เมื่อโลกไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะทฤษฎีเรือนกระจก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4246
ผู้ติดตาม: 0

เมื่อโลกไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะทฤษฎีเรือนกระจก

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สหรัฐฯ ไม่ลงนามในสนธิสัญญาลดก๊าซที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เพราะไม่เชื่อในทฤษฎีเรือนกระจก

ข้อความนี้คัดลอกจาก คุณ กาลามะชน ในเว็บบอร์ด www.pantip.com ห้อง หว้ากอ

http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic ... 21530.html

โลกกำลังร้อนขึ้น.... ข้อนี้ไม่มีใครเถียง

จุดที่เป็นข้อถกเถียงคือโลกร้อนขึ้นเพราะเหตุใด

ความเชื่อเดิม บอกว่าโลกร้อนขึ้นเอง ด้วยสาเหตุทางธรรมชาติหลายๆอย่างประกอบกัน
เพราะเรากำลังอยู่ในช่วงระหว่างยุคน้ำแข็ง ที่อุณหภูมิ ไม่คงที่
ต่อมามีผู้ตั้งทฤษฎีว่าโลกร้อนขึ้นเพราะอิทธิพลของปรากฏการณ์เรือนกระจกในบรรยากาศมีเพิ่มขึ้น
เนื่องจากการเพิ่ม กาซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล

ผมจะขอนำความเห็นส่วนตัว ที่ได้จากการตกผลึกทางความคิด มาเล่าสู่กันฟัง
ผมก็เริ่มด้วยการเชื่อตามที่ได้ฟังกันต่อๆมา เหมือนคนทั่วไปว่า
โลกกำลังร้อนขึ้นเพราะผลของ การซเรือนกระจก ที่มนุษย์ผลิตขึ้น
แต่เมื่อหลายปีก่อน มีผู้แนะนำให้ดูข้อมูลของทางฝ่ายที่โต้แย้งทฤษฎี

หลังจากได้ศึกษาดู ก็รู้สึกประหลาดใจ
เพราะความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ของฝ่ายที่โต้แย้งนั้นหนักแน่นกว่ามาก
แต่ไม่ถึงขั้นที่จะหักล้างทฤษฎีปรากฏการณ์เรือนกระจก ลงได้อย่างเด็ดขาด
ผมติดตามข้อมูลของทั้งสองฝ่าย อยู่หลายปีตามโอกาสอำนวย
จนถึงปัจจุบัน ผมเองก็ยังไม่ปักใจเชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างแน่นอน
แต่ความเห็นจะเอียงไปทาง ไม่เชื่อ มากกว่า

ความรู้เกี่ยวกับกาลอากาศในยุคโบราณ เรียกว่า Paleoclimatology
ผมขอเล่าข้อมูล ประวัติของภูมิอากาศโลกย้อนหลังไปประมาณหนึ่งหมื่นปี
เพราะมีความสำคัญ ต่อการใช้วิจารณญาณ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

โลกกำลังอยู่ในยุคน้ำแข็ง
แต่ยุคน้ำแข็งไม่ได้หนาวเย็นต่อเนื่องตลอดเวลา
มีช่วงเวลาที่หนาวเย็น และอบอุ่นสลับกัน หลายต่อหลายครั้ง
ช่วงที่ธารน้ำแข็งก่อตัวกว้างขวาง เรียกว่า glaciations period
ช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งเรียกว่า interglaciations period
สี่ล้านปีที่ผ่านมา ธารน้ำแข็งแผ่ขยายและถดถอยสลับกันมากกว่ายี่สิบครั้ง
ช่วงที่ธารน้ำแข็งขยายตัวปกคลุมโลก มักจะยาวนานเป็นหลักแสนปี
แต่ช่วงอบอุ่นระหว่างธารน้ำแข็งมักจะสั้น เป็นหลักหมื่นปีเท่านั้น

ธารน้ำแข็งครั้งสุดท้าย เรียกว่า Preborel สิ้นสุดลงเมื่อหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว
การสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง เป็นเพราะโลกเกิดเปลี่ยนไปสู่ความอบอุ่นอย่างระอุ
เรียกว่า Younger-Drayas deglaciation
ละลายธารน้ำแข็งนอกเขตขั้วโลก จนหมดไปในเวลาประมาณ 1300 ปี

