ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

กษัตริย์จิกมีแห่งภูฏานเตรียมนำประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ

17:32 น.
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งภูฏานทรงมีพระกระแสรับสั่งว่า ภูฏานมีโอกาสที่ไม่เหมือนประเทศใดในการเป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และมีอนาคตของประเทศที่มั่นคง หลังการปกครองด้วยระบบราชาธิปไตยมานาน 1 ศตวรรษ

กษัตริย์นัมเกลทรงมีพระราชดำรัสว่า ประชาธิปไตยถือเป็น "ความมานะบากบั่นร่วมกัน" ของพลเมือง 700,000 คนของภูฏาน

ทั้งนี้ พระองค์ทรงเสร็จขึ้นครองราชย์ในเดือนธ.ค.หลังจากสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก พระราชบิดา ทรงสละพระราชบัลลังก์

"วันนี้ ภูฏานกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงมีพระราชดำรัสขณะพระราชดำเนินเยือนกรุงนิวเดลีอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์

"ชาวภูฏานมีโอกาสที่ไม่เหมือนใครในการสร้างระบบการเมืองที่เหมาะสมกับความต้องการของพวกเราเอง และเป็นระบบที่รับรองถึงประชาธิปไตยที่ใช้งานได้อย่างแท้จริง"

ภูฏาน ซึ่งเป็นประเทศที่มีแต่ภูเขาและเป็นที่รู้จักในเรื่องการใช้แนวคิด "ความสุขมวลรวมของประเทศ" มากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประชาชาติเพื่อวัดคุณภาพชีวิตของประชาชนนั้น จะจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในปี 2008 โดยมีชาวภูฏานที่มีสิทธิเลือกตั้งได้ราว 400,000 คน

"ถ้าภูฏานสามารถสร้างระบบประชาธิปไตยได้ อนาคตของเราก็จะมีความมั่นคงตลอดไป" กษัตริย์นัมเกลทรงตรัส

ในช่วงทศวรรษ 1990 องค์กรสิทธิมนุษยชนได้วิพากษ์วิจารณ์พระราชบิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีเนื่องจากทรงใช้กฎหมายที่เลือกปฏิบัติกับชาวเนปาล ส่งผลให้ชาวเนปาลนับพันคนต้องอพยพหนีไปกลับประเทศหลังการประท้วงส่งเสริมประชาธิปไตยประสบความล้มเหลว

อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของภูฏานที่มีดินแดนล้อมรอบถึง 3 ด้าน กำลังให้การช่วยเหลือภูฏานในการจัดการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นก่อนเดือนก.ค.ปีหน้า

เมื่อวานนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีนัมเกลทรงลงพระปรมาภิไธยในสัญญาฉบับใหม่กับนายกรัฐมนตรีมานโมฮาน ซิงห์ ของอินเดียซึ่งระบุว่า ภูฏานจะมีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในการกำหนดนโยบายต่างประเทศและการป้องกันประเทศ หลังจากที่เคยถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยอินเดียอันเนื่องจากสนธิสัญญามิตรภาพอินเดีย-ภูฏานปี 1949

เจ้าหน้าที่ของภูฏานกล่าวว่า ข้อตกลงฉบับใหม่เป็นฉบับที่แก้ไขมาจากฉบับเดิมและปรับให้สอดคล้องกับภูฏานในปัจจุบันมากขึ้น

"จากบทบาทการชี้นำสำหรับย่างก้าวแรกของภูฏานเพื่อเข้าสู่ความทันสมัย บัดนี้ ภูฏานและอินเดียยืนหยัดในฐานะเพื่อนสนิทและหุ้นส่วนที่เท่าเทียมในเวทีโลก" กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงตรัส

ข้อตกลงใหม่จะทำให้ภูฏานสามารถนำเข้าอุปกรณ์ทางทหารที่ไม่ร้ายแรงได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอินเดีย ตราบใดที่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่กระทบผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของอินเดีย และอินเดียจะฝึกกองทัพขนาดเล็กของภูฏาน

ภูฏานเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงทศวรรษ 1990 โดยอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี 1999 และเพิ่งอนุญาตให้มีอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ในปีต่อมา
อูยส์ส์ส์ส์  มิน่าล่ะ..........
ที่ภูฏานสามารถอยู่กันอย่างนั้นได้(เน้น GNH มากกว่า GDP)เพราะโดนปิดหูปิดตานี่เอง  

มิน่าล่ะ อัตราการตายของแม่ถึงสูงมากๆ จนคนชั้นสูงต้องพาแม่มาคลอดลูกที่เมืองไทยกันโครมๆ  เพราะความล้าหลังทางการแพทย์นี่เอง

แต่ ณ.วันนี้ก็ถือว่าภูฏานก้าวหน้าไปเรื่อยๆ  เริ่มมีโทรทัศน์  อินเตอร์เน็ต  และล่าสุด   ประชาธิปไตย........

ดีใจด้วยครับ.....
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

นี่คือ role model ของไทยเรายุคนี้เชียวนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
OutOfMyMind
Verified User
โพสต์: 1242
ผู้ติดตาม: 0

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สมัยก่อน เมืองไทย บ้านไหนจะมีทีวี ก็ต้องของอนุญาติเหมือนกันครับ
ก่อนที่จะแพร่หลายและปล่อยให้เป็นอิสระเหมือนทุกวันนี้
ดีใจที่ภูฏานเขยิบเข้ามาใกล้เราแล้ว

.... เอ หรือว่าเราเอาแต่หยุดรอหว่า
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมถึงคิดว่า เราเน้นเศษรฐกิจพอเพียงแบบสุดขั่ว ทำให้ล้าหลัง
ไม่ดิ้นรน ไม่ไขว่ขว้า

อยู่แบบพอมีพอกิน ไม่ดิ้นรน   :cry:  :cry:  :cry:
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

และที่รวยโคตรก็รวยกันต่อไป
ที่จนโคตรก็จนกันต่อไป
แต่มีความสุขเพราะพอเพียงแล้วเยเย
Viewtiful Investor
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แสดงว่า Marketing เค้าดีครับ ทำให้คนเห็นแต่ด้านดีของประเทศ
เรื่องห่วยๆทุกประเทศก็มีทั้งนั้น แล้วแต่ว่าเราจะมองด้านไหน

การมอง game ให้ออกว่า ข่าวที่ นสพ หรือ รบ ออกมา จุดมุ่งหมายคืออะไร เป็นเรื่องที่ท้าทายดีนะ
I do not sleep. I dream.
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ไม่มีทีวีดูก็ไม่ทำให้อดตาย แต่ทำไมต้องมี
ในที่สุดก็ทนกระแสกิเลสไม่ได้มากกว่า

ปล่อยไปตามกระแสตลาดดีกว่า

เราน่าจะสอนคนในประเทศ การอยู่ การกินแบบพอเพียง เหมือน buffet
แต่แนวคิด เศษรฐกิจเป็นแบบทุนนิยม
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

อีกมุมมองหนึ่งต่อภูฏาน

http://www.prachatai.com/05web/th/home/ ... guage=Thai
ภูฏานและผู้ลี้ภัยการเมืองที่โลกลืม (ขออภัยที่อาจทำให้ใครอกหัก)  


โดย มูรารี อาร์ ชาร์มา

ภัควดี วีระภาสพงษ์ แปลจาก


ในเดือนธันวาคม ค.ศ.2006 กษัตริย์จิกมี สิงเย วังชุก แห่งประเทศภูฏาน กลายเป็นข่าวพาดหัวด้วยการสละราชบัลลังก์กะทันหัน และสืบทอดราชสมบัติแก่เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด พระเจ้าจิกมี สิงเย ยังพระราชทานคำมั่นสัญญาว่าจะประทานระบอบประชาธิปไตยบางส่วนแก่ประชาราษฎร โดยจะจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยใน ค.ศ.2008 อย่างไรก็ตาม กษัตริย์ภูฎานไม่ได้ทรงอธิบายถึงแรงจูงใจเบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างปัจจุบันทันด่วนนี้

