หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
- nanakorn
- Verified User
- โพสต์: 636
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 1
ปัญหาที่ผมยังแก้ไม่ได้คือ การหาหลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป ถึงแม้ว่าปัจจัยพื้นฐานยังดีอยู่ ตลอดการลงทุนที่ผ่านมาหลายปีผมขายหมูไปหลายครั้ง ผมยังไม่สามารถหานิยามของคำว่าแพงเกินไปได้ ถ้าปัจจัยพื้นฐานกลายเป็นไม่ดี ผมขายได้อย่างสบายใจ แต่ถ้าปัจจัยพื้นฐานยังดีเหมือนเดิมและราคาขึ้นไปมาก ไม่เคยตัดสินใจได้อย่างมั่นคงสักครั้ง
ตอนนี้ผมสร้างหลักการว่า จะดู PE โดยใช้ E ของสี่ Quaters ล่าสุดที่ถูกคูณด้วย EPS Growth เฉลี่ยของสองปีย้อนหลัง โดย PE ที่คำนวณได้จะต้องไม่เกิน 20 ถ้าเกินก็จะขาย ตัวอย่างเช่น
Growth ของปี 04 และ 05 เป็น 16% และ 18% เฉลี่ย 17% (คิดง่ายๆ ไม่ได้ใช้ Geometric Mean)
E ของสี่ Quaters ล่าสุด 10 บาท
Expected E ที่พิจารณา Growth จะเป็น 10x1.17 = 11.7 บาท
ดังนั้นราคาสูงสุดที่ยอมได้จะเป็น 20x11.7 = 234 บาท
หลักการข้างต้นนี้ ยังไม่เคยได้ถูกใช้ เลยยังไม่ทราบว่าเป็นหลักการที่ดีหรือไม่
ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ มีหลักการอย่างไรบ้างครับ อยากขอแลกเปลี่ยนความคิดกันครับ ขอบคุณครับ
ตอนนี้ผมสร้างหลักการว่า จะดู PE โดยใช้ E ของสี่ Quaters ล่าสุดที่ถูกคูณด้วย EPS Growth เฉลี่ยของสองปีย้อนหลัง โดย PE ที่คำนวณได้จะต้องไม่เกิน 20 ถ้าเกินก็จะขาย ตัวอย่างเช่น
Growth ของปี 04 และ 05 เป็น 16% และ 18% เฉลี่ย 17% (คิดง่ายๆ ไม่ได้ใช้ Geometric Mean)
E ของสี่ Quaters ล่าสุด 10 บาท
Expected E ที่พิจารณา Growth จะเป็น 10x1.17 = 11.7 บาท
ดังนั้นราคาสูงสุดที่ยอมได้จะเป็น 20x11.7 = 234 บาท
หลักการข้างต้นนี้ ยังไม่เคยได้ถูกใช้ เลยยังไม่ทราบว่าเป็นหลักการที่ดีหรือไม่
ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ มีหลักการอย่างไรบ้างครับ อยากขอแลกเปลี่ยนความคิดกันครับ ขอบคุณครับ
- poppo
- Verified User
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 2
ส่วนตัวผมนะครับ เคยแต่ขายขาดทุนในตัวที่วิเคราะห์ผิดครับ ส่วนตัวที่กำไรไม่เคยขายเลย Let the profit run ตลอดตราบที่คิดว่ากิจการของเรายังไปได้ดี (เว้น SHIN) เป็นไฟท์บังคับที่ต้องขาย เพราะผมคิดว่าถ้าเราซื้อขายเป็นรอบๆ หากเห็นว่าราคาแพงแล้ว ทั้งๆที่ธุรกิจของเรายังไปได้ดีอยู่จะเป็นการสร้างนิสัยเล่นรอบครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 3
