ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 122
- ผู้ติดตาม: 0
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 1
ปันผลจะได้ซัก 1.50 บาท หรือมากกว่าหรือเปล่า
เห็นกำไรออกมาดีกว่างวดที่แล้วครับ
ลุ้นอยู่
ขอบคุณครับ
เห็นกำไรออกมาดีกว่างวดที่แล้วครับ
ลุ้นอยู่
ขอบคุณครับ
- ลุงขวด
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2448
- ผู้ติดตาม: 0
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 2
อย่างต่ำ 1.25 บาท อย่างสูง 1.50 บาท ครับ คงประกาศวันที่ 19 หรือ 22 ธันวาคมนี้ครับ........วันนี้ประทับใจมากที่ได้มีโอกาศไปเยี่ยมชมโรงงาน เขาให้เกียรติ์ผู้ถือหุ้นมากทีเดียว มีของชำร่วยเป็นผ้าแถมให้อีก อาหารกลางวันที่ภัตาคารหรู แถว ปากน้ำ ใกล้โรงงาน........ได้ศึกษาวิธีการทำผ้าจาก ฝ้ายที่นำเข้ามาจาก อเมริกา มาทำกรรมวิธีปั่น ทอ และย้อมให้เป็นผ้ามาให้เราใช้ ส่วนใหญ่ กว่า 70% ส่งออก เป็นโรงงานใหญ่ 1 ใน 5 ของประเทศ มีเครื่องจักรที่นำสมัย ไม่แพ้ของประเทศญี่ปุ่น.....นอกจากผ้า มีการทอเชือกไนลอน ที่ใช้ในอุตสาหรรมรถยนต์ เช่นพวก เส้นใยที่อยู่ในสายพาน และ ท่อยาง มีเครื่องจักรใหม่ 3 ตัวใช้ทำผ้าสำหรับ AIR BAG ในอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มผลิตแล้ว และ จะติดตั้งเครื่องจักรนี้เพิ่มอีก สรุป ใครถือยาว ไม่น่าจะผิดหวังครับ เป็นหุ้นที่รับประกันได้ตัวหนึ่ง (ผมถือมากเป็นอันดับสองในการลงทุน)......ช่วงนี้ไม่ทราบเป็นอย่างไรมีคนขายออกมาตลอด เสียดายที่ผม งบหมด เสียก่อน..........(ถังแตก สงสัยอาจเกิดจาก มีหุ้นในถังมากเกินไปแล้วซิ.....มี ทั้ง ถัง มี ทั้งหุ้น.......หรือ จะ มี ถังมาก กว่า หุ้น........เอ จะใบ้ หุ้น ตัวไหน หนอ คุณครรชิตคงรู้ดี นะครับ )........เรื่องที่เขียนทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ให้กรุณาคิดประกอบการตัดสินใจด้วย
แก้ไขล่าสุดโดย ลุงขวด เมื่อ พุธ ธ.ค. 03, 2003 8:12 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 3
ลุงขวด ตอนนี้ผมเก็บ LTX เพิ่มเป็น 5000 หุ้นแล้วครับ ตอนนี้ก็ใกล้ประกาศผลแล้ว
ลุงขวด ตอนนี้มี เจ้าถังปลาสติก 200 ลิตร PD เข้ามาซื้อขายในตลาด ราคาวิ่งจัง ราคา พาร์ 1 บาท ราคาหุ้น ตั้ง 26 บาท บริษัทเขากำไรดีหรือครับ ดีกว่าเจ้าถังเหล็ก TMD หรือครับ
ผมไม่รู้ข้อมูลของ PD เลย ใครรู้ข้อมูลของ PD ช่วยเล่าให้ฟังบ้าง ครับ
ลุงขวด ตอนนี้มี เจ้าถังปลาสติก 200 ลิตร PD เข้ามาซื้อขายในตลาด ราคาวิ่งจัง ราคา พาร์ 1 บาท ราคาหุ้น ตั้ง 26 บาท บริษัทเขากำไรดีหรือครับ ดีกว่าเจ้าถังเหล็ก TMD หรือครับ
ผมไม่รู้ข้อมูลของ PD เลย ใครรู้ข้อมูลของ PD ช่วยเล่าให้ฟังบ้าง ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับลุงขวด..ที่เล่าเรื่องเยี่ยมโรงงานให้ฟังครับ
อย่างที่ลุงขวดบอกครับ ltx ช่วงนี้ก็ยังมีคนขายออกมาเรื่อยๆ อยากทราบเหมือนกันว่าเป็นใคร...แต่ลุงขวดคงยังสบายใจอยู่ เพราะเจ้่าถังของลุง ขึ้นเอาๆ...ถ้า ltx ลงมาอีกก็ขายเจ้าถังมาซื้อผ้าก็ได้นิครับ.. :lol:
ส่วนเจ้า PD คงเป็นหุ้นใหม่ ขึ้นเอาๆ อย่างที่พี่ครรชิตว่า ผมยังไม่รู้เลยว่าเขาทำอะไร หะแรกคิดว่าเป็นเจ้า PDI เหมืองสังกะสี......ช่วงนี้หุ้น IPO เยอะมากๆ จนปวดหัว จำได้ว่าช่วงตลาดซบเซา มีแต่บริษัทขอ delist ออกจากตลาด...แต่น่าเจ็บใจว่าส่วนใหญที่ออกไป เป็นบริษัทดีๆ ทั้งนั้น ส่วนบริษัทแย่ๆ ยังอยู่ครบเลย :lol:
อย่างที่ลุงขวดบอกครับ ltx ช่วงนี้ก็ยังมีคนขายออกมาเรื่อยๆ อยากทราบเหมือนกันว่าเป็นใคร...แต่ลุงขวดคงยังสบายใจอยู่ เพราะเจ้่าถังของลุง ขึ้นเอาๆ...ถ้า ltx ลงมาอีกก็ขายเจ้าถังมาซื้อผ้าก็ได้นิครับ.. :lol:
ส่วนเจ้า PD คงเป็นหุ้นใหม่ ขึ้นเอาๆ อย่างที่พี่ครรชิตว่า ผมยังไม่รู้เลยว่าเขาทำอะไร หะแรกคิดว่าเป็นเจ้า PDI เหมืองสังกะสี......ช่วงนี้หุ้น IPO เยอะมากๆ จนปวดหัว จำได้ว่าช่วงตลาดซบเซา มีแต่บริษัทขอ delist ออกจากตลาด...แต่น่าเจ็บใจว่าส่วนใหญที่ออกไป เป็นบริษัทดีๆ ทั้งนั้น ส่วนบริษัทแย่ๆ ยังอยู่ครบเลย :lol:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- ลุงขวด
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2448
- ผู้ติดตาม: 0
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 7
ถังพลาสติค เทคนิคใหม่ มีแห่งเดียวในประเทศ เป็นเทคโนโลยี่จาก เยอรมันนี่ หุ้นใหม่ ๆ ผมไม่ชอบไปยุ่งเกี่ยวด้วย แบบที่ผมเคยวางการจัดระบบศึกษาหุ้น หุ้นใหม่เปรียบเหมือน ทหาร เกณฑ์ ต้องให้อยู่แนวหน้า ก่อนจะเลื่อนยศ ไป อยู่ในแนวหลัง ๆ ต้องใช้เวลาศึกษาเขาอีกนานครับ เลยชอบหุ้นเก่า ๆ มากกว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 8
โบรกส่วนใหญ่ให้ราคาเป้าหมาย PD ที่ 14.10 บาทเองครับ มี
ฟาร์อีสท์ให้สูงถึง 22 บาทสำหรับปีหน้า (ที่ P/E 12 เท่า)
ข้อดีของ PD คือหลังจาก IPO แล้วบริษัทแทบจะ debt-free
ไปเลย ทำให้กำไรน่าจะโตขึ้นพอควรสำหรับปีหน้า (ประมาณ
ว่าไม่ต่ำกว่า 10% แน่ๆ)
ส่วนเจ้าถังเหล็กก็ผลประกอบการคงจะโตสม่ำเสมอเหมือนกัน
ครับ แต่คงจะไม่มีแบบก้าวกระโดดอีกแล้ว เพราะตลาดค่อน
ข้าง saturated ไอ้ครั้นจะขยายออกต่างประเทศแบบที่ใครๆ
เขาทำกันก็ลำบาก เพราะถังใบหนึ่งหลายร้อยกิโล จะขนออก
ไปขายก็ยากเย็นแสนเข็ญ
มองอีกแง่คือ คู่แข่งคงจะเป็น local เท่านั้น ไม่แน่ใจเหมือนกัน
ว่า PD เป็นคู่แข่งหรือเปล่า
แต่จุดดีคือ asset ของ TMD มีอสังหาอยู่เยอะครับ
ส่วน LTX ยิ่งดูยิ่งชอบ วันนี้ผมจะลองตั้งเต๊นท์รับดูครับ
ฟาร์อีสท์ให้สูงถึง 22 บาทสำหรับปีหน้า (ที่ P/E 12 เท่า)
ข้อดีของ PD คือหลังจาก IPO แล้วบริษัทแทบจะ debt-free
ไปเลย ทำให้กำไรน่าจะโตขึ้นพอควรสำหรับปีหน้า (ประมาณ
ว่าไม่ต่ำกว่า 10% แน่ๆ)
ส่วนเจ้าถังเหล็กก็ผลประกอบการคงจะโตสม่ำเสมอเหมือนกัน
ครับ แต่คงจะไม่มีแบบก้าวกระโดดอีกแล้ว เพราะตลาดค่อน
ข้าง saturated ไอ้ครั้นจะขยายออกต่างประเทศแบบที่ใครๆ
เขาทำกันก็ลำบาก เพราะถังใบหนึ่งหลายร้อยกิโล จะขนออก
ไปขายก็ยากเย็นแสนเข็ญ
มองอีกแง่คือ คู่แข่งคงจะเป็น local เท่านั้น ไม่แน่ใจเหมือนกัน
ว่า PD เป็นคู่แข่งหรือเปล่า
แต่จุดดีคือ asset ของ TMD มีอสังหาอยู่เยอะครับ
ส่วน LTX ยิ่งดูยิ่งชอบ วันนี้ผมจะลองตั้งเต๊นท์รับดูครับ
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 9
ลุงขวดครับ ผมไปอ่าน สรุปข้อสนเทศของ PD เขาบอกว่าถัง 200 ลิตรนำไปใส่ น้ำยางพาราข้น ด้วยครับ อย่างนี้ก็มาแบ่งตลาดกับ TMD ด้วยสิครับ
ลุงขวดคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
จากข้างล่างนี้ เขาบอกว่ากำไรเขาดี ปันผลปีที่แล้ว ร้อยกว่าเปอร์เซ็นต์
สงสัยก่อนเข้าตลาดเขา พาร์ 100 บาท เขามีกำไรและ เขาปันผลกันตามตารางข้างล่างนี้ นับว่าสูงมากครับ ลองพิจารณาดู ครับ
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน)
|--------หน่วย : พันบาท-------| --------------หน่วย : บาท/หุ้น --------------|
ปี รายได้ กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย สุทธิ สุทธิ ตามบัญชี ต่อกำไร (%)
2543* 164,854 34,410 114.70 105.00 312.54 91.54%
2544* 142,720 21,401 71.34 120.00 263.87 168.21%
2545* 200,175 57,730 192.43 310.00 146.31 161.10%
งวด 6 เดือน สิ้นสุด 113,868 33,769 112.56 120.00 258.87 106.61%
: สรุปข้อสนเทศ : PD
Date: 27/11/2003 13:31
Description:
- สรุปข้อสนเทศ -
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน) (PD)
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และโรงงาน :
136-136/1 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ตำบลบางเสาธง กิ่งอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : (66) 2315-2289-90
โทรสาร : (66) 2315-1293 Website: www.plasticdrum.com
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546)
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 40 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 40 ล้านบาท
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI)
ราคาเสนอขาย 9 บาท
ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
ผลิตและจำหน่ายถังพลาสติกเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าประเภทต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีคุณภาพ
ตรงตามมาตรฐานสากลที่กำหนดให้ใช้สำหรับการขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดตามเกณฑ์
ขององค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทฯ ผลิตโดยใช้วัตถุดิบเม็ดพลาสติกและเม็ดสีที่เป็น Food Grade
คือสามารถบรรจุสินค้าประเภทอาหารและสินค้าที่ไม่ต้องการให้มีการปนเปื้อนจากบรรจุภัณฑ์ สินค้าหลักที่บริษัทฯ ผลิตและ
จำหน่ายสามารถจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ
1) ถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรประเภท L-Ring
ถังที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากถังพลาสติกทั่วไปคือ ส่วนบนของถังมีขอบสำหรับจับยึดโดยอุปกรณ์สำหรับยก
หรือเคลื่อนย้ายสินค้าซึ่งติดกับรถยกสินค้า (Forklift) เพื่อความสะดวกในการขนย้าย และความลาดชันส่วนบนของถังที่ติด
กับฝา สามารถลดสารตกค้างภายในถังให้เหลือน้อยที่สุดได้ (Optimally Drainable) ถังประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้บรรจุสินค้า
ประเภทสารเคมีอันตราย น้ำยางข้น น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันพืช อาหาร หรือวัสดุที่องค์การสหประชาชาติกำหนดมาตรฐานของ
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่ง ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถังประเภทนี้จาก MAUSER
Maschinentechnik GmbH ("MAUSER"), เยอรมนี
2) ถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรประเภทฝาเปิดกว้าง (Open-Top)
ถังประเภทนี้มีปากกว้างและมีฝาขนาดใหญ่ ช่วยเพิ่มความสะดวกในการถ่ายเทสินค้า และการทำความสะอาด เพื่อ
นำกลับมาใช้งานได้อีก ถังประเภทนี้เหมาะสำหรับบรรจุวัสดุที่มีลักษณะเป็นผง เกล็ด เม็ด หรือมีความเหนี่ยวข้น เช่น ผงกาแฟ
จาระบี แบะแซหรือกลูโคส เป็นต้น
3) ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตรและ 30 ลิตร
ถังขนาดเล็กเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกในการขนย้ายด้วยแรงคน
ลักษณะพิเศษของถังประเภทนี้ คือ มีฝาเกลียวพร้อมลูกยางระบายความดันที่สามารถปรับแรงดันภายใน ที่เกิดจากสาร
ที่บรรจุได้ ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับใช้บรรจุสารเคมีอันตรายที่อาจทำปฏิกิริยาและสามารถสร้างแรงดันภายในได้ และ
เหมาะสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากผลิตจากเม็ดพลาสติกและเม็ดสีที่เป็น Food Grade จึงไม่มีสารปนเปื้อน
ที่เป็นอันตรายจากบรรจุภัณฑ์
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังผลิตฝาถังสำหรับถังขนาด 20 ลิตร และ 30 ลิตร เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
และจำหน่ายเป็นอะไหล่ให้กับลูกค้าอีกด้วย
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) - ไม่มี -
สรุปสาระสำคัญของสัญญา
MAUSER Maschinentechnik GmbH ได้จดสิทธิบัตรการผลิตถังพลาสติกลักษณะ L-Ring ตั้งแต่พ.ศ. 2532 ซึ่ง
สิทธิบัตรฉบับนี้จะหมดอายุในพ.ศ. 2551 และจดสิทธิบัตรการผลิตส่วนบนของถังที่มีลักษณะลาดเอียงเพื่อลดสารตกค้าง
ภายในถัง (Optimally Drainable) เมื่อพ.ศ. 2535 โดยสิทธิบัตรฉบับนี้จะหมดอายุในพ.ศ. 2554
MAUSER ได้ทำสัญญาการให้ลิขสิทธิ์เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต (Know How Agreement) ถังพลาสติก
ขนาด 200 ลิตรประเภท L-Ring กับบริษัทฯ โดยให้บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับลิขสิทธิ์นี้
บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมการได้รับลิขสิทธิ์หรือ Know How Fee ปีละ DEM 10,000 โดย Know How
Agreement นี้ได้ระบุเวลาสิ้นสุดไว้ที่พ.ศ. 2547 และหลังจากพ.ศ. 2547 เป็นต้นไป หากไม่มีการแจ้งยกเลิกสัญญาเป็น
ลายลักษณ์อักษรก่อนวันครบสัญญาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน สัญญานี้จะได้รับการต่ออายุเป็นรายปีโดยอัตโนมัติ
ตลอดไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับการต่ออายุสัญญา Know How Agreement จาก MAUSER ออกไปอีก
8 ปี เพื่อให้ได้ครอบคลุมตามอายุของสิทธิบัตรการผลิตถังประเภท L-Ring และประเภท Optimally Drainable โดยสัญญา
ใหม่นี้เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 และจะสิ้นสุดลงในปี 2554 ซึ่งสัญญาใหม่นี้มีเงื่อนไขไม่แตกต่าง
จากสัญญาเดิม เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
การผลิต (Know How Fee) จากปีละ DEM 10,000 เป็นปีละ EUR 5,100 (อัตราแลกเปลี่ยน DEM 1 เท่ากับ EUR 1.96)
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เป็น Know How Fee เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีและการตลาดเท่านั้น
ไม่รวมถึงค่าเครื่องจักรที่นำมาใช้ในการผลิต ซึ่งบริษัทฯ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการลงทุนส่วนเครื่องจักร และอุปกรณ์
ต่างๆ อย่างไรก็ตาม สัญญาดังกล่าวไม่มีข้อผูกมัดที่ระบุอย่างชัดเจนว่าเมื่อใดบริษัทฯ จะต้องสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่จาก
MAUSER อีกทั้ง ในสัญญายังไม่มีเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญา
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - ไม่มี -
การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ
บริษัทฯ ได้รับการถ่ายทอดและให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องทางด้านเทคโนโลยีและการตลาด ตาม Know How
Agreement จาก MAUSER โดย MAUSER จะจัดให้มีการอบรมทุกๆ 2 ปีครั้ง สลับกันระหว่างด้านเทคโนโลยีการผลิต
และด้านการตลาด โดยบริษัทฯ จะเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเดินทางและค่าที่พักในการเข้าร่วมการอบรมเท่านั้น
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังเป็นสมาชิกของ MAUSER International Packaging Institute (MIPI) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการ
พบปะหารือในด้านต่างๆ ระหว่างสมาชิกผู้ที่ได้รับลิขสิทธิ์จาก MAUSER ทั่วโลก โดยบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการดำรง
สถานะสมาชิกดังกล่าวจำนวน EUR 5,200 ต่อปี
โครงการดำเนินงานในอนาคต (ถ้ามี) - ไม่มี -
รายการระหว่างกัน
ตามงบการเงินปี 2545 และงวด 6 เดือนแรกของปี 2546 บริษัทฯ มีการทำรายการระหว่างบริษัทกันกับที่เกี่ยวข้อง
และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ตามที่ได้แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 ของงบการเงินปี 2545 และ
งบการเงินงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2546 ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ระบุว่าเป็นรายการที่เป็นไปตามธุรกิจปกติ
รายละเอียดของรายการดังกล่าวมีดังนี้
- การขายสินค้า
รายชื่อ ลักษณะรายการ มูลค่าของรายการ (บาท)
2545 ม.ค.-มิ.ย. 2546
บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ บริษัทฯ ขายถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรจำนวน 80 ถัง ใน 66,400 -
ราคาถังละ 830 บาท ซึ่งเป็นราคาขายตามปกติ ทั้งนี้ปริมาณ
สั่งซื้อที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณการขายทั้งหมด โดยคิด
เป็นร้อยละ 0.03
- การซื้อสินค้า (วัตถุดิบ)
รายชื่อ ลักษณะรายการ มูลค่าของรายการ (บาท)
2545 ม.คมิ.ย. 2546
บจก. ศรีเทพไทยมาร์เก็ตติ้ง บริษัทฯ ซื้อวัตถุดิบเม็ดพลาสติก เป็นรายการซื้อที่เป็นไปตาม 3,402,000 65,500
เงื่อนไขทางธุรกิจปกติ และในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อ
เทียบกับปริมาณวัตถุดิบเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด
บจก. ศรีเทพไทยคอร์ปอเรชั่น บริษัทฯ ซื้อวัตถุดิบเม็ดพลาสติก เป็นรายการซื้อที่เป็นไปตาม 3,524,750 43,000
เงื่อนไขทางธุรกิจปกติ และในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อ
เทียบกับปริมาณวัตถุดิบเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด
บจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์ บริษัทฯ ซื้อฝาปิดถังแบบ Open-top เป็นรายการซื้อที่เป็นตาม 3,773,810 904,000
จำกัด เงื่อนไขทางธุรกิจปกติ
บจก. เค.เอ็ม.เอส. มาร์เก็ตติ้ง บริษัทฯ ซื้อวัตถุดิบเม็ดพลาสติก เป็นรายการซื้อที่เป็นไปตาม 1,546,250 -
เงื่อนไขทางธุรกิจปกติ และในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อ
เทียบกับปริมาณวัตถุดิบเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด
- เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อ ลักษณะรายการ มูลค่าของรายการ (บาท)
2545 ม.คมิ.ย. 2546
บจก.พานทองบรรจุภัณฑ์* ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 18,636,815.49 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 0.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 6.37ต่อปี) 740,465.77 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (19,377,281.26) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
บจก.ศรีเทพไทยลาเท็กซ์ ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 6,024,164.38 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 2,000,000.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 7 ต่อปี) 58,301.38 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (8,082,465.76) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
บจก. ไทยเอกรัฐโฮลดิ้ง ** ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 288,483.55 299,483.55
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 0.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 5.5 ต่อปี) 11,000.00 5,454.79
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด 0.00 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 299,483.55 304,938.34
บจก. เอส.พี.เอส โฮลดิ้ง ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 0.00 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 5,000,000.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 7 ต่อปี) 87,260.27 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (5,087,260.27) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
บจก. ออสเตรเลี่ยน บิลดิ้ง ซิสเต็ม ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 0.00 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 5,000,000.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 7 ต่อปี) 70,000.00 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (5,070,000.00) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 0.00 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 15,000,000.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 7 ต่อปี) 193,698.63 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (15,193,698.63) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
หมายเหตุ : * บริษัท พานทองบรรจุภัณฑ์ จำกัด ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายกระสอบพลาสติก ซึ่งเป็นธุรกิจ
ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับธุรกิจของบริษัทฯ ดังนั้น จึงเป็นไม่ถือว่าเป็นคู่แข่งของบริษัทฯ
** บริษัท ไทยเอกรัฐโฮลดิ้ง จำกัด หยุดประกอบธุรกิจแล้ว ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรอง
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เพื่อไม่บันทึกรายได้ดอกเบี้ยอีกในไตรมาส 3 ปี 2546
- รายละเอียดลักษณะความสัมพันธ์
บริษัท ลักษณะความสัมพันธ์
บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ - บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ในสัดส่วนร้อยละ 17.5
- บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ ถือหุ้นโดย บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ (ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ
บริษัทฯ) ในสัดส่วนร้อยละ 7.98
- บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ ถือหุ้นใน บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 25
- นายสุทัศน์ ไตรจักรภพ กรรมการบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ ใน
สัดส่วนร้อยละ 15
- นายวิโรจน์ เตชะทัศนะสุนทร ผู้ถือหุ้นบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจ. ศรีเพทไทยลาเทค ใน
สัดส่วนร้อยละ 2.58 และถือหุ้นใน บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 3
- นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการของ บจก. ศรีเทพ
ไทยลาเท็คซ์ นายวิเชียร เตชะทัศนะสุนทร กรรมการของบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจก. ศรีเทพ
ไทยลาเท็คซ์ร้อยละ 0.11 และเป็นกรรมการของ บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์
- นายปราโมช ไตรจักรภพ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บจก. ศรีเทพ
ไทยลาเท็คซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 21. 12
บจก. ศรีเทพไทยมาร์เก็ตติ้ง - นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการ และผู้ถือหุ้นของ บจก.
ศรีเทพไทย มาร์เก็ตติ้ง ในสัดส่วนร้อยละ 10
- นายปราโมช ไตรจักรภพ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บจก. ศรีเทพไทย
มาร์เก็ตติ้ง ในสัดส่วนร้อยละ 30
บจก. ศรีเทพไทยคอร์ปอเรชั่น - บจก. ศรีเทพไทยคอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นใน บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 26.03
- นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
ผูกพัน และผู้บริหารของ บจก. ศรีเทพไทยคอร์ปอเรชั่น
บจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์ - นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
ผูกพันของ บจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์
- นายวิเชียร เตชะทัศนสุนทร กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน
ของบจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์
นายสุทัศน์ ไตรจักรภพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ
บจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์
บจก. เค.เอ็ม.เอส มาร์เก็ตติ้ง - นายปราโมช ไตรจักรภพ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน และ
เป็นผู้ถือหุ้นของ บจก. เค.เอ็ม.เอส มาร์เก็ตติ้ง ในสัดส่วนร้อยละ 10
บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์ - บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์ จำกัดถือหุ้นโดย บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็กซ์ (ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ
บริษัทฯ) ในสัดส่วนร้อยละ 25.26
- นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
ผูกพันของ บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์
- นายสุทัศน์ ไตรจักรภพ กรรมการของบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์ ใน
สัดส่วนร้อยละ 8.23 และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ บจก. พานทอง
บรรจุภัณฑ์
- นายธงชัย อำไพกุลวัฒนา กรรมการและกรรมการผู้จัดการของบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจก.
พานทองบรรจุภัณฑ์ ในสัดส่วนร้อยละ 1.34 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ
บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์
บจก. ไทยเอกรัฐโฮลดิ้ง - นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นของ บจก. ไทยเอกรัฐโฮลดิ้ง ใน
สัดส่วนร้อยละ 10
- บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 0.4
บจก. เอส.พี.เอส โฮลดิ้ง - นายวิเชียร เตชะทัศนสุนทร กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ
บจก. เอส.พี.เอส โฮลดิ้ง และถือหุ้นร้อยละ 24.58
- นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ บจก.
