ประเดิมกระทู้แรกของห้องนี้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
ประเดิมกระทู้แรกของห้องนี้ครับ
โพสต์ที่ 3
อยู่บนชั้น 4 ครับ ขนาด 900 sq m ชั้นเดียวกับ Power Mall Ultra เลย อย่างไรก็ดีเหมือนว่า Power Mall จะเน้นไปที่สินค้าพวก AV อีกนิดนึงนะครับสำเรื่องเรื่อง Location ผมว่า IT จะได้รับประโยชน์มากขึ้นตอนที่โรงหนังบริเวณชั้น 5 เสร็จเรียบร้อยครับ คงต้องใช้เวลาอีกซักระยะ...เพิ่มเติมถ้าผมไม่ถือ IT ตอนนี้ผมก็คงไม่รู้เหมือนกันนะครับว่ามี IT City อยู่บนชั้น 4 คงต้องรอโรงหนังจริงๆ หรือไม่ก็ PR เพิ่มขึ้น
สำหรับจำนวนคนเดินนะครับคิดว่าปกติเหมือน IT ที่อื่นครับ แต่จะได้คนต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างตอนที่ผมไปเดินดูนี่ก็มีชาวต่างชาติกำลังเชกของอยู่ อย่างไรก็ดีผมได้สอบถามพนักงานที่ร้านเค้าบอกว่าตั้งแต่เปิดมาก็ยังพอใจกับยอดขายอยู่ คุณเอกชัยที่กลับมาจากต่างประเทศก็พึ่งไปเยี่ยมเมื่อวานตอนเช้าเหมือนกัน และหวังกับสาขานี้พอดูเหมือนกัน
สำหรับจำนวนคนเดินนะครับคิดว่าปกติเหมือน IT ที่อื่นครับ แต่จะได้คนต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างตอนที่ผมไปเดินดูนี่ก็มีชาวต่างชาติกำลังเชกของอยู่ อย่างไรก็ดีผมได้สอบถามพนักงานที่ร้านเค้าบอกว่าตั้งแต่เปิดมาก็ยังพอใจกับยอดขายอยู่ คุณเอกชัยที่กลับมาจากต่างประเทศก็พึ่งไปเยี่ยมเมื่อวานตอนเช้าเหมือนกัน และหวังกับสาขานี้พอดูเหมือนกัน
Impossible is Nothing
- bigshow
- Verified User
- โพสต์: 730
- ผู้ติดตาม: 0
ประเดิมกระทู้แรกของห้องนี้ครับ
โพสต์ที่ 5
เอสวีโอเอ" ทยอย-ขายหุ้น "ไอที ซิตี้"
แม้ "บริษัท ไอที ซิตี้" (IT) ผู้นำในธุรกิจไอทีค้าปลีก จะเป็นหุ้นขนาดเล็ก แต่เป็น "เล็กพริกขี้หนู" เพราะบริษัทที่ไม่มีหนี้สิน แถมยังมีเงินสดหมุนเวียน บวกกับการขยายตัว มากกว่าอุตสาหกรรมไอทีที่มีการโตเฉลี่ยปีละ 10%
จากกระแสธุรกิจ "โมเดิร์น เทรด" กำลังมาแรง ผลักดันให้ "ไอที ซิตี้" เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นหุ้นที่ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า พูดถึงบ่อย ในงานสัมมนาต่างๆ ในระยะ 4-5 เดือนที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน กลับเป็นผลดีต่อนักลงทุนรายใหญ่บางราย รวมถึงผู้บริหารบริษัท ได้จังหวะ "ขายทำกำไร" เมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น
"ดร.นิเวศน์ สนใจลงทุนในหุ้นธุรกิจค้าปลีกมาตั้งแต่ต้นปีนี้ และได้เข้ามาเยี่ยมชมกิจการโดยตลอด ซึ่งเราเองก็ได้โฟกัสไว้ว่า การดำเนินธุรกิจ และบริหารงานจะเป็นไปอย่างระมัดระวัง ไม่ให้มีความเสี่ยงเกินไป และผลักดันธุรกิจให้เดินไปอย่างมั่นคง" เอกชัย ศิริจิระพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไอที ซิตี้ กล่าว
ปัจจุบัน ไอที ซิตี้ ประกอบธุรกิจค้าปลีก เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องทางด้านไอทีแบบครบวงจร ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า "ไอที ซิตี้" ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกในรูปแบบไอที ซูเปอร์สโตร์
"ธรรมชาติของธุรกิจค้าปลีกไอทีอีก 5 ปีข้างหน้าจะคึกคักมาก ขณะที่ปัจจุบันธุรกิจนี้ เป็นแค่ช่วงเพิ่งเริ่มต้นของวงจรขาขึ้นเท่านั้น"
เอกชัย บอกว่า ไอที ซิตี้ วางแผนการเติบโตช่วง 3 ปีข้างหน้า (2549-2551) ว่าจะผลักดันให้บริษัทบรรลุเป้าหมายในระยะยาว คือ การขยายสาขาให้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และการเพิ่มผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ให้มากขึ้น
