ช่วยตอบหน่อยเหอะไหว้ล่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 65
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยตอบหน่อยเหอะไหว้ล่ะ
โพสต์ที่ 1
1) คำว่าคุ้มครองเงินต้น กับ คำว่า ประกันเงินต้นต่างกันยังไง
2)ผมไปอ่านหนังสือ อยากรวยต้องรู้ งง อยู่ 2 คำพูด เขาบอกว่า
คือ เล่นหุ้นอย่าแห่ตามกัน กะ คำว่า อย่าฝืนกระแสตลาด
ซึ่งคำพูดนี้อยู่คนละตอน คนละบท แต่ผมคิดว่า ทำไม ความหมาย ขัดแย้งกัน
ป ล กรุณา อย่า งง คำถาม น่ะ อิอิอิ
2)ผมไปอ่านหนังสือ อยากรวยต้องรู้ งง อยู่ 2 คำพูด เขาบอกว่า
คือ เล่นหุ้นอย่าแห่ตามกัน กะ คำว่า อย่าฝืนกระแสตลาด
ซึ่งคำพูดนี้อยู่คนละตอน คนละบท แต่ผมคิดว่า ทำไม ความหมาย ขัดแย้งกัน
ป ล กรุณา อย่า งง คำถาม น่ะ อิอิอิ
วัฒนา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 876
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยตอบหน่อยเหอะไหว้ล่ะ
โพสต์ที่ 2
ข้อ 1 ไม่ทราบ ถ้าให้เดาน่าจะเป็นเรื่องของกองทุนรวม
ข้อ 2 ตามที่ผมเข้าใจ เป็นการใช้กลยุทธคนละสถานะการณ์ คนละเรื่อง
อย่าตามแห่ ก็คือ ตอนซื้อหุ้นอย่าไปตามซื้อหุ้นที่เค้าไล่ๆกันโดยไม่รู้พื้นฐาน หรือ มีการจำกัดความเสี่ยงไว้ก่อน เพราะส่วนใหญ่จะเจ็บตัว
อย่าฝืนตลาด ก็คือ ตอนขายหุ้น ถ้าเค้ากำลังเทขายกัน คุณก็อย่าไปรับซื้อของเค้า เดี๋ยวจะติดดอยซะเปล่าๆ หรือถ้ามีหุ้นอยู่ก็จงขายตามเค้าไปด้วยซะเลย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น vi พันธุ์แท้คงจะไม่ตามแห่โดยไม่มีเหตุผลเป็นแน่ แล้วก็บางทีอาจจะมีการฝืนตลาดอยู่บ่อยๆ ถ้าหุ้นที่เค้าขายๆกันเป็นหุ้นดีที่ราคาลงมาเพราะนายตลาด ไม่ใช่ลงเพราะพื้นฐาน (แต่มีข้อแม้ต้องไม่ไปซื้อแถวๆยอดดอยนะครับ)
ข้อ 2 ตามที่ผมเข้าใจ เป็นการใช้กลยุทธคนละสถานะการณ์ คนละเรื่อง
อย่าตามแห่ ก็คือ ตอนซื้อหุ้นอย่าไปตามซื้อหุ้นที่เค้าไล่ๆกันโดยไม่รู้พื้นฐาน หรือ มีการจำกัดความเสี่ยงไว้ก่อน เพราะส่วนใหญ่จะเจ็บตัว
อย่าฝืนตลาด ก็คือ ตอนขายหุ้น ถ้าเค้ากำลังเทขายกัน คุณก็อย่าไปรับซื้อของเค้า เดี๋ยวจะติดดอยซะเปล่าๆ หรือถ้ามีหุ้นอยู่ก็จงขายตามเค้าไปด้วยซะเลย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น vi พันธุ์แท้คงจะไม่ตามแห่โดยไม่มีเหตุผลเป็นแน่ แล้วก็บางทีอาจจะมีการฝืนตลาดอยู่บ่อยๆ ถ้าหุ้นที่เค้าขายๆกันเป็นหุ้นดีที่ราคาลงมาเพราะนายตลาด ไม่ใช่ลงเพราะพื้นฐาน (แต่มีข้อแม้ต้องไม่ไปซื้อแถวๆยอดดอยนะครับ)
-
- Verified User
- โพสต์: 384
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยตอบหน่อยเหอะไหว้ล่ะ
