เห็นผู้ส่งออกครวญว่าแข็งกว่าคู่แข่งจะสู้เขาไม่ได้
แล้วถ้าน้ำมันกลับมาแพงอีก( ทางเทคนิคกำลังกลับตัว)
ประเทศไทยของเราจะสู้ชาติอื่นได้ตรงไหน
คว่ามสามารถในการแข่งขันเรามีแค่ไหนกัน
แล้วทำไม set index ไม่แข็งตามค่าเงินบาทเหมือนที่ผ่านๆมา
blow in the wind.........
ค่าเงินบาทแข็ง แบงค์ชาติจะลดดอกเบี้ยช่วยหรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าเงินบาทแข็ง แบงค์ชาติจะลดดอกเบี้ยช่วยหรือเปล่า
โพสต์ที่ 2
กดดอกเบี้ยคุมบาท
โพสต์ทูเดย์ นายแบงก์เผย แบงก์ชาติเปลี่ยนนโยบายดอกเบี้ยอาร์พีมุ่งดูแลอัตราแลกเปลี่ยน ไม่เกี่ยวดอกเบี้ยในประเทศ
แหล่งข่าวจากสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ เตรียมปรับการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วัน มาเป็น อาร์พี 1 วันแทนนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเดิมการใช้นโยบายดอกเบี้ย อาร์พี 14 วัน จะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถวางแผนบริหารเงินในระยะยาวได้ แต่เมื่อลดเหลืออาร์พีเหลือ 1 วัน ทำให้ไม่สามารถวางแผนอะไรได้มาก สภาพคล่องจะขึ้นอยู่กับภาวะตลาดแท้จริง และยังเป็นการลดต้นทุนของแบงก์ชาติในการแทรกแซงค่าเงินบาทไปในตัวด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า การเปลี่ยนมาใช้ดอกเบี้ยอาร์พี 1 วัน จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาตามความต่างของดอกเบี้ย เนื่องจากดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน อยู่ในระดับ 5% ส่วนดอกเบี้ยอาร์พี 1 วัน อยู่ที่ 4.87% ซึ่งไม่จูงใจให้เงินไหลเข้ามาเก็งกำไร
หากมีเงินไหลเข้ามามาก ดอกเบี้ย อาร์พี 1 วันก็จะลดลงทันที ซึ่งจะเป็น การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนทันที และดอกเบี้ยจะผันผวนมากขึ้น ทำให้การเก็งกำไรยากขึ้น แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า การปรับดอกเบี้ยอาร์พีไม่ส่งผลต่อดอกเบี้ยในประเทศมากนัก เพราะโครงสร้างเงินฝากและสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง ธนาคารพาณิชย์แบ่งเป็น 2 ขนาด คือ ธนาคารขนาดใหญ่ 6 แห่ง คุมสัดส่วนดอกเบี้ย 60% ส่วนธนาคารที่เหลือ 11 แห่ง มีสัดส่วนเงินฝากเพียง 40% ทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารขนาดใหญ่และธนาคารขนาดเล็กมีความต่างกัน
แบงก์ขนาดเล็กจะจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าแบงก์ขนาดใหญ่มาก โดยเฉพาะเมื่อมีสัญญาณว่าสภาพคล่องเริ่มขาด ขณะที่แบงก์ขนาดใหญ่ซึ่งมีสภาพคล่องล้นจะกดอัตราดอกเบี้ยไว้ ไม่ให้เงินไหลเข้ามามาก ดังนั้น จึงไม่ค่อยมีใครสนใจดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ สนใจสภาพคล่องของตัวเองมากกว่า แบงก์ที่ขาดสภาพคล่องจึงไปกู้เงินจากหน้าต่างการเงินที่แบงก์ชาติเปิดไว้ให้ ดังนั้น จึงไม่เชื่อว่าแบงก์ชาติมีวัตถุประสงค์จะใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เป็นเป้าหมายในทางปฏิบัติว่าจะลดความบิดเบือนในโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า การเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายเป็นวันต่อวัน เป็นการชี้นำเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เป็นการแทรกแซงโดยไม่มีต้นทุน เพราะดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน
ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าทะลุระดับ 36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยได้รับปัจจัยบวกจากกระแสเงินทุนไหลเข้ามายังตลาดหุ้นไทย ข้อมูลการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดที่แข็งแกร่งในเดือนตุลาคม ประกอบกับเงินสกุลภูมิภาคแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะในวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 35.72 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อันเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 8 ปี
อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติได้เข้าแทรกแซงและออกมาตรการคุมเงินบาทในมือผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ เนื่องจากพบว่ามีการเก็งกำไร โดยเฉพาะตลาดตราสาร ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างผิดปกติในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา
รายงานข่าวจากแบงก์ชาติ กล่าวว่า เงินทุนต่างประเทศยังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยพิจารณาจากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทยสิ้นสุดวันที่ 24 พฤศจิกายน อยู่ที่ 6.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากสัปดาห์ก่อนหน้า 1.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.65 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ฐานะฟอร์เวิร์ด หรือการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิของไทย ซึ่งเป็นตัวสะท้อนการเข้าไปแทรกแซง ค่าเงินบาทของแบงก์ชาติอยู่ที่ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้วถึง 818 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
ที่มา : โพสต์ Today
วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549
โพสต์ทูเดย์ นายแบงก์เผย แบงก์ชาติเปลี่ยนนโยบายดอกเบี้ยอาร์พีมุ่งดูแลอัตราแลกเปลี่ยน ไม่เกี่ยวดอกเบี้ยในประเทศ
