TTA เผยบริษัทย่อยขายเรือ 2 ลำ ล่าสุดเหลือเรือในกองรวม 46 ลำ
บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (TTA) แจ้งการขายเรือของบริษัทย่อย
ของบริษัทฯ คือ บริษัท เฮรอน ชิปปิ้ง จำกัด โดยขายให้แก่ Spiridon Trading & Maritime
Agency Sarl., Lebanon
โดยเรือที่ขายไป คือ เรือเฮรอน เป็นเรือบรรทุกสินค้าทั่วไป ขนาดระวางบรรทุก
20,712 เดทเวทตัน สร้างในปี พ.ศ.2520 ซึ่งผู้ซื้อซื้อเรือดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ในกิจการขนส่ง
สินค้าทางทะเล
ส่วนราคาขายเรือเฮรอน เท่ากับ 2,350,000 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา หรือเป็นเงินไทย
จำนวน 90,757,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา เท่ากับ 38.62 บาท) โดย
ที่ราคาขายเป็นไปตามราคาตลาด ณ ปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม มูลค่าตามบัญชีของเรือเฮรอน ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นเงิน
ประมาณ 42.37 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขายเรือลำดังกล่าวและค่านายหน้าแล้ว
จะได้กำไรในทางบัญชีจากการขายเรือลำนี้ประมาณ 45.61 ล้านบาท
รวมทั้ง บริษัท เฮราเคิลส์ ชิปปิ้ง จำกัด ที่ขายเรือให้แก่ Unisoft International
Limited, Gibraltar โดยขายเรือเฮราเคิลส์ เป็นเรือบรรทุกสินค้าทั่วไป ขนาดระวางบรรทุก
21,068 เดทเวทตัน สร้างในปี พ.ศ. 2519 ผู้ซื้อซื้อเรือ ดังกล่าวเพื่อนำไปตัดขายเป็นเศษเหล็ก
โดยมีน้ำหนักเรือเปล่าสุทธิ 5,212.30 ตัน ราคาขายเท่ากับ 1,784,744 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
หรือเป็นเงินไทยจำนวน 68,926,813.28 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา เท่า
กับ 38.62 บาท) โดยที่ราคาขายเป็นไปตามราคาตลาด ณ ปัจจุบัน
ทั้งนี้ มูลค่าตามบัญชีของเรือเฮราเคิลส์ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นเงิน
ประมาณ 57.20 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขายเรือลำดังกล่าวและค่านายหน้าแล้ว
จะได้กำไรใน ทางบัญชีจากการขายเรือลำนี้ประมาณ 10.47 ล้านบาท หลังจากขายเรือเฮรอนและเฮราเคิลส์แล้ว กองเรือของกลุ่มบริษัทโทรีเซนจะเหลือ 46
ลำ ขนาดระวางบรรทุกเฉลี่ย 27,058 เดทเวทตัน อายุเฉลี่ยของกองเรือ 17.34 ปี
ส่วนผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับนั้น การขายเรือเป็นไปตามนโยบายของบริษัทฯ ที่จะ
ลดอายุเฉลี่ยของกองเรือ และเพิ่มขนาดระวางบรรทุกเฉลี่ยของกองเรือ คณะกรรมการของบริษัท
เฮรอน ชิปปิ้ง จำกัด และ บริษัท เฮราเคิลส์ชิปปิ้ง จำกัด จึงเห็นควรให้ขายเรือดังกล่าว โดยจะนำ
เงินที่ได้จากการขายเรือมาใช้ในการขยายธุรกิจต่อไป
น่าจะเป็นข่าวดีนะครับ
คราวนี้มาดูความเห็นของ บล.เกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ
โบรกฯ ชี้ TTA ขายเรือ 2 ลำ ไม่มีนัยสำคัญ-ไม่หนุนรายได้โตก้าวกระโดด เหตุรับรู้ไปแล้ว
โบรกฯ ชี้ TTA ขายเรือ 2 ลำ ไม่มีนัยสำคัญ-ไม่หนุนรายได้โตแบบก้าวกระโดด เหตุ
รับรู้แล้ว ขณะที่รายได้ปีนี้มีสิทธิ์ลดลง ระบุ เป็นไปตามทิศทางดัชนีค่าระวางเรือ แนะนลท.
