MBK กับสยามพารากอน
- zolomon
- Verified User
- โพสต์: 365
- ผู้ติดตาม: 0
MBK กับสยามพารากอน
โพสต์ที่ 1
เท่าที่รู้คือ MBK ถือหุ้นทางอ้อมในสยามพารากอนประมาณ 15%
สยามพารากอนจะเปิดเดือนหน้า (ถ้าทัน) ใครพอจะทราบไหมครับว่า ตัวสยามพารากอนเนี่ยรายได้จะเริ่มเข้าเดือนไหน ได้ยินว่าพื้นที่จองเต็มหมดแล้ว อยากจะทราบข้อมูลของสยามพารากอน หาได้ที่ไหนครับ
สยามพารากอนจะเปิดเดือนหน้า (ถ้าทัน) ใครพอจะทราบไหมครับว่า ตัวสยามพารากอนเนี่ยรายได้จะเริ่มเข้าเดือนไหน ได้ยินว่าพื้นที่จองเต็มหมดแล้ว อยากจะทราบข้อมูลของสยามพารากอน หาได้ที่ไหนครับ
“If we wait for the moment when everything, absolutely everything is ready, we shall never begin.”
Ivan Turgenev
Ivan Turgenev
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
MBK กับสยามพารากอน
โพสต์ที่ 2
สยามพารากอน จุดพลุ ถนนสายช้อปปิ้ง
สุภัทธา สุขชู
Positioning Magazine ตุลาคม 2548
ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ชฎาทิพ จูตระกูล และศุภลักษณ์ อัมพุช สองผู้บริหารหญิงเหล็ก หัวหอกแห่งสยามพารากอน นำกองทัพนักข่าวเยี่ยมชมภายในโครงการระดับโลกเป็นครั้งแรก เพื่อยืนยันความพร้อมในการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ หลังจากเลื่อนมาแล้วหลายครั้ง
แม้โครงสร้างภายนอกจะเป็นรูปเป็นร่างแล้วก็ตาม แต่ภายในยังที่ยากจะคาดเดา แต่ทั้งชฎาทิพและศุภลักษณ์กลับให้ทุกรายละเอียดว่า ที่ว่างตรงนี้จะเป็น flagship store หรือ first store ของแบรนด์ใด ...ทำเอาบรรดานักข่าวต้องหลับตานึกภาพตาม
การเปิดตัวโครงการสยามพารากอนปลุกกระแสความตื่นตัวของบรรดาศูนย์การค้าทั้งใหญ่และเล็กตลอดแนวถนนพระราม 1 จนถึงสุขุมวิท 31 ที่พากันปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อรับสงครามค้าปลีกที่จะเกิดขึ้น ขณะที่ปรากฏการณ์ยังเปลี่ยนถนนเส้นนี้ให้เป็น Shopping Street อยู่บนแผนที่ถนนช้อปปิ้งโลก
ในสายตาของศุภลักษณ์คู่แข่งที่สูสีกับสยามพารากอน น่าจะเป็นศูนย์การค้ายักษ์ใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น Pacific Place หรือ IFC Mall ในฮ่องกง Takashimaya Mall ในสิงคโปร์ Plaza 66ในเซี่ยงไฮ้ Taipei 101ในไต้หวัน และ Dubai Mall ในดูไบ เป็นต้น ซึ่งเธอยังบอกด้วยว่า ความใหญ่ของสยามพารากอนส่งผลให้รัฐบาลสิงคโปร์เปิดกาสิโนในประเทศ เพื่อกันไม่ให้นักท่องเที่ยวไหลมากรุงเทพฯ
สำหรับกลุ่มลูกค้าของสยามพารากอนเป็นกลุ่มคนที่มีรสนิยมระดับ Bขึ้นไปจนถึง A+(+) คาดว่าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว 30% และคนที่อาศัยในเมืองไทยอีก 70% ค่าใช้จ่ายต่อหัวภายในห้างเฉลี่ย 1,000 บาท/คน และนอกห้างเฉลี่ย 3,000 บาท/คน โดยสนนราคาสินค้าเริ่มตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลายสิบล้าน ทั้งนี้ เป้ารายได้เดือนแรกๆ ตั้งไว้ที่ 2,000 ล้านบาท และคาดว่าจะคืนทุนได้ภายใน 3 ปี
10 ที่สุดของสยามพารากอน
1. เป็นศูนย์การค้าที่ใช้เม็ดเงินลงทุนสูงที่สุด กว่า 15,000 ล้านบาท
2. เป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่กว่า 500,000 ตร.ม.
3. เป็นศูนย์การค้าที่มีร้านค้าแบรนด์เนมชั้นนำของโลกและของไทยมากที่สุด กว่า 250 ร้าน
4. เป็นศูนย์การค้าที่ใช้สถาปนิกและดีไซเนอร์มากที่สุด กว่า 100 คน (ยังไม่รวมดีไซเนอร์ของแต่ละร้าน)
5. เป็นศูนย์การค้าที่ flagship store และ first store ของแบรนด์ชั้นนำมากที่สุด
6. เป็นศูนย์กลางค้าเพชรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย กว่า 50 ร้านค้าชั้นนำของโลกและของไทย
7. มีอะควาเรี่ยมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
8. เป็นศูนย์การค้าที่มีเลนโบว์ลิ่งเยอะที่สุด 52 เลน
9. เป็นศูนย์การค้าที่มีความจุของโรงหนังมากที่สุด 5,500 ที่นั่ง และโรงหนัง Imax อีก 600 ที่นั่ง
10. เป็นศูนย์การค้าที่มีดีพาร์ตเมนต์สโตร์ที่ใหญ่ที่สุด พื้นที่ 80,000 ตร.ม.
Did You Know?