ขณะนี้เรากำลังอยู่ในช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งครั้งหนึ่ง
แต่ช่วงอบอุ่น ก็ไม่ได้อบอุ่นคงที่ มีช่วงเวลาที่อุ่นมาก อุ่นน้อย หรือถึงกับหนาว
หลังจากสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง Preborel โลกค่อนข้างอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่
โดยมีช่วงที่ค่อนข้างอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ เรียกกันว่า Holocene Optimum
ระหว่าง 5000-8000 ปี ก่อนปัจจุบัน

ช่วงที่อุ่นที่สุด เรียกว่า Holocene Maximum ภูมิอากาศค่อนข้างอุ่นจัดกว่าปัจจุบันมาก
เขต Tropical ที่กระหนาบ เส้นศูนย์สูตร ขยายตัวกว้างขวาง
ลุ่มน้ำสินธุและเมโปเตเมียยุคนั้น ได้รับอิทธิพลลมมรสุมมากกว่าในปัจจุบัน
มีความชุ่มชื้นมากพอ ช่วยให้อารยะธรรมมนุษย์ ก่อนยุคชลประทาน ก่อกำเนิด
ในอัฟริกา เขต  tropical ขยายตัวเบียดทะเลทราย ซาฮารา ให้ถอยร่นขึ้นไปทางเหนือ
มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ที่มี จระเข้ และฮิปโปโปเตมัส อาศัย กระจายอยู่ทั่วซาฮาราตอนใต้
ปัจจุบันกระดูกของสัตว์เหล่านั้นยังคงปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ใต้ตะกอนทราย
ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ตามผนังถ้ำที่อยู่กลางทะเลทรายซาฮาร่าในปัจจุบัน
เต็มไปด้วยรูปสัตว์ที่ในปัจจุบันอยู่ห่างลงไปทางใต้หลายร้อยกิโลเมตร

พอถึง 5000 ปีที่แล้ว ถูมิอากาศก็กลับเย็นลงเล็กน้อยเป็นส่วนใหญ่
แล้วก็กลับมาอบอุ่นต่อเนื่องอีกครั้งในราวๆกลางคริสต์กาล ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Medieval Maximum
ความอบอุ่นช่วยให้การเพาะปลูกในยุโรปอุดมสมบูรณ์  ทำให้ประชากรยุโรปเพิ่มขึ้น
ช่วงอบอุ่นที่สุดของ Medieval maximum ตรงกับศตวรรษที่ 9-11
โลกอุ่นถึงขั้นที่ตอนใต้สุดของเกาะกรีนแลนด์ปลอดจากน้ำแข็ง และเกิดมีทุ่งหญ้า
มีชาวไวกิ้งเข้าไปตั้งหมู่บ้าน และมีร่องรอยการเลี้ยงแกะที่ตอนใต้สุดของเกาะ
ส่วนเกาะไอซ์แลนด์ ที่อยู่ใต้ลงมาหน่อย อบอุ่นพอที่จะปลูกธัญพืช เช่นข้าวสาลีได้
หลักฐานการเก็บภาษีเก่าแก่ บอกว่าอังกฤษมีไร่องุ่นและผลิตไวน์เป็นจำนวนมาก
หลักฐานทางเอเชียก็บอกถึงการปลูกส้มในภาคเหนือของจีน

ในช่วงที่โลกอุ่นจัดนั้น อย่างน้อย ทางตอนใต้ของเกาะกรีนแลนด์ปราศจากน้ำแข็ง
น้ำแข็งที่ละลายทำให้ระดับน้ำทะเลท่วมสูงขึ้นหลายเมตร
ช่วงนี้ตรงกับสมัยทวาราวดีปลายๆ ถ้าใครเคยเห็นแผนที่ทางโบราณคดีของยุคนั้น
จะเห็นแนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย กินแดนลึกเข้ามาถึงจังหวัดชัยนาท
เมืองโบราณในสมัยทวาราวดี ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ริมทะเลของสมัยนั้น

แต่พอผ่านพ้นศตวรรษที่ 12 โลกก็เย็นลงอย่างต่อเนื่อง
และทำท่าจะกลับเข้ายุคน้ำแข็งอีกครั้ง โดยตำราส่วนใหญ่จะนับจากหลังปี 1450

นักอุตุฯเรียกว่าช่วงเวลาที่หนาวเย็นผิดปกติราวสี่ร้อยปีนี้ว่า Little Ice Age (LIA)

น้ำแข็งเริ่มก่อตัวปกคลุมทางใต้ของเกาะกรีนแลนด์อีกครั้ง
ความหนาวขับไล่ไวกิ้งให้อพยพกลับไปแผ่นดินใหญ่ยุโรป
ไร่องุ่นหายไปจากอังกฤษ ไร่ส้มหายไปจากภาคเหนือของจีน

