การประเมินมูลค่าหุ้นโดย Discounted free cash flow ..
-
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
การประเมินมูลค่าหุ้นโดย Discounted free cash flow ..
โพสต์ที่ 1
1. มีวิธีการหา Free Cash flow อย่างไร
คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน- กระแสเงินสดจากการลงทุน ใช่หรือเปล่าครับ ?
2. มูลค่าที่หาได้คือมูลค่าปัจุบันที่สามารถจะสร้างกระสเงินสดในอนาคต?
3. ต้องเอา มูลค่านี้บวกกับ มูลค่าทางบัญชี ปัจุบัน เพื่อให้ได้มูลค่าหุ้น( ราคาหุ้นที่เหมาะสม) หรือเปล่า ?
:roll: :roll: :roll: :roll: :roll:
คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน- กระแสเงินสดจากการลงทุน ใช่หรือเปล่าครับ ?
2. มูลค่าที่หาได้คือมูลค่าปัจุบันที่สามารถจะสร้างกระสเงินสดในอนาคต?
3. ต้องเอา มูลค่านี้บวกกับ มูลค่าทางบัญชี ปัจุบัน เพื่อให้ได้มูลค่าหุ้น( ราคาหุ้นที่เหมาะสม) หรือเปล่า ?
:roll: :roll: :roll: :roll: :roll:
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 710
- ผู้ติดตาม: 1
การประเมินมูลค่าหุ้นโดย Discounted free cash flow ..
โพสต์ที่ 2
FCF คือเงินที่เหลือหลังจาก
กำไรสุทธิบวกกับค่าเสื่อม ค่าเผื่อ
ลบค่าใช้จ่ายลงทุน capital expenditure
ค่าที่ได้ก็จะเป็นเงินที่สามารถนำไปใช้จ่ายในส่วนไหนก็ได้ เช่น ปันผล
ตอบข้อ 1 ไม่ใช่ครับ
ตอบข้อ 2 ไม่ใช่ครับ
ตอบข้อ 3 ไม่ใช่ครับ
มูลค่าหุ้นนั้นมาจากการประมาณการ fcf ในอนาคตแล้วมาคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบัน รวมกับ
มูลค่าส่วนที่เหลือปัจจุบัน (พูดง่ายๆคือมูลค่าบริษัทที่คิดกระแสเงินสดปีสุดท้ายเอามาคิดลดเป็นค่าปัจจุบัน)
ค่าที่ได้เป็นมูลค่าบริษัท
หักด้วยหนี้สินระยะยาว
ก็จะได้มูลค่าที่แท้จริง หารจำนวนหุ้นก็จะได้มูลค่าหุ้น
งงมั้ยครับ
แต่ผมว่าเรามีความจำเป็นน้อยที่จะคิดมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมเพราะมันตัวแปรมากที่มีผลกับการ
คำนวณจนค่าที่ได้แตกต่างกันออกไป
กำไรสุทธิบวกกับค่าเสื่อม ค่าเผื่อ
ลบค่าใช้จ่ายลงทุน capital expenditure
ค่าที่ได้ก็จะเป็นเงินที่สามารถนำไปใช้จ่ายในส่วนไหนก็ได้ เช่น ปันผล
ตอบข้อ 1 ไม่ใช่ครับ
ตอบข้อ 2 ไม่ใช่ครับ
ตอบข้อ 3 ไม่ใช่ครับ
มูลค่าหุ้นนั้นมาจากการประมาณการ fcf ในอนาคตแล้วมาคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบัน รวมกับ
มูลค่าส่วนที่เหลือปัจจุบัน (พูดง่ายๆคือมูลค่าบริษัทที่คิดกระแสเงินสดปีสุดท้ายเอามาคิดลดเป็นค่าปัจจุบัน)
ค่าที่ได้เป็นมูลค่าบริษัท
หักด้วยหนี้สินระยะยาว
ก็จะได้มูลค่าที่แท้จริง หารจำนวนหุ้นก็จะได้มูลค่าหุ้น
งงมั้ยครับ
แต่ผมว่าเรามีความจำเป็นน้อยที่จะคิดมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมเพราะมันตัวแปรมากที่มีผลกับการ
คำนวณจนค่าที่ได้แตกต่างกันออกไป
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
การประเมินมูลค่าหุ้นโดย Discounted free cash flow ..
