เปิดใจ.."ประกิต อภิสารธนรักษ์" "ประกิต โฮลดิ้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 216
- ผู้ติดตาม: 0
เปิดใจ.."ประกิต อภิสารธนรักษ์" "ประกิต โฮลดิ้
โพสต์ที่ 1
"ประกิต โฮลดิ้งส ์" สู่ยุคท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อ "ผู้ก่อตั้ง" รับสภาพ "กำไร" จาก Core-Business กำลังเข้าสู่วัฏจักร "ถดถอย" อาจกินเวลายาวนานถึง 2 ปี (2548-2549)..บนหนทางแห่งอุปสรรค "ประกิต อภิสารธนรักษ์" จะหาทางออกอย่างไร..?
ทีมข่าว "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "ประกิต อภิสารธนรักษ์" ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ ประธานกรรมการ บริษัท ประกิต โฮลดิ้งส์ (P-FCB) โดยเขากล่าวยอมรับว่า ผลพวงจากเศรษฐกิจชะลอตัว ได้ส่งผลต่อธุรกิจสื่อโฆษณาได้รับผลกระทบจากการที่ลูกค้ารายใหญ่ตัดงบโฆษณาโดยตรง เนื่องจากธุรกิจสื่อโฆษณาจะอ่อนไหวมากกับปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำ
"เรารู้มาตั้งแต่ต้นปีแล้วว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะไม่ดี ซึ่งคิดว่าช่วงครึ่งปีหลังการดำเนินธุรกิจจะฝืด เชื่อว่าทุกคนจะได้รับผลกระทบเหมือนๆ กันหมด"
แผนรับมือในช่วงเศรษฐกิจขาลงนั้น "ประกิต" กล่าวว่า ทางบริษัทมีแผนประหยัดค่าใช้จ่ายหลายอย่าง ทั้งด้านการบริหาร พนักงาน และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในบริษัท
ตลอดจนการใช้นโยบายขยายงานอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในแง่การเช็คเครดิต และประวัติลูกค้าจะเข้มงวดมากขึ้นก่อนรับงาน
ขณะเดียวกันก็จะระมัดระวังในการลงทุน และอาจชะลอการลงทุนบางโครงการออกไปก่อน แต่บริษัทยังให้ความสำคัญต่อการขยายงานในธุรกิจที่มีความจำเป็น และเกี่ยวเนื่องเท่านั้น
อย่างในช่วงต้นปีนี้ ประกิต โฮลดิ้งส์ ได้จัดตั้งบริษัทในเครือใหม่ "มาร์เก็ตติ้ง ไดร์ฟ" เพื่อให้บริการด้านไดเร็คมาร์เก็ตติ้งแก่ลูกค้า ซึ่งอาศัยความรู้ด้านเครือข่ายจาก เอฟซีบี เน็ตเวิร์ค ปัจจุบันสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และเริ่มมีกำไรแล้ว
"แผนธุรกิจของเราจะทำเฉพาะสิ่งที่จำเป็น และต้องไม่ใช้เงินทุนมาก โดยขณะนี้เรามีเงินสดหมุนเวียนจำนวน ประมาณ 300 ล้านบาท"
ปัจจุบันธุรกิจในเครือของ ประกิต โฮลดิ้งส์ มีครบวงจรทั้งด้านงานประชาสัมพันธ์ และงานโปรโมชั่น แต่กำลังจะแตกบริษัทลูก และหน่วยงานย่อยที่เกี่ยวเนื่องออกไป ทั้งด้านการให้บริการ ไดเร็คมาร์เก็ตติ้ง และหน่วยงาน "FCB Healthcare" เพื่อขยายการให้บริการเฉพาะกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ
"สินค้าประเภทยา และสุขภาพ ต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านการสื่อสารการตลาดให้กับสินค้า ซึ่งเป็นการแตกเซ็กเมนท์ของเราออกไป โดยทางเอฟซีบี เน็ตเวิร์คได้มีบริการนี้อยู่แล้ว จึงส่งคนไปดูงานเพื่อศึกษาขั้นตอนการทำงานมาปรับใช้ในประเทศไทย"
นอกจากนี้ ประกิตยังวางแผนจะขยายไลน์ธุรกิจใหม่คือ จัดตั้งบริษัทให้บริการ "ดีไซน์แพ็คเกจจิ้ง"
อีกธุรกิจหนึ่งที่มองไว้ คือ การดีไซน์แพ็คเกจจิ้ง ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เพื่อหาข้อสรุปในการร่วมทุนเปิดบริษัทในประเทศไทย ซึ่งเรามองว่าตลาดนี้น่าสนใจ เพราะทุกสินค้าต้องการปรับปรุงแพ็คเกจจิ้งตลอดเวลา คาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่มาก