ลองแลกเปลี่ยนกันดูนะคะ ดิฉันก็ไม่ทราบว่าจะคิดแบบนี้ถูกต้องมั้ย
คือ
ถ้าอัตราเติบโตของกำไร ยังดีต่อเนื่อง ดีในที่นี้ก็คือ มันโตได้ไม้น้อยกว่าปีก่อน หรือโตมากขึ้น โดยที่คาดการณ์ไปข้างหน้าด้วยว่า โอกาสที่จะโตต่อไปอีก ยังคงมีอยู่
และเมื่อ ราคาตลาด ให้พีอี ที่"เท่าๆกับอัตราเติบโต" หรือโดยเฉพาะว่า ตลาดยังให้พีอีที่"ต่ำกว่า การเติบโต" อยู่พอสมควร
ก็ ยับยั้ง ความคิดที่จะขาย ไว้ก่อน
จากนั้น หันมามุ่งให้ความสนใจ ในกำไรที่กำลังเติบโต ที่เราเห็นอยู่เนี่ย ว่ามาจากอะไร
....มาจาก ความสามารถของตัวสินค้า และบริการ (ลูกค้าเพิ่มความนิยม เพิ่มค่าความภักดีต่อสินค้า ...อะไรก็ตาม)
....มาจาก ความสามารถของศักยภาพโดยรวมของ คณะบริหาร (ผู้บริหาร มีวิธีคิดวิเคราะห์ อย่างทันโลกทันเกมส์ ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า และโปร่งใสต่อผู้ถือหุ้น ...อะไรก็ตาม)
....มาจาก ความสามารถของต้นทุนที่ต่ำลง (ภาระดอกเบี้ยลดลง เพิ่มสาขามากขึ้น เป็นเจ้าตลาด อำนาจต่อรองสูงขึ้น ...อะไรก็ตาม)
....มาจาก ....อะไรอื่นๆ อีกมากมาย .... ... ....
แต่เอาเป็นว่า คัดกรอง เอาเหตุผล ของการเติบโต ที่เห็นๆอยู่เนี่ย ว่าคืออะไรกันบ้างแน่
พอเดาๆเอาแล้ว ก็ เดาๆต่อ ไปอีกหน่อย ว่า จากฐานของเหตุที่ทำให้เกิดการเติบโต ดังกล่าว น่าจะมีศักยภาพ มากพอจะทำได้ ดีต่อไปอีกหรือไม่
หรือว่า เดาๆแล้ว รู้สึกว่า น่าจะทำได้ดีขึ้นไปกว่านี้อีก เรื่อยๆ แค่ไหน อย่างไร
บริษัท ที่ถูกตลาด คาดการเติบโต ในวันหน้า ว่า จะสูงกว่าวันนี้
พีอี จะไม่เล่นกันที่ระดับ เก่า จะค่อยๆขยับสูงเพิ่มขึ้น จากความคาดหวัง ในความสามารถ ที่จะเติบโตกว่านี้ ในวันอนาคต
อีกอย่าง ดิฉันคิดว่า การดูอัตรา การเติบโต น่าจะต้องดูย้อนหลังยาวๆหน่อย
และต้องดูว่า วันนี้ คืออย่างไร อนาคตล่ะ อย่างไร
เช่น เดิมที ปีนี้ กำไร 10 บาท แต่ถ้าดูดีๆ อาจจะเป็นว่า ปีนี้น่ะ กำไรมาจากสาขาเก่า 10 สาขา ปีหน้ามีสาขาพร้อมเปิดอีก 10 สาขา แล้วแต่ล่ะ สาขา มียอดการเติบโตปกติ 10%
ดังนั้น การดูกำไรเก่า แล้วเอามาคูณตรงๆ อาจจะคิดผิดไปจากคนอื่น หนึ่งสเตปท์ เพราะ เดิม 10 สาขา มาเป็น 20 สาขา ยังไม่นับรวมการเติบโตปกติของสาขาเก่า ก็เท่าตัวแล้ว
ดิฉันเองก็ยัง งูๆปลาๆ นะคะ มีแต่แนวคิดง่ายๆ เอามั่วๆถัวๆเข้าว่า :lol:
รอผู้รู้มาตอบ น่าจะดีกว่า :oops:
ปล.
แต่จาก กระทู้นี้ ทำให้ได้แง่คิดนึงว่า
เราถูกกล่อมประสาททุกวัน ให้กลัวการซื้อหุ้น แต่ลืมกลัวการขายหมู
อันเนื่องมาจาก สโลแกนที่ว่า "การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควร ....บลาๆๆๆ...ก่อนตัดสินใจลงทุน...."