ด้วยความใหญ่ของลานจอดรถชั้นใต้ดินซึ่งมีเนื้อที่ 25 ไร่ สยามพารากอนจึงลงทุนติดตั้งหัวอ่านบัตรจอดรถที่ประตูเข้าห้าง เพื่อทำให้ลูกค้าทราบว่าจอดรถอยู่ล็อกไหน โดยงบลงทุนในระบบ Intelligent Car Park นี้สูงกว่า 10 ล้านบาท
Stores of Super Brand
ในจำนวนกว่า 250 ร้านค้าของแบรนด์ชั้นนำของโลกและของไทยนั้น มีหลายร้านที่เป็น flagship store มีขนาดตั้งแต่ 300 - 2,000 กว่า ตร.ม. หลายร้านยังเป็นร้านที่มาเปิดที่สยามพารากอนเป็นแห่งแรกในเอเชีย หรือครั้งแรกในประเทศไทย แต่ทุกร้านสองผู้บริหารสาวรับรองว่ามีการดีไซน์ตกแต่งที่มีเอกลักษณ์และพิถีพิถันโดยดีไซเนอร์ชั้นนำของโลก มูลค่าการแต่งร้านสูงถึง 60 - 150 ล้านบาท
1. Super Car Stores
พื้นที่ร่วม 14,000 ตร.ม. สำหรับผู้นำเข้ารถยนต์ซูเปอร์คาร์ได้นำสินค้ามาจัดจำหน่ายและแสดงในคอนเซ็ปต์การจัดร้านแบบแกลเลอรี่ ซึ่งแบรนด์ที่จะมาอวดโฉม ได้แก่ ปอร์เช่ จากัวร์ และเบนท์เลย์ จากค่าย AAS หรือเฟอร์รารี่ มาเซราติ และบีเอ็มดับเบิลยูและมินิ ซึ่งนำมาจำหน่ายคอลเลกชั่นเสื้อผ้า นาฬิกา ฯลฯ มาจำหน่ายด้วย
2. Lee Marine : Yatch Store
คงจะไม่ง่ายที่จะได้เห็นเรือยอตช์เข้ามาจอดกลางใจเมือง และบนห้างสรรพสนค้า แต่ที่นี่เราจะได้เห็นเรือยอตช์ที่แพงที่สุดคือ Ferretti สนนราคาก็แค่ไม่กี่แสนเหรียญสหรัฐ
3. Kinokuniya
ร้านคิโนคูนิยะที่นี่มีพื้นที่กว่า 2 พัน ตร.ม. ถือเป็นร้านหนังสือนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในประ เทศ โดยคอนเซ็ปต์การแต่งร้านจะแตกต่างไป เพราะนำแรงบันดาลใจมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาและใบบัว ที่นี่จะรวบรวมหนังสือหลากภาษาจากทั่วโลก พร้อมมีมุมกาแฟและมุมแสดงผลงานศิลปะ
4. Mikimoto Flagship Store
มิกิโมโต้ คือ บริษัทผู้ออกแบบมงกุฎเพชรให้กับมิสยูนิเวิร์สคนล่าสุด ซึ่งเลือกมาเปิดร้านที่สยามพารากอน โดยมิกิโมโต้ตั้งใจให้สาขานี้เป็นศูนย์กลางในการค้าขายเครื่องประดับ ให้กับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย ร้านที่นี่จึงถูกดีไซน์ให้หรูหรากว่าอีก 100 แห่งทั่วโลก
5. Hugo boss : Concept Store
ร้าน Hugo boss ที่สยามพารากอนจะเปิดเป็นแนว concept store ที่จะนำเอาสินค้าแฟชั่นของผู้หญิงมาจัดจำหน่ายและแสดงด้วย เป็นครั้งแรก
6. Swaroskvi : Concept Store
จากร้านเครื่องประดับและเพชรที่มีชื่อเสียงมาจากต่างประเทศ สำหรับ Swaroski Concept Store ที่สยามพารากอนนี้จะมีการนำเอาคอลเลกชั่นเสื้อผ้าเข้ามาจำหน่ายด้วย
7. Vertu Store
ร้านนี้ถือเป็นร้านแรกในประเทศไทย และเป็นร้านแรกในโลกที่เปลี่ยนคอนเซ็ปต์จากความคลาสสิกมาเป็น Vertu Gift Shop เพิ่มเทคโนโลยีและความทันสมัย แต่ก็ยังคงความหรูหราและคลาสสิกในตัวของสินค้าไว้ โดยเลือกชั้น 1 ของห้าง ซึ่งเป็น luxury lifestyle เป็นที่ตั้งร้าน เพื่อสร้างแบรนด์ Vertu ให้มีภาพความเป็นสินค้าแฟชั่น
8. Jim Thompson
จิม ทอมป์สัน เลือกใช้ร้านที่สยามพารากอนเป็น flagship store
Magnet
นอกจากบรรดาร้านค้ากว่า 250 แบรนด์ สยามพารากอนยังมีโซน World of Entertainment ทำหน้าที่เป็นเหมือน แม่เหล็ก ดึงดูดคนที่ไม่ใช่นักช้อป ให้เดินเข้ามาหาความเพลิดเพลินจากกิจกรรมอื่น ณ ที่นี่ ตัวอย่าง ความบันเทิง เหล่านั้น เช่น
1. Siam Ocean World
สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ เป็นอะควาเรี่ยมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียและออสเตรเลีย และยังใหญ่เป็นอันดับสองของโลก สร้างอยู่ชั้นใต้ดิน มีพื้นที่กว่าหนึ่งหมื่น ตร.ม. และมีสัตว์น้ำกว่า 3 หมื่นชนิด กว่า 400 สายพันธุ์ จากมหาสมุทรทั่วโลก เช่น ปลาฉลาม นกเพนกวิน และแมวน้ำจากขั้วโลกใต้ เป็นต้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สามารถชมวิวได้ถึง 360 องศา ซึ่งในโลกมีเพียง 2 แห่ง คือ ออสเตรเลีย และเมืองไทย
สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ ต้องใช้งบลงทุนกว่าพันล้านบาท โดยมีบริษัท โอเชียนนิส ออสเตรเลีย กรุ๊ป เป็นผู้ลงทุนและพัฒนา ซึ่งที่นี่นับเป็นอะควาเรี่ยมในศูนย์การค้าแห่งแรกของโลก ทั้งนี้ ทั้งผู้บริหารของสยามพารากอน และโอเชียนนิสฯ ต่างก็ตั้งเป้าให้ สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ แหล่งท่องเที่ยวระดับโลก
2. Siam Opera House
สยาม โอเปร่า เฮาส์ เป็นโรงละคร แนวบอร์ดเวย์ แห่งแรกของไทย ตั้งอยู่บนชั้น 5 สามรถจุคนดูได้ถึง 1,800 ที่นั่ง ส่วนละครที่จะนำเข้ามาแสดง เช่น "The Phantom of the Opera", "Miss Saigon", "Cats" และ "Les Misera-ble" เจ้าของโครงการคือ บริษัท เนเชอรัล ปาร์ค หวังปั้นให้เทียบชั้นกับ เดอะ โอเปร่า เฮาส์ ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย หรือของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ให้ได้ จึงยอมลงทุนว่าจ้างบริษัท Cameron Mackintosh Consultant ที่ปรึกษาโรงละครระดับโลก มาดูแลมาตรฐาน (แต่คงต้องรอต่อไปอีก 18 เดือนถึงจะได้สัมผัสของจริง)
