หนี้ประเทศ....จริงเหรอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Supra
Verified User
โพสต์: 479
ผู้ติดตาม: 0

หนี้ประเทศ....จริงเหรอ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หนี้ประเทศ 3.2 ล้านล้าน คนไทยอ่วมคนละ 5 หมื่น


ตะลึงคนไทยเกิดมามีหนี้ติดตัวทันทีเฉียด 5 หมื่นบาท หลังคลังเผยยอดหนี้ประเทศยังค้างเติ่งกว่า 3.2 ล้านล้านบาท คลังย้ำยังอยู่ในกรอบวินัยการคลังระบุดีกว่าก่อนเกิดวิกฤติเยอะมั่นใจอนาคตไม่มีปัญหาแน่ หลังทุ่มกำลังบริหารจัดการหวังลดยอดหนี้

ที่กระทรวงการคลัง เวลา 13.00 น. วันที่ 27 มิ.ย. นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะของประเทศคงค้างล่าสุดเมื่อ วันที่ 30 เม.ย. 49 มีกว่า 3.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 41.39% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 15,116 ล้านบาท แม้ว่ารัฐบาลจะก่อหนี้เพิ่มขึ้น 11,060 ล้านบาทก็ตาม แต่ยอดหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินลดลง 10,861 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลดลง 15,495 ล้านบาท จึงทำให้ภาพรวมของยอดหนี้ของประเทศลดลง และยังไม่น่าห่วงแต่อย่างใดเพราะอยู่ในกรอบของความยั่งยืนด้านการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 50% ของ จีดีพี

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าว ว่า ยอดหนี้ของประเทศล่าสุด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศกว่า 65 ล้านคนแล้ว พบว่าคนไทยทั้งประเทศจะมีหนี้  ต่อหัวตั้งแต่แรกเกิดประมาณ 49,230.76 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งหากภาระหนี้ของประเทศเพิ่มมากขึ้นเท่าใดภาระหนี้ต่อหัวของคนไทยก็จะเพิ่มมากขึ้นทันทีแม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติแล้วสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีจะมากกว่า 50%  ก็ตาม
 
สำหรับยอดหนี้ 3.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1.92 ล้านล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 9.80 แสนล้านบาท และหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ กว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แยกเป็นหนี้ต่างประเทศ 5.43 แสนล้านบาท หรือ 16.95% ของยอดหนี้รวมทั้งหมด ขณะที่เป็นหนี้ในประเทศกว่า 2.66 ล้านล้านบาท หรือ 83.05 ล้านบาท และยังเป็นหนี้ระยะสั้น 18.12% ของยอดหนี้คงค้างหรือ 5.81 แสนล้านบาท และเป็นหนี้ระยะยาว 81.88% หรือกว่า 2.62 ล้านล้านบาท
 
ด้านนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ ประชุม ครม. เห็นชอบการกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการของสำนักงานธนานุเคราะห์ 950 ล้านบาท โดย กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันตามที่กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ เพื่อให้ประชาชนใช้บริการจำนำสินค้าได้ทั่วถึง แบ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียน 450 ล้านบาท และการต่ออายุสัญญากู้เงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน 500 ล้านบาท ออกไปอีก 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 49-30 ก.ย. 51

ทั้งนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ราย งานว่า หลังจากคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์มีนโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ยรับจำนำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ส่งผลให้มีประชาชนมาให้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับราคาทองคำที่สูงขึ้น จึงทำให้เงินที่กู้มาเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนรับจำนำไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวโน้มการใช้บริการจำนำกับสำนักงานธนานุเคราะห์มีเพิ่มขึ้น โดยปี 45 มีจำนวน 643,346 ราย, ไม่มาไถ่ถอนหรือหลุดจำนำ 33,400 ราย, ปี 46 จำนวน 722,382 ราย ไม่มาไถ่ถอน 669,191 ราย, ปี 47 จำนวน 17,347 ราย ไม่มาไถ่ถอน 32,781 ราย  แต่หากคิดเป็นมูลค่าของสินค้าจำนำพบว่าในปี 45 จำนวน 4,626 ล้านบาท หลุดจำนำ 163 ล้านบาท, ปี 46 จำนวน 6,466 ล้านบาท หลุดจำนำ 160 ล้านบาท และ ปี 47 จำนวน 6,801 ล้านบาท หลุดจำนำ 187 ล้านบาท