เป็นไปตามคาด ข่าวนี้ทำให้ชุมชนนานาประเทศตื่นเต้นเคลิ้มตาม ทว่าสำหรับผู้ลี้ภัยชาวภูฏานที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพที่ประเทศเนปาล พวกเขาคงไม่รู้สึกเป็นรสชาติสักเท่าไร ในทัศนะของ ราฏาน กัจเมอร์ ผู้นำคนหนึ่งของกลุ่มผู้ลี้ภัย พระราชโองการของกษัตริย์เป็น เพียงการดึงม่านขนสัตว์บังตาชุมชนนานาประเทศ ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อว่าจะมีระบอบประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง

แรงกดดันเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงก่อตัวสะสมขึ้นมาทั้งภายในและภายนอกประเทศภูฏาน ประชาชนชาวภูฏานร่ำร้องหาระบอบประชาธิปไตยและเสรีภาพมานานแล้ว ประเทศเนปาลที่เป็นบ้านใกล้เรือนเคียงก็กำลังใคร่ครวญถึงอนาคตของระบอบกษัตริย์ และอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน ดังนั้น กษัตริย์ภูฏานจึงดูเหมือนต้องการประทานระบอบประชาธิปไตยแบบจำกัดให้แก่ประชาชนเสียก่อน ก่อนที่ชาวภูฏานจะลงมาเรียกร้องบนท้องถนนตามอย่างชาวเนปาล แผนการของพระองค์คือการนำระบอบประชาธิปไตยแบบชี้นำและมีสองพรรคมาใช้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการร่างมาเนิ่นนานแล้ว

แต่กษัตริย์จิกมี สิงเย ไม่ได้มีดำรัสอะไรเลยถึงการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย ซึ่งขัดแย้งกับการโฆษณาภาพพจน์ของภูฏานว่าเป็นราชอาณาจักรที่สงบและสันติสุข

สถานการณ์ของผู้ลี้ภัย

ราชอาณาจักรมังกรของประเทศภูฏานอวดโอ่ถึงการมี ความสุขมวลรวมประชาชาติ ในอัตราสูง แต่ชาวภูฏานจำนวนมากคงไม่เห็นด้วย พวกเขาโต้แย้งด้วยเหตุผลว่า ประเทศที่ประชากรถึง 1 ใน 6 ต้องอพยพไปอาศัยนอกประเทศในฐานะผู้ลี้ภัย คงไม่ใช่ประเทศที่มีความสุขในระดับสูงเป็นแน่

เต็ก นาธ รียัล เคยเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์จิกมี สิงเย เขาถูกจำคุกและถูกทรมานถึง 9 ปี เพราะการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน รียัลเขียนลำดับความไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติ Nirvasan (ลี้ภัย) ถึงการที่กษัตริย์ทรงบดขยี้ขบวนการด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่เพิ่งก่อตัวขึ้นเพื่อยึดอำนาจให้อยู่มือ ขั้นแรก รัฐบาลในนครหลวงธิมปูจำกัดสิทธิของชุมชนชาวเนปาลในการเคลื่อนย้ายและถือครองทรัพย์สิน จากนั้น รัฐบาลยัดเยียดภาษา, การแต่งกายและวัฒนธรรมของชาวทิเบตที่เป็นชนชั้นปกครองแก่ชุมชนเชื้อชาติอื่นซึ่งมีอยู่ถึงเกือบสองในสามของประชากรภูฏาน

การประท้วงปะทุขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980 และรัฐบาลใช้มาตรการปราบปรามอย่างรุนแรง รัฐบาลเปลี่ยนกฎหมายสัญชาติใน ค.ศ.1988 ถอนสัญชาติของผู้ประท้วงและเนรเทศออกนอกประเทศ เนื่องจากผู้ถูกเนรเทศส่วนใหญ่มีเชื้อสายเนปาล พวกเขาจึงรอนแรมมาอาศัยอยู่ในเนปาล และมีประชาชนอพยพตามออกมาอีกเพราะถูกคุกคามหรือเพราะความกลัว

