ไม่ทราบว่าค่า Market Risk Premium ที่ 6.5% ยังใช้ได้หรือไม่

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
nz
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 152
ผู้ติดตาม: 0

ไม่ทราบว่าค่า Market Risk Premium ที่ 6.5% ยังใช้ได้หรือไม่

โพสต์ที่ 1

โพสต์

พอดีอ่านหนังสือของพี่สุมาอี้เกี่ยวกับการคำนวณมูลค่าของหุ้นในเรื่องต้นทุนของเงินทุน ในหนังสือบอกว่าค่า Market Risk Premium ของตลาดหุ้นไทยมีค่าประมาณ 6.5% ไม่ทราบว่าปัจจุบันนี้ค่านี้เปลี่ยนแปลงแล้วหรือยังครับ ใครพอทราบช่วยตอบทีครับ

ขอบคุณครับ
มีเหตุผล, พอประมาณ, มีภูมิคุ้มกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ไม่ทราบว่าค่า Market Risk Premium ที่ 6.5% ยังใช้ได้หรือไม่

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ตัวเลขที่ผมเอามานั้นจัดทำโดย มูดดี้ มีการอัพเดทเป็นระยะๆ ครับ ติดตามได้จาก http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/Ne ... yprem.html

ปัจจุบันอยู่ที่ 6.41%
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ไม่ทราบว่าค่า Market Risk Premium ที่ 6.5% ยังใช้ได้หรือไม่

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอถือโอกาสใช้กระทู้นี้สื่อสารกับหลายๆ ท่านที่กำลังสนใจการทำ DCF อยู่นะครับ

ช่วงนี้มีนักลงทุนหลายท่าน PM มาปรึกษาเรื่อง DCF กับผม ซึ่งทำให้ผมได้เห็นจุดอ่อนที่สำคัญมากของนักลงทุนมือใหม่ นั่นก็คือ นักลงทุนมือใหม่มักแค่มองอดีตกับปัจจุบัน ไม่ค่อยได้มองอนาคตกันเลย

มูลค่าของหุ้นเท่ากับ present value of all "future" free cash flow นะครับ ดังนั้น กำไรหรือกระแสเงินสดในอดีตไม่ได้มีผลต่อมูลค่าของหุ้นเลยแม้แต่น้อย การลงทุนเราต้องมองไปข้างหน้า มองไปข้างหน้า และมองไปข้างหน้า อย่ายึดติดกับอดีตหรือปัจจุบันอย่างเด็ดขาด

วิธีมองไปข้างหน้า คือ ต้องหาข้อมูลครับว่า บริษัทกำลังคิดจะทำอะไรในอนาคต ไม่ใช่เอางบการเงินมาดู งบการเงินคืออดีตล้วนๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักลงทุนมือใหม่ไม่ค่อยถนัด

เคสที่คุณจะเอาอดีตมาใช้ได้ก็พอจะมีเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น บริษัทขายน้ำปลาแห่งหนึ่งที่อยู่ในตลาด ขายน้ำปลามาแล้ว 20 ปี ปีนี้ก็ขายน้ำปลา ปีหน้าก็ขายน้ำปลา อีก 5 ปีข้างหน้าดูแล้วก็คงขายน้ำปลาเหมือนเดิม คนไทยไม่ได้มีแนวโน้มที่จะกินน้ำปลาเพิ่มขึ้น บริษัทก็ไม่มีแผนจะเปิดโรงงานใหม่หรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่ใดๆ แบบนี้เราเอาตัวเลขในอดีตมาแทนอนาคตได้ครับ เพราะ เราประเมินแล้วคิดว่าทุกอย่างจะเหมือนเดิมต่อไปในอนาคต ถ้าอย่างนี้ก็โอเคครับ แต่เคสแบบนี้มีน้อยมากครับ มีธุรกิจน้อยมากที่ทุกอย่างจะเหมือนเดิมทุกปี

กระบวนการลงทุนต้องเริ่มด้วยการ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างมุมมองของเราเกี่ยวกับอนาคตของบริษัทให้ได้เสียก่อน ส่วนการวัดมูลค่าหุ้นนั้นเป็นขั้นตอนท้ายสุด (ไม่ว่าจะด้วย DCF หรือวิธีอื่นใดก็ตาม) มันไม่สำคัญเท่ากับขั้นตอนแรกหรอกครับ

ก่อนจะวัดมูลค่าหุ้นต้องถามตัวเองก่อนว่า คุณมีมุมมองเกี่ยวกับอนาคตของหุ้นตัวนั้นแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีวัดไปก็เท่านั้นไม่ต่างอะไรกับการมั่วครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
nz
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 152
ผู้ติดตาม: 0

ไม่ทราบว่าค่า Market Risk Premium ที่ 6.5% ยังใช้ได้หรือไม่

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณท่านแม่ทัพมากครับ
:bow:
มีเหตุผล, พอประมาณ, มีภูมิคุ้มกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

ไม่ทราบว่าค่า Market Risk Premium ที่ 6.5% ยังใช้ได้หรือไม่

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สุมาอี้ เขียน:ขอถือโอกาสใช้กระทู้นี้สื่อสารกับหลายๆ ท่านที่กำลังสนใจการทำ DCF อยู่นะครับ

