แบบรายงานการเพิ่มทุน
บริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน)
วันที่ 7 มีนาคม 2550
ข้าพเจ้าบริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) ขอรายงานมติคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่
2/2550 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550 ระหว่างเวลา 17:30 ถึง 21:00 เกี่ยวกับการเพิ่มทุน
และจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนดังต่อไปนี้
1. การเพิ่มทุน
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 40,931,510
บาท เป็น 487,271,510 บาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 446,340,000 หุ้น มูลค่า
ที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท รวม 446,340,000 บาท
2. การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 446,340,000
หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท รวม 446,340,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังต่อไป
นี้
2.1. รายละเอียดการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน
จัดสรรให้แก่ จำนวนหุ้น(หุ้น) ราคาขายต่อหุ้น (บาท)
บุคคลในวงจำกัด
1) บริษัท เนซู แคปปิตอล 175,708,154 1.00
2) บริษัท คูดู จำกัด 113,458,184 1.00
3) บริษัท สฟิงซ์ แคปปิตอล 70,602,152 1.00
4) นายไซมอน จีโรวิช 59,549,533 1.00
5) บริษัท เอ็ม อาร์ แอสเซส คอร์ปอเรชั่น จำกัด 27,021,977 1.00
รวมทั้งสิ้น 446,340,000
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทหรือประธานกรรมการหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะ
กำหนดวันและเวลาชำระเงินค่าหุ้นในภายหลัง โดยระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกิน 30 วัน
หลังจากที่บริษัทได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ให้ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้
2.2. รายละเอียดของบุคคลที่ได้รับการจัดสรร
1) บริษัท เนซู แคปปิตอล
บริษัท เนซู แคปปิตอล เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในหมู่เกาะเคย์แมน โดย
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในปี 2543 บริษัท เนซู แคปปิตอล ดำเนินธุรกิจบริหารการลงทุน
โดยบริหารกองทุนมูลค่ารวม 750 ล้านเหรียญสหรัฐ เนซู แคปปิตอล เริ่มก่อตั้งกองทุน
ในปี 2543 จึงเป็นหนึ่งเฮ็ดจ์ฟันที่ดำเนินการมานานที่สุดที่ภูมิภาคนี้ ปัจจุบันบริษัท เนซู
แคปปิตอล บริหารกองทุนทั้งหมด 4 กองทุน ในจำนวนนี้มี 3 กองทุนที่ลงทุนในประเทศ
ญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่และส่วนน้อยลงทุนในประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย ส่วนอีก 1
กองทุนนั้นลงทุนเฉพาะในประเทศในภูมิภาคเอเชียยกเว้นประเทศญี่ปุ่น บริษัท เนซู แค
ปปิตอล มีพนักงานทั้งหมด 23 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน 13
คนกระจายอยู่ในกรุงโตเกียวและฮ่องกง ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของบริษัท เนซู แค
ปปิตอล ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับบริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) ทั้งในอดีตและใน
ปัจจุบัน
2) บริษัท คูดู จำกัด
บริษัท คูดู จำกัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย โดยจดทะเบียนจัดตั้ง
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้ว
247,487,130 บาท โดยแบ่งออกเป็น หุ้นสามัญจำนวน 24,387,590 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้
เท่ากับ 10.00 บาทต่อหุ้น และหุ้นบุริมสิทธิจำนวน 361,123 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้เท่ากับ
10.00 บาทต่อหุ้น สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 62 อาคารมิลเลนเนียม ชั้น 17 ห้อง
1704 ถนนหลังสวน แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บริษัท คูดู จำกัด เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีดี
ไซน์ร่วมสมัยในพื้นที่ใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง บริษัท
คูดู จำกัด เคยร่วมลงทุนกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ไทยแห่งหนึ่งในการพัฒนาโครงการ
เดอะ ลอฟท์ สาทร (The Loft Sathorn) และลงทุนด้วยตนเองในโครงการ เดอะ ทรีส์
