ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
-
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
โพสต์ที่ 1
เท่าที่ฟังข่าวมาปี นี้น่าจะรุนเเรงมาก
ที่ออสเตรเลีย นายก จอน ฮาเวิร์ด ออกมาเตือนว่า ปริมาณน้ำไม่พอทำการเกษตรเเล้ว
ราคาพวกข้าวสาลี ข้าวเจ้า สินค้าเกษตร คงขึ้นเเน่ๆ
เเต่ไม่เเน่ใจว่าจะมีบริษัทไหนได้ผลดีบ้าง ?
พวก ขายข้าวนี่จะดีไหมครับ ??
ที่ออสเตรเลีย นายก จอน ฮาเวิร์ด ออกมาเตือนว่า ปริมาณน้ำไม่พอทำการเกษตรเเล้ว
ราคาพวกข้าวสาลี ข้าวเจ้า สินค้าเกษตร คงขึ้นเเน่ๆ
เเต่ไม่เเน่ใจว่าจะมีบริษัทไหนได้ผลดีบ้าง ?
พวก ขายข้าวนี่จะดีไหมครับ ??
- metro
- Verified User
- โพสต์: 861
- ผู้ติดตาม: 0
ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
โพสต์ที่ 3
กลุ่มโรงแรมจะไม่ดีเพราะการท่องเที่ยวในประเทศไทยจะลดลงจากอากาศที่ร้อนขึ้นมั้ยครับ ถ้าอากาศร้อนขึ้น ชายทะเลในฤดูร้อนคนจะเที่ยวน้อยลงหรือเปล่า อากาศหนาวจะไม่หนาวเหมือนสมัยก่อนทำให้การท่องเที่ยวตามภาคเหนือจะลดลงหรือเปล่าครับ ?
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
โพสต์ที่ 5
http://www.bangkokbiznews.com/2007/04/1 ... wsid=64696
ธุรกิจปรับ รับวิกฤติ "โลกร้อน"
19 เมษายน พ.ศ. 2550 17:56:00
ปัญหา Global Warming กำลังส่งสัญญาณ "วิกฤติ" ไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประมงจะได้รับผลกระทบในด่านแรก ก่อนจะคืบคลานไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากประเด็นการขาดแคลนวัตถุดิบ ยังตามมาด้วยมาตรการกีดกันทางการค้าต่อผู้ผลิตที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
ธุรกิจจึงต้องปรับตัว เปลี่ยนแนวคิด ต้นทุนไม่ได้เป็นปัญหาต่อผู้ผลิตอย่างเดียว แต่ "โลกร้อน" กำลังจะเป็นปัญหาใหญ่
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านผลผลิตกำลังเป็นปัญหาใหญ่ต่ออุตสาหกรรมอาหารและจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค เพราะจะขาดแคลนวัตถุดิบและกระทบไปยังกระบวนการผลิตอื่นๆ
"ยุทธศักดิ์ ศุภสร" ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร บอกถึงผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน ซึ่งทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ภัยธรรมชาติมากขึ้นและรุนแรงขึ้น และสัตว์น้ำไร้แหล่งอาหาร
ผลกระทบเหล่านี้ได้ย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์ซึ่งเป็น ต้นตอ ของปัญหาดังกล่าว
ยุทธศักดิ์ ประเมินว่า ภายใน 3-5 ปี นับจากนี้ อุตสาหกรรมประมงจะวิกฤติมากที่สุด จากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ (Supply Change) เพราะอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้ทำลายแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ และเกิดการย้ายถิ่นของสัตว์น้ำ
หากมองมูลค่าส่งออกอาหารไทยย้อนหลังไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในปี 2544 ปริมาณส่งออกอยู่ที่ 488,639 ปี 2545 อยู่ที่ 427,801 ล้านบาท ปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 470,617 ล้านบาท
ปี 2547 อยู่ที่ 507,013 ล้านบาท ปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 519,816 ล้านบาท ปี 2549 เพิ่มขึ้นอีกเป็น 563,911 ล้านบาท ส่วนปี 2550 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10%
แม้ว่าอัตราการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ส่วนแบ่งตลาดอาหารไทยในตลาดโลกกลับลดลงทุกปี ปี 2544 ส่วนแบ่งการตลาดอาหารไทยอยู่ที่ 2.73% ปี 2545 อยู่ที่ 2.51% ปี 2546 อยู่ที่ 2.44% ปี 2547 อยู่ที่ 2.32% และปี 2548 ลดลงมาอยู่ที่ 2.25%
ในภาพรวมของตัวเลขการส่งออกยังไม่มีปัญหา เพราะปริมาณการส่งออกยังเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบในระยะสั้นยังไม่เข้าขั้น "วิกฤติ" แต่ในระยะยาวหลายคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าปัญหาโลกร้อนจะทำให้ปลาหมดทะเลในอีก 40 ปีข้างหน้า