3. Paragpon Cinepolis
บนเนื้อที่กว่า 20,000 ตร.ม. ในโซน Paragon World of Entertainment ของสยามพารากอน ส่วนพื้นที่ของโรงภาพยนตร์แนวใหม่ที่มีความหรูหราจำนวน 15 โรง รองรับผู้ชมได้ 5,500 ที่นั่ง และโรงภาพยนตร์จอยักษ์ 3 มิติ IMAX 600 ที่นั่ง รวมทั้งเมเจอร์โบว์ 52 เลน โดยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ยอมทุ่มทุน 1,000 ล้านบาทเพื่อสร้างความแตกต่าง และทำให้ที่นี่เป็นเมืองแห่งหนังและเอนเตอร์เทนเมนต์ที่ยิ่งใหญ่และดีที่สุดในเอเชีย และดีที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก
ทั้งนี้ ส่วนที่เป็นไฮไลต์ของโรงภาพยนตร์ก็คือ โรงภาพยนตร์แกรนด์ เธียเตอร์ ที่จุคนได้ถึง 1,200 ที่นั่ง โดยภายในถูกออกแบบให้มี private balcony รองรับแขกสำคัญระดับประเทศ หรือแขก VIP ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่เข้มงวด ได้จำนวนมากถึง 200 คน
4. Paragon Gourmet Market & Food Hall
เป็นพื้นที่ศูนย์อาหารที่หลากหลายทั้งชนิด รูปแบบ รสชาติ และราคา ตั้งอยู่ที่ชั้น Street Level บนเนื้อที่ราวหมื่นตร.ม. จัดเป็นศูนย์อาหารที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ส่วนของ food hall จะเป็นร้านค้าสไตล์ open kitchen กว่า 30 ร้าน ทั้งนี้อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ best original taste และ trend of food fashion
5. Royal Paragon Hall
รอยัล พารากอน ฮอลล์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ใช้งบก่อสร้างราว 380 ล้านบาท ตั้งอยู่บนชั้น 6 มีพื้นที่ประมาณ 12,000 ตร.ม. จุคนได้ราว 5 พันคน จุดเด่นอีกประการคือความสูงที่มากถึง 12.50 เมตร และมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยไว้ให้บริการจึงจัดงานได้หลากหลาย เป้าหมายก็คือทำพื้นที่นี้ให้เป็น lifestyle hall รองรับอีเวนต์การตลาด งานคอนเสิร์ต งานประชุม งานแสดงสินค้า หรือนิทรรศการของคนเมือง โดยตั้งใจเจาะกลุ่ม niche market ซึ่งเลือกพื้นที่ได้ตามขนาดที่ต้องการ
Did You Know?
ห้างใหญ่ๆ บนถนนสายช้อปปิ้งที่มีการปรับใหม่ ส่วนใหญ่จะจัดเตรียมพื้นที่ว่างเอาไว้สำหรับให้บริการเช่าจัดงานอีเวนต์ทางการตลาด ทั้ง Royal Paragon Hall ของสยามพารากอน, ลานกิจกรรมชั้นล่างที่เชื่อมระหว่างสยามเซ็นเตอร์และสยามดิสคัฟเวอรี่, ชั้น 1 และชั้น 45 ของเซ็นทรัลเวิลด์ ออฟฟิศ, ลานกิจกรรมตรงกลางของเกษรพลาซ่า และ Living Hall ซึ่งเป็นอีเวนต์ ฮอลล์ของ The Emporium ซึ่งเพิ่งปรับไม่นาน
http://www.positioningmag.com/Magazine/ ... x?id=41068
สุภัทธา สุขชู
Positioning Magazine ตุลาคม 2548
ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ชฎาทิพ จูตระกูล และศุภลักษณ์ อัมพุช สองผู้บริหารหญิงเหล็ก หัวหอกแห่งสยามพารากอน นำกองทัพนักข่าวเยี่ยมชมภายในโครงการระดับโลกเป็นครั้งแรก เพื่อยืนยันความพร้อมในการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ หลังจากเลื่อนมาแล้วหลายครั้ง
แม้โครงสร้างภายนอกจะเป็นรูปเป็นร่างแล้วก็ตาม แต่ภายในยังที่ยากจะคาดเดา แต่ทั้งชฎาทิพและศุภลักษณ์กลับให้ทุกรายละเอียดว่า ที่ว่างตรงนี้จะเป็น flagship store หรือ first store ของแบรนด์ใด ...ทำเอาบรรดานักข่าวต้องหลับตานึกภาพตาม
การเปิดตัวโครงการสยามพารากอนปลุกกระแสความตื่นตัวของบรรดาศูนย์การค้าทั้งใหญ่และเล็กตลอดแนวถนนพระราม 1 จนถึงสุขุมวิท 31 ที่พากันปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อรับสงครามค้าปลีกที่จะเกิดขึ้น ขณะที่ปรากฏการณ์ยังเปลี่ยนถนนเส้นนี้ให้เป็น Shopping Street อยู่บนแผนที่ถนนช้อปปิ้งโลก
ในสายตาของศุภลักษณ์คู่แข่งที่สูสีกับสยามพารากอน น่าจะเป็นศูนย์การค้ายักษ์ใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น Pacific Place หรือ IFC Mall ในฮ่องกง Takashimaya Mall ในสิงคโปร์ Plaza 66ในเซี่ยงไฮ้ Taipei 101ในไต้หวัน และ Dubai Mall ในดูไบ เป็นต้น ซึ่งเธอยังบอกด้วยว่า ความใหญ่ของสยามพารากอนส่งผลให้รัฐบาลสิงคโปร์เปิดกาสิโนในประเทศ เพื่อกันไม่ให้นักท่องเที่ยวไหลมากรุงเทพฯ
สำหรับกลุ่มลูกค้าของสยามพารากอนเป็นกลุ่มคนที่มีรสนิยมระดับ Bขึ้นไปจนถึง A+(+) คาดว่าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว 30% และคนที่อาศัยในเมืองไทยอีก 70% ค่าใช้จ่ายต่อหัวภายในห้างเฉลี่ย 1,000 บาท/คน และนอกห้างเฉลี่ย 3,000 บาท/คน โดยสนนราคาสินค้าเริ่มตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลายสิบล้าน ทั้งนี้ เป้ารายได้เดือนแรกๆ ตั้งไว้ที่ 2,000 ล้านบาท และคาดว่าจะคืนทุนได้ภายใน 3 ปี
10 ที่สุดของสยามพารากอน
1. เป็นศูนย์การค้าที่ใช้เม็ดเงินลงทุนสูงที่สุด กว่า 15,000 ล้านบาท
2. เป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่กว่า 500,000 ตร.ม.
