การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
cwiboon
Verified User
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ในหนังสือ New buffetology จะมีการคำนวณตัวนึงน่ะครับ  เป็นการคำนวณว่าบริษัทสามารถนำกำไรสะสมไปลงทุนแล้วเกิดประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน

ตัวอย่าง
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 1990 เท่ากับ 1.20 บาท
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 2000 เท่ากับ 2.00 บาท

สมมติ
บริษัท มีกำไรรวมทั้งหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ 17.5 บาท
บริษัทจ่ายปันผลหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ  10.5 บาท
ดังนั้นถือได้ว่าบริษัทนำเงินทุนจำนวน 7 บาท (17.5-10.5) มาลงทุนเพิ่มเติมทำให้เกิดกำไรต่อหุ้นในปี2000 เท่ากับ 2.00 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 1990 เท่ากับ 0.8 บาท (2.00-1.20)

คิดเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนของการนำเงินลงทุนมาทำให้เกิดกำไร เท่ากับ 0.8/7 เท่ากับ 11.4 เปอร์เซ็นต์

ผมสังเกตว่าในหนังสือจะทำแบบนี้กับหลายๆบริษัท แล้วเปรียบเทียบกัน ถ้าผลตอบแทนมากก็จะแปลว่าบริษัทใช้เงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ที่สงสัย คือ ตัวเลข 11.4 เปอร์เซ็นต์นี้ถ้าไม่ได้คิดเชิงเปรียบเทียบ (เอาหลายๆบริษัทมาเปรียบเทียบกัน)จะรู้ได้ยังไงว่าน้อยหรือมากครับ และถ้าไม่ได้คิดระยะเวลาเท่ากับ 10 ปี แต่คิด ที่ 5ปีหรือ มากกว่านั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเลขเท่าไหร่จึงถือว่า ผลตอบแทนสูง
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 1

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 2

โพสต์

จะรู้ได้ยังไงว่าน้อยหรือมากครับ
มันต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่คล้ายๆกันครับ

ถ้าต้องการเปรียบเทียบง่ายๆ ให้เอาดอกเบี้ยพันธบัตร อายุ 10 ปีมาเทียบครับ
พันธบัตรความเสี่ยงต่ำกว่า ถ้าหุ้นใดมีผลงานแย่กว่าหรือใกล้เคียงก็ตัดทิ้งไปเลย

การคิดควรคิดที่ระยะัเวลายาวๆ ครับ 10 ปีนี่กำลังดีนะผมว่าถ้าไปคิดเป็นรายไตรมาสตัวเลขอาจทำให้เราเขวได้
cwiboon
Verified User
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 3

โพสต์

MO101 เขียน: มันต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่คล้ายๆกันครับ

ถ้าต้องการเปรียบเทียบง่ายๆ ให้เอาดอกเบี้ยพันธบัตร อายุ 10 ปีมาเทียบครับ
พันธบัตรความเสี่ยงต่ำกว่า ถ้าหุ้นใดมีผลงานแย่กว่าหรือใกล้เคียงก็ตัดทิ้งไปเลย

การคิดควรคิดที่ระยะัเวลายาวๆ ครับ 10 ปีนี่กำลังดีนะผมว่าถ้าไปคิดเป็นรายไตรมาสตัวเลขอาจทำให้เราเขวได้
ขอถามเพิ่มนะครับ จากตัวอย่างจะแปลว่า ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการนำกำไรสะสมไปลงทุนเป็น 11.4 เปอร์เซ็นต์  ถ้าจะคิดรายปีต้องหาร 10 คือผลตอบแทน 1.14 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ถ้าในกรณ๊นี้เทียบกับหุ้นกู้ก็ถือว่าเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำสิครับ แต่ว่าในกรณีตัวอย่างของหนังสือ ส่วนใหญ่กรณีที่มากที่สุดก็ประมาณ 17-25 เปอร์เซ็นต์ พอหาร 10 ปี ก็ได้ไม่ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นกรณีเทียบกับหุ้นกู้จะได้ต่ำกว่าทุกกรณีสิครับ

ถ้าจำตัวเลขไม่ผิด บริษัท HR (บริษัทที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืน) จะได้ประมาณ 18 % ส่วน บริษํทที่มีการแข่งขันกันแต่เรืองราคา General motor อยู่ที่ 6 % น่ะครับ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมมองว่า การคิดแบบ Simple Average ตรง ๆ อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ครับ

