ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 1
เห็นราคานี้แล้วย้อนนึกไปสมัยอดีตที่ราคา 80 กว่าบาท(พาร์10) mkt cap.800 ล. retain earning=1200 ล.
กำไรมาตลอดแต่มีบางช่วงที่เจอวิกฤตแต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดรทุกครั้ง รึว่าราคานี้จะเป็นเวลาเก็บของเอ่ย วานผู้รู้ช่วยบอกทีครับ
กำไรมาตลอดแต่มีบางช่วงที่เจอวิกฤตแต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดรทุกครั้ง รึว่าราคานี้จะเป็นเวลาเก็บของเอ่ย วานผู้รู้ช่วยบอกทีครับ
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 3
เขาเคยมีประวัติทำบัญชีให้สวยงามครับkisana เขียน:ท่าทางชาว vi จะไม่ใคร่สนใจหุ้นตัวนี้ แต่ผมว่า น่าจะคล้ายๆที่ผมเคยแนะนำหุ้น it svoa แน่ๆ อาจต้องให้เวลาคนที่เห็นคุณค่าแบบเรา หรือว่าเราเห็นอยู่คนเดียวหว่า
ผมยึดสโลแกนที่ว่า ถ้าคุณเห็นแมลงสาบ1ตัวอยู่บนพนังห้องครัว ค่อนข้างชัวร์ว่า มีอีกเป็น10อยู่หลังตู้ครับ ระวังให้ดีๆแล้วกัน เดี๋ยว ผีแมลงสาบ มันจะมาหลอกหลอนเป็นระยะๆ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 4
คุณนริศให้ภาพที่เห็นอย่างชัดเจนทีเดียวผมยึดสโลแกนที่ว่า ถ้าคุณเห็นแมลงสาบ1ตัวอยู่บนพนังห้องครัว ค่อนข้างชัวร์ว่า มีอีกเป็น10อยู่หลังตู้ครับ ระวังให้ดีๆแล้วกัน เดี๋ยว ผีแมลงสาบ มันจะมาหลอกหลอนเป็นระยะๆ
ต้องขอโทษสำหรับบางท่านก่อนล่วงหน้า แต่นี่คือข้อเท็จจริง ผมจะไม่ Comment เพิ่มเติมแต่อย่างไรครับ
แต่ให้ดู Story ต่าง ๆ ที่มีการเปิดในตลาดหลักทรัพย์ แล้วจะเข้าใจที่คุณนริศพูดถึงครับ
ฉากที่ 1
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่1(F45-3)
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
ไตรมาสที่ 1
ปี 2549 2548
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (162,310) 41,910
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.60) 0.16
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
ที่ ห.ท. 040/2549
วันที่ 15 พฤษภาคม 2549
รื่อง ขอชี้แจงสาเหตุที่ผลการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 20 สำหรับงบไตรมาสแรก
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทฯ ได้กำหนดภาระกิจหลักโดยมุ่งเน้นที่โครงการปรับปรุงคุณภาพลุกหนี้ผ่อนชำระซึ่งได้
เริ่มมาตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้:
- การปรับขึ้นเงินดาวน์ขั้นต่ำ
- จัดให้มีประกัน ซึ่งรวมถึงการประกันหนี้เสีย สำหรับบัญชีเช่าซื้อรถจักรยานยนต์
ทั้งหมด
- จัดตั้งระบบการตรวจเช็คบัญชีดำภายใน ให้เป็นแบบอัตโนมัติ
- กำหนดระเบียบเฉพาะกาลในการตามเก็บบัญชีที่เข้าข่ายจะต้องติดตามเก็บเป็นอัน
ดับ
แรก โดยให้ทำการยึดสินค้าคืนทันทีกรณีลูกค้าเหล่านี้ไม่ชำระ
- จัดให้มีการอนุมัติการให้เครดิตสำหรับบัญชีเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ให้ผ่านการอนุมัติ
จาก
ส่วนกลางโดยเริ่มบางสาขาในเดือน กุมภาพันธ์ 2549 และทยอยให้ครอบคลุมใช้กับทุก
สาขาในเดือน เมษายน 2549 พร้อมกับให้มีการตรวจสอบข้อมูลเครดิตกับบริษัทข้อมูล
เครดิตแห่งชาติสำหรับบัญชีรถจักรยานยนต์ทุกบัญชี
- ใช้ระบบ ฮัลโหลซิงเกอร์ หรือ Call Center ซึ่งจัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
เป็น
ส่วนหนึ่งในการช่วยตรวจสอบเครดิต และ ช่วยการตามเก็บเงิน
- เพิ่มประสิทธิภาพในการปรับสภาพรถจักรยานยนต์ที่ คลังสินค้าที่เสนา เพื่อร่นระยะ
เวลาในระหว่างรถจักรยานยนต์ที่ยึดมาได้จนถึงอยู่ในสภาพพร้อมขาย
บริษัทคาดการณ์แล้วว่ามาตรการดังกล่าวข้างต้นย่อมจะทำให้ยอดขายลดลง จำนวนสินค้ายึด
คืนจะเพิ่มสุงขึ้น และส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรลดลงระหว่างการดำเนินงานตาม
มาตรการดังกล่าว อย่างไรก็ดี บริษัทจะได้รับประโยชน์ในอนาคตอันใกล้ เมื่อสาขาทั้งหมดสามารถ
ทำการขายได้อย่างปกติพร้อมการสนับสนุนในการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้โครงการปรับปรุงคุณภาพลูกหนี้ดังกล่าว ได้ส่งผลให้บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจากการ
ดำเนินงานเป็นบวกถึง 254 ล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 2549 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกับปี
ก่อนมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบอยู่ 491 ล้านบาท ซึ่งหมายความว่ากระแสเงินสดจาก
การดำเนินงานไตรมาสแรกของปีนี้ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 745 ล้านบาท
เป็นที่ทราบกันดีว่าบริษัทฯเริ่มขายรถจักรยานยนต์เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยมีสัดส่วนของราย
ได้อยู่ที่ 6% และสัดส่วนดังกล่าวได้สูงขึ้นตลอดตามภาวะตลาดรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีการเจริญเติบโต
อย่างต่อเนื่อง และบริษัทฯได้ขยายพื้นที่การขายรถจักรยานยนต์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จนถึงปี
2548 บริษัทฯมีสัดส่วนรายได้ที่มาจากรถจักรยานยนต์อยู่ที่ 58%
ภาวะตลาดรถจักรยานยนต์ในปีที่ 2548 ที่ผ่านมามีการแข่งขันกันลักษณะ เงินดาวน์ต่ำ
ตลอดจนการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายและรวดเร็วหลายช่องทาง ทำให้ยอดสินเชื่อบุคคลสูงขึ้นอย่างมาก
เมื่อมีสัญญาณเบ่งบอกถึงเศรษฐกิจลักษณะชะลอตัวในครึ่งปีหลังของปี 2548 ทำให้มีข่าวคราวใน
หนังสืบพิมพ์เกี่ยวกับหนี้สินส่วนบุคคลที่มีการฟ้องร้อง และร้องเรียนกันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯจึง
ได้มีโครงการปรับปรุงคุณภาพลูกหนี้ขึ้น โดยการออกมาตรการเข้มงวดกับลูกหนี้ผ่อนชำระ เพื่อ
ป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เหล่านั้นเกิดความเสียหายมากในอนาคต
เนื่องจากความสามารถในการยึดสินค้าคืนเพื่อบรรเทาความเสียหายของหนี้เสียของบริษัทฯ
มีศักยภาพค่อนข้างสูง เนื่องจากพนักงานขายของบริษัทฯ อยู่ในพื้นที่เดียวกับลูกหนี้ทั่วประเทศ จาก
มาตรการดังกล่าวทำให้บริษัทฯมีการยึดสินค้าคืนจำนวนมากในไตรมาสนี้ และส่งผลให้สินค้ายึดคืน
โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนยอดขายรถจักรยานยนต์ใหม่ที่ลดลงอันเนื่องมาจาก
การเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว
ในขณะเดียวกันมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวส่งผลให้ยอดขายใหม่ของบริษัทฯ ลดลงเมื่อเทียบ
กับงวดเดียวกันของปีก่อน แต่บริษัทฯ มองเห็นว่าคุณภาพของบัญชีขายใหม่จะมีคุณภาพดีขึ้นอันจะส่ง
ผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทฯ ในระยะยาว
ยอดขายสินค้าในไตรมาสแรกเปรียบเทียบกันไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สามารถยแก
ประเภทได้ดังนี้
ยอดขายไตรมาสแรก ปี 2549 ปี 2548
รถจักรยานยนต์ใหม่ 235,321 914,828
รถจักรยานยนต์มีอสอง 164,849 70,426
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ 447,410 499,552
รวมยอดขาย (พันบาท) 847,580 1,484,806
ยอดการยึดคืนสินค้า ปี 2549 ปี 2548
รถจักรยานยนต์ -614,475 -192,044
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ -157,003 -110,067
รวมยอดยึดคืน (พันบาท) -771,478 -302,111
ยอดขายสุทธิ 76,102 1,182,695
จากตารางดังกล่าวยอดขายสินค้าไตรมาสแรกของบริษัทฯ อยู่ที่ 57.1% เมื่อเทียบกับระยะ
เวลาเดียวกับปีก่อน โดยสินค้าที่ลดลงมาคือ รถจักรยานยนต์ใหม่ ซึ่งลดลง ถึง 679.5 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 45.7%ของยอดขายไตรมาสของปีที่แล้ว สาเหตุที่ลดลงมากเนื่องจากมาตรการต่าง ๆ
ที่ได้กล่าวมาในตอนต้น ตลอดจนการจำกัดการซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ เพื่อที่จะระบายรถจักรยานยนต์
มือสองที่ยึดมาให้เร็วที่สุด ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯมีศักยภาพในการระบายรถจักรยานยนต์มือสอง เพราะ
ตลาดรถจักรยานยนต์มือสองใหญ่กว่าตลาดรถจักรยานยนต์ใหม่มาก จะสังเกตได้ว่าบริษัทฯ สามารถ
จำหน่ายรถจักรยานยนต์มือสองในไตรมาสนี้สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ถึง 94.4 ล้านบาท
ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้ามียอดจำหน่ายที่ลดลง เนื่องมาจากการใช้เวลาในการติดตาม
บัญชีที่มีปัญหามาก ทำให้เวลาในการเดินตลาดสำหรับการขายใหม่ลดลง ทำให้ยอดขายต่ำกว่าช่วง
เดียวกันของปีก่อนอยู่ 52.1 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว ยอดขายจะใกล้เคียง
กัน (ไตรมาสสี่ ปี 2548 อยู่ที่ 454.5 ล้านบาท)
ด้านการยึดสินค้าคืนในไตรมาสแรกของปี อยู่ที่ 771.5 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนอยู่ที่
302.1 ล้านบาท สาเหตุที่สูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีก่อนมากเนื่องจากมาตรการต่าง ๆในการปรับ
คุณภาพของลูกหนี้ตามที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น
ในส่วนของดอกเบี้ยรับจากการขายผ่อนชำระลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ 22.6 ล้าน
บาทหรือลดลงเพียง 6.5% ผลจากการยึดคืนสินค้าที่เพิ่มขึ้นมาก ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดดอกเบี้ยรับ
มากนัก เนื่องจาก บริษัทฯหยุดรับรู้รายได้ดอกเบี้ยรับสำหรับบัญชีที่ค้าง 4 งวดเเป็นต้นไป สาเหตุ
หลักที่ทำให้ดอกเบี้ยรับลดลงมากจากการขายใหม่ที่ลดลง และสัดส่วนการขายรถจักรยานยนต์ลดลง
มากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
รายได้อื่น ที่เพิ่มสูงขึ้น 14.0 ล้านบาทเนื่องมากจากการขายประกันหนี้เสียสำหรับบัญชี
รถจักรยานยนต์ ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ไตรมาสที่สี่ของปี 2548
กำไรเบื้องต้น ลดลง 154.5 ล้านบาท
กำไรเบื้องต้นอยู่ที่ 548.6 ล้านบาท (1,188.2-639.6) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อยู่ที่ 703.1ล้านบาท (1,834.3-1131.2) ลดลง 154.5 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบเป็นอัตรากำไร
เบื้องต้นปี 2549 อยู่ที่ 46.2% เทียบกับปี 2548 อยู่ที่ 38.3% สาเหตุหลักที่ปี 2549 มีอัตรากำไร
เบื้องต้นที่ดีกว่าเนื่องจากสัดส่วนการขายของรถจักรยานยนต์น้อยกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า กล่าวคืออยู่ที่
47% ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 66% ซึ่งอัตรากำไรเบื้องต้นของรถจักรยานยนต์จะต่ำกว่า
เครื่องใช้ไฟฟ้ามาก
ขาดทุนจากการยึดสินค้าคืน เพิ่มขึ้น 86.0 ล้านบาท
ในปีนี้บริษัทฯมีขาดทุนจากการยึดสินค้าคืนอยู่ที่ 254.1 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปี
ก่อน 86 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการยึดสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นมาก อันเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการการ
ปรับปรุงคุณภาพลูกหนี้
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ลดลง 40.1 ล้านบาท
ปีนี้มีค่าใช้จ่ายลดลง 40.1 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากยอดขายที่ลดลง ส่งผลให้การจ่ายค่า
นายหน้าในการขาย ลดลง 51.3 ล้าน ในขณะเดียวกัน ผลของการยึดสินค้าคืนที่สูงขึ้น ทำให้
จำนวนบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระและการเก็บเงินลดลง ส่งผลให้ค่านายหน้าในการเก็บเงินลดลง 24.0
ล้าน และการตั้งสำรองหนี้สูญสูงขึ้น 34.1 ล้านบาท
ดอกเบี้ยจ่าย เพิ่มขึ้น 20.2 ล้านบาท
สูงขึ้น 20.2 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่
4.9% ในขณะที่ปีที่แล้วในไตรมาสเดียวกันอยู่ที่ 3.0% ส่งผลให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น 14.6 ล้านบาท ส่วน
ที่เหลือ 5.4 ล้านบาทเกิดจากการกู้ยืมที่สูงขึ้น อยู่ที่ 294 ล้านบาท อย่างไรก็ดีการกู้ยืมเงิน ณ
สิ้นเดือน มีนาคม 2549 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว ลดลง 324 ล้านบาท
ขาดทุนสุทธิ 162.3 ล้านบาท
จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในไตรมาสแรกของปี 2549 นี้บริษัทฯ มีขาดทุนสุทธิอยู่ที่
162.3 ล้านในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรอยู่ที่ 41.9 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจาก
มาตรการต่าง ๆ ที่บริษัทฯได้ใช้เพื่อปรับคุณภาพของลูกหนี้ ตลอดจนมาตรการในการอนุมัติสินเชื่อที่
เข้มงวดสำหรับบัญชีรถจักรยานยนต์ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่ได้ทำไปในไตรมาสแรกนี้ จะส่งผลดีต่อ
ผลประกอบการของบริษัทฯ ในระยะยาว
ลูกหนี้ผ่อนชำระและลูกหนี้อื่น สุทธิ
ลดลง จาก 4,706 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2548 มาอยู่ที่ 4,194 ล้านบาทเมื่อสิ้นเดือน มีนาคม
2549 สาเหตุหลักที่ลดลงมาจากบัญชีเช่าซื้อผ่อนชำระ ซึ่งลดลงจาก สิ้นปี 2548 มี 417,024 บัญชี
มาอยู่ที่ 363.642 บัญชีเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2549 อันเป็นผลมาจากมาตรการในการปรับปรุง
คุณภาพบัญชีลูกหนี้ โดยมีการยึดสินค้าคืนจากลูกค้าทั้งสิ้น 35,735 บัญชี คิดเป็นมูลค่า 771.5 ล้าน
บาท ในส่วนของบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระอยู่ที่ 7.7% สูงขึ้นจากสิ้นปี
2548 ซึ่งอยู่ที่ 6.4% อย่างไรก็ดีจากสถิติการตัดจำหน่ายหนี้สูญที่เกิดขึ้นจริงของลูกหนี้ผ่อนชำระ
ย้อนหลัง 3 ปี และ 5 ปีจะอยู่ที่ 2.2% และ 2.1% ตามลำดับ นอกจากนี้บัญชีรถจักรยานยนต์ที่เปิด
ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 เป็นต้นไปจะมีการทำประกันหนี้เสีย อันเป็นการแบ่งเบาภาระความ
เสี่ยงของหนี้เสียของบริษัทฯ อนึ่งบริษัทฯไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับนโยบายการตั้ง
สำรองหนี้สูญ เนื่องจากเห็นว่านโยบายดังกล่าวยังเหมาะสมอยู่
สินค้าคงเหลือสุทธิ
ยอดที่เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว จำนวนเงิน 152.3 ล้านบาท มาจากการยึดสินค้าคืนโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งรถจักรยานยนต์ ส่งผลให้รถจักรยานยนต์ มือสอง เพิ่มขึ้น 11,718 คัน ณ สิ้นเดือน
มีนาคม 2549 บริษัทฯมีรถจักรยานยนต์มือสองอยู่ประมาณสามหมื่นคัน ซึ่งบริษัทฯได้วางแผนการขาย
มุ่งเน้นที่รถจักรยานยนต์มือสอง ที่มีขนาดตลาดใหญ่กว่ารถจักรยานยนต์ใหม่ และบริษัทมีศักยภาพใน
การจำหน่ายสูงโดยผ่านช่องทางการจำหน่ายปกติของบริษัทฯ
หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
บริษัทฯสามารถรักษาสัดส่วนดังกล่าวไว้ได้ที่ 1.72 เช่นเดียวกับสิ้นปีที่แล้ว อันสืบเนื่องจาก
การจำกัดการซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ และผลักดันการขายรถจักรยานยนต์มือสองอย่างต่อเนื่อง
การเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการ
คุณขวัญชัย โหมดประดิษฐ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้จัดการ คนใหม่ เริ่มมีผลตั้งแต่
วันที่ 1 มิถุนายน 2549 แทน Mr. Jim Kelly ซึ่งได้ ขอลาออกโดยมีผลวันเดียวกัน
คุณขวัญชัย มีประสบการณ์กว่า 20 ปี ในตลาดสินเชื่อผู้บริโภค ในประเทศไทย กับผู้นำใน
ธุรกิจดังกล่าว เช่น บริษัท อิออนธนสินทรัพย์ และ บริษัท จีอีแคปปิตัล เป็นต้น
จึงเรียนมาเพื่อชี้แจงข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อผลประกอบการและฐานะการเงินของบริษัทฯ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป แสงหิรัญวัฒนา)
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 5
ต่อด้วยฉากที่ 2 ในช่วงไตรมาสถัดมา
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน (หน่วย : พันบาท)
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2549 2548 2549 2548
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (134,292) 43,610 (296,602) 85,522
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.50) 0.16 (1.10) 0.32
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
ที่ ห.ท.051/2549
วันที่ 15 สิงหาคม 2549
เรื่อง ชี้แจงสาเหตุที่ผลการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 20 สำหรับงบไตรมาสที่สอง
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทฯ ใคร่ขอชี้แจงผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่สองสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549
โดยมีขาดทุนสุทธิ คิดเป็นเงิน 134.3 ล้านบาท เมื่อเทียบ กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมี
กำไรสุทธิ 43.6 ล้านบาท และไตรมาสแรกของปีนี้มีขาดทุนสุทธิ 162.3 ล้านบาท บริษัทฯ
มีขาดทุนสิทธิ ในไตรมาสสองลดลงจากไตรมาสแรกอยู่ 28 ล้านบาท
ช่วงระหว่างเวลา 12 เดือนสิ้นสุดเดือน กันยายน 2548 มีความต้องการในรถจักรยานยนต์
สูงมาก และบริษัทฯได้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ไปเกินกว่าระดับที่บริษัทฯคาดการณ์ไว้ประมาณ
50,000 คันในขณะนั้น ลูกค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการชำระค่างวดตามกำหนด
บริษัทฯจึงได้จัดการกับบัญชีที่มีปัญหเหล่านั้นโดยเร็วด้วยการยึดคืนสินค้า การดำเนินการดังกล่าว
ส่งผลให้ยอดขายตกลงและขาดทุนจากการยึดสินค้าคืนสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ
ธุรกิจของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ
บริษัทฯได้ขยายขอบเขตการจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยง และควบคุมสถานการณ์ไม่ให้
เกิดขึ้นซ้ำอีก นอกจากนั้นได้มีการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงใหม่ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านสินเชื่อ
อย่างมาก เข้ามาเป็นผู้นำพาบริษัทฯช่วงรอยต่อนี้ โดยวางแผนลยุทธ์มาใช้เพื่อความเจริญ
เติบโตของบริษัทฯในอนาคต
บริษัทได้คาดการณ์แล้วว่ายอดขายของบริษัทฯจะลดลง อันเนื่องมาจากมาตรการปรับปรุง
คุณภาพลูกหนี้ผ่อนชำระซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ในใตรมาสสุดท้ายของปี 2548 โครงการปรับปรุง
คุณภาพลูกหนี้ดังกล่าว ได้ส่งผลให้บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกอย่าง
ต่อเนื่อง ถึง 185 ล้านบาทในไตรมาสสองของปี 2549 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกับปีก่อน
มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบอยู่ 620 ล้านบาท หมายความว่ากระแสเงินสดจาก
การดำเนินงานไตรมาสสองของปีนี้ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 805 ล้านบาท
ยอดขายสินค้าในไตรมาสสองเปรียบเทียบกันไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสแรก
ของปีนี้ สามารถแยกประเภทได้ดังนี้
ยอดขาย ไตรมาส 1 / 2549 ไตรมาส 2 / 2549 ไตรมาส 2 / 2548
รถจักรยานยนต์ใหม่ 235,845 65,083 542,834
รถจักรยานยนต์มีอสอง 164,849 100,805 532,126
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ 447,410 445,715 499,552
รวมยอดขาย (พันบาท) 848,104 611,603 1,574,512
ยอดยึดคืนสินค้า ไตรมาส 1 / 2549 ไตรมาส 2 / 2549 ไตรมาส 2 / 2548
รถจักรยานยนต์ -614,475 -314,293 -276,982
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ -157,003 -85,687 -93,529
รวมยอดยึดคืน (พันบาท) -771,478 -399,980 -370,511
ยอดขายสุทธิ 76,626 211,623 1,204,001
จากตารางดังกล่าวยอดขายสินค้าไตรมาสสองของบริษัทฯ ในส่วนของรถจักรยานยนต์
ลดลงมาก เนื่องจากการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อโดยต้องผ่านการอนุมัติจากส่วนกลาง
ตลอดจนการจำกัดการซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ เพื่อที่จะระบายรถจักรยานยนต์มือสองที่ยึดมาให้เร็วที่สุด
ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้ามียอดจำหน่ายใกล้เคียงกับไตรมาสแรกของปี 2549 แต่ลดลง
11% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกับปีก่อน เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคลดลง
อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง
จากความไม่แน่นอนทางการเมืองตั้งแต่ต้นปี 2549
ด้านการยึดสินค้าคืนในไตรมาสที่สองของปี อยู่ที่ 400 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนอยู่ที่ 370.5
ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดยึดสินค้าคืนลดลง 371.5 ล้านบาท
เนื่องจากบัญชีที่มีปัญหาลดน้อยลงส่งผลให้ขาดทุนจากการยึดคืนสินค้าลดลงจาก 254.1 ล้านบาท
ในไตรมาสแรก มาอยู่ที่ 107.8 ล้านบาท ในไตรมาสสองนี้ หรือลดลง 146.3 ล้านบาท
กำไรเบื้องต้น ลดลง 186.7 ล้านบาท
กำไรเบื้องต้นอยู่ที่ 490.9 ล้านบาท (905.2-414.3) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อยู่ที่ 677.6 ล้านบาท (1,939.3-1,261.7) ลดลง 186.7 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบเป็น
อัตรากำไรเบื้องต้นปี 2549 อยู่ที่ 54.2% เทียบกับปี 2548 อยู่ที่ 34.9% สาเหตุหลักที่ปี
2549 มีอัตรากำไรเบื้องต้นที่ดีกว่าเนื่องจากสัดส่วนการขายของรถจักรยานยนต์น้อยกว่า
เครื่องใช้ไฟฟ้า กล่าวคืออยู่ที่ 27% ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 68% ซึ่งอัตรากำไร
เบื้องต้นของรถจักรยานยนต์จะต่ำกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ามาก
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร สูงขึ้น 4.7 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายผันแปรลดลงตามยอดขายที่ลดลง แต่การเพิ่มขึ้นของการตั้งสำรองหนี้สูญ
ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารโดยรวมใกล้เคียงกับช่วงเวลาเดียวกับปีก่อน
ดอกเบี้ยจ่าย เพิ่มขึ้น 15.8 ล้านบาท
สาเหตุหลักมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5.6% ในขณะที่ปีที่แล้ว
ในไตรมาสเดียวกันอยู่ที่ 3.0% ส่งผลให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น 18.7 ล้านบาท แต่ยอดเงินกู้ได้ลดลง
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549 อยู่ที่ 2,794.4 ล้านบาท เมื่อเทียบกันสิ้นเดือน มิถุนายนของ
ปี 2548 อยู่ที่ 3,320.4 ล้านบาท ส่งผลให้ดอกเบี้ย ลดลง 2.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นสุทธิ
15.8 ล้านบาท (18.7- 2.9)
ลูกหนี้ผ่อนชำระและลูกหนี้อื่น - สุทธิ
ลดลง จาก 4,706 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2548 มาอยู่ที่ 3,850.4 ล้านบาท ณ สิ้น
เดือนมิถุนายน 2549 ยอดที่ลดลงเป็นผลของมาตรการต่าง ๆ ที่ฝ่ายบริหารได้ดำเนินการ
ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
สินค้าคงเหลือสุทธิ
ยอดที่เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว จำนวนเงิน 217.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก
ของปีนี้ 64.8 ล้านบาทสาเหตุหลักมาจากการยึดคืนสินค้า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549
บริษัทฯ มีรถจักรยานยนต์มือสองคงเหลือประมาณ 30,000 คัน บริษัทฯได้มุ่งเน้นการขาย
รถจักรยานยนต์มือสองดังกล่าวผ่านเครือข่ายการขายปกติ และช่องทางการจำหน่ายใหม่ ๆ
รวมถึงการขายเป็นปริมาณมาก ๆ เพื่อที่จะลดปริมาณรถจักรยานยนต์มือสองให้ได้ผลใน
ไตรมาสสามต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 กรณีที่ราคาตลาดรถจักรยานยนต์มือสอง
ลดลงมากอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำกำไรของบริษัทฯในเดือนถัดไป
หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
บริษัทฯมีหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2549 อยู่ที่ 1.77
เมื่อเทียบกันสิ้นปี 2548 และสิ้นไตรมาสแรกอยู่ที่ 1.72
ฝ่ายบริหารเข้าใจดีว่าบริษัทฯมีเครือข่ายการกระจายสินค้าครอบคลุมตลาดภูมิภาคทั่ว
ประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุด จึงได้ใช้จุดแข็งนี้ในการวางกลยุทธ์ ในปัจจุบันดังนี้:
กำหนดให้บริษัทฯ เป็นผู้จัดหน่ายสินค้าด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในตลาดส่วนภูมิภาค
ออกสินค้าใหม่ และบริการ ใหม่ ๆ นำเสนอต่อฐานลูกค้าในปัจจุบัน
เสนอจุดแข็งของการขายและบริการนี้ให้กับบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องการใช้โครงข่ายของ
บริษัทซิงเกอร์ในการกระจายสินค้า
จึงเรียนมาเพื่อชี้แจงข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อผลประกอบการและฐานะการเงินของบริษัทฯ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป แสงหิรัญวัฒนา)
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน (หน่วย : พันบาท)
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2549 2548 2549 2548