เอส.พี.เอส โฮลดิ้ง และถือหุ้นร้อยละ 33.33
บจก. ออสเตรเลี่ยน บิลดิ้ง - นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน และ
ซิสเต็ม ผู้ถือหุ้นของบจก. ออสเตรเลี่ยน บิลดิ้ง ซิสเต็ม ในสัดส่วนร้อยละ 20.83
- นายประเสริฐ ไตรจักรภพ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นของ บจก. ออสเตรเลี่ยน บิลดิ้ง
ซิสเต็ม ในสัดส่วนร้อยละ 8.33
ความเห็นกรรมการตรวจสอบในการพิจารณารายการระหว่างกัน
การขายสินค้า
เป็นการขายสินค้าตามธุรกรรมการค้าปกติของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้กำหนดราคาขายสินค้า และเงื่อนไขการชำระ
ค่าสินค้าให้เป็นไปตามราคาและเงื่อนไขการขายสินค้าให้กับลูกค้าทั่วไปของบริษัทฯ โดยไม่มีการให้เงื่อนไขพิเศษแก่บริษัท
ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งรายการขายสินค้าให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องยังเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับ
ปริมาณการขายทั้งหมดของบริษัทฯ ดังนั้นการขายสินค้าดังกล่าวจึงมีความจำเป็นและมีความสมเหตุสมผลของรายการตาม
ประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
การซื้อสินค้า
- วัตถุดิบเม็ดพลาสติก
บริษัทฯ ได้สั่งซื้อเม็ดพลาสติกจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมสำหรับการผลิตและจะสั่งซื้อเมื่อมี
ความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น โดยราคาและเงื่อนไขที่สั่งซื้อจากบริษัทที่เกี่ยวข้องนั้นจะเป็นไปตามเงื่อนไขการค้าปกติ โดยจะ
เจรจาต่อรองราคาให้เป็นไปตามราคาตลาด เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และเมื่อพิจารณาจากยอดสั่งซื้อเม็ดพลาสติก
จากบริษัทที่เกี่ยวข้องแล้วถือว่าเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับยอดการสั่งซื้อเม็ดพลาสติกรวม โดยในปี 2545 และ
ครึ่งปีแรกปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 11.55 และ 0.23 ของยอดการสั่งซื้อเม็ดพลาสติกรวม ตามลำดับ ดังนั้น เมื่อพิจารณา
ถึงความจำเป็น และเงื่อนไขการค้าแล้ว พบว่า รายการระหว่างกันดังกล่าวเป็นรายการที่มีความจำเป็นและสมเหตุสมผล
เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
- ฝาถังแบบ Open-Top
บริษัทฯ เป็นเจ้าของแม่พิมพ์ในการผลิต โดยจำเป็นต้องว่าจ้างให้บริษัทที่มีเครื่องจักรสำหรับฉีดฝาถังดังกล่าว
ดำเนินการผลิตฝาถังแบบ Open-Top ให้แก่บริษัทฯ เนื่องจากการลงทุนในเครื่องจักรสำหรับผลิตฝาถังนั้น เป็นการลงทุน
ที่สูงและและไม่คุ้มค่าการลงทุน หากปริมาณการผลิตไม่มากพอ ทั้งนี้ในการว่าจ้างผู้ผลิตฝาถังดังกล่าว บริษัทฯ ได้
ดำเนินการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตหลายราย และพบว่าบริษัท เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ
บริษัทฯสามารถดำเนินการผลิตฝาถังประเภทดังกล่าวให้กับบริษัทฯ ได้ในราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสมตามเงื่อนไขการ
ค้าปกติ ซึ่งหากในอนาคต บริษัทฯ พบว่ามีผู้ประกอบการรายอื่นที่สามารถดำเนินการผลิตฝาถังประเภทดังกล่าวได้ถูกกว่า
บริษัทที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ก็พร้อมที่จะย้ายแม่พิมพ์ไปว่าจ้างบริษัทนั้นดำเนินการผลิตแทน หรือในอนาคต หากมีปริมาณ
มากพอ บริษัทฯ อาจลงทุนในส่วนของเครื่องจักรเองก็ได้ ดังนั้น การทำรายการระหว่างกันดังกล่าวจึงถือเป็นรายการที่มี
ความจำเป็นและสมเหตุสมผล เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
การให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากในอดีตเมื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นและต้องการใช้เงินเพื่อการหมุนเวียนดำเนินธุรกิจ มักจะมากู้ยืม
บริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ มีฐานะการเงินที่ดี มีเงินสดในมือสูง จึงมีความสามารถในการปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง
ได้ อย่างไรก็ตาม ในการปล่อยกู้นั้น บริษัทฯ จะคำนึงถึงฐานะการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเพื่อนำมากำหนดอัตรา
ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ซึ่งจะเป็นอัตราดอกเบี้ยตลาด โดยคำนึงถึงต้นทุนทางการเงิน หากบริษัทฯ เป็นผู้กู้จากสถาบันการเงิน
โดยในการให้กู้ยืมแต่ละรายการนั้น บริษัทฯ จะได้รับตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม ดังนั้น เมื่อพิจารณา
ถึงความสมเหตุสมผลและความจำเป็นแล้ว พบว่า รายการดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
อย่างไรก็ตามในอนาคต เมื่อบริษัทฯเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่แล้ว หากจำเป็นต้องมีรายการดังกล่าวอีก
บริษัทฯ จะขอความเห็นจากกรรมการตรวจสอบ และขอให้กรรมการผู้มีส่วนได้เสียงดออกเสียง
นโยบายและแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันในอนาคต
บริษัทฯ คาดว่าในอนาคตอาจมีรายการที่เป็นลักษณะการค้าระหว่างกันเกิดขึ้นอีก โดยบริษัทฯ ยังคงยึดถือนโยบาย
ที่จะดำเนินการให้รายการระหว่างกันดังกล่าวเป็นไปตามลักษณะธุรกิจการค้าปกติทั่วไป และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อ
บริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะให้คณะกรรมการตรวจสอบหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ หรือผู้เชี่ยวชาญอิสระ พิจารณา
ตรวจสอบและให้ความเห็นถึงความเหมาะสมของราคา และความสมเหตุสมผลของการทำรายการด้วย รายการระหว่าง
กันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั้น คณะกรรมการบริษัทจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมตลอดถึงการปฏิบัติตาม
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการเกี่ยวโยง และการได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทฯ
สำหรับรายการระหว่างกันของบริษัทฯ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีส่วนได้ส่วนเสีย
หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่เป็นลักษณะนอกเหนือจากการค้าระหว่างกันข้างต้น บริษัทฯ คาดว่าจะไม่มี
รายการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่แล้ว แต่หากเกิดรายการดังกล่าวในอนาคต
บริษัทฯ จะจัดให้มีการทำสัญญาให้ถูกต้อง และจะให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็น
และความเหมาะสมของรายการนั้นๆ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการ
ระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯ จะให้ผู้เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกันรายการ
ดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี ทั้งนี้บริษัทฯ จะเป็นเผยรายการ
ระหว่างกันไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ
ภาระผูกพัน
ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2546
1. บริษัทฯ ขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันการใช้ไฟฟ้า จำนวน 1.14 ล้านบาท
2. บริษัทฯ นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และเครื่องจักรบางส่วน ไปใช้เป็นหลักประกันหนี้สินกับสถาบันการเงิน
วงเงินเบิกเกินบัญชี วงเงินหนังสือค้ำประกัน และวงเงินสินเชื่ออื่นๆ จำนวนทั้งสิ้น 102.34 ล้านบาท
3. บริษัทฯ มีภาระผูกพันในสัญญาซื้อเครื่องจักรเป็นจำนวน EUR 600,000 หรือเท่ากับ 28.03 ล้านบาท
ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงจากการมีผู้บริหารหลักเพียงรายเดียว
ถึงแม้ว่าตลอดระยะเวลา 16 ปีของการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ คุณธงชัย อำไพกุลวัฒนา กรรมการผู้จัดการเป็น
ผู้ดำเนินการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทฯ อย่างประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด แต่บริษัทฯ ได้มีการวางระบบ
การบริหารจัดการโดยกำหนดให้คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ทางด้านการบริหารจัดการได้มี
ส่วนร่วมในการบริหารจัดการและแสดงความเห็นในเรื่องสำคัญของบริษัทฯ นอกจากนั้น ในด้านการผลิต บริษัทฯ เป็น
ผู้ผลิตถังพลาสติกรายเดียวในประเทศที่ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก MAUSER ในการผลิตถังประเภท L-Ring
มาเป็นเวลานาน อีกทั้งยังมีผู้จัดการโรงงานที่มีประสบการณ์ ความชำนาญในเทคโนโลยีการผลิตและทำงานกับบริษัทฯ
มาเป็นเวลานาน สำหรับด้านการตลาดนั้น บริษัทฯ เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจผู้ผลิตและส่งออกเคมีภัณฑ์รายใหญ่ใน
ประเทศอยู่แล้ว เนื่องจากมีความสัมพันธ์อันดีและเป็นคู่ค้ากันเป็นระยะเวลานาน ทำให้บริษัทฯ มีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง
จากการดำเนินการข้างต้น บริษัทฯ มั่นใจว่าสามารถลดและจำกัดความเสี่ยงจากการมีผู้บริหารหลักเพียงรายเดียวได้ใน
ระดับหนึ่ง
2. ความเสี่ยงจากการมีผู้จำหน่ายวัตถุดิบรายใหญ่ในประเทศ รายเดียว
วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในกระบวนการผลิตถังพลาสติก ได้แก่ เม็ดพลาสติก ซึ่งในปี 2544 ครึ่งปีแรก 2546 บริษัทฯ
มีต้นทุนเม็ดพลาสติกคิดเป็นประมาณร้อยละ 75 ของต้นทุนการผลิตรวม โดยในปัจจุบัน บริษัทฯ สั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ใน
การผลิตส่วนใหญ่จากผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบรายใหญ่ในประเทศเป็นหลัก คือ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย
จำกัด (มหาชน) (TPI) เนื่องจาก ผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบดังกล่าวสามารถผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพตรงตามที่บริษัทฯ
ต้องการได้เป็นอย่างดีเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ผลิตในประเทศรายอื่นและสามารถส่งมอบวัตถุดิบได้ตามกำหนดเวลามา
โดยตลอด โดยในครึ่งแรกปี 2546 สัดส่วนการซื้อวัตถุดิบจาก TPI คิดเป็นร้อยละ 83 ของยอดสั่งซื้อวัตถุดิบประเภทเม็ด
พลาสติกรวมทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดการและป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวโดยสั่งซื้อวัตถุดิบ
ที่มีคุณภาพทัดเทียมกันจากผู้ผลิตในต่างประเทศอีกหลายราย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับ
การผลิต ซึ่งในปัจจุบันราคาวัตถุดิบที่นำเข้าไม่แตกต่างราคาที่ซื้อภายในประเทศ
3. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบประเภทเม็ดพลาสติก
เนื่องจากราคาเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงตามราคาตลาดโลก ดังนั้น การ
เปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบดังกล่าวจึงอาจมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทฯ มี
การกำหนดราคาสินค้าโดยพิจารณาถึงอัตราการทำกำไรที่เหมาะสม ที่สามารถครอบคลุมความผันผวนของการเปลี่ยนแปลง
ราคาเม็ดพลาสติกได้ โดยหากราคาเม็ดพลาสติกอยู่ในระดับประมาณ 600-800 เหรียญสหรัฐต่อตันแล้ว บริษัทฯจะได้รับ
ผลกระทบจากความผันผวนของราคาเม็ดพลาสติกน้อยมาก โดยในปัจจุบันราคาเม็ดพลาสติกยังคงอยู่ในระดับดังกล่าว
ซึ่งเป็นระดับราคาที่บริษัทฯ สามารถยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น
ระยะเวลานาน และมากกว่าช่วงระดับราคาดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ จะพิจารณาการปรับราคาสินค้าให้เหมาะสมกับต้นทุน
การผลิตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบจึงผลกระทบน้อยมากต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งนี้
จากนโยบายการกำหนดราคาสินค้าของบริษัทฯ รวมทั้งการบริหารจัดการสั่งซื้อเม็ดพลาสติก ตามที่กล่าวไว้แล้วในข้อ 2
จึงถือได้ว่าเป็นการจำกัดความเสี่ยงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงราคาเม็ดพลาสติกได้ในระดับหนึ่ง
4. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขนส่งสารเคมีที่เป็นอันตราย
ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาค
เอเชียบางประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้กำหนดมาตรฐานบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ
องค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อสร้างความปลอดภัยในการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสารเคมีที่เป็นอันตราย ซึ่งตลอด
ระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ทั่วโลกและ UN ต่างได้กำหนดมาตรการควบคุมความปลอดภัยสำหรับการขนส่ง
สินค้าระหว่างประเทศที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ จึง
จำเป็นต้องมีความไวต่อการรับรู้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงมาตรการการควบคุมและมาตรฐานต่างๆ รวมทั้งมีการปรับปรุง
กระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าว ทั้งนี้ MAUSER ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตถังพลาสติก
และเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทฯ ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของมาตรการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และ
มีหน่วยวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะนำมาปรับปรุงการผลิตให้สอดคล้องตามเกณฑ์
และมาตรฐานใหม่ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมแก่ผู้ที่ได้รับลิขสิทธิ์ของ MAUSER ทั่วโลก
5. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีการผลิตในปัจจุบัน การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุสารเคมี
อันตรายประเภทต่างๆ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ขนาดบรรจุ 200 ลิตร สำหรับการขนส่งทั้งภายในประเทศและระหว่าง
ประเทศ มีการควบคุมคุณภาพบรรจุภัณฑ์โดยใช้เกณฑ์ตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ (UN) ดังนั้น หาก
มาตรการควบคุมคุณภาพมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ประเภทดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงขั้นตอนและเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพ
บรรจุภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา ทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิต MAUSER
จะจัดสัมมนา และจัดฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่ได้รับลิขสิทธิ์ของ MAUSER ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงบริษัทฯ ด้วย บริษัทฯ จึงไม่มี
ค่าใช้จ่ายในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่บริษัทฯ จะมีเพียงค่าใช้จ่ายในการ
เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรสำหรับการผลิตเท่านั้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการผลิตดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นปัจจัย
สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตของบริษัทฯ
6. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ลิขสิทธิ์การผลิตจากผู้คิดค้นเทคโนโลยี
บริษัทฯ มีรายได้หลักประมาณร้อยละ 70 ของรายได้จากการขายรวม จากการผลิตและจำหน่ายถังพลาสติก ขนาด
200 ลิตร ประเภท L-Ring ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโลยีจาก MAUSER ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลกอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้ ในประเทศไทย MAUSER ได้ให้ลิขสิทธิ์ในเทคโนโลยีการผลิตถังพลาสติกประเภทดังกล่าวแก่บริษัทฯ เพียงรายเดียว
ซึ่งมีการทำสัญญา Know-How Agreement เป็นระยะเวลา 5 ปี และสัญญาดังกล่าวจะหมดอายุในปลายปี 2547 ดังนั้น หากใน
อนาคต MAUSER มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ลิขสิทธิ์การผลิต อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯ กับ MAUSER แล้ว พบว่ามีความสัมพันธ์อันดีตลอด
ระยะเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งในปัจจุบันบริษัทฯ ได้เจรจาต่อสัญญาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสัญญาใหม่นี้มีอายุ 8 ปี โดยเริ่มมีผลใช้
บังคับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 และสิ้นสุดลงในปลายปี 2554 ทั้งนี้ อายุของสัญญาดังกล่าวมีอายุครอบคลุมเวลาสิทธิบัตร
ที่เหลืออยู่ทั้งหมดของ MAUSER ซึ่งสิทธิบัตรสำหรับการผลิตถังลักษณะ L-Ring จะหมดลงในปี 2551 และสิทธิบัตรสำหรับ
การผลิตส่วนบนของถังที่มีลักษณะลาดเอียงเพื่อลดสารตกค้างภายใน จะหมดลงในปี 2554 นอกจากนั้น ในปัจจุบัน บริษัทฯ
ได้มีนโยบายในการขยายตลาดไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความต้องการถังพลาสติกขนาดเล็ก คือ ขนาด 20 ลิตรและ 30 ลิตร โดย
บริษัทฯ อยู่ระหว่างการรอเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตถังประเภทดังกล่าว
7. ความเสี่ยงจากการเข้ามาเป็นคู่แข่งจากผู้คิดค้นเทคโนโลยีการผลิตรายอื่น
ในปัจจุบัน มีผู้คิดค้นเทคโนโลยีการผลิตถังที่มีคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ นอกเหนือจากถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร
ประเภท L-Ring ของ MAUSER อีกหลายราย ที่ยังมิได้มอบเทคโนโลยีการผลิตดังกล่าวให้แก่ผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งใน
ประเทศไทย ดังนั้น ในอนาคต หากผู้คิดค้นเทคโนโลยีดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ลิขสิทธิ์ทางด้าน
เทคโนโลยีการผลิตกับผู้ผลิตในประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งทางการตลาดในส่วนของถังพลาสติกที่มีลักษณะ