ทุกวันนี้ มีผู้อพยพลี้ภัยเกือบ 120,000 คน อาศัยอยู่ในประเทศเนปาล นั่นเป็นจำนวนเกือบหนึ่งในหกของประชากรภูฏาน ผู้อพยพส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในค่ายที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อยต้องอาศัยอยู่ในค่ายอพยพมาถึง 16 ปีแล้ว ชาวเนปาลท้องถิ่นกล่าวโทษผู้อพยพเหล่านี้ว่าเป็นตัวการทำให้ค่าจ้างแรงงานตกต่ำลง ทำลายสิ่งแวดล้อม และสร้างปัญหาสังคมรอบบริเวณค่าย ชุมชนนานาประเทศเริ่มมีอาการเบื่อหน่ายที่จะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือเลี้ยงดูผู้ลี้ภัยเหล่านี้

ตอนนี้ยังมองไม่เห็นเลยว่า จะมีหนทางคลี่คลายแก้ไขปัญหาอย่างไร ภูฏานบอกกล่าวแก่หุ้นส่วนทางด้านการพัฒนาของตนว่า เพื่อรักษาเอกลักษณ์ทางด้านชาติพันธุ์ไว้ ภูฏานจึงไม่สามารถรับผู้ลี้ภัยกลับเข้าประเทศ ภูฏานยังบอกเนปาลว่า ควรมีการวางหลักเกณฑ์ในการส่งผู้อพยพกลับถิ่นเดิม และจัดประชุมระดับรัฐมนตรีมาแล้ว 15 รอบในประเด็นนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1993

ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมเพียงประการเดียวของกระบวนการทวิภาคีนี้ก็คือ การร่วมมือระหว่างสองประเทศเพื่อพิสูจน์สัญชาติของผู้อพยพในค่ายหนึ่งจากที่มีอยู่ทั้งหมด 12 ค่าย การพิสูจน์พบว่า กว่า 76% ของผู้ลี้ภัยสามารถกลับถิ่นเดิมได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยเอกสารยืนยันหรือการสอบสวนเพิ่มเติมอะไรอีก นับแต่นั้นมา ภูฏานก็หลีกเลี่ยงการเจรจาระดับรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ

ส่งไปอเมริกาดีไหม?

สหรัฐอเมริกาประกาศในเดือนตุลาคมปีที่แล้วว่า สหรัฐฯ จะรับผู้ลี้ภัยชาวภูฏานจำนวน 60,000 คน จากค่ายของ UNHCR ในช่วง 3-4 ปีต่อจากนี้ ผู้อพยพชาวภูฏานพอใจกับท่าทีในเชิงมนุษยธรรม รัฐบาลที่ธิมปูก็ถอนใจโล่งอกด้วยความเชื่อผิดว่า ผู้ลี้ภัยคงคว้าข้อเสนอของรัฐบาลอเมริกันไว้โดยไม่ก่อเรื่องเดือดร้อนต่อไปอีก แต่รัฐบาลภูฏานดูเหมือนลืมไปว่า ผู้ลี้ภัยที่เลือกไปตั้งหลักแหล่งในอเมริกาอาจส่งเงินกลับมาสนับสนุนขบวนการต่อต้านระบอบกษัตริย์ในภูฏานให้เติบใหญ่ขึ้น เพื่อที่เพื่อนร่วมชาติในประเทศบ้านเกิดจะได้ลิ้มรสเสรีภาพแบบเดียวกับที่พวกตนได้รับในประเทศอุปถัมภ์

