ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ลินดา
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เมื่อวานนี้อ่านตารางหุ้นใน กรุงเทพธุรกิจ มีศัพท์หลายตัวที่อยากรบกวนให้อธิบายค่ะ ว่า หมายความว่า อะไร แล้วหากเป็นภาษาอังกฤษจะตรงกับคำไหน

- ราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น ( เท่า )
- มูลค่าตามบัญชีกำไรต่อหุ้น ( บาท )
- ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชี ( เท่า )
- อัตราส่วนกำไรสุทธิของต่อส่วนผู้ถือหุ้น
- คำนี้อยู่ คอลัมภ์ สุดท้ายของหน้า อ่านไม่ออกว่า อะไร " มูลค่าึึุๅ??ทุนตามราคาตลาด " แบ่งเป็นส่วน ( ล้านบาท ) / ล้านดอลล่าร์ / กลุ่มธุรกิจ % หากใครมีวานหยิบมาดู พอเดาได้ไหมคะ เห็นทุกฉบับเป็นแบบนี้ แล้วหมายความว่าอะไร

อยากได้ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษด้วยนะคะ แปลเองก็เกรงว่าใช้ข้อมูลไม่ตรงกันเมื่อใช้ร่วมกับแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น ใน set และ ใน Thai Company Handbook แหม แต่ถ้าจะกรุณาแปลให้หมดทั้งหน้า นสพ เลยก็จะดีค่ะ อิอิ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ :D
Tough Time Never Last
But
Tough People Do
ลูกอิสาน2
Verified User
โพสต์: 130
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมขออธิบายสองข้อแรกก่อนละกัน ส่วนข้ออื่นแบ่งๆ ให้คนอื่นอธิบายบ้างครับ.. :D

1.ราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (เท่า) คือกิจการมีกำไรสุทธิต่อหุ้น เป็นกี่เท่าของราคาหุ้นในตลาดครับ ใช้หาว่ากิจการจะต้องใช้เวลากี่ปีในการทำกำไร(เท่ากันทุกปี) ให้เท่ากับราคาหุ้น หรือที่เรียกกันว่า P/E นั่นเอง ย่อมาจาก Price/Earning per Share............ตัวอย่าง กิจการทำำกำไรต่อหุ้นได้ 2 บ. ราคาตลาด 10 บ. pe=10/2=5 เท่าครับ...

2.มูลค่าตามบัญชี(กำไร?)ต่อหุ้น (บาท) คือ ส่วนทุนต่อหุ้นของกิจการ ใช้หาว่าสินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการเป็นส่วนของเจ้าหนี้เท่าไหร่ และเป็นของผู้ถือหุ้นเท่าไหร่ หรือที่เรียกว่า ฺBV หรือ ฺBook Value ครับ........ตัวอย่่าง ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมดของกิจการ คือ 500 ล้าน และกิจการมีหุ้น 10 ล้านหุ้น bv= 500/10= 50 บ/หุ้น...ครับ
"การลงทุนคืออาหารที่อร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว"
ลินดา
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณคุณลูกอีสานค่ะ

ตกลงก็คือ PE นั่นเองนะคะ สำหรับข้อแรก ภาษาไทยต้องแปลเป็นไทยอีกที อายจัง :oops: แต่เข้าใจขึ้นเยอะเลยค่ะ

ส่วนข้อสองคือ Book Value นั่นเราสามารถนำมาเปรียบเทียบกับราคาหุ้นได้เลยใช่ไหมคะ ว่า ราคาหุ้นนี้เหมาะสมในการลงทุนหรือไม่ ขอ ยกตัวอย่างนะคะ คือ หุ้น X มี BV = 50.1 และมีราคาหุ้น = 49.5 แสดงว่าควรซื้อใช่ไหมคะ ( คือหลังจากได้พิจารณากลั่นกรองมาแล้วในส่วน profile อื่น ๆ ก็ืได้เลือกหุ้นนี้ คราวนี้กำลังดูราคาที่เหมาะสม )