โพสต์ที่ 4
กลยุทธ์การลงทุนมีหลายวิธีครับ แต่ละวิธีก็มีแนวคิดที่ต่างออกไป คำแนะนำจึงแตกต่างและอาจขัดแย้งกันได้
buy and hold ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของ warren buffet ก็เป็นวิธีหนึ่ง
ถ้าคิดจะ buy and hold แล้ว สิ่งที่ต้องการจริงๆคือ ผลกำไรที่บริษัทนั้นๆทำได้ รวมถึงเงินปันผล เมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุน
เพราะฉะนั้นการซื้อตามเมื่อเขาแห่ซื้อกันจนราคาขึ้นไปสูงนั้นจะไม่สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนที่สูงได้เมื่อเทียบกับเงินลงทุนได้ การขายเมื่อตลาดตกใจก็ไม่มีประโยชน์อะไร
และถ้าเรามองว่าการขึ้น ลง ของราคาหุ้นนั้นหลายๆครั้งก็ไมได้เกี่ยวข้องอะไรกับผลกำไรที่บริษัทจะทำได้สักเท่าไหร่ การซื้อเมื่อเขาแห่ขายเพราะข่าวร้ายชั่วคราว และขายเมื่อตลาดดีใจเกินเหตุ ย่อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
การ buy and hold นี้ เชื่อว่าในระยะยาวแล้ว ราคาย่อมสะท้อนมูลค่าพื้นฐานเข้าสักวัน (พูดให้ยากก็คือ ราคาวิ่งเข้าหาจุดดุลยภาพ ซึ่งก็คือมูลค่าพื้นฐาน หรือ intrinsic value) การขึ้นๆลงๆของราคาในระยะสั้นที่มาจากข่าวดีหรือร้ายชั่วคราวต่างๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปดีใจหรือตกใจตาม แต่เป็นช่วงเวลาที่ให้โอกาสซื้อของได้ถูกขึ้น หรือขายของได้ราคาต่างหาก
การลงทุนแบบ momentum ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งหมายถึง การเลือกลงทุนโดยดูผลตอบแทนจากราคาหลักทรัพย์เป็นหลัก (Buy past winners and sell past losers)
ถ้าลงทุนแนวนี้ก็ไม่ควรฝืนตลาด
George Soros เป็นนักเก็งกำไรระยะสั้นคนนึงที่ลงทุนในลักษณะนี้
โซรอส เชื่อว่าการรู้จังหวะและขบวนการปรับตัวของราคาหุ้น ดีกว่าการรู้จุดดุลยภาพ (การต้องนั่งแกะงบเพื่อหามูลค่าที่แท้จริง) ที่ไม่รู้ว่าเมื่อไรราคาหุ้นจะไปถึง และก็ไม่รู้ด้วยว่ามูลค่าที่หามาได้มันจะถูกหรือไม่ โซรอสเห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จะซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงแต่อาจต้องถือไปจนตายแล้วมันก็ยังไม่สะท้อน
(เพื่อแก้ปัญหานี้ พวกวีไอชั้นเซียนแถวนี้ เขาจะดูด้วยว่าหุ้นที่เขาจะเอา มันมี catalyst หรือไม่ ถ้าไม่มีก็ปล่อยไว้ก่อน จะว่าไป วอเรนเองก็น่าจะเป็น catalsyt ที่ดีเพราะซื้อในระดับเข้าไปบริหารได้)
โซรอสจึงนิยมการซื้อตามแห่มากกว่าการสวนตลาด
สิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นคือเมื่อโซรอสเห็นเทรนด์เขาไม่ได้ค่อยๆเข้าไปเก็บหุ้นเพราะกระแสตามแห่ยังไม่มา หรือรอให้กระแสตามแห่มาแล้วและหุ้นเริ่มขึ้นแล้วจึงซื้อ