การผสมกลมกลืนไปกับประชากรท้องถิ่นในประเทศที่สองและย้ายไปตั้งหลักแหล่งในประเทศที่สาม อาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เพราะพวกเขามองไม่เห็นวี่แววจะได้กลับบ้านในอนาคตอันยาวไกล หรือไม่ก็อาจต้องเผชิญกับอันตรายอุกฤษฏ์หากเสี่ยงกลับถิ่นเกิด แต่การผสมกลมกลืนหรือการย้ายไปตั้งหลักแหล่งไม่ควรใช้วิธีคัดสรร การคัดสรรมักสร้างผลร้ายต่อผลประโยชน์ส่วนรวมในชุมชนผู้ลี้ภัย เพราะวิธีการนี้เท่ากับปล้นบุคลากรที่ดีที่สุดและเก่งที่สุด ทั้งที่คนเหล่านี้สามารถโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชนเพื่อสร้างหลักประกันให้ผู้อพยพทั้งหมดได้กลับบ้าน และผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในประเทศบ้านเกิด

นอกจากนั้น การส่งผู้ลี้ภัยกลับถิ่นเดิมควรเป็นแนวนโยบายหลักในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยในเกือบทุกกรณี เพราะทั่วโลกทุกวันนี้มีผู้ลี้ภัยเกือบ 21 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถรองรับผู้ลี้ภัยไว้โดยไม่ต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจและต้นทุนทางการเมืองอย่างใหญ่หลวง ส่วนประเทศที่สามก็สนใจเพียงแค่ให้หลักแหล่งแก่ผู้อพยพจำนวนหยิบมือเดียว และมักคัดสรรเฉพาะคนที่ดีที่สุดไปเสียด้วย ดังนั้น ไม่ว่าการผสมกลมกลืนในประเทศที่สองหรือย้ายไปตั้งหลักแหล่งในประเทศที่สาม ย่อมไม่ใช่ทางเลือกที่พึงปรารถนาทั้งสิ้น

บทบาทของโลกภายนอก

ตามสนธิสัญญาทวิภาคี ค.ศ.1949 อินเดียเป็นผู้รับผิดชอบนโยบายต่างประเทศและการป้องกันประเทศของภูฏาน อินเดียยังเป็นประเทศที่ให้การพักพิงประเทศแรกแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เนื่องจากเนปาลกับภูฏานไม่มีพรมแดนประชิดกัน แต่อินเดียไม่ยอมช่วยหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น บางทีอาจเพราะกริ่งเกรงจะเป็นการผลักไสรัฐบาลภูฏานให้ไปซบอกประเทศจีนแทน ผู้ลี้ภัยแสดงความไม่พอใจที่อินเดียอนุญาตให้ชาวภูฏานเดินทางจากประเทศไปค่ายผู้อพยพในเนปาล แต่ไม่ยอมเปิดเส้นทางให้เดินทางกลับ

ความสงบสันติในเอเชียใต้เป็นความปรารถนาของสหรัฐอเมริกา แต่ภูมิภาคนี้ก็ห่างไกลจากคำว่าสงบสุข ประเทศต่างๆ ตั้งแต่อัฟกานิสถานไปจนถึงศรีลังกาล้วนตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง การเผชิญหน้าระหว่างอินเดียกับปากีสถานยังคงทอดเงาทะมื่นเหนือภูมิภาค อีกทั้งการงัดข้อในเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนกับอินเดีย ซึ่งต่างฝ่ายต่างกำลังก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจ เป็นอีกต้นเหตุใหญ่ของความไม่สบายใจ ที่ผ่านมา วอชิงตันพยายามวางตัวอยู่ห่างจากปัญหาในเอเชียใต้ หรือไม่ก็ยังพยายามไม่มากพอที่จะหาทางคลี่คลายให้ดีขึ้น แต่ตอนนี้ดูเหมือนทุกอย่างกำลังเปลี่ยนไป ความคลั่งไคล้สุดขั้วในลัทธิต่างๆ, การก่อการร้าย และความหัวรุนแรงของผู้ลี้ภัยที่กำลังขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคนี้ ชักจะทำให้อเมริกาหันมาจับตาดูอนุทวีปนี้อย่างใกล้ชิด