"เราต้องการขยายสาขาให้ได้ปีละ 5 สาขา คาดว่าสิ้นปี 2551 จะมีสาขาขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 40 สาขา จากสิ้นปี 2548 มีสาขาทั้งหมด 23 สาขา ขณะเดียวกันก็จะเน้นสินค้าโฮม ดิจิทัล (Home Digital) ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคต"
สำหรับแผนการใช้เงินลงทุนในช่วง 3 ปีข้างหน้า จะใช้ประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งบริษัทไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน แต่จะใช้เงินจากการดำเนินงาน และเงินทุนหมุนเวียนมาลงทุน
"การเพิ่มสาขาและเพิ่มผลิตภัณฑ์ เป็นภารกิจที่ไอที ซิตี้ มุ่งมั่นและเป็นจุดแข็ง จึงได้วางทางเดินไปในทิศทางนี้-ในระยะยาว"
โดยปัจจุบัน ไอที ซิตี้ มีสัดส่วนรายได้มาจากธุรกิจค้าปลีก 87% ค้าส่ง 13% โดยสินค้าที่จำหน่ายมาจากคอมพิวเตอร์ 29% ,แอ็กเซสเซอรี่ 30% (เม้าส์, แผ่น CD-ROM, ซอฟต์แวร์, หมึกพิมพ์ เป็นต้น) อุปกรณ์ต่อพ่วง 26% และส่วนที่เหลือเป็นสินค้าอื่นๆ
สำหรับผลการดำเนินงาน 9 เดือนปี 2548 บริษัทมีรายได้ 3,351 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 117 ล้านบาท ขณะที่ปีก่อนมีกำไรสุทธิ 92 ล้านบาท เติบโตขึ้น 28%
จุดเด่นของ ไอที ซิตี้ เป็นบริษัทที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง แม้จะเป็นหุ้นเล็กที่มีขนาดมาร์เก็ตแคปเพียง 1.6 พันล้านบาท แต่มีเงินสดหมุนเวียน (สิ้น ก.ย. 2548) เกือบ 300 ล้านบาท และไม่มีหนี้สินระยะยาว และยังมีกำไรสะสมอีก 236 ล้านบาท ซึ่งทำให้บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้ต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามแม้แนวโน้มธุรกิจจะอยู่ในวงจร "ขาขึ้น" แต่กลับพบว่า มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลายราย ได้ทยอยขายหุ้นออกไปแล้ว รวมถึงบริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) ก็มีแผนที่จะขายหุ้นบางส่วนออกไป
โดยเฉพาะกลุ่มของ "พายัพ ชินวัตร" ได้เข้ามาลงทุนเมื่อครั้งที่บริษัทจัดสรรหุ้นเฉพาะเจาะจง (PP) จำนวน 20 ล้านหุ้น ที่ราคา 8 บาทเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547
โดย พายัพ ชินวัตร ได้รับจัดสรรมากสุดถึง 10 ล้านหุ้น หรือราว 4.44% รองลงมา สุทธิศักดิ์ โล่ห์สวัสดิ์ 4 ล้านหุ้น, นราธร วงศ์วิเศษ 2 ล้านหุ้น และธนาคารทหารไทย อีก 2 ล้านหุ้น ล่าสุดไม่ปรากฏรายชื่อกลุ่มของนายพายัพ ชินวัตร ถือหุ้นเหลืออยู่แล้ว
ขณะที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ "บริษัท เอสวีโอเอ" ก็มีแผนที่จะขายหุ้นไอที ซิตี้ออกมาเช่นเดียวกัน ในส่วนที่ใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนท์ที่ราคา 1 บาท เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2548 จำนวน 26.08 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.09% ทำให้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 117.02 ล้านหุ้น คิดเป็น 36.31% จากเดิมที่ถือหุ้นจำนวน 90.93 ล้านหุ้น คิดเป็น 28.22%
ก่อนหน้านี้ "สมพล เอกธีรจิตต์" ประธานเจ้าหน้าบริหาร บริษัท เอสวีโอเอ กล่าวว่า หลังการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นไอที ซิตี้ ทำให้บริษัทถือหุ้น IT เพิ่มขึ้นเป็น 36% ซึ่งบริษัทมีนโยบายที่จะถือหุ้น IT ไม่เกิน 30% ส่วนที่เกินจะทยอยขายทำกำไรออกมา เพื่อเป็นการบริหารพอร์ตการลงทุนของบริษัท