สาทร (The Trees Sathorn) ทั้งนี้ บริษัท คูดู จำกัด ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับบริษัท
สยามทูยู จำกัด (มหาชน) ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน
รายชื่อผู้ถือหุ้นสามัญ 10 รายแรก ได้แก่
รายชื่อ จำนวนหุ้น สัดส่วน*(ร้อยละ)
1. บริษัท เอ็มอาร์ แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด 7,020,019 28.79%
2. บริษัท แพรวพโยม จำกัด 3,300,000 13.53%
3. บริษัท กิรี เวนเจอร์ส จำกัด 2,097,318 8.60%
4. โฟลค์สโตน พร็อพเพอร์ตี้ส์ ลิมิเต็ด 1,960,458 8.04%
5. บริษัท จามจุรี เรียลตี้ จำกัด 1,310,616 5.37%
6. อลิเซก พาร์ทเนอร์ส (โฮลดิ้งส์) ลิมิเต็ด 1,302,306 5.34%
7. เคาวด์เวล แอสโซซิเอทส์ ลิมิเต็ด 1,301,106 5.34%
8. ลาตัน ซีเคียวริตี้ส์ 1,128,849 4.63%
9. คาร์ทาร์ โฮลดิ้งส์ พีทีอี ลิมิเต็ด 1,161,268 4.76%
10. นางวงศ์วิภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา 989,346 4.06%
หมายเหตุ: *สัดส่วนเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมด
รายชื่อผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ 10 รายแรก ได้แก่
รายชื่อ จำนวนหุ้น สัดส่วน*(ร้อยละ)
1. ลาตัน ซีเคียวริตี้ส์ 82,590 22.87%
2. อลิเซก พาร์ทเนอร์ส (โฮลดิ้งส์) ลิมิเต็ด 66,411 18.39%
3. เคาวด์เวล แอสโซซิเอทส์ ลิมิเต็ด 66,350 18.37%
4. โฟลค์สโตน พร็อพเพอร์ตี้ส์ ลิมิเต็ด 64,805 17.95%
5. โวลฟ์ เอเชีย 35,179 9.74%
6. แม็กโนเลีย แคปปิตอล ลิมิเต็ด 11,473 3.18%
7. นายชาร์ล ฮอร์เนอร์ 11,473 3.18%
8. นายแอนดริว เฟรเชอร์ 9,945 2.75%
9. นายพอล เอ็นเซอร์ 6,485 1.80%
10. นายมาร์ค มิเชล ไรเนค 4,800 1.33%
หมายเหตุ: *สัดส่วนเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นบุริมสิทธิที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมด
รายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
รายชื่อ ตำแหน่ง
1. นายอาเธอร์ ฮูยช นาโพลิทาโน่ กรรมการ
2. นายมาร์ค มิเชล ไรเนค กรรมการ
3. นายอดัม รอยเตอร์สกีโอ อาร์นบาค กรรมการ
4. นางสาวศรานตา สวนานนท์ กรรมการ
5. นายรอล์ฟ แฮริสัน กรรมการ
3) บริษัท สฟิงซ์ แคปปิตอล
บริษัท สฟิงซ์ แคปปิตอล เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในสาธารณรัฐมอริเชียส โดย
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในปี 2549 บริษัท สฟิงซ์ แคปปิตอล ดำเนินธุรกิจในลักษณะ
กองทุนร่วมลงทุน (venture capital) ที่ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิก บริษัทเชี่ยวชาญในการลงทุนในธุรกิจที่พักอาศัย โรงแรมและบริการที่
เกี่ยวข้อง (hospitality) บริษัท สฟิงซ์ แคปปิตอล มีบริษัทร่วมลงทุน (joint venture
company) ที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยชื่อ บริษัท สฟิงซ์ พาร์ทเนอร์ จำกัด ซึ่งจะ
ขายทรัพย์สินหลักให้แก่บริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของ
บริษัท สฟิงซ์ แคปปิตอล ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับบริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) ทั้ง
ในอดีตและในปัจจุบัน
4) นายไซมอน จีโรวิช
นายไซมอน จีโรวิช เป็นชาวออสเตรเลีย เป็นกรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งของ บริษัท
สฟิงซ์ พาร์ทเนอร์ จำกัด นายไซมอน จีโรวิช เป็นผู้มีประสบการณ์อย่างสูงในการด้าน
การระดมทุน และเป็นที่ปรึกษาของกองทุนและบุคคลในด้านการลงทุนทั่วภูมิภาคเอเชีย
นายไซมอน จีโรวิช เป็นที่ปรึกษาให้แก่กลุ่มบริษัทที่พักอาศัย โรงแรมและบริการที่
เกี่ยวข้องในการหาผู้ร่วมลงทุนในโครงการใหม่ๆและปรับปรุงโครงการเดิมในประเทศ
ไทย ก่อนที่จะมาก่อตั้งบริษัท สฟิงซ์ พาร์ทเนอร์ จำกัด นายไซมอน จีโรวิช เคยร่วมงาน
กับบริษัท โกลด์แมน แซ็คส์ (ญี่ปุ่น) ในประเทศญี่ปุ่นในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ค้าหลักทรัพย์
อาวุโส ทั้งนี้ นายไซมอน จีโรวิช ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับบริษัท สยามทูยู จำกัด
(มหาชน) ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน
5) บริษัท เอ็ม อาร์ แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด
บริษัท เอ็ม อาร์ แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใน
ประเทศไทย โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน
ที่ออกและเรียกชำระแล้ว 250,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น หุ้นสามัญจำนวน 25,000 หุ้น
มูลค่าที่ตราไว้เท่ากับ 10.00 บาทต่อหุ้น สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 62 อาคารมิลเลน
เนียม ชั้น 17 ห้อง 1704 ถนนหลังสวน แขวงลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บริษัท เอ็มอาร์ แอสเซท คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทโฮลดิ้งเพื่อการร่วมลงทุนทั้งใน
ตลาดทุนและในอสังหาริมทรัพย์ โดยมีจุดประสงค์หลักของการลงทุนเพื่อหาผล
ตอบแทนจาก capital gain ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของบริษัท เอ็มอาร์ แอสเส็ทส์
คอร์ปอเรชั่น จำกัดไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับบริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) ทั้งใน
อดีตและในปัจจุบัน
รายชื่อผู้ถือหุ้นสามัญ
รายชื่อ จำนวนหุ้น สัดส่วน (ร้อยละ)
1. นางบัวลี คำจันทร์ 14,499 58.00%
2. นายอนุสิทธิ์ แก้วนิมิตร 9,498 37.99%
3. นางสาวอัชวณี บาจาจ 500 2.00%
4. นายฟิลิป สุรเดชวิบูลย์ 500 2.00%
5. นายมาร์ค ไรเนค 1 0.00%
6. นายไมเคิล เฟอร์นานเดช 1 0.00%
7. นางคาเรน คอดลิ่ง 1 0.00%
รายชื่อกรรมการและผู้บริหาร
รายชื่อ ตำแหน่ง
1. นายมาร์ค มิเชล ไรเนค กรรมการ
2. นายอาเธอร์ ฮูยช นาโพลิทาโน่ กรรมการ
3. นายอดัม รอยเตอร์สกีโอ อาร์นบาค กรรมการ
3. กำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนกำหนด
วันประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2550 ในวันที่ 9 เมษายน 2550 เวลา 13:30 น.
ณ โรงแรม อิมพีเรียล ธารา เลขที่ 18/1 ซอยสุขุมวิท 26 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน
เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โดยกำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นของ
บริษัทเพื่อสิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2550 เวลา 12:00
น. จนกว่าการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะแล้วเสร็จ
4. การขออนุญาตเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
และเงื่อนไขการขออนุญาต (ถ้ามี)
การออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้เป็นการออกและเสนอขายต่ำกว่า
ราคาตลาด บริษัทต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ให้ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจะ
ดำเนินการขออนุญาตต่อ กลต. ทันทีหลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติให้บริษัทออกและ
เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว
5. วัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน และการใช้เงินทุนในส่วนที่เพิ่ม
จากการที่บริษัทมีผลประกอบการจากการประกอบธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศประเภท
ต่างๆ ในปัจจุบัน ได้แก่ การให้บริการเสริมสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Wireless
VAS) การให้บริการคำปรึกษาและพัฒนาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตและสื่อไร้สาย
(Interactive Solutions) และการให้บริการสื่อดิจิตอล (Digital Media) และ Audiotex
ตกต่ำลงมาตลอด เห็นได้จากกำไรสุทธิที่ลดลงจากจำนวน 26.31 ล้านบาทในปี 2547
เป็น 2.99 ล้านบาทในปี 2548 และมีผลขาดทุนสุทธิ 23.67 ล้านบาทในปี 2549 ที่ผ่านมา
เนื่องมาจากสภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมทั้งจากผู้ประกอบการเดิม
และคู่แข่งรายใหม่ การเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนการแบ่งรายได้ระหว่างผู้ประกอบการ
โทรศัพท์เคลื่อนที่และบริษัท รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์การใช้ข้อมูลบริการเสริม
(Content) ที่สูงขึ้น จากสภาวะดังกล่าว หากบริษัทยังไม่ดำเนินการใดๆ ต่อไป อาจมี
แนวโน้มว่าบริษัทจะมีผลประกอบการขาดทุนต่อไปในอนาคต จนอาจทำให้ส่วนของผู้
ถือหุ้นเป็นลบได้ในที่สุด ซึ่งหลังจากที่ได้พิจารณาทางเลือกต่างๆ หลายทางเลือกแล้ว
ทั้งแนวทางที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจอื่นๆ คณะกรรมการจึง
มีความเห็นว่าบริษัทควรหาทางขยายลักษณะการดำเนินธุรกิจไปยังอุตสาหกรรม