ทำให้ฝังใจกันมากเป็นที่ทั่วไป ว่า การลงมือซื้อหุ้น น่ากลัว
แต่ลืมดูไปว่า การขายหมู บางครั้ง น่ากลัว กว่ามาก
สมมุติ ทั้งตลาดมีหุ้น แค่สองตัว ดี กับเลว ให้เลือกลงทุน (เปรียบเทียบว่า ทั้งตลาดมีสัดส่วน ดีเลว ปนกันครึ่งๆ)
เราไม่รู้ขี้เกียจเดาว่าอันไหนดี ก็เอามาเท่าๆกันเลย เข้าพอร์ท อย่างละครึ่ง
ตัวนึง ซื้อมา แล้ว ลงขาเดียว จนเหลือ 1 สตางค์ และถูกแขวน ไม่แถมปันผลให้ซักบาท
อีกตัว ซื้อมา แล้ว ขึ้นๆลงๆ ขึ้นๆลงๆ แต่แนวโน้มเป็นขึ้นมากกว่าลง แทบทุกปี และมีปันผลให้ทุกปีมากกว่าฝากแบงค์
ซื้อ หรือ ขาย น่ากลัวกว่ากัน หว่า :roll:
ลองสมมุติดู ว่า (ถ้าเราเกิดทัน ) ตอนเปิดตลท. มีหุ้น กี่ตัว (สี่ห้าตัวมั้ง ไม่แน่ใจค่ะ)แล้ว เอาหมดทุกตัว ๆล่ะเท่าๆกัน ต่อให้ตัวอื่นเจ๊งหมด ดิฉันก็คิดว่า "บิ๊คปูน" เอาอยู่เลยอ่ะค่ะ
(ตอบไหลไปเรื่อย อาจจะไม่ค่อยตรงกะที่ถามเท่าไหร่ ต้องขอโทษ ด้วยค่ะ :oops: )
คือ
ถ้าอัตราเติบโตของกำไร ยังดีต่อเนื่อง ดีในที่นี้ก็คือ มันโตได้ไม้น้อยกว่าปีก่อน หรือโตมากขึ้น โดยที่คาดการณ์ไปข้างหน้าด้วยว่า โอกาสที่จะโตต่อไปอีก ยังคงมีอยู่
และเมื่อ ราคาตลาด ให้พีอี ที่"เท่าๆกับอัตราเติบโต" หรือโดยเฉพาะว่า ตลาดยังให้พีอีที่"ต่ำกว่า การเติบโต" อยู่พอสมควร
ก็ ยับยั้ง ความคิดที่จะขาย ไว้ก่อน
จากนั้น หันมามุ่งให้ความสนใจ ในกำไรที่กำลังเติบโต ที่เราเห็นอยู่เนี่ย ว่ามาจากอะไร
....มาจาก ความสามารถของตัวสินค้า และบริการ (ลูกค้าเพิ่มความนิยม เพิ่มค่าความภักดีต่อสินค้า ...อะไรก็ตาม)
....มาจาก ความสามารถของศักยภาพโดยรวมของ คณะบริหาร (ผู้บริหาร มีวิธีคิดวิเคราะห์ อย่างทันโลกทันเกมส์ ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า และโปร่งใสต่อผู้ถือหุ้น ...อะไรก็ตาม)
....มาจาก ความสามารถของต้นทุนที่ต่ำลง (ภาระดอกเบี้ยลดลง เพิ่มสาขามากขึ้น เป็นเจ้าตลาด อำนาจต่อรองสูงขึ้น ...อะไรก็ตาม)
....มาจาก ....อะไรอื่นๆ อีกมากมาย .... ... ....