น้ำแข็งที่ก่อตัว ทำให้ระดับน้ำทะเลลดลง พื้นดินบริเวณกรุงเทพโผล่พ้นน้ำ
การที่เมืองท่าโบราณของทวาราวดี ซึ่งปัจจุบันอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
อยู่ในทำเลที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน 5-7 เมตร
เป็นข้อที่ควรพิจารณาว่าระดับน้ำทะเลลดลง ไม่ใช่ทะเลตื้นเขินจนกลายเป็นแผ่นดิน

ช่วงที่หนาวที่สุดของ LIA เรียกว่า Maunder Minimum ระหว่างปี 1645-1715
เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส เพราะมีแรงกระตุ้นจากความอดอยากของประชาชน
เนื่องจากการเกษตรในยุโรปได้รับความเสียหาย เพราะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ
บันทึกของอังกฤษบอกว่าช่วงหลายปีนั้นอากาศหนาวจัดจนแม่น้ำเทมส์เป็นน้ำแข็งทุกปี
บันทึกของทางไอซ์แลนด์บอกว่าในช่วงนั้น ทะเลรอบเกาะจะกลายเป็นแพน้ำแข็ง
จนไม่สามารถเดินเรือเข้าออกจากเกาะได้ ปีละประมาณ 1 เดือน
ซึ่งต่างจากปัจจุบัน ที่ทะเลน้ำแข็งจะอยู่แค่นอกชายฝั่งด้านเหนือเท่านั้น

หลักฐานประวัติศาสตร์ว่าธารน้ำแข็งตามภูเขาสูง แถบเทือกเขาแอล์ป
และสแกนดิเนเวียขยายตัว คืบคลานเข้าทับหมู่บ้านในหุบเขาไปนับร้อยแห่ง
มีบันทึกของวาติกัน ถึงคำขอของชาวบ้านที่ถูกธารน้ำแข็งคุกคาม
ขอให้พระสันตปาปาช่วยขอพรจากพระเจ้าให้ช่วยปกป้องหมู่บ้าน

โชคดีที่พอถึงปี 1850 โลกก็ผันกลับสู่ความอบอุ่นอีกครั้ง
โลกอุ่นขึ้นในอัตรา ศตวรรษละ 1 องศา
จนอุ่นที่สุดในทศวรรษ 1940s แล้วก็มีทีท่าจะคงที่ หรือเย็นลงเล็กน้อย
แต่พอถึงช่วงเปลี่ยนศตวรรษ โลกก็กลับอุ่นขึ้นอีกครั้ง อย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ
เป็นเหตุให้คนทั้งโลก พากันวิตกถึงภาวะโลกร้อน

โชคไม่ดี ที่เทอร์โมมิเตอร์และการวัดอุณหภูมิอากาศ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วง LIA
ดังนั้นถ้าไปค้นบันทึกของอุณหภูมิอากาศในอดีต ก็จะเห็นแต่ความหนาวเย็น
คนที่ไม่รู้เรื่องของกาลอากาศในยุคโบราณ อาจจะคิดว่าโลกมีความหนาวเป็นเรื่องปกติ
ความอบอุ่น ที่ถูกบันทึกไว้ด้วยเรื่องราวในประวัติศาสตร์ และหลักฐานในชั้นดิน
จึงกลายเป็น นิทานปรัมปรา

แต่อย่างไรก็ตาม ความอบอุ่นในตำนาน มีหลักฐานทางโบราณคดีรองรับ
รวมทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมาย ได้แต่ร่องรอยละอองเกสรพืช
ที่ฝังอยู่ในชั้นดิน บอกให้รู้ถึงชนิดของพืชที่เคยขึ้นอยู่ในยุคสมัยต่างๆ
ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณหาอุณหภูมิของโลกในช่วงเวลาต่างๆได้

ถ้าในอดีตอากาศเคยผันแปร อุ่นขึ้นแล้วก็เย็นลงได้เอง เป็น วัฏจักร
ด้วยพลังของธรรมชาติ ที่เรายังไม่สามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้
จะสรุปได้อย่างไรว่า โลกอุ่นขึ้นในเวลานี้ เป็นเพราะปรากฏการณ์เรือนกระจก
บางที โลกอาจจะกำลังกลับสู่สมดุล ที่อุ่นแบบระอุหน่อยๆ อย่างที่เคยเป็น

