GC (GLOBAL CONNECTION)
-
- Verified User
- โพสต์: 532
- ผู้ติดตาม: 0
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 1
ใครได้ไปฟังผู้บริหารของ GC ไปพูดที่ตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาบ้าง มีความเห็นอย่างไรครับ
ผมเองไมได้ไปฟัง แต่ก็รู้จักบริษัทฯ นี้พอสมควร ผู้ถือหุ้นใหญ่ และผู้บริหาร เริ่มการทำงานจากเป็นเซลส์แมนทั้งหมด และ เริ่มกิจการเองจนขยายถึงวันนี้ ทำงานหนักกันทั้งนั้น เป็นคนเถรตรง
สินค้าหลาย ๆ ตัวที่เป็นเอเย่นต์อยู่ในปัจจุบันนั้น หลายตัวฟังว่าแย่งมาจาก WG
น่าจะเป็นธุรกิจพวกเดียวกันกับ WG แต่การเติบโตน่าจะสูงกว่ามาก แพ้ WG แค่มีเงินสดน้อยกว่า
ผมเองไมได้ไปฟัง แต่ก็รู้จักบริษัทฯ นี้พอสมควร ผู้ถือหุ้นใหญ่ และผู้บริหาร เริ่มการทำงานจากเป็นเซลส์แมนทั้งหมด และ เริ่มกิจการเองจนขยายถึงวันนี้ ทำงานหนักกันทั้งนั้น เป็นคนเถรตรง
สินค้าหลาย ๆ ตัวที่เป็นเอเย่นต์อยู่ในปัจจุบันนั้น หลายตัวฟังว่าแย่งมาจาก WG
น่าจะเป็นธุรกิจพวกเดียวกันกับ WG แต่การเติบโตน่าจะสูงกว่ามาก แพ้ WG แค่มีเงินสดน้อยกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 2
เท่าที่ฟังดูก็น่านับถือครับ ในด้านแง่คิดในการทำงานและการดูแลผู้ถือหุ้น แต่อย่างว่าของพวกนี้ต้องใช้เวลาพิสูจน์ซักเล็กน้อยครับ แต่ที่ยังไม่ปิ๊งก็ตรงที่ว่ายังขายสินค้าที่เป็นพวก Commodity เยอะกว่า 75% ในขณะที่ WG นั้น Specialty เกือบหมดแล้วมั้งครับ
Impossible is Nothing
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 3
อ้าว ดีเหรอครับพี่ลิ้นจี่ ผมได้หุ้นจองมา แต่ขายเปิดซะเหี้ยนเลยครับ :lol: :lol: :lol:
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- PaZZaHut
- Verified User
- โพสต์: 737
- ผู้ติดตาม: 0
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 4
http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... 3418840000
หลักทรัพย์ GC
หัวข้อข่าว สรุปข้อสนเทศ : GC
วันที่/เวลา 01 ธ.ค. 2548 13:34:00
- สรุปข้อสนเทศ -
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (GC)
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่
เลขที่ 13/1 หมู่ 2 ถนนกิ่งแก้ว ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
10540 โทรศัพท์ 0-2763-7921, 0-2763-7999, 0-2763-7923-42 โทรสาร 0-2763-7950,
0-2312-4880-1 Website www.gc.co.th
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2548 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 6 ธันวาคม 2548)
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
หุ้นสามัญ 200 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 200 ล้านบาท
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ราคาเสนอขาย 2.34 บาท (จำนวนหุ้นสามัญที่เสนอขายต่อประชาชน 43,900,000 หุ้น)
วันที่เสนอขาย 21-23 พฤศจิกายน 2548
วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน
ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจของบริษัทฯ โดย
คาดว่าจะมีการใช้เงินดังกล่าวภายในปี 2548
การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน - ไม่มี
ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนจำหน่ายวัตถุดิบที่
เกี่ยวเนื่องกับพลาสติกและปิโตรเคมี รวมถึงสารเติมแต่งที่ใช้ในกระบวนการแปรรูป
ผลิตภัณฑ์พลาสติกและปิโตรเคมีอื่น ๆ โดยบริษัทฯ จัดจำหน่ายสินค้า ให้กับบริษัท
ชั้นนำทั้งในด้านกำลังการผลิตและเทคโนโลยีทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ รวมกันถึง
24 บริษัท บริษัทแบ่งธุรกิจ ออกเป็น 3 หน่วยธุรกิจหลัก คือ
1. หน่วยธุรกิจ Commodity Polymer
หน่วยธุรกิจ Commodity Polymer เป็นหน่วยธุรกิจที่ดูแลสินค้าประเภทวัตถุดิบ
พื้นฐานที่มีความผันผวนราคาค่อนข้างสูง โดยสินค้าประเภทนี้จะเป็นสินค้าที่มีการ
ซื้อขายคล่องตัว ทำให้มีปริมาณและมูลค่าการขายที่สูง โดยมากกว่า 50% ของยอดขายใน
หน่วยธุรกิจนี้จะอยู่ในรูปเครดิตทางการค้าไม่เกิน 30 วัน หน่วยธุรกิจ Commodity
Polymer สามารถแบ่งหน่วยธุรกิจออกเป็น 2 หน่วยธุรกิจย่อย ได้แก่
1.1 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 1 (SBU 1.1) ด้าน Polyolefin ประกอบด้วย
Polypropylene (PP) และ Polyethylene Resin (HDPE, LLDPE, LDPE)
หน่วยธุรกิจนี้จะดูแลสินค้าทางด้าน Polypropylene และ Polyethylene
Resin ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก ขวดบรรจุภัณฑ์
1.2 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 2 (SBU 1.2) ด้านสินค้า PVC และสินค้า PET
หน่วยธุรกิจนี้จะดูแลสินค้า PVC ทั้งในรูปแบบของ PVC RESIN ที่ใช้ในการ
ผสมกับวัตถุดิบอื่นและ PVC Compound ที่สามารถนำไปแปรรูปได้ทันที
2. หน่วยธุรกิจ Specialty and Engineering Polymer
หน่วยธุรกิจ Specialty and Engineering Polymer จะดูแลสินค้าในกลุ่ม
โพลีเมอร์ที่ไม่ได้ครอบคลุมในหน่วยธุรกิจ Commodity ส่วนใหญ่สินค้าเป็นสินค้าที่มี
ลักษณะเฉพาะ มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน ทนความร้อน และสารเคมี เหมาะสมสำหรับ
การใช้งานในอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช่ไฟฟ้า เป็นต้น หน่วยธุรกิจ
Specialty and Engineering Polymer สามารถแบ่งหน่วยธุรกิจออกเป็น 4
หน่วยธุรกิจย่อย ได้แก่
2.1 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 1 (SBU 2.1) Engineering Plastic และ
Synthetic Rubber
หน่วยธุรกิจย่อยที่ 1 นี้ดูแลสินค้าประเภท Engineering Plastic
และยางสังเคราะห์
2.2 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 2 (SBU 2.2) Thermo Plastic Rubber และ
transparency material
สินค้าในหน่วยธุรกิจนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มพลาสติก
กึ่งยาง หรือ Thermo Plastic/Elastomer กับกลุ่มที่เป็นพลาสติกใสซึ่งจำหน่าย
ไปยังอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลความงาม
2.3 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 3 (SBU 2.3) Styrenic Plastic
หน่วยธุรกิจนี้ดูแลสินค้าหลากหลายเกือบครบทุกชนิดที่มีจำหน่ายใน
อุตสาหกรรม Styrenic Plastic ซึ่งได้แก่ GPPS, HIPS, SAN, ABS, SBS,
และ SMMA โดยพลาสติกแต่ละชนิดจะมีการใช้งานแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น งานบรรจุภัณฑ์
ส่วนตกแต่งเสื้อผ้า ของเล่น ส่วนประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
2.4 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 4 (SBU 2.4) บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(IT Solution)
บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า LCD monitor ที่บริษัทฯ นำมาทำการ
ตลาดและขายใน Brand CMV
3. หน่วยธุรกิจ Specialty Chemical
หน่วยธุรกิจ Specialty Chemical จะดูแลสินค้าประเภทสารเติมแต่ง กาวและ
ดูแลสินค้าอื่น ๆ ในตลาดอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หน่วยธุรกิจ Specialty Chemical
สามารถแบ่งหน่วยธุรกิจออกเป็น 2 หน่วยธุรกิจย่อย ได้แก่
3.1 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 1 (SBU 3.1) สารเติมแต่ง และกาว (Additive &
Adhesive) หน่วยธุรกิจนี้ แบ่งสินค้าออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
- Additive (สินค้าสารเติมแต่ง) สินค้าประเภทสารเติมแต่งนี้ สามารถ
จำหน่ายให้กับสายการผลิตของบริษัทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้ตั้งแต่ อุตสาหกรรม
ต้นน้ำ คือ ผู้ผลิตเรซิน ไปจนถึง ผู้ผลิตแม่สีที่เรียกกันว่า Masterbatch และ
Compounder จนถึง ผู้แปรรูป โดยสารเติมแต่งนี้จะใช้ร่วมกับวัตถุดิบของอุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีเพื่อให้สินค้านั้น ๆ มีลักษณะตามที่ต้องการ เช่น ใช้เพื่อเพิ่มสี ใช้
เพื่อให้มีความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ โดยในการทำการตลาดสินค้าในกลุ่มนี้ บริษัทฯ
ไม่ได้ทำหน้าที่แต่เป็นผู้กระจายสินค้าเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ทุกขั้นตอนของการ
พัฒนาตลาดตั้งแต่ให้ข้อมูลแนะนำ ร่วมทดลอง จนสามารถสร้างความต้องการของ
สินค้าชนิดดังกล่าวขึ้นได้
- Adhesive (กาว) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ผลิตกาวร้อน ที่ช่วยการยึดติดของ
งานโดยการทำให้กาวละลายด้วยความร้อนแล้วทา/ราดลงบนพื้นผิวที่จะยึดติดให้อยู่ใน
ลักษณะที่ต้องการ
3.2 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 2 (SBU 3.2) ตลาดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและ
Intermediate
หน่วยธุรกิจนี้จะต่างจากหน่วยธุรกิจย่อยอื่น โดยหน่วยธุรกิจนี้จะกำหนด
ขอบเขตของตลาดแล้วจึงพิจารณาสินค้าที่มีศักยภาพ ต่างจากหน่วยธุรกิจอื่นที่พิจารณา
ตัวสินค้าเป็นหลัก โดยหน่วยธุรกิจนี้แบ่งตลาดเป็น 2 ส่วน คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่โรงกลั่นน้ำมัน Cracker ผู้ผลิตเรซิน โดยบริษัทฯ จะจัดหาสินค้า
ให้กับบริษัทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนี้ตั้งแต่บริษัทที่อยู่ต้นน้ำจนถึงบริษัทที่อยู่
ปลายน้ำ ตลาดสินค้าอีกส่วนหนึ่ง คือ ตลาด Intermediate ซึ่งได้แก่ บริษัทที่นำ
Resin มาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปใช้ผลิตต่อ ซึ่งได้แก่ Masterbatch
producer, Compounder โดยสินค้าในกลุ่มนี้ได้แก่ Specialty Chemical,
Fiber Glass เป็นต้น
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -ไม่มี-
สรุปสาระสำคัญของสัญญา
* บริษัททำสัญญาเงินกู้ยืมระยะสั้นกับธนาคารแห่งนี้ในวงเงิน 90 ล้านบาท โดย
ได้มีข้อกำหนดที่สำคัญที่บริษัทต้องปฎิบัติตาม คือ บริษัทฯ ต้องดำรงอัตราส่วน
หนี้สินรวมหลังหักด้วงเงินฝากที่ใช้เป็นหลักประกันต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ในอัตรา
ไม่เกินกว่า 4 เท่า โดย ณ.วันที่ 30 กันยายน 2548 บริษัทฯ มีอัตราส่วนดังกล่าว
เท่ากับ 3.90 เท่า ซึ่งต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา
* การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2548
บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาเพื่อรับข้อมูลด้านเทคนิคจากบริษัทผู้ผลิตชั้นนำของ
โลกรายหนึ่งเป็นระยะเวลา 7 ปี เพื่อศึกษาสินค้าประเภท Thermoplastic
Rubber โดยบริษัทฯ ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใด ๆ จากการรับข้อมูลดังกล่าว
แต่ต้องรักษาความลับของข้อมูลดังกล่าวตามระยะเวลาของสัญญา
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - ไม่มี -
โครงการดำเนินงานในอนาคต -ไม่มี-
รายการระหว่างกันที่สำคัญของบริษัทที่เกิดขึ้นในปี 2547 และในช่วง 6 เดือนแรกของ
ปี 2548
1. บริษัททำรายการกับบริษัทบริษัท อินเทกริตี้ พลาสติกส์ จำกัด (คุณเอกชัย
ศิริจันทนันท์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
และกรรมการของบริษัทดังกล่าว แต่ถอนตัวจากการเป็นกรรมการและขายหุ้นบริษัท
ดังกล่าวแล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547)
- บริษัทจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมี ในปี 2547 และในช่วง 6
เดือนแรกของปี 2548 มูลค่า 5.91 ล้านบาท และ 2.68 ล้านบาทตามลำดับ โดย ณ วันที่
31 ธันวาคม 2547 และ 30 มิถุนายน 2548 มียอดคงค้าง 1.19 ล้านบาทและ 0.77
ล้านบาท ตามลำดับ
2. บริษัททำรายการกับบริษัท เวคเตอร์เทคโซลูชั่น จำกัด (คุณพัชมณฑ์ ฐิรวัฒนวงศ์
เป็นพี่สาวคุณศิริ ฐิรวัฒนวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการของบริษัทฯ เป็น
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการในบริษัทดังกล่าว)
- บริษัทจำหน่ายขายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 12.7 ล้านบาท
และ 0.18 ล้านบาท ในปี 2547 และช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 โดย ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2547 และ 30 มิถุนายน 2548 มียอดคงค้าง 0.58 ล้านบาทและ 0.03 ล้านบาท
ตามลำดับ
- บริษัทจ่ายค่าคอมมิชชั่นส์จากการขายจอมอนิเตอร์ให้กับบริษัทดังกล่าว จำนวน
0.21 ล้านบาท ในปี 2547
- บริษัทซื้อสินค้าสำเร็จรูปทางด้าน คอมพิวเตอร์มูลค่า 0.26 ล้านบาทและ
0.05 ล้านบาท
3. บริษัททำรายการกับบริษัท นิวโมเดอร์น ซุปเปอร์แพค จำกัด (คุณวิชาญ
นันทนานนท์ชัย ผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวน 1 หุ้น เป็นพี่ชายคุณบุญศรี คุลีเมฆิน
ผู้ถือหุ้นจำนวน 1 หุ้นในบริษัทฯ และเป็นภรรยาคุณสมชาย คุลีเมฆิน ซึ่งเป็นเป็น
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการของบริษัท
ดังกล่าว)
- บริษัทขายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมีให้บริษัทดังกล่าวจำนวน 90.58
ล้านบาทและ 7.81 ล้านบาท ในปี 2547 และช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 โดยมียอดคงค้าง
0.00 และ 0.79 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 และ 30 มิถุนายน 2548 ตามลำดับ
- บริษัทซื้อสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมีให้บริษัทดังกล่าวจำนวน 7.34
ล้านบาทในปี 2547
4. บริษัททำรายการกับบริษัท 21 ก่อสร้าง จำกัด (คุณฮุก ทิชาชล ซึ่งเป็นพี่ชาย
คุณสำรวย ทิชาชล ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และ
กรรมการของบริษัทดังกล่าว)
- บริษัทจ่ายค่าก่อสร้างอาคารสำนักงานคลังสินค้าจำนวน 1.94 ล้านบาท และ
0.25 ล้านบาท ในปี 2547 และช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาการทำรายการระหว่างกันดังกล่าวข้างต้น เห็นว่า
การขายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมี เป็นการทำรายการตามการค้าปกติ และ
เป็นไปตามราคาตลาด
การขายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านคอมพิวเตอร์ เป็นการทำรายการตามการค้าปกติ และ
เป็นไปตามราคาตลาด
การจ่ายค่าคอมมิชชั่นส์จากการขายจอคอมพิวเตอร์ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา และ
มีความสมเหตุสมผล
การซื้อสินค้าสำเร็จรูปทางด้านคอมพิวเตอร์ เป็นไปตามราคาตลาด
การซื้อสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมี เป็นการทำรายการตามการค้าปกติ และ
เป็นไปตามราคาตลาด
การจ่ายค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา และมีความ
สมเหตุสมผล
นโยบายการทำรายการระหว่างกัน