ปกติต้องนำ net free Cash Flow ในแต่ละปี มาคำนวณ แล้วหา IRR ตลอดช่วง 10 ปี เปรียบเทียบดูน่าจะถูกกว่านะครับ

นอกจากนี้ในแต่ละปีก็จะมีการจ่ายปันผลที่แตกต่างกัน  อาจจ่ายมาก จ่ายน้อย หรือจ่ายมากกว่ากำไรสุทธิที่ทำได้ จึงมีผลกระทบกับการนำเงินกำไรมาทำการลงทุนในแต่ละปีด้วยครับ

ความเห็นผมคิดว่าต้องคำนวณให้ละเอียดกว่านี้ครับ จึงจะเห็นผลตอบแทนการลงทุนที่ชัดเจนครับ

แล้วเอาไปเปรียบเทียบกับ การลงทุนในพันธบัตรในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ก็พอไหว ถ้าสูงกว่า สูงกว่าเท่าไร หรือถ้าต่ำกว่า แบบนี้ก็ Destroy Value ครับ เพราะไปลงทุนทางเลือกอื่นได้ผลตอบแทนมากกว่าครับ
cwiboon
Verified User
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 5

โพสต์

[quote="thawattt"]ผมมองว่า การคิดแบบ Simple Average ตรง ๆ อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ครับ

ปกติต้องนำ net free Cash Flow ในแต่ละปี มาคำนวณ แล้วหา IRR ตลอดช่วง 10 ปี เปรียบเทียบดูน่าจะถูกกว่านะครับ

นอกจากนี้ในแต่ละปีก็จะมีการจ่ายปันผลที่แตกต่างกัน
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คุณ Cwiboon

โค้ด: เลือกทั้งหมด

เรื่องใช้ Free Cash Flow ผมเห็นด้วยครับ แต่แค่สงสัยการประมาณตัวเลขในหนังสือเฉยๆน่ะครับ และก็กรณีเรื่องเงินปันผลไม่น่าจะมีผลกระทบเพราะหักเงินปันผลออกหมดแล้วเหลือเฉพาะส่วนกำไรสะสมที่เหลือจริงๆเท่านั้นที่นำมาใช้ลงทุน แต่ไม่ว่าจะใช้ Free Cash Flow หรือใช้ แบบ Simple Average เราจะตีค่าโดยเทียบกับหุ้นกู้ได้ยังไงครับ อยากให้คุณ Thawattt ลองสังเกตเฉพาะตัวอย่างที่ให้น่ะครับ อยากรู้ว่าถ้าไม่ใช้การเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นแล้ว เรามีหลักในการเปรียบเทียบกับหุ้นกู้ได้ยังไงเหรอครับ
1.  เรื่องเงินปันผลนั้นเราต้องไปหักจากกำไรสุทธิทุกปีด้วยครับ

ตัวอย่างเช่น

กำไรสุทธิที่เป็นเงินสดปีที่ 1  กำไรสุทธิเท่ากับ 10 บาท ไม่ได้จ่ายปันผล
ปีที่ 2 กำไรสุทธิที่เป็นเงินสดเท่ากับ 2 บาท จ่ายปันผล 5 บาท
ปีที่ 3 กำไรสุทธิที่เป็นเงินสด ด เท่ากับ 1 บาท จ่ายปันผล 2 บาท
ปีที่ 4.....

ไปจนถึงปีที่ 10 เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า เราต้องดูในแต่ละปีว่าจ่ายปันผลเท่าไร บางปีสมมุติว่าจ่ายปันผลมากกว่ากำไรสุทธิที่ทำได้ โดยบริษัทเอากำไรสะสมมาจ่ายด้วย ก็จะทำให้เงินลงทุนในแต่ละปีลดลงมากบ้างน้อยบ้าง เป็นต้น ซึ่งจะสะท้อนตรงผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุนในแต่ละปีไม่เท่ากันครับ ตรงนี้ ผมถึงได้บอกว่า เราต้องลองไปคำนวณ Net  free Cash Flow ในแต่ละปีประกอบครับ แล้วคำนวณหา IRR จึงจะทราบได้ว่าผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วง 10 ปีเป็นอย่างไรครับ