ขณะนี้บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ เจ้าของผลิตภัณฑ์จากทะเล ได้เตรียมออกเดินทางไกล แสวงหาแหล่งวัตถุดิบใหม่โดยมองถึงน่านน้ำสากล อย่างกลางมหาสมุทรอินเดีย และทะเลแดง
ถึงเส้นทางจะไกลขึ้น ต้นทุนสูงขึ้นโดยเฉพาะน้ำมัน ไม่รวมต้นทุนจากมาตรการความปลอดภัย ก็ต้องทำ เพราะทะเลย่านอินโด อ่าวไทย ไม่ใช่แหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์เสียแล้ว
ขณะที่ "สุวิทย์ วังพัฒนมงคล" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร บอกถึงปัญหาของผู้ประกอบการปลากระป๋องว่า กำลังขาดแคลนปลาซาร์ดีนอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ผู้ประกอบการหันมานำเข้าปลาแมคเคอรอลแทน
ที่สำคัญการวางแผนธุรกิจ การสต็อกสินค้า เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะความไม่แน่นอนของปริมาณวัตถุดิบ
สัญญาณร้ายของโลกร้อนในวันนี้ค่อยๆ คืบคลาน และไม่ได้สร้างปัญหาให้กับปลาในทะเลเท่านั้น แต่ทุกอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับการขาดแคลนวัตถุดิบที่เร็วขึ้นและรุนแรงมากขึ้น
กระทั่งอุตสาหกรรมที่ใช้นมผงเป็นวัตถุดิบในการผลิตก็ปั่นป่วนไม่แพ้กัน เพราะภาวะโลกร้อนทำให้เกิดความแห้งแล้ง เกษตรกรจึงไม่มีหญ้าเลี้ยงแม่โค ปริมาณนมผงจึงกำลังขาดแคลนและแพงขึ้นทั่วโลก
ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการไทยต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมการซื้อ (Demand Change) ของผู้บริโภคทั่วโลกมาแล้ว
การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภคนำมาสู่ความต้องการซื้อที่เปลี่ยนไป เช่น การบริโภคปลาแทนเนื้อสัตว์อื่น การบริโภคอาหารแช่แข็งมากขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในด้านดีมานด์ของผู้ซื้อไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะเพียงแค่เอาความต้องการของผู้บริโภคเป็นโจทย์ แล้วปรับวิธีการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่ตรงตามความต้องการ หรือพิถีพิถันกับการผลิตมากขึ้นก็ได้จะสินค้าใหม่ ภายใต้คอนเซปต์ที่ตรงใจผู้บริโภคอยู่แล้ว
การรับมือกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปจึงน่ากลัวน้อยกว่าการขาดแคลนวัตถุดิบ ที่หมายถึงไม่มีวัตถุดิบให้ผลิตและธุรกิจก็อยู่ไม่รอด
ปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบเท่านั้น แต่ประเด็นดังกล่าวกำลังถูกหยิบยกมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Barrier)
ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า หลายประเทศในยุโรปและอเมริกา เริ่มส่งสัญญาณด้วยการหามาตรการกีดกันดังกล่าวแล้ว เช่น คาร์บอนเครดิต ที่เป็นนโยบายกำหนดว่าโรงงานหรือแหล่งผลิตใดที่ปล่อยอากาศเสียหรือทำให้มลภาวะอากาศเสียมากจะได้โควตาส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้น้อย
ในทางกลับกันจะได้โควตาส่งออกมากถ้าแหล่งผลิตนั้นๆ ควบคุมในการผลิตไม่สร้างมลพิษให้อากาศหรือทำลายสิ่งแวดล้อม
ภายใน 5-10 ปี ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกจะได้รับการกีดกันจากการเข้มงวดในการดูแลเรื่องปัญหาโลกร้อนจากประเทศฝั่งยุโรปแน่นอน
"มาตรการที่เป็น NTB จะเริ่มมาจากประเทศพัฒนาที่พยายามหามาตรการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโลกร้อนมากีดกันทางการค้า เพื่อลดปัญหาดังกล่าว
สถาบันอาหารในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้ความรู้แก่เอกชน จึงเร่งใส่มูลค่าเพิ่ม รับมือกับการส่งออกน้อยลงให้ได้กำไรมากขึ้น ส่งออกน้อย แต่กำไรมากขึ้น เป็นหนทางแก้ปัญหาด้วยการใส่มูลค่าเพิ่มให้อาหารไทยให้กับการส่งออกหนึ่งของอุตสาหกรรมอาหารไทย เมื่อวัตถุดิบมีจำกัด ปริมาณส่งออกน้อยลง ต้องทำให้ได้เม็ดเงินมากขึ้น กำไรเพิ่มขึ้น