ปัจจุบันสำนักงานธนานุเคราะห์คิด ดอกเบี้ยเงินกู้โดยเงินต้นไม่เกิน 3,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน เงินต้น 3,001- 10,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน เงินต้นเกินกว่า 10,000 บาท ดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน และตั้งแต่ 1 ก.ค. 49 เป็นต้นไป ผู้ที่กู้เงินต้นไม่เกิน 3,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.75 บาท ต่อเดือน ส่วนเงินต้นเกิน 3,000 บาท จะมีอัตราดังนี้ เช่น เงินต้น 2,000 บาทแรก ดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน และส่วนที่เกิน 2,000 บาท ดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน.


ที่มาจากหนังสือพิมพ์  เดลินิวส์  
      :lol:  :lol:  :lol:  เรื่องจริงเหรอนี้ เชื่อได้ไหมหนอ :roll:  :roll:
*****
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

หนี้ประเทศ....จริงเหรอ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เห็นด้วยกับคุณ supra ครับที่ตั้งข้อสงสัย

ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องจริง  เพียงแต่สิ่งที่ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะต้องการสื่อมาถึงประชาชน  แล้วประชาชนเข้าใจตรงตามที่สื่อมาหรือไม่  เข้าทำนองคนพูดเข้าใจอย่างหนึ่ง คนฟังเข้าใจอย่างหนึ่ง

ซึ่งเจอได้บ่อยมาก ว่าหน่วยงานหลายๆหน่วยมีปัญหาในการสื่อสารกับประชาชน

นี่ยังไม่นับ media(ผู้สื่อข่าว) ที่เป็นคนส่งสารด้วยนะ  บางทีฟังมาอย่างหนึ่งเข้าใจเองอย่างหนึ่งแล้วก็เขียนไปตามที่ตัวเองเข้าใจ  แต่ที่จริงกลับกันไปคนละเรื่อง

อย่างเช่น
ขณะที่เป็นหนี้ในประเทศกว่า 2.66 ล้านล้านบาท หรือ 83.05 ล้านบาท
ตรงนี้ผมก็ไม่เข้าใจว่า ตกลงว่า  2.66 ล้านล้านบาท หรือ 83.05 ล้านบาท กันแน่ งง จริงๆทำไมตัวเลขมันห่างกันลิบลับ

หรือที่บอกว่าเป้นหนี้ในประเทศ 2.66 ลบ. ก็แปลว่ามีเจ้าหนี้อยู่ในประเทศ 2.66 ลบ.เช่นเดียวกัน  จะมีแต่ลูกหนี้โดยไม่มีเจ้าหนี้ได้อย่างไร

หรือกรณีนี้
แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1.92 ล้านล้านบาท
ถามว่ากู้ใครก็ต้องบอกว่ากู้คนในประเทศ  เพราะเป็นลูกหนี้ต่างประเทศแค่ 5.43 แสนล้านบาท เท่านั้นเอง

ดังนั้นถ้ารัฐบาลเป็นลูกหนี้ก็แปลว่าประชาชนเป็นเจ้าหนี้  อย่างพันธบัตรที่ออกขายให้ประชาชนก็แปลว่าประชาชนเป็นเจ้าหนี้

และดังนั้นการที่บอกว่ารัฐเป็นหนี้  แล้วบอกว่าประชาชนเป็นหนี้
ยอดหนี้ของประเทศล่าสุด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศกว่า 65 ล้านคนแล้ว พบว่าคนไทยทั้งประเทศจะมีหนี้  ต่อหัวตั้งแต่แรกเกิดประมาณ 49,230.76 บาทต่อคนต่อปี
ก็เลยงง ๆ


สรุปว่าคนส่งสารก็ส่งตามใจฉันใครจะเข้าใจอย่างไรไม่สน
ผู้สื่อข่าวก็จดมาผิดมั่งถูกมั่ง
คนฟังก็ตีความตามที่ตัวเองเข้าใจ
มั่วเจงๆ ประเทศไทย  อิอิ
แล้วการนับหนี้เขามีหน่วยนับเป็น ต่อคนต่อปีด้วยหรือ งงจริงๆ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

หนี้ประเทศ....จริงเหรอ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

นี่แค่ศัพท์แสงทางการเงินนะครับ  ซึ่งบางทีความหมายก็ไม่ตรงกับศัพท์ของชาวบ้าน การสื่อสารกันก็เลยเป็นแบบ ไปไหนมาสามวาสองศอก

