พี่(PE)โข่ง - Again
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 1
พี่(PE)โข่ง
โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สัปดาห์ที่แล้วมีข่าวเล็ก ๆ ออกมาจากสำนักงาน ก.ล.ต.ว่าค่า PE ของตลาดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคำนวณทุกวันและแสดงต่อสาธารณชนว่ามีค่าประมาณ 13.6 เท่านั้น เป็นการคำนวณเฉพาะบริษัทที่มีกำไร แต่หากรวมบริษัทที่ขาดทุนเข้าไปด้วย ค่า PE จะออกมาเท่ากับ 17.6 เท่า และยังบอกต่อด้วยว่า การคำนวณโดยไม่เอาบริษัทที่ขาดทุนมาคิดนั้นในเอเชียก็มีประเทศจีน ฟิลิปปินส์ และไทย ในขณะที่ประเทศที่คำนวณโดยรวมบริษัทที่ขาดทุนไว้ด้วย ประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้และมาเลเซีย การที่ ก.ล.ต.ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่ใช้ข้อมูลนี้ในการเปรียบเทียบว่าตลาดหุ้นไทยในขณะนี้หุ้นมีราคาถูกหรือแพง จึงควรตระหนักถึงความแตกต่างนี้ด้วย
มองในฐานะนักวิชาการแล้วผมคิดว่าการไม่เอาบริษัทที่ขาดทุนมาคำนวณหาค่า PE ของตลาดนั้นไม่น่าจะถูกต้อง ลองคิดดูว่าถ้าสมมติมีบริษัทโฮลดิ้ง ถือหุ้น 100% ในหลาย ๆ บริษัท แต่เวลาคิดกำไรขาดทุนของบริษัทแม่กลับตัดบริษัทลูกที่ขาดทุนออก เอาเฉพาะบริษัทที่มีกำไรมาคิด ผลกำไรที่แสดงก็จะสูงเกินความเป็นจริง เวลาคิดค่า PE ค่า PE ก็จะต่ำกว่าความเป็นจริง ผลก็คือคนที่ไม่รู้ก็จะคิดว่าหุ้นบริษัทนี้มีราคาถูกและเข้าซื้อหุ้นลงทุนโดยไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ผมเองไม่ทราบว่าก.ล.ต. คำนวณค่า PE ของตลาดด้วยวิธีใด แต่ถ้าลองใช้ข้อมูลง่ายที่สุดที่ผมมีก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียนในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งมีค่าประมาณ 233,000 ล้านบาทซึ่งก็คือค่า E ไปหารมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดในวันนี้ที่ประมาณ 4.9 ล้านล้านบาทหรือก็คือค่า P ก็จะได้ค่า PE ตลาดประมาณ 20.8 เท่าซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับสถิติที่ผ่านมาทั้งของตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลกก็ถือว่าตลาดหุ้นไทย ณ วันนี้ไม่ถูกอีกต่อไปแล้ว
เรื่องของค่า PE นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะ PE ของตลาดแต่เป็นปัญหาของหุ้นแต่ละตัวด้วย ว่าที่จริงข้อมูลของ PE แต่ละตัวที่แสดงในหนังสือพิมพ์ธุรกิจทั้งหลายนั้น ผมคิดว่าไม่สามารถแสดงถึงค่า PE ที่แท้จริงของหุ้นหลาย ๆ ตัวได้ เพราะหุ้นเหล่านั้นอาจจะมีข้อมูลบางอย่างที่ยังไม่ได้เอามารวม หรือข้อมูลบางอย่างอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวซึ่งทำให้ตัวเลขค่า PE บิดเบี้ยวไปจากที่ควรจะเป็น ดังนั้น การใช้ค่า PE ที่แสดงในหน้าหนังสือพิมพ์มาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นจึงเป็นความเสี่ยงมหาศาล
ข้อมูลที่ผมคิดว่าเรายังไม่ได้เอามารวมและทำให้ค่า PE ที่เห็นไม่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุดข้อหนึ่งก็คือ จำนวนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิของวอแรนต์ซึ่งในหลาย ๆ บริษัทนั้นมีมหาศาล และบริษัทที่ออกวอแรนต์เองก็มีกว่า 60 บริษัท ข้อมูลเกี่ยวกับวอแรนต์แต่ละตัวเองก็ยังมีความซับซ้อน เพราะบางตัวนั้นราคาใช้สิทธิต่ำกว่าราคาหุ้นแม่มาก ดังนั้น โอกาสที่จะถูกใช้สิทธิ์ก็มีมาก บางตัวราคาใช้สิทธิสูงกว่าหุ้นแม่โอกาสถูกใช้สิทธิ์ก็น้อยลง วอแรนต์บางตัวแปลงเป็นหุ้นแม่ได้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง บางตัวแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ห้าหรือสิบหุ้นก็มี ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องระยะเวลาการใช้สิทธิของวอแรนต์ซึ่งบางตัวยาวมากเพราะฉะนั้นจึงมีโอกาสที่จะถูกใช้สิทธิ์สูงในอนาคต ในขณะที่บางตัวใกล้หมดอายุซึ่งอาจจะถูกใช้สิทธิหรือไม่ถูกใช้สิทธิก็ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องของราคาและภาวะหุ้นในระยะสั้น ๆ