ปริมาณการส่งออกมากกว่ามูลค่าที่เป็นตัวเงิน แสดงว่า อุตสาหกรรมอาหารไทยต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้ได้กำไรเพิ่ม
ประเด็น NTB ที่มาพร้อมปัญหาโลกร้อนนั้น สถาบันอาหารยังมีโครงการ Green Productivity ที่ไม่ใช่แค่เน้นการลดต้นทุน แต่ต้องเป็นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นส่วนหนึ่งของการรับผิดชอบต่อสังคม นำร่องด้วย 30 โรงงาน ในภาคธุรกิจอาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป
"ถึงเวลาแล้วที่เราต้องจริงจังกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แม้จะต้องค่อยๆ ปรับตัว เปลี่ยนแนวคิด เพราะต้นทุนไม่ได้เป็นปัญหาต่อผู้ผลิตอย่างเดียว แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีให้เห็นอยู่แล้ว และจะเพิ่มมากขึ้นด้วยมาตรการจากภาวะโลกร้อน"
ธุรกิจปรับ รับวิกฤติ "โลกร้อน"
19 เมษายน พ.ศ. 2550 17:56:00
ปัญหา Global Warming กำลังส่งสัญญาณ "วิกฤติ" ไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประมงจะได้รับผลกระทบในด่านแรก ก่อนจะคืบคลานไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากประเด็นการขาดแคลนวัตถุดิบ ยังตามมาด้วยมาตรการกีดกันทางการค้าต่อผู้ผลิตที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
ธุรกิจจึงต้องปรับตัว เปลี่ยนแนวคิด ต้นทุนไม่ได้เป็นปัญหาต่อผู้ผลิตอย่างเดียว แต่ "โลกร้อน" กำลังจะเป็นปัญหาใหญ่
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านผลผลิตกำลังเป็นปัญหาใหญ่ต่ออุตสาหกรรมอาหารและจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค เพราะจะขาดแคลนวัตถุดิบและกระทบไปยังกระบวนการผลิตอื่นๆ
"ยุทธศักดิ์ ศุภสร" ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร บอกถึงผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน ซึ่งทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ภัยธรรมชาติมากขึ้นและรุนแรงขึ้น และสัตว์น้ำไร้แหล่งอาหาร
ผลกระทบเหล่านี้ได้ย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์ซึ่งเป็น ต้นตอ ของปัญหาดังกล่าว
ยุทธศักดิ์ ประเมินว่า ภายใน 3-5 ปี นับจากนี้ อุตสาหกรรมประมงจะวิกฤติมากที่สุด จากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ (Supply Change) เพราะอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้ทำลายแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ และเกิดการย้ายถิ่นของสัตว์น้ำ
หากมองมูลค่าส่งออกอาหารไทยย้อนหลังไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในปี 2544 ปริมาณส่งออกอยู่ที่ 488,639 ปี 2545 อยู่ที่ 427,801 ล้านบาท ปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 470,617 ล้านบาท
ปี 2547 อยู่ที่ 507,013 ล้านบาท ปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 519,816 ล้านบาท ปี 2549 เพิ่มขึ้นอีกเป็น 563,911 ล้านบาท ส่วนปี 2550 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10%
แม้ว่าอัตราการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ส่วนแบ่งตลาดอาหารไทยในตลาดโลกกลับลดลงทุกปี ปี 2544 ส่วนแบ่งการตลาดอาหารไทยอยู่ที่ 2.73% ปี 2545 อยู่ที่ 2.51% ปี 2546 อยู่ที่ 2.44% ปี 2547 อยู่ที่ 2.32% และปี 2548 ลดลงมาอยู่ที่ 2.25%
ในภาพรวมของตัวเลขการส่งออกยังไม่มีปัญหา เพราะปริมาณการส่งออกยังเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบในระยะสั้นยังไม่เข้าขั้น "วิกฤติ" แต่ในระยะยาวหลายคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าปัญหาโลกร้อนจะทำให้ปลาหมดทะเลในอีก 40 ปีข้างหน้า
ขณะนี้บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ เจ้าของผลิตภัณฑ์จากทะเล ได้เตรียมออกเดินทางไกล แสวงหาแหล่งวัตถุดิบใหม่โดยมองถึงน่านน้ำสากล อย่างกลางมหาสมุทรอินเดีย และทะเลแดง