แต่เขาจะทุ่มสุดตัว เพราะเชื่อว่า"ความคิด"เปลี่ยนตลาดได้ พูดง่ายๆคือเขาเป็นคนสร้างกระแส หรือ "ความคิด" ของคนให้กับตลาดนั่นเอง
(ในขณะที่การลงทุนแนว VI คือการเน้นให้ยึดที่ "ความจริง")
buy and hold ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของ warren buffet ก็เป็นวิธีหนึ่ง
ถ้าคิดจะ buy and hold แล้ว สิ่งที่ต้องการจริงๆคือ ผลกำไรที่บริษัทนั้นๆทำได้ รวมถึงเงินปันผล เมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุน
เพราะฉะนั้นการซื้อตามเมื่อเขาแห่ซื้อกันจนราคาขึ้นไปสูงนั้นจะไม่สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนที่สูงได้เมื่อเทียบกับเงินลงทุนได้ การขายเมื่อตลาดตกใจก็ไม่มีประโยชน์อะไร
และถ้าเรามองว่าการขึ้น ลง ของราคาหุ้นนั้นหลายๆครั้งก็ไมได้เกี่ยวข้องอะไรกับผลกำไรที่บริษัทจะทำได้สักเท่าไหร่ การซื้อเมื่อเขาแห่ขายเพราะข่าวร้ายชั่วคราว และขายเมื่อตลาดดีใจเกินเหตุ ย่อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
การ buy and hold นี้ เชื่อว่าในระยะยาวแล้ว ราคาย่อมสะท้อนมูลค่าพื้นฐานเข้าสักวัน (พูดให้ยากก็คือ ราคาวิ่งเข้าหาจุดดุลยภาพ ซึ่งก็คือมูลค่าพื้นฐาน หรือ intrinsic value) การขึ้นๆลงๆของราคาในระยะสั้นที่มาจากข่าวดีหรือร้ายชั่วคราวต่างๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปดีใจหรือตกใจตาม แต่เป็นช่วงเวลาที่ให้โอกาสซื้อของได้ถูกขึ้น หรือขายของได้ราคาต่างหาก
การลงทุนแบบ momentum ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งหมายถึง การเลือกลงทุนโดยดูผลตอบแทนจากราคาหลักทรัพย์เป็นหลัก (Buy past winners and sell past losers)
ถ้าลงทุนแนวนี้ก็ไม่ควรฝืนตลาด
George Soros เป็นนักเก็งกำไรระยะสั้นคนนึงที่ลงทุนในลักษณะนี้
โซรอส เชื่อว่าการรู้จังหวะและขบวนการปรับตัวของราคาหุ้น ดีกว่าการรู้จุดดุลยภาพ (การต้องนั่งแกะงบเพื่อหามูลค่าที่แท้จริง) ที่ไม่รู้ว่าเมื่อไรราคาหุ้นจะไปถึง และก็ไม่รู้ด้วยว่ามูลค่าที่หามาได้มันจะถูกหรือไม่ โซรอสเห็นว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จะซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงแต่อาจต้องถือไปจนตายแล้วมันก็ยังไม่สะท้อน
(เพื่อแก้ปัญหานี้ พวกวีไอชั้นเซียนแถวนี้ เขาจะดูด้วยว่าหุ้นที่เขาจะเอา มันมี catalyst หรือไม่ ถ้าไม่มีก็ปล่อยไว้ก่อน จะว่าไป วอเรนเองก็น่าจะเป็น catalsyt ที่ดีเพราะซื้อในระดับเข้าไปบริหารได้)