ข้อเสนอของสหรัฐอเมริกาที่จะรับผู้ลี้ภัยชาวภูฏานก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ผสมปนเป ในด้านหนึ่ง ผู้ลี้ภัยกลุ่มที่มีการศึกษาและมีฝีมือรู้สึกดีใจที่จะได้มีโอกาสไล่ตามความฝันแบบอเมริกัน ส่วนอีกด้านหนึ่ง ผู้ลี้ภัยกลุ่มใหญ่วิตกว่า การคัดสรรผู้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามจะทำลายความหวังอันแท้จริงที่จะได้กลับบ้านและสร้างสังคมประชาธิปไตยขึ้นในภูฏาน

นอกจากนี้ เนปาลยังถูกทิ้งให้จัดการปัญหาที่เหลือต่อไป เนปาลจะต้องรับมือกับผู้อพยพที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจนกว่าจะมีประเทศไหนก้าวออกมารับพวกเขาไปอีก รวมทั้งยังต้องต่อกรกับคลื่นผู้อพยพระลอกใหม่ที่จะหลั่งไหลเข้ามา โดยมีโอกาสในการได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเป็นสิ่งล่อใจ

กษัตริย์จิกมี สิงเย ก้าวลงจากคอนบัลลังก์สูงลิบโดยไม่แก้ไขวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยที่พระองค์ทรงก่อให้เกิดขึ้น ในเมื่อนิวเดลีมีความสำคัญเพิ่มขึ้นหลังจากข้อตกลงนิวเคลียร์สหรัฐฯ-อินเดียเมื่อเร็วๆ นี้ วอชิงตันน่าจะอาศัยอินเดียให้ใช้อิทธิพลกดดันภูฏาน เพื่อกรุยทางไปสู่การรับผู้ลี้ภัยคืนถิ่น ก่อนที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้จะสิ้นหวังจนตรอก จนกลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค การคลี่คลายปัญหาจะเปิดช่องให้ผู้ลี้ภัยกลับบ้านได้อย่างมีศักดิ์ศรี กระตุ้นให้ระบอบกษัตริย์คลายมือจากอำนาจ รวมทั้งผลักดันค่านิยมและสถาบันประชาธิปไตยในประเทศภูฏาน
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
freemindd
Verified User
โพสต์: 455
ผู้ติดตาม: 0

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

"เบื้องหลังความร่ำรวยมหาศาล
มีอาชญากรรม"

Mario Puzo
ผู้ประพันธ์ Godfather
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

1. ความจงรักภักดี ผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ ผู้เป็นนาย แต่บ่าวไม่ได้รับประโยชน์

2. ระบบประชาธิปไตย คือระบบ ที่กฎหมายรัฐธรรมนูญย่อมเป็นใหญ่
ไม่ควรมีอำนาจ ฝ่ายไหน ด้านไหน อยู่เหนือรัฐธรรมนูญได้ หากรัฐธรรมนูญนั้นยังตั้งดำรงอยู่

3. การสรรเสริญ ควรยกย่องเป็นตัวบุคคล ไม่ควรนำเงาความดีของคนรุ่นหนึ่ง ถ่ายทอดเป็นเงาตามตัวไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง เช่น รุ่นพ่อทำดี ควรสรรเสริญ เคารพในรุ่นพ่อ แต่ไม่ควรนำเงาความดี ไปใส่ไว้เคารพบูชายังรุ่นลูก
Demigod
Verified User
โพสต์: 94
ผู้ติดตาม: 0

ภูฏานอนุญาตให้มีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี1999 อึ้งกิมกี่จริงๆ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ดูโฆษณาตัวใหม่ของเศษฐกิจพอเพียงยังครับ ที่ใช้ภูฏานเป็นฉากอ่ะ คนละเรื่องกะที่เราพูดกันในกระทู้นี้เลยอ่ะ
รูปภาพ
โพสต์โพสต์