ในการทำรายการระหว่างกันที่เป็นการค้าปกติ บริษัทฯ มีนโยบายจะดำเนินการ
ให้เป็นไปตามลักษณะธุรกิจการค้าปกติทั่วไป ทั้งนี้บริษัทฯ จะให้คณะกรรมการตรวจสอบ
หรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ หรือผู้เชี่ยวชาญอิสระพิจารณาสอบและให้ความเห็นถึงความ
เหมาะสมของราคา และความสมเหตุสมผลของการทำรายการด้วย
รายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั้น คณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง
หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมตลอดถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนด
เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการเกี่ยวโยง และการได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สิน
ที่สำคัญของบริษัทฯ หรือ บริษัทย่อยตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและ
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
ในกรณีที่มีรายการระหว่างกันของบริษัทฯ ที่นอกเหนือจากการค้าปกติ ที่เกิดขึ้น
กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ในอนาคต บริษัทฯ จะให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ
ความจำเป็นและความเหมาะสมของรายการนั้น ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่มี
ความชำนาญในการพิจารณารายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯ จะได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ
อิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกัน
ดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเปิดเผยรายการระหว่างกันไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ได้รับ
การตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีบริษัทฯ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำรายการใด ๆ จะไม่มีสิทธิออกเสียงหรืออนุมัติการทำ
รายการนั้น ๆ
ภาระผูกพัน - ไม่มี -
ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงจากการพึ่งพาซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตสินค้าน้อยราย
สัดส่วนของซัพพลายเออร์ที่บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายในสัดส่วนที่สูง คือ
บริษัท ซีซีซี ค้าเคมีภัณฑ์ จำกัด (บริษัทในเครือ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย) โดยมีสัดส่วน
ร้อยละ 63.02 ของยอดซื้อทั้งหมดของบริษัทฯ ในปี 2547 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการ
สั่งซื้อนี้ได้ลดลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยใน 6 เดือนแรกของปี 2548
ยอดซื้อลดลงเหลือประมาณร้อยละ 52.85 ของยอดซื้อทั้งหมดของบริษัทฯ เนื่องจาก
บริษัทฯ มุ่งเน้นขยายตลาด และเพิ่มยอดขายสินค้าเกรดพิเศษ นอกจากนี้ ในอนาคต
อันใกล้นี้ (ภายในระยะเวลา 5 ปี) บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนสินค้าเกรด
พิเศษ (Specialty Product) นั่นคือ สินค้าใน หน่วยธุรกิจ Specialty and engineering
polymer และ Specialty chemical จากปัจจุบันที่มีสัดส่วน ประมาณร้อยละ 24.4
ของยอดขายรวม ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของยอดขายจากบริษัท ซีซีซี ค้าเคมีภัณฑ์ จำกัด
ลดลงซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงจากการการพึ่งพิงซัพพลายเออร์รายเดียว
2. ความเสี่ยงจากการพึ่งพาพนักงาน
เนื่องจากยอดขายของบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นการขายผ่านพนักงานขาย บริษัทฯ
จึงมีความเสี่ยงในการพึ่งพิงบุคลากรฝ่ายขายในด้านความสัมพันธ์ที่มีกับลูกค้า หาก
พนักงานขายออกจากบริษัทฯ ไป ลูกค้าก็อาจย้ายการซื้อสินค้าตามไปด้วย นอกจากนี้
ในการขายสินค้าเกรดพิเศษบางผลิตภัณฑ์ อาจจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะ
ด้านของบุคลากรในการขายในสินค้านั้น ๆ หากพนักงานขายคนดังกล่าวออกจากบริษัทฯ ไป
บริษัทฯ อาจประสบปัญหาในการหาบุคลากรมาทดแทน
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีพนักงานขายลาออกน้อยมาก ประกอบกับผู้บริหารของบริษัทฯ
ได้ค้าขายกับลูกค้าเหล่านี้เป็นเวลานาน ดังนั้น จึงสามารถลดความเสี่ยงในการเสีย
ลูกค้าได้ในระดับหนึ่ง และผู้บริหารของบริษัทฯ มีความรู้ความชำนาญในสินค้าทุกชนิด
เป็นอย่างดี ประกอบกับบริษัทฯ มีนโยบายในการฝึกอบรมให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง
จึงน่าจะสามารถพัฒนาบุคลากรมาทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการ
หนึ่งคือสินค้าเกรดพิเศษที่บริษัทฯ เป็นตัวแทนส่วนใหญ่หลังจากผู้สั่งซื้อของลูกค้า
รับรองคุณภาพแล้ว จะไม่เปลี่ยนไปใช้ของบริษัทอื่นถ้าไม่มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งจริง ๆ
เนื่องจากผู้สั่งซื้อของลูกค้ากำหนดรายละเอียดคุณภาพของวัตถุดิบไว้แล้ว
3. ความเสี่ยงจากหนี้สูญของลูกหนี้การค้า
ปัจจุบัน บริษัทฯ มียอดขายเครดิตเกือบทั้งหมด ดังนั้นหากลูกหนี้การค้าของ
บริษัทฯ กลายเป็นหนี้สูญเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัทฯ ทางด้าน
เงินทุนหมุนเวียน หรือผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน
บริษัทฯ มีนโยบายการตรวจสอบเครดิตของลูกค้าที่รัดกุมก่อนที่จะให้เครดิตกับลูกค้า
โดยในขณะนี้ บริษัทฯ ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาวงเงินเครดิตสำหรับลูกค้าทั้ง
รายเก่าและรายใหม่ และมีการจัดตั้งระบบการอนุมัติเครดิตให้กับลูกค้าโดยแยกออกมา
จากฝ่ายขาย เพื่อควบคุมรายการขายที่มีลักษณะไม่ปลอดภัย นอกจากนั้นบริษัทฯ ได้
ทำประกันคุ้มครองความเสียหายของลูกหนี้การค้ากับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งโดยมีผล
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2548 เป็นเวลา 2 ปีสำหรับสัญญาฉบับแรก (สิ้นสุดวันที่ 30
เมษายน 2550) โดยจะคุ้มครองสำหรับหนี้เสียของลูกค้าของบริษัทฯ ที่มียอดคงค้าง
มากกว่า 1 ล้านบาท และให้ความคุ้มครองเท่ากับร้อยละ 80 ของมูลค่ายอดหนี้เสีย
โดยมีค่าเบี้ยประกันขั้นต่ำเท่ากับ 4.16 ล้านบาท และให้ความคุ้มครองสูงสุด 30 เท่า
ของค่าเบี้ยประกันที่จ่ายจริง โดยทางบริษัทประกันภัยจะกำหนดวงเงินคุ้มครองสำหรับ
ลูกค้ารายที่บริษัทฯ ดำเนินการขอวงเงินคุ้มครองหนี้เสีย สำหรับการสำรองค่าเผื่อ
หนี้สงสัยจะสูญของบริษัทฯ นั้น บริษัทฯ มีการพิจารณาความเสี่ยงของลูกหนี้การค้าจาก
ประสบการณ์ในการเก็บเงินในอดีตและสถานะปัจจุบันของลูกหนี้คงค้าง และเปรียบเทียบ
กับสำรองค่าเผื่อหนี้สูญที่ตั้งอยู่ และการค้ำประกันจากบริษัทประกันภัย ว่าจำเป็น
ต้องมีการสำรองเพิ่มเติมหรือไม่
4. ความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัทฯ ซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ในต่างประเทศเป็นสกุลเงินเหรียญดอลลาร์
สหรัฐอเมริกาเพียงสกุลเดียว โดยในปี 2547 บริษัทฯ มีการซื้อสินค้าในสกุลเงินเหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 13.6 ของยอดสั่งซื้อทั้งหมดของบริษัทฯ และคาดว่า
จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25-30 ของยอดสั่งซื้อทั้งหมดของบริษัทฯ ในปี 2548 จากการลดลง
ของอัตราภาษีของสินค้านำเข้าของสินค้ากลุ่มปิโตรเคมีนอกกลุ่ม AFTA ส่วนใหญ่จาก
ร้อยละ 20.00 เป็นร้อยละ 12.50 ซึ่งจะทำให้สินค้าเกรดพิเศษที่ต้องนำเข้าจาก
ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่มีโอกาสขยายตัวขึ้นมาก ซึ่งหากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาท
ต่อสกุลเงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐมีความผันผวนอาจทำให้มีผลกระทบต่อกำไรของบริษัทฯ
ได้มาก
อย่างไรก็ตาม เพื่อการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทฯ จึงมี
การติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทต่อสกุลเงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐอย่างใกล้ชิด
และมีนโยบายชัดเจนในการห้ามเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้สินค้าที่บริษัทฯ
นำเข้าจากต่างประเทศ บริษัทฯ จะมีการกำหนดราคาด้วยวิธีต้นทุนของบริษัทฯ บวกอัตรา
กำไร (Cost plus) และบริษัทฯ จะไม่มีการขายล่วงหน้าโดยไม่ได้ตกลงอัตราแลกเปลี่ยน
กับลูกค้าหรือไม่ได้ซื้อเงินตราล่วงหน้า จึงทำให้สามารถป้องกันความเสี่ยงได้ใน
ระดับหนึ่ง
5. ความเสี่ยงจากเงินทุนหมุนเวียน
เนื่องจากบริษัทฯ ต้องมีการสำรองสินค้าคงคลังไว้จำนวนหนึ่งเพื่อให้สามารถ
ส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงระยะเวลาการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า
ของบริษัทฯ อยู่ที่ประมาณ 50 วัน ซึ่งนานกว่าระยะเวลาการเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้
การค้าของบริษัทฯ ที่มีระยะเวลาประมาณ 25 วัน ซึ่งมีผลทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องมี
เงินทุนหมุนเวียนระดับหนึ่งสำหรับการดำเนินงานของบริษัทฯ ซึ่งมี Cash Cycle
อยู่ที่ประมาณ 52 วัน หากยอดขายของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ
อาจต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมซึ่งมีต้นทุนทางการเงินสูงกว่าต้นทุนทางการเงินของ
บริษัทฯ ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน บริษัทฯ มีวงเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงินหลายแห่ง
เมื่อรวมกับเงินทุนจากการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทฯ
มีฐานะเงินทุนหมุนเวียนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น และทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนของบริษัทฯ
ดีขึ้น อีกทั้งการที่ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯ
มีแนวโน้มที่จะได้รับเงื่อนไขเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ดีขึ้น
6. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าในตลาดโลก
ราคาสินค้าที่ขายในตลาดส่วนใหญ่จะผูกติดกับราคาสินค้าในตลาดโลกตามลักษณะ
สินค้าในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งมีลักษณะเป็น commodity product ซึ่งราคาสินค้า
จะผูกติดกับอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลกที่ไม่แน่นอน กำไรของบริษัทฯ จึงเปลี่ยนแปลง
ตามราคาสินค้าในตลาดซึ่งมีลักษณะเป็นวัฏจักร ความเสี่ยงของบริษัทฯ จึงอาจเกิดขึ้นใน
กรณีที่บริษัทฯ ซื้อสินค้ามาในราคาสูงและเกิดเหตุการณ์ที่ราคาของสินค้าดังกล่าวลดลง
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ พยายามลดความเสี่ยงนี้ลงโดยการพยายามเก็บสินค้าคงคลัง
ในระดับต่ำ โดยเฉพาะสินค้าที่มีความผันผวนของราคามาก และติดตามการเปลี่ยนแปลงของ
ราคาตลาดตลอดเวลา อีกทั้ง สำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่มีการสั่งซื้อล่วงหน้าในปริมาณมาก
บริษัทฯ จะได้รับการสนับสนุนในเรื่องปริมาณและราคาโดยตรงจากผู้ผลิต และ/หรือ
ผู้จำหน่ายจึงทำให้ลดความเสี่ยงได้ นอกจากนี้ สินค้าเกรดพิเศษของบริษัทฯ ยังได้รับ
ผลกระทบจากความผันผวนของราคาสินค้าต่ำ เนื่องจากกำหนดราคาตามต้นทุนของบริษัทฯ
7. ความเสี่ยงจากการมีกำไรขั้นต้นค่อนข้างน้อย
เนื่องจากบริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นค่อนข้างน้อยตามลักษณะของธุรกิจ ปัจจัย
ต่าง ๆ อาจส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรสุทธิของบริษัทฯ ได้ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มทุน
จากการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทฯ มีฐานะเงินทุนหมุนเวียน
ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น และทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนของบริษัทฯ ดีขึ้น ประกอบกับการที่
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง น่าจะทำให้บริษัทฯ มีแนวโน้มที่จะ
ได้รับเงื่อนไขเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ที่ดีขึ้น อีกทั้ง การที่บริษัทฯ มีการเฝ้า
ติดตามดูแลนโยบายในการควบคุมความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
นโยบายในการพิจารณาเครดิต และการบริหารสินค้าคงคลังอย่างใกล้ชิด น่าจะทำให้
ลดผลกระทบต่ออัตรากำไรสุทธิลงได้
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความได้เปรียบคู่แข่งในด้านสินค้าที่เป็นที่ยอมรับใน
ด้านคุณภาพจากผู้ผลิตในอันดับ 1-3 ของโลก จึงทำให้บริษัทฯ สามารถขยายตลาดสินค้า
เกรดพิเศษได้ในอัตราสูงทุกปี ส่งผลให้บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นโดยรวมของบริษัทฯ
ดีขึ้นและสูงกว่าคู่แข่งทั่วไปซึ่งมีสินค้าเกรดพิเศษน้อย และเน้นเฉพาะสินค้า
Commodity ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำ
8. ความเสี่ยงจากการที่ไม่ต่อสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับผู้ผลิต
สัญญาตัวแทนจำหน่ายที่บริษัทฯ ทำกับผู้ผลิตมีทั้งลักษณะสัญญาระยะยาวและ
สัญญาปีต่อปี ทำให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการต่อสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่าย
ให้กับผู้ผลิต หากไม่สามารถทำตามข้อกำหนดของผู้ผลิตแต่ละราย เช่น ไม่สามารถ
สร้างยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ผู้ผลิตกำหนด หรือ ไม่สามารถดำรงระบบโครงสร้าง
พื้นฐานได้ตามที่ผู้ผลิตกำหนด
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง และมีลูกค้า
ประจำอยู่จำนวนมากจึงสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ผลิตมาตลอด ตลอดจนมีการสื่อสาร
กับทางผู้ผลิตอย่างใกล้ชิดเพื่ออธิบายความคืบหน้าของการขายในประเทศ ทำให้ในกรณี
ที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทางผู้ผลิตก็ยังคงต่อสัญญากับบริษัทเนื่องจากเข้าใจ
ในเหตุผล โดยในอดีต บริษัทฯ ไม่มีประวัติที่ผู้ผลิตไม่ต่อสัญญากับบริษัทฯ
กรณีพิพาท - ไม่มี -
จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 จำนวน 86 คน
ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
ปี 2537 ก่อตั้งบริษัทฯ ขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท ในชื่อ "บริษัท โกลบอล
คอนเน็คชั่นส์ จำกัด" เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537
ปี 2538 ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายเม็ดพลาสติก HDPE ของบริษัทบางกอก
โพลีเอทีลีน จำกัด (มหาชน) และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5 ล้านบาท