อย่างไรก็ตาม การลงทุนหลักๆ ของ ประกิต โฮลดิ้งส์ ยังคงให้น้ำหนักกับธุรกิจด้าน บีโลว์เดอะไลน์ (Below the Line) อันประกอบด้วยธุรกิจไดเร็คมาร์เก็ตติ้ง, จัดกิจกรรมอีเวนท์ และทำโปรโมชั่นต่างๆ นอกจากนั้น บริษัทยังให้ความสำคัญในด้านการบริหารเงินลงทุนร่วมด้วย
หลังจากบริษัทได้ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดคืนใน บริษัท ปับลิซีส (ประเทศไทย) ในสัดส่วน 50% ให้แก่กลุ่มลิซีส ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติฝรั่งเศส ออกไปตั้งแต่ปี 2547
แม้ว่ารายได้ส่วนหนึ่งจาก บริษัท ปับลิซีส (ประเทศไทย) จะหายไป และทำให้รายได้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 ลดลงอย่างมากนั้น
ประกิต อภิสารธนรักษ์ บอกว่า แต่บริษัทก็ได้รับเงินจากการขายหุ้นครั้งนี้จำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งประกิต โฮลดิ้งส์ ได้นำเงินก้อนนี้ไปจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลในนาม "กองทุนประกิต โฮลดิ้งส์" เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไป
กองทุนหุ้นดังกล่าว บริหารจัดการโดย "บลจ.ธนชาต" โดยมีนโยบายนำเงินไปลงทุนในหุ้นสามัญไม่เกิน 50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ส่วนที่เหลือนำไปลงทุนในหุ้นกู้ และตราสารการเงินต่างๆ
"ผลตอบแทนในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมาของกองทุนนี้ ได้รับผลตอบแทนมาไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทแล้ว"
นอกจากนั้น ช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 บริษัทยังได้ลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลเพิ่มอีก 1 กองทุน โดยมอบให้ "บล.ไทยพาณิชย์" เป็นผู้บริหารเงินลงทุนในหุ้นวงเงิน 20 ล้านบาท มีนโยบายการลงทุนแบบ "Privileged Select-IPO" ซึ่งเป็นกองทุนผสมยืดหยุ่น เน้นลงทุนหุ้นสามัญที่จดทะเบียนใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และตราสารหนี้ระยะสั้น
นอกจากนี้ ประกิต โฮลดิ้งส์ ยังมีพอร์ตลงทุนที่บริหารโดยฝ่ายลงทุนของบริษัทเอง ซึ่งได้ลงทุนต่อเนื่องมาราว 4-5 ปีแล้ว โดยให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นปันผล และหุ้นปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก เช่น หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ เดินเรือ และกลุ่มอาหาร เป็นต้น
"พอร์ตที่เราบริหารเอง มีมูลค่าเติบโตขึ้นมาราว 40-50 ล้านบาท แล้ว จะเน้นลงทุนในหุ้นปันผลดี แต่หุ้นในพอร์ตส่วนใหญ่ก็ให้ผลตอบแทนจากส่วนต่างกำไรที่ดีด้วย ซึ่งหากราคาหุ้นตก ก็ยังรอรับปันผลได้อีก 4-5% ต่อปี"
"ประกิต" เปิดเผยว่า เมื่อปี 2547 ได้ลงทุนในหุ้น CPF ที่ราคาประมาณ 3.50 บาท จำนวน 5 แสนหุ้น เมื่อราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาก็ได้ทยอยขายหุ้นออกไปที่ราคาประมาณ 5.70 บาท ได้กำไรมาประมาณ 1 ล้านบาท และยังได้รับเงินปันผลมาอีกจำนวนหนึ่งด้วย นับเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
นอกจากนั้น บริษัทยังมีหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เช่น หุ้น BBL, KBANK, SCB, KTB และ SCIB รวมถึงหุ้นพลังงานอย่าง TOP แต่ตอนนี้ได้ขายทำกำไรไปแล้วที่ราคา 72 บาท จากต้นทุนที่ซื้อมา 60-61 บาท
หรือถ้าเป็นหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็จะเลือกหุ้น LH ในกลุ่มเดินเรือลงทุน เช่น PSL, TTA และ RCL ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ดีมากราว 7-8% ต่อปี