ถึงเส้นทางจะไกลขึ้น ต้นทุนสูงขึ้นโดยเฉพาะน้ำมัน ไม่รวมต้นทุนจากมาตรการความปลอดภัย ก็ต้องทำ เพราะทะเลย่านอินโด อ่าวไทย ไม่ใช่แหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์เสียแล้ว
ขณะที่ "สุวิทย์ วังพัฒนมงคล" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร บอกถึงปัญหาของผู้ประกอบการปลากระป๋องว่า กำลังขาดแคลนปลาซาร์ดีนอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ผู้ประกอบการหันมานำเข้าปลาแมคเคอรอลแทน
ที่สำคัญการวางแผนธุรกิจ การสต็อกสินค้า เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะความไม่แน่นอนของปริมาณวัตถุดิบ
สัญญาณร้ายของโลกร้อนในวันนี้ค่อยๆ คืบคลาน และไม่ได้สร้างปัญหาให้กับปลาในทะเลเท่านั้น แต่ทุกอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับการขาดแคลนวัตถุดิบที่เร็วขึ้นและรุนแรงมากขึ้น
กระทั่งอุตสาหกรรมที่ใช้นมผงเป็นวัตถุดิบในการผลิตก็ปั่นป่วนไม่แพ้กัน เพราะภาวะโลกร้อนทำให้เกิดความแห้งแล้ง เกษตรกรจึงไม่มีหญ้าเลี้ยงแม่โค ปริมาณนมผงจึงกำลังขาดแคลนและแพงขึ้นทั่วโลก
ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการไทยต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมการซื้อ (Demand Change) ของผู้บริโภคทั่วโลกมาแล้ว
การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภคนำมาสู่ความต้องการซื้อที่เปลี่ยนไป เช่น การบริโภคปลาแทนเนื้อสัตว์อื่น การบริโภคอาหารแช่แข็งมากขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในด้านดีมานด์ของผู้ซื้อไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะเพียงแค่เอาความต้องการของผู้บริโภคเป็นโจทย์ แล้วปรับวิธีการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่ตรงตามความต้องการ หรือพิถีพิถันกับการผลิตมากขึ้นก็ได้จะสินค้าใหม่ ภายใต้คอนเซปต์ที่ตรงใจผู้บริโภคอยู่แล้ว
การรับมือกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปจึงน่ากลัวน้อยกว่าการขาดแคลนวัตถุดิบ ที่หมายถึงไม่มีวัตถุดิบให้ผลิตและธุรกิจก็อยู่ไม่รอด
ปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบเท่านั้น แต่ประเด็นดังกล่าวกำลังถูกหยิบยกมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Barrier)
ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า หลายประเทศในยุโรปและอเมริกา เริ่มส่งสัญญาณด้วยการหามาตรการกีดกันดังกล่าวแล้ว เช่น คาร์บอนเครดิต ที่เป็นนโยบายกำหนดว่าโรงงานหรือแหล่งผลิตใดที่ปล่อยอากาศเสียหรือทำให้มลภาวะอากาศเสียมากจะได้โควตาส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้น้อย
ในทางกลับกันจะได้โควตาส่งออกมากถ้าแหล่งผลิตนั้นๆ ควบคุมในการผลิตไม่สร้างมลพิษให้อากาศหรือทำลายสิ่งแวดล้อม
ภายใน 5-10 ปี ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกจะได้รับการกีดกันจากการเข้มงวดในการดูแลเรื่องปัญหาโลกร้อนจากประเทศฝั่งยุโรปแน่นอน
"มาตรการที่เป็น NTB จะเริ่มมาจากประเทศพัฒนาที่พยายามหามาตรการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโลกร้อนมากีดกันทางการค้า เพื่อลดปัญหาดังกล่าว
สถาบันอาหารในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้ความรู้แก่เอกชน จึงเร่งใส่มูลค่าเพิ่ม รับมือกับการส่งออกน้อยลงให้ได้กำไรมากขึ้น ส่งออกน้อย แต่กำไรมากขึ้น เป็นหนทางแก้ปัญหาด้วยการใส่มูลค่าเพิ่มให้อาหารไทยให้กับการส่งออกหนึ่งของอุตสาหกรรมอาหารไทย เมื่อวัตถุดิบมีจำกัด ปริมาณส่งออกน้อยลง ต้องทำให้ได้เม็ดเงินมากขึ้น กำไรเพิ่มขึ้น
ปริมาณการส่งออกมากกว่ามูลค่าที่เป็นตัวเงิน แสดงว่า อุตสาหกรรมอาหารไทยต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้ได้กำไรเพิ่ม