ปี 2539 บริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งจาก บริษัท ซีซีซี ค้าเคมีภัณฑ์ ให้เป็นตัวแทน
จำหน่าย และได้รับการแต่งตั้งจาก Eastman Chemical ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น
ของการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า เกรดพิเศษ (Specialty Product)
และเพิ่มทุนเป็น 10 ล้านบาท
ปี 2540 เพิ่มทุนเป็น 20 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทฯ และบริษัทฯ
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายของ Dupont Engineering Polymers
และ Chi Mei Corporation
ปี 2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายจาก Ciba Specialty Chemical และเพิ่มทุน
เป็น 30 ล้านบาท
ปี 2542 ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายจาก Dow Chemical Thailand และมีการ
เพิ่มทุนเป็น 50 ล้านบาท
ปี 2543 ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายจาก Advance Elastomer Systems (AES)
ปี 2544 บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 50 ล้านบาทเป็น 80 ล้านบาท เพื่อรองรับการ
เจริญเติบโตของบริษัทฯ
ปี 2546 เพิ่มทุนเป็น 100 ล้านบาท และย้ายที่ตั้งคลังสินค้ามาอยู่บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน
ที่ถนนกิ่งแก้ว และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายจากบริษัท
ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
ปี 2547 บริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายจาก Exxon Mobil และได้
ย้ายที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่เดียวกับคลังสินค้า
บริษัทฯ มีมติให้จ่ายเงินปันผลจำนวน 78 ล้านบาท และเพิ่มทุนจดทะเบียนและ
เรียกชำระ (ในคราวเดียวกัน) อีก 55 ล้านบาท เป็น 155 ล้านบาท
ปี 2548 บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้จาก 100 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาท
ต่อหุ้น และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน รวมถึงเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 200
ล้านบาท โดยเพิ่มทุนจำนวน 45 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นสามัญต่อกรรมการ
ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ จำนวน 1.1 ล้านหุ้น ในราคาเท่ากับมูลค่า
ทางบัญชีต่อหุ้นของงวดปีบัญชี 2547 ซึ่งเท่ากับ 1.03 บาทต่อหุ้น ส่วนที่
เหลือ จำนวน 43.9 ล้านหุ้น ให้เสนอขายต่อประชาชน
เงินลงทุนในบริษัทย่อยบริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง -ไม่มี-
การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
หน่วย: ล้านบาท
ปี ทุนที่ (ลด) เพิ่ม หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
2546 20 ล้านบาท 100 ล้านบาท ก่อสร้างสำนักงานและอาคารคลังสินค้า
2547 55 ล้านบาท 155 ล้านบาท ปรับโครงสร้างธุรกิจ
2548 1.1 ล้านบาท 156.1 ล้านบาท เสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน
รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม
ผู้สอบบัญชี นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
หมายเลข 3844
บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด
นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
ของกำไรสุทธิหลังหักภาษี
บัตรส่งเสริมการลงทุน - ไม่มี -
จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 ปรากฏดังนี้
จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของ
ทุนชำระแล้ว
1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders
1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ - - -
1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึง 27 158,099,900 79.05
ผู้ที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่มีความสัมพันธ์
1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่ - - -
เกี่ยวข้องด้วย
1.4 ผู้มีอำนาจควบคุม - - -
1.5 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายใน - - -
เวลาที่กำหนด1/
2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วย 1,062 41,900,100 20.95
การซื้อขาย
3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - -
รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 1,089 200,000,000 100.00
หมายเหตุ 1/ หมายถึง กลุ่มผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงการห้ามขายหุ้นภายในกลุ่ม นอกเหนือ
จากหุ้นที่ต้องนำฝาก Silent Period
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. นายสมชาย คุลีเมฆิน 46,499,800 23.25
2. นายศิริ ฐิรวัฒนวงศ์ 27,125,000 13.56
3. นายปิยะ จริยเศรษฐพงศ์ 27,125,000 13.56
4. นายสำรวย ทิชาชล 27,125,000 13.56
5. นายเอกชัย ศิริจันทนันท์ 27,125,000 13.56
6. นางสาวปราณี พิริยะมาสกุล 1,000,000 0.50
7. นายสมเกียรติ เทิดทูลทวีเดช 600,000 0.30
8. นายรณชัย จินวัฒนาภรณ์ 600,000 0.30
9. นางเสาวณี ดลรึเดช 500,000 0.25
10.นายวัฒนะ ตั้งกิจเวทย์ 500,000 0.25
11.นางสาวกมลพรรณ นันทนานนท์ชัย 500,000 0.25
12.นายชัยพร ปัญจวงศ์โรจน์ 500,000 0.25
13.นางสาวนรดี วงศ์ศิริกุล 500,000 0.25
14.นายวินัย ศรีสุวรรณ 500,000 0.25
15.นายสุมิตร สุมิตรัชตานนท์ 500,000 0.25
16.นางศิริภา สุมิตรัชตานนท์ 500,000 0.25
รวม 161,199,800 80.59
ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548
บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 15 ราย
ถือหุ้นรวมกัน 993,800 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.50 ของ
ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับ
ของบริษัทข้อ 7 ว่า "หุ้นของบริษัทสามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด
เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นใน
บริษัทมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด
การโอนหุ้นรายใดที่จะทำให้อัตราส่วนการถือหุ้นของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย
ของบริษัทเกินอัตราส่วนข้างต้น บริษัทมีสิทธิปฎิเสธการโอนหุ้นของบริษัท
รายนั้นได้"
คณะกรรมการ
ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง วันที่ดำรงตำแหน่ง
1. ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ 22 ธันวาคม 2547
2. นายสมชาย คุลีเมฆิน กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ 01 เมษายน 2538
3. นายศิริ ฐิรวัฒนวงศ์ กรรมการ 01 เมษายน 2538
4. นายปิยะ จริยเศรษฐพงศ์ กรรมการ 01 พฤษภาคม 2538
5. นายสำรวย ทิชาชล กรรมการ 01 เมษายน 2538
6. นายเอกชัย ศิริจันทนันท์ กรรมการ 01 พฤษภาคม 2538
7. นายวิระ มาวิจักขณ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ 22 ธันวาคม 2547
8. รศ.เชาวลีย์ พงศ์ผาติโรจน์ กรรมการตรวจสอบ 22 ธันวาคม 2547
9. นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ กรรมการตรวจสอบ 21 กุมภาพันธ์ 2548
คณะกรรมการตรวจสอบ
ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม
2547 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
รายนามคณะกรรมการตรวจสอบ
1. นายวิระ มาวิจักขณ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ
2. รศ.เชาวลีย์ พงศ์ผาติโรจน์ กรรมการตรวจสอบ
3. นายชนิตร ชาญชัยณรงค์** กรรมการตรวจสอบ
** ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ลาออก ในวันที่ 31 มกราคม 2548 และบริษัทฯ ได้แต่งตั้ง
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ เป็นกรรมการแทนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548
ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ
1. สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ
โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบ จัดทำรายงานทาง
การเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี คณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชี
สอบทานหรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการ
ตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ ก็ได้
2. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสม
และมีประสิทธิผล โดยสอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้ตรวจสอบภายใน
3. สอบทานการปฏิบัติของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
ธุรกิจของบริษัทฯ
4. พิจารณาคัดเลือก และเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาเสนอ
ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีโดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร และ
ปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น รวมถึงประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้
รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ
5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงหรือรายการ
ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และคณะกรรมการตรวจสอบ
เห็นชอบด้วย เช่น ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง ทบทวน
การปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของผู้บริหาร ทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ ใน
รายงานสำคัญ ๆ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายบัญญัติ ได้แก่ บทรายงานและการ
วิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น
7. จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี
ของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ รายการดังกล่าวควร
ประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
7.1 ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงิน
ของบริษัทฯ ถึงความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้
7.2 ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ
7.3 เหตุผลที่เชื่อว่า ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้ง
ต่อไปอีกวาระหนึ่ง
7.4 ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยงข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
7.5 รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขต
หน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
วาระการดำรงตำแหน่ง
กรรมการตรวจสอบ 2 ปี
เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ - ไม่มี -
ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น
ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นจำนวน 156,100,000 หุ้น
คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนชำระแล้วก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้คำรับรองต่อ
ตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบกำหนด
ระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นที่ถูกสั่ง
ห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบ
กำหนด 1 ปี 6 เดือนสามารถขายส่วนที่เหลือทั้งหมด
การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์ - ไม่มี -
อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี) - ไม่มี -
สถิติ
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
|---------พันบาท---------|----------บาท/หุ้น--------|
ปี รายได้จาก กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
การขาย สุทธิ สุทธิ ตามบัญชี ต่อกำไร(%)
2545 1,411,887 12,945 0.16* - 1.43* -
2546 1,863,972 13,303 0.16* - 1.48* -
2547 2,616,671 34,662 0.34* 0.78* 1.03* 225.03**
ม.ค.- 2,532,108 32,397 0.21* - 1.24* -
ก.ย.2548
หมายเหตุ : * ปรับมูลค่าที่ตราไว้จากหุ้นละ 100.00 บาทเป็นหุ้นละ 1.00 บาท
** เป็นการปรับโครงสร้างเงินทุน เพื่อเตรียมตัวในการเข้าจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับปี สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2545 - 2547
และงวดเก้าเดือน สิ้นสุด ณ 30 กันยายน 2548
(หน่วย: พันบาท)
งบดุล 2545 % 2546 % 2547 % 30 ก.ย.48 %
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียนเ
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 3,463 0.67 28,781 4.13 7,309 0.86 14,333 1.33
ลูกหนี้การค้าสุทธิ 202,893 39.30 290,240 41.63 331,587 38.82 565,959 52.65
สินค้าคงเหลือสุทธิ 92,041 17.83 122,780 17.61 206,120 24.13 187,981 17.49
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 8,291 1.61 3,305 0.47 4,007 0.47 4,654 0.43
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 306,688 59.41 445,106 63.84 549,023 64.28 772,927 71.90
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินฝากที่ติดภาระค้ำประกัน 103,470 20.04 83,566 11.99 129,200 15.13 129,200 12.02
เงินลงทุนระยะยาวอื่น 10,000 1.94 10,000 1.43 - - - -
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 92,609 17.94 155,109 22.25 174,997 20.49 163,190 15.18
สินทรัพย์รอการขาย-สุทธิ - - - - - - 8,897 0.83
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 3,454 0.67 3,451 0.49 876 0.10 781 0.07
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 209,533 40.59 252,126 36.16 305,073 35.72 302,068 28.10
รวมสินทรัพย์ 516,221 100.00 697,232 100.00 854,096 100.00 1,074,995 100.00
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและ
เงินกู้ยืมจากธนาคาร 170,565 33.04 324,032 46.47 391,882 45.88 513,630 47.78
เงินกู้ยืมจากบริษัทอื่น 8,824 1.71 - - - - - -
เจ้าหนี้การค้า 143,874 27.87 130,888 18.77 151,224 17.71 235,614 21.92
หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน - - 3,779 0.54 5,109 0.60 4,821 0.45
และสัญญาเช่าซื้อที่ถึงกำหนด
ชำระใน 1 ปี
ส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ 9,408 1.82 10,944 1.57 17,160 2.01 17,160 1.60
ครบกำหนดชำระใน 1 ปี
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 24,463 4.74 15,631 2.24 20,664 2.42 14,405 1.34
รวมหนี้สินหมุนเวียน 357,134 69.18 485,274 69.60 586,039 68.62 785,630 73.08
หนี้สินไม่หมุนเวียน
หนี้สินตามสัญญาเช่า - - 8,248 1.18 5,574 0.65 4,793 0.45
การเงินและสัญญาเช่าซื้อ?
สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนด
ชำระใน 1 ปี
เงินกู้ยืมระยะยาว 44,410 8.60 55,730 7.99 102,840 12.04 91,400 8.50
(สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนด
ชำระใน 1 ปี)
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 44,410 8.60 63,978 9.18 108,414 12.69 96,193 8.95
รวมหนี้สิน 401,544 77.79 549,252 78.78 694,453 81.31 881,823 82.03
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว 80,000 15.50 100,000 14.34 155,000 18.15 156,100 14.52
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น - - - - - - 33 0.00
กำไรสะสม-จัดสรรแล้ว - - - - 4,410 0.52 4,410 0.41
กำไรสะสม-ยังไม่ได้จัดสรร 34,677 6.72 47,980 6.88 232 0.03 32,629 3.04
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 114,677 22.21 147,980 21.22 159,642 18.69 193,172 17.97
รวมหนี้สินและส่วนของ 516,221 100.00 697,232 100.00 854,095 100.00 1,074,995 100.00
ผู้ถือหุ้น
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับปี สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2545 - 2547
และงวดเก้าเดือน สิ้นสุด ณ 30 กันยายน 2548
(หน่วย: พันบาท)
งบกำไรขาดทุน 2545 % 2546 % 2547 % ม.ค.-ก.ย. %
2548
รายได้
รายได้จากการขาย 1,411,887 99.37 1,863,972 99.51 2,616,671 99.46 2,532,108 99.57
รายได้จากดอกเบี้ยรับ 2,088 0.15 1,391 0.07 886 0.03 - -
รายได้อื่น 6,800 0.48 7,741 0.41 13,303 0.51 11,003 0.43
รวมรายได้ 1,420,775 100.00 1,873,104 100.00 2,630,860 100.00 2,543,111 100.00
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขาย 1,348,908 94.94 1,782,726 95.17 2,484,094 94.42 2,406,396 94.62
ค่าใช้จ่ายในการขายและ 44,320 3.12 53,306 2.85 82,193 3.12 71,470 2.81
บริหาร
ค่าตอบแทนกรรมการ - - - - - - 860 0.03
รวมค่าใช้จ่าย 1,393,228 98.06 1,836,032 98.02 2,566,287 97.55 2,478,726 97.47
กำไรก่อนดอกเบี้ย
และภาษีเงินได้ 27,547 1.94 37,072 1.98 64,573 2.45 64,385 2.53
ดอกเบี้ยจ่าย 7,806 0.55 11,934 0.64 17,064 0.65 18,810 0.74
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 6,796 0.48 11,835 0.63 12,847 0.49 13,178 0.52
กำไรสุทธิ 12,945 0.91 13,303 0.71 34,662 1.32 32,397 1.27
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับปี สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2546 - 2547
และงวดเก้าเดือน สิ้นสุด ณ 30 กันยายน 2548
(หน่วย: พันบาท)
งบกระแสเงินสด 2546 2547 ม.ค.-ก.ย.2548
รวมเงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)ในกิจกรรมดำเนินงาน (117,254) (52,893) (98,270)
รวมเงินสดใช้ไปในกิจกรรมการลงทุน (46,954) (65,883) (1,766)
รวมเงินสดสุทธิรับในกิจกรรมจัดหาเงิน 189,526 97,303 107,061
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ 25,318 (21,473) 7,025
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี 3,463 28,781 7,308
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายปี 28,781 7,308 14,333
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
2545 2546 2547 ม.ค.-ก.ย.2548
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 0.86 0.92 0.94 0.98
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.58 0.66 0.58 0.74
อัตรากำไรขั้นต้น (%) 4.46 5.11 5.07 4.96
อัตรากำไรสุทธิ (%) 0.91 0.71 1.32 1.27
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) * 11.96 10.13 22.54 24.49
อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) * 2.92 2.19 4.47 4.48
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 3.50 3.71 4.35 4.56
หมายเหตุ * คำนวณโดยวิธีการปรับกำไรสุทธิเป็นรายปีเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
จัดทำโดย บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน)
gc-t.txt
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ S-E-T Call Center โทร. 0-2229-2222 อีเมล์ : [email protected] top
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2548, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อตกลงในการใช้เว็บไซด์ | นโยบายความเป็นส่วนตัว
หลักทรัพย์ GC
หัวข้อข่าว สรุปข้อสนเทศ : GC
วันที่/เวลา 01 ธ.ค. 2548 13:34:00
- สรุปข้อสนเทศ -
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (GC)
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่
เลขที่ 13/1 หมู่ 2 ถนนกิ่งแก้ว ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
10540 โทรศัพท์ 0-2763-7921, 0-2763-7999, 0-2763-7923-42 โทรสาร 0-2763-7950,
0-2312-4880-1 Website www.gc.co.th
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2548 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 6 ธันวาคม 2548)
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
หุ้นสามัญ 200 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 200 ล้านบาท
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ราคาเสนอขาย 2.34 บาท (จำนวนหุ้นสามัญที่เสนอขายต่อประชาชน 43,900,000 หุ้น)
วันที่เสนอขาย 21-23 พฤศจิกายน 2548
วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน
ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจของบริษัทฯ โดย
คาดว่าจะมีการใช้เงินดังกล่าวภายในปี 2548
การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน - ไม่มี
ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนจำหน่ายวัตถุดิบที่
เกี่ยวเนื่องกับพลาสติกและปิโตรเคมี รวมถึงสารเติมแต่งที่ใช้ในกระบวนการแปรรูป
ผลิตภัณฑ์พลาสติกและปิโตรเคมีอื่น ๆ โดยบริษัทฯ จัดจำหน่ายสินค้า ให้กับบริษัท
ชั้นนำทั้งในด้านกำลังการผลิตและเทคโนโลยีทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ รวมกันถึง
24 บริษัท บริษัทแบ่งธุรกิจ ออกเป็น 3 หน่วยธุรกิจหลัก คือ
1. หน่วยธุรกิจ Commodity Polymer
หน่วยธุรกิจ Commodity Polymer เป็นหน่วยธุรกิจที่ดูแลสินค้าประเภทวัตถุดิบ
พื้นฐานที่มีความผันผวนราคาค่อนข้างสูง โดยสินค้าประเภทนี้จะเป็นสินค้าที่มีการ
ซื้อขายคล่องตัว ทำให้มีปริมาณและมูลค่าการขายที่สูง โดยมากกว่า 50% ของยอดขายใน
หน่วยธุรกิจนี้จะอยู่ในรูปเครดิตทางการค้าไม่เกิน 30 วัน หน่วยธุรกิจ Commodity
Polymer สามารถแบ่งหน่วยธุรกิจออกเป็น 2 หน่วยธุรกิจย่อย ได้แก่
1.1 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 1 (SBU 1.1) ด้าน Polyolefin ประกอบด้วย
Polypropylene (PP) และ Polyethylene Resin (HDPE, LLDPE, LDPE)
หน่วยธุรกิจนี้จะดูแลสินค้าทางด้าน Polypropylene และ Polyethylene
Resin ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติก ขวดบรรจุภัณฑ์
1.2 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 2 (SBU 1.2) ด้านสินค้า PVC และสินค้า PET
หน่วยธุรกิจนี้จะดูแลสินค้า PVC ทั้งในรูปแบบของ PVC RESIN ที่ใช้ในการ
ผสมกับวัตถุดิบอื่นและ PVC Compound ที่สามารถนำไปแปรรูปได้ทันที
2. หน่วยธุรกิจ Specialty and Engineering Polymer
หน่วยธุรกิจ Specialty and Engineering Polymer จะดูแลสินค้าในกลุ่ม
โพลีเมอร์ที่ไม่ได้ครอบคลุมในหน่วยธุรกิจ Commodity ส่วนใหญ่สินค้าเป็นสินค้าที่มี
ลักษณะเฉพาะ มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน ทนความร้อน และสารเคมี เหมาะสมสำหรับ
การใช้งานในอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช่ไฟฟ้า เป็นต้น หน่วยธุรกิจ
Specialty and Engineering Polymer สามารถแบ่งหน่วยธุรกิจออกเป็น 4
หน่วยธุรกิจย่อย ได้แก่
2.1 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 1 (SBU 2.1) Engineering Plastic และ
Synthetic Rubber
หน่วยธุรกิจย่อยที่ 1 นี้ดูแลสินค้าประเภท Engineering Plastic
และยางสังเคราะห์
2.2 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 2 (SBU 2.2) Thermo Plastic Rubber และ
transparency material
สินค้าในหน่วยธุรกิจนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มพลาสติก
กึ่งยาง หรือ Thermo Plastic/Elastomer กับกลุ่มที่เป็นพลาสติกใสซึ่งจำหน่าย
ไปยังอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลความงาม
2.3 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 3 (SBU 2.3) Styrenic Plastic
หน่วยธุรกิจนี้ดูแลสินค้าหลากหลายเกือบครบทุกชนิดที่มีจำหน่ายใน
อุตสาหกรรม Styrenic Plastic ซึ่งได้แก่ GPPS, HIPS, SAN, ABS, SBS,
และ SMMA โดยพลาสติกแต่ละชนิดจะมีการใช้งานแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น งานบรรจุภัณฑ์
ส่วนตกแต่งเสื้อผ้า ของเล่น ส่วนประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
2.4 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 4 (SBU 2.4) บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(IT Solution)
บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า LCD monitor ที่บริษัทฯ นำมาทำการ
ตลาดและขายใน Brand CMV
3. หน่วยธุรกิจ Specialty Chemical
หน่วยธุรกิจ Specialty Chemical จะดูแลสินค้าประเภทสารเติมแต่ง กาวและ
ดูแลสินค้าอื่น ๆ ในตลาดอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หน่วยธุรกิจ Specialty Chemical
สามารถแบ่งหน่วยธุรกิจออกเป็น 2 หน่วยธุรกิจย่อย ได้แก่
3.1 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 1 (SBU 3.1) สารเติมแต่ง และกาว (Additive &
Adhesive) หน่วยธุรกิจนี้ แบ่งสินค้าออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
- Additive (สินค้าสารเติมแต่ง) สินค้าประเภทสารเติมแต่งนี้ สามารถ
จำหน่ายให้กับสายการผลิตของบริษัทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้ตั้งแต่ อุตสาหกรรม
ต้นน้ำ คือ ผู้ผลิตเรซิน ไปจนถึง ผู้ผลิตแม่สีที่เรียกกันว่า Masterbatch และ
Compounder จนถึง ผู้แปรรูป โดยสารเติมแต่งนี้จะใช้ร่วมกับวัตถุดิบของอุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีเพื่อให้สินค้านั้น ๆ มีลักษณะตามที่ต้องการ เช่น ใช้เพื่อเพิ่มสี ใช้
เพื่อให้มีความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ โดยในการทำการตลาดสินค้าในกลุ่มนี้ บริษัทฯ
ไม่ได้ทำหน้าที่แต่เป็นผู้กระจายสินค้าเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ทุกขั้นตอนของการ
พัฒนาตลาดตั้งแต่ให้ข้อมูลแนะนำ ร่วมทดลอง จนสามารถสร้างความต้องการของ
สินค้าชนิดดังกล่าวขึ้นได้
- Adhesive (กาว) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ผลิตกาวร้อน ที่ช่วยการยึดติดของ
งานโดยการทำให้กาวละลายด้วยความร้อนแล้วทา/ราดลงบนพื้นผิวที่จะยึดติดให้อยู่ใน
ลักษณะที่ต้องการ
3.2 หน่วยธุรกิจย่อยที่ 2 (SBU 3.2) ตลาดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและ
Intermediate
หน่วยธุรกิจนี้จะต่างจากหน่วยธุรกิจย่อยอื่น โดยหน่วยธุรกิจนี้จะกำหนด
ขอบเขตของตลาดแล้วจึงพิจารณาสินค้าที่มีศักยภาพ ต่างจากหน่วยธุรกิจอื่นที่พิจารณา
ตัวสินค้าเป็นหลัก โดยหน่วยธุรกิจนี้แบ่งตลาดเป็น 2 ส่วน คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่โรงกลั่นน้ำมัน Cracker ผู้ผลิตเรซิน โดยบริษัทฯ จะจัดหาสินค้า
ให้กับบริษัทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนี้ตั้งแต่บริษัทที่อยู่ต้นน้ำจนถึงบริษัทที่อยู่
ปลายน้ำ ตลาดสินค้าอีกส่วนหนึ่ง คือ ตลาด Intermediate ซึ่งได้แก่ บริษัทที่นำ
Resin มาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปใช้ผลิตต่อ ซึ่งได้แก่ Masterbatch
producer, Compounder โดยสินค้าในกลุ่มนี้ได้แก่ Specialty Chemical,
Fiber Glass เป็นต้น
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -ไม่มี-
สรุปสาระสำคัญของสัญญา
* บริษัททำสัญญาเงินกู้ยืมระยะสั้นกับธนาคารแห่งนี้ในวงเงิน 90 ล้านบาท โดย
ได้มีข้อกำหนดที่สำคัญที่บริษัทต้องปฎิบัติตาม คือ บริษัทฯ ต้องดำรงอัตราส่วน
หนี้สินรวมหลังหักด้วงเงินฝากที่ใช้เป็นหลักประกันต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ในอัตรา
ไม่เกินกว่า 4 เท่า โดย ณ.วันที่ 30 กันยายน 2548 บริษัทฯ มีอัตราส่วนดังกล่าว