ทยอยสะสม ให้ราคาเป้าหมาย 38 บาท
จากกรณีที่บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ขายเรือของ
บริษัทย่อยของบริษัทฯ คือ บริษัท เฮรอน ชิปปิ้ง จำกัด และบริษัท เฮราเคิลส์ ชิปปิ้ง จำกัด ทั้งนี้หลัง
จากขายเรือของสองบริษัทดังกล่าวแล้ว กองเรือของกลุ่มบริษัทโทรีเซนจะเหลือ 46 ลำ ขนาด
ระวางบรรทุกเฉลี่ย 27,058 เดทเวทตัน อายุเฉลี่ยของกองเรือ 17.34 ปี
เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง เปิดเผยว่าจากกรณีดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญ
ต่อผลการดำเนินงานในปีนี้ของ TTA เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่รับรู้และเป็นไปตามแผน
งานของ TTA รวมทั้งฝ่ายวิเคราะห์ได้รวมไว้ในประมาณการแล้ว โดยในปี 2549 คาดว่า TTA
จะมีรายได้อยู่ที่ 13,400 ล้านบาท ลดลง 7 % จากปีที่ผ่านมาที่มีรายได้อยู่ที่ 14,519 ล้านบาท
' เรื่องที่ขายเรือ 2 ลำ ไม่ใช่เรื่องแปลกและไม่เซอร์ไพรซ์เพราะเป็นเรื่องที่ทาง TTA
แจ้งไว้แล้วและเป็นไปตามแผนงาน ซึ่งทางฝ่ายวิเคราะห์ก็ไม่มีการปรับประมาณการใหม่ แต่ราย
ได้ของ TTA จะเป็นไปตามทิศทางของดัชนีค่าระวางเรือ ซึ่งในปีนี้คาดว่าดัชนีค่าระวางเรือน่าจะ
ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่ดัชนีค่าระวางเรือเฉลี่ยอยู่ที่ 14,576 เหรียญ /วัน/ลำ และในปีนี้น่าจะเฉลี่ย
จะอยู่ที่ 12,364 เหรียญ /วัน/ลำ ' แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว
อย่างไรก็ตามถึงแม้ TTA จะขายเรือออกไป 2 ลำ ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ในปีนี้
เนื่องจาก TTA ยังคงมีรายได้จากธุรกิจอื่นๆ เข้ามาสนับสนุนอีกด้วย ดังนั้นจึงแนะนำทยอยสะสม
โดยให้ราคาเหมาะสมที่ 38 บาท
บล.ฟิลลิป : TTA แนะนำทยอยซื้อ ราคาเหมาะสมอยู่ที่ 28.90 บาท
TTA ได้เข้าถือหุ้น MML ในเดือนธ.ค. 2548 เป็น 63.14% จึงทำให้ต้อง
รวมงบของ MML เข้ามา 1 เดือน แต่กับมีรายได้ถึง 342 ล้านบาท และส่งผลให้กำไร
ในสัดส่วน 52.34 ล้านบาท โดยที่สินทรัพย์ของ MML ยังใช้ไม่เต็มที่ โดยสินทรัพย์
ของ MML ประกอบด้วยเรือขุดเจาะสำรวจน้ำมัน 2 ลำ และเรือให้บริการนอกชายฝั่ง 5
ลำ โดยใน 2Q48 จะสามารถรับรู้รายได้เต็มที่ เพราะใน 1Q48 เรือขุดเจาะฯ 1 ลำทำงาน
ได้เพียงครึ่งเดือน และทั้ง 2 ลำก็ได้มีการเซ็นสัญญาเต็มแล้ว 2 ปี จึงทำให้มีรายแน่นอน
แล้ว ส่วนเรือนอกชายฝั่งจะรับลำที่ 5 ในเดือนมี.ค. 2549 หลังเข้าอู่ซ่อมและตรวจสภาพ
แล้ว ก็จะให้บริการ โดยลักษณะของธุรกิจ MML จะไม่มีฤดูกาล เพราะจะเป็นการทำ
สัญญาในการรับงาน โดยในปี 2549 คาดว่าจะมีรายได้จาก MML เข้ามา 3,181
ล้านบาท
ได้มีการทำสัญญาเช่าระยะยาวล่วงหน้าไว้แล้ว 39% ของระวางบรรทุกทั้ง
หมด โดยมีค่าระวาง ที่ได้รับ 17,000 ดอลลาร์ต่อวันต่อลำในปี 2549 และสัญญาได้ยาว
ไปถึงในปี 2550 ในสัดส่วน 21% ของระวางบรรทุก โดยมีค่าระวาง 15,900 ดอลลาร์
การทำสัญญาดังกล่าวในสถานการณ์ ขณะนี้ส่งผลดีต่อ TTA เพราะจะทำให้ความผันผวน
น้อยลง และยังสามารถพยุงค่าระวางไม่ให้ลดลงมาก ถึงอย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายฯ ก็ได้
ปรับลดค่าระวางจาก 11,637 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 11,000 ดอลลาร์ ซึ่งก็ได้ส่งผลให้รายได้
ในปี 2549 ลงมาอยู่ที่ 14,219 ล้านบาทลดลง 4.52% จากเดิมที่มองว่าจะลดลงเพียง
0.51% และได้ปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายบริหาร เนื่องจากจะมีเรือที่ต้องเข้าอู่เพื่อขยายขนาดอีก
2 ลำ จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้กำไรสุทธิลดลงจาก 4,178.14 ล้านบาท มาอยู่ที่
3,720.16 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 5.78 บาท และปันผลจ่ายที่ 1.73 บาทต่อหุ้น
อิง P/E ที่ 5 เท่า ราคาเหมาะสมอยู่ที่ 28.90 บาท และยังมี Dividend Yield ที่ 8.01%
จึงยังแนะนำ 'ทยอยซื้อ'