เฉพาะ 200 ลิตรประเภท L-Ring ของบริษัทฯ ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมาได้มีผู้คิดค้นเทคโนโลยีการผลิตถัง
ที่มีคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ หลายรายเข้ามาร่วมดำเนินการกับผู้ประกอบการภายในประเทศแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
และถอนตัวออกไปในที่สุด ในขณะที่ MAUSER ก็เป็นบริษัทชั้นนำในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถังพลาสติก
ที่มีลักษณะเฉพาะขนาด 200 ลิตรประเภท L-Ring ที่ได้รับความเชื่อถือและความนิยมจากผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตและ
ส่งออกสารเคมีอันตรายทั่วโลก
8. ความเสี่ยงจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายการบริหารงาน
ภายหลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในครั้งนี้ กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ กลุ่มไตรจักรภพ กลุ่มอำไพกุลวัฒนา และ
บริษัทที่เกี่ยวข้อง จะถือหุ้นในสัดส่วนรวมกันมากกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ จึงทำให้ผู้ถือหุ้น
ใหญ่เหล่านี้ สามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งกรรมการ หรือการขอมติใน
เรื่องอื่นที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ยกเว้นเรื่องที่กฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดให้ต้องได้รับ
เสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การแก้ไขข้อบังคับ การเพิ่มทุน และการลดทุน เป็นต้น ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายอื่นจึงอาจ
ไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอได้
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาโครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการ
ตรวจสอบแล้วพบว่า บริษัทฯ มีการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการโดยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีการกำหนดขอบเขต
การดำเนินงานและการมอบอำนาจให้แก่กรรมการ และผู้บริหารของบริษัทอย่างชัดเจน มีการกำหนดมาตรการการทำรายการ
ที่เกี่ยวโยงกับกรรมการ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ รวมถึงบุคคลที่มีความขัดแย้ง โดยจำกัดการออกเสียงของ
ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง และมีบุคคลภายนอกที่เป็นอิสระเข้าร่วมตรวจสอบ ถ่วงดุลการตัดสินใจ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่
ผู้ถือหุ้นถึงความโปร่งใสและถ่วงดุลอำนาจในการบริหารงานของบริษัทฯ
กรณีพิพาท - ไม่มี -
จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2546 จำนวน 31 คน
ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรมถังพลาสติก จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2531
โดยนายสรสินธุ ไตรจักรภพ และนายธงชัย อำไพกุลวัฒนา ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกที่ 20 ล้านบาท โดยเริ่มผลิตถังพลาสติก
ขนาด 200 ลิตรแบบ L-Ring ภายใต้ลิขสิทธิ์เทคโนโลยีการผลิตของ MAUSER ประเทศเยอรมัน โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็น
ผู้ผลิตสารเคมี น้ำมันหล่อลื่น และอาหาร ต่อมาลูกค้ามีความต้องการหลากหลายมากขึ้น จึงมีการเพิ่มสายการผลิตถังพลาสติก
ขนาด 30 ลิตรแบบหูหิ้ว ในปี 2533 และเริ่มมีการผลิตถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรแบบฝาเปิดกว้างในปี 2535 เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้าที่ใช้บรรจุสินค้าที่เป็นของแข็ง ผง เกล็ด หรือสินค้าที่มีลักษณะเหนียวข้น บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียน
เป็น 30 ล้านบาทในปี 2541 เพื่อขยายการผลิตถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร บริษัทได้รับใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตาม
มาตรฐานเลขที่ มอก./ISO 9002 โดยสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO ในปี 2542 นอกจากนี้ยังได้รับใบรับรองระบบบริหารงาน
คุณภาพตามมาตรฐานเลขที่ มอก./ISO 9001:2000 โดยสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO เมื่อเดือนมกราคม 2546 อีกด้วย
เงินลงทุนในบริษัทย่อยบริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง - ไม่มี -
การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
หน่วย : ล้านบาท
วัน/เดือน/ปี ทุนที่เพิ่ม (ลด) หลังเพิ่ม (ลด)ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
25 สิงหาคม 2546 10 40 - เพื่อชำระคืนเงินกู้
- เพื่อซื้อเครื่องจักรสำหรับเพิ่มกำลังการผลิต
ถังพลาสติกขนาด 20-30 ลิตร ให้สอดคล้องกับ
ความต้องการของตลาดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
- เพื่อซื้ออุปกรณ์ประกอบในการผลิต
- เพื่อสำรองใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ
รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 31 ธันวาคม
ผู้สอบบัญชี นายพิพัฒน์ ปุสยานนท์ บริษัท สำนักงาน พิพัฒน์และเพื่อน จำกัด
นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ แอสเซท พลัส จำกัด (มหาชน)
นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีและสำรองตาม
กฎหมายแล้ว และการจ่ายเงินปันผลนั้นไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ
บัตรส่งเสริมการลงทุน - ไม่มี -
จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ปรากฏดังนี้
จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic Shareholders
1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ - - -
1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่ 4 9,430,000 23.58
เกี่ยวข้องและบุคคลที่มีความสัมพันธ์
1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 4 16,500,000 41.25
1.4 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลา 3 4,100,000 10.25
ที่กำหนด
2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 1,016 9,970,000 24.92
3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - -
รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 1,027 40,000,000 100.00
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ปรากฏดังนี้
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. นายธงชัย อำไพกุลวัฒนา 7,800,000 19.50
2. บริษัท ศรีเทพไทยลาเท็กซ์ จำกัด 5,250,000 13.13
3. บริษัท ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ จำกัด 3,750,000 9.38
4. นายประเสริฐ ไตรจักรภพ 3,750,000 9.38
5. นายปราโมทย์ ไตรจักรภพ 3,750,000 9.38
6. นายวิโรจน์ เตชะทัศนะสุนทร 1,500,000 3.75
7. นางธีรนุช ขุมทรัพย์ 1,300,000 3.25
8. นายวรรณธรรม อำไพกุลวัฒนา 1,300,000 3.25
9. นายธัชวุฒิ อำไพกุลวัฒนา 1,300,000 3.25
10. นายกำพล วัฒนาสุรกิตต์ 300,000 0.75
รวม 30,000,000 75.00
ผู้ถือหุ้นต่างด้าว
ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 24 ราย
ถือหุ้นรวมกัน 1,232,800 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 3.08 ของทุนจดชำระแล้ว
หมายเหตุ ตามข้อบังคับของบริษัทฯ ข้อ 11 กำหนดว่า "หุ้นของบริษัทโอนได้อย่างเสรีโดยไม่มีข้อจำกัด
เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีคนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 49 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด
ของบริษัท"
คณะกรรมการ คณะกรรมการจำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย
ชื่อ ตำแหน่ง
1. นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการ
2. นายธงชัย อำไพกุลวัฒนา กรรมการและกรรมการผู้จัดการ
3. นายวิเชียร เตชะทัศนะสุนทร กรรมการ
4. นายสุทัศน์ ไตรจักรภพ กรรมการ
5. นางธีรนุช ขุมทรัพย์ กรรมการ
6. นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการ
7. นายมนัส ลิมปพยอม กรรมการ
8. นายสวาสดิ์ ปุ้ยพันธวงศ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ
9. นายปิง คุณะวัฒน์สถิตย์ กรรมการตรวจสอบ
10.นายนิคม ศิลปอาชา กรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ มีรายนามดังนี้
ชื่อ ตำแหน่ง
1. นายสวาสดิ์ ปุ้ยพันธวงศ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ
2. นายปิง คุณะวัฒน์สถิตย์ กรรมการตรวจสอบ
3. นายนิคม ศิลปอาชา กรรมการตรวจสอบ
ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ
1. สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ
2. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล
โดยสอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชี
3. สอบทานการปฏิบัติของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ
ตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
4. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ให้มีความถูกต้อง และครบถ้วน รวมทั้งการพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าว เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม
คณะกรรมการ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อไป
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย
7. จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงาน
ดังกล่าวลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
8. รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับ
มอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
9. ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ประธานกรรมการตรวจสอบ 2 ปี
2. กรรมการตรวจสอบ 2 ปี
(รวมทั้งการแต่งตั้งเพิ่มและถอดถอนจากกรรมการตรวจสอบ)
เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ (ถ้ามี) - ไม่มี -
ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น
ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นจำนวน 30 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนชำระแล้ว
ก่อนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป หรือเท่ากับร้อยละ 75 หลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรอง
ต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของ
บริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการ
ผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมด
ที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือน สามารถขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด
อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี) - ไม่มี -
สถิติ
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน)
|--------หน่วย : พันบาท-------| --------------หน่วย : บาท/หุ้น --------------|
ปี รายได้ กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย สุทธิ สุทธิ ตามบัญชี ต่อกำไร (%)
2543* 164,854 34,410 114.70 105.00 312.54 91.54%
2544* 142,720 21,401 71.34 120.00 263.87 168.21%
2545* 200,175 57,730 192.43 310.00 146.31 161.10%
งวด 6 เดือน สิ้นสุด 113,868 33,769 112.56 120.00 258.87 106.61%
30 มิถุนายน 2546*
(สอบทานแล้ว)
งวด 9 เดือน สิ้นสุด 170,323 50,468 1.68 - 1.95 -
30 กันยายน 2546**
(สอบทานแล้ว)
* มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท จำนวนหุ้น 300,000 หุ้น
** มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท จำนวนหุ้น 30,000,000 หุ้น
บริษัทฯ ได้เปลี่ยนมูลค่าที่ตราไว้จาก 100 บาทเป็น 1 บาท เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ธันวาคม 2543 -2545, มิถุนายน 2546 และ กันยายน 2546
(หน่วย: พันบาท)
รายการ 2543 2544 2545 30 มิ.ย. 2546 30 ก.ย. 2546
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน 17,911 6,658 10,990 10,002 7,668
ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน - 139 - - -
ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า-สุทธิ 23,533 13,924 29,156 32,908 28,058
สินค้าคงเหลือ 7,492 8,578 5,703 9,472 11,362
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน* - - - - -
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 129 192 262 17,037 16,830
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 49,084 29,490 46,111 69,420 63,918
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน* 19,141 24,949 299 305 -
เงินฝากธนาคาร-ค้ำประกัน - 2,378 2,407 2,407 2,467
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สุทธิ 54,507 47,043 46,744 53,693 55,267
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 28 5,680 18 101 14
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 73,676 80,050 49,469 56,505 57,748
รวมสินทรัพย์ 122,760 109,540 95,580 125,925 121,666
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจาก - 10,897 10,000 10,622 12,610
สถาบันการเงิน
เจ้าหนี้และตั๋วเงินจ่ายการค้า 7,272 7,906 12,488 17,330 17,686
เจ้าหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน 490 1,601 - - -
ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระ - - - - 10,001
ภายใน 1 ปี
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 7,840 3,371 19,985 14,930 10,801
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 2,497 2,443 9,214 5,382 5,709
รวมหนี้สินหมุนเวียน 18,099 26,217 51,687 48,264 56,806
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 10,900 4,161 - - 6,499
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 10,900 4,161 - - 6,499
รวมหนี้สิน 28,999 30,378 51,687 48,264 63,306
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนเรือนหุ้น
ทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000
กำไร (ขาดทุน) สะสม
จัดสรรแล้ว สำรองตามกฎหมาย 3,000 3,000 3,000 3,000 4,000
ยังไม่ได้จัดสรร 60,761 46,162 10,892 44,661 24,360
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 93,761 79,162 43,892 77,661 58,360
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 122,760 109,540 95,580 125,925 121,666
หมายเหตุ: * มีการจัดกลุ่มเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันเป็นเงินให้กู้ยืมระยะยาว เนื่องจากเงินให้กู้ยืมทีเหลืออยู่ใน
ปี 2546 เป็นเงินกู้ยืมที่มีอายุเกิน 1 ปี จึงมีการจัดกลุ่มเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้อยู่ในรายการ
เดียว เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงได้สะดวกขึ้น
รายการ 2543 2544 2545 1 ม.ค.-30 มิ.ย.2546 1 ม.ค.-30 ก.ย.2546
พันบาท % พันบาท % พันบาท % พันบาท % พันบาท %
รายได้
รายได้จากการขายสินค้า 164,854 97.54% 142,720 97.84% 200,175 98.44% 113,868 98.47% 170,323 98.28%
รายได้เงินชดเชยภาษีอากร 2,412 1.43% 1,977 1.35% 897 0.44% - - 1,112 0.64%
ดอกเบี้ยรับ 1,308 0.77% 1,056 0.72% 1,215 0.60% 26 0.02% 75 0.04%
รายได้อื่น 443 0.26% 126 0.09% 1,052 0.52% 1,748 1.51% 1,793 1.03%
รวมรายได้ 169,016 100.00% 145,878 100.00% 203,338 100.00% 115,641 100.00% 173,303 100.00%
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขาย 107,843 63.81% 103,011 70.61% 107,091 52.67% 57,351 49.59% 85,663 49.43%
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 10,855 6.42% 11,331 7.77% 12,675 6.23% 9,344 8.08% 14,763 8.52%
รวมค่าใช้จ่าย 118,699 70.23% 114,342 78.38% 119,765 58.90% 66,695 57.67% 100,427 57.95%
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและ 50,317 29.77% 31,536 21.62% 83,573 41.10% 48,946 42.33% 72,876 42.05%
ภาษีเงินได้
ดอกเบี้ยจ่าย 1,013 (0.60%) 838 (0.57%) 795 (0.39%) 224 (0.19%) 324 (0.19%)
ภาษีเงินได้ 14,895 (8.81%) 9,297 (6.37%) 25,048 (12.32%) 14,953 (12.93%) 22,085 (12.74%)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 34,410 20.36% 21,401 14.67% 57,730 28.39% 33,769 29.20% 50,468 29.12%
กำไรขั้นต้นต่อหุ้นพื้นฐาน (บาท) 114.70 71.34 192.43 112.56 1.68
รายการที่สำคัญในงบการเงิน (ณ 30 กันยายน 2546)
ลูกหนี้การค้า
บริษัทฯ มีลูกหนี้การค้าอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 23 ของสินทรัพย์รวมทั้งหมด และมีระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยประมาณ 46 วัน
บริษัทฯ ไม่มีนโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เนื่องจากลูกค้าของบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นเป็นบริษัทขนาดใหญ่
มีฐานะการเงินดี และชำระตรงตามกำหนดเสมอมา โดยไม่มีการค้างชำระค่าสินค้า
สินค้าคงเหลือ
บริษัทฯ มีอัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือในระดับสูงคือประมาณ 13 รอบต่อปี โดยคิดเป็นระยะเวลาการขายสินค้า
เฉลี่ยที่ 27 วัน
บริษัทฯ ไม่มีนโยบายสต๊อกสินค้าจำนวนมาก มีการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ และแผนการผลิตสินค้าล่วงหน้า โดย