ถ้าเจอศัพท์ทางกฏหมายยิ่งไปกันใหญ่  เฮ้อ.....กลุ้ม

อิอิ  :rofl:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
prin
Verified User
โพสต์: 133
ผู้ติดตาม: 0

หนี้ประเทศ....จริงเหรอ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

:lol:   คิดเล่นๆตอนเย็นๆ
จับเขย่าๆ เป็นว่าประเทศไทยเป็นหนี้ต่างประเทศแค่ 5.43 แสนล้านบาท หาร 65ล้านคน ก็ตกคนละ 8,353.85 บาทเอง หึหึ
หากประเทศคือครอบครัว เงินคลัง คือ เงินกงสี
ผู้บริหารเงินกงสี คือ รัฐบาล
ตอนนี้คนในครอบครัว ส่วนใหญ่รายได้น้อย ผู้บริหารเลยต้องช่วยเหลือให้หยิบยืมดอกเบี้ยน้อยๆ เวลาขัดสนก็ต้องช่วยๆกันยืดระยะชำระไปอีกหน่อย พี่น้องบางคนก็รวมกลุ่มกันทำธุรกิจกู้เงินกงสีมาด้วย(รัฐวิสาหกิจ) ยังไม่พอก็ต้องกู้จากพี่น้องบางคนเพิ่ม(สถาบันการเงินในประเทศ)
เวลาเงินกงสีขัดสนเพราะต้องช่วยคนในครอบครัว ประกอบกับธุรกิจที่ผู้บริหารทำยังได้ไม่ดี เลยต้องไปยืมนอกบ้านมา(ต่างประเทศ)อีกก็ 5.43 แสนล้านบาท
นี่ยังไม่ได้คิดว่าพี่น้องแต่ละคนไปหยิบยืมกันเอง หรือว่าไปยืมข้างบ้านมาอีกนะเนี่ย แถมบางคนยังไปยืมบ้านอื่นมาปล่อยต่อให้กงสีตัวเองกินดอกเบี้ยส่วนต่างอีกต่างหาก อิอิ
สับสันกันดีจริงๆ รายได้กระจุก รายจ่ายกระจาย อิอิ อย่าเครียดครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

หนี้ประเทศ....จริงเหรอ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

มา ผมช่วยแปลห้ายยยย
หนี้ประเทศ 3.2 ล้านล้าน คนไทยอ่วมคนละ 5 หมื่น

ตะลึงคนไทยเกิดมามีหนี้ติดตัวทันทีเฉียด 5 หมื่นบาท หลังคลังเผยยอดหนี้ประเทศยังค้างเติ่งกว่า 3.2 ล้านล้านบาท คลังย้ำยังอยู่ในกรอบวินัยการคลังระบุดีกว่าก่อนเกิดวิกฤติเยอะมั่นใจอนาคตไม่มีปัญหาแน่ หลังทุ่มกำลังบริหารจัดการหวังลดยอดหนี้
เหอ เหอ โทษทีนะ คนไทยทุกคน แต่ละคนมีหนี้ 5 หมื่นอะนี่ขนาดลดลงแล้วนะเนี่ย ชั้น (คลัง) ก็ช่วยสุดใจแล้วแต่ได้แค่เนี้ยะอะแหละ
ที่กระทรวงการคลัง เวลา 13.00 น. วันที่ 27 มิ.ย. นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะของประเทศคงค้างล่าสุดเมื่อ วันที่ 30 เม.ย. 49 มีกว่า 3.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 41.39% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 15,116 ล้านบาท แม้ว่ารัฐบาลจะก่อหนี้เพิ่มขึ้น 11,060 ล้านบาทก็ตาม แต่ยอดหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินลดลง 10,861 ล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลดลง 15,495 ล้านบาท จึงทำให้ภาพรวมของยอดหนี้ของประเทศลดลง และยังไม่น่าห่วงแต่อย่างใดเพราะอยู่ในกรอบของความยั่งยืนด้านการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 50% ของ จีดีพี
ตอนนี้ประเทศไทยจำกัด มหาชนเป็นหนี้แล้ว 3.2 ล้านล้านบาท ลดลงนิดนึงแล้วทั้งที่รัฐบาลสร้างหนี้เพิ่มนะเนี่ย โชคช่วยที่รัฐวิสาหกิจยังไม่สร้างหนี้และเราไม่ต้องอุ้มแบงก์ไหนเพิ่มแต่ไม่ต้องห่วงนะ ยัง ชิล ชิล เพราะยังไม่เกิน 50% ของ GDP ตามที่ชั้น (คลัง) เป็นคนยก cloud ขึ้นมาเองอะ
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าว ว่า ยอดหนี้ของประเทศล่าสุด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศกว่า 65 ล้านคนแล้ว พบว่าคนไทยทั้งประเทศจะมีหนี้  ต่อหัวตั้งแต่แรกเกิดประมาณ 49,230.76 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งหากภาระหนี้ของประเทศเพิ่มมากขึ้นเท่าใดภาระหนี้ต่อหัวของคนไทยก็จะเพิ่มมากขึ้นทันทีแม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติแล้วสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีจะมากกว่า 50%  ก็ตาม
 
