ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี 2550

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี 2550

โพสต์ที่ 1

โพสต์

บางส่วนจากบทวิเคราะห์ของ CNS

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี
ในปัจจุบัน สภาวิชาชีพอยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการบัญชีของไทย (TAS) ให้ตรงกับ
มาตรฐานสากล คือ IAS และ IFRS ที่มีการแก้ไขและออกมาใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิก
ทางเลือกในการปฏิบัติ, ลดความซ้ำซ้อนและข้อขัดแย้งในแต่ละฉบับและให้สอดคล้องกับหลักสากล โดย
มาตรฐานที่ปรับปรุงใหม่ที่สำคัญและคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีนี้มีรายละเอียดดังนี้

TAS 29 สัญญาเช่า: กำหนดรายละเอียดกรณีเช่าที่ดินพร้อมอาคารให้ชัดเจนมากขึ้นว่าควรเป็นสัญญา
เช่าทางการเงินหรือสัญญาเช่าดำเนินงาน โดยหากบริษัทผู้เช่าได้รับความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมด
หรือเกือบทั้งหมดจากทรัพย์สินนั้นๆ จะต้องถือว่าการเช่านั้นเป็นสัญญาเช่าทางการเงิน โดยบริษัทผู้เช่า
ต้องบันทึกทรัพย์สินที่เช่าเป็นสินทรัพย์ถาวรและตัดค่าเสื่อมราคาตามอายุสัญญาเช่า และบันทึกมูลค่า
ปัจจุบันของค่าเช่าตลอดอายุสัญญาเป็นหนี้สินและดอกเบี้ยค้างจ่าย ซึ่งเมื่อมีการจ่ายค่าเช่า จะบันทึก
รายการเป็นการจ่ายชำระหนี้สินและดอกเบี้ยจ่ายแทนการบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย

TAS 32 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์:
รายจ่ายในการเปลี่ยนส่วนประกอบ/ซ่อมบำรุงจากเดิมที่ต้องถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดเปลี่ยนเป็นให้
สามารถบันทึกเป็นรายจ่ายลงทุน (capitalized) และตัดค่าเสื่อมราคาตามระยะเวลาจนกว่าจะซ่อมครั้ง
ถัดไป เช่น SCC มีการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ทุก 4 ปี ค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงดังกล่าวให้บันทึกเป็น
สินทรัพย์ถาวรแล้วตัดค่าเสื่อมราคา 4 ปี

ค่าเสื่อมราคาส่วนประกอบของสินทรัพย์ถาวรแต่ละส่วนที่มีนัยสำคัญต้องคิดแยกต่างหากจากกัน
(Component Approach) เช่น จากเดิมที่ THAI คิดค่าเสื่อมราคาของเครื่องบินทั้งลำ อาจต้องคิดค่า
เสื่อมของลำเครื่องบิน, เบาะ, เครื่องยนต์แยกจากกัน เป็นต้น

TAS 40 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน: กำหนดให้สินทรัพย์ทางการเงิน ได้แก่ เงินลงทุนเผื่อ
ขาย, เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทย่อย สามารถวัดมูลค่ายุติธรรม (Mark to market; MTM) และ
รับรู้กำไร/ขาดทุนผ่านงบกำไร/ขาดทุนได้ แต่ทั้งนี้ต้องปรับมูลค่าเงินลงทุนให้กลับไปเป็นราคาทุนก่อนที่
จะ mark to market

TAS 44 งบการเงินรวม: ในการจัดทำงบการเงินเฉพาะกิจการ ให้บันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและร่วม
ด้วยวิธีราคาทุนตามที่กำหนดใน TAS 40 จากเดิมที่เคยบันทึกด้วยวิธีส่วนได้เสีย กล่าวคือ ให้รับรู้
เฉพาะเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทย่อยและร่วมเข้ามาเป็นรายได้ของบริษัทแม่ แทนการรับรู้กำไร/
ขาดทุนของบริษัทย่อยและร่วมตามสัดส่วนการลงทุน แต่ในการจัดทำงบการเงินรวมไม่มีการ
เปลี่ยนแปลง