ประเด็น NTB ที่มาพร้อมปัญหาโลกร้อนนั้น สถาบันอาหารยังมีโครงการ Green Productivity ที่ไม่ใช่แค่เน้นการลดต้นทุน แต่ต้องเป็นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นส่วนหนึ่งของการรับผิดชอบต่อสังคม นำร่องด้วย 30 โรงงาน ในภาคธุรกิจอาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป
"ถึงเวลาแล้วที่เราต้องจริงจังกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แม้จะต้องค่อยๆ ปรับตัว เปลี่ยนแนวคิด เพราะต้นทุนไม่ได้เป็นปัญหาต่อผู้ผลิตอย่างเดียว แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีให้เห็นอยู่แล้ว และจะเพิ่มมากขึ้นด้วยมาตรการจากภาวะโลกร้อน"
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
โพสต์ที่ 6
ถ้าปัญหาโลกร้อนทำให้เกิดเหตุการณ์อย่างในหนังเรื่องวันมะรืน (The Day After Tomorrow) ตลาดหุ้นจะยังเหลืออยู่มั้ยครับ :lol:
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
โพสต์ที่ 7
จะเกิดเหตุการณ์วันมะรือเมื่อไหร่ไม่รู้ รู้แต่ว่า วันนี้ข้างบ้านติดแอร์ใหม่ครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
- thumbman2001
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 8116
- ผู้ติดตาม: 1
ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
โพสต์ที่ 8
ถ้าเกิดภาวะแล้งที่ australia
เราจะส่งพืชผลการเกษตรไปที่ประเทศนี้ได้เพิ่มหรือเปล่าครับ (ปีนี้บ้านเราไม่ค่อยได้ข่าวเรื่องขาดน้ำ)
เราจะส่งพืชผลการเกษตรไปที่ประเทศนี้ได้เพิ่มหรือเปล่าครับ (ปีนี้บ้านเราไม่ค่อยได้ข่าวเรื่องขาดน้ำ)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
โพสต์ที่ 9
TR อาจจะได้รับผลในเชิงบวกบ้างตามเหตุผลจาก Grasim ผู้ผลิต VSF รายใหญ่ครับ
"Global warming leading to increased requirement for comfort fabrics"
"Global warming leading to increased requirement for comfort fabrics"
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
โพสต์ที่ 10
อนาคตความตกลงโลกร้อนฉบับใหม่...ความเสี่ยงร่วมกันของโลก
จาก ผลการประชุมเจรจาครั้งล่าสุดที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2011 ได้ปิดฉากลงโดยมีชุดของมติที่ประชุมซึ่งเรียกว่า Durban Package ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญที่จะกล่าวถึงในที่นี้ คือ การกำหนดให้มี พันธกรณีช่วงที่สองของพิธีสารเกียวโต และการเริ่มกระบวนการเจรจารอบใหม่เพื่อการจัดทำ ความตกลงฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับทางกฎหมายกับทุกประเทศ ผลการเจรจาดังกล่าวยังคงสร้างความเสี่ยงทั้งในแง่การที่จะบรรลุความสำเร็จในการจัดทำความตกลงโลกร้อนฉบับใหม่ และความเสี่ยงที่จะบรรลุ เป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส
ในการเจรจาภายใต้พิธีสารเกียวโต ผลการเจรจาได้ข้อสรุปให้มีพันธกรณีช่วงที่สองของพิธีสารเกียวโตต่อไป โดยมีเป้าหมาย ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วในภาคผนวกของพิธีสาร (จำนวน 39 ประเทศ) ลดก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 25 ถึง 40% ต่ำกว่าระดับที่ปล่อยในปี 1990 โดยทำให้ได้ภายในปี 2020 ทั้งนี้ จะมีการทบทวนเป้าหมายอีกครั้งในปี 2015 สำหรับระยะเวลาของพันธกรณีช่วงที่สอง จะเป็น 5 ปี (2013-2017) หรือ 8 ปี (2013-2020) จะมีการพิจารณาในปี 2012 นี้ ในมติของการประชุมได้กำหนด ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วยื่นเป้าหมายตัวเลขการลดก๊าซของประเทศตนเองสำหรับพันธกรณีช่วงที่สองภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2012
สำหรับการเจรจารอบใหม่เพื่อจัดทำความตกลงโลกร้อนฉบับใหม่นั้น ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจชุดใหม่เรียกว่า Ad-hoc Working on the Durban Platform on Enhanced Action (AWG-DP) ผลลัพธ์การเจรจาอาจออกมาในรูปแบบเป็นพิธีสารฉบับใหม่ เป็นเครื่องมือทางกฎหมาย หรืออาจเป็นผลลัพธ์ที่เห็นชอบร่วมกันที่มีผลใช้บังคับทางกฎหมาย มีการกำหนดให้ AWG-DP ทำงานเสร็จโดยเร็วที่สุดแต่ไม่ช้าเกินกว่าปี 2015 เพื่อให้มีมติรับรองในการประชุมรัฐภาคี ครั้งที่ 21 ในปี 2015 และนำไปสู่การใช้บังคับในปี 2020