ความยุ่งยากของการคำนวณหาค่า PE ของบริษัทที่มีวอแรนต์ออกมามาก ๆ และหลายรุ่นนั้น ทำให้ผมค่อนข้างจะไม่อยากยุ่งกับหุ้นเหล่านั้น และถ้าสนใจก็จะต้องคำนวณหาค่า PE โดยตั้งสมมติฐานว่าวอแรนต์ทั้งหมดที่ออกมาจะถูกใช้สิทธิซื้อหุ้นซึ่งทำให้กำไรต่อหุ้นน้อยลงและค่า PE สูงขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งพอทำอย่างนั้นหุ้นที่ดูเหมือนว่า PE ต่ำก็กลายเป็นหุ้น PE สูงและไม่คุ้มที่จะลงทุน
นอกจากเรื่องของวอแรนต์แล้ว เรื่องของกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เกิดขึ้นเนื่องจากรายการพิเศษ เช่น เกิดจากการปรับโครงสร้างหุ้นหรือประนอมหนี้ หรือเกิดจากรายการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปกติก็มักทำให้กำไรผิดจากที่ควรจะเป็น และทำให้ค่า PE ลดต่ำลงบางทีเหลือเพียง 2 3 เท่าก็มี ข้อมูลแบบนี้หลายครั้งก็สามารถดึงดูดให้ Value Investor ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงตัวเลขที่มาของข้อมูล และยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริงได้ เข้ามาซื้อหุ้นลงทุนโดยไม่ทราบถึงความเสี่ยงที่มีอยู่
ปัญหาทั้งหลายเกี่ยวกับข้อมูลค่า PE น่าจะแก้ไขได้บ้างถ้านักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ทั้งหลายทำการปรับค่าต่าง ๆ ให้ใกลเคียงกับค่า PE ที่แท้จริงและอนุรักษ์นิยม นั่นก็คือค่า E หรือกำไรต่อหุ้นนั้นควรเป็นกำไรที่เกิดจากธุรกิจปกติที่ยั่งยืนและจำนวนหุ้นของบริษัทควรรวมหุ้นที่อาจจะถูกใช้สิทธิซื้อจากวอแรนต์หรือสิทธิอื่น ๆ ข้อมูล PE ที่ได้ควรจะแสดงไว้อย่างชัดเจนและให้ความเห็นว่าหุ้นตัวนั้นมีราคาถูกหรือแพงหรือไม่เพราะเหตุผลใด
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่ได้วิเคราะห์เพื่อให้คนซื้อหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาวแต่วิเคราะห์เพื่อให้มีการซื้อขายหุ้นเก็งกำไรระยะสั้น ดังนั้น เรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นในวันนี้หรือภายในเวลาไม่กี่เดือนก็มักจะไม่ถูกนำมาคิด เพราะฉะนั้นหุ้นที่ถูกคำนวณว่ามีค่า PE ต่ำทั้งที่ยังไม่ได้ปรับจำนวนหุ้นหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญก็จะถูกแนะนำให้ซื้อโดยหลักการของ หุ้นพื้นฐาน หรือหุ้น Value ส่วนหุ้นที่คำนวณอย่างไรก็ยังมี PE สูงอยู่ดีบางทีก็ไม่พูดถึงค่า PE เลยแต่ไปเน้นว่ากำไรจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นหุ้น Growth Stock หรือหุ้นโตเร็วที่ควรซื้อลงทุน และทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ภาวะตลาดหุ้นที่เอื้ออำนวยและ ถูก เมื่อคำนึงถึงค่า PE ของตลาดที่ยัง ต่ำ อยู่
การรายงานข้อมูลที่ทำให้ตลาดหรือหุ้นแต่ละตัวดูเหมือนว่าจะถูกกว่าความเป็นจริงโดยตัวเลข PE ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือเป็น PE โข่ง เพื่อให้คนสนใจเข้ามาซื้อหุ้นนั้น ในระยะยาวผมคิดว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะในที่สุดแล้วคนที่เข้ามาลงทุนโดยยึดถือพื้นฐานจริง ๆ แต่ถูกทำให้เข้าใจผิดจากข้อมูลอาจจะเกิดความเสียหายและ เข็ด กับการลงทุน หรือไม่ก็คิดว่าวิธีการลงทุนตามปัจจัยพื้นฐานนั้นใช้ไม่ได้ผล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหุ้นของไทยก็คงจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของฟิลิปปินส์และจีนซึ่งชื่อเสียงในเรื่องของความโปร่งใสของข้อมูลยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศหลัก ๆ ในเอเชียต่อไป