ส่วนพอร์ตการลงทุนของเอสวีโอเอ จะลงทุนเฉพาะหุ้น IT เท่านั้น แต่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การลงทุนระยะยาว เพื่อรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเข้าบริษัท และการลงทุนเพื่อค้า (ระยะสั้น) โดยจะซื้อๆ ขาย เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น ซึ่งที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้สั่งให้บริษัทรวมพอร์ตลงทุน ไว้เป็นส่วนเดียวกัน ไม่ต้องแยกเวลาการบันทึกบัญชี
อย่างไรก็ตาม นโยบายการถือหุ้นของเอสวีโอเอ ยังคงต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และถือลงทุนระยะยาว โดยจะคงสัดส่วนไว้ไม่ให้เกิน 30%
"การลงทุนในหุ้น IT มีบางส่วนอาจจะเก็งกำไรบ้างแต่ไม่มากปีละประมาณ 5-10% ของจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ คาดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบกับราคาในกระดานมากนัก เพราะจำนวนหุ้นที่บริษัทเทรดมีจำนวนน้อย และเวลาจะขายจะดูช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น"
"หุ้น IT ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง เพราะจำนวนหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในมือสถาบัน และผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เน้นลงทุนระยะยาว และถ้าราคาหุ้นขยับขึ้น เอสวีโอเอ ก็ถือเป็นจังหวะที่จะทำกำไรให้พอร์ต แต่ปีนี้ (2548) เรายังไม่เคยซื้อหรือขายหุ้นไอทีเลย" สมพล กล่าว
ไม่เพียงเท่านั้น ผู้บริหารของบริษัท ก็ได้ขายหุ้นออกมาด้วยเช่นกัน...ไม่ว่าจะเป็น "บุญเจิด หาญวิชิตชัย" ขายออก 4 ครั้งระหว่าง 13 มกราคม-28 กันยายน 2548 จำนวน 454,900 หุ้น ราคาเฉลี่ย 4.68 บาท
เส้นทางการเติบโตของไอที ซิตี้ ต่อจากนี้จึงเป็น "ภารกิจ" ท้าทายและรอการพิสูจน์...
แม้ "บริษัท ไอที ซิตี้" (IT) ผู้นำในธุรกิจไอทีค้าปลีก จะเป็นหุ้นขนาดเล็ก แต่เป็น "เล็กพริกขี้หนู" เพราะบริษัทที่ไม่มีหนี้สิน แถมยังมีเงินสดหมุนเวียน บวกกับการขยายตัว มากกว่าอุตสาหกรรมไอทีที่มีการโตเฉลี่ยปีละ 10%
จากกระแสธุรกิจ "โมเดิร์น เทรด" กำลังมาแรง ผลักดันให้ "ไอที ซิตี้" เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นหุ้นที่ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า พูดถึงบ่อย ในงานสัมมนาต่างๆ ในระยะ 4-5 เดือนที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน กลับเป็นผลดีต่อนักลงทุนรายใหญ่บางราย รวมถึงผู้บริหารบริษัท ได้จังหวะ "ขายทำกำไร" เมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น
"ดร.นิเวศน์ สนใจลงทุนในหุ้นธุรกิจค้าปลีกมาตั้งแต่ต้นปีนี้ และได้เข้ามาเยี่ยมชมกิจการโดยตลอด ซึ่งเราเองก็ได้โฟกัสไว้ว่า การดำเนินธุรกิจ และบริหารงานจะเป็นไปอย่างระมัดระวัง ไม่ให้มีความเสี่ยงเกินไป และผลักดันธุรกิจให้เดินไปอย่างมั่นคง" เอกชัย ศิริจิระพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไอที ซิตี้ กล่าว
ปัจจุบัน ไอที ซิตี้ ประกอบธุรกิจค้าปลีก เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องทางด้านไอทีแบบครบวงจร ภายใต้ชื่อทางการค้าว่า "ไอที ซิตี้" ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกในรูปแบบไอที ซูเปอร์สโตร์
"ธรรมชาติของธุรกิจค้าปลีกไอทีอีก 5 ปีข้างหน้าจะคึกคักมาก ขณะที่ปัจจุบันธุรกิจนี้ เป็นแค่ช่วงเพิ่งเริ่มต้นของวงจรขาขึ้นเท่านั้น"