สำหรับยอดหนี้ 3.2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1.92 ล้านล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 9.80 แสนล้านบาท และหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ กว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แยกเป็นหนี้ต่างประเทศ 5.43 แสนล้านบาท หรือ 16.95% ของยอดหนี้รวมทั้งหมด ขณะที่เป็นหนี้ในประเทศกว่า 2.66 ล้านล้านบาท หรือ 83.05 ล้านบาท และยังเป็นหนี้ระยะสั้น 18.12% ของยอดหนี้คงค้างหรือ 5.81 แสนล้านบาท และเป็นหนี้ระยะยาว 81.88% หรือกว่า 2.62 ล้านล้านบาท
สรุปว่าพวกเธอคนไทยทั้งหลายมีหนี้อยู่ประมาณ 50,000 บาท เกิดมาก็มีหนี้แว้ว อิอิ หนี้นะส่วนใหญ่ก็เกิดจากรัฐบาลสร้างหนี้นั่นแหละ ถ้าหารแล้วก็เกือบ 30,000 บาท (เอาไปหาร 65 ล้ารคนไง) อีก 15,000 ก้อมาจากพวกรัฐวิสาหกิจพวกที่ทำ ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้พวกเราใช้ไง ที่เหลือ จิ๊บ จิ๊บก็คือกองทุนอุ้มแบงก์อีก 5000 บาท

เงินกู้เอามาจากไหนนะเหรอ ชั้นก็ไปกู้นอกมา 8,000 บาทที่เหลืออีก 42,000 ก็กู้จากบางคนในพวกเธอนะแหละ พวกที่พอมีกะตังค์ไง ชั้นยืมตังค์พวกเนี้ยะมาถัวก่อนเพราะเงินพวกนี้พอมีเหลือ แต่พวกเธอทุกคนก็เป็นหนี้นะ เพราะชั้น (คลัง) เอามาเพื่อทำถนน ทำทาง เพื่อพวกเธอนั่นแหละ ไม่ได้เอาไปใช้ส่วนตัวเล้ยยยย (ถึงตรงนี้จะมีตัวอักษรวิ่งอยู่ด้านล่าง.....ผู้ฟังโปรดใช้วิจารณญาณ เป็นความเชื่อส่วนบุคคลคร้าบ....)

ด้านนายเฉลิมชัย มหากิจศิริ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ ประชุม ครม. เห็นชอบการกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการของสำนักงานธนานุเคราะห์ 950 ล้านบาท โดย กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันตามที่กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ เพื่อให้ประชาชนใช้บริการจำนำสินค้าได้ทั่วถึง แบ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียน 450 ล้านบาท และการต่ออายุสัญญากู้เงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน 500 ล้านบาท ออกไปอีก 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 49-30 ก.ย. 51

ทั้งนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ราย งานว่า หลังจากคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์มีนโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ยรับจำนำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ส่งผลให้มีประชาชนมาให้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับราคาทองคำที่สูงขึ้น จึงทำให้เงินที่กู้มาเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนรับจำนำไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวโน้มการใช้บริการจำนำกับสำนักงานธนานุเคราะห์มีเพิ่มขึ้น โดยปี 45 มีจำนวน 643,346 ราย, ไม่มาไถ่ถอนหรือหลุดจำนำ 33,400 ราย, ปี 46 จำนวน 722,382 ราย ไม่มาไถ่ถอน 669,191 ราย, ปี 47 จำนวน 17,347 ราย ไม่มาไถ่ถอน 32,781 ราย  แต่หากคิดเป็นมูลค่าของสินค้าจำนำพบว่าในปี 45 จำนวน 4,626 ล้านบาท หลุดจำนำ 163 ล้านบาท, ปี 46 จำนวน 6,466 ล้านบาท หลุดจำนำ 160 ล้านบาท และ ปี 47 จำนวน 6,801 ล้านบาท หลุดจำนำ 187 ล้านบาท