ขอบคุณอีกครั้งนะคะ
Tough Time Never Last
But
Tough People Do
dear
Verified User
โพสต์: 24
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หมอช่วยต่อให้อีก 2 ข้อแล้วกันนะครับ อีกหนึ่งข้อยกให้ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงละกัน
3.ราคาปิดต่อมูลค่าตามบัญชี
หมายถึงอัตราส่วนของราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี ภาษาอังกฦษใช้คำว่า PRICE / BOOK VALUE RATIO หรือ P/BV RATIO หรือใช้ตัวย่อว่า P/B ก็ได้ครับ
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบราคาตลาดของหุ้นสามัญกับมูลค่าตามบัญชีของหุ้นนั้น โดยใช้การคำนวนขึ้นจากสูตร P/BV = (ราคาตลาดของหุ้น ณ วันที่คำนวณ) หารด้วย (มูลค่าตามบัญชีของหุ้น)
ค่าอัตราส่วนนี้บอกให้เราทราบว่าราคาของหุ้น ณ ขณะนั้นสูงเป็นกี่เท่าของมูลค่าในทางบัญชีของหุ้นดังกล่าว
ในทางทฤษฎีกล่าวว่า หากP/Bมีค่าสูง เป็นการแสดงว่าผู้ลงทุนทั่วไปในตลาดคาดหมายว่าบริษัทดังกล่าวมีศักยภาพที่จะเติบโตสูง *** แต่ขณะเดียวกันก็แสดงถึงระดับความเสี่ยง ที่สูงขึ้นด้วยครับ***
4.อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้น
หมายถึงอัตราส่วนของผลตอบแทนต่อเงินทุน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า RETURN ON EQUITY หรือใช้ตัวย่อว่า
ROE ครับ
คำนวณขึ้นจากสูตร ROE =( กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น) =(กำไรสุทธิ / ยอดขาย) * (ยอดขาย / ทรัพย์สิน) * (ทรัพย์สิน / ส่วนของผู้ถือหุ้น)
ค่าอัตราส่วนนี้เป็นหนึ่งในหลายๆเครื่องมือที่ใช้วัดถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหารว่ามีความสามารถที่จะบริหารงานให้มีทิศทางที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ในแง่ของการตัดสินใจในการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร (Operating Decisions) และการตัดสินใจในด้านการเงิน (Financial Decisions)
ค่านี้ในแนว VI ควรมีค่าสูงๆครับ แต่ต้องดูประกอบกับค่า ROA และส่วนอื่นๆอีกนะครับ
ไม่ทราบว่าพอจะรู้เรื่องหรือเข้าใจรึปล่าว ถ้าจะให้ดีต้องได้รับคำอธิบายจากคุณ jeng ,คุณวิบูลย์,คุณฉัตรชัย
คุณจีน ฯลฯ จะเข้าใจง่ายและรู้ลึกฃึ้งกว่าหมอมากมายครับ
ลูกอิสาน2
Verified User
โพสต์: 130
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เรียนพี่ลินดา....

มีการถกเถียงกันอย่างมาก ในการใช้ BV ในการพิจารณาซื้อหุ้นครับ ในความคิดของผมเราควรใช้อัตราส่วนอื่นๆ ประกอบในการพิจารณาด้วยครับ เช่น PE,อัตราการเจริญเติบโต ฯลฯ..

ข้อจำกัดของ BV มีดังนี้ครับ...
1.แปรเปลี่ยนไปตามอุตสาหกรรม กิจการที่ลงทุนในสินทรัพย์มาก เช่น โรงเหล็ก-ปูน-เีิรือเดินทะเล มักจะมี BV สูงกว่ากิจการที่ลงทุนในสินทรัพย์น้อย เช่น กลุ่มบันเทิง-กลุ่มการค้า เช่น rcl sithai suc ซื้อขายกันที่ BV น้อยกว่าหนึ่งเท่า แต่ bec,gmmm ซื้อขายกันที่ BV 6-7 เท่าครับ......