2.  เมื่อเราคำนวณหาผลตอบแทน IRR ได้แล้ว เราก็อาจนำไปเปรียบเทียบกับ ผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวก่อนก็ได้ครับ ซึ่งจะสะท้อนในเรื่องการเปรียบเทียบค่าเสียโอกาสขั้นต่ำ หมายความว่า หากคุณไม่ลงทุนบริษัทนี้ในช่วง 10 ปี แต่คุณนำเงินลงทุนไปลงทุนในพันธบัตรระยะเวลา 10 ปีซึ่งไม่มีความเสี่ยง หรือเราเรียกว่า Risk Free Rate ครับ ถ้าผลตอบแทน IRR จากการลงทุนในบริษัทดังกล่าว เทียบกับผลตอบแทนของพันธบัตรที่ไม่มีความเสี่ยงในระยะเวลา 10 ปีเท่ากัน (ความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้นและไม่ชำระค่าดอกเบี้ยภายใต้สมมุติฐานว่าในช่วง 10 ปีที่เท่ากันเราจะไม่มีการถอนเงินออกไปก่อนกำหนดครับ)  ซึ่งเราต้องคำนวณ IRR เหมือนกัน

ถ้าหากผลตอบแทนของบริษัทมากกว่า ก็แสดงว่า เราสามารถหาผลตอบแทนได้สูงกว่าความเสี่ยงขั้นต่ำ หรือเรียกว่ามี Premium เกิดขึ้น แต่เนื่องจากหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงที่สูงกว่าพันธบัตร ดังนั้น เราจึงต้องเพิ่มผลตอบแทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงเข้าไปด้วย ซึ่งปกติเราต้องไปคำนวณหาว่าระดับความเสี่ยงของหุ้นสามัญ แล้วคำนวณหาค่า market premium ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของหุ้นสามัญของเราครับ ผมไม่อยากจะลงในรายละเอียด แต่มีหนังสือการบริหารการเงินจะให้คำตอบตรงนี้ได้ครับ เอาแค่หลักการนะครับ

เมื่อเราหาความเสี่ยงได้ แล้วเราก็จะเพิ่มอัตราผลตอบแทนเหนือผลตอบแทนของพันธบัตรสักเท่าไร ที่เราเรียกว่า Market Premium เข้าไป  จะเพิ่มมากถ้าหุ้นสามัญของเรามีความเสี่ยงสูง และเพิ่มน้อยถ้ามีความเสี่ยงต่ำครับ

จากในหนังสือที่บอกนั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดของผลตอบแทนในแต่ละปี และไม่ได้ให้ระดับความเสี่ยงของผลตอบแทนในแต่ละปีครับ ทำให้พูดได้เฉพาะแนวทางครับ

เมื่อเราคำนวณหา Benchmark ของ ผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นสามัญได้ว่าเป็นเท่าไร เช่น ได้อัตราเท่ากับ 12% ต่อปี ดังนั้น ถ้าผลตอบแทนเทียบกับอัตรา Benchmark สูงกว่า แสดงว่า การลงทุนในหุ้นนั้นจะเป็นการลงทุนที่ดีและเหมาะสม แต่ถ้าต่ำกว่า การลงทุนตรงนั้นก็ไม่เหมาะสมครับ

ผมก็ไม่ใช่นักการเงินนะครับ อิ อิ เรียนมานิดหน่อยครับ พอรู้เรื่องเป็นงู ๆ ปลา ๆ นะครับ ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ

โดยสรุปนั้นก็คือ การดูผลตอบแทนนั้น เราต้องเปรียบเทียบกับอะไรบางสิ่งเพื่อตอบโจทย์ให้ได้ว่า มันคุ้มหรือไม่ เช่น ถ้าเทียบกับพันธบัตร ก็ตอบโจทย์ว่า คุ้มกับค่าเสียโอกาสขั้นต่ำหรือไม่ครับ ถ้าเปรียบเทียบกับผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เราคำนวณได้ ก็ตอบได้ว่า ผลตอบแทนที่เกิดขึ้น คุ้มกับผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกันกับหุ้นของเราหรือไม่ เป็นต้น

