ผลประชุมสุดยอดยางโลกชี้ปริมาณความต้องการใช้ยางพุ่ง !!!!
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ผลประชุมสุดยอดยางโลกชี้ปริมาณความต้องการใช้ยางพุ่ง !!!!
โพสต์ที่ 1
ผลประชุมสุดยอดยางโลกชี้ปริมาณความต้องการใช้ยางพุ่ง
กรุงเทพฯ 16 พ.ค.-นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยผลการประชุม “สุดยอดยางโลก” ระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ว่า องค์การยางระหว่างประเทศคาดการณ์การใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ในปี 2553 จะสูงกว่าปี 2549 ร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ โดยการใช้ยางธรรมชาติจะเป็น 10.5 ล้านตัน และยางสังเคราะห์ 14.3 ล้านตัน ขณะที่คาดการณ์การผลิตยางธรรมชาติปี 2553 จะเป็น 10.42 ล้านตัน ซึ่งยังต่ำกว่าความต้องการใช้ยางเล็กน้อย นอกจากนี้ องค์การยางระหว่างประเทศฯ ยังได้ประเมินการผลิตยางของประเทศผู้ผลิตยางโลก จนถึงปี 2563 ที่คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตยางธรรมชาติ 12.4 ล้านต้น และทุกประเทศจะมีแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นประเทศมาเลเซียและศรีลังกาและคาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ยางของโลกจะเป็น 13.8 ล้านตัน ทำให้มีปริมาณการใช้ยางมากกว่าการผลิต 1.4 ล้านตัน สำหรับการผลิตยางธรรมชาติของประเทศไทยจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสขยายการผลิตและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากการปลูกยาง สอดคล้องกับนโยบายหลักขณะนี้คือการเพิ่มมูลค่าการใช้ยางโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางแทนการส่งออกวัตถุดิบให้มากขึ้น ส่วนสถานการณ์การผลิตยางในกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ เช่น อินโดนีเซียที่มีนโยบายและโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติ รวมทั้งกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มการใช้ยางในประเทศในช่วงปี 2550–2553 โดยกำหนดเป้าหมายการปลูกแทน 1.56 ล้านไร่ และปลูกใหม่ 312,500 ไร่ เพื่อเพิ่มการผลิตยางธรรมชาติให้ได้ร้อยละ 4.12 ต่อปี.- สำนักข่าวไทย
[ 2007-05-16 : 17:42:38 ]
กรุงเทพฯ 16 พ.ค.-นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยผลการประชุม “สุดยอดยางโลก” ระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ว่า องค์การยางระหว่างประเทศคาดการณ์การใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ในปี 2553 จะสูงกว่าปี 2549 ร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ โดยการใช้ยางธรรมชาติจะเป็น 10.5 ล้านตัน และยางสังเคราะห์ 14.3 ล้านตัน ขณะที่คาดการณ์การผลิตยางธรรมชาติปี 2553 จะเป็น 10.42 ล้านตัน ซึ่งยังต่ำกว่าความต้องการใช้ยางเล็กน้อย นอกจากนี้ องค์การยางระหว่างประเทศฯ ยังได้ประเมินการผลิตยางของประเทศผู้ผลิตยางโลก จนถึงปี 2563 ที่คาดว่าจะมีปริมาณการผลิตยางธรรมชาติ 12.4 ล้านต้น และทุกประเทศจะมีแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นประเทศมาเลเซียและศรีลังกาและคาดการณ์ว่าปริมาณการใช้ยางของโลกจะเป็น 13.8 ล้านตัน ทำให้มีปริมาณการใช้ยางมากกว่าการผลิต 1.4 ล้านตัน สำหรับการผลิตยางธรรมชาติของประเทศไทยจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสขยายการผลิตและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากการปลูกยาง สอดคล้องกับนโยบายหลักขณะนี้คือการเพิ่มมูลค่าการใช้ยางโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางแทนการส่งออกวัตถุดิบให้มากขึ้น ส่วนสถานการณ์การผลิตยางในกลุ่มประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ เช่น อินโดนีเซียที่มีนโยบายและโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติ รวมทั้งกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มการใช้ยางในประเทศในช่วงปี 2550–2553 โดยกำหนดเป้าหมายการปลูกแทน 1.56 ล้านไร่ และปลูกใหม่ 312,500 ไร่ เพื่อเพิ่มการผลิตยางธรรมชาติให้ได้ร้อยละ 4.12 ต่อปี.- สำนักข่าวไทย
[ 2007-05-16 : 17:42:38 ]
-
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
ผลประชุมสุดยอดยางโลกชี้ปริมาณความต้องการใช้ยางพุ่ง !!!!