สำหรับ TAS 44 ที่กำหนดให้ในงบเฉพาะบริษัท ต้องบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วม/ย่อยด้วยวิธีราคาทุน
(จากเดิมที่ใช้วิธีส่วนได้เสีย) ซึ่งมีการประกาศใช้แล้วตั้งแต่ใน 4Q49 แต่ยังคงอนุโลมให้เลือกเริ่มใช้ตั้งแต่
1 ม.ค. 50 ได้นั้น มีผลกระทบที่สำคัญ 2 ประการดังนี้

เงินปันผลและความถี่ในการจ่ายเงินปันผลมีแนวโน้มลดลง: การที่มาตรฐานดังกล่าวบังคับให้
เปลี่ยนแปลงการบันทึกบัญชีในงบเฉพาะบริษัทเท่านั้น แต่งบการเงินรวมจะไม่เปลี่ยนแปลง จึงส่งผลให้
กำไรสุทธิและกำไรสะสมของทั้งสองงบไม่เท่ากัน แต่เนื่องจากกฏหมายกำหนดให้บริษัทจ่ายเงินปันผล
จากกำไรในงบเฉพาะบริษัท ซึ่งกำไรสุทธิในงบเฉพาะของบริษัทโดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มต่ำลง (และต่ำ
กว่างบการเงินรวม) และผันผวนในแต่ละไตรมาส จากการที่บริษัทแม่จะต้องเปลี่ยนมารับรู้เฉพาะเงินปัน
ผลจากบริษัทร่วม/ย่อยเป็นรายได้และจะรับรู้ได้ต่อเมื่อบริษัทร่วม/ย่อยประกาศจ่ายเงินปันผลเท่านั้น
จากเดิมที่บันทึกส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนตามวิธีส่วนได้เสียในทุกไตรมาส (รายได้จากบริษัทร่วม/ย่อย
ลดลง) ส่งผลให้บริษัทต่างๆ มีแนวโน้มที่จะจ่ายเงินปันผลได้ลดลงและมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่สามารถ
จ่ายเงินปันผลได้บ่อยอย่างในอดีต เช่น จากที่เคยจ่ายทุกไตรมาสอาจจะจ่ายแค่ปีละ 1-2 ครั้ง ทั้งนี้จาก
การสำรวจพบว่ามี 5 บริษัท (CPF, FANCY, BKI, DCC, SE-ED) ที่เคยจ่ายปันผลทุกไตรมาส และมี
111 บริษัทที่จ่ายปันผลปีละ 2 ครั้ง และอีก 192 บริษัทจ่ายปีละครั้ง

ผลกระทบต่อกำไรสะสม และ D/E ratio: ในการเปลี่ยนวิธีบันทึกบัญชีเงินลงทุนจากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธี
ราคาทุนนั้น บริษัทจะต้องโอนกลับส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจากบริษัทร่วม/ย่อยที่เคยรับรู้ไว้ทั้งหมด แล้ว
บันทึกเงินปันผลที่เคยได้รับจากบริษัทร่วม/ย่อยจนถึงปัจจุบันแทนและปรับด้วยค่าเผื่อการด้อยค่าของ
เงินลงทุน (ถ้ามี) ซึ่งผลของการปรับปรุงจะทำให้กำไรสะสมของบริษัทแม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับผล
ประกอบการของบริษัทร่วม/ย่อยในอดีต กล่าวคือ 1) ถ้าในอดีตบริษัทร่วม/ย่อยมีผลขาดทุน (เคยรับรู้มา
แต่ส่วนแบ่งขาดทุน) กำไรสะสมของบริษัทแม่จะเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้อาจจะต้องมีการตั้งค่าเผื่อด้อยค่าของ
เงินลงทุนในบริษัทร่วม/ย่อยดังกล่าว ซึ่งจะทำให้กำไรสะสมที่เพิ่มขึ้นไม่สูงเท่าส่วนแบ่งขาดทุนที่เคยรับรู้
มาทั้งหมด 2) ในกรณีที่บริษัทร่วม/ย่อยมีกำไรมาในอดีต กำไรสะสมของบริษัทแม่จะลดลง เท่ากับ
ผลต่างระหว่างส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม/ย่อยที่เคยรับรู้ในอดีตกับเงินปันผลที่เคยได้รับจากบริษัท
ร่วม/ย่อย อย่างไรก็ตาม กำไรสะสมของบริษัทแม่อาจจะเพิ่มขึ้นได้หากเงินปันผลที่เคยได้รับสูงกว่าส่วน
แบ่งกำไร