3. เป็นศูนย์การค้าที่มีร้านค้าแบรนด์เนมชั้นนำของโลกและของไทยมากที่สุด กว่า 250 ร้าน
4. เป็นศูนย์การค้าที่ใช้สถาปนิกและดีไซเนอร์มากที่สุด กว่า 100 คน (ยังไม่รวมดีไซเนอร์ของแต่ละร้าน)
5. เป็นศูนย์การค้าที่ flagship store และ first store ของแบรนด์ชั้นนำมากที่สุด
6. เป็นศูนย์กลางค้าเพชรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย กว่า 50 ร้านค้าชั้นนำของโลกและของไทย
7. มีอะควาเรี่ยมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
8. เป็นศูนย์การค้าที่มีเลนโบว์ลิ่งเยอะที่สุด 52 เลน
9. เป็นศูนย์การค้าที่มีความจุของโรงหนังมากที่สุด 5,500 ที่นั่ง และโรงหนัง Imax อีก 600 ที่นั่ง
10. เป็นศูนย์การค้าที่มีดีพาร์ตเมนต์สโตร์ที่ใหญ่ที่สุด พื้นที่ 80,000 ตร.ม.
Did You Know?
ด้วยความใหญ่ของลานจอดรถชั้นใต้ดินซึ่งมีเนื้อที่ 25 ไร่ สยามพารากอนจึงลงทุนติดตั้งหัวอ่านบัตรจอดรถที่ประตูเข้าห้าง เพื่อทำให้ลูกค้าทราบว่าจอดรถอยู่ล็อกไหน โดยงบลงทุนในระบบ Intelligent Car Park นี้สูงกว่า 10 ล้านบาท
Stores of Super Brand
ในจำนวนกว่า 250 ร้านค้าของแบรนด์ชั้นนำของโลกและของไทยนั้น มีหลายร้านที่เป็น flagship store มีขนาดตั้งแต่ 300 - 2,000 กว่า ตร.ม. หลายร้านยังเป็นร้านที่มาเปิดที่สยามพารากอนเป็นแห่งแรกในเอเชีย หรือครั้งแรกในประเทศไทย แต่ทุกร้านสองผู้บริหารสาวรับรองว่ามีการดีไซน์ตกแต่งที่มีเอกลักษณ์และพิถีพิถันโดยดีไซเนอร์ชั้นนำของโลก มูลค่าการแต่งร้านสูงถึง 60 - 150 ล้านบาท
1. Super Car Stores
พื้นที่ร่วม 14,000 ตร.ม. สำหรับผู้นำเข้ารถยนต์ซูเปอร์คาร์ได้นำสินค้ามาจัดจำหน่ายและแสดงในคอนเซ็ปต์การจัดร้านแบบแกลเลอรี่ ซึ่งแบรนด์ที่จะมาอวดโฉม ได้แก่ ปอร์เช่ จากัวร์ และเบนท์เลย์ จากค่าย AAS หรือเฟอร์รารี่ มาเซราติ และบีเอ็มดับเบิลยูและมินิ ซึ่งนำมาจำหน่ายคอลเลกชั่นเสื้อผ้า นาฬิกา ฯลฯ มาจำหน่ายด้วย
2. Lee Marine : Yatch Store
คงจะไม่ง่ายที่จะได้เห็นเรือยอตช์เข้ามาจอดกลางใจเมือง และบนห้างสรรพสนค้า แต่ที่นี่เราจะได้เห็นเรือยอตช์ที่แพงที่สุดคือ Ferretti สนนราคาก็แค่ไม่กี่แสนเหรียญสหรัฐ
3. Kinokuniya
ร้านคิโนคูนิยะที่นี่มีพื้นที่กว่า 2 พัน ตร.ม. ถือเป็นร้านหนังสือนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในประ เทศ โดยคอนเซ็ปต์การแต่งร้านจะแตกต่างไป เพราะนำแรงบันดาลใจมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาและใบบัว ที่นี่จะรวบรวมหนังสือหลากภาษาจากทั่วโลก พร้อมมีมุมกาแฟและมุมแสดงผลงานศิลปะ
4. Mikimoto Flagship Store
มิกิโมโต้ คือ บริษัทผู้ออกแบบมงกุฎเพชรให้กับมิสยูนิเวิร์สคนล่าสุด ซึ่งเลือกมาเปิดร้านที่สยามพารากอน โดยมิกิโมโต้ตั้งใจให้สาขานี้เป็นศูนย์กลางในการค้าขายเครื่องประดับ ให้กับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย ร้านที่นี่จึงถูกดีไซน์ให้หรูหรากว่าอีก 100 แห่งทั่วโลก
5. Hugo boss : Concept Store
ร้าน Hugo boss ที่สยามพารากอนจะเปิดเป็นแนว concept store ที่จะนำเอาสินค้าแฟชั่นของผู้หญิงมาจัดจำหน่ายและแสดงด้วย เป็นครั้งแรก
6. Swaroskvi : Concept Store
จากร้านเครื่องประดับและเพชรที่มีชื่อเสียงมาจากต่างประเทศ สำหรับ Swaroski Concept Store ที่สยามพารากอนนี้จะมีการนำเอาคอลเลกชั่นเสื้อผ้าเข้ามาจำหน่ายด้วย
7. Vertu Store
ร้านนี้ถือเป็นร้านแรกในประเทศไทย และเป็นร้านแรกในโลกที่เปลี่ยนคอนเซ็ปต์จากความคลาสสิกมาเป็น Vertu Gift Shop เพิ่มเทคโนโลยีและความทันสมัย แต่ก็ยังคงความหรูหราและคลาสสิกในตัวของสินค้าไว้ โดยเลือกชั้น 1 ของห้าง ซึ่งเป็น luxury lifestyle เป็นที่ตั้งร้าน เพื่อสร้างแบรนด์ Vertu ให้มีภาพความเป็นสินค้าแฟชั่น
8. Jim Thompson
จิม ทอมป์สัน เลือกใช้ร้านที่สยามพารากอนเป็น flagship store
Magnet