โพสต์ที่ 3
ผมว่า อยากทำก็ทำเถอะครับ แต่อบ่าไปยึดติดมากกับ มูลค่าที่คิดได้จากวิธีนี้ครับ สนใจที่ สมมติฐานดีกว่า
1. FCF ที่ประมาณไว้ต้องใกล้เคียงกับ FCF ในอนาคตที่จะได้รับ
2. หากธุรกิจมีรายได้ไม่แน่นอน ก็กรุณาปรับใช้ให้เหมาะสมครับ
3. หาก มีการประเมิน growth ก็ต้องทบทวนมูลค่าหาก growth เปลี่ยนด้วย
4. มูลค่า terminal value ขึ้นกับว่าประเมินยังไง
ยังไงก็ลองทำ sensitivity ดูด้วยครับ แต่ผมไม่ได้ใช้วิธีนี้ครับ ลำพัง P/E ก็พอแทนได้แบบหยาบๆครับ แล้วก็ผมเดา growth ไม่ถูกครับ ไม่เอาดีกว่า
1. FCF ที่ประมาณไว้ต้องใกล้เคียงกับ FCF ในอนาคตที่จะได้รับ
2. หากธุรกิจมีรายได้ไม่แน่นอน ก็กรุณาปรับใช้ให้เหมาะสมครับ
3. หาก มีการประเมิน growth ก็ต้องทบทวนมูลค่าหาก growth เปลี่ยนด้วย
4. มูลค่า terminal value ขึ้นกับว่าประเมินยังไง
ยังไงก็ลองทำ sensitivity ดูด้วยครับ แต่ผมไม่ได้ใช้วิธีนี้ครับ ลำพัง P/E ก็พอแทนได้แบบหยาบๆครับ แล้วก็ผมเดา growth ไม่ถูกครับ ไม่เอาดีกว่า
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
การประเมินมูลค่าหุ้นโดย Discounted free cash flow ..
โพสต์ที่ 4
พี่chainsaw ครับ fcf นี่
ถ้า ไม่มีไรพิเศษก็เอา cfo-กระแสเงินจากการลงทุน ได้เลยไม่ใช่เหรอครับ
เนื่องจาก งบcashflowมันปรับให้แล้วไม่ใช่เหรอครับ ที่ผมหมายถึงคือ
ถ้าไม่มีรายการที่พิเศษในกระแสเงินสดจากการลงทุน เช่น ลงทุนสร้างตึก
ก็นํามาหักได้เลยหรือถ้ามีรายการที่พิเศษดังกล่าวก็ไม่ต้องนํารายการนั้นมาหัก
เพื่อให้ได้ maintenance cost แล้วถึงนํา cfo มาหัก จาก cash flow from investing ไม่ใช่เหรอครับ
เรื่อง dcfผมไม่เคยใช้นะเพราะยุ่งยากและcashflow ต้อง constantด้วย
อีกอย่างคุณรู้เหรอว่าควรจะใช้ discount rateที่เท่าใหร่สําหรับแต่ละธุรกิจ
ดู pe pbv yield คุณภาพกําไร เข้าใจ บมจ น่าจะworkกว่านะครับ
เพราะหลายๆท่านในนี้เช่น พี่ jeng genie etc รวม ทั้ง ดร นิเวศ ก็ไม่ใช้dcf
ครับ คือเราดูภาพรวมได้อย่างเดียวเนื่องจากเราไม่ใช้เจ้าของครับ
จะทํา dcfได้ดีคุณต้องมีข้อมูลที่ลึกและถูกต้องซึ่งก็คงจะเป็น เจ้าของหรือ insiderอะครับ
ถ้า ไม่มีไรพิเศษก็เอา cfo-กระแสเงินจากการลงทุน ได้เลยไม่ใช่เหรอครับ
เนื่องจาก งบcashflowมันปรับให้แล้วไม่ใช่เหรอครับ ที่ผมหมายถึงคือ
ถ้าไม่มีรายการที่พิเศษในกระแสเงินสดจากการลงทุน เช่น ลงทุนสร้างตึก
ก็นํามาหักได้เลยหรือถ้ามีรายการที่พิเศษดังกล่าวก็ไม่ต้องนํารายการนั้นมาหัก
เพื่อให้ได้ maintenance cost แล้วถึงนํา cfo มาหัก จาก cash flow from investing ไม่ใช่เหรอครับ
เรื่อง dcfผมไม่เคยใช้นะเพราะยุ่งยากและcashflow ต้อง constantด้วย
อีกอย่างคุณรู้เหรอว่าควรจะใช้ discount rateที่เท่าใหร่สําหรับแต่ละธุรกิจ
ดู pe pbv yield คุณภาพกําไร เข้าใจ บมจ น่าจะworkกว่านะครับ
เพราะหลายๆท่านในนี้เช่น พี่ jeng genie etc รวม ทั้ง ดร นิเวศ ก็ไม่ใช้dcf
ครับ คือเราดูภาพรวมได้อย่างเดียวเนื่องจากเราไม่ใช้เจ้าของครับ
จะทํา dcfได้ดีคุณต้องมีข้อมูลที่ลึกและถูกต้องซึ่งก็คงจะเป็น เจ้าของหรือ insiderอะครับ