บริษัทที่จ่ายปันผล 2 ครั้งต่อปี (มีความเสี่ยงที่บางบริษัทอาจเปลี่ยนมาจ่ายเพียงปีละครั้ง)
ACAP, ADVANC, AH, AIT, AMATA, ASK, AYUD, BAFS, BANPU, BAY, BBL, BEC, BECL, BH,
BLISS, CCET, CMO, CPR, CSL, CVD, DCON, DRT, DTC, ECL, EGCOMP, FMT, GC, GMMM,
GRAMMY, GYT, HANA, HEMRAJ, HTC, INET, IRCP, KBANK, KDH, KEST, KH, KK, KPN,
LALIN, LANNA, LEE, LH, LPN, MAJOR, MAKRO, MBK, MCOT, MCS, MLINK, MODERN,
NNCL, OHTL, PB, PD, PHATRA, POST, PR, PR124, PRG, PSL, PTT, PTTCH, PTTEP, RAM,
RANCH, RATCH, RCL, ROJANA, RPC, S&P, SAMART, SAMTEL, SAT, SCC, SCCC, SCG,
SCIB, SEAFCO, SHIN, SIM, SINGHA, SITHAI, SNC, SPACK, SPALI, SPORT, SPPT, STEEL,
SWC, TAF, TCAP, TF, TFD, THRE, TICON, TIPCO, TLUXE, TOP, TPC, TTTM, TUF, TVO,
UEC, UMS, UPOIC, UVAN, VIBHA, WORK

บริษัทที่จ่ายปันผลปีละครั้ง (มีความเสี่ยงที่อาจจะจ่ายเงินปันผลได้ลดลง)
AHC, AJ, ALUCON, AP, APRINT, ASIAN, ASIMAR, ASP, ATC, BAT-3K, BCP, BFIT, BGH,
BIGC, BLS, BOL, BTNC, BUI, CAWOW, CENTEL, CFRESH, CHARAN, CHOTI, CHUO, CI,
CK, CNT, CP7-11, CPH, CPI, CPL, CPN, CSP, CSR, CTW, DELTA, DRACO, DVS, EASON,
EIC, EMC, EPCO, ERAWAN, FE, FNS, GBX, GENCO, GFM, GFPT, GL, GLOW, GSTEEL,
HMPRO, ICC, IHL, ILINK, IRP, IT, ITD, JCT, KC, KCAR, KKC, KTB, KTC, KWC, L&E, LNH,
LST, LVT, MACO, MANRIN, MATI, M-CHAI, METRO, MFC, MFEC, MINOR, MINT, MK, MSC,
NCH, NKI, NOBLE, NTV, NVL, OCC, OGC, OISHI, PATKL, PATO, PDI, PERM, PF, P-FCB,
PG, PHA, PLE, PPC, PPM, PRANDA, PREB, PRIN, PS, PYLON, QH, RAIMON, RHC, ROH,
S&J, SALEE, SAMCO, SAUCE, SAWANG, SC, SCB, SCBL, SCSMG, SF, SFP, SHANG,
SICCO, SIRI, SIS, SLC, SMIT, SMK, SMM, SOLAR, SORKON, SPC, SPG, SPI, SPSU, SSC,
SSEC, SSF, SSSC, SST, STA, STEC, SUC, SUSCO, SVI, SVOA, SYRUS, TASCO, TBANK,
TBSP, TC, TCB, TCCC, TCOAT, TCP, TEAM, THANI, THIP, TIP, TISCO, TK, TKS, TKT, TMD,
TMT, TNITY, TNL, TONHUA, TOPP, TPA, TPAC, TPCORP, TRC, TRU, TSC, TSI, TTI, TWFP,
TWZ, TYCN, UOBKH, UP, UPF, UST, UTP, UV, VARO, VNG, VNT, WACOAL, WG, YNP,
ZMICO
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 0

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี 2550

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เอ ผมได้ยินมาว่าปีนี้คงใช้ทันในส่วนของ TAS 43 44 45 เท่านั้นก่อนนี่ครับ
Impossible is Nothing
โพสต์โพสต์