ประเภทอื่นๆ ที่จะสร้างรายได้และผลตอบแทนที่สูงขึ้นให้กับบริษัทและผู้ถือหุ้นได้ใน
อนาคต บริษัทจึงได้เริ่มมองหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ จนเห็นว่าการลงทุนในสินทรัพย์
ดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ น่าจะสามารถสร้างราย
ได้และผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนให้แก่บริษัทได้ในอนาคต รวมทั้งจะทำให้บริษัทมี
สินทรัพย์ที่มีตัวตนในสัดส่วนที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากในทันที
1) หุ้นในบริษัท คูดู ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นที่
ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด (KDD) โดย KDD เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุ
ประสงค์เฉพาะเจาะจง (Special Purpose Vehicle) เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ โดยมีสินทรัพย์หลักเป็นที่ดินจำนวนประมาณ 2 ไร่บริเวณถนนสาทร
โดยที่ดินดังกล่าวอยู่ติดกับโครงการ The Trees Sathorn และ The Lofts Sathorn ซึ่ง
เหมาะที่จะได้รับการพัฒนาเป็นโครงการคอนโดมิเนียมเพื่อพักอาศัยสำหรับลูกค้า
ระดับบนต่อไป
2) หุ้นในบริษัท ไทย เทค คอนสตรัคชั่น จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้น
ที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด (TTC) โดย TTC เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ดำเนิน
ธุรกิจอยู่บนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีลูกค้าที่เน้นการก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์
เฉพาะตัว
3) หุ้นในบริษัท ศิลาดล แลนด์ เอเชีย-แปซิฟิค จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 100 ของ
จำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด (ศิลาดล) โดยศิลาดลเป็นบริษัทที่ดำเนิน
ธุรกิจสถาปนิกและบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ โดยมีบุคลากรที่มีประสบการณ์ใน
ด้านการจัดการอสังหาริมทรัพย์และการโรงแรมจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์มากว่า 15
ปี
4) หุ้นในบริษัท อรรจนา จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นที่ออกและ
จำหน่ายแล้วทั้งหมด (อรรจนา) โดยอรรจนาเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
เฉพาะเจาะจง (Special Purpose Vehicle) เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โดยมีสินทรัพย์หลักเป็นที่ดินจำนวน 31 ไร่บนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่กำลังจะ
พัฒนาเป็นโครงการบ้านจัดสรรสำหรับลูกค้าระดับบน
5) สินทรัพย์ทั้งหมด รวมถึงสัญญาว่าจ้างการให้บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการ
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท สฟิงซ์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด (Sphinx) โดย Sphinx
เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
สินทรัพย์หลักได้แก่สัญญาว่าจ้างการให้บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ โดยมีอายุสัญญา 6 ปี
6) หุ้นในบริษัท ดุยเคอร์ จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่ออกและ
จำหน่ายแล้วทั้งหมด (Duiker) โดย Duiker เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
เฉพาะเจาะจง (Special Purpose Vehicle) เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โดยมีสินทรัพย์หลักเป็นบ้านเพื่อเช่า 1 หลังในโครงการ The Trees Sathorn
7) หุ้นในบริษัท ซาเบิล จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่าย
แล้วทั้งหมด (Sable) โดย Sable เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ
เจาะจง (Special Purpose Vehicle) เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมี
สินทรัพย์หลักเป็นบ้านเพื่อเช่า 1 หลังในโครงการ The Trees Sathorn
8) หุ้นในบริษัท ไนอาลา จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่ออกและ
จำหน่ายแล้วทั้งหมด (Nyala) โดย Nyala เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
เฉพาะเจาะจง (Special Purpose Vehicle) เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โดยมีสินทรัพย์หลักเป็นบ้านเพื่อเช่า 1 หลังในโครงการ The Trees Sathorn
9) หุ้นในบริษัท โทปี จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่าย
