลม ก็เริ่มจากแสงอาทิตย์
และ

fossil fuel = แบตเตอรีเก่า แย่งกันใช้ อัตราการชาร์จน่าจะช้ากว่าอัตราการใช้ ชาร์จไม่ทัน มีโอกาสหมด
fuel cell = แบตยุคใหม่ ชาร์จด้วยพลังงานจากแบตเก่าหรือแหล่งพลังงานอื่นๆ

แล้ว

อย่างนั้นปัญหาจริงๆ ก็คือ เราจะแปลงพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้หรือเก็บยังไงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

-------------
แสงแดด/ความร้อน -> ลม -> กังหัน (ได้พลังงานกล วิดน้ำเข้านา :roll:) -> ไดนาโม (ได้ไฟฟ้า)

แสงแดด/ความร้อน + น้ำ -> ไอน้ำ -> ((ฝน -> เขื่อน -> ไดนาโม) หรือ ไดนาโม)

แสงแดด -> solar cell

พืช + น้ำ + CO2 + แร่ธาติ + แสงแดด -> แอลกอฮอร์ -> fuel cell (ไฟฟ้า) หรือ เครื่องยนต์ (พลังงานกล)

พืช + น้ำ + CO2 + แร่ธาติ + แสงแดด -> bio diesel -> fuel cell (ไฟฟ้า) หรือ เครื่องยนต์ (พลังงานกล)

พืช + น้ำ + CO2 + แร่ธาติ + แสงแดด -> ฟืน -> ...

พืช + น้ำ + CO2 + แร่ธาติ + แสงแดด -> สัตว์กินพืช -> มูลสัตว์หรือซากพืชซากสัตว์ + ... -> แกสมีเทน  -> ...

นึกไม่ออกแล้ว  :oops:
-------------
พอ "จับ" พลังงานมาได้แล้วถ้าไม่ได้ใช้ทันทีก็หารูปแบบเก็บ

แกสต่างๆ -> อัดลงถัง
พลังงานกล -> แปลงมันไปเป็นไฟฟ้า
ไฟฟ้า -> แบตเตอรี
ไฟฟ้า -> สูปน้ำกลับขึ้นไปเก็บหลังเขื่อน
ไฟฟ้า -> ไฮโดรเจน
แอลกอฮอร์ -> กรอกลงขวดแล้วใส่ลัง  :roll:
-------------
ให้ราคาน้ำมันขึ้นเข้าไป แหล่งพลังงานรูปแบบอื่นๆ ถูกกว่าเมื่อไหร่แล้วจะหนาว :twisted:
คนเรือ VI
Verified User
โพสต์: 1647
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ส่วนผมว่า เป็นงานของพระเจ้าครับ
อันนี้ผมเห็นด้วย 105%ครับ

"all ultimate questions lead to GOD!"
. . .
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 27

โพสต์

:bow: :bow: :bow:
thaistock2005
Verified User
โพสต์: 424
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 28

โพสต์

[quote="jaychou"].....สงสัยมานาน


อาจจะเป็นเรื่องโง่ๆ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 29

โพสต์

เป็นเรื่องพลังงานแม่เหล็กครับ

โลกเราหมุนช้าน่าจะเกิดจาก
ขั้วแม่เหล็กที่ต่าง กัน
ทำให้เกิดการหมุน ช้า ๆ ครับ
ผิดครับ กลับกันครับ

เพราะโลกหมุน ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

อวสานแห่งยุคน้ำมัน !!!!

โพสต์ที่ 30

โพสต์

เป็นเรื่องพลังงานแม่เหล็กครับ
มอเตอร์ ที่ใช้ก็น่าจะหลักการเดียวกัน
ขั้วบวก ลบที่เราเคยเล่น ๆ กัน
ที่ว่าเหมือนกันเข้าหากัน ต่างกันก็ห่างกัน
โลกเราหมุนช้าน่าจะเกิดจาก
ขั้วแม่เหล็กที่ต่าง กัน
ทำให้เกิดการหมุน ช้า ๆ ครับ
คิดแบบ command sens ครับ
เอามาจากไหนน้อ........

วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ใช้ common sense ไม่ได้หรอกครับ
ไม่งั้นเด็กนักเรียนก็ไม่ต้องอ่านหนังสือสิครับ
ใช้ common sense กาข้อสอบสนุกไปเลย ไม่มีสอบตก อิอิ :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ล็อคหัวข้อ