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (134,292) 43,610 (296,602) 85,522
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.50) 0.16 (1.10) 0.32
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
ที่ ห.ท.051/2549
วันที่ 15 สิงหาคม 2549
เรื่อง ชี้แจงสาเหตุที่ผลการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 20 สำหรับงบไตรมาสที่สอง
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทฯ ใคร่ขอชี้แจงผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่สองสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549
โดยมีขาดทุนสุทธิ คิดเป็นเงิน 134.3 ล้านบาท เมื่อเทียบ กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมี
กำไรสุทธิ 43.6 ล้านบาท และไตรมาสแรกของปีนี้มีขาดทุนสุทธิ 162.3 ล้านบาท บริษัทฯ
มีขาดทุนสิทธิ ในไตรมาสสองลดลงจากไตรมาสแรกอยู่ 28 ล้านบาท
ช่วงระหว่างเวลา 12 เดือนสิ้นสุดเดือน กันยายน 2548 มีความต้องการในรถจักรยานยนต์
สูงมาก และบริษัทฯได้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ไปเกินกว่าระดับที่บริษัทฯคาดการณ์ไว้ประมาณ
50,000 คันในขณะนั้น ลูกค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการชำระค่างวดตามกำหนด
บริษัทฯจึงได้จัดการกับบัญชีที่มีปัญหเหล่านั้นโดยเร็วด้วยการยึดคืนสินค้า การดำเนินการดังกล่าว
ส่งผลให้ยอดขายตกลงและขาดทุนจากการยึดสินค้าคืนสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ
ธุรกิจของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ
บริษัทฯได้ขยายขอบเขตการจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยง และควบคุมสถานการณ์ไม่ให้
เกิดขึ้นซ้ำอีก นอกจากนั้นได้มีการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงใหม่ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านสินเชื่อ
อย่างมาก เข้ามาเป็นผู้นำพาบริษัทฯช่วงรอยต่อนี้ โดยวางแผนลยุทธ์มาใช้เพื่อความเจริญ
เติบโตของบริษัทฯในอนาคต
บริษัทได้คาดการณ์แล้วว่ายอดขายของบริษัทฯจะลดลง อันเนื่องมาจากมาตรการปรับปรุง
คุณภาพลูกหนี้ผ่อนชำระซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ในใตรมาสสุดท้ายของปี 2548 โครงการปรับปรุง
คุณภาพลูกหนี้ดังกล่าว ได้ส่งผลให้บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกอย่าง
ต่อเนื่อง ถึง 185 ล้านบาทในไตรมาสสองของปี 2549 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกับปีก่อน
มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบอยู่ 620 ล้านบาท หมายความว่ากระแสเงินสดจาก
การดำเนินงานไตรมาสสองของปีนี้ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 805 ล้านบาท
ยอดขายสินค้าในไตรมาสสองเปรียบเทียบกันไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสแรก
ของปีนี้ สามารถแยกประเภทได้ดังนี้
ยอดขาย ไตรมาส 1 / 2549 ไตรมาส 2 / 2549 ไตรมาส 2 / 2548
รถจักรยานยนต์ใหม่ 235,845 65,083 542,834
รถจักรยานยนต์มีอสอง 164,849 100,805 532,126
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ 447,410 445,715 499,552
รวมยอดขาย (พันบาท) 848,104 611,603 1,574,512
ยอดยึดคืนสินค้า ไตรมาส 1 / 2549 ไตรมาส 2 / 2549 ไตรมาส 2 / 2548
รถจักรยานยนต์ -614,475 -314,293 -276,982
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ -157,003 -85,687 -93,529
รวมยอดยึดคืน (พันบาท) -771,478 -399,980 -370,511
ยอดขายสุทธิ 76,626 211,623 1,204,001
จากตารางดังกล่าวยอดขายสินค้าไตรมาสสองของบริษัทฯ ในส่วนของรถจักรยานยนต์
ลดลงมาก เนื่องจากการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อโดยต้องผ่านการอนุมัติจากส่วนกลาง
ตลอดจนการจำกัดการซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ เพื่อที่จะระบายรถจักรยานยนต์มือสองที่ยึดมาให้เร็วที่สุด
ในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้ามียอดจำหน่ายใกล้เคียงกับไตรมาสแรกของปี 2549 แต่ลดลง
11% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกับปีก่อน เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคลดลง
อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง
จากความไม่แน่นอนทางการเมืองตั้งแต่ต้นปี 2549
ด้านการยึดสินค้าคืนในไตรมาสที่สองของปี อยู่ที่ 400 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนอยู่ที่ 370.5
ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดยึดสินค้าคืนลดลง 371.5 ล้านบาท
เนื่องจากบัญชีที่มีปัญหาลดน้อยลงส่งผลให้ขาดทุนจากการยึดคืนสินค้าลดลงจาก 254.1 ล้านบาท
ในไตรมาสแรก มาอยู่ที่ 107.8 ล้านบาท ในไตรมาสสองนี้ หรือลดลง 146.3 ล้านบาท
กำไรเบื้องต้น ลดลง 186.7 ล้านบาท
กำไรเบื้องต้นอยู่ที่ 490.9 ล้านบาท (905.2-414.3) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อยู่ที่ 677.6 ล้านบาท (1,939.3-1,261.7) ลดลง 186.7 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบเป็น
อัตรากำไรเบื้องต้นปี 2549 อยู่ที่ 54.2% เทียบกับปี 2548 อยู่ที่ 34.9% สาเหตุหลักที่ปี
2549 มีอัตรากำไรเบื้องต้นที่ดีกว่าเนื่องจากสัดส่วนการขายของรถจักรยานยนต์น้อยกว่า
เครื่องใช้ไฟฟ้า กล่าวคืออยู่ที่ 27% ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 68% ซึ่งอัตรากำไร
เบื้องต้นของรถจักรยานยนต์จะต่ำกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ามาก
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร สูงขึ้น 4.7 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายผันแปรลดลงตามยอดขายที่ลดลง แต่การเพิ่มขึ้นของการตั้งสำรองหนี้สูญ
ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารโดยรวมใกล้เคียงกับช่วงเวลาเดียวกับปีก่อน
ดอกเบี้ยจ่าย เพิ่มขึ้น 15.8 ล้านบาท
สาเหตุหลักมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5.6% ในขณะที่ปีที่แล้ว
ในไตรมาสเดียวกันอยู่ที่ 3.0% ส่งผลให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น 18.7 ล้านบาท แต่ยอดเงินกู้ได้ลดลง
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549 อยู่ที่ 2,794.4 ล้านบาท เมื่อเทียบกันสิ้นเดือน มิถุนายนของ
ปี 2548 อยู่ที่ 3,320.4 ล้านบาท ส่งผลให้ดอกเบี้ย ลดลง 2.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นสุทธิ
15.8 ล้านบาท (18.7- 2.9)
ลูกหนี้ผ่อนชำระและลูกหนี้อื่น - สุทธิ
ลดลง จาก 4,706 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2548 มาอยู่ที่ 3,850.4 ล้านบาท ณ สิ้น
เดือนมิถุนายน 2549 ยอดที่ลดลงเป็นผลของมาตรการต่าง ๆ ที่ฝ่ายบริหารได้ดำเนินการ
ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
สินค้าคงเหลือสุทธิ
ยอดที่เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว จำนวนเงิน 217.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก
ของปีนี้ 64.8 ล้านบาทสาเหตุหลักมาจากการยึดคืนสินค้า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2549
บริษัทฯ มีรถจักรยานยนต์มือสองคงเหลือประมาณ 30,000 คัน บริษัทฯได้มุ่งเน้นการขาย
รถจักรยานยนต์มือสองดังกล่าวผ่านเครือข่ายการขายปกติ และช่องทางการจำหน่ายใหม่ ๆ
รวมถึงการขายเป็นปริมาณมาก ๆ เพื่อที่จะลดปริมาณรถจักรยานยนต์มือสองให้ได้ผลใน
ไตรมาสสามต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 กรณีที่ราคาตลาดรถจักรยานยนต์มือสอง
ลดลงมากอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำกำไรของบริษัทฯในเดือนถัดไป
หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
บริษัทฯมีหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2549 อยู่ที่ 1.77
เมื่อเทียบกันสิ้นปี 2548 และสิ้นไตรมาสแรกอยู่ที่ 1.72
ฝ่ายบริหารเข้าใจดีว่าบริษัทฯมีเครือข่ายการกระจายสินค้าครอบคลุมตลาดภูมิภาคทั่ว
ประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุด จึงได้ใช้จุดแข็งนี้ในการวางกลยุทธ์ ในปัจจุบันดังนี้:
กำหนดให้บริษัทฯ เป็นผู้จัดหน่ายสินค้าด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในตลาดส่วนภูมิภาค
ออกสินค้าใหม่ และบริการ ใหม่ ๆ นำเสนอต่อฐานลูกค้าในปัจจุบัน
เสนอจุดแข็งของการขายและบริการนี้ให้กับบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องการใช้โครงข่ายของ
บริษัทซิงเกอร์ในการกระจายสินค้า
จึงเรียนมาเพื่อชี้แจงข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อผลประกอบการและฐานะการเงินของบริษัทฯ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป แสงหิรัญวัฒนา)
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 6
ต่อด้วยฉากที่ 3 ในเวลาต่อมา
ที่ ห.ท.052/2549
วันที่ 15 สิงหาคม 2549
เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการ
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมคณะ
กรรมการบริษัท ฯ ครั้งที่ 163 ในวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์
แต่งตั้ง นายเดเนียล ไมเคิล ฟิลิโปเน่ เป็นกรรมการและมีอำนาจลงลายมือชื่อบริษัท
แทนคุณยงยุทธ บุญเปกข์ตระกูล โดยมีผลวันที่ที่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว
สรุปชื่อและจำนวนกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ แทนบริษัท ฯ มีดังนี้
1. นายขวัญชัย โหมดประดิษฐ์
2. นายเดเนียล ไมเคิล ฟิลิโปเน่
3. นายประทีป แสงหิรัญวัฒนา
สองในสามคนนี้ ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ฯ
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
ที่ ห.ท.052/2549
วันที่ 15 สิงหาคม 2549
เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการ
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีการประชุมคณะ
กรรมการบริษัท ฯ ครั้งที่ 163 ในวันที่ 15 สิงหาคม 2549 ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์
แต่งตั้ง นายเดเนียล ไมเคิล ฟิลิโปเน่ เป็นกรรมการและมีอำนาจลงลายมือชื่อบริษัท
แทนคุณยงยุทธ บุญเปกข์ตระกูล โดยมีผลวันที่ที่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว
สรุปชื่อและจำนวนกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ แทนบริษัท ฯ มีดังนี้
1. นายขวัญชัย โหมดประดิษฐ์
2. นายเดเนียล ไมเคิล ฟิลิโปเน่
3. นายประทีป แสงหิรัญวัฒนา
สองในสามคนนี้ ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ฯ
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 7
และฉากสุดท้าย ณ วันนี้ แต่ต้องดูฉากต่อไปในไตรมาสที่จะถึงนี้ครับ
ที่ ห.ท.057/2549
วันที่ 22 สิงหาคม 2549
เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จากการประชุมคณะกรรมการบริษัท ฯ ครั้งที่ 163 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่
15 สิงหาคม 2549 อ้างถึงเอกสารเลขที่ ห.ท.052/2549 ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้ง
นายเดเนียล ไมเคิล ฟิลิโปเน่ เป็นกรรมการและมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทฯ
โดยมีผลตั้งแต่วันที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2549
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
ที่ ห.ท.057/2549
วันที่ 22 สิงหาคม 2549
เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จากการประชุมคณะกรรมการบริษัท ฯ ครั้งที่ 163 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่
15 สิงหาคม 2549 อ้างถึงเอกสารเลขที่ ห.ท.052/2549 ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้ง
นายเดเนียล ไมเคิล ฟิลิโปเน่ เป็นกรรมการและมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทฯ
โดยมีผลตั้งแต่วันที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2549
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 8
แล้วคิดว่ามันจะดีขึ้นเพราะอะไรหรอครับ ผมยังมองมันมืดมนมากเลยครับ
เพราะรากหญ้าน้ำท่วมและได้ทำประกันพืชผลไว้ เลยมีเงินมาผ่อนไม่กลายเป็นหนี้เสีย?
หรือเพราะชาวบ้านมอเตอร์ไซค์เสียหายต้องซื้อเรือผ่อนกับทาง SINGER -_-'
เพราะรากหญ้าน้ำท่วมและได้ทำประกันพืชผลไว้ เลยมีเงินมาผ่อนไม่กลายเป็นหนี้เสีย?
