ผลการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีใหม่ ต่องบการเงินบริษัทจดทะเบียน
นับตั้งแต่ไตรมาสแรกปีนี้เป็นต้นไป สิ่งที่บริษัทจดทะเบียนทุกแห่งจะต้องจัดทำคือ
การรายงานงบการเงินให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ
(International Financial Reporting Standards-IFRS)โดยการปฏิบัติตามมาตรฐานการ
บัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุงปี 2550)เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งมี
ประเด็นสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีรายงานงบการเงินในส่วนของงบการเงินเฉพาะกิจการหรือ
ที่เรียกสั้นๆ ว่า งบเดี่ยว จากเดิมที่บันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยด้วยวิธีส่วนได้เสีย (Equity
method)เปลี่ยนเป็นวิธีราคาทุน (Cost method)
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของงบการเงินรวม กระแสเงินสด และปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
ของบริษัทจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะงบการเงินเดี่ยวเท่านั้น กล่าว
คือ ตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทจะรับรู้รายได้จากบริษัทย่อย บริษัทร่วม ตามสัดส่วนเงินลงทุน เช่น
หากบริษัทย่อยมีกำไร 100 บาท บริษัทถือหุ้นอยู่ 20% ก็จะมีการบันทึกรายได้ 20 บาททันที ทั้ง
ที่บริษัทย่อยยังไม่มีการจ่ายปันผล ซึ่งอาจจะทำให้งบการเงินเดี่ยวออกมาดูดี มีกำไรมาก หรือ
หากบริษัทย่อย ร่วม ขาดทุน บริษัทก็ต้องรับผลขาดทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ต่างจาก
วิธีราคาทุน ที่บริษัทจะบันทึกรายได้จากเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม จากการรับรู้เงินปันผล
ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทได้มากกว่าวิธีส่วนได้เสีย
ดังนั้นงบเดี่ยวของบริษัทจดทะเบียนจะมีกำไรมากหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าในไตรมาสที่
จะต้องรายงานผลประกอบการนั้น บริษัทย่อย มีการจ่ายปันผลหรือยัง ซึ่งส่วนใหญ่ในไตรมาสแรก
งบเดี่ยวของบริษัทอาจจะไม่ดีมากนัก เพราะบริษัทย่อยยังไม่จ่ายปันผล หมายความว่า งบเดี่ยวนั้น
จะมีกำไรดีแค่บางไตรมาส เช่น ในไตรมาส 2 เพราะเป็นช่วงที่บริษัทย่อย ร่วม จ่ายปันผล หรือ
บางบริษัทอาจมีงบเดี่ยวดีหลายไตรมาส เพราะบริษัทลูกจ่ายปันผลหลายครั้ง ดังนั้น บริษัทอาจใช้
นโยบายให้บริษัทลูกจ่ายปันผลถี่มากขึ้นในแต่ละปี เพื่อที่จะทำให้งบเดี่ยวไม่กระโดดมาก ยก
ตัวอย่างเช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)(KTB) มีนโยบายปีนี้ สั่งให้บริษัทย่อยจ่ายปันผลให้
มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจ่ายใกล้ 100% ของกำไรสุทธิก็ยิ่งดี เพื่อที่จะทำให้ KTB รับรู้รายได้