2.BV มีความคลาดเคลื่อนได้ง่าย เช่น กิจการบันทึกราคาที่ดินที่ได้ซื้อเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ทำให้ราคาที่ดินต่ำกว่าความเป็นจริง BV ก็จะต่ำกว่่าความเป็นจริงครับ ตัวอย่างเช่น ttl, suc บันทึกราคาที่ดินในราคาที่ซื้อเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว ครับ

3.BV ไม่ได้สะท้อนอัตราการเจริญเติบโตของกิจการ เนื่องจาก BV คำนวณจากตัวเลขทุนในงบดุล ซึ่งเป็นตัวเลข ณ. ปัจจุบัน หากกิจการมีการเติบโตมาก ย่อมทำให้มีกำไรมาก ส่วนทุนก็จะมากขึ้นด้วย ทำให้ BV ในอนาคตสูงขึ้นครับ
ถ้าเราดู BV ในปัจจุบัน จะทำให้คลาดเคลื่อนได้ครับ ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ stanly ซึ่งมีการเติบโตของกำไรสูงมาก ทำให้ซื้อขายกันที่ P/BV 6-7 เท่าครับ :lol:
"การลงทุนคืออาหารที่อร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว"
ลินดา
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เรื่องการพิจารณาจาก BV ก็เรียนรู้จากหลาย ๆ กระทู้อยู่เหมือนกันค่ะว่า อาจไม่ใช่ประเด็นหลักในการเลือกเฟ้น หุ้น ที่ควรลงทุน เห็นด้วยที่ว่าการตีราคาทรัพย์สินที่เวลาที่ต่างกัน หรือ ที่มาของต้นทุนที่ต่างกัน ย่อมไม่สามารถนำมาเป็นบรรทัดฐานเดียวกันได้

อย่างบริษัทโฆษณา แทบจะไม่มีหลักทรัพย์ที่จับต้องได้แต่อย่างไรเลย รายจ่ายที่มากที่สุด ( เกินครึ่ง ) คือ เงินเดือนและสวัสดิการพนักงานทั้งสิ้น ฉะนั้น มูลค่าตามบัญชีจึงไม่สูงเมื่อต้องไปเทียบกับ บริษัทที่ต้องลงทุนโรงงาน เครื่องจักร วัสดุ หรือวัตถุดิบ เพื่อนำมาผลิดสินค้า

ขอบคุณคุณหมอเดียร์ และ คุณลูกอีสานอีกครั้งค่ะ
Tough Time Never Last
But
Tough People Do
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา1
Verified User
โพสต์: 1092
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ลินดา เขียน:
อย่างบริษัทโฆษณา แทบจะไม่มีหลักทรัพย์ที่จับต้องได้แต่อย่างไรเลย รายจ่ายที่มากที่สุด ( เกินครึ่ง ) คือ เงินเดือนและสวัสดิการพนักงานทั้งสิ้น ฉะนั้น มูลค่าตามบัญชีจึงไม่สูงเมื่อต้องไปเทียบกับ บริษัทที่ต้องลงทุนโรงงาน เครื่องจักร วัสดุ หรือวัตถุดิบ เพื่อนำมาผลิดสินค้า

ขอบคุณคุณหมอเดียร์ และ คุณลูกอีสานอีกครั้งค่ะ

:P ผมว่าคุณลินดา จะเข้าใจผิดนะครับเรื่องบริษัทโฆษณา
ไม่มีหลักทรัพย์ที่จับต้องได้ เขาลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียน
อย่างประกิตเขาก็มีทรัพย์สินเป็นที่ดิน และอาคาร
อย่างฟาร์อีสท์เขาก็มีอาคารสำนักงานและที่ดินอุปกรณ์ รถ ลิขสิทธิ์สัมปทานวิทยุนะครับ

ลองเข้าไปดูกระทู้FE ก็ได้ครับ มีหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ-ไม่ต้องการ

ผมซื้อหุ้นเขา ผมยังบวกเครดิตชื่อเสียง
และฐานลูกค้าและทำเล ชื่อเสียงเข้าไปอีกครับ

ที่คิดแบบนี้ไม่ทราบว่าเข้าใจผิดหรือเปล่า
ถ้าเข้าใจผิดก็ขออภัยมาด้วยครับ
ฝันถึง วัน ฟ้าสวย...... อยากร่ำรวย-ด้วยเล่นหุ้น
ฝัน เป็น นักลงทุน..... ลุ้นความหวัง-ความตั้งใจ
ลินดา
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