บัฟเฟทก็ใช้วิธีนี้เวลาไปประเมินบริษัทประกันเหมือนกันนะครับ โดยเอา float ของบริษัทประกันที่มีอยู่คือค่าเบี้ยประกัน ไปคำนวณหาค่าเสียโอกาสที่บริษัทประกันจะนำเงินประกันที่เป็น  float ไปลงทุนในพันธบัตรที่ไม่มีความเสี่ยง และเทียบกับที่บริษัทประกันสามารถนำเงินดังกล่าวไปหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์อื่น หรือนำไปลงทุนประเภทต่าง ๆ  ถ้าหากไปหาประโยชน์ได้สูงกว่าผลตอบแทนของพันธบัตร  ก็แสดงว่าบริษัทประกันนั้น สามารถสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าค่าเสี่ยโอกาสขั้นต่ำครับ เพราะเงินที่มีอยู่เฉย ๆ ปกติก็มีค่าเสียโอกาสของการใช้เงินครับ ไม่ใช่ไม่มี Cost ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 1

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 7

โพสต์

New buffetology จริงๆ มีตัว T อีกตัวเป็น New buffettology


ขอถามเพิ่มนะครับ จากตัวอย่างจะแปลว่า ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการนำกำไรสะสมไปลงทุนเป็น 11.4 เปอร์เซ็นต์  ถ้าจะคิดรายปีต้องหาร 10 คือผลตอบแทน 1.14 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ถ้าในกรณ๊นี้เทียบกับหุ้นกู้ก็ถือว่าเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำสิครับ แต่ว่าในกรณีตัวอย่างของหนังสือ ส่วนใหญ่กรณีที่มากที่สุดก็ประมาณ 17-25 เปอร์เซ็นต์ พอหาร 10 ปี ก็ได้ไม่ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นกรณีเทียบกับหุ้นกู้จะได้ต่ำกว่าทุกกรณีสิครับ
ใกล้เีคียงครับ
จากข้อมูล
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 1990 เท่ากับ 1.20 บาท  
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 2000 เท่ากับ 2.00 บาท  
ใช้เวลา 10 ปี

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรใช้อัตราผลตอบแทนทบต้นครับ ใช้ Excel
nper 10.00
pmt 0.00
pv -1.20
fv 2.00
=RATE(10,0,-1.2,2) จะได้ 0.05 หรือคือ 5% ครับ

ลองเอาไปเทียบกับพันธบัตรดู
และควรเทียบ E/P ของหุ้นตัวนี้ เ้ช่น หุ้น A มีราคาขาย 12 บาทในปี 90
หมายความว่า

คุณซื้อหุ้น A จะได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี และผลตอบแทนนี้จะเพิ่มขึ้น 5%
ทบต้นทุกๆ ปีครับ

-----------
นานๆ ตอบยาวๆ ทีเหนื่อย
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 8

โพสต์

mo101


กล้เีคียงครับ
จากข้อมูล
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 1990 เท่ากับ 1.20 บาท  
บริษัท A มีกำไรต่อหุ้นปี 2000 เท่ากับ 2.00 บาท  
ใช้เวลา 10 ปี

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรใช้อัตราผลตอบแทนทบต้นครับ ใช้ Excel
nper 10.00
pmt 0.00
pv -1.20
fv 2.00
=RATE(10,0,-1.2,2) จะได้ 0.05 หรือคือ 5% ครับ

ลองเอาไปเทียบกับพันธบัตรดู
และควรเทียบ E/P ของหุ้นตัวนี้ เ้ช่น หุ้น A มีราคาขาย 12 บาทในปี 90
หมายความว่า

คุณซื้อหุ้น A จะได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี และผลตอบแทนนี้จะเพิ่มขึ้น 5%
ทบต้นทุกๆ ปีครับ
ขอบคุณคุณ mo101 นะครับที่คำนวณได้ชัดเจนดีครับ
cwiboon
Verified User
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากครับ เพื่อนๆทุกคนที่ช่วยอธิบายให้น่ะครับ แต่ที่ผมสงสัย สงสัยผมอาจจะอธิบายไม่เข้าประเด็นน่ะครับ คือผมอยากดูความสามารถในการเอาเงินลงทุนไปใช้น่ะครับ ว่าก่อให้เกิดผลประโยชน์มากขึ้น (กำไรสูงขึ้นแค่ไหน)คือไม่ได้ดูอัตราการเติบโตของกำไรอย่างเดียวน่ะครับ แต่เป็นการดูถึงเงินที่นำไปใช้ลงทุนจริงๆเท่านั้นเพื่อทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้น หรือ ถ้าเป็น free cash flow ก็คือ ในส่วนของกระแสเงินสดจากการลงทุน เท่านั้น โดยที่ต้องการดูก็เพื่อพิจารณาว่าบริษัทมีการนำเงินไปลงทุนแล้วมีประสิทธิภาพแค่ไหน โดยตัวอย่างที่ผมยกน่ะครับเป็นการตั้งสมมติฐาน ว่ากำไรของบริษํทส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่ายปันผลดังนั้นส่วนที่เหลือก็คือเงินที่นำไปใช้ในการลงทุนเพื่อให้ผลกำไรงอกงาม (สังเกตว่าผมตัดเงินปันผลออกจากกำไรเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะนำมาคิดอัตราการนำเงินลงทุนไปใช้) แล้วก็คิดว่าบริษํทนี้มีการนำเงินลงทุนนี้ไปสร้างผลกำไรได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้น