ปันผลตามวิธีราคาทุนใกล้เคียงกับวิธีเดิมที่รับรู้รายได้ตามวิธีส่วนได้เสีย
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากกำไรของงบเดี่ยวที่จะดีแค่บางไตรมาสแล้ว
กำไรและกำไรสะสมของงบเดี่ยวยังจะลดลงและจะต่ำกว่างบรวม จากเดิมที่กำไรงบเดี่ยวและงบ
รวมจะเท่ากัน เพราะไม่ได้แบ่งส่วนได้เสียจากกำไรของบริษัทลูก มีส่วนน้อยที่งบเดี่ยวจะมีกำไร
และกำไรสะสมดีขึ้น โดยจะเกิดกับบริษัทที่ลูกมีผลขาดทุน เพราะไม่ต้องนำมาบันทึกขาดทุนด้วย
เหมือนวิธีส่วนได้เสีย ยกเว้นว่าบริษัทลูกนั้นจะฐานะไม่ดีต่อเนื่อง บริษัทจำเป็นต้องตั้งด้อยค่าเงิน
ลงทุนในบริษัทลูกด้วย ขณะเดียวกันวิธีราคาทุนนี้ อาจจะมีผลกระทบกับการจ่ายปันผลของบริษัทที่
เลือกจ่ายจากงบเดี่ยว เพราะอาจปันผลได้น้อยลงจากกำไรงบเดี่ยวที่ลดลงแต่วิธีแก้ไขอาจเลือก
จ่ายปันผลจากงบรวมแทน หรือถ้าจะจ่ายจากงบเดี่ยวก็ต้องสั่งให้บริษัทลูกจ่ายปันผลให้มากเพื่อที่
งบเดี่ยวของแม่จะได้ดูดี และมีกระแสเงินสดมากพอที่จะจ่ายปันผลได้ในระดับเดิมเหมือนตอนที่
ใช้วิธีส่วนได้เสีย
ในเรื่องนี้ สมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า จาก
วิธีราคาทุนนี้ บริษัทที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือบริษัทที่เป็นโฮลดิ้งส์ หรือกึ่งโฮลดิ้งส์
เพราะบริษัทประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีรายได้หลักมาจากบริษัทย่อย แต่ตัวโฮลดิ้งส์เองอาจมีธุรกิจ
แค่เล็กน้อยหรือไม่มีเลย ดังนั้น งบเดี่ยวอาจจะมีกำไรน้อยกว่างบรวมมาก เพราะหากบริษัทย่อย
ยังไม่จ่ายปันผล งบเดี่ยวก็จะมีกำไรน้อย
บริษัทที่จะได้รับผลกระทบมาก เช่น TTA โดยบริษัทนี้ทำธุรกิจเรือเทกอง มีเรือ 35
ลำ ก็ต้องตั้งบริษัทย่อย 35 แห่ง รวมถึง SHIN โรงพยาบาลกรุงเทพ และ สหพัฒน์โฮลดิ้งส์
(SPI) เป็นต้น ซึ่งบริษัทเหล่านี้อาจจะจ่ายปันผลได้น้อยลง หากงบเดี่ยวกำไรต่ำมาก แต่ก็ไม่ใช่
ปัจจัยหลักที่จะสะท้อนถึงมูลค่าหุ้นที่แม้จริงได้ เพราะควรจะดูที่งบรวมมากกว่า นายสมบัติชี้แจง
นายสมบัติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้บริษัทต่าง ๆได้ทยอยแจ้งมาแล้วว่าจะมีนโยบาย
จ่ายปันผลจากงบรวมหรืองบเดี่ยว เช่น PTT AP OHTL ประกาศว่าจะจ่ายปีนผลจากงบรวม โดย
ใช้ถ้อยคำที่ยืดหยุ่นเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเงินปันผลที่อาจถูกกระทบ เช่น PTT จะจ่ายปันผลไม่ต่ำ
กว่า 25% ของกำไรสุทธิ ซึ่งในความเป็จริงอาจจะจ่าย 25% หรือ 80% หรือ 90% ก็สามารถทำ
ได้ นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ต้องการใช้งบเดี่ยวในการจ่ายปันผล เช่น CI LPN เพราะทั้ง 2 บริษัท
นี้เห็นว่างบเดี่ยวที่ออกมามีกำไรดีกว่างบรวมเสียอีก
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักลงทุนอาจจะกังวลเกี่ยวกับการดูงบการเงินของบริษัทจด