เอกชัย บอกว่า ไอที ซิตี้ วางแผนการเติบโตช่วง 3 ปีข้างหน้า (2549-2551) ว่าจะผลักดันให้บริษัทบรรลุเป้าหมายในระยะยาว คือ การขยายสาขาให้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และการเพิ่มผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ให้มากขึ้น
"เราต้องการขยายสาขาให้ได้ปีละ 5 สาขา คาดว่าสิ้นปี 2551 จะมีสาขาขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 40 สาขา จากสิ้นปี 2548 มีสาขาทั้งหมด 23 สาขา ขณะเดียวกันก็จะเน้นสินค้าโฮม ดิจิทัล (Home Digital) ซึ่งเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคต"
สำหรับแผนการใช้เงินลงทุนในช่วง 3 ปีข้างหน้า จะใช้ประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งบริษัทไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน แต่จะใช้เงินจากการดำเนินงาน และเงินทุนหมุนเวียนมาลงทุน
"การเพิ่มสาขาและเพิ่มผลิตภัณฑ์ เป็นภารกิจที่ไอที ซิตี้ มุ่งมั่นและเป็นจุดแข็ง จึงได้วางทางเดินไปในทิศทางนี้-ในระยะยาว"
โดยปัจจุบัน ไอที ซิตี้ มีสัดส่วนรายได้มาจากธุรกิจค้าปลีก 87% ค้าส่ง 13% โดยสินค้าที่จำหน่ายมาจากคอมพิวเตอร์ 29% ,แอ็กเซสเซอรี่ 30% (เม้าส์, แผ่น CD-ROM, ซอฟต์แวร์, หมึกพิมพ์ เป็นต้น) อุปกรณ์ต่อพ่วง 26% และส่วนที่เหลือเป็นสินค้าอื่นๆ
สำหรับผลการดำเนินงาน 9 เดือนปี 2548 บริษัทมีรายได้ 3,351 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 117 ล้านบาท ขณะที่ปีก่อนมีกำไรสุทธิ 92 ล้านบาท เติบโตขึ้น 28%
จุดเด่นของ ไอที ซิตี้ เป็นบริษัทที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง แม้จะเป็นหุ้นเล็กที่มีขนาดมาร์เก็ตแคปเพียง 1.6 พันล้านบาท แต่มีเงินสดหมุนเวียน (สิ้น ก.ย. 2548) เกือบ 300 ล้านบาท และไม่มีหนี้สินระยะยาว และยังมีกำไรสะสมอีก 236 ล้านบาท ซึ่งทำให้บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้ต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามแม้แนวโน้มธุรกิจจะอยู่ในวงจร "ขาขึ้น" แต่กลับพบว่า มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลายราย ได้ทยอยขายหุ้นออกไปแล้ว รวมถึงบริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) ก็มีแผนที่จะขายหุ้นบางส่วนออกไป
โดยเฉพาะกลุ่มของ "พายัพ ชินวัตร" ได้เข้ามาลงทุนเมื่อครั้งที่บริษัทจัดสรรหุ้นเฉพาะเจาะจง (PP) จำนวน 20 ล้านหุ้น ที่ราคา 8 บาทเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2547
โดย พายัพ ชินวัตร ได้รับจัดสรรมากสุดถึง 10 ล้านหุ้น หรือราว 4.44% รองลงมา สุทธิศักดิ์ โล่ห์สวัสดิ์ 4 ล้านหุ้น, นราธร วงศ์วิเศษ 2 ล้านหุ้น และธนาคารทหารไทย อีก 2 ล้านหุ้น ล่าสุดไม่ปรากฏรายชื่อกลุ่มของนายพายัพ ชินวัตร ถือหุ้นเหลืออยู่แล้ว
ขณะที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ "บริษัท เอสวีโอเอ" ก็มีแผนที่จะขายหุ้นไอที ซิตี้ออกมาเช่นเดียวกัน ในส่วนที่ใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนท์ที่ราคา 1 บาท เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2548 จำนวน 26.08 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.09% ทำให้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 117.02 ล้านหุ้น คิดเป็น 36.31% จากเดิมที่ถือหุ้นจำนวน 90.93 ล้านหุ้น คิดเป็น 28.22%