เรื่องราวของ Holocene maximum, Medieval Maximum, Little Ice Age
เป็นความรู้อย่างสามัญของ Paleoclimatology ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่
เพียงแต่เรื่องของกาลอากาศในยุคโบราณ ไม่ใช่สิ่งที่คนทั่วไปจะสนใจ

นักอุตุฯส่วนใหญ่ เชื่อว่าโลกกำลังฟื้นตัวจากความหนาวเย็นของ LIA

ทฤษฎีโลกร้อนขึ้นเพราะกาซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขั้น เกิดขึ้นครั้งแรกราว 50 ปีแล้ว
แต่เพิ่งมาอยู่ในความสนใจอย่างกว้างขวาง เมื่อมีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง
ซึ่งไม่ใช่บุคคลในสายอาชีพอุตุนิยมวิทยาโดยตรง
แต่เป็นนักคอมพิวเตอร์ที่ศึกษาและออกแบบโปรแกรมพยากรณ์อากาศ
ได้ทดลองตั้งโจทย์ ตั้งสมการ ทำแบบจำลองต่างๆในคอมพิวเตอร์
แล้วก็สรุปว่า ที่โลกร้อนขึ้นตอนนี้ เป็นเพราะอิทธิพลปรากฏการณ์เรือนกระจก
ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น จากกาซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล

ทฤษฎีของนักอุตุฯมือสมัครเล่น ถูกคัดค้านจากนักอุตุฯมืออาชีพ
เพราะความรู้เรื่องกาลอากาศนั้นซับซ้อน เต็มไปด้วยเงื่อนไขที่ยังไม่ทราบอีกมาก
มืออาชีพยังไม่รู้จักเหตุปัจจัยของกาลอากาศดีเลย แล้วพวกมือสมัครเล่น รู้ได้ยังไง
มีองค์ประกอบอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง มีตัวแปรกี่อย่าง สิ่งแทรกสอดต่างๆ
พวกตูที่เป็นมืออาชีพยังไม่รู้ แล้วพวกมือสมัครเล่นไปเอาความรู้มาจากไหน

แม้ว่านักอุตุฯมืออาชีพ ส่วนใหญ่จะยังไม่เชื่อ ถือว่าเป็นแค่ทฤษฎีที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์
แต่ผลของแบบจำลอง ได้รับการสนับสนุนจากนักอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างท่วมท้น
อาจเป็นเพราะกลุ่มนักอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ได้ต้องการความจริงทางวิทยาศาสตร์
เพียงแค่ต้องการทฤษฎีอะไรสักอย่าง มาใช้ขู่ให้คนกลัว จะได้เลิกเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล

กลุ่มนักอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นองค์กรที่มีพลังในการประชาสัมพันธ์สูงมาก
และมีภาพพจน์ที่ดี น่าเชื่อถือในความรู้สึกของประชาชน
นักอนุรักษ์ใช้ผลจากแบบจำลองเป็นจุดขาย นำเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะในยุคดิจิตอล แบบจำลองที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์นั้นดูน่าเชื่อถือ
แม้ว่าข้อมูล ค่าคงที่ ตัวแปร ฯลฯ ที่ใช้ในการพยากรณ์ในแบบจำลอง
จะยังคงเต็มไปด้วยข้อบกพร่อง ที่มักจะโดนสับเละ ชนิดที่แก้ตัวไม่ออก
ทุกครั้งที่ต้องเผชิญหน้ากับฝ่ายค้าน ในการสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม

กลุ่มนักอนุรักษ์ฯ ได้พยายามผลักดันทฤษฎีโลกร้อน เข้าสู่เกมการเมือง
ในสมัยหนึ่งมีแคมเปญชูป้ายประท้วง ในบริเวณที่ปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง
ในทำนองขอให้ไม่เลือกผู้สมัคร ที่ไม่มีนโยบายลดการปล่อยกาซเรือนกระจก
ทำให้นักการเมืองหันมาสนใจ หรือตกปากรับคำ เพื่อรักษาคะแนนเสียงของตน

ต่อมา เรแกน เป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนทฤษฎีโลกร้อน ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ
ได้ผลักดันสหประชาชาติ ให้ตั้งคณะทำงานสังเกตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศฯ
Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC)
และสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์ทางฝ่ายทฤษฎีเรือนกระจก
ให้ได้ยกทีมเข้าไปนั่งเป็น คณะทำงานใน IPCC ของสหประชาชาติ
ทำให้ทฤษฎีปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคัดค้าน
กลายเป็นเรื่องจริงจัง  และได้รับความเชื่อถือในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ UN