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เป็นบทความของอาจารย์นิเวศน์เมื่อ 3 ปีกว่าๆ ที่แล้วน่ะครับ
ขอเอามาโพสอีกทีเพื่อถ่วงดุลความคิดที่ว่าหุ้นไทยถูกเหลือเกินถูกจริงๆ เลือกตั้งแล้วจะวิ่งไป 1,000 จุด 1,600 - 1,800 เพื่อให้แต่ละท่านใช้ความระมัดระวัง อย่าได้ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์โลภและกลัว ใช้เหตุผลให้มาก สังวรณ์ใน margin of safety เสมอเมื่อทำการตัดสินใจลงทุนด้วยนะครับ
โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สัปดาห์ที่แล้วมีข่าวเล็ก ๆ ออกมาจากสำนักงาน ก.ล.ต.ว่าค่า PE ของตลาดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคำนวณทุกวันและแสดงต่อสาธารณชนว่ามีค่าประมาณ 13.6 เท่านั้น เป็นการคำนวณเฉพาะบริษัทที่มีกำไร แต่หากรวมบริษัทที่ขาดทุนเข้าไปด้วย ค่า PE จะออกมาเท่ากับ 17.6 เท่า และยังบอกต่อด้วยว่า การคำนวณโดยไม่เอาบริษัทที่ขาดทุนมาคิดนั้นในเอเชียก็มีประเทศจีน ฟิลิปปินส์ และไทย ในขณะที่ประเทศที่คำนวณโดยรวมบริษัทที่ขาดทุนไว้ด้วย ประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้และมาเลเซีย การที่ ก.ล.ต.ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่ใช้ข้อมูลนี้ในการเปรียบเทียบว่าตลาดหุ้นไทยในขณะนี้หุ้นมีราคาถูกหรือแพง จึงควรตระหนักถึงความแตกต่างนี้ด้วย
มองในฐานะนักวิชาการแล้วผมคิดว่าการไม่เอาบริษัทที่ขาดทุนมาคำนวณหาค่า PE ของตลาดนั้นไม่น่าจะถูกต้อง ลองคิดดูว่าถ้าสมมติมีบริษัทโฮลดิ้ง ถือหุ้น 100% ในหลาย ๆ บริษัท แต่เวลาคิดกำไรขาดทุนของบริษัทแม่กลับตัดบริษัทลูกที่ขาดทุนออก เอาเฉพาะบริษัทที่มีกำไรมาคิด ผลกำไรที่แสดงก็จะสูงเกินความเป็นจริง เวลาคิดค่า PE ค่า PE ก็จะต่ำกว่าความเป็นจริง ผลก็คือคนที่ไม่รู้ก็จะคิดว่าหุ้นบริษัทนี้มีราคาถูกและเข้าซื้อหุ้นลงทุนโดยไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ผมเองไม่ทราบว่าก.ล.ต. คำนวณค่า PE ของตลาดด้วยวิธีใด แต่ถ้าลองใช้ข้อมูลง่ายที่สุดที่ผมมีก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียนในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งมีค่าประมาณ 233,000 ล้านบาทซึ่งก็คือค่า E ไปหารมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดในวันนี้ที่ประมาณ 4.9 ล้านล้านบาทหรือก็คือค่า P ก็จะได้ค่า PE ตลาดประมาณ 20.8 เท่าซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับสถิติที่ผ่านมาทั้งของตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลกก็ถือว่าตลาดหุ้นไทย ณ วันนี้ไม่ถูกอีกต่อไปแล้ว
เรื่องของค่า PE นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะ PE ของตลาดแต่เป็นปัญหาของหุ้นแต่ละตัวด้วย ว่าที่จริงข้อมูลของ PE แต่ละตัวที่แสดงในหนังสือพิมพ์ธุรกิจทั้งหลายนั้น ผมคิดว่าไม่สามารถแสดงถึงค่า PE ที่แท้จริงของหุ้นหลาย ๆ ตัวได้ เพราะหุ้นเหล่านั้นอาจจะมีข้อมูลบางอย่างที่ยังไม่ได้เอามารวม หรือข้อมูลบางอย่างอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราวซึ่งทำให้ตัวเลขค่า PE บิดเบี้ยวไปจากที่ควรจะเป็น ดังนั้น การใช้ค่า PE ที่แสดงในหน้าหนังสือพิมพ์มาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นจึงเป็นความเสี่ยงมหาศาล
ข้อมูลที่ผมคิดว่าเรายังไม่ได้เอามารวมและทำให้ค่า PE ที่เห็นไม่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุดข้อหนึ่งก็คือ จำนวนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิของวอแรนต์ซึ่งในหลาย ๆ บริษัทนั้นมีมหาศาล และบริษัทที่ออกวอแรนต์เองก็มีกว่า 60 บริษัท ข้อมูลเกี่ยวกับวอแรนต์แต่ละตัวเองก็ยังมีความซับซ้อน เพราะบางตัวนั้นราคาใช้สิทธิต่ำกว่าราคาหุ้นแม่มาก ดังนั้น โอกาสที่จะถูกใช้สิทธิ์ก็มีมาก บางตัวราคาใช้สิทธิสูงกว่าหุ้นแม่โอกาสถูกใช้สิทธิ์ก็น้อยลง วอแรนต์บางตัวแปลงเป็นหุ้นแม่ได้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง บางตัวแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ห้าหรือสิบหุ้นก็มี ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องระยะเวลาการใช้สิทธิของวอแรนต์ซึ่งบางตัวยาวมากเพราะฉะนั้นจึงมีโอกาสที่จะถูกใช้สิทธิ์สูงในอนาคต ในขณะที่บางตัวใกล้หมดอายุซึ่งอาจจะถูกใช้สิทธิหรือไม่ถูกใช้สิทธิก็ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องของราคาและภาวะหุ้นในระยะสั้น ๆ
ความยุ่งยากของการคำนวณหาค่า PE ของบริษัทที่มีวอแรนต์ออกมามาก ๆ และหลายรุ่นนั้น ทำให้ผมค่อนข้างจะไม่อยากยุ่งกับหุ้นเหล่านั้น และถ้าสนใจก็จะต้องคำนวณหาค่า PE โดยตั้งสมมติฐานว่าวอแรนต์ทั้งหมดที่ออกมาจะถูกใช้สิทธิซื้อหุ้นซึ่งทำให้กำไรต่อหุ้นน้อยลงและค่า PE สูงขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งพอทำอย่างนั้นหุ้นที่ดูเหมือนว่า PE ต่ำก็กลายเป็นหุ้น PE สูงและไม่คุ้มที่จะลงทุน
นอกจากเรื่องของวอแรนต์แล้ว เรื่องของกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เกิดขึ้นเนื่องจากรายการพิเศษ เช่น เกิดจากการปรับโครงสร้างหุ้นหรือประนอมหนี้ หรือเกิดจากรายการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปกติก็มักทำให้กำไรผิดจากที่ควรจะเป็น และทำให้ค่า PE ลดต่ำลงบางทีเหลือเพียง 2 3 เท่าก็มี ข้อมูลแบบนี้หลายครั้งก็สามารถดึงดูดให้ Value Investor ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงตัวเลขที่มาของข้อมูล และยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริงได้ เข้ามาซื้อหุ้นลงทุนโดยไม่ทราบถึงความเสี่ยงที่มีอยู่
ปัญหาทั้งหลายเกี่ยวกับข้อมูลค่า PE น่าจะแก้ไขได้บ้างถ้านักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ทั้งหลายทำการปรับค่าต่าง ๆ ให้ใกลเคียงกับค่า PE ที่แท้จริงและอนุรักษ์นิยม นั่นก็คือค่า E หรือกำไรต่อหุ้นนั้นควรเป็นกำไรที่เกิดจากธุรกิจปกติที่ยั่งยืนและจำนวนหุ้นของบริษัทควรรวมหุ้นที่อาจจะถูกใช้สิทธิซื้อจากวอแรนต์หรือสิทธิอื่น ๆ ข้อมูล PE ที่ได้ควรจะแสดงไว้อย่างชัดเจนและให้ความเห็นว่าหุ้นตัวนั้นมีราคาถูกหรือแพงหรือไม่เพราะเหตุผลใด
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่ได้วิเคราะห์เพื่อให้คนซื้อหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาวแต่วิเคราะห์เพื่อให้มีการซื้อขายหุ้นเก็งกำไรระยะสั้น ดังนั้น เรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นในวันนี้หรือภายในเวลาไม่กี่เดือนก็มักจะไม่ถูกนำมาคิด เพราะฉะนั้นหุ้นที่ถูกคำนวณว่ามีค่า PE ต่ำทั้งที่ยังไม่ได้ปรับจำนวนหุ้นหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญก็จะถูกแนะนำให้ซื้อโดยหลักการของ หุ้นพื้นฐาน หรือหุ้น Value ส่วนหุ้นที่คำนวณอย่างไรก็ยังมี PE สูงอยู่ดีบางทีก็ไม่พูดถึงค่า PE เลยแต่ไปเน้นว่ากำไรจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นหุ้น Growth Stock หรือหุ้นโตเร็วที่ควรซื้อลงทุน และทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ภาวะตลาดหุ้นที่เอื้ออำนวยและ ถูก เมื่อคำนึงถึงค่า PE ของตลาดที่ยัง ต่ำ อยู่
การรายงานข้อมูลที่ทำให้ตลาดหรือหุ้นแต่ละตัวดูเหมือนว่าจะถูกกว่าความเป็นจริงโดยตัวเลข PE ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือเป็น PE โข่ง เพื่อให้คนสนใจเข้ามาซื้อหุ้นนั้น ในระยะยาวผมคิดว่าเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะในที่สุดแล้วคนที่เข้ามาลงทุนโดยยึดถือพื้นฐานจริง ๆ แต่ถูกทำให้เข้าใจผิดจากข้อมูลอาจจะเกิดความเสียหายและ เข็ด กับการลงทุน หรือไม่ก็คิดว่าวิธีการลงทุนตามปัจจัยพื้นฐานนั้นใช้ไม่ได้ผล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหุ้นของไทยก็คงจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มของฟิลิปปินส์และจีนซึ่งชื่อเสียงในเรื่องของความโปร่งใสของข้อมูลยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศหลัก ๆ ในเอเชียต่อไป
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เป็นบทความของอาจารย์นิเวศน์เมื่อ 3 ปีกว่าๆ ที่แล้วน่ะครับ
ขอเอามาโพสอีกทีเพื่อถ่วงดุลความคิดที่ว่าหุ้นไทยถูกเหลือเกินถูกจริงๆ เลือกตั้งแล้วจะวิ่งไป 1,000 จุด 1,600 - 1,800 เพื่อให้แต่ละท่านใช้ความระมัดระวัง อย่าได้ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์โลภและกลัว ใช้เหตุผลให้มาก สังวรณ์ใน margin of safety เสมอเมื่อทำการตัดสินใจลงทุนด้วยนะครับ
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 4
จริงๆ แล้ว ที่ผมเข้าใจนะครับ
p/e ของไทยที่คำนวณโดยไม่รวมบริษัทที่ขาดทุนนั้นก็โอเคนะครับ
เพราะโดยหลักการคือ ไม่รวม P และไม่รวม E
ดังนั้น ถ้าเราไม่สนใจบริษัทที่ขาดทุน (ถือว่าไม่ได้ list ในตลาด)
ค่า p/e ที่เห็นก็สะท้อนความเป็นจริงครับ
อย่างสมมุติทั้งตลาดมีหุ้น 2 ตัว A กำไร 10 บาท ราคา 100 บาท
B ขาดทุน 5 บาท ราคา 100 บาท
ถ้าคำนวณ p/e แบบรวม จะได้ (100+100) / (10 - 5) = 200 / 5
หรือ 40 เท่า
ถ้าคำนวณ p/e เฉพาะบริษัทที่กำไร จะได้ 100 / 10 = 10 เท่า
คิดว่า p/e แบบไหนดีกว่าครับ
ถามจริงๆ ว่าเราจะถือหุ้นบริษัท A 100% หรือถืออย่างละครึ่งครับ
p/e ของไทยที่คำนวณโดยไม่รวมบริษัทที่ขาดทุนนั้นก็โอเคนะครับ
เพราะโดยหลักการคือ ไม่รวม P และไม่รวม E
ดังนั้น ถ้าเราไม่สนใจบริษัทที่ขาดทุน (ถือว่าไม่ได้ list ในตลาด)
ค่า p/e ที่เห็นก็สะท้อนความเป็นจริงครับ
อย่างสมมุติทั้งตลาดมีหุ้น 2 ตัว A กำไร 10 บาท ราคา 100 บาท
B ขาดทุน 5 บาท ราคา 100 บาท
ถ้าคำนวณ p/e แบบรวม จะได้ (100+100) / (10 - 5) = 200 / 5
หรือ 40 เท่า
ถ้าคำนวณ p/e เฉพาะบริษัทที่กำไร จะได้ 100 / 10 = 10 เท่า
คิดว่า p/e แบบไหนดีกว่าครับ
ถามจริงๆ ว่าเราจะถือหุ้นบริษัท A 100% หรือถืออย่างละครึ่งครับ
- Raphin Phraiwal
- Verified User
- โพสต์: 1342
- ผู้ติดตาม: 0
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณครับ
รักในหลวงครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 7
จากข้อมูลด้านบน
จากกระทู้ น้อง oatarm
ประมาณได้คร่าวๆ ว่า มาร์เก็ตแค๊บเมืองไทย น่าจะอยู่ที่ 4.9*2 = 9.8 ล้านๆ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ผมเองไม่ทราบว่าก.ล.ต. คำนวณค่า PE ของตลาดด้วยวิธีใด แต่ถ้าลองใช้ข้อมูลง่ายที่สุดที่ผมมีก็คือ กำไรของบริษัทจดทะเบียนในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งมีค่าประมาณ 233,000 ล้านบาทซึ่งก็คือค่า E ไปหารมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดในวันนี้ที่ประมาณ 4.9 ล้านล้านบาทหรือก็คือค่า P ก็จะได้ค่า PE ตลาดประมาณ 20.8 เท่าซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับสถิติที่ผ่านมาทั้งของตลาดหุ้นไทย และตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลกก็ถือว่าตลาดหุ้นไทย ณ วันนี้ไม่ถูกอีกต่อไปแล้ว
โค้ด: เลือกทั้งหมด
6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวน 469 บริษัทที่นำส่งงบการเงินจากบริษัทจดทะเบียน
ทั้งหมด 492 บริษัท รวมกองทุนอสังหาริมทรัพย์ มีกำไรสุทธิรวม 229,403 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 47,674 ล้านบาท หรือ
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 8
ผมก็ไม่คิดว่าการคิด P/E แบบเลือกเอาแต่บริษัทที่มีกำไรมันจะใช้ไม่ได้นะครับ เพียงแต่การทราบที่มาที่ไปจะทำให้เราตระหนักรู้ว่าค่า P/E แบบนี้มีขอบเขตการนำไปใช้อย่างไร
โดยเฉพาะว่าการนำไปเปรียบเทียบกับ P/E ตลาดเพื่อนบ้านที่เขาคิดแบบรวมบริษัทที่ขาดทุนแล้วก็พูดไปตะพึดตะพือว่า P/E ตลาดหุ้นบ้านเรามันต่ำเหลือเกิน ต่ำจริงๆ เดี๋ยวมันจะต้องขึ้นแรงแน่ๆ นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ควรประพฤติ หากคิดจะเทียบจริงๆ ก็ควรจะจำกัดวงให้อยู่เฉพาะกับตลาดหุ้นที่เขาคิด P/E วิธีเดียวกันเท่านั้น
อย่างที่พี่ CK ว่าก็น่าสนใจนะครับ เพียงแต่กรณีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยอย่างแรง เพราะหากบริษัทจดทะเบียนจำนวนถึงครึ่งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์หรือกล่าวอีกอย่างว่า มีมูลค่าตลาดรวมกันเท่ากับครึ่งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์มีผลประกอบการขาดทุน มันจะต้องเป็นหมีแพนด้าแน่ๆ ครับ ไม่อยากจะคิดเลยนะเนี่ย :lol: (เพราะคิดแล้วน้ำลายหก เหอ เหอ )
จากมูลค่าตลาดปัจจุบัน 5.8 ล้านล้าน มูลค่าตลาดรวมกันทั้งหมดของบริษัทที่มีผลประกอบการ 4 ไตรมาสย้อนหลังขาดทุนกลับมีเพียง 4.8 แสนล้าน เท่านั้น ไม่ถึง 10% ของตลาดรวมด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังมีสมาชิกเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ตลาดถือว่าขาดทุนเป็นการชั่วคราว เช่น SHIN จากกรณีตัดขาดทุน ITV มูลค่าตลาด 9.7 หมื่นล้าน BAY จากการตั้งสำรองเพิ่ม มีมูลค่าตลาด 1.2 แสนล้าน เป็นต้น
โดยรวมแล้วบริษัทที่ขาดทุน(จากการดำเนินงานปกติ) แม้จะไปทำให้ E ที่เป็นตัวหารลด แต่ราคาหุ้นของบริษัทที่เป็นส่วนของ Pรวม ก็จะลดตามไปด้วยเหมือนกัน
โดยเฉพาะว่าการนำไปเปรียบเทียบกับ P/E ตลาดเพื่อนบ้านที่เขาคิดแบบรวมบริษัทที่ขาดทุนแล้วก็พูดไปตะพึดตะพือว่า P/E ตลาดหุ้นบ้านเรามันต่ำเหลือเกิน ต่ำจริงๆ เดี๋ยวมันจะต้องขึ้นแรงแน่ๆ นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ควรประพฤติ หากคิดจะเทียบจริงๆ ก็ควรจะจำกัดวงให้อยู่เฉพาะกับตลาดหุ้นที่เขาคิด P/E วิธีเดียวกันเท่านั้น
อย่างที่พี่ CK ว่าก็น่าสนใจนะครับ เพียงแต่กรณีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยอย่างแรง เพราะหากบริษัทจดทะเบียนจำนวนถึงครึ่งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์หรือกล่าวอีกอย่างว่า มีมูลค่าตลาดรวมกันเท่ากับครึ่งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์มีผลประกอบการขาดทุน มันจะต้องเป็นหมีแพนด้าแน่ๆ ครับ ไม่อยากจะคิดเลยนะเนี่ย :lol: (เพราะคิดแล้วน้ำลายหก เหอ เหอ )
จากมูลค่าตลาดปัจจุบัน 5.8 ล้านล้าน มูลค่าตลาดรวมกันทั้งหมดของบริษัทที่มีผลประกอบการ 4 ไตรมาสย้อนหลังขาดทุนกลับมีเพียง 4.8 แสนล้าน เท่านั้น ไม่ถึง 10% ของตลาดรวมด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังมีสมาชิกเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ตลาดถือว่าขาดทุนเป็นการชั่วคราว เช่น SHIN จากกรณีตัดขาดทุน ITV มูลค่าตลาด 9.7 หมื่นล้าน BAY จากการตั้งสำรองเพิ่ม มีมูลค่าตลาด 1.2 แสนล้าน เป็นต้น
โดยรวมแล้วบริษัทที่ขาดทุน(จากการดำเนินงานปกติ) แม้จะไปทำให้ E ที่เป็นตัวหารลด แต่ราคาหุ้นของบริษัทที่เป็นส่วนของ Pรวม ก็จะลดตามไปด้วยเหมือนกัน
สำหรับย่อหน้านี้ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิเวศน์เต็มที่ครับอาจารย์นิเวศน์ เขียน:มองในฐานะนักวิชาการแล้วผมคิดว่าการไม่เอาบริษัทที่ขาดทุนมาคำนวณหาค่า PE ของตลาดนั้นไม่น่าจะถูกต้อง ลองคิดดูว่าถ้าสมมติมีบริษัทโฮลดิ้ง ถือหุ้น 100% ในหลาย ๆ บริษัท แต่เวลาคิดกำไรขาดทุนของบริษัทแม่กลับตัดบริษัทลูกที่ขาดทุนออก เอาเฉพาะบริษัทที่มีกำไรมาคิด ผลกำไรที่แสดงก็จะสูงเกินความเป็นจริง เวลาคิดค่า PE ค่า PE ก็จะต่ำกว่าความเป็นจริง ผลก็คือคนที่ไม่รู้ก็จะคิดว่าหุ้นบริษัทนี้มีราคาถูกและเข้าซื้อหุ้นลงทุนโดยไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
-
- Verified User
- โพสต์: 47
- ผู้ติดตาม: 0
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 9
การที่เรารวมมูลค่าตลาดของบริษัทที่ขาดทุนเข้าไป ไม่ได้ทำ P รวมเพิ่มขึ้นเหรอครับพี่Ryuga เขียน:โดยรวมแล้วบริษัทที่ขาดทุน(จากการดำเนินงานปกติ) แม้จะไปทำให้ E ที่เป็นตัวหารลด แต่ราคาหุ้นของบริษัทที่เป็นส่วนของ Pรวม ก็จะลดตามไปด้วยเหมือนกัน
ผมว่าการคำนวณทั้ง 2 วิธีก็ต่างมีจุดบอดด้วยกันทั้งคู่ แต่การเปรียบเทียบระหว่าง P/E ของประเทศที่ใช้วิธีคำนวณต่างกันนั้น ไม่ถูกต้องแน่ๆครับ
ไม่ขาดทุนก็บุญโข
- cryptonian_man
- Verified User
- โพสต์: 585
- ผู้ติดตาม: 0
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 10
ปัญหาคือแมงเม่าหรือรายย่อย รวมทั้งกลุ่มที่พยายามเป็นVI มือใหม่ แบบผมเนี่ย บางครั้งก็หลงลมปาก คำพูดแบบนี้ได้ง่ายด้วยนะสิครับ
พอบอกหุ้นขึ้นเพราะตลาดเราถูกเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านคนก้อแห่เข้าตลาดกัน
พอบอกหุ้นขึ้นเพราะตลาดเราถูกเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านคนก้อแห่เข้าตลาดกัน
เขาว่า "หลังจากปากพองจากการดื่มนมร้อน เราจะเป่าโยเกิร์ตให้เย็นก่อนตักเข้าปาก"
แต่ทำไมตรูไม่เข็ด เคาะขวาไวตลอดเนี่ย
แต่ทำไมตรูไม่เข็ด เคาะขวาไวตลอดเนี่ย
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณครับผม
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 13
เลือกหุ้น pe ต่ำ อัตราการเติบโตของยอดขาย และกำไรเยอะๆ หนี้น้อยๆ โบรเกอร์ อีไฟแนน ไม่ได้เขียนถึง
ไม่ว่า pe ตลาดจะเป็นเท่าไร ก็กำไรทั้งนั้นแหละ
หากเลือกหุ้นตามกระแส ซื้อแต่หุ้นยอดนิยม เวลาตลาดพลิกกลับ เราก็เจ๊ง ครับ
เจ๊งเพราะคนส่วนใหญ่เข้าไปถือ แล้วเปลี่ยนใจขายแทน
หุ้นหลายตัวที่ยอดนิยมมากๆ ณ เวลานี้ ก็ทำให้ นักลงทุนเจ็บตัว จนพูดไม่ออกแล้วครับ
ไม่ว่า pe ตลาดจะเป็นเท่าไร ก็กำไรทั้งนั้นแหละ
หากเลือกหุ้นตามกระแส ซื้อแต่หุ้นยอดนิยม เวลาตลาดพลิกกลับ เราก็เจ๊ง ครับ
เจ๊งเพราะคนส่วนใหญ่เข้าไปถือ แล้วเปลี่ยนใจขายแทน
