MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
-
- Verified User
- โพสต์: 259
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 1
พูดถึงหุ้น 2 ตัวนี้คิดว่าทุกคนคงทราบว่าทั้ง 2 ตัวนี้ทำธุรกิจประเภทเดียวกันคือทำโครงสร้างเหล็กเหมือนกัน มีฐานะทางการเงินดีเหมือน mcs มีการกำไรสะสมต่อเนื่องและปันผลดี ในขณะที่ stpi เป็นบริษัท turnaround มีกำไรดีต่อเนื่องและสามารถล้างขาดทุนสะสมหมดใน q 1 ที่ผ่านมา สำหรับรอบ q 2 ที่ประกาศออกมามีกำไรจากการดำเนินที่สูงมาก นอกจากนี้ยอดขายและสินทรัพย์หรือแม้กระทั่งราคาก็ใกล้เคียงกันมากจะเห็นได้ว่า 2 บริษัทนี้มีอะไรที่เหมือนกัน
แต่สิ่งที่แตกต่างก็มีเหมือนกันครับ ทุกคนอาจคิดว่ารายได้ของบริษัท mcs มียอดขายและกำไรสูงกว่า stpi ที่จริงแล้วครับกลับตรงกันข้ามเพราะที่จริงแล้วยอดขายของ stpi น่าจะมีขนาดมากกว่า mcs ประมาณเท่าตัวเพราะ stpi รายได้นั้นคิดเฉพาะค่าแรงไม่รวมค่าเหล็กแต่ mcs ยอดขายนั้นรวมค่าเหล็กด้วยนั่นก็คือมีความเสี่ยงเรื่องค่าเหล็ก ถ้า stpi รวมค่าเหล็กไปด้วยน่าจะมียอดขายมากกว่า mcs เกือบเท่าตัว แต่ที่น่าแปลกใจคือ mcs กลับเข้าไปซื้อหุ้น stpi 10 เปอร์เซ็นต์ เหมือนว่าปลาเล็กจะกินปลาใหญ่ แต่ถ้าดูกำไรสุทธิปัจจุบัน 6 เดือนค่อนข้างจะใกล้เคียงกันแต่ว่า mcs มีหุ้นมากกว่า stpi เท่าตัวนั่นหมายถึงว่า eps stpi น่าจะดีกว่านะครับแต่ราคาหุ้น stpi ต่ำกว่า mcs อีกข้อหนึ่งที่อยากจะพูดถึงคือพฤติกรรมของผู้บริหารค่อนข้างต่างกัน เพราะ mcs ผู้บริหารมีการให้ข่าวบ่อยและมีการเล่นหุ้นเป็นประจำโดยเฉพาะช่วงหลังนี้ มีการขายหุ้นทั้ง mcs ออกมาเยอะมาก รวมทั้งการซื้อหุ้น stpi 10 เปอร์เซ็นต์เพื่อเป็น alliance กันแต่ไม่รู้ว่าพันธมิตรอะไรซื้อไม่ถึง 2 เดือนก็ขายหุ้นออกมา ในขณะที่หุ้น stpi ผู้บริหารไม่ค่อยให้ข่าวแต่บริหารงานอย่างเดียวไม่มีการซื้อขายหุ้น มีอีกข้อหนึ่งที่แตกต่างคืองานของทั้ง 2 บริษัทแตกต่างกันคือ mcs ส่วนใหญ่รับงานที่เป็น mass market งานส่วนใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น แต่สำหรับ stpi นั้นเน้นงานที่เป็น nich market ที่ต้องใช้ความชำนาญและ margin สูง ลูกค้ามีทั่วโลกทั้ง ยุโรป ตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น เช่นสะพานที่ซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น
การลงทุนคือความเสี่ยงไม่ได้มีเจตนาที่จะแนะนำให้ซื้อหรือขายหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ครับแต่ที่เขียนเพราะได้ข้อมูลมาเลยอยากมาแชร์ความคิดเห็นของทุกท่านครับ
แต่สิ่งที่แตกต่างก็มีเหมือนกันครับ ทุกคนอาจคิดว่ารายได้ของบริษัท mcs มียอดขายและกำไรสูงกว่า stpi ที่จริงแล้วครับกลับตรงกันข้ามเพราะที่จริงแล้วยอดขายของ stpi น่าจะมีขนาดมากกว่า mcs ประมาณเท่าตัวเพราะ stpi รายได้นั้นคิดเฉพาะค่าแรงไม่รวมค่าเหล็กแต่ mcs ยอดขายนั้นรวมค่าเหล็กด้วยนั่นก็คือมีความเสี่ยงเรื่องค่าเหล็ก ถ้า stpi รวมค่าเหล็กไปด้วยน่าจะมียอดขายมากกว่า mcs เกือบเท่าตัว แต่ที่น่าแปลกใจคือ mcs กลับเข้าไปซื้อหุ้น stpi 10 เปอร์เซ็นต์ เหมือนว่าปลาเล็กจะกินปลาใหญ่ แต่ถ้าดูกำไรสุทธิปัจจุบัน 6 เดือนค่อนข้างจะใกล้เคียงกันแต่ว่า mcs มีหุ้นมากกว่า stpi เท่าตัวนั่นหมายถึงว่า eps stpi น่าจะดีกว่านะครับแต่ราคาหุ้น stpi ต่ำกว่า