โพสต์ที่ 4
เพิ่งจะปลูกยางได้ 2 ปี อยาก เก็บเกี่ยวเร็วๆจัง :lol:
อีกคน คนพื้นที่ เค้ามีสวนยางอยู่500ไร่ แต่ ยังเปิดกรีดไม่ครบ
มีรายได้วันละ85000บาท เดือนนึงกรีด20วัน ปีนึง เท่าไหร่คำนวณดู
แต่โดยส่วนตัว เชื่อว่าราคายางจากนี้อีกสัก5ปี คงราคาตกลงมาเยอะมาก เพราะว่า คนปลูกกันเยอะมาก
อีกคน คนพื้นที่ เค้ามีสวนยางอยู่500ไร่ แต่ ยังเปิดกรีดไม่ครบ
มีรายได้วันละ85000บาท เดือนนึงกรีด20วัน ปีนึง เท่าไหร่คำนวณดู
แต่โดยส่วนตัว เชื่อว่าราคายางจากนี้อีกสัก5ปี คงราคาตกลงมาเยอะมาก เพราะว่า คนปลูกกันเยอะมาก
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
ผลประชุมสุดยอดยางโลกชี้ปริมาณความต้องการใช้ยางพุ่ง !!!!
โพสต์ที่ 5
ข่าวร้ายของ irc รึเปล่าครับ
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
ผลประชุมสุดยอดยางโลกชี้ปริมาณความต้องการใช้ยางพุ่ง !!!!
โพสต์ที่ 6
กรีดไม่ได้ทุกวันน่าครับ
ช่วงที่กรีดแล้วได้น้ำยางคุณภาพต่ำคือช่วงฤดูฝน
ช่วงนั้นของปีเป็นช่วงที่น้ำยางราคาตกต่ำที่สุดครับ
น้ำยางของต้นยางพารา + น้ำฝน
ทำให้น้ำยางพาราเจือจางลง (หลักธรรมดา)
ช่วงที่กรีดแล้วได้น้ำยางคุณภาพต่ำคือช่วงฤดูฝน
ช่วงนั้นของปีเป็นช่วงที่น้ำยางราคาตกต่ำที่สุดครับ
น้ำยางของต้นยางพารา + น้ำฝน
ทำให้น้ำยางพาราเจือจางลง (หลักธรรมดา)
-
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
ผลประชุมสุดยอดยางโลกชี้ปริมาณความต้องการใช้ยางพุ่ง !!!!
โพสต์ที่ 9
ช่วงฤดูฝนจะกรีดได้ ต้องมี เสื้อกันฝนให้ยางครับ ตัวนึงจะประมาณ10บาท แต่ใช้คุ้มครับmiracle เขียน:กรีดไม่ได้ทุกวันน่าครับ
ช่วงที่กรีดแล้วได้น้ำยางคุณภาพต่ำคือช่วงฤดูฝน
ช่วงนั้นของปีเป็นช่วงที่น้ำยางราคาตกต่ำที่สุดครับ
น้ำยางของต้นยางพารา + น้ำฝน
ทำให้น้ำยางพาราเจือจางลง (หลักธรรมดา)
ช่วงที่กรีดไม่ได้เลย คือ ช่วงยางผลัดใบ
ที่สำคัญห้ามกรีดทุกวัน เดี๋ยวหน้ายาง แห้ง ตายหมด กรีด สองวัน พัก หนึ่งวัน ก็เรียกว่าโหดครับ แต่ ต้นยางพอรับสภาพได้ หากว่าใส่ปุ๋ย ช่วย
จะว่าไป อยากให้ วงการยางไทย พัฒนาวิจัยมากกว่านี้ เราไม่ควรส่งแต่ยางแผ่น ออกไปขาย ควรจะเป็น ผลิตภัณฑ์ ที่ ขั้นสุงกว่านี้ได้แล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 109
- ผู้ติดตาม: 0
ผลประชุมสุดยอดยางโลกชี้ปริมาณความต้องการใช้ยางพุ่ง !!!!