สวัสดีค่ะ คุณพี่ปรัชญา

ตอนนี้กำลังศึกษาเรื่อง BV อยู่ค่ะ แล้วมีเพื่อน ๆ มาบอกว่า การพิจารณาเรื่อง BV โดยการเอาตัวเลขที่เราดูแล้วมาตัดสินว่า มากไป น้อยไป น่ะ ไม่ได้ เพราะทรัพย์สินของบางบริษัทอาจไม่ update จะมาเทียบกับบางบริษัทที่ต้องซื้อวัสดุมาแพง แต่ราคาตกเร็ว เป็นต้น

ร่ายยาวก่อน เพื่อไม่ให้พี่เข้าใจผิดค่ะ :lol:

แวดวง Agency ก็เป็นหุ้นตัวที่อยากลงทุนเหมือนกัน เลยนึกออกเป็นตัวแรก ๆ เพราะเคยอยู่ในแวดวงนี้มาก่อนย่อมเข้าใจได้มากกว่า ( อย่างที่คุณมนแนะนำว่า หากอยู่ใน firm ไหน ก็ให้ศึกษา firm นั้นก่อน )

ทรัพย์สินที่พี่ว่า ว่ามีการแจ้งไปที่ตลาดหลักทรัพย์ เช่น ตึก อาคาร สัมปทานใน media ต่าง ๆ ว่าไปแล้วแม้จะจับต้องได้ แต่ แผนงาน กลยุทธ์ หรือ creative idea ต่าง ๆ ไม่ได้เป็นทรัพย์สินค่ะ ( แต่เรียกอะไรไม่รู้ ) ซึ่งลูกค้า หรือเจ้าของสินค้ายินดีจ่ายมาก ๆ เพื่อให้ได้มา ซึ่ง slogan เพียงวลีเดียว หรือ Big Idea เพียงประโยคเดียว พร้อมงบประมาณทางการซื้อสื่อเป็นจำนวนหลายล้านบาท แบบนี้จะเรียกว่าอะไรดีเอ่ย ทรัพย์สินด้านความคิด ทรัพย์สินด้านปัญญา ???

แต่นะคะ แต่ว่า เจ้าหน้าที่ที่เป็นคนทำงานทางด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็น Creative ( ผู้ออกความคิดสร้างสรรค์ ), Account Service ( ผู้บริหารงานลูกค้า ) หรือ Media ( ผู้วางกลยุทธ์และวางแผนสื่อ ) ก็อาจมีการเปลี่ยน Agency บ่อยนะคะ จากบริษัทโน้น ไปบริษัทนี้ ในระยะหลัง ๆ นี้บริษัทจึงมักจะให้บุคคลที่เป็น Key Person ( คิดเก่ง วางกลยุทธ์เก่ง บริหารเก่ง) ได้มีส่วนในการเป็นผู้บริหารในบริษัทนั้น ๆ

ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้เองที่ไม่ได้มีการคิด หรือ รวมอยู่ใน BV ค่ะ ว่าไปแล้วคล้ายกันกับ บริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ บริษัทประกัน ที่ต้องตีค่า ของ ความมั่นคง goodwill ความซื่อสัตย์ ความสากลในการบริหารงาน เข้ามาด้วย
มิเช่นนั้น คงหาค่า BV ที่แท้จริงลำบาก

ไม่ทราบพี่ปรัชญาเห็นด้วยหรือเปล่า :D
Tough Time Never Last
But
Tough People Do
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมเห็นยังไม่มีใครตอบคำถามคอลัมภ์สุดท้ายของคุณลินดาเลยครับ

ผมขอตอบละกัน คอลัมภ์สุดท้ายก็คือมูลค่าตลาดของบริษัทครับ (Market Capitalization) คำนวณจาก ราคาหุ้นคูณกับจำนวนหุ้นครับ

โดยมีการคิดเป็นค่าเงินบาท ค่าเงินสหรัฐ และสุดท้ายก็คือคิดเป็นสัดส่วนเท่าไรของกลุ่มครับ
ลินดา
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณคุณฉัตรชัยมากเลยค่ะ แม้ว่า ไม่ใช่คำที่ตรงตามที่พิมพ์ก็ตาม แต่พอดูตามตัวเลขแล้วก็น่าจะเป็น market Cap. ที่ว่านะคะ