แหล่งข่าวจากสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ เตรียมปรับการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วัน มาเป็น อาร์พี 1 วันแทนนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเดิมการใช้นโยบายดอกเบี้ย อาร์พี 14 วัน จะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถวางแผนบริหารเงินในระยะยาวได้ แต่เมื่อลดเหลืออาร์พีเหลือ 1 วัน ทำให้ไม่สามารถวางแผนอะไรได้มาก สภาพคล่องจะขึ้นอยู่กับภาวะตลาดแท้จริง และยังเป็นการลดต้นทุนของแบงก์ชาติในการแทรกแซงค่าเงินบาทไปในตัวด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า การเปลี่ยนมาใช้ดอกเบี้ยอาร์พี 1 วัน จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาตามความต่างของดอกเบี้ย เนื่องจากดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน อยู่ในระดับ 5% ส่วนดอกเบี้ยอาร์พี 1 วัน อยู่ที่ 4.87% ซึ่งไม่จูงใจให้เงินไหลเข้ามาเก็งกำไร
หากมีเงินไหลเข้ามามาก ดอกเบี้ย อาร์พี 1 วันก็จะลดลงทันที ซึ่งจะเป็น การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนทันที และดอกเบี้ยจะผันผวนมากขึ้น ทำให้การเก็งกำไรยากขึ้น แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า การปรับดอกเบี้ยอาร์พีไม่ส่งผลต่อดอกเบี้ยในประเทศมากนัก เพราะโครงสร้างเงินฝากและสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง ธนาคารพาณิชย์แบ่งเป็น 2 ขนาด คือ ธนาคารขนาดใหญ่ 6 แห่ง คุมสัดส่วนดอกเบี้ย 60% ส่วนธนาคารที่เหลือ 11 แห่ง มีสัดส่วนเงินฝากเพียง 40% ทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารขนาดใหญ่และธนาคารขนาดเล็กมีความต่างกัน
แบงก์ขนาดเล็กจะจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าแบงก์ขนาดใหญ่มาก โดยเฉพาะเมื่อมีสัญญาณว่าสภาพคล่องเริ่มขาด ขณะที่แบงก์ขนาดใหญ่ซึ่งมีสภาพคล่องล้นจะกดอัตราดอกเบี้ยไว้ ไม่ให้เงินไหลเข้ามามาก ดังนั้น จึงไม่ค่อยมีใครสนใจดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ สนใจสภาพคล่องของตัวเองมากกว่า แบงก์ที่ขาดสภาพคล่องจึงไปกู้เงินจากหน้าต่างการเงินที่แบงก์ชาติเปิดไว้ให้ ดังนั้น จึงไม่เชื่อว่าแบงก์ชาติมีวัตถุประสงค์จะใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เป็นเป้าหมายในทางปฏิบัติว่าจะลดความบิดเบือนในโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า การเปลี่ยนดอกเบี้ยนโยบายเป็นวันต่อวัน เป็นการชี้นำเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เป็นการแทรกแซงโดยไม่มีต้นทุน เพราะดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน
ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าทะลุระดับ 36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยได้รับปัจจัยบวกจากกระแสเงินทุนไหลเข้ามายังตลาดหุ้นไทย ข้อมูลการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดที่แข็งแกร่งในเดือนตุลาคม ประกอบกับเงินสกุลภูมิภาคแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะในวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 35.72 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อันเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 8 ปี
อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติได้เข้าแทรกแซงและออกมาตรการคุมเงินบาทในมือผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ เนื่องจากพบว่ามีการเก็งกำไร โดยเฉพาะตลาดตราสาร ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างผิดปกติในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา
รายงานข่าวจากแบงก์ชาติ กล่าวว่า เงินทุนต่างประเทศยังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยพิจารณาจากทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทยสิ้นสุดวันที่ 24 พฤศจิกายน อยู่ที่ 6.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากสัปดาห์ก่อนหน้า 1.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.65 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ฐานะฟอร์เวิร์ด หรือการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิของไทย ซึ่งเป็นตัวสะท้อนการเข้าไปแทรกแซง ค่าเงินบาทของแบงก์ชาติอยู่ที่ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้วถึง 818 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
ที่มา : โพสต์ Today
วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2549
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
ค่าเงินบาทแข็ง แบงค์ชาติจะลดดอกเบี้ยช่วยหรือเปล่า
โพสต์ที่ 3
ยกสมการให้ดู
"อัตราดอกเบี้ยเงินบาท-อัตราเงินดอกเบี้ยเงินเหรียญสหรัฐ = เปอร์เซ็นต์ส่วนต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดล่าวหน้ากับอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดทันที"
สิ่งที่ยกมาให้ดูเป็นทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า"Covered Interest ParityหรือCIP"
อันนี้เกิดเมื่อการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
ทำให้สามารถคาดการณ์ค่าเงินในระยะเวลาสั้นได้
แต่ระยะยาวไม่สามารถคาดการณ์ได้
อ้างอิงจากIsard,Peter(1995).Exchange Rate Econnomics.Cambridge,Cambridge University Press.
"อัตราดอกเบี้ยเงินบาท-อัตราเงินดอกเบี้ยเงินเหรียญสหรัฐ = เปอร์เซ็นต์ส่วนต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดล่าวหน้ากับอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดทันที"
สิ่งที่ยกมาให้ดูเป็นทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า"Covered Interest ParityหรือCIP"
อันนี้เกิดเมื่อการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
ทำให้สามารถคาดการณ์ค่าเงินในระยะเวลาสั้นได้
แต่ระยะยาวไม่สามารถคาดการณ์ได้
อ้างอิงจากIsard,Peter(1995).Exchange Rate Econnomics.Cambridge,Cambridge University Press.