โพสต์ที่ 10
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2218 17 พ.ค. - 19 พ.ค. 2550
ชาวสวนยางเฮงสองปีซ้อน ราคาพุ่งต่อเนื่อง
"หลักชัย"ฟันธงปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว
ชาวสวนยางสุดเฮง ราคายางพุ่งต่อเนื่องเป็นปีที่สอง "หลักชัย กิตติพล"นายกสมาคมยางพาราไทย ฟันธงราคาเฉลี่ยปีนี้สูงกว่าปีที่ผ่านมา เพราะประเทศผู้ใช้สต๊อกเหลือน้อย หวังงานประชุมสุดยอดยางโลกสัปดาห์นี้ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จะได้ข้อมูลปริมาณผลผลิตยางและความต้องการใช้ยางโลกชัดเจนขึ้น
นายหลักชัย กิตติพล นายกสมาคมยางพาราไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์ราคายางว่า ถึงขณะนี้เชื่อมั่นว่าภาวะราคายางที่ชาวสวนยางขายได้ปีนี้ เฉลี่ยแล้วจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าปีที่ผ่านมาบางเดือนสูงทะลุ 100 บาท/กก. แต่เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 72 บาทต่อกก. ปีนี้คาดว่าจะสูงกว่านั้น สอดคล้องกับข้อมูลราคาซื้อขายยาง ณ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดประมูลซื้อขายยางที่ใหญ่ที่สุด ที่ระบุช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้เฉลี่ยประมาณ 75 บาท/กก.แล้ว กล่าวคือเดือนม.ค. เฉลี่ยกก.ละ 67.48 บาท ก.พ.เฉลี่ยกก.ละ 75.04 บาท มี.ค.เฉลี่ยกก.ละ 75.33 บาท ส่วนยางแผ่นรมควันจะสูงกว่ายางแผ่นดิบกก.ละประมาณ 2 บาท และราคาน้ำยางสดอยู่ในเกณฑ์สูงเช่นเดียวกันเช่นเดือนม.ค.กก.ละ 64.52 บาท ก.พ.กก.ละ 72.73 บาท มี.ค.กก.ละ 74.23 บาท เม.ย.กก.ละ 73.24 บาท
"เหตุที่เชื่อมั่นว่าราคายางปีนี้ยังสูงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เพราะเวลานี้สต๊อกของประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ต่างสต๊อกลดลง ประกอบกับช่วงนี้ฝนตกต่อเนื่องทำให้ชาวสวนยางไม่สามารถกรีดน้ำยางได้ จึงทำให้เวลานี้ปริมาณยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ขณะที่ความต้องการใช้มีมากจึงทำให้ราคายางช่วงนี้ขยับสูงขึ้นแล้ว และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยราคาส่งออกอยู่ที่ประมาณตันละ 2,300-2,400 ดอลลาร์สหรัฐ" นายหลักชัย กล่าวและว่า
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คาดการณ์ ทั้งยุโรปและญี่ปุ่นเศรษฐกิจเติบโตดี ส่วนสหรัฐแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวแต่โดยรวมยังเติบโตดีอยู่ เมื่อเศรษฐกิจประเทศผู้ใช้ยางเติบโต ความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้น และโดยภาพรวมปีนี้มีการคาดการณ์ความต้องการใช้ยางของโลกจะอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 4-5% สำหรับการส่งออกของไทยยังคงเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะส่งออกยางได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 2.7 ล้านตัน มูลค่า 2 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ดีระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม ศกนี้ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดยางโลก ขององค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ (IRSG) ซึ่งมีประเทศสมาชิก 18 ประเทศ คาดว่าจะทำให้ทุกฝ่ายได้ข้อมูล ข่าวสาร สถานการณ์การผลิต การใช้ การพัฒนาและการใช้ยางสังเคราะห์ รวมถึงข้อมูลสถิติการใช้ยาง สต๊อกยาง เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ โดยภาครัฐจะได้นำข้อมูลไปส่งเสริมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ขณะที่ภาคเอกชนก็จะได้ข้อมูลเพื่อนำไปวางแผนประกอบการส่งออกได้ เนื่องจากเวทีดังกล่าวจะเป็นเวทีที่ผู้เชี่ยวชาญวงการยางและนักวิชาการ ภาครัฐและเอกชนของประเทศต่างๆ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศอาทิ สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC)สภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (IRRDB)เป็นต้น เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ชาวสวนยางเฮงสองปีซ้อน ราคาพุ่งต่อเนื่อง