ประมาณการจากสอบถามลูกค้าล่วงหน้า และจากสถิติการสั่งซื้อสินค้าในอดีตที่ผ่านมา
เจ้าหนี้การค้า
บริษัทฯ มีระยะเวลาการชำระหนี้ ณ 30 กันยายน 2546 เท่ากับ 48 วัน
โครงสร้างเงินทุน (หนี้สิน/ส่วนของผู้ถือหุ้น)
หนี้สินหมุนเวียนส่วนใหญ่ของบริษัทฯ จะเป็นเจ้าหนี้การค้า และส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระ
ภายใน 1 ปี
ณ 30 กันยายน 2546 มีหนี้สินระยะยาวกับสถาบันการเงินอยู่ทั้งสิ้น 16.50 ล้านบาท อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของ
ผู้ถือหุ้น ณ 30 กันยายน 2546 อยู่ที่ระดับ 1.08 เท่า
กำไรสะสม
ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 บริษัทฯ มีกำไรสะสม 28.36 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯ มีการจ่ายเงินปันผล จำนวนทั้งสิ้น 36
ล้านบาท เมื่อเดือนสิงหาคม และกันยายน 2546
การจ่ายเงินปันผล
ที่ผ่านมาบริษัทฯ จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในอัตราส่วนต่อกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
บริษัทฯ มีการจ่ายเงินปันผล 2 ครั้งๆ ละ 18 ล้านบาท คิดเป็นทั้งสิ้น 36 ล้านบาท เป็นเงินปันผลต่อหุ้นเท่ากับ 120 บาท
และคิดเป็นอัตราเงินปันผลต่อกำไรเท่ากับร้อยละ 106.61 สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนปี 2546
รายได้จากการขาย
สำหรับงบการเงินงวด 9 เดือนปี 2546 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณ
ร้อยละ 15 อันเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของโลก และการขยายตัวของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และอาหาร
ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไป
ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
สำหรับผลการดำเนินการ 9 เดือนปี 2546 ต้นทุนขายของบริษัทฯ อยู่ในระดับร้อยละ 49 ของรายได้รวม และมีค่าใช้จ่าย
ในการขายและบริหารคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.5 ของรายได้รวม ทั้งนี้ทำให้บริษัทมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นร้อยละ 42
กำไรสุทธิ
กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด สำหรับงวด 9 เดือนแรกปี 2546 อัตราส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 29
จัดทำโดย บริษัทหลักทรัพย์ แอสเซท พลัส จำกัด (มหาชน)
ลุงขวดคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
จากข้างล่างนี้ เขาบอกว่ากำไรเขาดี ปันผลปีที่แล้ว ร้อยกว่าเปอร์เซ็นต์
สงสัยก่อนเข้าตลาดเขา พาร์ 100 บาท เขามีกำไรและ เขาปันผลกันตามตารางข้างล่างนี้ นับว่าสูงมากครับ ลองพิจารณาดู ครับ
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน)
|--------หน่วย : พันบาท-------| --------------หน่วย : บาท/หุ้น --------------|
ปี รายได้ กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย สุทธิ สุทธิ ตามบัญชี ต่อกำไร (%)
2543* 164,854 34,410 114.70 105.00 312.54 91.54%
2544* 142,720 21,401 71.34 120.00 263.87 168.21%
2545* 200,175 57,730 192.43 310.00 146.31 161.10%
งวด 6 เดือน สิ้นสุด 113,868 33,769 112.56 120.00 258.87 106.61%
: สรุปข้อสนเทศ : PD
Date: 27/11/2003 13:31
Description:
- สรุปข้อสนเทศ -
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน) (PD)
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และโรงงาน :
136-136/1 หมู่ 17 นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ตำบลบางเสาธง กิ่งอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : (66) 2315-2289-90
โทรสาร : (66) 2315-1293 Website: www.plasticdrum.com
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546)
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 40 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 40 ล้านบาท
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI)
ราคาเสนอขาย 9 บาท
ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
ผลิตและจำหน่ายถังพลาสติกเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าประเภทต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีคุณภาพ
ตรงตามมาตรฐานสากลที่กำหนดให้ใช้สำหรับการขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดตามเกณฑ์
ขององค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทฯ ผลิตโดยใช้วัตถุดิบเม็ดพลาสติกและเม็ดสีที่เป็น Food Grade
คือสามารถบรรจุสินค้าประเภทอาหารและสินค้าที่ไม่ต้องการให้มีการปนเปื้อนจากบรรจุภัณฑ์ สินค้าหลักที่บริษัทฯ ผลิตและ
จำหน่ายสามารถจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ
1) ถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรประเภท L-Ring
ถังที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากถังพลาสติกทั่วไปคือ ส่วนบนของถังมีขอบสำหรับจับยึดโดยอุปกรณ์สำหรับยก
หรือเคลื่อนย้ายสินค้าซึ่งติดกับรถยกสินค้า (Forklift) เพื่อความสะดวกในการขนย้าย และความลาดชันส่วนบนของถังที่ติด
กับฝา สามารถลดสารตกค้างภายในถังให้เหลือน้อยที่สุดได้ (Optimally Drainable) ถังประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้บรรจุสินค้า
ประเภทสารเคมีอันตราย น้ำยางข้น น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันพืช อาหาร หรือวัสดุที่องค์การสหประชาชาติกำหนดมาตรฐานของ
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่ง ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถังประเภทนี้จาก MAUSER
Maschinentechnik GmbH ("MAUSER"), เยอรมนี
2) ถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรประเภทฝาเปิดกว้าง (Open-Top)
ถังประเภทนี้มีปากกว้างและมีฝาขนาดใหญ่ ช่วยเพิ่มความสะดวกในการถ่ายเทสินค้า และการทำความสะอาด เพื่อ
นำกลับมาใช้งานได้อีก ถังประเภทนี้เหมาะสำหรับบรรจุวัสดุที่มีลักษณะเป็นผง เกล็ด เม็ด หรือมีความเหนี่ยวข้น เช่น ผงกาแฟ
จาระบี แบะแซหรือกลูโคส เป็นต้น
3) ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตรและ 30 ลิตร
ถังขนาดเล็กเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกในการขนย้ายด้วยแรงคน
ลักษณะพิเศษของถังประเภทนี้ คือ มีฝาเกลียวพร้อมลูกยางระบายความดันที่สามารถปรับแรงดันภายใน ที่เกิดจากสาร
ที่บรรจุได้ ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับใช้บรรจุสารเคมีอันตรายที่อาจทำปฏิกิริยาและสามารถสร้างแรงดันภายในได้ และ
เหมาะสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากผลิตจากเม็ดพลาสติกและเม็ดสีที่เป็น Food Grade จึงไม่มีสารปนเปื้อน
ที่เป็นอันตรายจากบรรจุภัณฑ์
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังผลิตฝาถังสำหรับถังขนาด 20 ลิตร และ 30 ลิตร เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
และจำหน่ายเป็นอะไหล่ให้กับลูกค้าอีกด้วย
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) - ไม่มี -
สรุปสาระสำคัญของสัญญา
MAUSER Maschinentechnik GmbH ได้จดสิทธิบัตรการผลิตถังพลาสติกลักษณะ L-Ring ตั้งแต่พ.ศ. 2532 ซึ่ง
สิทธิบัตรฉบับนี้จะหมดอายุในพ.ศ. 2551 และจดสิทธิบัตรการผลิตส่วนบนของถังที่มีลักษณะลาดเอียงเพื่อลดสารตกค้าง
ภายในถัง (Optimally Drainable) เมื่อพ.ศ. 2535 โดยสิทธิบัตรฉบับนี้จะหมดอายุในพ.ศ. 2554
MAUSER ได้ทำสัญญาการให้ลิขสิทธิ์เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต (Know How Agreement) ถังพลาสติก
ขนาด 200 ลิตรประเภท L-Ring กับบริษัทฯ โดยให้บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับลิขสิทธิ์นี้
บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าธรรมเนียมการได้รับลิขสิทธิ์หรือ Know How Fee ปีละ DEM 10,000 โดย Know How
Agreement นี้ได้ระบุเวลาสิ้นสุดไว้ที่พ.ศ. 2547 และหลังจากพ.ศ. 2547 เป็นต้นไป หากไม่มีการแจ้งยกเลิกสัญญาเป็น
ลายลักษณ์อักษรก่อนวันครบสัญญาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน สัญญานี้จะได้รับการต่ออายุเป็นรายปีโดยอัตโนมัติ
ตลอดไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันบริษัทฯ ได้รับการต่ออายุสัญญา Know How Agreement จาก MAUSER ออกไปอีก
8 ปี เพื่อให้ได้ครอบคลุมตามอายุของสิทธิบัตรการผลิตถังประเภท L-Ring และประเภท Optimally Drainable โดยสัญญา
ใหม่นี้เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 และจะสิ้นสุดลงในปี 2554 ซึ่งสัญญาใหม่นี้มีเงื่อนไขไม่แตกต่าง
จากสัญญาเดิม เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
การผลิต (Know How Fee) จากปีละ DEM 10,000 เป็นปีละ EUR 5,100 (อัตราแลกเปลี่ยน DEM 1 เท่ากับ EUR 1.96)
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เป็น Know How Fee เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีและการตลาดเท่านั้น
ไม่รวมถึงค่าเครื่องจักรที่นำมาใช้ในการผลิต ซึ่งบริษัทฯ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการลงทุนส่วนเครื่องจักร และอุปกรณ์
ต่างๆ อย่างไรก็ตาม สัญญาดังกล่าวไม่มีข้อผูกมัดที่ระบุอย่างชัดเจนว่าเมื่อใดบริษัทฯ จะต้องสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่จาก
MAUSER อีกทั้ง ในสัญญายังไม่มีเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญา
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - ไม่มี -
การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ
บริษัทฯ ได้รับการถ่ายทอดและให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องทางด้านเทคโนโลยีและการตลาด ตาม Know How
Agreement จาก MAUSER โดย MAUSER จะจัดให้มีการอบรมทุกๆ 2 ปีครั้ง สลับกันระหว่างด้านเทคโนโลยีการผลิต
และด้านการตลาด โดยบริษัทฯ จะเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเดินทางและค่าที่พักในการเข้าร่วมการอบรมเท่านั้น
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังเป็นสมาชิกของ MAUSER International Packaging Institute (MIPI) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการ
พบปะหารือในด้านต่างๆ ระหว่างสมาชิกผู้ที่ได้รับลิขสิทธิ์จาก MAUSER ทั่วโลก โดยบริษัทมีค่าใช้จ่ายในการดำรง
สถานะสมาชิกดังกล่าวจำนวน EUR 5,200 ต่อปี
โครงการดำเนินงานในอนาคต (ถ้ามี) - ไม่มี -
รายการระหว่างกัน
ตามงบการเงินปี 2545 และงวด 6 เดือนแรกของปี 2546 บริษัทฯ มีการทำรายการระหว่างบริษัทกันกับที่เกี่ยวข้อง
และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ตามที่ได้แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 ของงบการเงินปี 2545 และ
งบการเงินงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2546 ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ระบุว่าเป็นรายการที่เป็นไปตามธุรกิจปกติ
รายละเอียดของรายการดังกล่าวมีดังนี้
- การขายสินค้า
รายชื่อ ลักษณะรายการ มูลค่าของรายการ (บาท)
2545 ม.ค.-มิ.ย. 2546
บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ บริษัทฯ ขายถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรจำนวน 80 ถัง ใน 66,400 -
ราคาถังละ 830 บาท ซึ่งเป็นราคาขายตามปกติ ทั้งนี้ปริมาณ
สั่งซื้อที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณการขายทั้งหมด โดยคิด
เป็นร้อยละ 0.03
- การซื้อสินค้า (วัตถุดิบ)
รายชื่อ ลักษณะรายการ มูลค่าของรายการ (บาท)
2545 ม.คมิ.ย. 2546
บจก. ศรีเทพไทยมาร์เก็ตติ้ง บริษัทฯ ซื้อวัตถุดิบเม็ดพลาสติก เป็นรายการซื้อที่เป็นไปตาม 3,402,000 65,500
เงื่อนไขทางธุรกิจปกติ และในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อ
เทียบกับปริมาณวัตถุดิบเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด
บจก. ศรีเทพไทยคอร์ปอเรชั่น บริษัทฯ ซื้อวัตถุดิบเม็ดพลาสติก เป็นรายการซื้อที่เป็นไปตาม 3,524,750 43,000
เงื่อนไขทางธุรกิจปกติ และในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อ
เทียบกับปริมาณวัตถุดิบเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด
บจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์ บริษัทฯ ซื้อฝาปิดถังแบบ Open-top เป็นรายการซื้อที่เป็นตาม 3,773,810 904,000
จำกัด เงื่อนไขทางธุรกิจปกติ
บจก. เค.เอ็ม.เอส. มาร์เก็ตติ้ง บริษัทฯ ซื้อวัตถุดิบเม็ดพลาสติก เป็นรายการซื้อที่เป็นไปตาม 1,546,250 -
เงื่อนไขทางธุรกิจปกติ และในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อ
เทียบกับปริมาณวัตถุดิบเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด
- เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง
รายชื่อ ลักษณะรายการ มูลค่าของรายการ (บาท)
2545 ม.คมิ.ย. 2546
บจก.พานทองบรรจุภัณฑ์* ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 18,636,815.49 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 0.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 6.37ต่อปี) 740,465.77 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (19,377,281.26) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
บจก.ศรีเทพไทยลาเท็กซ์ ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 6,024,164.38 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 2,000,000.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 7 ต่อปี) 58,301.38 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (8,082,465.76) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
บจก. ไทยเอกรัฐโฮลดิ้ง ** ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 288,483.55 299,483.55
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 0.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 5.5 ต่อปี) 11,000.00 5,454.79
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด 0.00 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 299,483.55 304,938.34
บจก. เอส.พี.เอส โฮลดิ้ง ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 0.00 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 5,000,000.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 7 ต่อปี) 87,260.27 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (5,087,260.27) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
บจก. ออสเตรเลี่ยน บิลดิ้ง ซิสเต็ม ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 0.00 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 5,000,000.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 7 ต่อปี) 70,000.00 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (5,070,000.00) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ยอดคงเหลือยกมาต้นงวด 0.00 0.00
ให้กู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด - เงินต้น 15,000,000.00 0.00
- ดอกเบี้ย (ร้อยละ 7 ต่อปี) 193,698.63 0.00
รับคืนเงินให้กู้ยืมระหว่างงวด (15,193,698.63) 0.00
ยอดคงเหลือปลายงวด 0.00 0.00
หมายเหตุ : * บริษัท พานทองบรรจุภัณฑ์ จำกัด ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายกระสอบพลาสติก ซึ่งเป็นธุรกิจ
ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับธุรกิจของบริษัทฯ ดังนั้น จึงเป็นไม่ถือว่าเป็นคู่แข่งของบริษัทฯ
** บริษัท ไทยเอกรัฐโฮลดิ้ง จำกัด หยุดประกอบธุรกิจแล้ว ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรอง
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เพื่อไม่บันทึกรายได้ดอกเบี้ยอีกในไตรมาส 3 ปี 2546
- รายละเอียดลักษณะความสัมพันธ์
บริษัท ลักษณะความสัมพันธ์
บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ - บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ในสัดส่วนร้อยละ 17.5
- บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ ถือหุ้นโดย บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ (ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ
บริษัทฯ) ในสัดส่วนร้อยละ 7.98
- บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ ถือหุ้นใน บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 25
- นายสุทัศน์ ไตรจักรภพ กรรมการบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ ใน
สัดส่วนร้อยละ 15
- นายวิโรจน์ เตชะทัศนะสุนทร ผู้ถือหุ้นบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจ. ศรีเพทไทยลาเทค ใน
สัดส่วนร้อยละ 2.58 และถือหุ้นใน บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 3
- นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการของ บจก. ศรีเทพ
ไทยลาเท็คซ์ นายวิเชียร เตชะทัศนะสุนทร กรรมการของบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจก. ศรีเทพ
ไทยลาเท็คซ์ร้อยละ 0.11 และเป็นกรรมการของ บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์
- นายปราโมช ไตรจักรภพ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บจก. ศรีเทพ
ไทยลาเท็คซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 21. 12
บจก. ศรีเทพไทยมาร์เก็ตติ้ง - นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการ และผู้ถือหุ้นของ บจก.