เป้าหมายสำคัญของการเจรจาภายใต้ AWG-DP คือ ความตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่ที่มีผลบังคับทางกฎหมายกับทุกประเทศ เป้าหมายดังกล่าวมาจากการผลักดันของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้ ประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ (Major Developing Countries) มีพันธกรณีในการลดก๊าซ ทางกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวขัดกับหลักการของอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้วมีพันธกรณีลดก๊าซ แต่การลดก๊าซของประเทศกำลังพัฒนาทำโดยความสมัครใจ
ที่มา : http://pr.trf.or.th/index.php?option=co ... &Itemid=57
จาก ผลการประชุมเจรจาครั้งล่าสุดที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2011 ได้ปิดฉากลงโดยมีชุดของมติที่ประชุมซึ่งเรียกว่า Durban Package ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญที่จะกล่าวถึงในที่นี้ คือ การกำหนดให้มี พันธกรณีช่วงที่สองของพิธีสารเกียวโต และการเริ่มกระบวนการเจรจารอบใหม่เพื่อการจัดทำ ความตกลงฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับทางกฎหมายกับทุกประเทศ ผลการเจรจาดังกล่าวยังคงสร้างความเสี่ยงทั้งในแง่การที่จะบรรลุความสำเร็จในการจัดทำความตกลงโลกร้อนฉบับใหม่ และความเสี่ยงที่จะบรรลุ เป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส
ในการเจรจาภายใต้พิธีสารเกียวโต ผลการเจรจาได้ข้อสรุปให้มีพันธกรณีช่วงที่สองของพิธีสารเกียวโตต่อไป โดยมีเป้าหมาย ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วในภาคผนวกของพิธีสาร (จำนวน 39 ประเทศ) ลดก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 25 ถึง 40% ต่ำกว่าระดับที่ปล่อยในปี 1990 โดยทำให้ได้ภายในปี 2020 ทั้งนี้ จะมีการทบทวนเป้าหมายอีกครั้งในปี 2015 สำหรับระยะเวลาของพันธกรณีช่วงที่สอง จะเป็น 5 ปี (2013-2017) หรือ 8 ปี (2013-2020) จะมีการพิจารณาในปี 2012 นี้ ในมติของการประชุมได้กำหนด ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วยื่นเป้าหมายตัวเลขการลดก๊าซของประเทศตนเองสำหรับพันธกรณีช่วงที่สองภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2012
สำหรับการเจรจารอบใหม่เพื่อจัดทำความตกลงโลกร้อนฉบับใหม่นั้น ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจชุดใหม่เรียกว่า Ad-hoc Working on the Durban Platform on Enhanced Action (AWG-DP) ผลลัพธ์การเจรจาอาจออกมาในรูปแบบเป็นพิธีสารฉบับใหม่ เป็นเครื่องมือทางกฎหมาย หรืออาจเป็นผลลัพธ์ที่เห็นชอบร่วมกันที่มีผลใช้บังคับทางกฎหมาย มีการกำหนดให้ AWG-DP ทำงานเสร็จโดยเร็วที่สุดแต่ไม่ช้าเกินกว่าปี 2015 เพื่อให้มีมติรับรองในการประชุมรัฐภาคี ครั้งที่ 21 ในปี 2015 และนำไปสู่การใช้บังคับในปี 2020
เป้าหมายสำคัญของการเจรจาภายใต้ AWG-DP คือ ความตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่ที่มีผลบังคับทางกฎหมายกับทุกประเทศ เป้าหมายดังกล่าวมาจากการผลักดันของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้ ประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ (Major Developing Countries) มีพันธกรณีในการลดก๊าซ ทางกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวขัดกับหลักการของอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้วมีพันธกรณีลดก๊าซ แต่การลดก๊าซของประเทศกำลังพัฒนาทำโดยความสมัครใจ
ที่มา : http://pr.trf.or.th/index.php?option=co ... &Itemid=57
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ภาวะโลกร้อน กับ หุ้นในตลาด .....