แต่เอาเป็นว่า คัดกรอง เอาเหตุผล ของการเติบโต ที่เห็นๆอยู่เนี่ย ว่าคืออะไรกันบ้างแน่
พอเดาๆเอาแล้ว ก็ เดาๆต่อ ไปอีกหน่อย ว่า จากฐานของเหตุที่ทำให้เกิดการเติบโต ดังกล่าว น่าจะมีศักยภาพ มากพอจะทำได้ ดีต่อไปอีกหรือไม่
หรือว่า เดาๆแล้ว รู้สึกว่า น่าจะทำได้ดีขึ้นไปกว่านี้อีก เรื่อยๆ แค่ไหน อย่างไร
บริษัท ที่ถูกตลาด คาดการเติบโต ในวันหน้า ว่า จะสูงกว่าวันนี้
พีอี จะไม่เล่นกันที่ระดับ เก่า จะค่อยๆขยับสูงเพิ่มขึ้น จากความคาดหวัง ในความสามารถ ที่จะเติบโตกว่านี้ ในวันอนาคต
อีกอย่าง ดิฉันคิดว่า การดูอัตรา การเติบโต น่าจะต้องดูย้อนหลังยาวๆหน่อย
และต้องดูว่า วันนี้ คืออย่างไร อนาคตล่ะ อย่างไร
เช่น เดิมที ปีนี้ กำไร 10 บาท แต่ถ้าดูดีๆ อาจจะเป็นว่า ปีนี้น่ะ กำไรมาจากสาขาเก่า 10 สาขา ปีหน้ามีสาขาพร้อมเปิดอีก 10 สาขา แล้วแต่ล่ะ สาขา มียอดการเติบโตปกติ 10%
ดังนั้น การดูกำไรเก่า แล้วเอามาคูณตรงๆ อาจจะคิดผิดไปจากคนอื่น หนึ่งสเตปท์ เพราะ เดิม 10 สาขา มาเป็น 20 สาขา ยังไม่นับรวมการเติบโตปกติของสาขาเก่า ก็เท่าตัวแล้ว
ดิฉันเองก็ยัง งูๆปลาๆ นะคะ มีแต่แนวคิดง่ายๆ เอามั่วๆถัวๆเข้าว่า :lol:
รอผู้รู้มาตอบ น่าจะดีกว่า :oops:
ปล.
แต่จาก กระทู้นี้ ทำให้ได้แง่คิดนึงว่า
เราถูกกล่อมประสาททุกวัน ให้กลัวการซื้อหุ้น แต่ลืมกลัวการขายหมู
อันเนื่องมาจาก สโลแกนที่ว่า "การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควร ....บลาๆๆๆ...ก่อนตัดสินใจลงทุน...."
ทำให้ฝังใจกันมากเป็นที่ทั่วไป ว่า การลงมือซื้อหุ้น น่ากลัว
แต่ลืมดูไปว่า การขายหมู บางครั้ง น่ากลัว กว่ามาก
สมมุติ ทั้งตลาดมีหุ้น แค่สองตัว ดี กับเลว ให้เลือกลงทุน (เปรียบเทียบว่า ทั้งตลาดมีสัดส่วน ดีเลว ปนกันครึ่งๆ)
เราไม่รู้ขี้เกียจเดาว่าอันไหนดี ก็เอามาเท่าๆกันเลย เข้าพอร์ท อย่างละครึ่ง
ตัวนึง ซื้อมา แล้ว ลงขาเดียว จนเหลือ 1 สตางค์ และถูกแขวน ไม่แถมปันผลให้ซักบาท
อีกตัว ซื้อมา แล้ว ขึ้นๆลงๆ ขึ้นๆลงๆ แต่แนวโน้มเป็นขึ้นมากกว่าลง แทบทุกปี และมีปันผลให้ทุกปีมากกว่าฝากแบงค์
ซื้อ หรือ ขาย น่ากลัวกว่ากัน หว่า :roll:
ลองสมมุติดู ว่า (ถ้าเราเกิดทัน ) ตอนเปิดตลท. มีหุ้น กี่ตัว (สี่ห้าตัวมั้ง ไม่แน่ใจค่ะ)แล้ว เอาหมดทุกตัว ๆล่ะเท่าๆกัน ต่อให้ตัวอื่นเจ๊งหมด ดิฉันก็คิดว่า "บิ๊คปูน" เอาอยู่เลยอ่ะค่ะ
(ตอบไหลไปเรื่อย อาจจะไม่ค่อยตรงกะที่ถามเท่าไหร่ ต้องขอโทษ ด้วยค่ะ :oops: )
-
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 4
PE 20 ก็ไม่ช่วยให้พ้นจากการขายหมูไปได้ครับ
ใครขาย mint ไปที่ PE 20 ก็คงได้รับรู้รสชาติกันไปแล้ว
ใครขาย mint ไปที่ PE 20 ก็คงได้รับรู้รสชาติกันไปแล้ว