mcs อีกข้อหนึ่งที่อยากจะพูดถึงคือพฤติกรรมของผู้บริหารค่อนข้างต่างกัน เพราะ mcs ผู้บริหารมีการให้ข่าวบ่อยและมีการเล่นหุ้นเป็นประจำโดยเฉพาะช่วงหลังนี้ มีการขายหุ้นทั้ง mcs ออกมาเยอะมาก รวมทั้งการซื้อหุ้น stpi 10 เปอร์เซ็นต์เพื่อเป็น alliance กันแต่ไม่รู้ว่าพันธมิตรอะไรซื้อไม่ถึง 2 เดือนก็ขายหุ้นออกมา ในขณะที่หุ้น stpi ผู้บริหารไม่ค่อยให้ข่าวแต่บริหารงานอย่างเดียวไม่มีการซื้อขายหุ้น มีอีกข้อหนึ่งที่แตกต่างคืองานของทั้ง 2 บริษัทแตกต่างกันคือ mcs ส่วนใหญ่รับงานที่เป็น mass market งานส่วนใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น แต่สำหรับ stpi นั้นเน้นงานที่เป็น nich market ที่ต้องใช้ความชำนาญและ margin สูง ลูกค้ามีทั่วโลกทั้ง ยุโรป ตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น เช่นสะพานที่ซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น
การลงทุนคือความเสี่ยงไม่ได้มีเจตนาที่จะแนะนำให้ซื้อหรือขายหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ครับแต่ที่เขียนเพราะได้ข้อมูลมาเลยอยากมาแชร์ความคิดเห็นของทุกท่านครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 2
ความเสี่ยงเรื่องค่าเหล็กผมว่าไม่ค่อยน่าเป็นห่วงมากนักเนื่องจาก MCS จะสั่งเหล็กก็ต่อเมื่อมีลูกค้าได้สั่งของก่อนแล้วเท่านั้น จะไม่มีการมานั่งเก็งกำไรเหมือนบริษัทอื่นๆ ทีตอนต้นปีพวกเราเห็นกันได้ชัดว่าขาดทุนจากการ Stock เหล็ก
เรื่องต่อมาเรื่องฝีมือหรือคุณภาพของงาน สำหรับเจ้าตัว STPI ผมยังไม่ได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาจริงจังนักแต่ก็ได้ยินว่ากำลังการผลิตส่วนหนึ่งต้องเอาไปช่วยพี่ใหญ่ที่เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างในไทยไม่ใช่น้อยอยู่ นอกจากนี้ช่างที่ MCS นั้นก็ยังต้องมี certificate จากทางญี่ปุ่นในการรับรองด้วยเพราะต้องเอาไปใช้กับอาคารที่ต้องการรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ ซึ่งตรงนี้ผมก็ไม่ทราบว่า STPI มีพนักงานที่มีวุฒิดังกล่าวซักเท่าไหร่
อย่างไรก็ดีในเรื่องของการปล่อยข่าวหรืออะไรนี่อยู่เกินความสามารถของผมครับ คงต้องให้ท่านที่สนใจพิจารณากันดูเอง
ปล. ผมไม่มีหุ้นตัวนี้อยู่นะครับ
เรื่องต่อมาเรื่องฝีมือหรือคุณภาพของงาน สำหรับเจ้าตัว STPI ผมยังไม่ได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาจริงจังนักแต่ก็ได้ยินว่ากำลังการผลิตส่วนหนึ่งต้องเอาไปช่วยพี่ใหญ่ที่เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างในไทยไม่ใช่น้อยอยู่ นอกจากนี้ช่างที่ MCS นั้นก็ยังต้องมี certificate จากทางญี่ปุ่นในการรับรองด้วยเพราะต้องเอาไปใช้กับอาคารที่ต้องการรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ ซึ่งตรงนี้ผมก็ไม่ทราบว่า STPI มีพนักงานที่มีวุฒิดังกล่าวซักเท่าไหร่
อย่างไรก็ดีในเรื่องของการปล่อยข่าวหรืออะไรนี่อยู่เกินความสามารถของผมครับ คงต้องให้ท่านที่สนใจพิจารณากันดูเอง
ปล. ผมไม่มีหุ้นตัวนี้อยู่นะครับ
Impossible is Nothing
-
- Verified User
- โพสต์: 259
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 3