หรือเพราะชาวบ้านมอเตอร์ไซค์เสียหายต้องซื้อเรือผ่อนกับทาง SINGER -_-'
_________
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 9
ถ้าหากผมจะลองทำตัวเป็นผู้บริหารใหม่ของ Singer สิ่งที่ผมต้องทำไปพร้อม ๆ กันก็คือ
1. ประเมินความเสียหายที่แท้จริง และลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในอดีตให้เร็วที่สุด สำรองให้มากเพื่อให้สะท้อนคุณภาพของ Asset ที่แท้จริง พร้อมกับทำเรื่องการติดตามหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ให้เร็วที่สุด ตรงนี้คือการหยุดเลือดไหลออก
2. ต้องเร่งสร้าง รายได้เข้ามาใหม่ โดยใช้จุดแข็งที่มีอยู่ คือ เครือข่ายสาขาที่มีอยู่ และจะทำ Model ธุรกิจอะไร ก็ต้องเร่งดำเนินการหารายได้เข้ามาให้มากขึ้น ตรงหนี้คือการเพิ่มเลือดดีเข้าไป
3. อุดรูความเสี่ยงในอดีต โดยเฉพาะเรื่องการบริหารความเสี่ยง ทำไมถึงเกิดความเสียหายหนักในช่วงนี้ โดยไม่มีการสำรองความเสี่ยงที่เพียงพอ หรือทำไมถึงอนุมัติสินเชื่อประเภทใหม่ ๆ เน้นการเพิ่มรายได้มาก ๆ แต่มีความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียมาก ๆ ตรงนี้ต้องมีการทบทวนตั้งแต่ระบบการอนุมัติสินเชื่อ การติดตามหนี้ การสำรองหนี้ให้เพียงพอ เป็นต้น
แนวโน้มของธุรกิจนี้ต่อไปก็คือ
1. ต้องหยุดเลือดไหลออกให้ได้ Trend ตรงนี้ชัดหรือยัง หรือจะยังทรุดตัวต่อไป ผมดูสัญญาณง่าย ๆ คนเก่าที่เป็น กรรมการผู้จัดการ เพิ่งเกษียณ คนใหม่เข้ามาทำงานไม่ถึงหนึ่งปีก็ออก แล้วก็มีคนใหม่เข้ามาจัดการตรงนี้ ต้องดูว่าทีมใหม่จะทำตรงนี้ได้ดีเพียงใด
2. หยุดแล้ว จะ Breakevenpoint เมื่อใด ทั้งการดำเนินงาน และการบริหารสินเชื่อรายย่อย
3. จะเริ่มกลับมาทำกำไรได้เมื่อไร แนวโน้มตรงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไร
ถ้ายังประเมินตรงนี้ไม่ได้คือความเสี่ยงครับ เพราะไม่รู้ว่าจะมีแมลงสาบ ออกมาจากนี้หมดหรือยังครับ ดังนั้นถ้าจะเล่น Turnaround Stock ประเมินความเสี่ยงตรงนี้ได้ชัดเจนหรือยัง ผมยังไม่ได้แกะงบการเงิน แต่อย่างให้ดูคุณภาพของหนี้ว่าเป็นอย่างไร ดูคุณภาพของสินค้าคงเหลือ ขายน้อย ด้อยค่ามากขึ้นหรือไม่ เพราะสินค้าหลักหลาย ๆ ตัวอาจเสื่อมสภาพเร็ว แถมไปยึดสินค้าคืน ถ้าออกของได้ช้า ก็จะเสียหายตามมาอีกครับ ช่วงนี้บริหารงานยากมาก ๆ ต้องดูว่า ผู้บริหารชุดใหม่จะทำอย่างไรต่อไปครับ :D
1. ประเมินความเสียหายที่แท้จริง และลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในอดีตให้เร็วที่สุด สำรองให้มากเพื่อให้สะท้อนคุณภาพของ Asset ที่แท้จริง พร้อมกับทำเรื่องการติดตามหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ให้เร็วที่สุด ตรงนี้คือการหยุดเลือดไหลออก
2. ต้องเร่งสร้าง รายได้เข้ามาใหม่ โดยใช้จุดแข็งที่มีอยู่ คือ เครือข่ายสาขาที่มีอยู่ และจะทำ Model ธุรกิจอะไร ก็ต้องเร่งดำเนินการหารายได้เข้ามาให้มากขึ้น ตรงหนี้คือการเพิ่มเลือดดีเข้าไป
3. อุดรูความเสี่ยงในอดีต โดยเฉพาะเรื่องการบริหารความเสี่ยง ทำไมถึงเกิดความเสียหายหนักในช่วงนี้ โดยไม่มีการสำรองความเสี่ยงที่เพียงพอ หรือทำไมถึงอนุมัติสินเชื่อประเภทใหม่ ๆ เน้นการเพิ่มรายได้มาก ๆ แต่มีความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียมาก ๆ ตรงนี้ต้องมีการทบทวนตั้งแต่ระบบการอนุมัติสินเชื่อ การติดตามหนี้ การสำรองหนี้ให้เพียงพอ เป็นต้น
แนวโน้มของธุรกิจนี้ต่อไปก็คือ
1. ต้องหยุดเลือดไหลออกให้ได้ Trend ตรงนี้ชัดหรือยัง หรือจะยังทรุดตัวต่อไป ผมดูสัญญาณง่าย ๆ คนเก่าที่เป็น กรรมการผู้จัดการ เพิ่งเกษียณ คนใหม่เข้ามาทำงานไม่ถึงหนึ่งปีก็ออก แล้วก็มีคนใหม่เข้ามาจัดการตรงนี้ ต้องดูว่าทีมใหม่จะทำตรงนี้ได้ดีเพียงใด
2. หยุดแล้ว จะ Breakevenpoint เมื่อใด ทั้งการดำเนินงาน และการบริหารสินเชื่อรายย่อย
3. จะเริ่มกลับมาทำกำไรได้เมื่อไร แนวโน้มตรงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไร
ถ้ายังประเมินตรงนี้ไม่ได้คือความเสี่ยงครับ เพราะไม่รู้ว่าจะมีแมลงสาบ ออกมาจากนี้หมดหรือยังครับ ดังนั้นถ้าจะเล่น Turnaround Stock ประเมินความเสี่ยงตรงนี้ได้ชัดเจนหรือยัง ผมยังไม่ได้แกะงบการเงิน แต่อย่างให้ดูคุณภาพของหนี้ว่าเป็นอย่างไร ดูคุณภาพของสินค้าคงเหลือ ขายน้อย ด้อยค่ามากขึ้นหรือไม่ เพราะสินค้าหลักหลาย ๆ ตัวอาจเสื่อมสภาพเร็ว แถมไปยึดสินค้าคืน ถ้าออกของได้ช้า ก็จะเสียหายตามมาอีกครับ ช่วงนี้บริหารงานยากมาก ๆ ต้องดูว่า ผู้บริหารชุดใหม่จะทำอย่างไรต่อไปครับ :D
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 10
วิเคราะห์ได้เห็นภาพจริงๆครับ
แต่ทว่าผมมองว่ามีกำไรก็ต้องมีขาดทุนบ้างครับ
ส่วนที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรมาตลอด แต่ครั้งนี้ที่ขาดทุนคงเป็นเพราะเรื่องรากหญ้าไม่มีเงินผ่อนค่างวด ทาง บ. เลยยึดสินค้ากลับมา เช่น มอเตอร์ไซด์ และอื่นๆ กลับมาเลยทำให้รายได้ลดลงและ ขาดทุน แต่ทว่าบริษัทนำสินค้าที่ยึดมากลับไปขายได้ก็จะทำให้มีเงินกลับเข้ามาในส่วนตรงนี้ ผมมองว่าทุกๆธุรกิจมีความเสียงที่ไม่อาจคาดการณ์ไดทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราจะรับมือเตรียมพร้อมกับสถานการณ์นั้นอย่างไร ขึ้นยอู่กับผู้บริหารว่าเก่งเพียงใด แต่ผมก็ยังเชื่อว่าธุรกิจเช่าซื้อก็จะยังคงอยู่ในสังคมไทยตลอดไปอยู่ดี เช่น mida tk singer แต่ที่ชอบsinger เพราะว่าดูแล้วธุรกิจมีลูกเล่นอื่นๆที่สามารถรองรับธุรกิจอื่นๆได้อีกเพราะมีทีมขาย direct sale ที่เข็มแข็งครับ
บวกกับงบการเงินที่แข็งแกร่งจริงๆ
ขอบคุณสำหรับทุกๆความเห็นครับ
แต่ทว่าผมมองว่ามีกำไรก็ต้องมีขาดทุนบ้างครับ
ส่วนที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรมาตลอด แต่ครั้งนี้ที่ขาดทุนคงเป็นเพราะเรื่องรากหญ้าไม่มีเงินผ่อนค่างวด ทาง บ. เลยยึดสินค้ากลับมา เช่น มอเตอร์ไซด์ และอื่นๆ กลับมาเลยทำให้รายได้ลดลงและ ขาดทุน แต่ทว่าบริษัทนำสินค้าที่ยึดมากลับไปขายได้ก็จะทำให้มีเงินกลับเข้ามาในส่วนตรงนี้ ผมมองว่าทุกๆธุรกิจมีความเสียงที่ไม่อาจคาดการณ์ไดทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราจะรับมือเตรียมพร้อมกับสถานการณ์นั้นอย่างไร ขึ้นยอู่กับผู้บริหารว่าเก่งเพียงใด แต่ผมก็ยังเชื่อว่าธุรกิจเช่าซื้อก็จะยังคงอยู่ในสังคมไทยตลอดไปอยู่ดี เช่น mida tk singer แต่ที่ชอบsinger เพราะว่าดูแล้วธุรกิจมีลูกเล่นอื่นๆที่สามารถรองรับธุรกิจอื่นๆได้อีกเพราะมีทีมขาย direct sale ที่เข็มแข็งครับ
บวกกับงบการเงินที่แข็งแกร่งจริงๆ
ขอบคุณสำหรับทุกๆความเห็นครับ
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 11
ผมว่ายึดกลับมามันจะขายมือสองได้จริงหรอครับ?kisana เขียน:วิเคราะห์ได้เห็นภาพจริงๆครับ
แต่ทว่าผมมองว่ามีกำไรก็ต้องมีขาดทุนบ้างครับ
ส่วนที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรมาตลอด แต่ครั้งนี้ที่ขาดทุนคงเป็นเพราะเรื่องรากหญ้าไม่มีเงินผ่อนค่างวด ทาง บ. เลยยึดสินค้ากลับมา เช่น มอเตอร์ไซด์ และอื่นๆ กลับมาเลยทำให้รายได้ลดลงและ ขาดทุน แต่ทว่าบริษัทนำสินค้าที่ยึดมากลับไปขายได้ก็จะทำให้มีเงินกลับเข้ามาในส่วนตรงนี้ ผมมองว่าทุกๆธุรกิจมีความเสียงที่ไม่อาจคาดการณ์ไดทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราจะรับมือเตรียมพร้อมกับสถานการณ์นั้นอย่างไร ขึ้นยอู่กับผู้บริหารว่าเก่งเพียงใด แต่ผมก็ยังเชื่อว่าธุรกิจเช่าซื้อก็จะยังคงอยู่ในสังคมไทยตลอดไปอยู่ดี เช่น mida tk singer แต่ที่ชอบsinger เพราะว่าดูแล้วธุรกิจมีลูกเล่นอื่นๆที่สามารถรองรับธุรกิจอื่นๆได้อีกเพราะมีทีมขาย direct sale ที่เข็มแข็งครับ
บวกกับงบการเงินที่แข็งแกร่งจริงๆ
ขอบคุณสำหรับทุกๆความเห็นครับ
คิดดูเดี๋ยวนี้ซื้อมอเตอร์ไซค์มือหนึ่งดาวน์เท่าไรกันเอง
แล้วทำไมเขาถึงจะซื้อมือสองที่ราคาต่างกันนิดเดียว
รอมันมีสัญญาณ Turn ก่อนอย่างชัดเจนน่าจะไม่สายนะครับ
ยิ่งน้ำท่วมอย่างนี้กำลังซื้อหดแน่ๆ
_________
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 14
ที่ว่าแข็งแกร่งนั้นส่วนไหน ยังไงบ้างครับ ช่วยสงเคราะห็เป็นวิทยาทานให้viมือใหม่ด้วยครับkisana เขียน:วิเคราะห์ได้เห็นภาพจริงๆครับ
แต่ทว่าผมมองว่ามีกำไรก็ต้องมีขาดทุนบ้างครับ
ส่วนที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรมาตลอด แต่ครั้งนี้ที่ขาดทุนคงเป็นเพราะเรื่องรากหญ้าไม่มีเงินผ่อนค่างวด ทาง บ. เลยยึดสินค้ากลับมา เช่น มอเตอร์ไซด์ และอื่นๆ กลับมาเลยทำให้รายได้ลดลงและ ขาดทุน แต่ทว่าบริษัทนำสินค้าที่ยึดมากลับไปขายได้ก็จะทำให้มีเงินกลับเข้ามาในส่วนตรงนี้ ผมมองว่าทุกๆธุรกิจมีความเสียงที่ไม่อาจคาดการณ์ไดทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราจะรับมือเตรียมพร้อมกับสถานการณ์นั้นอย่างไร ขึ้นยอู่กับผู้บริหารว่าเก่งเพียงใด แต่ผมก็ยังเชื่อว่าธุรกิจเช่าซื้อก็จะยังคงอยู่ในสังคมไทยตลอดไปอยู่ดี เช่น mida tk singer แต่ที่ชอบsinger เพราะว่าดูแล้วธุรกิจมีลูกเล่นอื่นๆที่สามารถรองรับธุรกิจอื่นๆได้อีกเพราะมีทีมขาย direct sale ที่เข็มแข็งครับ
บวกกับงบการเงินที่แข็งแกร่งจริงๆ
ขอบคุณสำหรับทุกๆความเห็นครับ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 715
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 15
ขวัญชัย โหมดประดิษฐ์ กรรมการผู้จัดการคนใหม่
ผมงง กับนามสกุลยังเลยนะครับ คำว่า โหมด น่าจะเป็นทัพศัพท์กับคำว่า Mode
ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ไหง มาเป็นนามสกุลคนไทยได้ ? หรือว่าคำว่า โหมด
จริงๆแล้วก็มีความหมายในภาษาไทยของเราเอง ?