เท่ากับ 3.90 เท่า ซึ่งต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา
* การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2548
บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาเพื่อรับข้อมูลด้านเทคนิคจากบริษัทผู้ผลิตชั้นนำของ
โลกรายหนึ่งเป็นระยะเวลา 7 ปี เพื่อศึกษาสินค้าประเภท Thermoplastic
Rubber โดยบริษัทฯ ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใด ๆ จากการรับข้อมูลดังกล่าว
แต่ต้องรักษาความลับของข้อมูลดังกล่าวตามระยะเวลาของสัญญา
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - ไม่มี -
โครงการดำเนินงานในอนาคต -ไม่มี-
รายการระหว่างกันที่สำคัญของบริษัทที่เกิดขึ้นในปี 2547 และในช่วง 6 เดือนแรกของ
ปี 2548
1. บริษัททำรายการกับบริษัทบริษัท อินเทกริตี้ พลาสติกส์ จำกัด (คุณเอกชัย
ศิริจันทนันท์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
และกรรมการของบริษัทดังกล่าว แต่ถอนตัวจากการเป็นกรรมการและขายหุ้นบริษัท
ดังกล่าวแล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547)
- บริษัทจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมี ในปี 2547 และในช่วง 6
เดือนแรกของปี 2548 มูลค่า 5.91 ล้านบาท และ 2.68 ล้านบาทตามลำดับ โดย ณ วันที่
31 ธันวาคม 2547 และ 30 มิถุนายน 2548 มียอดคงค้าง 1.19 ล้านบาทและ 0.77
ล้านบาท ตามลำดับ
2. บริษัททำรายการกับบริษัท เวคเตอร์เทคโซลูชั่น จำกัด (คุณพัชมณฑ์ ฐิรวัฒนวงศ์
เป็นพี่สาวคุณศิริ ฐิรวัฒนวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการของบริษัทฯ เป็น
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการในบริษัทดังกล่าว)
- บริษัทจำหน่ายขายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 12.7 ล้านบาท
และ 0.18 ล้านบาท ในปี 2547 และช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 โดย ณ วันที่ 31
ธันวาคม 2547 และ 30 มิถุนายน 2548 มียอดคงค้าง 0.58 ล้านบาทและ 0.03 ล้านบาท
ตามลำดับ
- บริษัทจ่ายค่าคอมมิชชั่นส์จากการขายจอมอนิเตอร์ให้กับบริษัทดังกล่าว จำนวน
0.21 ล้านบาท ในปี 2547
- บริษัทซื้อสินค้าสำเร็จรูปทางด้าน คอมพิวเตอร์มูลค่า 0.26 ล้านบาทและ
0.05 ล้านบาท
3. บริษัททำรายการกับบริษัท นิวโมเดอร์น ซุปเปอร์แพค จำกัด (คุณวิชาญ
นันทนานนท์ชัย ผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวน 1 หุ้น เป็นพี่ชายคุณบุญศรี คุลีเมฆิน
ผู้ถือหุ้นจำนวน 1 หุ้นในบริษัทฯ และเป็นภรรยาคุณสมชาย คุลีเมฆิน ซึ่งเป็นเป็น
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการของบริษัท
ดังกล่าว)
- บริษัทขายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมีให้บริษัทดังกล่าวจำนวน 90.58
ล้านบาทและ 7.81 ล้านบาท ในปี 2547 และช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 โดยมียอดคงค้าง
0.00 และ 0.79 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 และ 30 มิถุนายน 2548 ตามลำดับ
- บริษัทซื้อสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมีให้บริษัทดังกล่าวจำนวน 7.34
ล้านบาทในปี 2547
4. บริษัททำรายการกับบริษัท 21 ก่อสร้าง จำกัด (คุณฮุก ทิชาชล ซึ่งเป็นพี่ชาย
คุณสำรวย ทิชาชล ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และ
กรรมการของบริษัทดังกล่าว)
- บริษัทจ่ายค่าก่อสร้างอาคารสำนักงานคลังสินค้าจำนวน 1.94 ล้านบาท และ
0.25 ล้านบาท ในปี 2547 และช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาการทำรายการระหว่างกันดังกล่าวข้างต้น เห็นว่า
การขายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมี เป็นการทำรายการตามการค้าปกติ และ
เป็นไปตามราคาตลาด
การขายสินค้าสำเร็จรูปทางด้านคอมพิวเตอร์ เป็นการทำรายการตามการค้าปกติ และ
เป็นไปตามราคาตลาด
การจ่ายค่าคอมมิชชั่นส์จากการขายจอคอมพิวเตอร์ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา และ
มีความสมเหตุสมผล
การซื้อสินค้าสำเร็จรูปทางด้านคอมพิวเตอร์ เป็นไปตามราคาตลาด
การซื้อสินค้าสำเร็จรูปทางด้านปิโตรเคมี เป็นการทำรายการตามการค้าปกติ และ
เป็นไปตามราคาตลาด
การจ่ายค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญา และมีความ
สมเหตุสมผล
นโยบายการทำรายการระหว่างกัน
ในการทำรายการระหว่างกันที่เป็นการค้าปกติ บริษัทฯ มีนโยบายจะดำเนินการ
ให้เป็นไปตามลักษณะธุรกิจการค้าปกติทั่วไป ทั้งนี้บริษัทฯ จะให้คณะกรรมการตรวจสอบ
หรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ หรือผู้เชี่ยวชาญอิสระพิจารณาสอบและให้ความเห็นถึงความ
เหมาะสมของราคา และความสมเหตุสมผลของการทำรายการด้วย
รายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั้น คณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง
หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมตลอดถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนด
เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการเกี่ยวโยง และการได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สิน
ที่สำคัญของบริษัทฯ หรือ บริษัทย่อยตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและ
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
ในกรณีที่มีรายการระหว่างกันของบริษัทฯ ที่นอกเหนือจากการค้าปกติ ที่เกิดขึ้น
กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ในอนาคต บริษัทฯ จะให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ
ความจำเป็นและความเหมาะสมของรายการนั้น ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่มี
ความชำนาญในการพิจารณารายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯ จะได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ
อิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกัน
ดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเปิดเผยรายการระหว่างกันไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ได้รับ
การตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีบริษัทฯ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำรายการใด ๆ จะไม่มีสิทธิออกเสียงหรืออนุมัติการทำ
รายการนั้น ๆ
ภาระผูกพัน - ไม่มี -
ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงจากการพึ่งพาซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตสินค้าน้อยราย
สัดส่วนของซัพพลายเออร์ที่บริษัทฯ เป็นตัวแทนจำหน่ายในสัดส่วนที่สูง คือ
บริษัท ซีซีซี ค้าเคมีภัณฑ์ จำกัด (บริษัทในเครือ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย) โดยมีสัดส่วน
ร้อยละ 63.02 ของยอดซื้อทั้งหมดของบริษัทฯ ในปี 2547 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการ
สั่งซื้อนี้ได้ลดลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยใน 6 เดือนแรกของปี 2548
ยอดซื้อลดลงเหลือประมาณร้อยละ 52.85 ของยอดซื้อทั้งหมดของบริษัทฯ เนื่องจาก
บริษัทฯ มุ่งเน้นขยายตลาด และเพิ่มยอดขายสินค้าเกรดพิเศษ นอกจากนี้ ในอนาคต
อันใกล้นี้ (ภายในระยะเวลา 5 ปี) บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนสินค้าเกรด
พิเศษ (Specialty Product) นั่นคือ สินค้าใน หน่วยธุรกิจ Specialty and engineering
polymer และ Specialty chemical จากปัจจุบันที่มีสัดส่วน ประมาณร้อยละ 24.4
ของยอดขายรวม ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของยอดขายจากบริษัท ซีซีซี ค้าเคมีภัณฑ์ จำกัด
ลดลงซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงจากการการพึ่งพิงซัพพลายเออร์รายเดียว
2. ความเสี่ยงจากการพึ่งพาพนักงาน
เนื่องจากยอดขายของบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นการขายผ่านพนักงานขาย บริษัทฯ
จึงมีความเสี่ยงในการพึ่งพิงบุคลากรฝ่ายขายในด้านความสัมพันธ์ที่มีกับลูกค้า หาก
พนักงานขายออกจากบริษัทฯ ไป ลูกค้าก็อาจย้ายการซื้อสินค้าตามไปด้วย นอกจากนี้
ในการขายสินค้าเกรดพิเศษบางผลิตภัณฑ์ อาจจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะ
ด้านของบุคลากรในการขายในสินค้านั้น ๆ หากพนักงานขายคนดังกล่าวออกจากบริษัทฯ ไป
บริษัทฯ อาจประสบปัญหาในการหาบุคลากรมาทดแทน
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีพนักงานขายลาออกน้อยมาก ประกอบกับผู้บริหารของบริษัทฯ
ได้ค้าขายกับลูกค้าเหล่านี้เป็นเวลานาน ดังนั้น จึงสามารถลดความเสี่ยงในการเสีย
ลูกค้าได้ในระดับหนึ่ง และผู้บริหารของบริษัทฯ มีความรู้ความชำนาญในสินค้าทุกชนิด
เป็นอย่างดี ประกอบกับบริษัทฯ มีนโยบายในการฝึกอบรมให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง
จึงน่าจะสามารถพัฒนาบุคลากรมาทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการ
หนึ่งคือสินค้าเกรดพิเศษที่บริษัทฯ เป็นตัวแทนส่วนใหญ่หลังจากผู้สั่งซื้อของลูกค้า
รับรองคุณภาพแล้ว จะไม่เปลี่ยนไปใช้ของบริษัทอื่นถ้าไม่มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งจริง ๆ
เนื่องจากผู้สั่งซื้อของลูกค้ากำหนดรายละเอียดคุณภาพของวัตถุดิบไว้แล้ว
3. ความเสี่ยงจากหนี้สูญของลูกหนี้การค้า
ปัจจุบัน บริษัทฯ มียอดขายเครดิตเกือบทั้งหมด ดังนั้นหากลูกหนี้การค้าของ
บริษัทฯ กลายเป็นหนี้สูญเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัทฯ ทางด้าน
เงินทุนหมุนเวียน หรือผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน
บริษัทฯ มีนโยบายการตรวจสอบเครดิตของลูกค้าที่รัดกุมก่อนที่จะให้เครดิตกับลูกค้า
โดยในขณะนี้ บริษัทฯ ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาวงเงินเครดิตสำหรับลูกค้าทั้ง
รายเก่าและรายใหม่ และมีการจัดตั้งระบบการอนุมัติเครดิตให้กับลูกค้าโดยแยกออกมา
จากฝ่ายขาย เพื่อควบคุมรายการขายที่มีลักษณะไม่ปลอดภัย นอกจากนั้นบริษัทฯ ได้
ทำประกันคุ้มครองความเสียหายของลูกหนี้การค้ากับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งโดยมีผล
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2548 เป็นเวลา 2 ปีสำหรับสัญญาฉบับแรก (สิ้นสุดวันที่ 30
เมษายน 2550) โดยจะคุ้มครองสำหรับหนี้เสียของลูกค้าของบริษัทฯ ที่มียอดคงค้าง
มากกว่า 1 ล้านบาท และให้ความคุ้มครองเท่ากับร้อยละ 80 ของมูลค่ายอดหนี้เสีย
โดยมีค่าเบี้ยประกันขั้นต่ำเท่ากับ 4.16 ล้านบาท และให้ความคุ้มครองสูงสุด 30 เท่า
ของค่าเบี้ยประกันที่จ่ายจริง โดยทางบริษัทประกันภัยจะกำหนดวงเงินคุ้มครองสำหรับ
ลูกค้ารายที่บริษัทฯ ดำเนินการขอวงเงินคุ้มครองหนี้เสีย สำหรับการสำรองค่าเผื่อ
หนี้สงสัยจะสูญของบริษัทฯ นั้น บริษัทฯ มีการพิจารณาความเสี่ยงของลูกหนี้การค้าจาก
ประสบการณ์ในการเก็บเงินในอดีตและสถานะปัจจุบันของลูกหนี้คงค้าง และเปรียบเทียบ
กับสำรองค่าเผื่อหนี้สูญที่ตั้งอยู่ และการค้ำประกันจากบริษัทประกันภัย ว่าจำเป็น
ต้องมีการสำรองเพิ่มเติมหรือไม่
4. ความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัทฯ ซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ในต่างประเทศเป็นสกุลเงินเหรียญดอลลาร์
สหรัฐอเมริกาเพียงสกุลเดียว โดยในปี 2547 บริษัทฯ มีการซื้อสินค้าในสกุลเงินเหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 13.6 ของยอดสั่งซื้อทั้งหมดของบริษัทฯ และคาดว่า
จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25-30 ของยอดสั่งซื้อทั้งหมดของบริษัทฯ ในปี 2548 จากการลดลง
ของอัตราภาษีของสินค้านำเข้าของสินค้ากลุ่มปิโตรเคมีนอกกลุ่ม AFTA ส่วนใหญ่จาก
ร้อยละ 20.00 เป็นร้อยละ 12.50 ซึ่งจะทำให้สินค้าเกรดพิเศษที่ต้องนำเข้าจาก
ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่มีโอกาสขยายตัวขึ้นมาก ซึ่งหากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาท
ต่อสกุลเงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐมีความผันผวนอาจทำให้มีผลกระทบต่อกำไรของบริษัทฯ
ได้มาก
อย่างไรก็ตาม เพื่อการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทฯ จึงมี
การติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทต่อสกุลเงินเหรียญดอลลาร์สหรัฐอย่างใกล้ชิด
และมีนโยบายชัดเจนในการห้ามเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้สินค้าที่บริษัทฯ
นำเข้าจากต่างประเทศ บริษัทฯ จะมีการกำหนดราคาด้วยวิธีต้นทุนของบริษัทฯ บวกอัตรา
กำไร (Cost plus) และบริษัทฯ จะไม่มีการขายล่วงหน้าโดยไม่ได้ตกลงอัตราแลกเปลี่ยน