โซรอสจึงนิยมการซื้อตามแห่มากกว่าการสวนตลาด
สิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นคือเมื่อโซรอสเห็นเทรนด์เขาไม่ได้ค่อยๆเข้าไปเก็บหุ้นเพราะกระแสตามแห่ยังไม่มา หรือรอให้กระแสตามแห่มาแล้วและหุ้นเริ่มขึ้นแล้วจึงซื้อ
แต่เขาจะทุ่มสุดตัว เพราะเชื่อว่า"ความคิด"เปลี่ยนตลาดได้ พูดง่ายๆคือเขาเป็นคนสร้างกระแส หรือ "ความคิด" ของคนให้กับตลาดนั่นเอง
(ในขณะที่การลงทุนแนว VI คือการเน้นให้ยึดที่ "ความจริง")
แมนยู โรม่า ลิสบอน เคี๊ยฟ
หมาป่าสู้สู้
หมาป่าสู้สู้
-
- Verified User
- โพสต์: 384
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยตอบหน่อยเหอะไหว้ล่ะ
โพสต์ที่ 5
ขอเน้นตรงนี้อีกทีนะครับเพราะเห็นว่าเคยถามว่าถ้าเป็นรายย่อยไปตามรายใหญ่จะเป็นไง ก็ลองคิดดูครับ สมมติถ้าเราเก็งว่าแนวโน้มราคาน้ำมันจะขึ้นเพราะหน้าหนาวปีนี้จะยาวขึ้นหรืออะไรก็แล้วแต่ โซรอสหรือรายใหญ่ในที่นี้ ก็คิดเหมือนกัน เขาก็เข้าซื้อเพื่อเร่งกระแส สร้างหรืออย่างน้อยก็สนับสนุน "ความคิด" พอหุ้นขึ้นถ้าเราเป็นแนวนี้อยู่เราก็ต้องตามสิครับเพราะมันเหมือนที่เราคิดเป๊ะ แต่อย่างที่บอกครับโซรอสแกเก็งระยะสั้น ยังไงเขาก็ต้องขายทำกำไรก่อน ประเด็นมันก็อยู่ตรงนี้แหละครับ อ่านใจเขาออกไหมล่ะสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นคือเมื่อโซรอสเห็นเทรนด์เขาไม่ได้ค่อยๆเข้าไปเก็บหุ้นเพราะกระแสตามแห่ยังไม่มา หรือรอให้กระแสตามแห่มาแล้วและหุ้นเริ่มขึ้นแล้วจึงซื้อ
แต่เขาจะทุ่มสุดตัว เพราะเชื่อว่า"ความคิด"เปลี่ยนตลาดได้ พูดง่ายๆคือเขาเป็นคนสร้างกระแส หรือ "ความคิด" ของคนให้กับตลาดนั่นเอง
ถ้าจะเล่นแนวนี้ต้องเก่งจิตวิทยาครับ
แมนยู โรม่า ลิสบอน เคี๊ยฟ
หมาป่าสู้สู้
หมาป่าสู้สู้
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ช่วยตอบหน่อยเหอะไหว้ล่ะ
โพสต์ที่ 7
เข้าใจว่าเมื่อก่อนกองทุนใช้คำว่าประกันเงินต้น แต่โดนกลต.เล่นเพราะกองทุนห้ามประกันผลตอบแทนอย่างเด็ดขาด (แต่เงินต้นไม่ใช่ผลตอบแทนนี่หว่า) ตอนหลังเลยต้องใช้คำวาคุ้มครองเงินต้นแทน
ถ้ากองไหนลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลล้วนๆ ก็สามารถพูดว่าคุ้มครองเงินต้นได้ เพราะถือกันว่าพันธบัตรรัฐบาลปราศจากความเสี่ยงเรื่องเงินต้นเนื่องจากรัฐบาลค้ำประกันครับ
ถ้ากองไหนลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลล้วนๆ ก็สามารถพูดว่าคุ้มครองเงินต้นได้ เพราะถือกันว่าพันธบัตรรัฐบาลปราศจากความเสี่ยงเรื่องเงินต้นเนื่องจากรัฐบาลค้ำประกันครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