เหตุที่ผมไม่ได้คิด เอากำไรที่เกิดขึ้นมาเข้าสูตร
=RATE(10,0,-1.2,2) เนื่องจาก แต่ละบริษํทมีนโยบายจายปันผลต่างกัน เราไม่สามารถเปรียบเทียบได้เนื่องบริษัทที่จ่ายปันผลมากกว่าจะมีการนำเงินไปลงทุนน้อยกว่า ผู้ถือหุ้นจะได้ในส่วนของปันผลทดแทนมา
สิ่งที่พิจารณาในที่นี้คือความสามารถของการนำเงินลงทุนไปใช้เท่านั้นน่ะครับ ว่ามีมากน้อยแค่ไหน แล้วในตัวอย่างที่ให้จะสังเกตว่าตัวเลข % จากหนังสือ ถ้าไม่ใช้ในเชิงเปรียบเทียบกับบริษัทข้างเคียง ผมไม่สามารถสื่อความหมายตรงๆ ได้น่ะครับ ว่าถือว่ามากหรือน้อย

แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีการคำนวณมูลค่าทั้งบริษํทแล้วนำไปเปรียบเทียบกับผลตอบแทนถ้านำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนด้วยวิธีอื่นตรงนี้ผมเข้าใจครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 1

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ความสามารถในการเอาเงินลงทุนไปใช
ช่วยบอกหน่อยครับ ว่าอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ จะได้ตอบง่ายๆ ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 1

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 11

โพสต์

มีกำไรรวมทั้งหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ 17.5 บาท
บริษัทจ่ายปันผลหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ  10.5 บาท
ดังนั้นถือได้ว่าบริษัทนำเงินทุนจำนวน 7 บาท (17.5-10.5) มาลงทุนเพิ่มเติมทำให้เกิดกำไรต่อหุ้นในปี2000 เท่ากับ 2.00 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 1990 เท่ากับ 0.8 บาท (2.00-1.20)

คิดเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนของการนำเงินลงทุนมาทำให้เกิดกำไร เท่ากับ 0.8/7 เท่ากับ 11.4 เปอร์เซ็นต์
คิดถูกแล้วนี่ครับ แต่ตัวเลข 11.4 หมายถึง บริษัทสะสมกำไรไว้ 7 บาท เป็นตัวที่ทำให้เำกิดกำไรเพิ่มขี้น 0.8 บาท คิดเป็นผลตอบแทน 11.4 %
cwiboon
Verified User
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 12

โพสต์

หน้า 184-188 ครับ เรื่องต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม
ขอบคุณมากครับ
cwiboon
Verified User
โพสต์: 171
ผู้ติดตาม: 0

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 13

โพสต์

[quote="MO101"][quote]มีกำไรรวมทั้งหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ 17.5 บาท
บริษัทจ่ายปันผลหมดตั้งแต่ปี 1990 ถึง ปี 2000 เท่ากับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 1

การคำนวณประสิทธิภาพของการนำเงินลงทุนไปใช้

โพสต์ที่ 14

โพสต์

จะทราบได้ยังไงครับ ว่าเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่จึงจะถือว่าใช้เงินลงทุนได้มีประสิทธิภาพครับ
ไม่ทราบครับ  ลองเทียบกับบ. ที่คล้ายๆกันดู > คือดีกว่า
เช่น H & R  หน้า186 คำนวนได้ 17.9
wm คำนวนได้ 19.9
gm คำนวนได้ 6

แบบนี้ตัด gm ทิ้งเลยครับ
โพสต์โพสต์