กับลูกค้าหรือไม่ได้ซื้อเงินตราล่วงหน้า จึงทำให้สามารถป้องกันความเสี่ยงได้ใน
ระดับหนึ่ง
5. ความเสี่ยงจากเงินทุนหมุนเวียน
เนื่องจากบริษัทฯ ต้องมีการสำรองสินค้าคงคลังไว้จำนวนหนึ่งเพื่อให้สามารถ
ส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงระยะเวลาการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า
ของบริษัทฯ อยู่ที่ประมาณ 50 วัน ซึ่งนานกว่าระยะเวลาการเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้
การค้าของบริษัทฯ ที่มีระยะเวลาประมาณ 25 วัน ซึ่งมีผลทำให้บริษัทฯ จำเป็นต้องมี
เงินทุนหมุนเวียนระดับหนึ่งสำหรับการดำเนินงานของบริษัทฯ ซึ่งมี Cash Cycle
อยู่ที่ประมาณ 52 วัน หากยอดขายของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ
อาจต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมซึ่งมีต้นทุนทางการเงินสูงกว่าต้นทุนทางการเงินของ
บริษัทฯ ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน บริษัทฯ มีวงเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงินหลายแห่ง
เมื่อรวมกับเงินทุนจากการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทฯ
มีฐานะเงินทุนหมุนเวียนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น และทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนของบริษัทฯ
ดีขึ้น อีกทั้งการที่ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯ
มีแนวโน้มที่จะได้รับเงื่อนไขเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ดีขึ้น
6. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าในตลาดโลก
ราคาสินค้าที่ขายในตลาดส่วนใหญ่จะผูกติดกับราคาสินค้าในตลาดโลกตามลักษณะ
สินค้าในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งมีลักษณะเป็น commodity product ซึ่งราคาสินค้า
จะผูกติดกับอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลกที่ไม่แน่นอน กำไรของบริษัทฯ จึงเปลี่ยนแปลง
ตามราคาสินค้าในตลาดซึ่งมีลักษณะเป็นวัฏจักร ความเสี่ยงของบริษัทฯ จึงอาจเกิดขึ้นใน
กรณีที่บริษัทฯ ซื้อสินค้ามาในราคาสูงและเกิดเหตุการณ์ที่ราคาของสินค้าดังกล่าวลดลง
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ พยายามลดความเสี่ยงนี้ลงโดยการพยายามเก็บสินค้าคงคลัง
ในระดับต่ำ โดยเฉพาะสินค้าที่มีความผันผวนของราคามาก และติดตามการเปลี่ยนแปลงของ
ราคาตลาดตลอดเวลา อีกทั้ง สำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่มีการสั่งซื้อล่วงหน้าในปริมาณมาก
บริษัทฯ จะได้รับการสนับสนุนในเรื่องปริมาณและราคาโดยตรงจากผู้ผลิต และ/หรือ
ผู้จำหน่ายจึงทำให้ลดความเสี่ยงได้ นอกจากนี้ สินค้าเกรดพิเศษของบริษัทฯ ยังได้รับ
ผลกระทบจากความผันผวนของราคาสินค้าต่ำ เนื่องจากกำหนดราคาตามต้นทุนของบริษัทฯ
7. ความเสี่ยงจากการมีกำไรขั้นต้นค่อนข้างน้อย
เนื่องจากบริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นค่อนข้างน้อยตามลักษณะของธุรกิจ ปัจจัย
ต่าง ๆ อาจส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรสุทธิของบริษัทฯ ได้ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มทุน
จากการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทฯ มีฐานะเงินทุนหมุนเวียน
ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น และทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนของบริษัทฯ ดีขึ้น ประกอบกับการที่
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง น่าจะทำให้บริษัทฯ มีแนวโน้มที่จะ
ได้รับเงื่อนไขเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ที่ดีขึ้น อีกทั้ง การที่บริษัทฯ มีการเฝ้า
ติดตามดูแลนโยบายในการควบคุมความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
นโยบายในการพิจารณาเครดิต และการบริหารสินค้าคงคลังอย่างใกล้ชิด น่าจะทำให้
ลดผลกระทบต่ออัตรากำไรสุทธิลงได้
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความได้เปรียบคู่แข่งในด้านสินค้าที่เป็นที่ยอมรับใน
ด้านคุณภาพจากผู้ผลิตในอันดับ 1-3 ของโลก จึงทำให้บริษัทฯ สามารถขยายตลาดสินค้า
เกรดพิเศษได้ในอัตราสูงทุกปี ส่งผลให้บริษัทฯ มีอัตรากำไรขั้นต้นโดยรวมของบริษัทฯ
ดีขึ้นและสูงกว่าคู่แข่งทั่วไปซึ่งมีสินค้าเกรดพิเศษน้อย และเน้นเฉพาะสินค้า
Commodity ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำ
8. ความเสี่ยงจากการที่ไม่ต่อสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับผู้ผลิต
สัญญาตัวแทนจำหน่ายที่บริษัทฯ ทำกับผู้ผลิตมีทั้งลักษณะสัญญาระยะยาวและ
สัญญาปีต่อปี ทำให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการต่อสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่าย
ให้กับผู้ผลิต หากไม่สามารถทำตามข้อกำหนดของผู้ผลิตแต่ละราย เช่น ไม่สามารถ
สร้างยอดขายได้ตามเป้าหมายที่ผู้ผลิตกำหนด หรือ ไม่สามารถดำรงระบบโครงสร้าง
พื้นฐานได้ตามที่ผู้ผลิตกำหนด
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง และมีลูกค้า
ประจำอยู่จำนวนมากจึงสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ผลิตมาตลอด ตลอดจนมีการสื่อสาร
กับทางผู้ผลิตอย่างใกล้ชิดเพื่ออธิบายความคืบหน้าของการขายในประเทศ ทำให้ในกรณี
ที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทางผู้ผลิตก็ยังคงต่อสัญญากับบริษัทเนื่องจากเข้าใจ
ในเหตุผล โดยในอดีต บริษัทฯ ไม่มีประวัติที่ผู้ผลิตไม่ต่อสัญญากับบริษัทฯ
กรณีพิพาท - ไม่มี -
จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 จำนวน 86 คน
ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
ปี 2537 ก่อตั้งบริษัทฯ ขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท ในชื่อ "บริษัท โกลบอล
คอนเน็คชั่นส์ จำกัด" เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537
ปี 2538 ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายเม็ดพลาสติก HDPE ของบริษัทบางกอก
โพลีเอทีลีน จำกัด (มหาชน) และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5 ล้านบาท
ปี 2539 บริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งจาก บริษัท ซีซีซี ค้าเคมีภัณฑ์ ให้เป็นตัวแทน
จำหน่าย และได้รับการแต่งตั้งจาก Eastman Chemical ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น
ของการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า เกรดพิเศษ (Specialty Product)
และเพิ่มทุนเป็น 10 ล้านบาท
ปี 2540 เพิ่มทุนเป็น 20 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทฯ และบริษัทฯ
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายของ Dupont Engineering Polymers
และ Chi Mei Corporation
ปี 2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายจาก Ciba Specialty Chemical และเพิ่มทุน
เป็น 30 ล้านบาท
ปี 2542 ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายจาก Dow Chemical Thailand และมีการ
เพิ่มทุนเป็น 50 ล้านบาท
ปี 2543 ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายจาก Advance Elastomer Systems (AES)
ปี 2544 บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 50 ล้านบาทเป็น 80 ล้านบาท เพื่อรองรับการ
เจริญเติบโตของบริษัทฯ
ปี 2546 เพิ่มทุนเป็น 100 ล้านบาท และย้ายที่ตั้งคลังสินค้ามาอยู่บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน
ที่ถนนกิ่งแก้ว และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายจากบริษัท
ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
ปี 2547 บริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายจาก Exxon Mobil และได้
ย้ายที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่เดียวกับคลังสินค้า
บริษัทฯ มีมติให้จ่ายเงินปันผลจำนวน 78 ล้านบาท และเพิ่มทุนจดทะเบียนและ
เรียกชำระ (ในคราวเดียวกัน) อีก 55 ล้านบาท เป็น 155 ล้านบาท
ปี 2548 บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้จาก 100 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาท
ต่อหุ้น และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน รวมถึงเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 200
ล้านบาท โดยเพิ่มทุนจำนวน 45 ล้านหุ้น เสนอขายหุ้นสามัญต่อกรรมการ
ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ จำนวน 1.1 ล้านหุ้น ในราคาเท่ากับมูลค่า
ทางบัญชีต่อหุ้นของงวดปีบัญชี 2547 ซึ่งเท่ากับ 1.03 บาทต่อหุ้น ส่วนที่
เหลือ จำนวน 43.9 ล้านหุ้น ให้เสนอขายต่อประชาชน
เงินลงทุนในบริษัทย่อยบริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง -ไม่มี-
การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
หน่วย: ล้านบาท
ปี ทุนที่ (ลด) เพิ่ม หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
2546 20 ล้านบาท 100 ล้านบาท ก่อสร้างสำนักงานและอาคารคลังสินค้า
2547 55 ล้านบาท 155 ล้านบาท ปรับโครงสร้างธุรกิจ
2548 1.1 ล้านบาท 156.1 ล้านบาท เสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน
รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม
ผู้สอบบัญชี นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
หมายเลข 3844
บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด
นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
ของกำไรสุทธิหลังหักภาษี
บัตรส่งเสริมการลงทุน - ไม่มี -
จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 ปรากฏดังนี้
จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของ
ทุนชำระแล้ว
1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders
1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ - - -
1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึง 27 158,099,900 79.05
ผู้ที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่มีความสัมพันธ์
1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่ - - -
เกี่ยวข้องด้วย
1.4 ผู้มีอำนาจควบคุม - - -
1.5 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายใน - - -
เวลาที่กำหนด1/
2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วย 1,062 41,900,100 20.95
การซื้อขาย
3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - -
รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 1,089 200,000,000 100.00
หมายเหตุ 1/ หมายถึง กลุ่มผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงการห้ามขายหุ้นภายในกลุ่ม นอกเหนือ
จากหุ้นที่ต้องนำฝาก Silent Period
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. นายสมชาย คุลีเมฆิน 46,499,800 23.25
2. นายศิริ ฐิรวัฒนวงศ์ 27,125,000 13.56
3. นายปิยะ จริยเศรษฐพงศ์ 27,125,000 13.56
4. นายสำรวย ทิชาชล 27,125,000 13.56
5. นายเอกชัย ศิริจันทนันท์ 27,125,000 13.56
6. นางสาวปราณี พิริยะมาสกุล 1,000,000 0.50
7. นายสมเกียรติ เทิดทูลทวีเดช 600,000 0.30
8. นายรณชัย จินวัฒนาภรณ์ 600,000 0.30
9. นางเสาวณี ดลรึเดช 500,000 0.25
10.นายวัฒนะ ตั้งกิจเวทย์ 500,000 0.25
11.นางสาวกมลพรรณ นันทนานนท์ชัย 500,000 0.25
12.นายชัยพร ปัญจวงศ์โรจน์ 500,000 0.25
13.นางสาวนรดี วงศ์ศิริกุล 500,000 0.25
14.นายวินัย ศรีสุวรรณ 500,000 0.25
15.นายสุมิตร สุมิตรัชตานนท์ 500,000 0.25
16.นางศิริภา สุมิตรัชตานนท์ 500,000 0.25
รวม 161,199,800 80.59
ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548
บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 15 ราย
ถือหุ้นรวมกัน 993,800 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.50 ของ
ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับ
ของบริษัทข้อ 7 ว่า "หุ้นของบริษัทสามารถโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด
เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นใน
บริษัทมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด
การโอนหุ้นรายใดที่จะทำให้อัตราส่วนการถือหุ้นของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย
ของบริษัทเกินอัตราส่วนข้างต้น บริษัทมีสิทธิปฎิเสธการโอนหุ้นของบริษัท
รายนั้นได้"
คณะกรรมการ
ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง วันที่ดำรงตำแหน่ง
1. ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ 22 ธันวาคม 2547