ถึงตอนนี้ นักอุตุฯมืออาชีพ ได้แต่บ่น...
บางคนที่เห็นดีกับการลดการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ก็ปล่อยวางเฉย
นานๆจะมีคนออกมาค้านเสียที แต่ก็ต้านกระแสนักอนุรักษ์ธรรมชาติไม่ไหว
ใครหาญกล้าออกมาคัดค้าน เป็นต้องโดนประณามว่าเป็นผู้รับใช้นายทุน
จนกระทั่งใกล้จะมีการลงนามในสัญญาเกียวโต จึงมีผู้นำนักวิทยาศาสตร์คือ
Arthur B Robinson แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์โอเรกอน (OISM)
ทำโครงการสำรวจความเห็นของนักอุตุฯมืออาชีพทั่วโลก
รู้จักกันในชื่อ OISM Petition Project โดยทำการสำรวจในปี 1999-2001

ผลสำรวจพบว่ามีแค่ 16% ที่เชื่อว่าโลกร้อนขึ้นเพราะกาซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น
44% เชื่อว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์
ที่เหลือ ยังไม่ตัดสินใจ

Petition Project สามารถรวมรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ที่คัดค้านทฤษฎีเรือนกระจกในเวลานั้นได้ 14,000 คน (ปัจจุบันมี 17,200 คน)
โดยมี Prof. Frederick Seitz ประธาน National Academy of Science
เป็นผู้จัดทำรายงานอธิบายเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์
ถึงประธานาธิบดีบุช ขอให้ยับยั้งการลงนามในสัญญาเกียวโต

ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนทฤษฎีปรากฏการณ์เรือนกระจก
ซึ่งทำหนังสือขอให้ประธานาธิบดีสหรัฐลงนามในสัญญา ไปก่อนหน้านั้น
สามารถรวมนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณวุฒิทัดเทียมกัน ได้แค่ 2,300 คน
ประธานาธิบดีสหรัฐ เลือกที่จะปฏิบัติตามเสียงนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่

ประธานาธิบดีสหรัฐ อธิบายต่อชาวโลก ด้วยคำอธิบายของนักวิทยาศาสตร์
ว่าทฤษฎีโลกร้อนขึ้นเพราะกาซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น
ยังเป็นเพียงทฤษฎี ที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้

รายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมลงนามคัดค้าน  มีรายชื่อในเวป
http://www.oism.org/pproject/s33p357.htm
สำหรับให้ผู้ที่สงสัย สามารถตรวจสอบตัวบุคคลและคุณวุฒิ
_________
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4246
ผู้ติดตาม: 0

เมื่อโลกไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะทฤษฎีเรือนกระจก

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อาจจะดูไม่เกี่ยวกับ TVI แต่ว่า

ถ้ามันเป็นจริงที่ไม่เกี่ยวกับภาวะเรือนกระจก การเผาถ่านหินก็ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมแต่อย่างไร
_________
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4246
ผู้ติดตาม: 0

เมื่อโลกไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะทฤษฎีเรือนกระจก

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ก่อนหน้านี้ผมเห็นว่า ถึงแม้ถ่านหินจะใช้ได้อีกกว่า 250 ปี แต่

ผมมองว่าด้วยปัญหาทางมลภาวะที่ก่อขึ้น จะทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงไปใช้โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แทน
_________
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4246
ผู้ติดตาม: 0

เมื่อโลกไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะทฤษฎีเรือนกระจก

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จนกระทั่งใกล้จะมีการลงนามในสัญญาเกียวโต จึงมีผู้นำนักวิทยาศาสตร์คือ
Arthur B Robinson แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์โอเรกอน (OISM)
ทำโครงการสำรวจความเห็นของนักอุตุฯมืออาชีพทั่วโลก
รู้จักกันในชื่อ OISM Petition Project โดยทำการสำรวจในปี 1999-2001

ผลสำรวจพบว่ามีแค่ 16% ที่เชื่อว่าโลกร้อนขึ้นเพราะกาซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น
44% เชื่อว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์
ที่เหลือ ยังไม่ตัดสินใจ
น่าเชื่อใครมากกว่ากันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยา กับ NGO (ไม่เอาดีกว่า กับพวกอนุรักษ์ธรรมชาติ)

ความคิดเห็นส่วนตัว : คำว่า NGO มันทำให้ผมรู้สึกถึงองค์กรที่ปากบอกว่าไม่แสวงหากำไร แต่จริงๆรับเงินจากคนอื่นมาคัดค้านขึ้นทุกวันๆ
_________
ล็อคหัวข้อ