ทะเบียน ว่าควรดูงบรวมหรืองบเดี่ยว สมบัติชี้ว่า จากข้อสังเกตที่ผ่านมาเห็นได้ว่านักวิเคราะห์
ส่วนใหญ่จะรายงานตัวเลขผลประกอบการที่มาจากงบรวมเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า นักวิเคราะห์ให้
ความสำคัญกับงบรวมเป็นหลัก การประเมินมูลค่าหุ้นก็จะดูจากงบรวมเป็นหลัก
การประเมินมูลค่าหุ้นไม่ได้ดูจากเงินปันผลเพียงอย่างเดียว แต่การดูกำไรโดยรวมจะ
เห็นการดำเนินงานของบริษัทโดยรวมมากกว่า แต่ในส่วนของงบเดี่ยวจะช่วยในบางแง่มุม เช่น
คาดเดาว่าบริษัทแม่จะมีความสามารถในการจ่ายเงินปันผลได้เท่าไหร่สมบัติกล่าวแนะนำ
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนต่างๆ ทยอยประกาศผล
ประกอบการออกมา และนักลงทุนจะสังเกตได้ว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตคือ กำไรสุทธิของ
งบเดี่ยวบริษัทจะไม่เท่ากับกำไรสุทธิที่รายงานไว้ในงบการเงินรวม จากเดิมที่งบการเงินทั้ง 2
แบบนี้จะมีกำไรสุทธิเท่ากัน และจะสังเกตได้ว่า จากการรายงานผลประกอบการ บริษัทส่วนใหญ่
จะพูดถึงงบรวมเป็นหลัก และพูดถึงงบเดี่ยวประกอบพร้อมอธิบายให้เห็นถึงสาเหตุที่กำไรงบเดี่ยว
และงบรวมไม่เท่ากันว่า การที่งบเดี่ยวมีกำไรน้อยกว่างบรวม เพราะจะต้องรอรับเงินปันผล
จากบริษัทลูก ซึ่งเป็นไปตามวิธีการรายงานงบการเงินตามเกณฑ์ใหม่ แสดงให้เห็นว่าบริษัทจด
ทะเบียนต่างมีความเข้าใจกับเกณฑ์ดังกล่าวมากพอสมควรแล้ว เหลือก็เพียงนักลงทุนที่จะต้อง
เริ่มเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้ไม่สับสนกับการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของบริษัท
เพราะต้องย้ำกันจริงๆว่า มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 ไม่ได้มีผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของ
บริษัท เพียงแค่บริษัทเปลี่ยนวิธีการบันทึกรายได้จากบริษัทย่อยที่แจ้งในงบการเงินเดี่ยวมาเป็น
วิธีราคาทุนเท่านั้น
ดังนั้น บริษัทจดทะเบียนไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ใช่การให้เลือกทำหรือไม่ทำ เพราะ
ไม่เช่นนั้นแล้ว ต่างชาติที่ต้องการมาลงทุนในไทยจะไม่กล้าตัดสินใจลงทุน เพราะอ่านงบการเงิน
ของบริษัทในไทยไม่ออก เนื่องจากวิธีรายงานแบบเดิมนั้นไม่เป็นสากล
นางสาวเพ็ญศรี สุธีรศานต์ ผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจดทะเบียน ยกตัวอย่างเพื่อ
อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า หากต่างชาติต้องการมาลงทุนหุ้น PTT ในไทยก็จะมีการเปรียบเทียบ
งบการเงินระหว่าง PTT กับหุ้นพลังงานในประเทศอื่นๆ เช่นจีน ญี่ปุ่น เพื่อตัดสินใจได้ถูกว่าควร
จะลงทุนหุ้นพลังงานในประเทศไหนดี แต่หากไทยยังใช้การรายงานวิธีเดิมคือส่วนได้เสีย ต่างชาติ
จะไม่เข้าใจและไม่สามารถทราบถึงสถานะทางการเงินที่แท้จริง หรือพื้นฐานโดยรวมของบริษัท