นอกเรื่องแล้วแหะ :D
ผมงง กับนามสกุลยังเลยนะครับ คำว่า โหมด น่าจะเป็นทัพศัพท์กับคำว่า Mode
ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ไหง มาเป็นนามสกุลคนไทยได้ ? หรือว่าคำว่า โหมด
จริงๆแล้วก็มีความหมายในภาษาไทยของเราเอง ?
นอกเรื่องแล้วแหะ :D
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 16
ที่ผมเคยแสดงความเห็นไว้ ขอลงรายละเอียดเพิ่มเติมนะครับ เพื่อเป็นข้อมูลไว้ใช้แสดงความเห็นเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดกันต่อไปครับ มีเวลาเลยลองทำการบ้านเพื่อความบันเทิงครับ
การขาดทุนของ Singer ในงวด 6 เดือนที่ผ่านมา ผมลองอ่านงบการเงินมีประเด็นที่น่าสนใจ 3 รายการต่อไปนี้ ที่ต้องดูใกล้ชิดต่อไป(ผมเข้าไปอ่านงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสดครับ) ซึ่งผมขอสรุปเป็นประเด็นสำคัญให้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การขาดทุนส่วนหนึ่งมาจาก ธุรกิจของ Singer นั้น การขายสินค้ากว่า 80% เป็นสินค้าเงินผ่อน และกว่า 58% ของสินค้าเงินผ่อน เป็น รถจักรยานยนต์ ตาม Model ใหม่ ที่หันมาเน้นการขายรถจักรยานยนต์ มากกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าแบบธุรกิจดั้งเดิม ดังนั้น การมองธุรกิจ Singer จึงต้องมองแบบ Non Bank ประกอบคือ เป็นธุรกิจเงินผ่อนครับ ซึ่งธุรกิจแบบนี้ ต้องดูคุณภาพสินเชื่อเงินผ่อนประกอบ
ซึ่งจากข้อมูลงบการเงิน singer ได้ให้รายละเอียดไว้ดังนี้
ยอดลูกหนี้ผ่อนชำระคงเหลือ โดยแยกตามจำนวนเดือนที่ค้างชำระ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 และ 31 ธันวาคม 2548 ประกอบด้วย
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
30 มิถุนายน 2549 31 ธันวาคม 2548 30 มิถุนายน 2549 31 ธันวาคม 2548
(พันบาท)
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 เดือน 3,275,265 4,266,308 3,275,470 4,266,249
มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 473,263 365,475 473,263 365,475
มากกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน 290,017 200,809 290,017 200,809
มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 130,499 84,374 130,499 84,374
ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ 43,059 43,059 43,059 43,059
ลูกหนี้ผ่อนชำระ 4,212,103 4,960,025 4,212,308 4,959,966
จากข้อมูลงบการเงิน ผมพอสรุปได้ดังนี้
คุณภาพ สินเชื่อ ที่ค้างชำระน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 เดือน ปัจจุบัน มีสัดส่วนอยู่ที่ 77% เมื่อเทียบกับ ปี 48 ซึ่งอยู่ที่ 86% แสดงให้เห็นว่า คุณภาพหนี้ แย่ลงกว่าเดิม เกือบ 9% และหากมองคุณภาพหนี้ ที่ค้างมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ปรากฏว่า คุณภาพหนี้ที่ค้างชำระเกิน 3 เดือน ในทุกระดับชั้น ก็มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นไปตามลำดับ โดยดูจากการไหลของลูกหนี้ค้างชำระ 6 เดือน 12 เดือน และมากกว่า 12 เดือน มีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย แสดงให้เห็นว่า ยังหยุดการไหลของเลือดไม่ดีไม่ได้ และมีแนวโน้มที่ลูกหนี้จะจ่ายชำระหนี้ได้น้อยลงไปด้วย สิ่งที่ผมยังเป็นห่วงเพิ่มขึ้นตามความเห็นผมนะครับ คือ การตามหนี้นั้นปกติถ้าเป็นหนี้ที่เสียไม่มากจะติดตามได้ง่ายในช่วงต้น แต่ยิ่งทิ้งไว้เป็นเวลานาน หนี้ส่วนหลัง ๆ จะติดตามได้ยากขึ้น และมีโอกาสที่จะเสียหายสูงขึ้นครับ
ผลของคุณภาพหนี้ที่ด้อยลงนั้น ส่งผล 2 ด้านคือ
1. ในด้านการรับรู้รายได้จากดอกเบี้ยรับ 6 เดือนแรกเทียบกันระหว่างปี 49 กับ ปี 48รับรู้รายได้ลดลงไป 106 ล้านบาท(605 711) และหากมองดูรายได้ช่วง ไตรมาส 2 เทียบกับปีที่แล้วด้วยกัน ลดไปถึง 86 ล้านบาท
2. อีกด้านหนึ่ง คือ เมื่อคุณภาพหนี้แย่ลง ก็ต้องมีการสำรองค่าเผื่อหนี้สูญเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่ง 6 เดือนแรกปี 49 ต้องตั้งสำรองหนี้เพิ่มขึ้นจำนวน 110 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 48 ครับ
การขาดทุนของ Singer ในงวด 6 เดือนที่ผ่านมา ผมลองอ่านงบการเงินมีประเด็นที่น่าสนใจ 3 รายการต่อไปนี้ ที่ต้องดูใกล้ชิดต่อไป(ผมเข้าไปอ่านงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสดครับ) ซึ่งผมขอสรุปเป็นประเด็นสำคัญให้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การขาดทุนส่วนหนึ่งมาจาก ธุรกิจของ Singer นั้น การขายสินค้ากว่า 80% เป็นสินค้าเงินผ่อน และกว่า 58% ของสินค้าเงินผ่อน เป็น รถจักรยานยนต์ ตาม Model ใหม่ ที่หันมาเน้นการขายรถจักรยานยนต์ มากกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าแบบธุรกิจดั้งเดิม ดังนั้น การมองธุรกิจ Singer จึงต้องมองแบบ Non Bank ประกอบคือ เป็นธุรกิจเงินผ่อนครับ ซึ่งธุรกิจแบบนี้ ต้องดูคุณภาพสินเชื่อเงินผ่อนประกอบ
ซึ่งจากข้อมูลงบการเงิน singer ได้ให้รายละเอียดไว้ดังนี้
ยอดลูกหนี้ผ่อนชำระคงเหลือ โดยแยกตามจำนวนเดือนที่ค้างชำระ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 และ 31 ธันวาคม 2548 ประกอบด้วย
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
30 มิถุนายน 2549 31 ธันวาคม 2548 30 มิถุนายน 2549 31 ธันวาคม 2548
(พันบาท)
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 เดือน 3,275,265 4,266,308 3,275,470 4,266,249
มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 473,263 365,475 473,263 365,475
มากกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน 290,017 200,809 290,017 200,809
มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 130,499 84,374 130,499 84,374
ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ 43,059 43,059 43,059 43,059
ลูกหนี้ผ่อนชำระ 4,212,103 4,960,025 4,212,308 4,959,966
จากข้อมูลงบการเงิน ผมพอสรุปได้ดังนี้
คุณภาพ สินเชื่อ ที่ค้างชำระน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 เดือน ปัจจุบัน มีสัดส่วนอยู่ที่ 77% เมื่อเทียบกับ ปี 48 ซึ่งอยู่ที่ 86% แสดงให้เห็นว่า คุณภาพหนี้ แย่ลงกว่าเดิม เกือบ 9% และหากมองคุณภาพหนี้ ที่ค้างมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ปรากฏว่า คุณภาพหนี้ที่ค้างชำระเกิน 3 เดือน ในทุกระดับชั้น ก็มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นไปตามลำดับ โดยดูจากการไหลของลูกหนี้ค้างชำระ 6 เดือน 12 เดือน และมากกว่า 12 เดือน มีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นด้วย แสดงให้เห็นว่า ยังหยุดการไหลของเลือดไม่ดีไม่ได้ และมีแนวโน้มที่ลูกหนี้จะจ่ายชำระหนี้ได้น้อยลงไปด้วย สิ่งที่ผมยังเป็นห่วงเพิ่มขึ้นตามความเห็นผมนะครับ คือ การตามหนี้นั้นปกติถ้าเป็นหนี้ที่เสียไม่มากจะติดตามได้ง่ายในช่วงต้น แต่ยิ่งทิ้งไว้เป็นเวลานาน หนี้ส่วนหลัง ๆ จะติดตามได้ยากขึ้น และมีโอกาสที่จะเสียหายสูงขึ้นครับ
ผลของคุณภาพหนี้ที่ด้อยลงนั้น ส่งผล 2 ด้านคือ
1. ในด้านการรับรู้รายได้จากดอกเบี้ยรับ 6 เดือนแรกเทียบกันระหว่างปี 49 กับ ปี 48รับรู้รายได้ลดลงไป 106 ล้านบาท(605 711) และหากมองดูรายได้ช่วง ไตรมาส 2 เทียบกับปีที่แล้วด้วยกัน ลดไปถึง 86 ล้านบาท
2. อีกด้านหนึ่ง คือ เมื่อคุณภาพหนี้แย่ลง ก็ต้องมีการสำรองค่าเผื่อหนี้สูญเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่ง 6 เดือนแรกปี 49 ต้องตั้งสำรองหนี้เพิ่มขึ้นจำนวน 110 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 48 ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 17
ประเด็นที่ 2 สำหรับสินค้าคงเหลือครับ ขายได้น้อยลง แต่มีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นครับ ตามข้อมูลตรงนี้ครับ
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
30 มิถุนายน 2549 31 ธันวาคม 2548 30 มิถุนายน 2549 31 ธันวาคม 2548
(พันบาท)
อะไหล่ส่วนประกอบ 40,414 47,241 40,414 47,241
สินค้าสำเร็จรูป 1,033,778 788,414 1,033,778 788,414
หัก ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคุณภาพและเสียหาย (102,000) (81,340) (102,000) (81,340)
รวม 972,192 754,315 972,192 754,315
การมีสินค้าคงเหลือในรูปสินค้าสำเร็จรูปที่สูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบในเรื่อง การตั้งค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคุณาภพและเสียหาย สูงขึ้นตามไปด้วย งวด 6 เดือน ตั้งค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคุณภาพ เกือบ 102 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20 ล้านบาทครับ
แต่เนื่องจากการตั้งค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคุณภาพนั้นไม่ได้สะท้อนเฉพาะ สินค้าที่ซื้อมาแต่ขายไม่ได้เท่านั้น บริษัทยังมีการติดตามหนี้จากลูกหนี้ที่ค้างชำระซึ่งไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ให้กับบริษัทได้ ผลการติดตามเพื่อยึดทรัพย์มาขาย หากไปดูในงบกำไรขาดทุน จะพบว่า รายการนี้มีค่าใช้จ่ายจากขาดทุนจากการยึดคืนสินค้าสูงถึง 107 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสินปี 48 ที่อยู่ที่ 95 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่า เมื่อคุณภาพหนี้แย่ลง และบริษัทติดตามสินค้าคืนมาได้ สินค้าดังกล่าวที่ยึดคืนมามีแนวโน้มที่ราคาจะลดลงมากพอควร ผมไม่แน่ใจว่า บริษัทตามสินทรัพย์คืนมาได้เท่าไร จากทุนทรัพย์ที่กู้ และมูลค่าที่ยึดมาได้ครับ
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
30 มิถุนายน 2549 31 ธันวาคม 2548 30 มิถุนายน 2549 31 ธันวาคม 2548
(พันบาท)
อะไหล่ส่วนประกอบ 40,414 47,241 40,414 47,241
สินค้าสำเร็จรูป 1,033,778 788,414 1,033,778 788,414
หัก ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคุณภาพและเสียหาย (102,000) (81,340) (102,000) (81,340)
รวม 972,192 754,315 972,192 754,315
การมีสินค้าคงเหลือในรูปสินค้าสำเร็จรูปที่สูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบในเรื่อง การตั้งค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคุณาภพและเสียหาย สูงขึ้นตามไปด้วย งวด 6 เดือน ตั้งค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคุณภาพ เกือบ 102 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20 ล้านบาทครับ
แต่เนื่องจากการตั้งค่าเผื่อสินค้าเสื่อมคุณภาพนั้นไม่ได้สะท้อนเฉพาะ สินค้าที่ซื้อมาแต่ขายไม่ได้เท่านั้น บริษัทยังมีการติดตามหนี้จากลูกหนี้ที่ค้างชำระซึ่งไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ให้กับบริษัทได้ ผลการติดตามเพื่อยึดทรัพย์มาขาย หากไปดูในงบกำไรขาดทุน จะพบว่า รายการนี้มีค่าใช้จ่ายจากขาดทุนจากการยึดคืนสินค้าสูงถึง 107 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสินปี 48 ที่อยู่ที่ 95 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่า เมื่อคุณภาพหนี้แย่ลง และบริษัทติดตามสินค้าคืนมาได้ สินค้าดังกล่าวที่ยึดคืนมามีแนวโน้มที่ราคาจะลดลงมากพอควร ผมไม่แน่ใจว่า บริษัทตามสินทรัพย์คืนมาได้เท่าไร จากทุนทรัพย์ที่กู้ และมูลค่าที่ยึดมาได้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 18