ศรีเทพไทย มาร์เก็ตติ้ง ในสัดส่วนร้อยละ 10
- นายปราโมช ไตรจักรภพ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บจก. ศรีเทพไทย
มาร์เก็ตติ้ง ในสัดส่วนร้อยละ 30
บจก. ศรีเทพไทยคอร์ปอเรชั่น - บจก. ศรีเทพไทยคอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นใน บจก. ศรีเทพไทยลาเท็คซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 26.03
- นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
ผูกพัน และผู้บริหารของ บจก. ศรีเทพไทยคอร์ปอเรชั่น
บจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์ - นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
ผูกพันของ บจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์
- นายวิเชียร เตชะทัศนสุนทร กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน
ของบจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์
นายสุทัศน์ ไตรจักรภพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ
บจก. เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักส์
บจก. เค.เอ็ม.เอส มาร์เก็ตติ้ง - นายปราโมช ไตรจักรภพ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน และ
เป็นผู้ถือหุ้นของ บจก. เค.เอ็ม.เอส มาร์เก็ตติ้ง ในสัดส่วนร้อยละ 10
บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์ - บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์ จำกัดถือหุ้นโดย บจก. ศรีสุราษฎร์ลาเท็กซ์ (ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ
บริษัทฯ) ในสัดส่วนร้อยละ 25.26
- นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
ผูกพันของ บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์
- นายสุทัศน์ ไตรจักรภพ กรรมการของบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์ ใน
สัดส่วนร้อยละ 8.23 และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ บจก. พานทอง
บรรจุภัณฑ์
- นายธงชัย อำไพกุลวัฒนา กรรมการและกรรมการผู้จัดการของบริษัทฯ ถือหุ้นใน บจก.
พานทองบรรจุภัณฑ์ ในสัดส่วนร้อยละ 1.34 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ
บจก. พานทองบรรจุภัณฑ์
บจก. ไทยเอกรัฐโฮลดิ้ง - นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นของ บจก. ไทยเอกรัฐโฮลดิ้ง ใน
สัดส่วนร้อยละ 10
- บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 0.4
บจก. เอส.พี.เอส โฮลดิ้ง - นายวิเชียร เตชะทัศนสุนทร กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ
บจก. เอส.พี.เอส โฮลดิ้ง และถือหุ้นร้อยละ 24.58
- นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันของ บจก.
เอส.พี.เอส โฮลดิ้ง และถือหุ้นร้อยละ 33.33
บจก. ออสเตรเลี่ยน บิลดิ้ง - นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน และ
ซิสเต็ม ผู้ถือหุ้นของบจก. ออสเตรเลี่ยน บิลดิ้ง ซิสเต็ม ในสัดส่วนร้อยละ 20.83
- นายประเสริฐ ไตรจักรภพ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นของ บจก. ออสเตรเลี่ยน บิลดิ้ง
ซิสเต็ม ในสัดส่วนร้อยละ 8.33
ความเห็นกรรมการตรวจสอบในการพิจารณารายการระหว่างกัน
การขายสินค้า
เป็นการขายสินค้าตามธุรกรรมการค้าปกติของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้กำหนดราคาขายสินค้า และเงื่อนไขการชำระ
ค่าสินค้าให้เป็นไปตามราคาและเงื่อนไขการขายสินค้าให้กับลูกค้าทั่วไปของบริษัทฯ โดยไม่มีการให้เงื่อนไขพิเศษแก่บริษัท
ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งรายการขายสินค้าให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องยังเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับ
ปริมาณการขายทั้งหมดของบริษัทฯ ดังนั้นการขายสินค้าดังกล่าวจึงมีความจำเป็นและมีความสมเหตุสมผลของรายการตาม
ประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
การซื้อสินค้า
- วัตถุดิบเม็ดพลาสติก
บริษัทฯ ได้สั่งซื้อเม็ดพลาสติกจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมสำหรับการผลิตและจะสั่งซื้อเมื่อมี
ความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น โดยราคาและเงื่อนไขที่สั่งซื้อจากบริษัทที่เกี่ยวข้องนั้นจะเป็นไปตามเงื่อนไขการค้าปกติ โดยจะ
เจรจาต่อรองราคาให้เป็นไปตามราคาตลาด เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และเมื่อพิจารณาจากยอดสั่งซื้อเม็ดพลาสติก
จากบริษัทที่เกี่ยวข้องแล้วถือว่าเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับยอดการสั่งซื้อเม็ดพลาสติกรวม โดยในปี 2545 และ
ครึ่งปีแรกปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 11.55 และ 0.23 ของยอดการสั่งซื้อเม็ดพลาสติกรวม ตามลำดับ ดังนั้น เมื่อพิจารณา
ถึงความจำเป็น และเงื่อนไขการค้าแล้ว พบว่า รายการระหว่างกันดังกล่าวเป็นรายการที่มีความจำเป็นและสมเหตุสมผล
เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
- ฝาถังแบบ Open-Top
บริษัทฯ เป็นเจ้าของแม่พิมพ์ในการผลิต โดยจำเป็นต้องว่าจ้างให้บริษัทที่มีเครื่องจักรสำหรับฉีดฝาถังดังกล่าว
ดำเนินการผลิตฝาถังแบบ Open-Top ให้แก่บริษัทฯ เนื่องจากการลงทุนในเครื่องจักรสำหรับผลิตฝาถังนั้น เป็นการลงทุน
ที่สูงและและไม่คุ้มค่าการลงทุน หากปริมาณการผลิตไม่มากพอ ทั้งนี้ในการว่าจ้างผู้ผลิตฝาถังดังกล่าว บริษัทฯ ได้
ดำเนินการเจรจากับบริษัทผู้ผลิตหลายราย และพบว่าบริษัท เวิร์ลดแวร์โพลีโพรดักซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ
บริษัทฯสามารถดำเนินการผลิตฝาถังประเภทดังกล่าวให้กับบริษัทฯ ได้ในราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสมตามเงื่อนไขการ
ค้าปกติ ซึ่งหากในอนาคต บริษัทฯ พบว่ามีผู้ประกอบการรายอื่นที่สามารถดำเนินการผลิตฝาถังประเภทดังกล่าวได้ถูกกว่า
บริษัทที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ก็พร้อมที่จะย้ายแม่พิมพ์ไปว่าจ้างบริษัทนั้นดำเนินการผลิตแทน หรือในอนาคต หากมีปริมาณ
มากพอ บริษัทฯ อาจลงทุนในส่วนของเครื่องจักรเองก็ได้ ดังนั้น การทำรายการระหว่างกันดังกล่าวจึงถือเป็นรายการที่มี
ความจำเป็นและสมเหตุสมผล เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
การให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากในอดีตเมื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นและต้องการใช้เงินเพื่อการหมุนเวียนดำเนินธุรกิจ มักจะมากู้ยืม
บริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ มีฐานะการเงินที่ดี มีเงินสดในมือสูง จึงมีความสามารถในการปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง
ได้ อย่างไรก็ตาม ในการปล่อยกู้นั้น บริษัทฯ จะคำนึงถึงฐานะการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเพื่อนำมากำหนดอัตรา
ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ซึ่งจะเป็นอัตราดอกเบี้ยตลาด โดยคำนึงถึงต้นทุนทางการเงิน หากบริษัทฯ เป็นผู้กู้จากสถาบันการเงิน
โดยในการให้กู้ยืมแต่ละรายการนั้น บริษัทฯ จะได้รับตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม ดังนั้น เมื่อพิจารณา
ถึงความสมเหตุสมผลและความจำเป็นแล้ว พบว่า รายการดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ
อย่างไรก็ตามในอนาคต เมื่อบริษัทฯเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่แล้ว หากจำเป็นต้องมีรายการดังกล่าวอีก
บริษัทฯ จะขอความเห็นจากกรรมการตรวจสอบ และขอให้กรรมการผู้มีส่วนได้เสียงดออกเสียง
นโยบายและแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันในอนาคต
บริษัทฯ คาดว่าในอนาคตอาจมีรายการที่เป็นลักษณะการค้าระหว่างกันเกิดขึ้นอีก โดยบริษัทฯ ยังคงยึดถือนโยบาย
ที่จะดำเนินการให้รายการระหว่างกันดังกล่าวเป็นไปตามลักษณะธุรกิจการค้าปกติทั่วไป และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อ
บริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะให้คณะกรรมการตรวจสอบหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ หรือผู้เชี่ยวชาญอิสระ พิจารณา
ตรวจสอบและให้ความเห็นถึงความเหมาะสมของราคา และความสมเหตุสมผลของการทำรายการด้วย รายการระหว่าง
กันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั้น คณะกรรมการบริษัทจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมตลอดถึงการปฏิบัติตาม
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการเกี่ยวโยง และการได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทฯ
สำหรับรายการระหว่างกันของบริษัทฯ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีส่วนได้ส่วนเสีย
หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่เป็นลักษณะนอกเหนือจากการค้าระหว่างกันข้างต้น บริษัทฯ คาดว่าจะไม่มี
รายการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่แล้ว แต่หากเกิดรายการดังกล่าวในอนาคต
บริษัทฯ จะจัดให้มีการทำสัญญาให้ถูกต้อง และจะให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็น
และความเหมาะสมของรายการนั้นๆ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการ
ระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯ จะให้ผู้เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกันรายการ
ดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี ทั้งนี้บริษัทฯ จะเป็นเผยรายการ
ระหว่างกันไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ
ภาระผูกพัน
ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2546
1. บริษัทฯ ขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันการใช้ไฟฟ้า จำนวน 1.14 ล้านบาท
2. บริษัทฯ นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และเครื่องจักรบางส่วน ไปใช้เป็นหลักประกันหนี้สินกับสถาบันการเงิน
วงเงินเบิกเกินบัญชี วงเงินหนังสือค้ำประกัน และวงเงินสินเชื่ออื่นๆ จำนวนทั้งสิ้น 102.34 ล้านบาท
3. บริษัทฯ มีภาระผูกพันในสัญญาซื้อเครื่องจักรเป็นจำนวน EUR 600,000 หรือเท่ากับ 28.03 ล้านบาท
ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงจากการมีผู้บริหารหลักเพียงรายเดียว
ถึงแม้ว่าตลอดระยะเวลา 16 ปีของการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ คุณธงชัย อำไพกุลวัฒนา กรรมการผู้จัดการเป็น
ผู้ดำเนินการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทฯ อย่างประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด แต่บริษัทฯ ได้มีการวางระบบ
การบริหารจัดการโดยกำหนดให้คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ทางด้านการบริหารจัดการได้มี
ส่วนร่วมในการบริหารจัดการและแสดงความเห็นในเรื่องสำคัญของบริษัทฯ นอกจากนั้น ในด้านการผลิต บริษัทฯ เป็น
ผู้ผลิตถังพลาสติกรายเดียวในประเทศที่ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก MAUSER ในการผลิตถังประเภท L-Ring
มาเป็นเวลานาน อีกทั้งยังมีผู้จัดการโรงงานที่มีประสบการณ์ ความชำนาญในเทคโนโลยีการผลิตและทำงานกับบริษัทฯ
มาเป็นเวลานาน สำหรับด้านการตลาดนั้น บริษัทฯ เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจผู้ผลิตและส่งออกเคมีภัณฑ์รายใหญ่ใน
ประเทศอยู่แล้ว เนื่องจากมีความสัมพันธ์อันดีและเป็นคู่ค้ากันเป็นระยะเวลานาน ทำให้บริษัทฯ มีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง
จากการดำเนินการข้างต้น บริษัทฯ มั่นใจว่าสามารถลดและจำกัดความเสี่ยงจากการมีผู้บริหารหลักเพียงรายเดียวได้ใน
ระดับหนึ่ง
2. ความเสี่ยงจากการมีผู้จำหน่ายวัตถุดิบรายใหญ่ในประเทศ รายเดียว
วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในกระบวนการผลิตถังพลาสติก ได้แก่ เม็ดพลาสติก ซึ่งในปี 2544 ครึ่งปีแรก 2546 บริษัทฯ
มีต้นทุนเม็ดพลาสติกคิดเป็นประมาณร้อยละ 75 ของต้นทุนการผลิตรวม โดยในปัจจุบัน บริษัทฯ สั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ใน
การผลิตส่วนใหญ่จากผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบรายใหญ่ในประเทศเป็นหลัก คือ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย
จำกัด (มหาชน) (TPI) เนื่องจาก ผู้ผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบดังกล่าวสามารถผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพตรงตามที่บริษัทฯ
ต้องการได้เป็นอย่างดีเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ผลิตในประเทศรายอื่นและสามารถส่งมอบวัตถุดิบได้ตามกำหนดเวลามา
โดยตลอด โดยในครึ่งแรกปี 2546 สัดส่วนการซื้อวัตถุดิบจาก TPI คิดเป็นร้อยละ 83 ของยอดสั่งซื้อวัตถุดิบประเภทเม็ด
พลาสติกรวมทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดการและป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวโดยสั่งซื้อวัตถุดิบ
ที่มีคุณภาพทัดเทียมกันจากผู้ผลิตในต่างประเทศอีกหลายราย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับ
การผลิต ซึ่งในปัจจุบันราคาวัตถุดิบที่นำเข้าไม่แตกต่างราคาที่ซื้อภายในประเทศ
3. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบประเภทเม็ดพลาสติก
เนื่องจากราคาเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงตามราคาตลาดโลก ดังนั้น การ
เปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบดังกล่าวจึงอาจมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทฯ มี
การกำหนดราคาสินค้าโดยพิจารณาถึงอัตราการทำกำไรที่เหมาะสม ที่สามารถครอบคลุมความผันผวนของการเปลี่ยนแปลง
ราคาเม็ดพลาสติกได้ โดยหากราคาเม็ดพลาสติกอยู่ในระดับประมาณ 600-800 เหรียญสหรัฐต่อตันแล้ว บริษัทฯจะได้รับ
ผลกระทบจากความผันผวนของราคาเม็ดพลาสติกน้อยมาก โดยในปัจจุบันราคาเม็ดพลาสติกยังคงอยู่ในระดับดังกล่าว
ซึ่งเป็นระดับราคาที่บริษัทฯ สามารถยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็น
ระยะเวลานาน และมากกว่าช่วงระดับราคาดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ จะพิจารณาการปรับราคาสินค้าให้เหมาะสมกับต้นทุน
การผลิตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบจึงผลกระทบน้อยมากต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งนี้
จากนโยบายการกำหนดราคาสินค้าของบริษัทฯ รวมทั้งการบริหารจัดการสั่งซื้อเม็ดพลาสติก ตามที่กล่าวไว้แล้วในข้อ 2