"หลักชัย"ฟันธงปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว
ชาวสวนยางสุดเฮง ราคายางพุ่งต่อเนื่องเป็นปีที่สอง "หลักชัย กิตติพล"นายกสมาคมยางพาราไทย ฟันธงราคาเฉลี่ยปีนี้สูงกว่าปีที่ผ่านมา เพราะประเทศผู้ใช้สต๊อกเหลือน้อย หวังงานประชุมสุดยอดยางโลกสัปดาห์นี้ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จะได้ข้อมูลปริมาณผลผลิตยางและความต้องการใช้ยางโลกชัดเจนขึ้น
นายหลักชัย กิตติพล นายกสมาคมยางพาราไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์ราคายางว่า ถึงขณะนี้เชื่อมั่นว่าภาวะราคายางที่ชาวสวนยางขายได้ปีนี้ เฉลี่ยแล้วจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าปีที่ผ่านมาบางเดือนสูงทะลุ 100 บาท/กก. แต่เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 72 บาทต่อกก. ปีนี้คาดว่าจะสูงกว่านั้น สอดคล้องกับข้อมูลราคาซื้อขายยาง ณ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดประมูลซื้อขายยางที่ใหญ่ที่สุด ที่ระบุช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้เฉลี่ยประมาณ 75 บาท/กก.แล้ว กล่าวคือเดือนม.ค. เฉลี่ยกก.ละ 67.48 บาท ก.พ.เฉลี่ยกก.ละ 75.04 บาท มี.ค.เฉลี่ยกก.ละ 75.33 บาท ส่วนยางแผ่นรมควันจะสูงกว่ายางแผ่นดิบกก.ละประมาณ 2 บาท และราคาน้ำยางสดอยู่ในเกณฑ์สูงเช่นเดียวกันเช่นเดือนม.ค.กก.ละ 64.52 บาท ก.พ.กก.ละ 72.73 บาท มี.ค.กก.ละ 74.23 บาท เม.ย.กก.ละ 73.24 บาท
"เหตุที่เชื่อมั่นว่าราคายางปีนี้ยังสูงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เพราะเวลานี้สต๊อกของประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ต่างสต๊อกลดลง ประกอบกับช่วงนี้ฝนตกต่อเนื่องทำให้ชาวสวนยางไม่สามารถกรีดน้ำยางได้ จึงทำให้เวลานี้ปริมาณยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ขณะที่ความต้องการใช้มีมากจึงทำให้ราคายางช่วงนี้ขยับสูงขึ้นแล้ว และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยราคาส่งออกอยู่ที่ประมาณตันละ 2,300-2,400 ดอลลาร์สหรัฐ" นายหลักชัย กล่าวและว่า
ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คาดการณ์ ทั้งยุโรปและญี่ปุ่นเศรษฐกิจเติบโตดี ส่วนสหรัฐแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวแต่โดยรวมยังเติบโตดีอยู่ เมื่อเศรษฐกิจประเทศผู้ใช้ยางเติบโต ความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้น และโดยภาพรวมปีนี้มีการคาดการณ์ความต้องการใช้ยางของโลกจะอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 4-5% สำหรับการส่งออกของไทยยังคงเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะส่งออกยางได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 2.7 ล้านตัน มูลค่า 2 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ดีระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม ศกนี้ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดยางโลก ขององค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ (IRSG) ซึ่งมีประเทศสมาชิก 18 ประเทศ คาดว่าจะทำให้ทุกฝ่ายได้ข้อมูล ข่าวสาร สถานการณ์การผลิต การใช้ การพัฒนาและการใช้ยางสังเคราะห์ รวมถึงข้อมูลสถิติการใช้ยาง สต๊อกยาง เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ โดยภาครัฐจะได้นำข้อมูลไปส่งเสริมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ขณะที่ภาคเอกชนก็จะได้ข้อมูลเพื่อนำไปวางแผนประกอบการส่งออกได้ เนื่องจากเวทีดังกล่าวจะเป็นเวทีที่ผู้เชี่ยวชาญวงการยางและนักวิชาการ ภาครัฐและเอกชนของประเทศต่างๆ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศอาทิ สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC)สภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (IRRDB)เป็นต้น เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-
- Verified User
- โพสต์: 109
- ผู้ติดตาม: 0