นึกว่าไม่มีใครแลซะแร้ว เพราะเห็นเป็นคำถามแบบ เด็ก ๆ ใช่ไหมคะ :wink:

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ คุณฉัตรชัย :D
Tough Time Never Last
But
Tough People Do
พาย
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอโทษนะครับ ผมอยากถามเกี่ยวกับฐานข้อมูลครับ เช่นผมเคยดูข้อมูลEPS ในSETTRADE หรือ ในหนังสือพิมพ์ ในSettrade อธิบายEPSว่าเป็น annual ความหมายคือ? เช่นปัจจุบันเรามีผลการดำเนินงานมาแล้ว 2Q ของปี 2546 ถ้าเป็นannual อีก 2Q คือQ3 Q4 ในปี 2545 หรือ เป็น forecast Q3 Q4 2546 และในหนังสือพิมพ์ EPS เป็นannual หรือไม่ ซึ่งจะมีผลต่อ PE เข่นกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา1
Verified User
โพสต์: 1092
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ไม่ทราบพี่ปรัชญาเห็นด้วยหรือเปล่า :D[/quote]


:P เห็นด้วยกับคุณลินดาครับ
คนเก่งๆ ย้ายงานบ่อยๆ
เพราะมีการจ้างออกและจ่ายให้มากกว่าที่เดิม

อย่างคนทำเจ้ากบ ของ....แอสซีแมสบ๊อก
ย้ายมา3บริษัท สุดท้ายมาดัง วัน-ทู-คลอ
ปัจจัยสำคัญ คุณลินดา อธิบายได้ดีหมดแล้วครับ
ยอมรับฟังความคิดเห็นตามนั้นครับ
สมแล้วที่อยู่และมีเพื่อนในวงการนี้

ที่สำคัญ ลูกค้าของบริษัทโฆษณาพร้อมจะถูกแย่ง
หรือย้ายไปทำโฆษณากับบริษัทอื่นๆ

เหมือนช๊อปปิ้งไอเดีย

ทำนองคนไทยว่า...จ่ายตลาดเลือกหาบริษัทใหม่
อุตสาหกรรมนี้ ถ้าไม่มีสายสัมพันธ์และลูกค้าในมือแล้ว
เล่นยากครับ อย่างฟาร์อีสท์ ถ้าไม่ใช่ของสหพัฒน์
คงไม่มีลูกค้ามากมายขนาดนี้จริงไหมครับ
ตอนนี้ชูโอกำลังลำบาก และอีกไม่ถึงกลางปีหน้า

สปา แอ๊ดเว่อร์ไทซิ่ง

บริษัทโฆษณาก็กำลังจะเข้ามาในตลาดอีก
การแข่งขันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆกับการเติบโตในอุตสาหกรรมนี้
ตอนเศรษฐกิจดีคงไม่มีปัญหา แต่เศรษฐกิจตกคงต้องทำการบ้านกันหนักล่ะครับ

ผมได้ไอเดีย และความรู้เพิ่มจากคุณลินดา
ว่างๆก็เอาความรู้ที่มีมาแบ่งกันอีกนะครับ

ขอบคุณครับ
ฝันถึง วัน ฟ้าสวย...... อยากร่ำรวย-ด้วยเล่นหุ้น
ฝัน เป็น นักลงทุน..... ลุ้นความหวัง-ความตั้งใจ
ลินดา
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เรื่องในวงการยังมีให้เล่าอีกมากมายค่ะ พี่ปรัชญา ให้ถามมาเถอะค่ะ :lol:

เรื่อง สปา advertising ได้ยินว่า มีหุ้นของ SC Matchbox อยู่ ซึ่ง SC ก็เป็นเครือของท่านนายก ซับซ้อนนะคะ ที่รู้แน่ ๆ ตอนนี้หน่วยงานราชการทั้งหลายใช้บริการของทั้งสอง Agency นี้อยู่ ยิ่งกว่า FE มีสหพัฒน์ซะอีกน่ะพี่