ช่วงนี้มีนักลงทุนหลายท่าน PM มาปรึกษาเรื่อง DCF กับผม ซึ่งทำให้ผมได้เห็นจุดอ่อนที่สำคัญมากของนักลงทุนมือใหม่ นั่นก็คือ นักลงทุนมือใหม่มักแค่มองอดีตกับปัจจุบัน ไม่ค่อยได้มองอนาคตกันเลย

มูลค่าของหุ้นเท่ากับ present value of all "future" free cash flow นะครับ ดังนั้น กำไรหรือกระแสเงินสดในอดีตไม่ได้มีผลต่อมูลค่าของหุ้นเลยแม้แต่น้อย การลงทุนเราต้องมองไปข้างหน้า มองไปข้างหน้า และมองไปข้างหน้า อย่ายึดติดกับอดีตหรือปัจจุบันอย่างเด็ดขาด

วิธีมองไปข้างหน้า คือ ต้องหาข้อมูลครับว่า บริษัทกำลังคิดจะทำอะไรในอนาคต ไม่ใช่เอางบการเงินมาดู งบการเงินคืออดีตล้วนๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักลงทุนมือใหม่ไม่ค่อยถนัด

เคสที่คุณจะเอาอดีตมาใช้ได้ก็พอจะมีเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น บริษัทขายน้ำปลาแห่งหนึ่งที่อยู่ในตลาด ขายน้ำปลามาแล้ว 20 ปี ปีนี้ก็ขายน้ำปลา ปีหน้าก็ขายน้ำปลา อีก 5 ปีข้างหน้าดูแล้วก็คงขายน้ำปลาเหมือนเดิม คนไทยไม่ได้มีแนวโน้มที่จะกินน้ำปลาเพิ่มขึ้น บริษัทก็ไม่มีแผนจะเปิดโรงงานใหม่หรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่ใดๆ แบบนี้เราเอาตัวเลขในอดีตมาแทนอนาคตได้ครับ เพราะ เราประเมินแล้วคิดว่าทุกอย่างจะเหมือนเดิมต่อไปในอนาคต ถ้าอย่างนี้ก็โอเคครับ แต่เคสแบบนี้มีน้อยมากครับ มีธุรกิจน้อยมากที่ทุกอย่างจะเหมือนเดิมทุกปี

กระบวนการลงทุนต้องเริ่มด้วยการ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างมุมมองของเราเกี่ยวกับอนาคตของบริษัทให้ได้เสียก่อน ส่วนการวัดมูลค่าหุ้นนั้นเป็นขั้นตอนท้ายสุด (ไม่ว่าจะด้วย DCF หรือวิธีอื่นใดก็ตาม) มันไม่สำคัญเท่ากับขั้นตอนแรกหรอกครับ

ก่อนจะวัดมูลค่าหุ้นต้องถามตัวเองก่อนว่า คุณมีมุมมองเกี่ยวกับอนาคตของหุ้นตัวนั้นแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีวัดไปก็เท่านั้นไม่ต่างอะไรกับการมั่วครับ
พี่โจ๊กนี้แนวคิดดีตลอดเลยนะครับ  หลังๆผมก็ไม่ค่อยได้ดูงบการเงิน เน้นเรื่อง durable competitive advantage มากขึ้น ใช้งบประกอบว่าหนี้สินมีความเสี่ยงแค่ไหน เงินสดดีไหม  ใช้ประกอบเล็กน้อยเท่านั้นครับ สำหรับผม
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

ไม่ทราบว่าค่า Market Risk Premium ที่ 6.5% ยังใช้ได้หรือไม่

โพสต์ที่ 6

โพสต์

โทษนะครับ ช่วยขยายความคำว่า default spread ให้หน่อยได้ไหมครับ ไม่ค่อยเข้าใจ moody พูดถึงคำนี้บ่อยน่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ไม่ทราบว่าค่า Market Risk Premium ที่ 6.5% ยังใช้ได้หรือไม่

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ถ้าพันธบัตรให้ผลตอบแทน 4% แต่หุ้นกู้ปตท.ให้ผลตอบแทน 4.5% ก็คือ default spread ของหุ้นกู้ปตท.เท่ากับ 0.5%

พันธบัตรไม่มี default risk ดังนั้นส่วนที่ให้เกินมาของหุ้นปตท.คือ default risk premium ของปตท.
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

ไม่ทราบว่าค่า Market Risk Premium ที่ 6.5% ยังใช้ได้หรือไม่

โพสต์ที่ 8

โพสต์

พี่โจ๊กครับ อัตราปันผลของหุ้นไทย เนี้ย สมมุติ 4 % ถ้า market cap ตลาด 5 ล้านๆ หมายความว่าหุ้นทุกตัวปันผล รวมกันได้ 200000 ล้านใช่ไหมครับ

แล้วหาดูข้อมูลได้ที่ไหนเหรอครับ อัตราปันผลหุ้นไทย
โพสต์โพสต์