มนุษย์เห่อลูก :lol:
http://tyakon.multiply.com
http://tyakon.multiply.com
- S&K Fund
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 247
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 6
การที่เราจะขายหุ้นทำกำไร เมื่อมีราคาสูงเกินพื้นฐาน แสดงว่า เราจะคาดการณ์ว่า ราคาของหุ้นจะลดลงจากราคาปัจจุบันสินะครับ
ถ้าเรายึดหลักการที่ว่า เราไม่สามารถที่จะทำนายตลาดได้ ก็ไม่ควรจะขายนะครับ
หุ้นที่เราซื้อแล้วกำไร ก็ให้มันทำงานของมันต่อไปจะดีกว่านะครับ ที่จะขายทำกำไร
ยกเว้นว่า ถ้ามีจุดมุ่งหมายที่จะหากำไรในส่วนต่างของหุ้น
เช่น หุ้นบางตัว ในแต่ละไตรมาส จะมีการขึ้นลงของราคาอยู่บ้าง เราก็สามารถ
ขายทำกำไรได้เช่นกัน แต่ที่สำคัญ ไม่มีใครจะคาดการณ์ตลาดได้นะครับ
ถ้าเรายึดหลักการที่ว่า เราไม่สามารถที่จะทำนายตลาดได้ ก็ไม่ควรจะขายนะครับ
หุ้นที่เราซื้อแล้วกำไร ก็ให้มันทำงานของมันต่อไปจะดีกว่านะครับ ที่จะขายทำกำไร
ยกเว้นว่า ถ้ามีจุดมุ่งหมายที่จะหากำไรในส่วนต่างของหุ้น
เช่น หุ้นบางตัว ในแต่ละไตรมาส จะมีการขึ้นลงของราคาอยู่บ้าง เราก็สามารถ
ขายทำกำไรได้เช่นกัน แต่ที่สำคัญ ไม่มีใครจะคาดการณ์ตลาดได้นะครับ
- nanakorn
- Verified User
- โพสต์: 636
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 7
การตั้ง PE ที่ค่าใดค่าหนึ่ง ผมคิดว่าเป็นการกำหนดค่าความเสี่ยงครับ ถ้ามีบริษัทสองบริษัทที่เหมือนกันทุกประการ (สมมุติว่าเป็นไปได้) และอยู่ในตลาดเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีกลุ่มคนกลุ่มใหญ่กลุ่มเดียวกันทำการซื้อขายอยู่ บริษัทที่มี PE สูงกว่าย่อมมีความน่าจะเป็นที่ราคาจะลดลง มากกว่าบริษัทที่มี PE ต่ำกว่า (คนจะทำการขายบริษัทแพงเพื่อมาซื้อบริษัทถูก เพื่อรับผลตอบแทนในอนาคตที่เหมือนกัน เนื่องจากบริษัทเหมือนกันทุกประการ) อย่างไรก็ตาม ถ้าสองบริษัทดังกล่าวนี้ ขายอยู่ในตลาดคนละตลาด หรือขายอยู่ในตลาดเดียวกันแต่คนต่างกลุ่มกันทำการซื้อขาย หรือเป็นคนกลุ่มเดียวกันแต่ความรู้สึกกลุ่มไม่เหมือนกันเนื่องจากช่วงเวลาที่ซื้อขายหุ้นของบริษัททั้งสองต่างกัน ค่า PE ที่เท่ากันก็จะมีความน่าจะเป็นที่ราคาจะลดลง ไม่เท่ากัน เนื่องจากกลุ่มคนที่ทำการซื้อขายบริษัททั้งสองมีความคิดไม่เหมือนกัน
ค่า PE ที่แต่ละคนจะใช้จึงน่าจะขึ้นกับ
1. ความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคน
ใช้ PE สูงก็จะมีโอกาสมากขึ้นที่ราคาจะตกลงอย่างรวดเร็วและเกิดความเสียหาย แต่ก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงสุด ใช้ PE ต่ำลงก็จะลดความเสี่ยงและลดผลตอบแทน (PE สำหรับตอนขาย ไม่ใช่ตอนซื้อ)