"ถ้าเป็นสไตล์กองทุนส่วนบุคคลที่ให้ บลจ.ธนชาต บริหารจะเข้าเร็วออกเร็ว ได้กำไร 10-15% ก็ขาย แต่พอร์ตของบริษัท จะเน้นลงทุนระยะยาว ซื้อแล้วเก็บไว้รอรับเงินปันผล แต่เมื่อราคาหุ้นขึ้นเราก็ได้กำไรส่วนต่างอีกทาง"
เมื่อถามถึงแนวโน้มผลประกอบการของบริษัท "ประกิต" กล่าวว่า มีทิศทางอ่อนตัวลง (มาก) ในปีนี้ และผลการดำเนินงานของบริษัทอาจจะชะลอตัวต่อเนื่องไปถึงปี 2549 ด้วย
"ในแง่ของกำไรสุทธิปีนี้จะสู้ปีที่แล้วไม่ได้แน่นอน ซึ่งถือว่าเป็นปีแรก (ในรอบหลายปี) ที่กำไรสุทธิของเราจะลดลง และคาดว่าจะต่อเนื่องไปถึง 2549 ซึ่งเป็นปีที่น่าจะเหนื่อยมาก"
สำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนปีนี้ ประกิต โฮลดิ้งส์ มีรายได้ 203.19 ล้านบาท เทียบกับทั้งปี 2547 มีรายได้ถึง 572.24 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเพียง 20.92 ล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2547 มีกำไรสุทธิสูงถึง 156.57 ล้านบาท
ประกิต กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า ทั้งรายได้ และกำไรสุทธิในปี 2548 นี้คงจะเติบโตลำบาก แต่เรายังมั่นใจว่าบริษัทยังมีกำไร และมีความสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ราว 5% ต่อปี
"ผมมองว่าหุ้น P-FCB ไม่เหมาะกับคนเก็งกำไร เพราะไม่ใช่หุ้นหวือหวา และปัจจุบันผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็ไม่ยอมขายหุ้นออกมา หุ้นเราจึงไม่ค่อยมีสภาพคล่องการซื้อขายในตลาดมากนัก" ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ ประธานกรรมการ บริษัท ประกิต โฮลดิ้งส์ กล่าวปิดท้าย
ทีมข่าว "กรุงเทพธุรกิจ BizWeek" ได้สัมภาษณ์พิเศษ "ประกิต อภิสารธนรักษ์" ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ ประธานกรรมการ บริษัท ประกิต โฮลดิ้งส์ (P-FCB) โดยเขากล่าวยอมรับว่า ผลพวงจากเศรษฐกิจชะลอตัว ได้ส่งผลต่อธุรกิจสื่อโฆษณาได้รับผลกระทบจากการที่ลูกค้ารายใหญ่ตัดงบโฆษณาโดยตรง เนื่องจากธุรกิจสื่อโฆษณาจะอ่อนไหวมากกับปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำ
"เรารู้มาตั้งแต่ต้นปีแล้วว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะไม่ดี ซึ่งคิดว่าช่วงครึ่งปีหลังการดำเนินธุรกิจจะฝืด เชื่อว่าทุกคนจะได้รับผลกระทบเหมือนๆ กันหมด"
แผนรับมือในช่วงเศรษฐกิจขาลงนั้น "ประกิต" กล่าวว่า ทางบริษัทมีแผนประหยัดค่าใช้จ่ายหลายอย่าง ทั้งด้านการบริหาร พนักงาน และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในบริษัท
ตลอดจนการใช้นโยบายขยายงานอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในแง่การเช็คเครดิต และประวัติลูกค้าจะเข้มงวดมากขึ้นก่อนรับงาน
ขณะเดียวกันก็จะระมัดระวังในการลงทุน และอาจชะลอการลงทุนบางโครงการออกไปก่อน แต่บริษัทยังให้ความสำคัญต่อการขยายงานในธุรกิจที่มีความจำเป็น และเกี่ยวเนื่องเท่านั้น
อย่างในช่วงต้นปีนี้ ประกิต โฮลดิ้งส์ ได้จัดตั้งบริษัทในเครือใหม่ "มาร์เก็ตติ้ง ไดร์ฟ" เพื่อให้บริการด้านไดเร็คมาร์เก็ตติ้งแก่ลูกค้า ซึ่งอาศัยความรู้ด้านเครือข่ายจาก เอฟซีบี เน็ตเวิร์ค ปัจจุบันสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และเริ่มมีกำไรแล้ว
"แผนธุรกิจของเราจะทำเฉพาะสิ่งที่จำเป็น และต้องไม่ใช้เงินทุนมาก โดยขณะนี้เรามีเงินสดหมุนเวียนจำนวน ประมาณ 300 ล้านบาท"