นอกจากบรรดาร้านค้ากว่า 250 แบรนด์ สยามพารากอนยังมีโซน World of Entertainment ทำหน้าที่เป็นเหมือน แม่เหล็ก ดึงดูดคนที่ไม่ใช่นักช้อป ให้เดินเข้ามาหาความเพลิดเพลินจากกิจกรรมอื่น ณ ที่นี่ ตัวอย่าง ความบันเทิง เหล่านั้น เช่น
1. Siam Ocean World
สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ เป็นอะควาเรี่ยมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียและออสเตรเลีย และยังใหญ่เป็นอันดับสองของโลก สร้างอยู่ชั้นใต้ดิน มีพื้นที่กว่าหนึ่งหมื่น ตร.ม. และมีสัตว์น้ำกว่า 3 หมื่นชนิด กว่า 400 สายพันธุ์ จากมหาสมุทรทั่วโลก เช่น ปลาฉลาม นกเพนกวิน และแมวน้ำจากขั้วโลกใต้ เป็นต้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สามารถชมวิวได้ถึง 360 องศา ซึ่งในโลกมีเพียง 2 แห่ง คือ ออสเตรเลีย และเมืองไทย
สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ ต้องใช้งบลงทุนกว่าพันล้านบาท โดยมีบริษัท โอเชียนนิส ออสเตรเลีย กรุ๊ป เป็นผู้ลงทุนและพัฒนา ซึ่งที่นี่นับเป็นอะควาเรี่ยมในศูนย์การค้าแห่งแรกของโลก ทั้งนี้ ทั้งผู้บริหารของสยามพารากอน และโอเชียนนิสฯ ต่างก็ตั้งเป้าให้ สยาม โอเชี่ยน เวิลด์ แหล่งท่องเที่ยวระดับโลก
2. Siam Opera House
สยาม โอเปร่า เฮาส์ เป็นโรงละคร แนวบอร์ดเวย์ แห่งแรกของไทย ตั้งอยู่บนชั้น 5 สามรถจุคนดูได้ถึง 1,800 ที่นั่ง ส่วนละครที่จะนำเข้ามาแสดง เช่น "The Phantom of the Opera", "Miss Saigon", "Cats" และ "Les Misera-ble" เจ้าของโครงการคือ บริษัท เนเชอรัล ปาร์ค หวังปั้นให้เทียบชั้นกับ เดอะ โอเปร่า เฮาส์ ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย หรือของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ให้ได้ จึงยอมลงทุนว่าจ้างบริษัท Cameron Mackintosh Consultant ที่ปรึกษาโรงละครระดับโลก มาดูแลมาตรฐาน (แต่คงต้องรอต่อไปอีก 18 เดือนถึงจะได้สัมผัสของจริง)
3. Paragpon Cinepolis
บนเนื้อที่กว่า 20,000 ตร.ม. ในโซน Paragon World of Entertainment ของสยามพารากอน ส่วนพื้นที่ของโรงภาพยนตร์แนวใหม่ที่มีความหรูหราจำนวน 15 โรง รองรับผู้ชมได้ 5,500 ที่นั่ง และโรงภาพยนตร์จอยักษ์ 3 มิติ IMAX 600 ที่นั่ง รวมทั้งเมเจอร์โบว์ 52 เลน โดยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ยอมทุ่มทุน 1,000 ล้านบาทเพื่อสร้างความแตกต่าง และทำให้ที่นี่เป็นเมืองแห่งหนังและเอนเตอร์เทนเมนต์ที่ยิ่งใหญ่และดีที่สุดในเอเชีย และดีที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก
ทั้งนี้ ส่วนที่เป็นไฮไลต์ของโรงภาพยนตร์ก็คือ โรงภาพยนตร์แกรนด์ เธียเตอร์ ที่จุคนได้ถึง 1,200 ที่นั่ง โดยภายในถูกออกแบบให้มี private balcony รองรับแขกสำคัญระดับประเทศ หรือแขก VIP ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่เข้มงวด ได้จำนวนมากถึง 200 คน
4. Paragon Gourmet Market & Food Hall
เป็นพื้นที่ศูนย์อาหารที่หลากหลายทั้งชนิด รูปแบบ รสชาติ และราคา ตั้งอยู่ที่ชั้น Street Level บนเนื้อที่ราวหมื่นตร.ม. จัดเป็นศูนย์อาหารที่มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ส่วนของ food hall จะเป็นร้านค้าสไตล์ open kitchen กว่า 30 ร้าน ทั้งนี้อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ best original taste และ trend of food fashion
5. Royal Paragon Hall
รอยัล พารากอน ฮอลล์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ใช้งบก่อสร้างราว 380 ล้านบาท ตั้งอยู่บนชั้น 6 มีพื้นที่ประมาณ 12,000 ตร.ม. จุคนได้ราว 5 พันคน จุดเด่นอีกประการคือความสูงที่มากถึง 12.50 เมตร และมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยไว้ให้บริการจึงจัดงานได้หลากหลาย เป้าหมายก็คือทำพื้นที่นี้ให้เป็น lifestyle hall รองรับอีเวนต์การตลาด งานคอนเสิร์ต งานประชุม งานแสดงสินค้า หรือนิทรรศการของคนเมือง โดยตั้งใจเจาะกลุ่ม niche market ซึ่งเลือกพื้นที่ได้ตามขนาดที่ต้องการ
Did You Know?