ได้เลย
สิ่งที่จะเห็นจากนี้ไป บริษัทจดทะเบียนอาจต้องบีบให้บริษัทลูกจ่ายปันผลมากขึ้นและถี่
ขึ้น เพื่อทำให้งบการเงินเดี่ยวของบริษัทมีกระแสเงินสดมาก(ในกรณีที่ต้องการจ่ายปันผลจากงบ
เดี่ยว) เพื่อที่จะได้จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ในระดับเดียวกับที่เคยจ่ายในช่วงที่ใช้วิธีบันทึกรายได้
จากบริษัทย่อยโดยวิธีส่วนได้เสีย ขณะเดียวกันการจ่ายปันผลถี่ขึ้นก็จะช่วยให้กำไรจากงบเดี่ยว
ของบริษัทในแต่ละไตรมาสไม่กระโดดไปมาจนทำให้นักลงทุนตื่นตระหนกจนเข้าใจผิดในผลการ
ดำเนินงาน อันอาจจะนำไปสู่การตัดสินใจลงทุนที่ผิดพลาดได้ ส่วนบริษัทที่เลือกจ่ายปันผลจากงบ
รวมก็คงไม่ต้องใช้วิธีบีบบริษัทลูกจ่ายปันผล ซึ่งทางสมาคมนักวิเคราะห์ฯ ก็ได้แนะนำให้บริษัท
เลือกจ่ายปันผลจากงบรวมจะดีกว่า
สุดท้ายข้อดีของวิธีราคาทุนในแง่มุมของบริษัทจดทะเบียนคือ หากบริษัทย่อยมีผล
ขาดทุน บริษัทไม่ต้องบันทึกผลขาดทุนในงบเดี่ยว แต่จะต้องมีการพิจารณาในทุกงวดบัญชี และ
จนกว่าบริษัทย่อยนั้นจะย่ำแย่ขนาดที่ว่าดำเนินุรกิจไม่ไหวเป็นแน่ บริษัทจึงสามารถบันทึกผลขาด
ทุนได้ ซึ่งกว่าผลขาดทุนจะสะท้อนมายังงบเดี่ยวก็อาจจะช้าเกินไป และอาจจะเป็นข้อเสียสำหรับ
นักลงทุนคือ จะไม่ทราบสถานะของบริษัทย่อยของบริษัทที่ตนเองถือหุ้นอยู่ จนกว่าบริษัทจะมีการ
บันทึกผลขาดทุน
ดังนั้น สรุปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว ต่างแนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่าให้ดู
ภาพรวมของบริษัทจากงบรวมจะดีกว่า ส่วน งบเดี่ยวนั้นน่าจะใช้ดูประกอบกับงบรวมเพื่อให้
วิเคราะห์พื้นฐานแต่ละบริษัทได้ดีมากยิ่งขึ้น
A must read:ผลการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีใหม่
-
- Verified User
- โพสต์: 160
- ผู้ติดตาม: 0
A must read:ผลการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีใหม่
โพสต์ที่ 1
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
A must read:ผลการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีใหม่
โพสต์ที่ 2
สมัยก่อนเวลาอยากดูกำไรของแบบหยาย ๆ ของ บริษัทย่อย
ก็เข้าไปดูได้ที่หมายเหตุประกอบงบการเงิน
ตรงเงินลงทุนในบริษัทตามวิธีส่วนได้ส่วนเสียของงบเดี่ยว
แต่มาตรฐานบัญชีใหม่เล่นบันทึกด้วยราคาทุนหมด
งบรวมก็จับบริษัทย่อยมารวมหมดไม่มีแยก
เลยไม่สามารถแยกได้เลยว่าบริษัทย่อยแต่ละบริษัทมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร
ก็เข้าไปดูได้ที่หมายเหตุประกอบงบการเงิน
ตรงเงินลงทุนในบริษัทตามวิธีส่วนได้ส่วนเสียของงบเดี่ยว
แต่มาตรฐานบัญชีใหม่เล่นบันทึกด้วยราคาทุนหมด
งบรวมก็จับบริษัทย่อยมารวมหมดไม่มีแยก
เลยไม่สามารถแยกได้เลยว่าบริษัทย่อยแต่ละบริษัทมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร