อยากทราบว่าถ้าจะให้มารดาซึ่งมีอายุ 80 ปี เป็นต้วแทนเราในการลงทุนดังนี้
1.ซื้อพันธบัตรรัฐบาล
2.ซื้อหุ้นกู้ บมจ.ในตลท.
3.ลงทุนในหุ้นเพื่อรับเงินปันผล
การลงทุนดังกล่าวจะมีการยกเว้นเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องเสีย
ประจำปีหรืออันเป็นผลมาจากเรื่องของอายุ
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคำตอบ
ถามเรื่องภาษี
-
- Verified User
- โพสต์: 142
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องภาษี
โพสต์ที่ 2
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ
-----------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2(72) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้รับ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เฉพาะเงินได้ที่ได้รับส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น
ข้อ 2 ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องเป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ข้อ 3 กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ได้รับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีใดหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้ที่ได้รับประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หลายประเภท และแต่ละประเภทจะยกเว้นภาษีเงินได้จำนวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมจำนวนเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น
ข้อ 4 ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี ให้สามีเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับร่วมกัน
(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ตนได้รับ
ข้อ 5 ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องแสดงรายการเงินได้และจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้น พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ
-----------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2(72) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้รับ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เฉพาะเงินได้ที่ได้รับส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น
ข้อ 2 ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องเป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ข้อ 3 กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ได้รับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีใดหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้ที่ได้รับประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หลายประเภท และแต่ละประเภทจะยกเว้นภาษีเงินได้จำนวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมจำนวนเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น
ข้อ 4 ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี ให้สามีเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับร่วมกัน
(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ตนได้รับ
ข้อ 5 ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้องแสดงรายการเงินได้และจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้น พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2549
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์)
อธิบดีกรมสรรพากร