โพสต์ที่ 12
คอลัมน์ Climate@Risk: ในรอบ 55 ปี อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 0.96 องศาเซลเซียส
วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2012 เวลา 16:58 น. รศ.ดร.อานาจ ชิดไธสง
มัทนพรรณ จิ๋วเจียม
ในปัจจุบัน คงไม่เป็นที่โต้เถียงกันแล้วว่า ภาวะโลกร้อนได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะมีหลักฐานต่างๆ มากมายที่พิสูจน์ว่า ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่เกิดจริง ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขข้อมูลอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ภาพถ่ายการหดหายไปของภูเขาน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ความผันแปรของอากาศที่สามารถสัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาวะอากาศรุนแรงที่เป็นภาพข่าวตามสื่อต่างๆ
สำหรับประเทศไทย จนถึงเมื่อต้นปีที่แล้ว ยังไม่มีใครออกมาบอกได้ว่า อุณหภูมิของประเทศไทย ได้เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร โลกร้อนขึ้นแล้วประเทศไทยร้อนขึ้นจริงหรือ ถ้าจริงจะบอกได้ไหมว่าร้อนขึ้นกี่องศา ดังนั้น คำถามเหล่านี้ยังต้องการคำตอบที่ชัดๆ กันอีกที จากข้อมูลตรวจวัดของสถานีอุตุนิยมวิทยาทั่วประเทศที่วิเคราะห์โดยนักวิจัยของสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมีการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานสากลพบว่าในรอบ 55 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2498-2552)อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีทั้งประเทศของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพิ่มขึ้น0.96 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยรายปีในช่วงปี พ.ศ. 2504-2533 ซึ่งสูงกว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีของโลกที่ 0.69 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยรายปีในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เพิ่มขึ้น 1.45 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายปีเพิ่มขึ้น 0.86 องศาเซลเซียสจะเห็นว่าอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยรายปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิเฉลี่ยเฉลี่ยรายปี นอกจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนภาคพื้นดินดังที่กล่าวแล้ว การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทะเลบริเวณประเทศไทย ทั้งในอ่าวไทย-ทะเลจีนใต้ และในฝั่งอันดามัน ก็มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อเห็นข้อมูลอย่างนี้แล้ว ผู้อ่านก็น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน แต่อยากจะให้ระวังนิดหนึ่งว่า เวลาจะนำตัวเลขเหล่านี้ไปใช้ ต้องเอาข้อมูลประกอบไปให้ครบด้วย คือ ต้องชัดเจนว่าพูดถึงมุมไหนของอุณหภูมิ (อุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ย หรือสูงสุด) เป็นข้อมูลในช่วงปีอะไร กำลังเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของช่วงปีไหน และเป็นค่าเฉลี่ยรายปี รายเดือน หรือรายวัน ถ้ารายละเอียดเหล่านี้ชัดเจน เราก็จะสื่อสารได้ถูกต้องและสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ คนในสังคมจะไม่ได้สับสน
ส่วนปริมาณฝน ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญและส่งผลโดยตรงกับการดำเนินชีวิตของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้น ความที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้น ความแปรปรวนของฝนทั้งในแง่ของปริมาณ การกระจายเชิงพื้นที่และเวลา ไม่มีแนวโน้มอย่างชัดเจนเหมือนในกรณีของข้อมูลอุณหภูมิ
นั่นหมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก ความรุนแรงของภาวะโลกร้อน กับปริมาณและการกระจายของฝนนั้น ไม่ตรงไปตรงมาเหมือนในกรณีของอุณหภูมิ ซึ่งดูเหมือนว่า ลักษณะท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อการเกิดและการตกของฝนมาก การตกของฝนมาก และจากภาพด้านล่างจะเห็นว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณฝนรายปี มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงเป็นคาบหรือช่วงเวลา
โดยในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1960-1975 ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีจะมากกว่าปกติ และหลังจากนั้นก่อนปี ค.ศ. 1980-2000 ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีจะน้อยกว่าปกติ ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่า คาบการเปลี่ยนแปลงนี้สัมพันธ์กับการเกิดเหตุการณ์ เอลนีโญลานีญา
นอกจากอุณหภูมิและฝน ในการศึกษาที่สนับสนุนโดย สกว. ยังมีผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความชื้นสัมพัทธ์ การระเหยของน้ำ ความแห้งแล้งและอุทกภัย รังสีดวงอาทิตย์ การปกคลุมของเมฆ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในมหาสมุทร ที่ล้วนเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาผลกระทบและหาแนวทางการปรับตัวสำหรับประเทศไทยทั้งสิ้น ซึ่งผลการวิเคราะห์เหล่านี้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2554 รายงานการสนับสนุนการวิจัย 2554 รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทยของไทย ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2554 คณะทำงานกลุ่มที่ 1 องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ [อัศมน ลิ่มสกุล, อำนาจ ชิดไธสง และกัณฑรีย์ บุญประกอบ (บรรณาธิการ)]" และสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ http://climatechange.jgsee.org