สำหรับกำลังการผลิตของบริษัท stpi ส่วนใหญ่รับงานจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ในประเทศแทบจะไม่มีรับงานเลยเนื่องจาก margin ในประเทศค่อนข้างน้อยครับ ในอดีตอาจมีบ้างที่รับงานจากบริษัทแม่ แต่เท่าที่รู้ในปัจจุบันแทบจะไม่มีรับจากบริษัทแม่เลย เนื่องจาก stec ได้ขายหุ้นไปจนเกือบหมดแล้วครับ จะสังเกตว่าผู้ถือหุ้น top ten ไม่มี stec เลย
-
- Verified User
- โพสต์: 259
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 4
ในส่วนของใบ certificate ที่ญี่ปุ่นนั้น รู้สึกว่า STPI ได้สร้างตึกเอกชนญี่ปุ่นที่สูงที่สุดติดอันดับในญี่ปุ่นในอดีต นอกจากนี้รู้สึกว่าจะได้งานของ kobe steel ครับ ผมคิดว่าน่าจะได้รับมั่งครับไม่งั้นคงรับงานบริษัทญี่ปุ่นไม่ได้ครับ :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 1435
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 5
[quote="key"]ในส่วนของใบ certificate ที่ญี่ปุ่นนั้น รู้สึกว่า STPI ได้สร้างตึกเอกชนญี่ปุ่นที่สูงที่สุดติดอันดับในญี่ปุ่นในอดีต
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
-
- Verified User
- โพสต์: 259
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 6
ข้างล่างนี้คือ project ที่ stpi ทำในอดีตที่ญี่ปุ่น ซึ่งหาดูได้ใน web www.stpi.co.th สำหรับงานล่าสุดของบริษัทฯ kobe steel นั้นทางบริษัทฯ ได้แจ้งในที่ประชุมผู้ถือหุ้นในรอบที่ผ่านมา
หมายเหตุ ทางผมไม่ได้มีเจตนามาโชว์ความรู้หรืออะไรก็ตามเพื่อให้เกิดความบาดหมางนะครับ เพียงแค่มาแชร์ข้อมูลให้ทราบกันนะครับ หากคิดว่ากระทู้ที่ตั้งไว้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกัน ผมก็จะขอหยุดการตอบนะครับ เพราะผมก็ได้ลงไว้แล้วนะครับว่าไม่ได้มีเจตนาให้มีการซื้อหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้เพราะการลงทุนคือความเสี่ยง หากคิดว่ากระทู้นี้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือทะเลาะระหว่างสมาชิกขอให้ทาง webmaster ลบทิ้งก็ได้ครับ
Japan Structural Steelwork for Ropponngi 6 Chome Category -1 Urban Redevelopment Project 2001
Japan Structural Steel for Misawa Museum Project, Japan2002
Japan Steel Structure for Hitachinaka Power Plant 2000
Japan Steel Structure for Turbine Building, Futsu-TEPCO1998
Japan Steel Structure for Clinker Storage for Hekinan Power Plant
1999
Japan Steel Structure for Higashidori Power Plant -Tohoku1999
Japan Steel Structure for Coal Conveyor Unit ,Maizuru 2002
Japan Steel Structure for Maizuru Power Plant Project2002
Japan Steel Structure for Coal Conveyor Unit, Maizuru 2002
Japan DIA 6.4, 9.2, 13 & 32 m. Antenna Steel Structure 1995
Japan Air PreHeater 1 unit for Idemitsu Project 2002
Japan Air PreHeater 1 unit for Srakaide Project 2002
[/u]
หมายเหตุ ทางผมไม่ได้มีเจตนามาโชว์ความรู้หรืออะไรก็ตามเพื่อให้เกิดความบาดหมางนะครับ เพียงแค่มาแชร์ข้อมูลให้ทราบกันนะครับ หากคิดว่ากระทู้ที่ตั้งไว้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกัน ผมก็จะขอหยุดการตอบนะครับ เพราะผมก็ได้ลงไว้แล้วนะครับว่าไม่ได้มีเจตนาให้มีการซื้อหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้เพราะการลงทุนคือความเสี่ยง หากคิดว่ากระทู้นี้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือทะเลาะระหว่างสมาชิกขอให้ทาง webmaster ลบทิ้งก็ได้ครับ