แล้วทั้งหมด (Topi) โดย Topi เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง
(Special Purpose Vehicle) เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมีสินทรัพย์
หลักเป็นบ้านเพื่อเช่า 1 หลังในโครงการ The Trees Sathorn
10) หุ้นในบริษัท สเตรทติจิค พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 45 ของจำนวน
หุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด (STP) โดย STP เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุ
ประสงค์เฉพาะเจาะจง (Special Purpose Vehicle) เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนา
อสังหาริมทรัพย์ โดยมีสินทรัพย์หลักเป็นบ้านเพื่อขาย 1 หลังในโครงการ The Lofts
Sathorn
11) สินทรัพย์อื่นของบริษัท คูดู จำกัด (Kudu)
ทั้งนี้ บริษัทจะได้มาซึ่งสินทรัพย์ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้นในราคารวม 301,340,000
บาท และเนื่องจากในการเข้าลงทุนในสินทรัพย์ข้างต้นนี้ จำเป็นต้องใช้เงินทุนค่อนข้าง
มาก ซึ่งกระแสเงินสดภายในของบริษัทนั้นไม่เพียงพอต่อการลงทุนดังกล่าว บริษัทจึง
จำเป็นต้องทำการระดมทุนจากภายนอกเพิ่มเติม ทั้งนี้ จากการที่บริษัทมีผลประกอบ
การที่ตกต่ำลงและไม่มีสินทรัพย์ถาวรเพื่อนำไปค้ำประกันการกู้ยืมได้แต่อย่างใด หรือ
หากบริษัทสามารถหาเงินกู้ยืมได้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าเงินกู้ที่บริษัทจะจัดหามาได้นั้นจะ
มีต้นทุนทางการเงินสูง ดังนั้น ในการจัดหาเงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมใน
ครั้งนี้ บริษัทจึงเลือกที่จะระดมทุนผ่านทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการ
จำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนเป็นจำนวน 446,340,000 บาท โดยจะจำหน่ายให้แก่บุคคลใน
วงจำกัด เพื่อนำเงินเพิ่มทุนส่วนหนึ่งเป็นจำนวน 301,340,000 บาท ไปใช้ในการซื้อ
สินทรัพย์เหล่านี้ โดยเงินเพิ่มทุนส่วนที่เหลืออีกเป็นจำนวน 145,000,000 บาท จะเก็บไว้
ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและใช้ในการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจอื่นๆ
ในอนาคต
6. ประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับจากการเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
กลุ่มบริษัท คูดู จำกัด และ บริษัท สฟิงซ์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และ
ความเชี่ยวชาญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การเข้า
ร่วมทุนของกลุ่มบริษัท คูดู จำกัด และ บริษัท สฟิงซ์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด จะช่วยให้บริษัท
สามารถเสาะหาและคัดสรรโครงการที่เหมาะสมในการลงทุน รวมถึงพัฒนาโครงการ
อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โครงการที่บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะ
ลงทุนเป็นโครงการแรกๆ คือ โครงการที่กลุ่มบริษัท คูดู จำกัด และ บริษัท สฟิงซ์
พาร์ทเนอร์ส จำกัด พัฒนาแล้วและที่กำลังจะพัฒนาในเวลาอันใกล้ บริษัทคาดว่าการ
ลงทุนร่วมกับกลุ่มบริษัท คูดู จำกัด และ บริษัท สฟิงซ์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด จะทำให้บริษัท
ได้ประโยชน์ ดังนี้
1) รายได้ค่าที่ปรึกษาจากโครงการต่างๆ ที่บริษัท สฟิงซ์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด ได้ลง
นามการให้บริการไว้ ซึ่งบริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) สามารถรับรู้รายได้ในส่วนนี้
ได้ทันที เมื่อบริษัทได้รับโอนสิทธิ์ในสัญญาจากบริษัท สฟิงซ์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด รวม
ทั้งรายได้จากโครงอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่กลุ่มบริษัท คูดู จำกัด ดำเนินการอยู่แล้วและ
ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อได้ทันที
2) ความสามารถในการเสาะหาและคัดสรรโอกาสในการลงทุนในธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยและยังมีศักยภาพในการลงทุนในประเทศอื่นๆ ใน
ภูมิภาคนี้ ซึ่งกำลังเติบโตด้วย
3) ความเชี่ยวชาญในการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ (Direct Investment)
การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ (Property Development) การบริหารโครงการ