2. ธรรมชาติของตลาดนั้นๆ
ถือหุ้น PE = 20 ในตลาดที่มี PE เฉลี่ย = 20 จะเสี่ยงเท่ากับถือหุ้น PE = 10 ในตลาดที่มี PE เฉลี่ย = 10 (ภายใต้สมมุติฐานที่ว่า บริษัททั้งสองเหมือนกันทุกประการ และการซื้อขายข้ามตลาดเป็นไปได้ยาก)
ปัญหาของผมคือผมไม่รู้จัก SET ดีพอ ทำให้ผมไม่สามารถมีวิธีการขายที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่รับได้และผลตอบแทนที่ต้องการ การที่ผมขายหมูไปหลายตัว และผมมีความรู้สึกว่าขายหมูไปมากเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นที่ขายไปทั้งหมด แปลว่า หลักการที่ผมใช้ ทำให้ผมขายหุ้นไปในระดับราคาที่มีความน่าจะเป็นที่ราคาจะลดลง น้อยกว่าความน่าจะเป็นที่ผมทนได้จริง ซึ่งแปลต่อไปได้ว่าผมควรจะขายช้าลง แต่ผมก็ยังไม่ทราบว่าช้าลงอีกเท่าไร
ค่า PE ที่แต่ละคนจะใช้จึงน่าจะขึ้นกับ
1. ความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคน
ใช้ PE สูงก็จะมีโอกาสมากขึ้นที่ราคาจะตกลงอย่างรวดเร็วและเกิดความเสียหาย แต่ก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงสุด ใช้ PE ต่ำลงก็จะลดความเสี่ยงและลดผลตอบแทน (PE สำหรับตอนขาย ไม่ใช่ตอนซื้อ)
2. ธรรมชาติของตลาดนั้นๆ
ถือหุ้น PE = 20 ในตลาดที่มี PE เฉลี่ย = 20 จะเสี่ยงเท่ากับถือหุ้น PE = 10 ในตลาดที่มี PE เฉลี่ย = 10 (ภายใต้สมมุติฐานที่ว่า บริษัททั้งสองเหมือนกันทุกประการ และการซื้อขายข้ามตลาดเป็นไปได้ยาก)
ปัญหาของผมคือผมไม่รู้จัก SET ดีพอ ทำให้ผมไม่สามารถมีวิธีการขายที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่รับได้และผลตอบแทนที่ต้องการ การที่ผมขายหมูไปหลายตัว และผมมีความรู้สึกว่าขายหมูไปมากเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นที่ขายไปทั้งหมด แปลว่า หลักการที่ผมใช้ ทำให้ผมขายหุ้นไปในระดับราคาที่มีความน่าจะเป็นที่ราคาจะลดลง น้อยกว่าความน่าจะเป็นที่ผมทนได้จริง ซึ่งแปลต่อไปได้ว่าผมควรจะขายช้าลง แต่ผมก็ยังไม่ทราบว่าช้าลงอีกเท่าไร
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 9
ถ้าคุณขายในราคาที่คุณพอใจ(และคิดว่าแพงเกิน) ไปแล้ว ...................
อย่าเสียใจถ้ามันจะแพงขึ้นไปอีก ..................
ไม่งั้นอาจเกิดแบบนี้ได้เช่นกัน ..................
รู้ว่าจะลงอย่างงี้ ขายซะตอนนั้นดีก่า ...........................
พอใจครับ พอใจ .............
อย่าเสียใจถ้ามันจะแพงขึ้นไปอีก ..................
ไม่งั้นอาจเกิดแบบนี้ได้เช่นกัน ..................
รู้ว่าจะลงอย่างงี้ ขายซะตอนนั้นดีก่า ...........................
พอใจครับ พอใจ .............