Japan Structural Steelwork for Ropponngi 6 Chome Category -1 Urban Redevelopment Project 2001
Japan Structural Steel for Misawa Museum Project, Japan2002
Japan Steel Structure for Hitachinaka Power Plant 2000
Japan Steel Structure for Turbine Building, Futsu-TEPCO1998
Japan Steel Structure for Clinker Storage for Hekinan Power Plant
1999
Japan Steel Structure for Higashidori Power Plant -Tohoku1999
Japan Steel Structure for Coal Conveyor Unit ,Maizuru 2002
Japan Steel Structure for Maizuru Power Plant Project2002
Japan Steel Structure for Coal Conveyor Unit, Maizuru 2002
Japan DIA 6.4, 9.2, 13 & 32 m. Antenna Steel Structure 1995
Japan Air PreHeater 1 unit for Idemitsu Project 2002
Japan Air PreHeater 1 unit for Srakaide Project 2002
[/u]
-
- Verified User
- โพสต์: 1435
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 7
เข้าใจผิดแล้วครับคุณ key ผมขอบคุณ คุณ key จริงๆ ที่อุตส่าห์เอาข้อมูลมาถกกัน เพียงแต่ว่า ถ้าโพสต์ด้วยคำว่า "รู้สึกว่า" มันไม่ชัดเจน คลุมเครือ การพุดคุยกัน ก็จะไม่ได้ ประโยชน์สูงสุดเท่านั้นเองครับ
ถ้าทำให้เข้าใจผิดก็ขออภัยด้วยนะครับผม :D
ถ้าทำให้เข้าใจผิดก็ขออภัยด้วยนะครับผม :D
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
-
- Verified User
- โพสต์: 259
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณคุณ ForrestGump ด้วยนะครับที่เข้าใจผมนะครับ และขอเสริมคำถามคุณ woody ที่ถามนะครับว่ามีใบ Certificate รึเปล่า พอดีได้ข้อมูลจาก annual report ปี 2005 ทาง stpi ได้รับประกาศนียบัตร JSA Grade "H" - (Japan Steel Structure Appraisal Center) จากสมาพันธ์ผู้ก่อสร้างโครงสร้างเหล็กแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Steel Structure Appraisal Center,Ltd.) ทำให้บริษัทฯ สามารถส่งออกงานโครงสร้างเหล็กไปยังญี่ปุ่นได้ครับ ขอบคุณครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 9
ผมสงสัยแต่เพียง
กำไรสุทธิ
ปี 2005 146.85
ปี 2004 -49.20
ปี 2003 74.38
ปี 2002 -123.13
ทำไมกำไรในอดีตจึงเป็นแบบนี้ครับ อยากทราบว่าปี 2002-2004 เกิดอะไรขึ้นบ้าง
ที่ว่ามาเพราะกลัวจะติดดอยน่ะครับ อย่างปี 2003 ราคาปิด 3.82 คงจะไปถึงยากซักหน่อย
กำไรสุทธิ
ปี 2005 146.85
ปี 2004 -49.20
ปี 2003 74.38
ปี 2002 -123.13
ทำไมกำไรในอดีตจึงเป็นแบบนี้ครับ อยากทราบว่าปี 2002-2004 เกิดอะไรขึ้นบ้าง
ที่ว่ามาเพราะกลัวจะติดดอยน่ะครับ อย่างปี 2003 ราคาปิด 3.82 คงจะไปถึงยากซักหน่อย
-
- ผู้ติดตาม: 0
MCS & STPI ความเหมือนที่แตกต่าง
โพสต์ที่ 11
ถ้าพูดเรื่องกำไรผมคิดว่าต้องมองทั้งยอดขายและต้นทุนครับ
โอเคล่ะ ส่งเหล็กได้เหมือนกัน อาจจะขายดีกว่าบริษัทหนึ่ง
แต่บริษัทหนึ่งกำไร บริษัทหนึ่งขาดทุน แปลว่าต้นทุนฝ่ายหนึ่งมากกว่า
อาจจะเป็นต้นทุนตามปกติ หรือแบบไม่ปกติตามที่ผมบอกไปในกระทู้ไร่ส้มก็เป็นได้
โอเคล่ะ ส่งเหล็กได้เหมือนกัน อาจจะขายดีกว่าบริษัทหนึ่ง
แต่บริษัทหนึ่งกำไร บริษัทหนึ่งขาดทุน แปลว่าต้นทุนฝ่ายหนึ่งมากกว่า
อาจจะเป็นต้นทุนตามปกติ หรือแบบไม่ปกติตามที่ผมบอกไปในกระทู้ไร่ส้มก็เป็นได้