(Property Management) การให้คำปรึกษา (Property Consultancy)
4) ช่องทางในการระดมทุนจากกลุ่มบริษัท สฟิงซ์ แคปปิตอล ลิมิดเต็ด ซึ่งเป็นกองทุน
ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการลงทุนในหลายประเทศทั่วโลก
5) โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่พร้อมให้บริษัทดำเนินการต่อได้ทันที อีกทั้งยัง
เป็นการเพิ่มฐานเงินทุนและขนาดสินทรัพย์ถาวรของบริษัทได้ในทันที
7. ประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะพึงได้รับจากการเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
7.1. นโยบายเงินปันผล
บริษัทกำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังหัก
ภาษี สำรองตามกฎหมาย และสำรองอื่น (ถ้ามี) ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทมีเงินสด
เพียงพอสำหรับการดำเนินกิจการในอนาคต นโยบายการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวอาจมี
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เป็นครั้งคราวตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะพิจารณาอนุมัติ
7.2. ผู้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้จะมีสิทธิรับเงินปันผลจากการดำเนินงานเริ่มตั้งแต่งวด
ผู้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะมีสิทธิรับเงินปันผลนับจากวันที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้
ถือหุ้นของบริษัทที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์แล้ว
7.3. อื่นๆ
ไม่มี
8. รายละเอียดอื่นใดที่จำเป็นสำหรับผู้ถือหุ้นเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการ
อนุมัติการเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
การออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ เป็นการออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนที่ราคา
ต่ำกว่าราคาตลาด ที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
เสียงของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และไม่มีผู้ถือ
หุ้นรวมกันตั้งแต่ร้อยละ 10 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ที่มาประชุมออกเสียงคัดค้าน
ทั้งนี้ การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 446,340,000 หุ้นต่อนักลงทุนในวงจำกัดข้างต้น จะ
ทำให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 75% ของทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียก
ชำระแล้วหลังจากที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทำให้ต้องมีหน้าที่ทำคำ
เสนอซื้อหุ้นสามัญของบริษัทตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ที่ ก.จ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือ
หลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้แจ้งต่อบริษัทว่า ในกรณีที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้จองซื้อหุ้นเพิ่ม
ทุนแล้ว กลุ่มบุคคลดังกล่าวจะทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของบริษัทในราคา 1.50 บาทต่อ
หุ้น
9. ตารางระยะเวลาการดำเนินการในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เพิ่มทุน
และจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
- วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เพื่อสิทธิในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่
1/2550 ในวันที่ 21 มีนาคม 2550 เวลา 12:00 น. จนกว่าการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะ
แล้วเสร็จ
- วันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2550 ในวันที่ 9 เมษายน 2550 เพื่ออนุมัติการ
จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศในแบบรายงานนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ
ลายมือชื่อ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ
แทนบริษัท
(นายสุปรัชญ์ ศรีผดุง)
ตำแหน่ง ประธาน
ลายมือชื่อ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ
แทนบริษัท
(นายนิคลาส สตอลเบอร์ก)
ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
กรณีนี้คือ...ทำนอง เรียกว่าแบ๊คดอร์ ใช่ป่าวคะ
รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะเป็นประสบการณ์ด้วยค่ะ