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 12
การซื้อหุ้นที่ราคาต่ำหรือการขายหุ้นที่ราคาสูงบ่อยๆ คือการเป็นเสมือนนักเก็งกำไร มันทำไห้เราสับสนบ่อยๆ กับการเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ผมว่าเราน่าจะแยกตัวหุ้นเราให้ชัดเจนว่าตัวไหนจะเล่นแบบไหนจะได้ไมสับสน เพราะบางที่่รอแต่ปันผลมันก็น่าเบื่อ ส่วนจะขายเมื่อไรซื้อเมื่อไรก็แล้วแต่ความสามารถในการคาดเดาละครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 13
ซึ่งแปลต่อไปได้ว่าผมควรจะขายช้าลง แต่ผมก็ยังไม่ทราบว่าช้าลงอีกเท่าไร
[/quote]การตั้ง PE ที่ค่าใดค่าหนึ่ง ผมคิดว่าเป็นการกำหนดค่าความเสี่ยงครับ ถ้ามีบริษัทสองบริษัทที่เหมือนกันทุกประการโค้ด: เลือกทั้งหมด
คงต้องลบความคิดนี้ออกไปก่อนค่ะ เพราะแต่ละบริษัท ไม่มีที่เหมือนกันทุกประการ [quote]ค่า PE ที่เท่ากันก็จะมีความน่าจะเป็นที่ราคาจะลดลง ไม่เท่ากัน เนื่องจากกลุ่มคนที่ทำการซื้อขายบริษัททั้งสองมีความคิดไม่เหมือนกัน [code] ความคิดเห็นในการให้ค่าพีอีที่ไม่เท่ากัน ต่อแต่ละบริษัท โดยมาก มักมาจากการ มองไปที่ "ความเติบโต แห่งกำไร" :D ....... ยังคงมีความเห็นเหมือนเดิม นะคะ ว่า อย่าดูแค่ พีอีเท่าไหร่ แล้วจบแค่นั้น ตย. ....ราคาหุ้น abc = 20บาท / กำไรต่อหุ้นเดิม =1 บาท ....แปลว่าเดิม คือ p/e =20 ....แต่หาก E ไล่มา เป็น 1.3 บาทต่อหุ้น = p/e 15.39 ....โดยที่ P ไม่ได้เป็นฝ่ายลงมาหา E แต่เพราะ E วิ่งขึ้นไปหา P จากมุมมองนี้ นี่เอง ที่ P ไม่ยอมลง.... เพราะ.... การที่ E โตจาก 1 บาท มาเป็น 1.3 บาท.....แปลว่า บริษัทนี้เติบโตอยู่ 30% ในขณะที่ การที่ E ไล่ P ขึ้นไป จนทำให้ p/e =15.59 เท่า ...จากสูตรการกรองหุ้น ของลุงลินซ์ คือ p/e ควรต่ำกว่า อัตราเติบโตของกำไรเฉลี่ย 3-5ปี(เช่น p/e=15 กำไรควรโตเฉลี่ย 15% ต่อปี ขึ้นไป) แปลว่า...เอา growth ตั้ง หารด้วย p/e ...ผลลัพท์ต้อง ได้ = 1 ขึ้นไป...ยิ่งสูงยิ่งสวย หรือแปลว่า...เอา growth + เปอร์เซนต์ปันผล รวมแล้ว หารด้วย p/e ....ผลลัพท์ = 1-1.5 = ควรเซย์ว่าโอเค ไว้ก่อน แต่...ทั้งนี้ ทั้งนั้น ....สิ่งที่ยาก และสำคัญ ไปกว่า การกดสูตรใดใด คือ การให้ค่า คุณภาพของ กำไรและการเติบโต ว่า มันเป็นกำไรชั้นดีหรือไม่ ด้วยการ กลับไปดู สิ่งที่บริษัท "กระทำ" และสิ่งที่ สินค้า "เป็น" เปรียบเทียบ กับ "ความต้องการ" ผู้บริโภค หรือคือ ลูกค้าของบริษัท นั่นเอง (ดูตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา และมองไปยัง อนาคต ที่กำลังเป็นไป) ว่า มันยังแมทช์ กันดีอยู่มั้ย ว่า สามฝ่ายนี้ ยังคงทำงานประสานกันเป็นอย่างดี เพื่อจะเป็นเครื่องยืนยัน ในคำตอบว่า ...กำไรนั้น เป็น ชั้นดี หรือไม่ ไม่ทราบดิฉันคิดแบบนี้ จะถูกผิดประการใดนะคะ ลองรอคำตอบจากพี่ๆ คนอื่นด้วยค่ะ :D
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
หลักการในการขายหุ้นเพื่อทำกำไร เมื่อหุ้นแพงเกินไป
โพสต์ที่ 14
การที่ E โตจาก 1 บาท มาเป็น 1.3 บาท.....แปลว่า บริษัทนี้เติบโตอยู่ 30%
ในขณะที่ การที่ E ไล่ P ขึ้นไป จนทำให้ p/e =15.59 เท่า
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ขออภัยค่ะ พิมพ์ผิด แก้เป็น ....ทำให้ p/e=15.39 เท่า (ด้านบนก็กด quote มั่วไปหมด ตาลาย :oops: :lol: )