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2012 เวลา 16:58 น. รศ.ดร.อานาจ ชิดไธสง
มัทนพรรณ จิ๋วเจียม
ในปัจจุบัน คงไม่เป็นที่โต้เถียงกันแล้วว่า ภาวะโลกร้อนได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะมีหลักฐานต่างๆ มากมายที่พิสูจน์ว่า ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่เกิดจริง ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขข้อมูลอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ภาพถ่ายการหดหายไปของภูเขาน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ความผันแปรของอากาศที่สามารถสัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภาวะอากาศรุนแรงที่เป็นภาพข่าวตามสื่อต่างๆ
สำหรับประเทศไทย จนถึงเมื่อต้นปีที่แล้ว ยังไม่มีใครออกมาบอกได้ว่า อุณหภูมิของประเทศไทย ได้เพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร โลกร้อนขึ้นแล้วประเทศไทยร้อนขึ้นจริงหรือ ถ้าจริงจะบอกได้ไหมว่าร้อนขึ้นกี่องศา ดังนั้น คำถามเหล่านี้ยังต้องการคำตอบที่ชัดๆ กันอีกที จากข้อมูลตรวจวัดของสถานีอุตุนิยมวิทยาทั่วประเทศที่วิเคราะห์โดยนักวิจัยของสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมีการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานสากลพบว่าในรอบ 55 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2498-2552)อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีทั้งประเทศของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพิ่มขึ้น0.96 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยรายปีในช่วงปี พ.ศ. 2504-2533 ซึ่งสูงกว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีของโลกที่ 0.69 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยรายปีในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เพิ่มขึ้น 1.45 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายปีเพิ่มขึ้น 0.86 องศาเซลเซียสจะเห็นว่าอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยรายปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิเฉลี่ยเฉลี่ยรายปี นอกจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนภาคพื้นดินดังที่กล่าวแล้ว การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทะเลบริเวณประเทศไทย ทั้งในอ่าวไทย-ทะเลจีนใต้ และในฝั่งอันดามัน ก็มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อเห็นข้อมูลอย่างนี้แล้ว ผู้อ่านก็น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน แต่อยากจะให้ระวังนิดหนึ่งว่า เวลาจะนำตัวเลขเหล่านี้ไปใช้ ต้องเอาข้อมูลประกอบไปให้ครบด้วย คือ ต้องชัดเจนว่าพูดถึงมุมไหนของอุณหภูมิ (อุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ย หรือสูงสุด) เป็นข้อมูลในช่วงปีอะไร กำลังเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของช่วงปีไหน และเป็นค่าเฉลี่ยรายปี รายเดือน หรือรายวัน ถ้ารายละเอียดเหล่านี้ชัดเจน เราก็จะสื่อสารได้ถูกต้องและสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ คนในสังคมจะไม่ได้สับสน
ส่วนปริมาณฝน ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญและส่งผลโดยตรงกับการดำเนินชีวิตของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้น ความที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้น ความแปรปรวนของฝนทั้งในแง่ของปริมาณ การกระจายเชิงพื้นที่และเวลา ไม่มีแนวโน้มอย่างชัดเจนเหมือนในกรณีของข้อมูลอุณหภูมิ
นั่นหมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก ความรุนแรงของภาวะโลกร้อน กับปริมาณและการกระจายของฝนนั้น ไม่ตรงไปตรงมาเหมือนในกรณีของอุณหภูมิ ซึ่งดูเหมือนว่า ลักษณะท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อการเกิดและการตกของฝนมาก การตกของฝนมาก และจากภาพด้านล่างจะเห็นว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณฝนรายปี มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงเป็นคาบหรือช่วงเวลา
โดยในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1960-1975 ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีจะมากกว่าปกติ และหลังจากนั้นก่อนปี ค.ศ. 1980-2000 ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีจะน้อยกว่าปกติ ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่า คาบการเปลี่ยนแปลงนี้สัมพันธ์กับการเกิดเหตุการณ์ เอลนีโญลานีญา
นอกจากอุณหภูมิและฝน ในการศึกษาที่สนับสนุนโดย สกว. ยังมีผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความชื้นสัมพัทธ์ การระเหยของน้ำ ความแห้งแล้งและอุทกภัย รังสีดวงอาทิตย์ การปกคลุมของเมฆ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในมหาสมุทร ที่ล้วนเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาผลกระทบและหาแนวทางการปรับตัวสำหรับประเทศไทยทั้งสิ้น ซึ่งผลการวิเคราะห์เหล่านี้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก "สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2554 รายงานการสนับสนุนการวิจัย 2554 รายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทยของไทย ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2554 คณะทำงานกลุ่มที่ 1 องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ [อัศมน ลิ่มสกุล, อำนาจ ชิดไธสง และกัณฑรีย์ บุญประกอบ (บรรณาธิการ)]" และสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ http://climatechange.jgsee.org
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."