ปัจจุบันธุรกิจในเครือของ ประกิต โฮลดิ้งส์ มีครบวงจรทั้งด้านงานประชาสัมพันธ์ และงานโปรโมชั่น แต่กำลังจะแตกบริษัทลูก และหน่วยงานย่อยที่เกี่ยวเนื่องออกไป ทั้งด้านการให้บริการ ไดเร็คมาร์เก็ตติ้ง และหน่วยงาน "FCB Healthcare" เพื่อขยายการให้บริการเฉพาะกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ
"สินค้าประเภทยา และสุขภาพ ต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านการสื่อสารการตลาดให้กับสินค้า ซึ่งเป็นการแตกเซ็กเมนท์ของเราออกไป โดยทางเอฟซีบี เน็ตเวิร์คได้มีบริการนี้อยู่แล้ว จึงส่งคนไปดูงานเพื่อศึกษาขั้นตอนการทำงานมาปรับใช้ในประเทศไทย"
นอกจากนี้ ประกิตยังวางแผนจะขยายไลน์ธุรกิจใหม่คือ จัดตั้งบริษัทให้บริการ "ดีไซน์แพ็คเกจจิ้ง"
อีกธุรกิจหนึ่งที่มองไว้ คือ การดีไซน์แพ็คเกจจิ้ง ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เพื่อหาข้อสรุปในการร่วมทุนเปิดบริษัทในประเทศไทย ซึ่งเรามองว่าตลาดนี้น่าสนใจ เพราะทุกสินค้าต้องการปรับปรุงแพ็คเกจจิ้งตลอดเวลา คาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่มาก
อย่างไรก็ตาม การลงทุนหลักๆ ของ ประกิต โฮลดิ้งส์ ยังคงให้น้ำหนักกับธุรกิจด้าน บีโลว์เดอะไลน์ (Below the Line) อันประกอบด้วยธุรกิจไดเร็คมาร์เก็ตติ้ง, จัดกิจกรรมอีเวนท์ และทำโปรโมชั่นต่างๆ นอกจากนั้น บริษัทยังให้ความสำคัญในด้านการบริหารเงินลงทุนร่วมด้วย
หลังจากบริษัทได้ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดคืนใน บริษัท ปับลิซีส (ประเทศไทย) ในสัดส่วน 50% ให้แก่กลุ่มลิซีส ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติฝรั่งเศส ออกไปตั้งแต่ปี 2547
แม้ว่ารายได้ส่วนหนึ่งจาก บริษัท ปับลิซีส (ประเทศไทย) จะหายไป และทำให้รายได้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 ลดลงอย่างมากนั้น
ประกิต อภิสารธนรักษ์ บอกว่า แต่บริษัทก็ได้รับเงินจากการขายหุ้นครั้งนี้จำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งประกิต โฮลดิ้งส์ ได้นำเงินก้อนนี้ไปจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลในนาม "กองทุนประกิต โฮลดิ้งส์" เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไป
กองทุนหุ้นดังกล่าว บริหารจัดการโดย "บลจ.ธนชาต" โดยมีนโยบายนำเงินไปลงทุนในหุ้นสามัญไม่เกิน 50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ส่วนที่เหลือนำไปลงทุนในหุ้นกู้ และตราสารการเงินต่างๆ
"ผลตอบแทนในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมาของกองทุนนี้ ได้รับผลตอบแทนมาไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทแล้ว"
นอกจากนั้น ช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 บริษัทยังได้ลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลเพิ่มอีก 1 กองทุน โดยมอบให้ "บล.ไทยพาณิชย์" เป็นผู้บริหารเงินลงทุนในหุ้นวงเงิน 20 ล้านบาท มีนโยบายการลงทุนแบบ "Privileged Select-IPO" ซึ่งเป็นกองทุนผสมยืดหยุ่น เน้นลงทุนหุ้นสามัญที่จดทะเบียนใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และตราสารหนี้ระยะสั้น
นอกจากนี้ ประกิต โฮลดิ้งส์ ยังมีพอร์ตลงทุนที่บริหารโดยฝ่ายลงทุนของบริษัทเอง ซึ่งได้ลงทุนต่อเนื่องมาราว 4-5 ปีแล้ว โดยให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นปันผล และหุ้นปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก เช่น หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ เดินเรือ และกลุ่มอาหาร เป็นต้น