ประเด็นที่ 3 ซึ่งผมคิดว่าเป็นตัวเลขที่น่าสนใจเหมือนกันคือ การขายสินค้าเป็นเงินผ่อนนั้น บริษัทต้องไปกู้ยืมมาปล่อยเหมือนกัน ไม่ใช่เอาเงินของบริษัทมาปล่อยเอง โดยดอกเบี้ยจ่าย 6 เดือนแรกต้องจายดอกเบี้ยจ่าย 78 ล้านบาท ซึ่งต้องจ่ายเพิ่มขึ้น 36 ล้านบาท จากเดิมปีที่แล้วจ่ายเพียง 42 ล้านบาท หรือจ่ายเพิ่มขึ้นเกือบ 85% ทีเดียวครับ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทจะมีผลขาดทุนค่อนข้างมาก แต่เนื่องจากบริษัทเคยทำกำไรสะสมไว้ในอดีตค่อนข้างมาก จนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นปัจจุบันอยู่สูงถึง 2001 ล้านบาท และมีกำไรสะสมมากถึง 1388 ล้านบาท
ประเด็นนี้ จึงต้องดูว่าเงินทุนที่มีอยู่ จะสามารถลองรับความเสียหายกับขนาดของลูกหนี้กว่า 3850 ล้านบาท กับยอดหนี้ระยะสั้นและระยะยาวกว่า 3542 ล้านบาท ซึ่งความยุ่งยากของบริษัท คือ ต้องบริหาร Operation Risk ให้สามารถ Breakeven Point ได้เร็วเพียงใด และยังต้องบริหาร Financial Risk จากยอดหนี้ระยะสั้นและระยะยาวกว่า 3542 ล้านบาทครับ
สำหรับรายละเอียดหนี้ที่ค้างชำระ และดอกเบี้ยจ่าย อยู่ในรายละเอียดตามนี้ครับ
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2 549 เงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศไทย จำนวนเงิน 2,794 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2548: 3,280 ล้านบาท) มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.80 ถึงร้อยละ 7.75 ต่อปี (31 ธันวาคม 2548: ร้อยละ 2.88 ถึงร้อยละ 5.25) เงินกู้ดังกล่าวมีกำหนดชำระคืนเงินต้นตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี
ในระหว่างปี 2549 บริษัทได้รับเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินซึ่งได้รวมอยู่ในยอดคงเหลือข้างต้น ดังนี้
1. ตั๋วสัญญาใช้เงินแก่สถาบันการเงินในประเทศแห่งหนึ่งในวงเงิน 300 ล้านบาทเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 บริษัทสัญญาจะจ่ายคืนเงินจำนวน 200 ล้านบาทในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552 และจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี
2. สัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศแห่งหนึ่งในวงเงิน 200 ล้านบาทเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549 ภายใต้ข้อตกลงของสัญญา บริษัทจะต้องเบิกเงินกู้ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2549 บริษัทจะต้องจ่ายชำระเงินต้นเป็นรายงวด 3 เดือน จำนวน 12 งวด โดยงวดที่ 1 - 11 ชำระงวดละ 16.67 ล้านบาท และ งวดที่ 12 ชำระงวดละ 16.63 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยสำหรับช่วงระยะเวลา 1 ปีแรกนับจากวันเบิกเงินกู้งวดแรกเป็นอัตราร้อยละ 6.25 ต่อปี และช่วงระยะเวลาปีที่ 2 และ 3 นับจากวันเบิกใช้เงินกู้งวดแรกเป็นอัตราร้อยละ MLR ลบด้วยส่วนผลประโยชน์ร้อยละ 1.0 ต่อปี
3. สัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศแห่งหนึ่งในวงเงิน 300 ล้านบาทเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ภายใต้ข้อตกลงของสัญญา บริษัทจะต้องจ่ายชำระเงินต้นเป็นรายเดือน จำนวน 36 งวด ชำระงวดละ 8.33 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่เดือนที่มีการเบิกเงินกู้งวดแรก ในอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 7.75 ต่อปี
ซึ่งสังเกตได้ว่า บริษัทพยายามแก้ไขปัญหา Financial Risk ด้วยการชำระหนี้หมุนเวียนระยะสั้นคือลดวงเงินเบิกเกินบัญชี ซึ่งลดไปกว่า 700 ล้านบาท และหาทาง Refinace หนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ ให้ Roll ออกไป และกู้เพิ่มประมาณ 120 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทจะมีผลขาดทุนค่อนข้างมาก แต่เนื่องจากบริษัทเคยทำกำไรสะสมไว้ในอดีตค่อนข้างมาก จนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นปัจจุบันอยู่สูงถึง 2001 ล้านบาท และมีกำไรสะสมมากถึง 1388 ล้านบาท
ประเด็นนี้ จึงต้องดูว่าเงินทุนที่มีอยู่ จะสามารถลองรับความเสียหายกับขนาดของลูกหนี้กว่า 3850 ล้านบาท กับยอดหนี้ระยะสั้นและระยะยาวกว่า 3542 ล้านบาท ซึ่งความยุ่งยากของบริษัท คือ ต้องบริหาร Operation Risk ให้สามารถ Breakeven Point ได้เร็วเพียงใด และยังต้องบริหาร Financial Risk จากยอดหนี้ระยะสั้นและระยะยาวกว่า 3542 ล้านบาทครับ
สำหรับรายละเอียดหนี้ที่ค้างชำระ และดอกเบี้ยจ่าย อยู่ในรายละเอียดตามนี้ครับ
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2 549 เงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศไทย จำนวนเงิน 2,794 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2548: 3,280 ล้านบาท) มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.80 ถึงร้อยละ 7.75 ต่อปี (31 ธันวาคม 2548: ร้อยละ 2.88 ถึงร้อยละ 5.25) เงินกู้ดังกล่าวมีกำหนดชำระคืนเงินต้นตั้งแต่ 1 ปี ถึง 3 ปี
ในระหว่างปี 2549 บริษัทได้รับเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินซึ่งได้รวมอยู่ในยอดคงเหลือข้างต้น ดังนี้
1. ตั๋วสัญญาใช้เงินแก่สถาบันการเงินในประเทศแห่งหนึ่งในวงเงิน 300 ล้านบาทเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 บริษัทสัญญาจะจ่ายคืนเงินจำนวน 200 ล้านบาทในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552 และจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี
2. สัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศแห่งหนึ่งในวงเงิน 200 ล้านบาทเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549 ภายใต้ข้อตกลงของสัญญา บริษัทจะต้องเบิกเงินกู้ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2549 บริษัทจะต้องจ่ายชำระเงินต้นเป็นรายงวด 3 เดือน จำนวน 12 งวด โดยงวดที่ 1 - 11 ชำระงวดละ 16.67 ล้านบาท และ งวดที่ 12 ชำระงวดละ 16.63 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยสำหรับช่วงระยะเวลา 1 ปีแรกนับจากวันเบิกเงินกู้งวดแรกเป็นอัตราร้อยละ 6.25 ต่อปี และช่วงระยะเวลาปีที่ 2 และ 3 นับจากวันเบิกใช้เงินกู้งวดแรกเป็นอัตราร้อยละ MLR ลบด้วยส่วนผลประโยชน์ร้อยละ 1.0 ต่อปี
3. สัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศแห่งหนึ่งในวงเงิน 300 ล้านบาทเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ภายใต้ข้อตกลงของสัญญา บริษัทจะต้องจ่ายชำระเงินต้นเป็นรายเดือน จำนวน 36 งวด ชำระงวดละ 8.33 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่เดือนที่มีการเบิกเงินกู้งวดแรก ในอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 7.75 ต่อปี
ซึ่งสังเกตได้ว่า บริษัทพยายามแก้ไขปัญหา Financial Risk ด้วยการชำระหนี้หมุนเวียนระยะสั้นคือลดวงเงินเบิกเกินบัญชี ซึ่งลดไปกว่า 700 ล้านบาท และหาทาง Refinace หนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ ให้ Roll ออกไป และกู้เพิ่มประมาณ 120 ล้านบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 19
ซึ่งทั้งหมดนี้ ตรงกับที่ผมได้มองภาพไว้ตั้งแต่ต้น เพียงแต่มาลงรายละเอียดเพิ่มเติมเมื่อลงไปอ่านงบการเงินครับ
สำหรับ จุดแข็งที่คุณนริศถามนั้น ผมขอสรุปตามความเข้าใจนะครับ พอสรุปได้คือ
บริษัท ซิงเกอร์ นั้น นอกจากฐานะการเงินในส่วนของผู้ถือหุ้นที่อยู่สูงเกือบ 2000 ล้านบาทแล้ว ยังเป็นบริษัทที่เก่าแก่กว่า 100 ปี มีจำนวนสาขากว่า 200 กว่าสาขา และพนักงานของบริษัทนั้นอยู่กับบริษัทมาเป็นเวลานานได้รับการอบรมการขายอย่างสม่ำเสมอ มีฐานลูกค้ารายย่อยที่เป็นรากหญ้าในชนบท กว่า 500000 รายซึ่งเป็นฐานลูกค้ารายย่อยกระจายอยู่ทั่วประเทศ มี Brand ที่แข็งแกร่งที่จำหน่ายสินค้าในหลายประเทศครับ ในอดีตนั้น Singer เคยประสบปัญหาในช่วงมีการลดค่าเงินบาท ส่งผลต่อตัวเลขยอดขายกว่า 10000 ล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 3000 กว่าล้านบาท หรือลดลงกว่า 70% ทีเดียวแต่ก็ฝ่ามาได้โดยผุ้บริหารที่ผ่านมาพยายามนำ Model ของธุรกิจ เช่น ขายมอเตอร์ไซด์ และสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Brand singer เข้ามาจำหน่ายมากขึ้น ตลอดจน พยายามทำการตลาดโดยการเปิดร้าน Singer Plus เพื่อลองรับลูกค้าชุมชนเมือง แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้น คงจะต้องพิสูจน์ฝีมือของผู้บริหารชุดใหม่ว่าจะสามารถฝ่าวิกฤตตรงนี้ได้หรือไม่ครับ ก็ขอเอาใจช่วยครับ
การศึกษาธุรกิจที่มีปํญหาวิกฤตนั้น เป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนอย่างมาก ทำให้เราสามารถคาดการณ์ความเสี่ยงในอนาคตได้ดีขึ้น
การลงทุนที่ดีนั้น จึงไม่เพียงแต่มองด้านโอกาสของการลงทุน ซึ่งเป็นภาพเชิงบวกเท่านั้น
แต่การมองความเสี่ยง และดูการบริหารความเสี่ยงของผุ้บริหารบริษัทว่าจะสามารถป้องกันและแก้ไขได้ดีเพียงใด
บริษัทที่สุดยอดนั้น จะต้องสามารถบริหารงานเพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าเพิ่ม และยังต้องบริหารความเสี่ยงในช่วงวิกฤตที่ดีด้วย เพื่อให้แน่ใจว่า การบริหารงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนักลงทุนนั้นจะยั่งยืนไปได้มากน้อยเพียงใด ครับ
สำหรับ จุดแข็งที่คุณนริศถามนั้น ผมขอสรุปตามความเข้าใจนะครับ พอสรุปได้คือ
บริษัท ซิงเกอร์ นั้น นอกจากฐานะการเงินในส่วนของผู้ถือหุ้นที่อยู่สูงเกือบ 2000 ล้านบาทแล้ว ยังเป็นบริษัทที่เก่าแก่กว่า 100 ปี มีจำนวนสาขากว่า 200 กว่าสาขา และพนักงานของบริษัทนั้นอยู่กับบริษัทมาเป็นเวลานานได้รับการอบรมการขายอย่างสม่ำเสมอ มีฐานลูกค้ารายย่อยที่เป็นรากหญ้าในชนบท กว่า 500000 รายซึ่งเป็นฐานลูกค้ารายย่อยกระจายอยู่ทั่วประเทศ มี Brand ที่แข็งแกร่งที่จำหน่ายสินค้าในหลายประเทศครับ ในอดีตนั้น Singer เคยประสบปัญหาในช่วงมีการลดค่าเงินบาท ส่งผลต่อตัวเลขยอดขายกว่า 10000 ล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 3000 กว่าล้านบาท หรือลดลงกว่า 70% ทีเดียวแต่ก็ฝ่ามาได้โดยผุ้บริหารที่ผ่านมาพยายามนำ Model ของธุรกิจ เช่น ขายมอเตอร์ไซด์ และสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Brand singer เข้ามาจำหน่ายมากขึ้น ตลอดจน พยายามทำการตลาดโดยการเปิดร้าน Singer Plus เพื่อลองรับลูกค้าชุมชนเมือง แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้น คงจะต้องพิสูจน์ฝีมือของผู้บริหารชุดใหม่ว่าจะสามารถฝ่าวิกฤตตรงนี้ได้หรือไม่ครับ ก็ขอเอาใจช่วยครับ
การศึกษาธุรกิจที่มีปํญหาวิกฤตนั้น เป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนอย่างมาก ทำให้เราสามารถคาดการณ์ความเสี่ยงในอนาคตได้ดีขึ้น
การลงทุนที่ดีนั้น จึงไม่เพียงแต่มองด้านโอกาสของการลงทุน ซึ่งเป็นภาพเชิงบวกเท่านั้น
แต่การมองความเสี่ยง และดูการบริหารความเสี่ยงของผุ้บริหารบริษัทว่าจะสามารถป้องกันและแก้ไขได้ดีเพียงใด
บริษัทที่สุดยอดนั้น จะต้องสามารถบริหารงานเพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าเพิ่ม และยังต้องบริหารความเสี่ยงในช่วงวิกฤตที่ดีด้วย เพื่อให้แน่ใจว่า การบริหารงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนักลงทุนนั้นจะยั่งยืนไปได้มากน้อยเพียงใด ครับ
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 21
จากที่ผมเป็นคนบ้านนอก เดี๋ยวนี้คนชนบทฉลาดขึ้นมาก สมัยก่อนทีวีเดรื่องละ7000 ซิงเกอร์ติดตราซิงเกอร์ เอามาปล่อย 14000 เดี๋ยวนี้ไม่ได้แล้วครับ แถม มีคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง
การกระจายของอิออน เฟิร์ทชอยซ์ นั้นดึงลูกค้าชั้นดีของซิงเกอร์
และ ไมด้า กับ ไดสตาร์ นั้นก็ใช่ย่อยครับในการเจาะฐานลูกค้าซิงเกอร์ เพราะก็คนขายกลุ่มเดียวกัน เพราะการวางหมากที่กำหนดฐานขุมกำลังของการกระจายสินค้า คือ เงิน(ใครให้เปอร์เซนต์ต่อยอดขายได้มาก คนก็อยากไปทำด้วย ไม่ได้กินเงินเดือน นอกจากผู้จัดการ)