หุ้นหลายตัวที่ยอดนิยมมากๆ ณ เวลานี้ ก็ทำให้ นักลงทุนเจ็บตัว จนพูดไม่ออกแล้วครับ
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 14
แหะ แหะ :lol: อาจจะใช้คำพูดให้งงไปบ้างอ่ะครับ :lol: คือผมหมายความอย่างนี้Liu เขียน: การที่เรารวมมูลค่าตลาดของบริษัทที่ขาดทุนเข้าไป ไม่ได้ทำ P รวมเพิ่มขึ้นเหรอครับพี่
ผมว่าการคำนวณทั้ง 2 วิธีก็ต่างมีจุดบอดด้วยกันทั้งคู่ แต่การเปรียบเทียบระหว่าง P/E ของประเทศที่ใช้วิธีคำนวณต่างกันนั้น ไม่ถูกต้องแน่ๆครับ
บริษัทใดๆ ก็ตาม ยามที่มีกำไร ตลาดหลักทรัพย์ก็จะนำเอากำไรสุทธิ 4 ไตรมาสย้อนหลังของเขาไปรวมคิดเป็น Eรวมของตลาด และนำมูลค่าตลาดของเขาไปรวมคิดเป็น Pรวมของตลาด
แต่เมื่อสถานการณ์เปี๊ยนไป๋ บริษัทเจ้าเดิมนี้กลับเกิดผลขาดทุนก้อนเบ้อเร่อ แน่นอนว่า ขาดทุนรวม 4 ไตรมาสย้อนหลังของเขาจะไปทำให้ Eรวมของตลาดลดลง ผลที่ตามมาคือตลาด(นักลงทุน) ก็จะตอบสนองอย่างรุนแรงโดยการเทขายหุ้นบริษัทแห่งนี้ออกมาทำให้มูลค่าตลาดของเขาลดฮวบ Pรวมของตลาดจึงลดลงด้วยเช่นกัน แต่ย่อมลดลงในสัดส่วนที่น้อยกว่าการลดลงของ Eรวมของตลาด(เพราะไม่มีมูลค่าตลาดที่ติดลบ)
ต่างกันกับการคิด P/E แบบที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันเพราะชัดเจนว่าเลือกปฏิบัติ โดยตลาดหลักทรัพย์จะปฏิเสธรับรู้ผลขาดทุนของบริษัทแห่งนี้โดยสิ้นเชิง แต่หากเขา turnaround กลับมามีกำไรอีกครั้ง บริษัทแห่งนี้ก็จะได้รับเชิญให้เข้าไปร่วมกับการคิด P/E ตลาดอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ P/E ของตลาดบ้านเรามันยังคงต่ำๆ น่าซื้อตลอดไป :lol:
สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่ไม่ทราบเล่ห์กลในเรื่องนี้ดีก็จะตกเป็นเหยื่ออีกครั้งหนึ่งด้วยคิดว่านั่นเป็นตัวเลขของตลาดทุนรวมทั้งหมด ทั้งที่จริงแล้วควรจะเรียกว่า P/E ของบริษัททั้งหมดที่มีผลประกอบการย้อนหลัง 4 ไตรมาสเป็นกำไร และตัวเลขนั้นยังไม่รวมเอาความเสี่ยงที่กลุ่มบริษัทจดทะเบียนเหล่านี้อาจขาดทุนในอนาคตด้วยเพราะตลาดหลักทรัพย์ก็จะสวิชไปเรื่อยๆ เลือกเอาแต่เฉพาะบริษัทที่มีกำไรมาคิด
การคิด P/E ทั้ง 2 แบบนั้นไม่มีแบบไหนผิด แต่เราต้องตระหนักรู้ไว้เสมอว่า ตัวเลขนั้นๆ มีขอบเขตการนำไปใช้อย่างไร
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 15
ท่านอาจารย์นิเวศน์แสดงความเห็นเรื่องนี้เอาไว้เมื่อนานมาแล้ว
ก็ขอยินดีด้วยครับ ที่ในที่สุดก็ตัดสินใจยกมาตรฐานการคำนวณตัวเลขสำคัญๆ หลายตัวให้หาย suburb กะเค้าซะที ตลาดบ้านเราจะได้เชิดหน้าชูตาไปเปรียบเทียบ P/E กับเพื่อนบ้านเขาได้โดยไม่ต้องตะขิดตะขวงใจอะไรอีก
และโบรกทั้งหลายที่ชอบพูดตะพึดตะพือว่า P/E ตลาดบ้านเราต่ำเหลือเกิน ต่ำจริงๆ นั้น ก็จะได้หูตา luminous ขึ้น ไม่ปล่อยไก่หลายเล้าอย่างที่เคยเป็นบ่อยๆ อย่างที่ผ่านมานะครับ :8)
ก็ขอยินดีด้วยครับ ที่ในที่สุดก็ตัดสินใจยกมาตรฐานการคำนวณตัวเลขสำคัญๆ หลายตัวให้หาย suburb กะเค้าซะที ตลาดบ้านเราจะได้เชิดหน้าชูตาไปเปรียบเทียบ P/E กับเพื่อนบ้านเขาได้โดยไม่ต้องตะขิดตะขวงใจอะไรอีก
และโบรกทั้งหลายที่ชอบพูดตะพึดตะพือว่า P/E ตลาดบ้านเราต่ำเหลือเกิน ต่ำจริงๆ นั้น ก็จะได้หูตา luminous ขึ้น ไม่ปล่อยไก่หลายเล้าอย่างที่เคยเป็นบ่อยๆ อย่างที่ผ่านมานะครับ :8)
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
พี่(PE)โข่ง - Again
โพสต์ที่ 17
ผมว่าน่าจะมีทำ pe set100 มาด้วยเลยนะครับ
น่าจะเป็นตัวแทนตลาดได้ดีระดับหนึ่ง
น่าจะเป็นตัวแทนตลาดได้ดีระดับหนึ่ง
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com