"พอร์ตที่เราบริหารเอง มีมูลค่าเติบโตขึ้นมาราว 40-50 ล้านบาท แล้ว จะเน้นลงทุนในหุ้นปันผลดี แต่หุ้นในพอร์ตส่วนใหญ่ก็ให้ผลตอบแทนจากส่วนต่างกำไรที่ดีด้วย ซึ่งหากราคาหุ้นตก ก็ยังรอรับปันผลได้อีก 4-5% ต่อปี"
"ประกิต" เปิดเผยว่า เมื่อปี 2547 ได้ลงทุนในหุ้น CPF ที่ราคาประมาณ 3.50 บาท จำนวน 5 แสนหุ้น เมื่อราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาก็ได้ทยอยขายหุ้นออกไปที่ราคาประมาณ 5.70 บาท ได้กำไรมาประมาณ 1 ล้านบาท และยังได้รับเงินปันผลมาอีกจำนวนหนึ่งด้วย นับเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
นอกจากนั้น บริษัทยังมีหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เช่น หุ้น BBL, KBANK, SCB, KTB และ SCIB รวมถึงหุ้นพลังงานอย่าง TOP แต่ตอนนี้ได้ขายทำกำไรไปแล้วที่ราคา 72 บาท จากต้นทุนที่ซื้อมา 60-61 บาท
หรือถ้าเป็นหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็จะเลือกหุ้น LH ในกลุ่มเดินเรือลงทุน เช่น PSL, TTA และ RCL ซึ่งส่วนใหญ่จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ดีมากราว 7-8% ต่อปี
"ถ้าเป็นสไตล์กองทุนส่วนบุคคลที่ให้ บลจ.ธนชาต บริหารจะเข้าเร็วออกเร็ว ได้กำไร 10-15% ก็ขาย แต่พอร์ตของบริษัท จะเน้นลงทุนระยะยาว ซื้อแล้วเก็บไว้รอรับเงินปันผล แต่เมื่อราคาหุ้นขึ้นเราก็ได้กำไรส่วนต่างอีกทาง"
เมื่อถามถึงแนวโน้มผลประกอบการของบริษัท "ประกิต" กล่าวว่า มีทิศทางอ่อนตัวลง (มาก) ในปีนี้ และผลการดำเนินงานของบริษัทอาจจะชะลอตัวต่อเนื่องไปถึงปี 2549 ด้วย
"ในแง่ของกำไรสุทธิปีนี้จะสู้ปีที่แล้วไม่ได้แน่นอน ซึ่งถือว่าเป็นปีแรก (ในรอบหลายปี) ที่กำไรสุทธิของเราจะลดลง และคาดว่าจะต่อเนื่องไปถึง 2549 ซึ่งเป็นปีที่น่าจะเหนื่อยมาก"
สำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนปีนี้ ประกิต โฮลดิ้งส์ มีรายได้ 203.19 ล้านบาท เทียบกับทั้งปี 2547 มีรายได้ถึง 572.24 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเพียง 20.92 ล้านบาท ขณะที่ทั้งปี 2547 มีกำไรสุทธิสูงถึง 156.57 ล้านบาท
ประกิต กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า ทั้งรายได้ และกำไรสุทธิในปี 2548 นี้คงจะเติบโตลำบาก แต่เรายังมั่นใจว่าบริษัทยังมีกำไร และมีความสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ราว 5% ต่อปี
"ผมมองว่าหุ้น P-FCB ไม่เหมาะกับคนเก็งกำไร เพราะไม่ใช่หุ้นหวือหวา และปัจจุบันผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ก็ไม่ยอมขายหุ้นออกมา หุ้นเราจึงไม่ค่อยมีสภาพคล่องการซื้อขายในตลาดมากนัก" ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ ประธานกรรมการ บริษัท ประกิต โฮลดิ้งส์ กล่าวปิดท้าย
-
- ผู้ติดตาม: 0
เปิดใจ.."ประกิต อภิสารธนรักษ์" "ประกิต โฮลดิ้
โพสต์ที่ 2
สรุปว่าเล่นหุ้นกำไรกว่าหรือคับ? ทำไมไม่ซื้อหุ้นคืนถ้างั้น?
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
เปิดใจ.."ประกิต อภิสารธนรักษ์" "ประกิต โฮลดิ้
โพสต์ที่ 3
เขาซื้อคืนไปบ้างแล้ว ที่ 10.50 บาท เมื่อต้นปี
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
-
- Verified User
- โพสต์: 424
- ผู้ติดตาม: 0
เปิดใจ.."ประกิต อภิสารธนรักษ์" "ประกิต โฮลดิ้
โพสต์ที่ 5
ซื้อหุ้นปันผลดีก็ดีอย่างนี้แหละครับ