ก่อนหน้านี้ "สมพล เอกธีรจิตต์" ประธานเจ้าหน้าบริหาร บริษัท เอสวีโอเอ กล่าวว่า หลังการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นไอที ซิตี้ ทำให้บริษัทถือหุ้น IT เพิ่มขึ้นเป็น 36% ซึ่งบริษัทมีนโยบายที่จะถือหุ้น IT ไม่เกิน 30% ส่วนที่เกินจะทยอยขายทำกำไรออกมา เพื่อเป็นการบริหารพอร์ตการลงทุนของบริษัท
ส่วนพอร์ตการลงทุนของเอสวีโอเอ จะลงทุนเฉพาะหุ้น IT เท่านั้น แต่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การลงทุนระยะยาว เพื่อรับรู้ส่วนแบ่งกำไรเข้าบริษัท และการลงทุนเพื่อค้า (ระยะสั้น) โดยจะซื้อๆ ขาย เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น ซึ่งที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้สั่งให้บริษัทรวมพอร์ตลงทุน ไว้เป็นส่วนเดียวกัน ไม่ต้องแยกเวลาการบันทึกบัญชี
อย่างไรก็ตาม นโยบายการถือหุ้นของเอสวีโอเอ ยังคงต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และถือลงทุนระยะยาว โดยจะคงสัดส่วนไว้ไม่ให้เกิน 30%
"การลงทุนในหุ้น IT มีบางส่วนอาจจะเก็งกำไรบ้างแต่ไม่มากปีละประมาณ 5-10% ของจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ คาดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบกับราคาในกระดานมากนัก เพราะจำนวนหุ้นที่บริษัทเทรดมีจำนวนน้อย และเวลาจะขายจะดูช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น"
"หุ้น IT ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง เพราะจำนวนหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในมือสถาบัน และผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เน้นลงทุนระยะยาว และถ้าราคาหุ้นขยับขึ้น เอสวีโอเอ ก็ถือเป็นจังหวะที่จะทำกำไรให้พอร์ต แต่ปีนี้ (2548) เรายังไม่เคยซื้อหรือขายหุ้นไอทีเลย" สมพล กล่าว
ไม่เพียงเท่านั้น ผู้บริหารของบริษัท ก็ได้ขายหุ้นออกมาด้วยเช่นกัน...ไม่ว่าจะเป็น "บุญเจิด หาญวิชิตชัย" ขายออก 4 ครั้งระหว่าง 13 มกราคม-28 กันยายน 2548 จำนวน 454,900 หุ้น ราคาเฉลี่ย 4.68 บาท
เส้นทางการเติบโตของไอที ซิตี้ ต่อจากนี้จึงเป็น "ภารกิจ" ท้าทายและรอการพิสูจน์...
เป็นคนเลว ในสายตาคนอื่น ดีกว่าโกหกตัวเอง ให้เทิดทูนบูชา ติดกับมายาคติ ที่กะลาครอบ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
ประเดิมกระทู้แรกของห้องนี้ครับ
โพสต์ที่ 6
ไปเดินมาแล้วครับ 2 รอบ เพราะว่าเป็นห่วงครับ
ยังดูว่างๆ อยู่ ไม่ค่อยสวยนัก เพราะว่าของยังลงไม่ครบ
คนส่วนใหญ่เดินดู ยังไม่ค่อยได้ซื้อมากนัก
คู่แข่งเยอะครับ ร้านขายกล้อง กับ พวกเครื่องไฟฟ้าเยอะ ดังนั้นต้องเน้นขายพวก accessory แต่ว่าเป็นห่วงว่าคนที่ตั้งใจมาซื้อเค้าจะมาที่ พารากอนหรือ :?:
แต่ว่าคงยังตัดสินใจอะไรไม่ได้มากเพราะว่า พารากอนยังเปิดไม่เติมรูปแบบ และก็ตอนนี้ชั้นที่ it อยู่ยังดูไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่ครับ ยังมีกลิ่นสีอยู่เลย
ยังดูว่างๆ อยู่ ไม่ค่อยสวยนัก เพราะว่าของยังลงไม่ครบ
คนส่วนใหญ่เดินดู ยังไม่ค่อยได้ซื้อมากนัก
คู่แข่งเยอะครับ ร้านขายกล้อง กับ พวกเครื่องไฟฟ้าเยอะ ดังนั้นต้องเน้นขายพวก accessory แต่ว่าเป็นห่วงว่าคนที่ตั้งใจมาซื้อเค้าจะมาที่ พารากอนหรือ :?:
แต่ว่าคงยังตัดสินใจอะไรไม่ได้มากเพราะว่า พารากอนยังเปิดไม่เติมรูปแบบ และก็ตอนนี้ชั้นที่ it อยู่ยังดูไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่ครับ ยังมีกลิ่นสีอยู่เลย
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่