2. นายสมชาย คุลีเมฆิน กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ 01 เมษายน 2538
3. นายศิริ ฐิรวัฒนวงศ์ กรรมการ 01 เมษายน 2538
4. นายปิยะ จริยเศรษฐพงศ์ กรรมการ 01 พฤษภาคม 2538
5. นายสำรวย ทิชาชล กรรมการ 01 เมษายน 2538
6. นายเอกชัย ศิริจันทนันท์ กรรมการ 01 พฤษภาคม 2538
7. นายวิระ มาวิจักขณ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ 22 ธันวาคม 2547
8. รศ.เชาวลีย์ พงศ์ผาติโรจน์ กรรมการตรวจสอบ 22 ธันวาคม 2547
9. นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ กรรมการตรวจสอบ 21 กุมภาพันธ์ 2548
คณะกรรมการตรวจสอบ
ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม
2547 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
รายนามคณะกรรมการตรวจสอบ
1. นายวิระ มาวิจักขณ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ
2. รศ.เชาวลีย์ พงศ์ผาติโรจน์ กรรมการตรวจสอบ
3. นายชนิตร ชาญชัยณรงค์** กรรมการตรวจสอบ
** ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ลาออก ในวันที่ 31 มกราคม 2548 และบริษัทฯ ได้แต่งตั้ง
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ เป็นกรรมการแทนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548
ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ
1. สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ
โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบ จัดทำรายงานทาง
การเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี คณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชี
สอบทานหรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการ
ตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ ก็ได้
2. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสม
และมีประสิทธิผล โดยสอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้ตรวจสอบภายใน
3. สอบทานการปฏิบัติของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
ธุรกิจของบริษัทฯ
4. พิจารณาคัดเลือก และเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาเสนอ
ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีโดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร และ
ปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น รวมถึงประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้
รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ
5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงหรือรายการ
ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และคณะกรรมการตรวจสอบ
เห็นชอบด้วย เช่น ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง ทบทวน
การปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของผู้บริหาร ทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ ใน
รายงานสำคัญ ๆ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายบัญญัติ ได้แก่ บทรายงานและการ
วิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น
7. จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี
ของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ รายการดังกล่าวควร
ประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
7.1 ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงิน
ของบริษัทฯ ถึงความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้
7.2 ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ
7.3 เหตุผลที่เชื่อว่า ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้ง
ต่อไปอีกวาระหนึ่ง
7.4 ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยงข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
7.5 รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขต
หน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
วาระการดำรงตำแหน่ง
กรรมการตรวจสอบ 2 ปี
เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ - ไม่มี -
ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น
ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นจำนวน 156,100,000 หุ้น
คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนชำระแล้วก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้คำรับรองต่อ
ตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบกำหนด
ระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นที่ถูกสั่ง
ห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบ
กำหนด 1 ปี 6 เดือนสามารถขายส่วนที่เหลือทั้งหมด
การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์ - ไม่มี -
อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี) - ไม่มี -
สถิติ
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
|---------พันบาท---------|----------บาท/หุ้น--------|
ปี รายได้จาก กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
การขาย สุทธิ สุทธิ ตามบัญชี ต่อกำไร(%)
2545 1,411,887 12,945 0.16* - 1.43* -
2546 1,863,972 13,303 0.16* - 1.48* -
2547 2,616,671 34,662 0.34* 0.78* 1.03* 225.03**
ม.ค.- 2,532,108 32,397 0.21* - 1.24* -
ก.ย.2548
หมายเหตุ : * ปรับมูลค่าที่ตราไว้จากหุ้นละ 100.00 บาทเป็นหุ้นละ 1.00 บาท
** เป็นการปรับโครงสร้างเงินทุน เพื่อเตรียมตัวในการเข้าจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับปี สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2545 - 2547
และงวดเก้าเดือน สิ้นสุด ณ 30 กันยายน 2548
(หน่วย: พันบาท)
งบดุล 2545 % 2546 % 2547 % 30 ก.ย.48 %
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียนเ
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 3,463 0.67 28,781 4.13 7,309 0.86 14,333 1.33
ลูกหนี้การค้าสุทธิ 202,893 39.30 290,240 41.63 331,587 38.82 565,959 52.65
สินค้าคงเหลือสุทธิ 92,041 17.83 122,780 17.61 206,120 24.13 187,981 17.49
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 8,291 1.61 3,305 0.47 4,007 0.47 4,654 0.43
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 306,688 59.41 445,106 63.84 549,023 64.28 772,927 71.90
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินฝากที่ติดภาระค้ำประกัน 103,470 20.04 83,566 11.99 129,200 15.13 129,200 12.02
เงินลงทุนระยะยาวอื่น 10,000 1.94 10,000 1.43 - - - -
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 92,609 17.94 155,109 22.25 174,997 20.49 163,190 15.18
สินทรัพย์รอการขาย-สุทธิ - - - - - - 8,897 0.83
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 3,454 0.67 3,451 0.49 876 0.10 781 0.07
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 209,533 40.59 252,126 36.16 305,073 35.72 302,068 28.10
รวมสินทรัพย์ 516,221 100.00 697,232 100.00 854,096 100.00 1,074,995 100.00
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและ
เงินกู้ยืมจากธนาคาร 170,565 33.04 324,032 46.47 391,882 45.88 513,630 47.78
เงินกู้ยืมจากบริษัทอื่น 8,824 1.71 - - - - - -
เจ้าหนี้การค้า 143,874 27.87 130,888 18.77 151,224 17.71 235,614 21.92
หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน - - 3,779 0.54 5,109 0.60 4,821 0.45
และสัญญาเช่าซื้อที่ถึงกำหนด
ชำระใน 1 ปี
ส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ 9,408 1.82 10,944 1.57 17,160 2.01 17,160 1.60
ครบกำหนดชำระใน 1 ปี
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 24,463 4.74 15,631 2.24 20,664 2.42 14,405 1.34
รวมหนี้สินหมุนเวียน 357,134 69.18 485,274 69.60 586,039 68.62 785,630 73.08
หนี้สินไม่หมุนเวียน
หนี้สินตามสัญญาเช่า - - 8,248 1.18 5,574 0.65 4,793 0.45
การเงินและสัญญาเช่าซื้อ?
สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนด
ชำระใน 1 ปี
เงินกู้ยืมระยะยาว 44,410 8.60 55,730 7.99 102,840 12.04 91,400 8.50
(สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนด
ชำระใน 1 ปี)
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 44,410 8.60 63,978 9.18 108,414 12.69 96,193 8.95
รวมหนี้สิน 401,544 77.79 549,252 78.78 694,453 81.31 881,823 82.03
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว 80,000 15.50 100,000 14.34 155,000 18.15 156,100 14.52
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น - - - - - - 33 0.00
กำไรสะสม-จัดสรรแล้ว - - - - 4,410 0.52 4,410 0.41
กำไรสะสม-ยังไม่ได้จัดสรร 34,677 6.72 47,980 6.88 232 0.03 32,629 3.04
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 114,677 22.21 147,980 21.22 159,642 18.69 193,172 17.97
รวมหนี้สินและส่วนของ 516,221 100.00 697,232 100.00 854,095 100.00 1,074,995 100.00
ผู้ถือหุ้น
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับปี สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2545 - 2547
และงวดเก้าเดือน สิ้นสุด ณ 30 กันยายน 2548
(หน่วย: พันบาท)
งบกำไรขาดทุน 2545 % 2546 % 2547 % ม.ค.-ก.ย. %
2548
รายได้
รายได้จากการขาย 1,411,887 99.37 1,863,972 99.51 2,616,671 99.46 2,532,108 99.57
รายได้จากดอกเบี้ยรับ 2,088 0.15 1,391 0.07 886 0.03 - -
รายได้อื่น 6,800 0.48 7,741 0.41 13,303 0.51 11,003 0.43
รวมรายได้ 1,420,775 100.00 1,873,104 100.00 2,630,860 100.00 2,543,111 100.00
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขาย 1,348,908 94.94 1,782,726 95.17 2,484,094 94.42 2,406,396 94.62
ค่าใช้จ่ายในการขายและ 44,320 3.12 53,306 2.85 82,193 3.12 71,470 2.81
บริหาร
ค่าตอบแทนกรรมการ - - - - - - 860 0.03
รวมค่าใช้จ่าย 1,393,228 98.06 1,836,032 98.02 2,566,287 97.55 2,478,726 97.47
กำไรก่อนดอกเบี้ย
และภาษีเงินได้ 27,547 1.94 37,072 1.98 64,573 2.45 64,385 2.53
ดอกเบี้ยจ่าย 7,806 0.55 11,934 0.64 17,064 0.65 18,810 0.74
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 6,796 0.48 11,835 0.63 12,847 0.49 13,178 0.52
กำไรสุทธิ 12,945 0.91 13,303 0.71 34,662 1.32 32,397 1.27
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับปี สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2546 - 2547
และงวดเก้าเดือน สิ้นสุด ณ 30 กันยายน 2548
(หน่วย: พันบาท)
งบกระแสเงินสด 2546 2547 ม.ค.-ก.ย.2548
รวมเงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)ในกิจกรรมดำเนินงาน (117,254) (52,893) (98,270)
รวมเงินสดใช้ไปในกิจกรรมการลงทุน (46,954) (65,883) (1,766)
รวมเงินสดสุทธิรับในกิจกรรมจัดหาเงิน 189,526 97,303 107,061
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ 25,318 (21,473) 7,025
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี 3,463 28,781 7,308
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายปี 28,781 7,308 14,333
บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
2545 2546 2547 ม.ค.-ก.ย.2548
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 0.86 0.92 0.94 0.98
อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) 0.58 0.66 0.58 0.74
อัตรากำไรขั้นต้น (%) 4.46 5.11 5.07 4.96
อัตรากำไรสุทธิ (%) 0.91 0.71 1.32 1.27
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) * 11.96 10.13 22.54 24.49
อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) * 2.92 2.19 4.47 4.48
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 3.50 3.71 4.35 4.56
หมายเหตุ * คำนวณโดยวิธีการปรับกำไรสุทธิเป็นรายปีเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
จัดทำโดย บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน)
gc-t.txt
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ S-E-T Call Center โทร. 0-2229-2222 อีเมล์ : [email protected] top
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2548, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อตกลงในการใช้เว็บไซด์ | นโยบายความเป็นส่วนตัว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 5