ห้างใหญ่ๆ บนถนนสายช้อปปิ้งที่มีการปรับใหม่ ส่วนใหญ่จะจัดเตรียมพื้นที่ว่างเอาไว้สำหรับให้บริการเช่าจัดงานอีเวนต์ทางการตลาด ทั้ง Royal Paragon Hall ของสยามพารากอน, ลานกิจกรรมชั้นล่างที่เชื่อมระหว่างสยามเซ็นเตอร์และสยามดิสคัฟเวอรี่, ชั้น 1 และชั้น 45 ของเซ็นทรัลเวิลด์ ออฟฟิศ, ลานกิจกรรมตรงกลางของเกษรพลาซ่า และ Living Hall ซึ่งเป็นอีเวนต์ ฮอลล์ของ The Emporium ซึ่งเพิ่งปรับไม่นาน
http://www.positioningmag.com/Magazine/ ... x?id=41068
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
MBK กับสยามพารากอน
โพสต์ที่ 4
http://www.businessthai.co.th/content.p ... 20Strategy
กลยุทธ์ Pre Sale สยามพารากอน
โดย บิสิเนสไทย [24-8-2002]
แขกไอโวเพียบ-ร้านค้าแห่จองแน่นอน
นับเป็นกลยุทธ์สร้างความสำเร็จ ครั้งที่ 2 ให้กับโครงการศูนย์การค้าอภิมหาโปรเจ็ค สยามพารากอนของกลุ่มเดอะ มอลล์ กรุ๊ป หลังจากครั้งแรกได้ใช้กลยุทธ์ Pre-Sale ด้วยการจัดงานเปิดตัวอย่างใหญ่โตให้กับศูนย์การค้าหรูเอ็ม- โพเรียมเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา จนประสบความสำเร็จ มีร้านค้าจองเต็มก่อนโครงการเริ่มลงมือก่อสร้าง และแบรนด์เอ็มโพเรียมเป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าหลัก ระดับสูง
การเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ของโครงการ สยามพารากอน The Pride of Bangkok เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ผ่านพ้นไปแล้ว เช่นกันด้วยความยิ่งใหญ่อลังการ สมกับที่ทีมผู้บริหารประกาศไว้ว่า ต้องการให้งานเปิดตัวครั้งนี้เป็นงานยิ่งใหญ่ประจำปี มีแขกเหรื่อคนสำคัญกว่า 4,000 คน เข้าร่วมงาน ซึ่งแน่นอนแขกผู้ร่วมงานเหล่านั้น คือส่วนหนึ่งของลูกค้าที่ต้องการเข้าชมคอนเซ็ปท์ของโครงการ ที่สยามพารากอนพยายามนำเสนอ ก่อนการ เปิดให้จองพื้นที่อย่างเป็นทางการในวันที่ 16 ส.ค.
นางชฎาทิพย์ จูตระกูล ผู้บริหารสูงสุด บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า งานเปิดตัวสยามพารากอน ใช้งบลงทุนกว่า 60 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบสำหรับสื่อเพื่อการโปรโมทงาน 40 ล้านบาท และงบการจัดงานอีกประมาณ 20 ล้านบาท และหลังจากงานเปิดตัวอย่างทางการ สยามพารากอนก็เปิดให้จองพื้นที่โครงการได้ทันทีในวันถัดมา จากการชี้แจงของนายเกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ผู้อำนวย-การด้านการตลาด มีผู้สนใจเข้าจองพื้นที่ก่อนงานเปิดตัวแล้วกว่า 300 ราย
ภายในงานเน้นการขายคอนเซ็ปท์ของ โครงการอย่างชัดเจน ตั้งแต่รูปแบบของงาน บรรยากาศภายในงาน รวมทั้งอาหารที่นำมาเลี้ยงแขก เน้นความเป็นไทยที่ห้อมล้อมด้วย ธรรมชาติ นอกจากการสร้างบรรยากาศด้วยคอนเซ็ปท์ที่ชัดเจนของโครงการสยามพารากอนแล้ว ทีมผู้บริหารสยามพารากอนยังทำหนังสือปกแข็งเล่มหรู ที่บอกรายละเอียดภายในโครงการสยามพารากอนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคอนเซ็ปท์ของโครงการ จำนวนพื้นที่ สถานบันเทิง และประเภทร้านค้าที่จะเข้าร่วมอยู่ในโครงการ
แผนการขายลักษณะนี้ ทีมงานของ ศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานคณะกรรมการ สยามพารากอน และประธานกลุ่ม เดอะ มอลล์ กรุ๊ป เคยใช้มาแล้วกับโครงการเอ็มโพเรียม ซึ่งถือเป็นโครงการศูนย์การค้าระดับบน (Hi-End) เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ทีมผู้บริหารเดอะมอลล์กรุ๊ป ได้จัดงานเปิดตัว ขายคอนเซ็ปท์โครงการ และเชิญแขกเหรื่อนับพันคนเข้าร่วมงาน จนประสบความสำเร็จในการขายพื้นที่อย่างงดงาม
สำหรับโครงการสยามพารากอน มีราคาค่าเซ้งพื้นที่สูงกว่าเอ็มโพเรียมประมาณ 20% (ราคาเซ้งเอ็มโพเรียม กว่าแสนบาทต่อตารางเมตร ระยะเวลาเซ้ง 25 ปี) และจ่ายค่ารายเดือนอีกกว่า 200 บาทต่อตร.ม. พื้นที่โครงการสยามพารากอนทั้งหมด 300,000 ตร.ม. แบ่งสัดส่วนเป็น ศูนย์การค้าแบนด์เนมชั้นนำระดับโลกและร้านค้าแนวหน้าของไทย 40,000 ตร.ม. เดอะพารากอน ห้องสรรพสินค้าระดับ Hi-End 50,000 ตร.ม. กรูเม่ต์ ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ 8,000 ตร.ม. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม 5,000 ตร.ม. ศูนย์รวมแหล่งความรู้ 15,000 ตร.ม. ศูนย์รวมความบันเทิง 25,000 ตร.ม. Lake & Parkscape 15,000 ตร.ม. ที่จอดรถ 100,000 ตร.ม.
นางสาวศุภลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากงานเปิดตัวที่ยิ่งใหญ่มโหฬารแล้ว สยามพารากอนจะจัดเรดโชว์ในประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย เพื่อ สรรหาร้านค้าแบรนด์เนมที่ยังไม่เคยเข้ามาเปิดตลาดในไทยเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม
หลังการขายคอนเซ็ปท์โครงการผ่านงานเปิดตัวที่ยิ่งใหญ่แล้ว จะมีงานตอกเสาเข็ม เริ่มต้นก่อสร้างโครงการประมาณเดือน พ.ย. 45 และโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จ ภายในปี 2548
กลยุทธ์ Pre Sale สยามพารากอน
โดย บิสิเนสไทย [24-8-2002]
แขกไอโวเพียบ-ร้านค้าแห่จองแน่นอน
นับเป็นกลยุทธ์สร้างความสำเร็จ ครั้งที่ 2 ให้กับโครงการศูนย์การค้าอภิมหาโปรเจ็ค สยามพารากอนของกลุ่มเดอะ มอลล์ กรุ๊ป หลังจากครั้งแรกได้ใช้กลยุทธ์ Pre-Sale ด้วยการจัดงานเปิดตัวอย่างใหญ่โตให้กับศูนย์การค้าหรูเอ็ม- โพเรียมเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา จนประสบความสำเร็จ มีร้านค้าจองเต็มก่อนโครงการเริ่มลงมือก่อสร้าง และแบรนด์เอ็มโพเรียมเป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าหลัก ระดับสูง
การเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ของโครงการ สยามพารากอน The Pride of Bangkok เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ผ่านพ้นไปแล้ว เช่นกันด้วยความยิ่งใหญ่อลังการ สมกับที่ทีมผู้บริหารประกาศไว้ว่า ต้องการให้งานเปิดตัวครั้งนี้เป็นงานยิ่งใหญ่ประจำปี มีแขกเหรื่อคนสำคัญกว่า 4,000 คน เข้าร่วมงาน ซึ่งแน่นอนแขกผู้ร่วมงานเหล่านั้น คือส่วนหนึ่งของลูกค้าที่ต้องการเข้าชมคอนเซ็ปท์ของโครงการ ที่สยามพารากอนพยายามนำเสนอ ก่อนการ เปิดให้จองพื้นที่อย่างเป็นทางการในวันที่ 16 ส.ค.
นางชฎาทิพย์ จูตระกูล ผู้บริหารสูงสุด บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า งานเปิดตัวสยามพารากอน ใช้งบลงทุนกว่า 60 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบสำหรับสื่อเพื่อการโปรโมทงาน 40 ล้านบาท และงบการจัดงานอีกประมาณ 20 ล้านบาท และหลังจากงานเปิดตัวอย่างทางการ สยามพารากอนก็เปิดให้จองพื้นที่โครงการได้ทันทีในวันถัดมา จากการชี้แจงของนายเกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ผู้อำนวย-การด้านการตลาด มีผู้สนใจเข้าจองพื้นที่ก่อนงานเปิดตัวแล้วกว่า 300 ราย
ภายในงานเน้นการขายคอนเซ็ปท์ของ โครงการอย่างชัดเจน ตั้งแต่รูปแบบของงาน บรรยากาศภายในงาน รวมทั้งอาหารที่นำมาเลี้ยงแขก เน้นความเป็นไทยที่ห้อมล้อมด้วย ธรรมชาติ นอกจากการสร้างบรรยากาศด้วยคอนเซ็ปท์ที่ชัดเจนของโครงการสยามพารากอนแล้ว ทีมผู้บริหารสยามพารากอนยังทำหนังสือปกแข็งเล่มหรู ที่บอกรายละเอียดภายในโครงการสยามพารากอนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคอนเซ็ปท์ของโครงการ จำนวนพื้นที่ สถานบันเทิง และประเภทร้านค้าที่จะเข้าร่วมอยู่ในโครงการ
แผนการขายลักษณะนี้ ทีมงานของ ศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานคณะกรรมการ สยามพารากอน และประธานกลุ่ม เดอะ มอลล์ กรุ๊ป เคยใช้มาแล้วกับโครงการเอ็มโพเรียม ซึ่งถือเป็นโครงการศูนย์การค้าระดับบน (Hi-End) เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ทีมผู้บริหารเดอะมอลล์กรุ๊ป ได้จัดงานเปิดตัว ขายคอนเซ็ปท์โครงการ และเชิญแขกเหรื่อนับพันคนเข้าร่วมงาน จนประสบความสำเร็จในการขายพื้นที่อย่างงดงาม
สำหรับโครงการสยามพารากอน มีราคาค่าเซ้งพื้นที่สูงกว่าเอ็มโพเรียมประมาณ 20% (ราคาเซ้งเอ็มโพเรียม กว่าแสนบาทต่อตารางเมตร ระยะเวลาเซ้ง 25 ปี) และจ่ายค่ารายเดือนอีกกว่า 200 บาทต่อตร.ม. พื้นที่โครงการสยามพารากอนทั้งหมด 300,000 ตร.ม. แบ่งสัดส่วนเป็น ศูนย์การค้าแบนด์เนมชั้นนำระดับโลกและร้านค้าแนวหน้าของไทย 40,000 ตร.ม. เดอะพารากอน ห้องสรรพสินค้าระดับ Hi-End 50,000 ตร.ม. กรูเม่ต์ ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ 8,000 ตร.ม. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม 5,000 ตร.ม. ศูนย์รวมแหล่งความรู้ 15,000 ตร.ม. ศูนย์รวมความบันเทิง 25,000 ตร.ม. Lake & Parkscape 15,000 ตร.ม. ที่จอดรถ 100,000 ตร.ม.
นางสาวศุภลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากงานเปิดตัวที่ยิ่งใหญ่มโหฬารแล้ว สยามพารากอนจะจัดเรดโชว์ในประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย เพื่อ สรรหาร้านค้าแบรนด์เนมที่ยังไม่เคยเข้ามาเปิดตลาดในไทยเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม
หลังการขายคอนเซ็ปท์โครงการผ่านงานเปิดตัวที่ยิ่งใหญ่แล้ว จะมีงานตอกเสาเข็ม เริ่มต้นก่อสร้างโครงการประมาณเดือน พ.ย. 45 และโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จ ภายในปี 2548
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
MBK กับสยามพารากอน
โพสต์ที่ 5
ผมว่าถ้า MBK เลิกถือหุ้นไข้วไปไข้วมา จะกลายเป็นหุ้นที่น่าลงทุนตัวหนึ่ง
ผมเคยทำกำไรนิดหน่อยจากตัวนี้ แต่พออ่านงบไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่เลยตัดสินใจขายดีกว่า :?