แม้ว่า สหพัฒน์จะเป็นเจ้าของเดียวกันกับ FE แต่นโยบายตั้งแต่ท่านเทียม โชควัฒนามาแล้ว ไม่ได้ผูกขาดนะคะ ความหมายก็คือ Product Manager ของสหพัฒน์ หากไม่พอใจงานของ FE ก็มีสิทธิ์ใช้ Agency อื่น ๆ ได้ นั่นหมายถึง FE ก็ต้องทำงานสุดหัวใจ ไม่ใช่ให้คิดว่าเป็นของตายให้มือ อย่างงัยก็ได้

แต่ว่า ลูกค้ารายอื่น ที่เป็นคู่แข่งกับสหพัฒน์มีหรือที่กล้าจะใช้งาน FE
( เกรงว่าข้อมูลด้านการตลาดอาจรั่วไหลได้ ) ทำให้ FE จำต้องมี sister company ชื่อ FameLine เพื่อรองรับสินค้าที่เป็นคู่แข่ง ลูกค้าก็จะได้ไม่ตะขิดตะขวางใจ ในการใช้งาน ซึ่งก็ไปตามคาด FameLine ก็มีลูกค้ามากมาย รวมทั้ง Miss Teen ซึ่งสร้างความจดจำ และสร้างยอดขายอย่างถล่มทลายมาแล้วในโฆษณาหลายๆ ชุด อีกทั้งรับรางวัล ด้านโฆษณายอดเยี่ยมอีกมากมายนับไม่ถ้วน :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
Tough Time Never Last
But
Tough People Do
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา1
Verified User
โพสต์: 1092
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

:P เครือข่ายมือถือและในเครือของท่านนายกฯใช้2บริษัท
อย่างคุณลินดาว่า
คือ1.อยู่ด้วยกัน
2.ความลับทางการค้าไม่รั่วไหล
3.งบเครือบริษัทของท่านนายกฯ อยู่ในอุตสาหกรรมไฮเทค
ใช้งบเยอะครับ

แต่เครือCP เปลี่ยนบริษัทโฆษณาทุกปี ปีนี้ประกิตได้มาจึงเจริญเติบโต
ปีหน้าก็ไม่ทราบว่าจะได้ของเขาหรือเปล่า คุณลินดามีข่าวอินไซด์ไหมครับ
ว่าประกิตจะได้ของออเร้นท์อีกหรือเปล่า
ฝันถึง วัน ฟ้าสวย...... อยากร่ำรวย-ด้วยเล่นหุ้น
ฝัน เป็น นักลงทุน..... ลุ้นความหวัง-ความตั้งใจ
ลินดา
Verified User
โพสต์: 53
ผู้ติดตาม: 0

ตารางหุ้นใน นสพ กรุงเทพธุรกิจ วานผู้รู้ด้วยค่ะ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

เรื่องระบบของ Orange นั้น ใช้บริการของประกิตอยู่คะ งบประมาณเยอะ
แต่.. แต่นะคะ พี่ปรัชญา ทาง Agency กำลังจะขอเลิกคือไม่ทำให้กับ Orange ค่ะ เพราะเหนียวหนี้ค่ะ ( อย่าเอ็ดไป.. เป็นแบบนี้จริง ๆ )

เจ้าของผลิตภัณฑ์มักจะเป็นแบบนี้ คือ ออกสินค้า ประโคมโฆษณาไปให้เยอะ ๆ เพื่อให้สินค้าติดตลาด พอมีคนซื้อสินค้าไปใช้แล้วค่อยเอาเงินมาจ่าย supplier ซึ่งบริษัทโฆษณาก็จะโดนแบบนี้เหมือนกัน บางทีดึงกันซะ ทนกันไม่ได้ ก็บอกเลิกกันไปก็มีอยู่เยอะค่ะ

ฉะนั้น ผู้บริหารต้องเด็ดขาด จะได้ไม่เสียโอกาสในการรับรายอื่นมาเป็นลูกค้าค่ะ
Tough Time Never Last
But
Tough People Do
ล็อคหัวข้อ