ปัจจุบันสำนักงานธนานุเคราะห์คิด ดอกเบี้ยเงินกู้โดยเงินต้นไม่เกิน 3,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน เงินต้น 3,001- 10,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน เงินต้นเกินกว่า 10,000 บาท ดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน และตั้งแต่ 1 ก.ค. 49 เป็นต้นไป ผู้ที่กู้เงินต้นไม่เกิน 3,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.75 บาท ต่อเดือน ส่วนเงินต้นเกิน 3,000 บาท จะมีอัตราดังนี้ เช่น เงินต้น 2,000 บาทแรก ดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน และส่วนที่เกิน 2,000 บาท ดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน.


ที่มาจากหนังสือพิมพ์  เดลินิวส์  
อ้อชั้น (คลัง) ให้พวกเธอสร้างหนี้กันสะดวกๆ ขึ้นนะ ทำโรงจำนำให้เสร็จสรรพ เชิญใช้บริการได้เลย ดอกเบี้ยถูกๆ จ้า
(ตอนจบ มันต้องจบด้วยโคดสะนาดิ ฮา)
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

หนี้ประเทศ....จริงเหรอ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

แล้วมีใครรู้บ้างว่า  คนไทยมีสินทรัพย์เฉลี่ยคนละเท่าไร

ที่แน่ๆ  ก็มีเงินให้รัฐบาลกู้ยืม 2.66 ล้านล้านบาท
ภาพประจำตัวสมาชิก
Willpower
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

หนี้ประเทศ....จริงเหรอ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอเสริมนิดหนึ่งนะครับ

คำว่าหนี้สาธารณะในความหมายของทาง สบน. เขาเนี้ยจะหมายถึง 3 กลุ่มคือหนี้ รัฐบาลกู้ตรง รัฐวิสาหกิจกู้ และ กองทุนฟื้นฟู

การใช้คำหนี้สาธารณะเนี้ยก็เพื่อหมายความจะมีการนำเงินภาษีซึ่งเป็นเงินสาธารณะมาจ่าย ๆ หรือ มีแนวโน้มว่าจะนำมาจ่าย โดยหนี้รัฐบาลกู้ตรง ก็รัฐกู้รัฐจ่าย บางครั้ง ก็จะมีแบบรัฐกู้ให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ ด้วย ส่วนหนี้รัฐวิสาหกิจอันนี้นับรัฐวิสาหกิจกู้ทั้งหมดไม่ว่าผลการดำเนินงานจะเป็นอย่างไร เช่น ปตท การไฟฟ้า การบินไทย พวกนี้เขามีเงินจ่ายเองได้ แต่การนับเข้าไปรวมเป็นหนี้สาธารณะก็เพื่อ Conservative ในความหมายกว้าง แต่ไม่ใช่จะนำเงินภาษีไปจ่ายทั้งหมด แต่ พวก การรถไฟ ขสมก นี่อีกเรื่องหนึ่งนะ อิอิ

ส่วนหนี้กองทุนฟื้นฟู นี่ก็ตั้งแต่วิกฤตล้ม แบ็งชาติจ่ายต้น คลังจ่ายดอก

ระดับหนี้สาธารณะที่กำหนด ไว้ ร้อยละ 50 นั้นขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
http://www.cia.gov/cia/publications/fac ... /2186.html
อย่าง ญี่ปุ่น เป็น 100 ยังเฉย ๆ
แล้วแต่ความหมายในการนับรวมและจัดชั้น
การจะหารรายคนอาจจะผิดความหมายเพราะจริง ๆ แล้ว
คนที่เสียภาษีในจำนวนมากกว่าจะมีสัดส่วนในเงินที่จ่ายหนี้รัฐบาลมากกว่า
:D
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

หนี้ประเทศ....จริงเหรอ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

หนี้ที่บอกเป็นหนี้ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
ที่รัฐบาล รัฐวิสาหกิจและบริษัทไปกู้มา
ยังไม่รู้หนี้ภายในประเทศที่เป็นนโยบาลรัฐบาล
:)
โพสต์โพสต์