ผมเคยทำกำไรนิดหน่อยจากตัวนี้ แต่พออ่านงบไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่เลยตัดสินใจขายดีกว่า :?
I do not sleep. I dream.
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
MBK กับสยามพารากอน
โพสต์ที่ 7
บริษัท สยามพิวรรธ และพื้นที่ฝั่งนั้น เป็นของวัง แต่พื้นที่สยามสแควร์และมาบุญครองเป็นของมหาลัยจุฬาฯ
อยากรู้ว่าสองเจ้าของนี่ถึงกันได้หรือไม่
เพราะถ้ามาบุญครอง ต่อสัญญากับ จุฬาฯ ไม่ได้ ดูจะเรื่องใหญ่ แม้เคยได้ฟังผู้บริหารบอกว่า ได้ลงทุนทางอื่นเอาไว้เพื่อกันพลาดไว้แล้ว
แต่บริษัทก็ได้ออปชั่นเจรจาเพิ่มเติมหากคนอื่นให้ราคาดีกว่า
อยากรู้ว่าสองเจ้าของนี่ถึงกันได้หรือไม่
เพราะถ้ามาบุญครอง ต่อสัญญากับ จุฬาฯ ไม่ได้ ดูจะเรื่องใหญ่ แม้เคยได้ฟังผู้บริหารบอกว่า ได้ลงทุนทางอื่นเอาไว้เพื่อกันพลาดไว้แล้ว
แต่บริษัทก็ได้ออปชั่นเจรจาเพิ่มเติมหากคนอื่นให้ราคาดีกว่า
Expecto Patronum!!!!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
MBK กับสยามพารากอน
โพสต์ที่ 9
เปิดเพสแรก เดือนหน้านี้แล้ว
แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์
เนื่องจาก มีโรงหนังอีก
แล้วส่วนอื่นๆๆอีก
แต่ร้านค้าสำคัญต้องเปิด เพราะว่า มันใกล้ปีใหม่
ซึ่งเป็นช่วงขายของประจำปี
แต่ว่าไป ปีนี้เห็นว่าตลาดเงียบแปลกๆๆหรือเปล่า
คนยังไม่ค่อยซื้อของขวัญกันเท่าไร
ใครมองเห็นกันบ้างล่ะ
แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์
เนื่องจาก มีโรงหนังอีก
แล้วส่วนอื่นๆๆอีก
แต่ร้านค้าสำคัญต้องเปิด เพราะว่า มันใกล้ปีใหม่
ซึ่งเป็นช่วงขายของประจำปี
แต่ว่าไป ปีนี้เห็นว่าตลาดเงียบแปลกๆๆหรือเปล่า
คนยังไม่ค่อยซื้อของขวัญกันเท่าไร
ใครมองเห็นกันบ้างล่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 325
- ผู้ติดตาม: 0
MBK กับสยามพารากอน
โพสต์ที่ 12
รายชื่อผู้ถือหุ้นสยามพิวรรธน์ ณ. 30 เมษายน 2547 (หน่วยเป็นร้อยละ)
เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) 30.55340
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 24.53620
ทุนลดาวัลย์ จำกัด 10.42410
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 9.50000
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 5.19430
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 3.43330
บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด 2.03160
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 1.03450
รวมคนไทยน้อยกว่า 1 % 0.93410
ยูนิเวอร์แซล โฮลดิ้ง จำกัด 0.60690
นาย เกริกชัย เจริญรัชต์ภาคย์ 0.52440
ดร. ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ 0.52100
พ.ต.ต. นรวัฒน์ เจริญรัชต์ภาคย์ 0.52100
นาย ชาตรี โสภณพนิช 0.47530
นาง จงกลณี จันทรสาขา 0.45520
นาย บรรยงค์ ล่ำซำ 0.41320
เบอร์โก จำกัด 0.33910
นาวาเอก ดร. เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ 0.31980
ธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) 0.31610
นาย ศุภสิทธิ์ มหาคุณ 0.30570
นาง สิริมา ศรีวิกรม์ 0.30340
นาย ชาญ ศรีวิกรม์ 0.30340
นาย ชาย ศรีวิกรม์ 0.30340
นางสาว กรกฎ ศรีวิกรม์ 0.30340
นาย ทองดุลย์ ธนะรัชต์ 0.23560
หมายเหตุ ทุนจดทะเบียน 174 ล้านบาท
งบปี 46
รายได้รวม 1354.779 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 369.184 ล้านบาท
กำไรต่อห้น 22 บาท
เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) 30.55340
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 24.53620
ทุนลดาวัลย์ จำกัด 10.42410
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 9.50000
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 5.19430
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 3.43330
บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด 2.03160
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 1.03450
รวมคนไทยน้อยกว่า 1 % 0.93410
ยูนิเวอร์แซล โฮลดิ้ง จำกัด 0.60690
นาย เกริกชัย เจริญรัชต์ภาคย์ 0.52440
ดร. ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ 0.52100
พ.ต.ต. นรวัฒน์ เจริญรัชต์ภาคย์ 0.52100
นาย ชาตรี โสภณพนิช 0.47530
นาง จงกลณี จันทรสาขา 0.45520
นาย บรรยงค์ ล่ำซำ 0.41320
เบอร์โก จำกัด 0.33910
นาวาเอก ดร. เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ 0.31980
ธนาคาร ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) 0.31610
นาย ศุภสิทธิ์ มหาคุณ 0.30570
นาง สิริมา ศรีวิกรม์ 0.30340
นาย ชาญ ศรีวิกรม์ 0.30340
นาย ชาย ศรีวิกรม์ 0.30340
นางสาว กรกฎ ศรีวิกรม์ 0.30340
นาย ทองดุลย์ ธนะรัชต์ 0.23560
หมายเหตุ ทุนจดทะเบียน 174 ล้านบาท
งบปี 46
รายได้รวม 1354.779 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 369.184 ล้านบาท
กำไรต่อห้น 22 บาท