จึงถือได้ว่าเป็นการจำกัดความเสี่ยงในเรื่องการเปลี่ยนแปลงราคาเม็ดพลาสติกได้ในระดับหนึ่ง
4. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในการขนส่งสารเคมีที่เป็นอันตราย
ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศในภูมิภาค
เอเชียบางประเทศ รวมถึงประเทศไทย ได้กำหนดมาตรฐานบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ
องค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อสร้างความปลอดภัยในการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสารเคมีที่เป็นอันตราย ซึ่งตลอด
ระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ทั่วโลกและ UN ต่างได้กำหนดมาตรการควบคุมความปลอดภัยสำหรับการขนส่ง
สินค้าระหว่างประเทศที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ จึง
จำเป็นต้องมีความไวต่อการรับรู้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงมาตรการการควบคุมและมาตรฐานต่างๆ รวมทั้งมีการปรับปรุง
กระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าว ทั้งนี้ MAUSER ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตถังพลาสติก
และเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับบริษัทฯ ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของมาตรการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และ
มีหน่วยวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะนำมาปรับปรุงการผลิตให้สอดคล้องตามเกณฑ์
และมาตรฐานใหม่ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมแก่ผู้ที่ได้รับลิขสิทธิ์ของ MAUSER ทั่วโลก
5. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีการผลิตในปัจจุบัน การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุสารเคมี
อันตรายประเภทต่างๆ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ขนาดบรรจุ 200 ลิตร สำหรับการขนส่งทั้งภายในประเทศและระหว่าง
ประเทศ มีการควบคุมคุณภาพบรรจุภัณฑ์โดยใช้เกณฑ์ตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ (UN) ดังนั้น หาก
มาตรการควบคุมคุณภาพมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ประเภทดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงขั้นตอนและเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพ
บรรจุภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา ทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิต MAUSER
จะจัดสัมมนา และจัดฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่ได้รับลิขสิทธิ์ของ MAUSER ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงบริษัทฯ ด้วย บริษัทฯ จึงไม่มี
ค่าใช้จ่ายในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่บริษัทฯ จะมีเพียงค่าใช้จ่ายในการ
เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรสำหรับการผลิตเท่านั้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการผลิตดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นปัจจัย
สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตของบริษัทฯ
6. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ลิขสิทธิ์การผลิตจากผู้คิดค้นเทคโนโลยี
บริษัทฯ มีรายได้หลักประมาณร้อยละ 70 ของรายได้จากการขายรวม จากการผลิตและจำหน่ายถังพลาสติก ขนาด
200 ลิตร ประเภท L-Ring ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโลยีจาก MAUSER ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลกอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้ ในประเทศไทย MAUSER ได้ให้ลิขสิทธิ์ในเทคโนโลยีการผลิตถังพลาสติกประเภทดังกล่าวแก่บริษัทฯ เพียงรายเดียว
ซึ่งมีการทำสัญญา Know-How Agreement เป็นระยะเวลา 5 ปี และสัญญาดังกล่าวจะหมดอายุในปลายปี 2547 ดังนั้น หากใน
อนาคต MAUSER มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ลิขสิทธิ์การผลิต อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯ กับ MAUSER แล้ว พบว่ามีความสัมพันธ์อันดีตลอด
ระยะเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งในปัจจุบันบริษัทฯ ได้เจรจาต่อสัญญาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสัญญาใหม่นี้มีอายุ 8 ปี โดยเริ่มมีผลใช้
บังคับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 และสิ้นสุดลงในปลายปี 2554 ทั้งนี้ อายุของสัญญาดังกล่าวมีอายุครอบคลุมเวลาสิทธิบัตร
ที่เหลืออยู่ทั้งหมดของ MAUSER ซึ่งสิทธิบัตรสำหรับการผลิตถังลักษณะ L-Ring จะหมดลงในปี 2551 และสิทธิบัตรสำหรับ
การผลิตส่วนบนของถังที่มีลักษณะลาดเอียงเพื่อลดสารตกค้างภายใน จะหมดลงในปี 2554 นอกจากนั้น ในปัจจุบัน บริษัทฯ
ได้มีนโยบายในการขยายตลาดไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความต้องการถังพลาสติกขนาดเล็ก คือ ขนาด 20 ลิตรและ 30 ลิตร โดย
บริษัทฯ อยู่ระหว่างการรอเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตถังประเภทดังกล่าว
7. ความเสี่ยงจากการเข้ามาเป็นคู่แข่งจากผู้คิดค้นเทคโนโลยีการผลิตรายอื่น
ในปัจจุบัน มีผู้คิดค้นเทคโนโลยีการผลิตถังที่มีคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ นอกเหนือจากถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร
ประเภท L-Ring ของ MAUSER อีกหลายราย ที่ยังมิได้มอบเทคโนโลยีการผลิตดังกล่าวให้แก่ผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งใน
ประเทศไทย ดังนั้น ในอนาคต หากผู้คิดค้นเทคโนโลยีดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการให้ลิขสิทธิ์ทางด้าน
เทคโนโลยีการผลิตกับผู้ผลิตในประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งทางการตลาดในส่วนของถังพลาสติกที่มีลักษณะ
เฉพาะ 200 ลิตรประเภท L-Ring ของบริษัทฯ ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมาได้มีผู้คิดค้นเทคโนโลยีการผลิตถัง
ที่มีคุณสมบัติเฉพาะอื่นๆ หลายรายเข้ามาร่วมดำเนินการกับผู้ประกอบการภายในประเทศแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
และถอนตัวออกไปในที่สุด ในขณะที่ MAUSER ก็เป็นบริษัทชั้นนำในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถังพลาสติก
ที่มีลักษณะเฉพาะขนาด 200 ลิตรประเภท L-Ring ที่ได้รับความเชื่อถือและความนิยมจากผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตและ
ส่งออกสารเคมีอันตรายทั่วโลก
8. ความเสี่ยงจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายการบริหารงาน
ภายหลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนในครั้งนี้ กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ กลุ่มไตรจักรภพ กลุ่มอำไพกุลวัฒนา และ
บริษัทที่เกี่ยวข้อง จะถือหุ้นในสัดส่วนรวมกันมากกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ จึงทำให้ผู้ถือหุ้น
ใหญ่เหล่านี้ สามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งกรรมการ หรือการขอมติใน
เรื่องอื่นที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ยกเว้นเรื่องที่กฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดให้ต้องได้รับ
เสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การแก้ไขข้อบังคับ การเพิ่มทุน และการลดทุน เป็นต้น ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายอื่นจึงอาจ
ไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอได้
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาโครงสร้างการจัดการของบริษัทฯ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการ
ตรวจสอบแล้วพบว่า บริษัทฯ มีการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการโดยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีการกำหนดขอบเขต
การดำเนินงานและการมอบอำนาจให้แก่กรรมการ และผู้บริหารของบริษัทอย่างชัดเจน มีการกำหนดมาตรการการทำรายการ
ที่เกี่ยวโยงกับกรรมการ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ รวมถึงบุคคลที่มีความขัดแย้ง โดยจำกัดการออกเสียงของ
ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง และมีบุคคลภายนอกที่เป็นอิสระเข้าร่วมตรวจสอบ ถ่วงดุลการตัดสินใจ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่
ผู้ถือหุ้นถึงความโปร่งใสและถ่วงดุลอำนาจในการบริหารงานของบริษัทฯ
กรณีพิพาท - ไม่มี -
จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2546 จำนวน 31 คน
ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรมถังพลาสติก จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2531
โดยนายสรสินธุ ไตรจักรภพ และนายธงชัย อำไพกุลวัฒนา ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกที่ 20 ล้านบาท โดยเริ่มผลิตถังพลาสติก
ขนาด 200 ลิตรแบบ L-Ring ภายใต้ลิขสิทธิ์เทคโนโลยีการผลิตของ MAUSER ประเทศเยอรมัน โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็น
ผู้ผลิตสารเคมี น้ำมันหล่อลื่น และอาหาร ต่อมาลูกค้ามีความต้องการหลากหลายมากขึ้น จึงมีการเพิ่มสายการผลิตถังพลาสติก
ขนาด 30 ลิตรแบบหูหิ้ว ในปี 2533 และเริ่มมีการผลิตถังพลาสติกขนาด 200 ลิตรแบบฝาเปิดกว้างในปี 2535 เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้าที่ใช้บรรจุสินค้าที่เป็นของแข็ง ผง เกล็ด หรือสินค้าที่มีลักษณะเหนียวข้น บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียน
เป็น 30 ล้านบาทในปี 2541 เพื่อขยายการผลิตถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร บริษัทได้รับใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตาม
มาตรฐานเลขที่ มอก./ISO 9002 โดยสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO ในปี 2542 นอกจากนี้ยังได้รับใบรับรองระบบบริหารงาน
คุณภาพตามมาตรฐานเลขที่ มอก./ISO 9001:2000 โดยสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO เมื่อเดือนมกราคม 2546 อีกด้วย
เงินลงทุนในบริษัทย่อยบริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง - ไม่มี -
การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
หน่วย : ล้านบาท
วัน/เดือน/ปี ทุนที่เพิ่ม (ลด) หลังเพิ่ม (ลด)ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
25 สิงหาคม 2546 10 40 - เพื่อชำระคืนเงินกู้
- เพื่อซื้อเครื่องจักรสำหรับเพิ่มกำลังการผลิต
ถังพลาสติกขนาด 20-30 ลิตร ให้สอดคล้องกับ
ความต้องการของตลาดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
- เพื่อซื้ออุปกรณ์ประกอบในการผลิต
- เพื่อสำรองใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ
รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 31 ธันวาคม
ผู้สอบบัญชี นายพิพัฒน์ ปุสยานนท์ บริษัท สำนักงาน พิพัฒน์และเพื่อน จำกัด
นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ แอสเซท พลัส จำกัด (มหาชน)
นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีและสำรองตาม
กฎหมายแล้ว และการจ่ายเงินปันผลนั้นไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ
บัตรส่งเสริมการลงทุน - ไม่มี -
จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ปรากฏดังนี้
จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic Shareholders
1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ - - -
1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่ 4 9,430,000 23.58
เกี่ยวข้องและบุคคลที่มีความสัมพันธ์
1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 4 16,500,000 41.25
1.4 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลา 3 4,100,000 10.25
ที่กำหนด
2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 1,016 9,970,000 24.92
3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - -
รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 1,027 40,000,000 100.00
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ปรากฏดังนี้
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. นายธงชัย อำไพกุลวัฒนา 7,800,000 19.50
2. บริษัท ศรีเทพไทยลาเท็กซ์ จำกัด 5,250,000 13.13
3. บริษัท ศรีสุราษฎร์ลาเท็คซ์ จำกัด 3,750,000 9.38
4. นายประเสริฐ ไตรจักรภพ 3,750,000 9.38
5. นายปราโมทย์ ไตรจักรภพ 3,750,000 9.38
6. นายวิโรจน์ เตชะทัศนะสุนทร 1,500,000 3.75
7. นางธีรนุช ขุมทรัพย์ 1,300,000 3.25
8. นายวรรณธรรม อำไพกุลวัฒนา 1,300,000 3.25
9. นายธัชวุฒิ อำไพกุลวัฒนา 1,300,000 3.25
10. นายกำพล วัฒนาสุรกิตต์ 300,000 0.75
รวม 30,000,000 75.00
ผู้ถือหุ้นต่างด้าว
ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 24 ราย
ถือหุ้นรวมกัน 1,232,800 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 3.08 ของทุนจดชำระแล้ว
หมายเหตุ ตามข้อบังคับของบริษัทฯ ข้อ 11 กำหนดว่า "หุ้นของบริษัทโอนได้อย่างเสรีโดยไม่มีข้อจำกัด
เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีคนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 49 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด
ของบริษัท"
คณะกรรมการ คณะกรรมการจำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย
ชื่อ ตำแหน่ง
1. นายสรสินธุ ไตรจักรภพ ประธานกรรมการ
2. นายธงชัย อำไพกุลวัฒนา กรรมการและกรรมการผู้จัดการ
3. นายวิเชียร เตชะทัศนะสุนทร กรรมการ
4. นายสุทัศน์ ไตรจักรภพ กรรมการ
5. นางธีรนุช ขุมทรัพย์ กรรมการ
6. นายปัญญา นิลสินธพ กรรมการ
7. นายมนัส ลิมปพยอม กรรมการ
8. นายสวาสดิ์ ปุ้ยพันธวงศ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ
9. นายปิง คุณะวัฒน์สถิตย์ กรรมการตรวจสอบ
10.นายนิคม ศิลปอาชา กรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ มีรายนามดังนี้
ชื่อ ตำแหน่ง
1. นายสวาสดิ์ ปุ้ยพันธวงศ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ
2. นายปิง คุณะวัฒน์สถิตย์ กรรมการตรวจสอบ
3. นายนิคม ศิลปอาชา กรรมการตรวจสอบ
ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ
1. สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ
2. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล
โดยสอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชี
3. สอบทานการปฏิบัติของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ
ตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
4. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ให้มีความถูกต้อง และครบถ้วน รวมทั้งการพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าว เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม
คณะกรรมการ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อไป
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย
7. จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงาน
ดังกล่าวลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
8. รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับ
มอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
9. ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ประธานกรรมการตรวจสอบ 2 ปี
2. กรรมการตรวจสอบ 2 ปี
(รวมทั้งการแต่งตั้งเพิ่มและถอดถอนจากกรรมการตรวจสอบ)
เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ (ถ้ามี) - ไม่มี -
ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น
ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นจำนวน 30 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนชำระแล้ว
ก่อนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป หรือเท่ากับร้อยละ 75 หลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรอง
ต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของ
บริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการ
ผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมด
ที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือน สามารถขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด
อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี) - ไม่มี -
สถิติ
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน)
|--------หน่วย : พันบาท-------| --------------หน่วย : บาท/หุ้น --------------|
ปี รายได้ กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย สุทธิ สุทธิ ตามบัญชี ต่อกำไร (%)
2543* 164,854 34,410 114.70 105.00 312.54 91.54%
2544* 142,720 21,401 71.34 120.00 263.87 168.21%
2545* 200,175 57,730 192.43 310.00 146.31 161.10%
งวด 6 เดือน สิ้นสุด 113,868 33,769 112.56 120.00 258.87 106.61%
30 มิถุนายน 2546*
(สอบทานแล้ว)
งวด 9 เดือน สิ้นสุด 170,323 50,468 1.68 - 1.95 -
30 กันยายน 2546**
(สอบทานแล้ว)
* มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท จำนวนหุ้น 300,000 หุ้น
** มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท จำนวนหุ้น 30,000,000 หุ้น
บริษัทฯ ได้เปลี่ยนมูลค่าที่ตราไว้จาก 100 บาทเป็น 1 บาท เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546
บริษัท แพค เดลต้า จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ธันวาคม 2543 -2545, มิถุนายน 2546 และ กันยายน 2546
(หน่วย: พันบาท)
รายการ 2543 2544 2545 30 มิ.ย. 2546 30 ก.ย. 2546
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน 17,911 6,658 10,990 10,002 7,668
ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน - 139 - - -
ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า-สุทธิ 23,533 13,924 29,156 32,908 28,058
สินค้าคงเหลือ 7,492 8,578 5,703 9,472 11,362
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน* - - - - -
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 129 192 262 17,037 16,830
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 49,084 29,490 46,111 69,420 63,918
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน* 19,141 24,949 299 305 -
เงินฝากธนาคาร-ค้ำประกัน - 2,378 2,407 2,407 2,467
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สุทธิ 54,507 47,043 46,744 53,693 55,267
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 28 5,680 18 101 14
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 73,676 80,050 49,469 56,505 57,748
รวมสินทรัพย์ 122,760 109,540 95,580 125,925 121,666
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจาก - 10,897 10,000 10,622 12,610
สถาบันการเงิน
เจ้าหนี้และตั๋วเงินจ่ายการค้า 7,272 7,906 12,488 17,330 17,686
เจ้าหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน 490 1,601 - - -
ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระ - - - - 10,001
ภายใน 1 ปี
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 7,840 3,371 19,985 14,930 10,801
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 2,497 2,443 9,214 5,382 5,709
รวมหนี้สินหมุนเวียน 18,099 26,217 51,687 48,264 56,806
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 10,900 4,161 - - 6,499
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 10,900 4,161 - - 6,499
รวมหนี้สิน 28,999 30,378 51,687 48,264 63,306
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนเรือนหุ้น
ทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000
กำไร (ขาดทุน) สะสม
จัดสรรแล้ว สำรองตามกฎหมาย 3,000 3,000 3,000 3,000 4,000
ยังไม่ได้จัดสรร 60,761 46,162 10,892 44,661 24,360
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 93,761 79,162 43,892 77,661 58,360
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 122,760 109,540 95,580 125,925 121,666
หมายเหตุ: * มีการจัดกลุ่มเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันเป็นเงินให้กู้ยืมระยะยาว เนื่องจากเงินให้กู้ยืมทีเหลืออยู่ใน
ปี 2546 เป็นเงินกู้ยืมที่มีอายุเกิน 1 ปี จึงมีการจัดกลุ่มเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้อยู่ในรายการ
เดียว เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงได้สะดวกขึ้น
รายการ 2543 2544 2545 1 ม.ค.-30 มิ.ย.2546 1 ม.ค.-30 ก.ย.2546
พันบาท % พันบาท % พันบาท % พันบาท % พันบาท %
รายได้
รายได้จากการขายสินค้า 164,854 97.54% 142,720 97.84% 200,175 98.44% 113,868 98.47% 170,323 98.28%
รายได้เงินชดเชยภาษีอากร 2,412 1.43% 1,977 1.35% 897 0.44% - - 1,112 0.64%
ดอกเบี้ยรับ 1,308 0.77% 1,056 0.72% 1,215 0.60% 26 0.02% 75 0.04%
รายได้อื่น 443 0.26% 126 0.09% 1,052 0.52% 1,748 1.51% 1,793 1.03%
รวมรายได้ 169,016 100.00% 145,878 100.00% 203,338 100.00% 115,641 100.00% 173,303 100.00%
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขาย 107,843 63.81% 103,011 70.61% 107,091 52.67% 57,351 49.59% 85,663 49.43%
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 10,855 6.42% 11,331 7.77% 12,675 6.23% 9,344 8.08% 14,763 8.52%
รวมค่าใช้จ่าย 118,699 70.23% 114,342 78.38% 119,765 58.90% 66,695 57.67% 100,427 57.95%
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและ 50,317 29.77% 31,536 21.62% 83,573 41.10% 48,946 42.33% 72,876 42.05%
ภาษีเงินได้
ดอกเบี้ยจ่าย 1,013 (0.60%) 838 (0.57%) 795 (0.39%) 224 (0.19%) 324 (0.19%)
ภาษีเงินได้ 14,895 (8.81%) 9,297 (6.37%) 25,048 (12.32%) 14,953 (12.93%) 22,085 (12.74%)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 34,410 20.36% 21,401 14.67% 57,730 28.39% 33,769 29.20% 50,468 29.12%
กำไรขั้นต้นต่อหุ้นพื้นฐาน (บาท) 114.70 71.34 192.43 112.56 1.68
รายการที่สำคัญในงบการเงิน (ณ 30 กันยายน 2546)
ลูกหนี้การค้า
บริษัทฯ มีลูกหนี้การค้าอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 23 ของสินทรัพย์รวมทั้งหมด และมีระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยประมาณ 46 วัน
บริษัทฯ ไม่มีนโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เนื่องจากลูกค้าของบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นเป็นบริษัทขนาดใหญ่
มีฐานะการเงินดี และชำระตรงตามกำหนดเสมอมา โดยไม่มีการค้างชำระค่าสินค้า
สินค้าคงเหลือ
บริษัทฯ มีอัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือในระดับสูงคือประมาณ 13 รอบต่อปี โดยคิดเป็นระยะเวลาการขายสินค้า
เฉลี่ยที่ 27 วัน
บริษัทฯ ไม่มีนโยบายสต๊อกสินค้าจำนวนมาก มีการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ และแผนการผลิตสินค้าล่วงหน้า โดย
ประมาณการจากสอบถามลูกค้าล่วงหน้า และจากสถิติการสั่งซื้อสินค้าในอดีตที่ผ่านมา
เจ้าหนี้การค้า
บริษัทฯ มีระยะเวลาการชำระหนี้ ณ 30 กันยายน 2546 เท่ากับ 48 วัน
โครงสร้างเงินทุน (หนี้สิน/ส่วนของผู้ถือหุ้น)
หนี้สินหมุนเวียนส่วนใหญ่ของบริษัทฯ จะเป็นเจ้าหนี้การค้า และส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระ
ภายใน 1 ปี
ณ 30 กันยายน 2546 มีหนี้สินระยะยาวกับสถาบันการเงินอยู่ทั้งสิ้น 16.50 ล้านบาท อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของ
ผู้ถือหุ้น ณ 30 กันยายน 2546 อยู่ที่ระดับ 1.08 เท่า
กำไรสะสม
ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 บริษัทฯ มีกำไรสะสม 28.36 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯ มีการจ่ายเงินปันผล จำนวนทั้งสิ้น 36
ล้านบาท เมื่อเดือนสิงหาคม และกันยายน 2546
การจ่ายเงินปันผล
ที่ผ่านมาบริษัทฯ จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในอัตราส่วนต่อกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
บริษัทฯ มีการจ่ายเงินปันผล 2 ครั้งๆ ละ 18 ล้านบาท คิดเป็นทั้งสิ้น 36 ล้านบาท เป็นเงินปันผลต่อหุ้นเท่ากับ 120 บาท
และคิดเป็นอัตราเงินปันผลต่อกำไรเท่ากับร้อยละ 106.61 สำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนปี 2546
รายได้จากการขาย
สำหรับงบการเงินงวด 9 เดือนปี 2546 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 ประมาณ
ร้อยละ 15 อันเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของโลก และการขยายตัวของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และอาหาร
ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องต่อไป
ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
สำหรับผลการดำเนินการ 9 เดือนปี 2546 ต้นทุนขายของบริษัทฯ อยู่ในระดับร้อยละ 49 ของรายได้รวม และมีค่าใช้จ่าย
ในการขายและบริหารคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.5 ของรายได้รวม ทั้งนี้ทำให้บริษัทมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นร้อยละ 42
กำไรสุทธิ
กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด สำหรับงวด 9 เดือนแรกปี 2546 อัตราส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 29
จัดทำโดย บริษัทหลักทรัพย์ แอสเซท พลัส จำกัด (มหาชน)
-
- Verified User
- โพสต์: 122
- ผู้ติดตาม: 0
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 11
เกี่ยวกับที่ผมโพสต์ไหมเนี่ย พี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ซื้อ LTX กันใหญ่
-
- Verified User
- โพสต์: 920
- ผู้ติดตาม: 0
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 12
ถ้าหุ้นขึ้นยกความชอบให้คุณ WS ครับ แต่ถ้าหุ้นลงก็ไม่โทษกันครับเพราะตัดสินใจซื้อเอง คือเล็งมานานแล้วเหมือนกัน แต่รอลุงขวดไปชมโรงงานมาเล่าให้ฟังก่อน กับรอตัดสินใจว่าจะขายตัวไหนไปซื้อดีเพราะหุ้นเต็มพอร์ตแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 67
- ผู้ติดตาม: 0
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 13
ลุงขวด รบกวนช่วยดู auditor report ของ ltx ด้วย พอดีผมเจอว่า auditor แสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขในส่วนของ investment in Torey fiber thai ที่ซื้อมาจาก Torey nylon thai ที่เขาบันทึกบัญชีในส่วน As cost นะครับ
จริง ๆ แล้ว สองตัวนี้เป็นบริษัทลูกของ ltx อยู่แล้วนิครับ เขาไปเพิ่มสัดส่วนในการถือหุ้นเพิ่มใน Torey fiber ที่ไม่ให้ผลตอบแทนเรื่องของ dividend เลย กำลังแปลกใจอยู่ว่า ทำไม
จริง ๆ แล้ว สองตัวนี้เป็นบริษัทลูกของ ltx อยู่แล้วนิครับ เขาไปเพิ่มสัดส่วนในการถือหุ้นเพิ่มใน Torey fiber ที่ไม่ให้ผลตอบแทนเรื่องของ dividend เลย กำลังแปลกใจอยู่ว่า ทำไม
หุ้น - การลงทุน หรือการพนัน คุณเป็นคนพิจารณา
- ลุงขวด
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2448
- ผู้ติดตาม: 0
ลุงขวดและผู้รู้ท่านอื่นๆครับ LTX จะปันผลงวดนี้ได้
โพสต์ที่ 14
ผมพึ่ง load แบบ 56-1 ดู ในรายงานผู้สอบบัญชี แจ้งว่า ไม่ได้ตรวจสอบบริษัทฯที่ไปลงทุนใน บริษัทฯหนึ่ง ซึ่ง มี เงินลงทุนร้อยละ 7.9 ของทรัพย์สิน ......ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่า เป็นบริษัทฯ ไหน จากการดูในงบ มีการไปลงทุนใน Toray Fibers (Thailand) และ Toray Nylon Thai ซึ่งบริษัทแรก Toray Fibers ไม่มีปันผลตอบแทนเลย คงขาดทุน ส่วนใน Toray Nylon Thai มีการปันผลมาให้.........ดังนั้นจะเห็นว่า บริษัทฯ ในกลุ่ม Toray บางบริษัทฯ เขาก็กำไร บางบริษัทฯ ก็ขาดทุน ในกลุ่ม Toray Industry เขากำลังปรับ เอาบริษัท ขาดทุนมารวมกัน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และ จะทำให้มีกำไรขึ้น ดังจะเห็นได้ว่า เขาจะควบรวม 3 บริษัท ย่อย จำได้มี พวกผลิตพลาสติค และ ไฟเบอร์ .....ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วน กรรมการอิสระ ก็ แจ้งใน รายงาน ว่า บริษัทฯ นี้ มีธรรมภิบาลที่ดีบริษัท หนึ่ง ผมเชื่อมาก ในกลุ่มนี้ ว่า ซื้อสัตย์ บริหารงานได้ดี ครับ ลองศึกษาละเอียดหน่อย จะเห็น อะไร ดี ๆ ของบริษัทฯ นี้ รับรองลงทุนได้อย่าง หลับสบาย ไร้ กังวล เลยครับ
ส่วน กรรมการอิสระ ก็ แจ้งใน รายงาน ว่า บริษัทฯ นี้ มีธรรมภิบาลที่ดีบริษัท หนึ่ง ผมเชื่อมาก ในกลุ่มนี้ ว่า ซื้อสัตย์ บริหารงานได้ดี ครับ ลองศึกษาละเอียดหน่อย จะเห็น อะไร ดี ๆ ของบริษัทฯ นี้ รับรองลงทุนได้อย่าง หลับสบาย ไร้ กังวล เลยครับ