ถ้า GC ขายหุ้นได้ที่ 2.34 บาท
WG ควรจะมีราคาเท่าไรดีครับ
GC มียอดขาย 2532.11 ล้านบาท กำไรขั้นต้น 125.71 ล้านบาท กำไรสุทธิ 32.40 ล้านบาท EPS 0.16 บาท
WG มียอดขาย 618.09 ล้านบาท กำไรขั้นต้น 132.86 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 66.86 ล้านบาท EPS 3.75 บาท
GC ต้องการเงินทุนหมุนเวียน = 565.96+187.98-235.61 = 518.33 ล้านบาท
WG ต้องการเงินทุนหมุนเวียน = 194.29+135.37-122.62 = 207.04 ล้านบาท
GC มีสินทรัพย์ทั้งหมด 1075.00 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นเพียง 193.17 ล้านบาท (ถ้าบวกเงินเพิ่มทุนอีก 102.73 จะเป็น 295.90 ล้านบาท)
WG มีสินทรัพย์ทั้งหมด 898.97 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้น 727.81 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงเงินสดและเงินลงทุนจำนวน 297.52 ล้านบาท
GC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 มีพนักงานทั้งหมด 86 คน
WG ก่อตั้งเมื่อปี 2510 จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2522 มีพนักงานทั้งหมด 119 คน
WG ควรจะมีราคาเท่าไรดีครับ
GC มียอดขาย 2532.11 ล้านบาท กำไรขั้นต้น 125.71 ล้านบาท กำไรสุทธิ 32.40 ล้านบาท EPS 0.16 บาท
WG มียอดขาย 618.09 ล้านบาท กำไรขั้นต้น 132.86 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 66.86 ล้านบาท EPS 3.75 บาท
GC ต้องการเงินทุนหมุนเวียน = 565.96+187.98-235.61 = 518.33 ล้านบาท
WG ต้องการเงินทุนหมุนเวียน = 194.29+135.37-122.62 = 207.04 ล้านบาท
GC มีสินทรัพย์ทั้งหมด 1075.00 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นเพียง 193.17 ล้านบาท (ถ้าบวกเงินเพิ่มทุนอีก 102.73 จะเป็น 295.90 ล้านบาท)
WG มีสินทรัพย์ทั้งหมด 898.97 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้น 727.81 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงเงินสดและเงินลงทุนจำนวน 297.52 ล้านบาท
GC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 มีพนักงานทั้งหมด 86 คน
WG ก่อตั้งเมื่อปี 2510 จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2522 มีพนักงานทั้งหมด 119 คน
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 6
อืม เพิ่มเติมจากวันอาทิตย์นะครับ ผมถามแกว่าถ้าเทียบกับ WG แล้วคิดว่าอย่างไร ผู้บริหารบอกผมว่า WG ไม่โตแล้วอ่ะครับ แถมเคมีบางอย่างยังถูก GC นำไปทำการตลาดแทนอีก พี่ Chatchai มองประเด็นนี้ไว้อย่างไรบ้างครับ
แต่ถ้าเรื่องงบการเงินนี่ผมยังไงๆ ก็ยกให้ WG ครับ
แต่ถ้าเรื่องงบการเงินนี่ผมยังไงๆ ก็ยกให้ WG ครับ
Impossible is Nothing
- เพื่อน
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1832
- ผู้ติดตาม: 0
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 7
ผมโชคไม่ดีครับ ยังไม่เคยเห็นเซลส์ที่เก่งๆเป็นคนเถรตรงเลยซักคน เห็นยิ่งเก่งก็ยิ่งเขี้ยวครับ แต่ถามว่าคบได้มั้ย...ก็แล้วแต่คนอีกครับ บางคนก็รักพวกพ้องเพื่อนฝูง ไหว้วานช่วยเหลือกันได้ แต่บางคนฟันงานได้เป็นฟัน หักหลังกันได้ทันทีเหมือนกันผู้ถือหุ้นใหญ่ และผู้บริหาร เริ่มการทำงานจากเป็นเซลส์แมนทั้งหมด และ เริ่มกิจการเองจนขยายถึงวันนี้ ทำงานหนักกันทั้งนั้น เป็นคนเถรตรง
ผมเองคงขอดูไปก่อนดีกว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 8
ผมว่าเรื่อง WG จะโตอีกหรือไม่ ผลการดำเนินงานย้อนหลังก็คงจะบอกได้
ผู้บริหารของ WG ได้เปลี่ยนประเภทสินค้าจาก Commodity มาเป็น Specialty ก่อน GC นานพอควรแล้วนะครับ
สินค้าส่วนใหญ่ของ GC ผมยังไม่เข้าใจเท่าไร เพราะเห็นเป็นตัวแทนจำหน่ายให้ ปูนซีเมนต์ไทย กับ ไทยพลาสติก ซึ่งขายเม็ดพลาสติกมากกว่าเคมีภัณฑ์มั๊งครับ
สินค้าที่ทาง GC อ้างว่าแย่งมาจาก WG นั้น ผมไม่แน่ใจว่าเป็oพวก Commodity หรือเปล่า ถ้าดูสัดส่วนกำไรขั้นต้นของ GC แล้ว ผมว่าสินค้าพวกนั้นทาง WG คงเลิกขายแล้วครับ ลองดูสัดส่วนกำไรขั้นต้นซิครับ
กรณีสองบริษัทนี้น่าจะเป็นตัวอย่างในการทำธุรกิจที่ดีนะครับ
บริษัทแรก ขายสินค้าที่มี Margin ต่ำ ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก ส่งผลให้ต้องมีหนี้สูงตามไปด้วย
อีกบริษัทขายสินค้าที่มี Margin สูง ใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อย มีเงินสดเหลือมากมาย
อีกทั้งนโยบายของผู้บริหารที่จะเริ่มเน้นสินค้า Specialty ยิ่งทำให้มั่นใจในผุ้บริหารของ WG ที่ทำมาก่อนเป็นปีๆ
ผู้บริหารของ WG ได้เปลี่ยนประเภทสินค้าจาก Commodity มาเป็น Specialty ก่อน GC นานพอควรแล้วนะครับ
สินค้าส่วนใหญ่ของ GC ผมยังไม่เข้าใจเท่าไร เพราะเห็นเป็นตัวแทนจำหน่ายให้ ปูนซีเมนต์ไทย กับ ไทยพลาสติก ซึ่งขายเม็ดพลาสติกมากกว่าเคมีภัณฑ์มั๊งครับ
สินค้าที่ทาง GC อ้างว่าแย่งมาจาก WG นั้น ผมไม่แน่ใจว่าเป็oพวก Commodity หรือเปล่า ถ้าดูสัดส่วนกำไรขั้นต้นของ GC แล้ว ผมว่าสินค้าพวกนั้นทาง WG คงเลิกขายแล้วครับ ลองดูสัดส่วนกำไรขั้นต้นซิครับ
กรณีสองบริษัทนี้น่าจะเป็นตัวอย่างในการทำธุรกิจที่ดีนะครับ
บริษัทแรก ขายสินค้าที่มี Margin ต่ำ ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก ส่งผลให้ต้องมีหนี้สูงตามไปด้วย
อีกบริษัทขายสินค้าที่มี Margin สูง ใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อย มีเงินสดเหลือมากมาย
อีกทั้งนโยบายของผู้บริหารที่จะเริ่มเน้นสินค้า Specialty ยิ่งทำให้มั่นใจในผุ้บริหารของ WG ที่ทำมาก่อนเป็นปีๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 9
ดูแค่ 2 ตัว คือ D/E กับ %margin ก็หนาวววววว แล้ว
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 13
คุณเพื่อนบอกว่า
แต่ก็อาจจะแปลว่าที่เจอยังไม่เก่งจริงมั้งครับ ถ้าเก่งจริงๆถึงขั้นสุดยอดสูงสุด(สู่สามัญ)แล้วละก็ อาจจะดูเป็นคนเถรตรงน่าคบน่าซื้อไปเลย
ผมก็ยังไม่เจอครับ เมื่อเทียบกับที่เจอมักจะไม่ค่อยเถรตรงนัก แต่ทุกวงการก็ย่อมจะมีทั้งคนตรงและไม่ตรง ต่างกันที่สัดส่วนว่ามากหรือน้อยเท่านั้นเอง อย่างกลุ่มนักการเมืองหรือผู้รับเหมาอาจจะน้อยกว่ากลุ่มอื่นผมโชคไม่ดีครับ ยังไม่เคยเห็นเซลส์ที่เก่งๆเป็นคนเถรตรงเลยซักคน เห็นยิ่งเก่งก็ยิ่งเขี้ยวครับ
แต่ก็อาจจะแปลว่าที่เจอยังไม่เก่งจริงมั้งครับ ถ้าเก่งจริงๆถึงขั้นสุดยอดสูงสุด(สู่สามัญ)แล้วละก็ อาจจะดูเป็นคนเถรตรงน่าคบน่าซื้อไปเลย
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 16
เท่าที่ดูงบการเงินของบริษัท สิ่งที่พบเห็นอย่างแรกก็คือหนี้เงินกู้ระยะสั้นของบริษัทที่มีอยู่สูงมาก สูงโดยตลอดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น
จากการที่บริษัทจำหน่ายสินค้าที่มีกำไรต่ำ จึงต้องมียอดขายสูงๆ ส่งผลให้บริษัทใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก ทั้งลูกหนี้การค้าและสินค้าคงคลัง
และเนื่องจากบริษัทมีกำไรที่น้อยทำให้ไม่เพียงพอในการลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียน จึงต้องใช้เงินกู้ยืมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทคงเพิ่มขึ้น เมื่อคิดถึง Net Profit Margin ที่เล็กน้อยมากๆ น่าเสียวไส้ครับ
ปัญหาที่ใหญ่กว่าก็คือ แล้วเมื่อไรหนี้ของบริษัทจะลดลง บริษัทจะมีเงินสดเพียงพอที่จะชำระหนี้หรือไม่
ทางแก้ไขของบริษัทก็คือ พยายามเพิ่มยอดขายสินค้าที่มี Margin ที่สูงขึ้น และลดสินค้าพวกเม็ดพลาสติกลง แต่จะทำได้ดีเท่าไรคงต้องติดตามดู
เท่าที่ดู ผมว่า GC ไม่น่าจะเป็นคู่แข่งกับ WG มากนัก เพราะสินค้าหลักของ GC เป็นเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของ Specialty เองก็อยู่ในอุตสาหกรรมพลาสติกเป็นหลัก ในขณะที่ WG กระจายในอุตสาหกรรมต่างๆมากกว่าครับ
จากการที่บริษัทจำหน่ายสินค้าที่มีกำไรต่ำ จึงต้องมียอดขายสูงๆ ส่งผลให้บริษัทใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก ทั้งลูกหนี้การค้าและสินค้าคงคลัง
และเนื่องจากบริษัทมีกำไรที่น้อยทำให้ไม่เพียงพอในการลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียน จึงต้องใช้เงินกู้ยืมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทคงเพิ่มขึ้น เมื่อคิดถึง Net Profit Margin ที่เล็กน้อยมากๆ น่าเสียวไส้ครับ
ปัญหาที่ใหญ่กว่าก็คือ แล้วเมื่อไรหนี้ของบริษัทจะลดลง บริษัทจะมีเงินสดเพียงพอที่จะชำระหนี้หรือไม่
ทางแก้ไขของบริษัทก็คือ พยายามเพิ่มยอดขายสินค้าที่มี Margin ที่สูงขึ้น และลดสินค้าพวกเม็ดพลาสติกลง แต่จะทำได้ดีเท่าไรคงต้องติดตามดู
เท่าที่ดู ผมว่า GC ไม่น่าจะเป็นคู่แข่งกับ WG มากนัก เพราะสินค้าหลักของ GC เป็นเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของ Specialty เองก็อยู่ในอุตสาหกรรมพลาสติกเป็นหลัก ในขณะที่ WG กระจายในอุตสาหกรรมต่างๆมากกว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
GC (GLOBAL CONNECTION)
โพสต์ที่ 18
ปัญหาคือมี Margin น้อยมากๆนะซิครับ
ยอดขาย 2,532.108 ล้านบาท มีกำไรสุทธิเพียง 32.397 ล้านบาท มี Net Profit Margin เพียง 1.28% เท่านั้น
ขณะที่ Supplier ก็ให้เครดิตที่น้อยมากครับ บริษัทมีต้นทุนขาย 9 เดือน 2,406.396 ล้านบาท มีเจ้าหนี้การค้าเพียง 235.614 ล้านบาท ขณะที่ลูกหนี้การค้ามีถึง 565.959 ล้านบาท สินค้าคงคลังอีก 187.981 ล้านบาท
ยิ่งขายมากก็ยิ่งต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนมาก ขณะที่เงินสดที่ได้จากการดำเนินงานน้อยมาก ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทไม่เคยมีเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียนเลยครับ ต้องใช้เงินกู้ระยะสั้นเพิ่มตลอด บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียนมาตลอด และหนี้สินหมุนเวียนก็เป็นหนี้เงินกู้สถาบันการเงินถึง 530.79 ล้านบาท
บริษัทมีหนี้ทั้งหมดถึง 881.82 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นมีเพียง 193.17 ล้านบาท หลังเพิ่มทุน บริษัทได้เงินสดมา 102.726 ล้านบาท
ถ้านำไปชำระหนี้ทั้งหมด หนี้จะเหลือ 779.094 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเพิ่มเป็น 295.896 ล้านบาท อัตราส่วนหนี้ต่อทุนก็จะเหลือ 2.63 เท่า แต่จะสามารถเพิ่มยอดขายมากขึ้นอีกเท่าไรครับ
แต่ถ้าไม่นำเงินสดไปชำระหนี้ ก็จะมีอัตราส่วนหนี้ต่อทุนถึง 2.98 เท่า ก็น่าจะเต็มที่แล้ว
ซึ่งถ้าจะวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบหนี้เงินกู้กับกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ก็คงวิเคราะห์ลำบากมากๆ เพราะบริษัทไม่เคยมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกเลยตั้งแต่ปี 2546
ถ้าเป็นสถาบันการเงินจะให้กู้ไหมเนี่ย
ยอดขาย 2,532.108 ล้านบาท มีกำไรสุทธิเพียง 32.397 ล้านบาท มี Net Profit Margin เพียง 1.28% เท่านั้น
ขณะที่ Supplier ก็ให้เครดิตที่น้อยมากครับ บริษัทมีต้นทุนขาย 9 เดือน 2,406.396 ล้านบาท มีเจ้าหนี้การค้าเพียง 235.614 ล้านบาท ขณะที่ลูกหนี้การค้ามีถึง 565.959 ล้านบาท สินค้าคงคลังอีก 187.981 ล้านบาท
ยิ่งขายมากก็ยิ่งต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนมาก ขณะที่เงินสดที่ได้จากการดำเนินงานน้อยมาก ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทไม่เคยมีเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอที่จะลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียนเลยครับ ต้องใช้เงินกู้ระยะสั้นเพิ่มตลอด บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียนมาตลอด และหนี้สินหมุนเวียนก็เป็นหนี้เงินกู้สถาบันการเงินถึง 530.79 ล้านบาท
บริษัทมีหนี้ทั้งหมดถึง 881.82 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นมีเพียง 193.17 ล้านบาท หลังเพิ่มทุน บริษัทได้เงินสดมา 102.726 ล้านบาท
ถ้านำไปชำระหนี้ทั้งหมด หนี้จะเหลือ 779.094 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเพิ่มเป็น 295.896 ล้านบาท อัตราส่วนหนี้ต่อทุนก็จะเหลือ 2.63 เท่า แต่จะสามารถเพิ่มยอดขายมากขึ้นอีกเท่าไรครับ
แต่ถ้าไม่นำเงินสดไปชำระหนี้ ก็จะมีอัตราส่วนหนี้ต่อทุนถึง 2.98 เท่า ก็น่าจะเต็มที่แล้ว
ซึ่งถ้าจะวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบหนี้เงินกู้กับกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ก็คงวิเคราะห์ลำบากมากๆ เพราะบริษัทไม่เคยมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกเลยตั้งแต่ปี 2546
ถ้าเป็นสถาบันการเงินจะให้กู้ไหมเนี่ย