การกระจายของอิออน เฟิร์ทชอยซ์ นั้นดึงลูกค้าชั้นดีของซิงเกอร์
และ ไมด้า กับ ไดสตาร์ นั้นก็ใช่ย่อยครับในการเจาะฐานลูกค้าซิงเกอร์ เพราะก็คนขายกลุ่มเดียวกัน เพราะการวางหมากที่กำหนดฐานขุมกำลังของการกระจายสินค้า คือ เงิน(ใครให้เปอร์เซนต์ต่อยอดขายได้มาก คนก็อยากไปทำด้วย ไม่ได้กินเงินเดือน นอกจากผู้จัดการ)
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 23
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่3(F45-3)
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน (หน่วย : พันบาท)
ไตรมาสที่ 3 งวด 9 เดือน
ปี 2549 2548 2549 2548
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (713,145) 34,669 (1,009,747) 120,191
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (2.64) 0.13 (3.74) 0.45
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
สอบทาน
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน (หน่วย : พันบาท)
ไตรมาสที่ 3 งวด 9 เดือน
ปี 2549 2548 2549 2548
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (713,145) 34,669 (1,009,747) 120,191
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (2.64) 0.13 (3.74) 0.45
ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 24
ประเด็นของการขาดทุนนั้นมาจาก
Model ธุรกิจในอดีตที่เปลี่ยนจากเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปทำธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ซึ่งเคยทำผลกำไรที่ดีให้กับบริษัท
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏว่าหนี้เสียรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นมาก ตามคำชี้แจงของฝ่ายจัดการครับ
ตรงนี้ต้องดูว่า บริษัทที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 100 ปี จะแก้ไขวิกฤติการณ์ตรงนี้ให้ผ่านพ้นไปด้วยดีเพียงใดครับ
ขอเอาใจช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถแก้ไขปัญหาให้ได้ ดูว่าจะเปลี่ยนวิกฤตตรงนี้ให้เป็นโอกาสสร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนได้หรือไม่ครับ
ที่ ห.ท.061/2549
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
เรื่อง ชี้แจงสาเหตุผลการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 20 สำหรับงบไตรมาสที่สาม
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทฯ ใคร่ขอชี้แจงผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่สามโดยเฉพาะในส่วน
ของผลขาดทุนที่เพิ่มสูงขึ้น แต่บริษัทฯก็ประสบความสำเร็จในส่วนของการบริหารกระแสเงินสด
จากการดำเนินงานเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง
ไตรมาสที่สามที่ผ่านมา ฝ่ายจัดการยังคงทำการแก้ไขบัญชีเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่มีปัญหา
อันเนื่องมาจากการขายในปี พ.ศ. 2548 และ 2547 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีจำนวนรถ
จักรยานยนต์ยึดคืนเพิ่มขึ้นและค้างอยู่ในคลังสินค้าของบริษัทฯ จำนวนมาก
มูลค่าของรถจักรยานยนต์มือสองในประเทศไทยมีมูลค่าที่ลดลงรวดเร็วมากในหลายเดือน
ที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากการออกสู่ตลาดของรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ และ ปริมาณรถจักรยานยนต์
มือสองในตลาดมีปริมาณมากเกินไป
ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้ดำเนินการขายรถจักรยานยนต์มือสองโดยผ่านช่องทางการประมูล
และ ขายให้ตัวแทนร้านค้าโดยตรง เพื่อลดปริมาณรถจักรยานยนต์ในสต๊อก แม้ว่าราคาขาย
ผ่านช่องทางดังกล่าวจะมีราคาที่ต่ำกว่าราคาที่สามารถจำหน่ายได้ในช่องทางตามปกติ หรือ
ขายตรงให้กับผู้บริโภค เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของรถจักรยานยนต์มือสองที่ลดลง
บริษัทฯ ได้ตัดสินใจปรับลดราคาตามบัญชีให้อยู่ในระดับราคาขายที่ได้รับจากการประมูลล่าสุด
ทำให้บริษัทฯต้องปรับลดราคาสินค้าคงคลังลงในไตรมาสสามนี้คิดเป็นเงิน 377 ล้านบาท
ซึ่งได้เปิดเผยแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุน
นอกเหนือจากการปรับลดราคารถจักรยานยนต์ที่ยึดคืนที่อยู่ในสต๊อกแล้ว บริษัทฯ ยังได้
ตัดสินใจตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นสำหรับบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระรถจักรยานยนต์ ส่งผลให้ตั้งสำรองฯ
เพิ่มขึ้นคิดเป็นเงิน 113 ล้านบาท และได้เปิดเผยแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุนเช่นกัน
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนคิดเป็นเงิน
490 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 69% ของยอดขาดทุนประจำไตรมาสสามนี้
กระบวนการยึดสินค้าคืนจากลูกหนี้ผ่อนชำระที่มีปัญหาและการขายรถจักรยานยนต์มือสอง
จะยังคงดำเนินต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ของปีนี้ และคาดว่าสินค้ารถจักรยานยนต์ยึดคืนจะสามารถ
ลดลงให้อยู่ในระดับปกติหลังจากนั้น
กระแสเงินสดจากการดำเนินงานมีการปรับปรุงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่สามนี้
เป็นบวกเพิ่มเติมอีกคิดเป็นเงิน 192 ล้านบาท คิดเป็นยอดสะสมเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30
กันยายน 2549 คิดเป็นกระแสเงินสดเป็นบวกทั้งสิ้น 678 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลา
เดียวกันของปี 2548 มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบอยู่ 1,269 ล้านบาท หมายความ
ว่ากระแสเงินสดดีขึ้นถึงเกือบสองพันล้านบาท บริษัทฯคาดการณ์ว่ากระแสเงินสดที่เป็นบวกนี้ยังคง ดำเนินต่อไปควบคู่กับมาตรการปรับปรุงธุรกิจของบริษัทฯ
บริษัทได้ขยายขอบข่ายการจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยงและการควบคุมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจ
ว่าสถานการณ์เกี่ยวกับลูกหนี้ผ่อนชำระที่มีปัญหา ไม่เกิดขึ้นอีก เป็นที่คาดหมายว่าวิธีการปล่อย
สินเชื่อเช่าซื้อที่เข้มงวดแม้จะทำให้ยอดขายต่ำลงแต่คุณภาพของบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระใหม่จะดีขึ้น
บริษัทฯ จะดำเนินการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถทำให้
ธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไรอย่างยั่งยืนในอนาคต
ข้อสังเกตสำหรับตัวเลขทางการเงินที่สำคัญในไตรมาสสาม
งบกำไรขาดทุน
รายได้จาการขายสำหรับไตรมาสสามนี้อยู่ที่ 585.1 ล้านบาท เทียบเป็น 49% ของระยะ
เดียวกันของปีก่อน สาเหตุที่ลดลงเนื่องมาจากการชะลอการขายรถจักรยานยนต์ ซึ่งอยู่ที่ 25%
ในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ อยู่ที่ 87% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกับปีก่อน
ดอกเบี้ยรับจากการขายผ่อนชำระอยู่ที่ 238 ล้านบาท หรือ ลดลง 143 ล้านบาทสืบเนื่อง
มาจากการลดลงของบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระอันสืบเนื่องมาจากการขายที่ลดลง และการยึดสินค้าคืน
ที่เพิ่มสูงขึ้นมากตั้งแต่ต้นปี ณ สิ้นเดือนกันยายนบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระอยู่ที่ 322,884 บัญชี เมื่อ
เทียบกับสิ้นเดือนกันยายนของปีก่อนอยู่ที่ 409,928 บัญชี เท่ากับลดลง 87,044 บัญชี
ขาดทุนจากการตีราคาสินค้ายึดคืน รถจักรยานยนต์ จำนวนเงิน 377.2 ล้านบาท
เกิดจากผลต่างจากการตีราคาสินค้าตามปกติสำหรับรถจักรยานยนต์ยึดคืน กับ มูลค่า 7,000 บาท
ต่อหน่วย ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยที่คาดว่าจะขายได้จากการขายด้วยวิธีการประมูล รายการนี้ถือว่า
เป็นการตั้งสำรองสำหรับสินค้าเพื่อให้การตีราคาเป็นไปอย่างระมัดระวัง
ขาดทุนจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับลูกหนี้ผ่อนชำระ รถจักรยานยนต์ จำนวนเงิน
133.3 ล้านบาท เป็นการคาดคะเนการตั้งสำรองสูงขึ้น (โดยตั้งเพิ่มขึ้น 20% ของอัตราสำรอง
ที่ใช้อยู่ตามปกติ) สำหรับบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระรถจักรยานยนต์
กล่าวโดยสรุป ขาดทุนสุทธิสำหรับไตรมาสที่สามนี้ คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 713.1 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ 34.7 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลาเดียวกับปีก่อน ส่วนแตกต่าง 747.8 ล้าน
สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
1. ขาดทุนจากการตีราคาสินค้ายึดคืน รถจักรยานยนต์ 377.2 ล้านบาท
2. ขาดทุนจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับลูกหนี้ 113.3 ล้านบาท
3. ขาดทุนจากการยึดคืนสินค้าเพิ่มขึ้น 93.5 ล้านบาท
4. ดอกเบี้ยรับจากการขายผ่อนชำระลดลง 143.0 ล้านบาท
5. ขาดทุนเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการขายที่ลดลงและอื่น ๆ 20.8 ล้านบาท
งบดุล
ลูกหนี้ผ่อนชำระและลูกหนี้อื่น สุทธิ ลดลงจาก 4,706.1 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2548
มาอยู่ที่ 3,231.0 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 สาเหตุเนื่องมาจากการลดลงของบัญชี
ลูกหนี้ผ่อนชำระ และการเพิ่มขึ้นของการตั้งสำรองสำหรับลูกหนี้ผ่อนชำระ รถจักรยานยนต์
สินค้าคงเหลือ สุทธิลดลงจาก 754.3 ล้านบาทเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2548 มาอยู่ที่
677.8 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 สาเหตุหลักมาจากการตั้งสำรองสำหรับสินค้ายึดคืน
รถจักรยานยนต์
หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย หรือเงินกู้ยืมลดลง 678 ล้านบาท (192 ล้านในไตรมาสที่สาม)
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2548 สาเหตุมาจากบริษัทฯมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก
สืบเนื่องจาการจัดซื้อสินค้าที่ลดลงโดยเฉพาะไม่มีการจัดซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ระหว่างปี
จึงเรียนมาเพื่อชี้แจงข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อผลประกอบการและฐานะการเงินของบริษัทฯ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป แสงหิรัญวัฒนา)
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
Model ธุรกิจในอดีตที่เปลี่ยนจากเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปทำธุรกิจเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ซึ่งเคยทำผลกำไรที่ดีให้กับบริษัท
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏว่าหนี้เสียรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นมาก ตามคำชี้แจงของฝ่ายจัดการครับ
ตรงนี้ต้องดูว่า บริษัทที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 100 ปี จะแก้ไขวิกฤติการณ์ตรงนี้ให้ผ่านพ้นไปด้วยดีเพียงใดครับ
ขอเอาใจช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถแก้ไขปัญหาให้ได้ ดูว่าจะเปลี่ยนวิกฤตตรงนี้ให้เป็นโอกาสสร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนได้หรือไม่ครับ
ที่ ห.ท.061/2549
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
เรื่อง ชี้แจงสาเหตุผลการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงเกินกว่าร้อยละ 20 สำหรับงบไตรมาสที่สาม
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทฯ ใคร่ขอชี้แจงผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่สามโดยเฉพาะในส่วน
ของผลขาดทุนที่เพิ่มสูงขึ้น แต่บริษัทฯก็ประสบความสำเร็จในส่วนของการบริหารกระแสเงินสด
จากการดำเนินงานเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง
ไตรมาสที่สามที่ผ่านมา ฝ่ายจัดการยังคงทำการแก้ไขบัญชีเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่มีปัญหา
อันเนื่องมาจากการขายในปี พ.ศ. 2548 และ 2547 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีจำนวนรถ
จักรยานยนต์ยึดคืนเพิ่มขึ้นและค้างอยู่ในคลังสินค้าของบริษัทฯ จำนวนมาก
มูลค่าของรถจักรยานยนต์มือสองในประเทศไทยมีมูลค่าที่ลดลงรวดเร็วมากในหลายเดือน
ที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากการออกสู่ตลาดของรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ และ ปริมาณรถจักรยานยนต์
มือสองในตลาดมีปริมาณมากเกินไป
ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้ดำเนินการขายรถจักรยานยนต์มือสองโดยผ่านช่องทางการประมูล
และ ขายให้ตัวแทนร้านค้าโดยตรง เพื่อลดปริมาณรถจักรยานยนต์ในสต๊อก แม้ว่าราคาขาย
ผ่านช่องทางดังกล่าวจะมีราคาที่ต่ำกว่าราคาที่สามารถจำหน่ายได้ในช่องทางตามปกติ หรือ
ขายตรงให้กับผู้บริโภค เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของรถจักรยานยนต์มือสองที่ลดลง
บริษัทฯ ได้ตัดสินใจปรับลดราคาตามบัญชีให้อยู่ในระดับราคาขายที่ได้รับจากการประมูลล่าสุด
ทำให้บริษัทฯต้องปรับลดราคาสินค้าคงคลังลงในไตรมาสสามนี้คิดเป็นเงิน 377 ล้านบาท
ซึ่งได้เปิดเผยแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุน
นอกเหนือจากการปรับลดราคารถจักรยานยนต์ที่ยึดคืนที่อยู่ในสต๊อกแล้ว บริษัทฯ ยังได้
ตัดสินใจตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นสำหรับบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระรถจักรยานยนต์ ส่งผลให้ตั้งสำรองฯ
เพิ่มขึ้นคิดเป็นเงิน 113 ล้านบาท และได้เปิดเผยแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุนเช่นกัน
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนคิดเป็นเงิน
490 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 69% ของยอดขาดทุนประจำไตรมาสสามนี้
กระบวนการยึดสินค้าคืนจากลูกหนี้ผ่อนชำระที่มีปัญหาและการขายรถจักรยานยนต์มือสอง
จะยังคงดำเนินต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ของปีนี้ และคาดว่าสินค้ารถจักรยานยนต์ยึดคืนจะสามารถ
ลดลงให้อยู่ในระดับปกติหลังจากนั้น
กระแสเงินสดจากการดำเนินงานมีการปรับปรุงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่สามนี้
เป็นบวกเพิ่มเติมอีกคิดเป็นเงิน 192 ล้านบาท คิดเป็นยอดสะสมเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30
กันยายน 2549 คิดเป็นกระแสเงินสดเป็นบวกทั้งสิ้น 678 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลา
เดียวกันของปี 2548 มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบอยู่ 1,269 ล้านบาท หมายความ
ว่ากระแสเงินสดดีขึ้นถึงเกือบสองพันล้านบาท บริษัทฯคาดการณ์ว่ากระแสเงินสดที่เป็นบวกนี้ยังคง ดำเนินต่อไปควบคู่กับมาตรการปรับปรุงธุรกิจของบริษัทฯ
บริษัทได้ขยายขอบข่ายการจัดการเกี่ยวกับความเสี่ยงและการควบคุมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจ
ว่าสถานการณ์เกี่ยวกับลูกหนี้ผ่อนชำระที่มีปัญหา ไม่เกิดขึ้นอีก เป็นที่คาดหมายว่าวิธีการปล่อย
สินเชื่อเช่าซื้อที่เข้มงวดแม้จะทำให้ยอดขายต่ำลงแต่คุณภาพของบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระใหม่จะดีขึ้น
บริษัทฯ จะดำเนินการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถทำให้
ธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไรอย่างยั่งยืนในอนาคต
ข้อสังเกตสำหรับตัวเลขทางการเงินที่สำคัญในไตรมาสสาม
งบกำไรขาดทุน
รายได้จาการขายสำหรับไตรมาสสามนี้อยู่ที่ 585.1 ล้านบาท เทียบเป็น 49% ของระยะ
เดียวกันของปีก่อน สาเหตุที่ลดลงเนื่องมาจากการชะลอการขายรถจักรยานยนต์ ซึ่งอยู่ที่ 25%
ในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ อยู่ที่ 87% เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกับปีก่อน
ดอกเบี้ยรับจากการขายผ่อนชำระอยู่ที่ 238 ล้านบาท หรือ ลดลง 143 ล้านบาทสืบเนื่อง
มาจากการลดลงของบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระอันสืบเนื่องมาจากการขายที่ลดลง และการยึดสินค้าคืน
ที่เพิ่มสูงขึ้นมากตั้งแต่ต้นปี ณ สิ้นเดือนกันยายนบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระอยู่ที่ 322,884 บัญชี เมื่อ
เทียบกับสิ้นเดือนกันยายนของปีก่อนอยู่ที่ 409,928 บัญชี เท่ากับลดลง 87,044 บัญชี
ขาดทุนจากการตีราคาสินค้ายึดคืน รถจักรยานยนต์ จำนวนเงิน 377.2 ล้านบาท
เกิดจากผลต่างจากการตีราคาสินค้าตามปกติสำหรับรถจักรยานยนต์ยึดคืน กับ มูลค่า 7,000 บาท
ต่อหน่วย ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยที่คาดว่าจะขายได้จากการขายด้วยวิธีการประมูล รายการนี้ถือว่า
เป็นการตั้งสำรองสำหรับสินค้าเพื่อให้การตีราคาเป็นไปอย่างระมัดระวัง
ขาดทุนจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับลูกหนี้ผ่อนชำระ รถจักรยานยนต์ จำนวนเงิน
133.3 ล้านบาท เป็นการคาดคะเนการตั้งสำรองสูงขึ้น (โดยตั้งเพิ่มขึ้น 20% ของอัตราสำรอง
ที่ใช้อยู่ตามปกติ) สำหรับบัญชีลูกหนี้ผ่อนชำระรถจักรยานยนต์
กล่าวโดยสรุป ขาดทุนสุทธิสำหรับไตรมาสที่สามนี้ คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 713.1 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ 34.7 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลาเดียวกับปีก่อน ส่วนแตกต่าง 747.8 ล้าน
สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
1. ขาดทุนจากการตีราคาสินค้ายึดคืน รถจักรยานยนต์ 377.2 ล้านบาท
2. ขาดทุนจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับลูกหนี้ 113.3 ล้านบาท
3. ขาดทุนจากการยึดคืนสินค้าเพิ่มขึ้น 93.5 ล้านบาท
4. ดอกเบี้ยรับจากการขายผ่อนชำระลดลง 143.0 ล้านบาท
5. ขาดทุนเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการขายที่ลดลงและอื่น ๆ 20.8 ล้านบาท
งบดุล
ลูกหนี้ผ่อนชำระและลูกหนี้อื่น สุทธิ ลดลงจาก 4,706.1 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2548
มาอยู่ที่ 3,231.0 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 สาเหตุเนื่องมาจากการลดลงของบัญชี
ลูกหนี้ผ่อนชำระ และการเพิ่มขึ้นของการตั้งสำรองสำหรับลูกหนี้ผ่อนชำระ รถจักรยานยนต์
สินค้าคงเหลือ สุทธิลดลงจาก 754.3 ล้านบาทเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2548 มาอยู่ที่
677.8 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549 สาเหตุหลักมาจากการตั้งสำรองสำหรับสินค้ายึดคืน
รถจักรยานยนต์
หนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย หรือเงินกู้ยืมลดลง 678 ล้านบาท (192 ล้านในไตรมาสที่สาม)
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2548 สาเหตุมาจากบริษัทฯมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก
สืบเนื่องจาการจัดซื้อสินค้าที่ลดลงโดยเฉพาะไม่มีการจัดซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ระหว่างปี
จึงเรียนมาเพื่อชี้แจงข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อผลประกอบการและฐานะการเงินของบริษัทฯ
ขอแสดงความนับถือ
(นายประทีป แสงหิรัญวัฒนา)
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 25
งานนี้รอฟื้นตัวจากการบาดเจ็บ
ราคาตอนนี้ต่อรองได้มากเลยอ่ะ
ต่ำกว่าสองบาทค่อยไปดูใหม่ล่ะกัน
สำหรับsinger
ปล
ถ้าคนขายของsingerมีการชำนาญพื้นที่พอๆๆๆกับไปรษณีย์
น่าจะไปทำlogitic น่านี่ แบบว่าชี้ได้เลยว่าบ้านอยู่ที่ไหน
ราคาตอนนี้ต่อรองได้มากเลยอ่ะ
ต่ำกว่าสองบาทค่อยไปดูใหม่ล่ะกัน
สำหรับsinger
ปล
ถ้าคนขายของsingerมีการชำนาญพื้นที่พอๆๆๆกับไปรษณีย์
น่าจะไปทำlogitic น่านี่ แบบว่าชี้ได้เลยว่าบ้านอยู่ที่ไหน
-
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 26
หุ้นขาดทุนมักจะขาดทุนต่อเนื่องจนกว่าจะเห็นกำไรเริ่มกลับมาและเติบโตขึ้น
เจ๊งไตรมาสเดียว 700 ล้าน โอ้..
Book Value 2000 ล้าน เจ๊ง 700 ล้านก็เหลือ 1300 ล้านนะครับ
ใครชอบเล่น P/BV โปรดพิจารณา
เจ๊งไตรมาสเดียว 700 ล้าน โอ้..
Book Value 2000 ล้าน เจ๊ง 700 ล้านก็เหลือ 1300 ล้านนะครับ
ใครชอบเล่น P/BV โปรดพิจารณา
-
- Verified User
- โพสต์: 44
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 27
ในงบบอกว่าตัดราคาขายรถมือสองขาดทุนไปคันละประมาณ 7000 บาท แต่ที่ผมไปถามร้านซิงเกอร์แถวบ้านเค้าขายรถกันโดยการประมูลคันละไม่ถึงหมื่น (รถผ่อนไม่เกินปี) ผมเลยงงว่าจริง ๆ มันน่าจะขาดทุนคันละหมื่นกว่าบาท เพราะไม่มีทางที่คนซื้อเค้าจะยอมดาวน์หลายพันแน่ งั้นไปซื้อกับร้านทั่วไปดีกว่า ผมว่าอาจจะต้องมีหนี้เสียที่ต้องตัดอีกเยอะครับ กะว่าถ้าความจริงออกมาหมดแล้ว ก็อยากไปเก็บเหมือนกัน
บางทีการบริหารพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงสำคัญกว่าการเลือกหุ้น
-
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 28
คุณเฟยหงเคยถือ SINGER อยู่ไม่ใช่เหรอครับ น่าจะลองถามความเห็นดู
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
ราคา singer น่าสนใจสำหรับ vi รึยัง
โพสต์ที่ 29
รายชื่อผู้ถือหุ้น
ชื่อ จำนวนหุ้น %
1 SINGER ( THAILAND) B.V. 129,600,000 48.0
2 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 31,848,870 11.8
3 บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จำกัด โดยลงทุนในหุ้นบมจ 14,565,300 5.39
4 ธนาคาร กสิกรไทย 13,489,000 5.0
5 บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด 5,400,000 2.0
6 บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 4,514,900 1.67
7 กองทุนเปิด พรีมาเวสท์ สเปซิฟิกเฟล็กซิเบิ้ลฟันด์ 4,448,000 1.65
8 นาย นิติ โอสถานุเคราะห์ 3,929,700 1.46
9 ธนาคาร ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 3,000,000 1.11
10 นาง นันทา รุ่งนพคุณศรี 2,334,000 0.86
11 นาย วรพจน์ ดีจริยา 1,765,100 0.65
12 นาย ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ 1,570,400 0.58
13 BEAR,STEARNS INTERNATIONAL LIMITED-CUSTOMER REG.ACCOUNT 1,500,000 0.56
14 นาย บรรยง อนรรฆธรรม 1,500,000 0.56
15 นาง งามพิศ ธาราอมรรัตน์ 1,480,000 0.55
16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 1,383,770 0.51
ชื่อ จำนวนหุ้น %
1 SINGER ( THAILAND) B.V. 129,600,000 48.0
2 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 31,848,870 11.8
3 บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จำกัด โดยลงทุนในหุ้นบมจ 14,565,300 5.39
4 ธนาคาร กสิกรไทย 13,489,000 5.0
5 บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด 5,400,000 2.0
6 บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 4,514,900 1.67
7 กองทุนเปิด พรีมาเวสท์ สเปซิฟิกเฟล็กซิเบิ้ลฟันด์ 4,448,000 1.65
8 นาย นิติ โอสถานุเคราะห์ 3,929,700 1.46
9 ธนาคาร ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 3,000,000 1.11
10 นาง นันทา รุ่งนพคุณศรี 2,334,000 0.86
11 นาย วรพจน์ ดีจริยา 1,765,100 0.65
12 นาย ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ 1,570,400 0.58
13 BEAR,STEARNS INTERNATIONAL LIMITED-CUSTOMER REG.ACCOUNT 1,500,000 0.56
14 นาย บรรยง อนรรฆธรรม 1,500,000 0.56
15 นาง งามพิศ ธาราอมรรัตน์ 1,480,000 0.55
16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 1,383,770 0.51
คิดดีทำดี ชิวิตสงบ